พบผลลัพธ์ทั้งหมด 317 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1850/2523
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองปรปักษ์และการเปลี่ยนแปลงลักษณะการยึดถือ: การครอบครองโดยอาศัยสิทธิเจ้าของเดิมไม่ถือเป็นการครอบครองปรปักษ์
ตามคำให้การจำเลย จำเลยต่อสู้ว่าโจทก์ขายที่พิพาทให้จึงไม่มีประเด็นเรื่องเปลี่ยนแปลงลักษณะแห่งการยึดถือตาม มาตรา1381,1375 ได้ที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าจำเลยโต้แย้งแย่งหรือรบกวนการครอบครองของโจทก์ด้วยการไม่ยอมให้ไถ่ที่พิพาทคืนจึงเป็นการวินิจฉัยนอกประเด็นที่จำเลยต่อสู้ไว้ในคำให้การและไม่เป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนศาลอุทธรณ์จะยกขึ้นวินิจฉัยเองไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1811/2523
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขายทอดตลาดถูกต้องตามระเบียบ แม้มีผู้ประมูลน้อยรายและขายเหมาแปลง ศาลยืนตามคำสั่งเดิม
ในวันขายทอดตลาด จำเลยได้มาฟังการขายทอดตลาดด้วยนอกจากนี้ยังมีผู้มาฟังการขายอีก 3 คน การที่โจทก์และ บ. เข้าประมูลราคาเพียง 2 คนก็ดี หรือการที่เจ้าพนักงานบังคับคดีขายทอดตลาดที่ดินของจำเลยโดยวิธีขายเหมาทั้งสามแปลงก็ดีเป็นอำนาจของเจ้าพนักงานบังคับคดีที่จะพิจารณาดำเนินการตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา309 ซึ่งจำเลยก็มิได้คัดค้านประการใดการขายทอดตลาดทรัพย์ได้กระทำไปโดยถูกต้องตามระเบียบแล้วจะขอให้ขายใหม่ไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1788/2523
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองวัตถุระเบิดชนิดสงครามหลังกฎหมายแก้ไข: การใช้กฎหมายย้อนหลังต้องห้าม
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยกระทำผิดโดยมีวัตถุระเบิดสำหรับใช้เฉพาะแต่ในการสงครามไว้ในความครอบครองเมื่อวันที่ 2 พฤษภาคม 2522อันเป็นเวลาหลังจากที่ พระราชบัญญัติอาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิงและสิ่งเทียมอาวุธปืนมาตรา 55 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 7) พ.ศ.2522 มาตรา 6 ใช้บังคับแล้ว ซึ่งใน มาตรา 55 ที่แก้ไขแล้ว มิได้บัญญัติถึงวัตถุระเบิดสำหรับแต่เฉพาะในการสงครามว่าเป็นความผิดคงบัญญัติถึงประเภท ชนิด และขนาดของวัตถุระเบิดที่นายทะเบียนจะออกใบอนุญาตให้ได้หรือไม่เท่านั้นแม้ในวันที่จำเลยกระทำผิดจะมีกฎกระทรวงฉบับที่ 7 (พ.ศ.2501) ออกตามความในพระราชบัญญัติอาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิงและสิ่งเทียมอาวุธปืนพ.ศ.2490 ใช้บังคับอยู่แต่กฎกระทรวงดังกล่าวก็มิได้กำหนดว่าวัตถุระเบิดชนิดใดบ้างที่นายทะเบียนจะออกใบอนุญาตให้ได้จึงถือไม่ได้ว่าวัตถุระเบิดที่จำเลยมีในวันเกิดเหตุเป็นวัตถุระเบิดที่นายทะเบียนไม่อาจอนุญาตได้แม้ต่อมาจะมีกฎกระทรวง ฉบับที่ 11(พ.ศ.2522) ออกตามความใน พระราชบัญญัติอาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิงและสิ่งเทียมอาวุธปืนพ.ศ.2490 ใช้บังคับอันจะถือได้ว่าวัตถุระเบิดที่จำเลยมีไว้ในครอบครองเป็นวัตถุระเบิดที่นายทะเบียนไม่อาจออกใบอนุญาตให้ได้ก็ตามแต่กฎกระทรวงดังกล่าวประกาศใช้ภายหลังโจทก์ฟ้องว่าจำเลยกระทำความผิดจึงนำมาใช้บังคับย้อนหลังให้เป็นผลร้ายแก่จำเลยไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1753/2523
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจตนาฉ้อฉลในสัญญาประนีประนอมยอมความที่ดิน: การระบุเนื้อที่ประมาณการและการเข้าดูที่ดินก่อนทำสัญญา
ที่ดินที่จำเลยตกลงยกให้โจทก์ตามสัญญาประนีประนอมยอมความเป็นที่ดินไม่มีหนังสือสำคัญแต่มีการระบุเขตติดต่อของที่ดินไว้ทั้งสี่ด้านและทั้งโจทก์และจำเลยก็ได้ไปดูที่ดินจนเป็นที่พอใจแล้วนอกจากนี้การที่สัญญาประนีประนอมยอมความระบุว่าที่ดินมีเนื้อที่ประมาณ 12 ไร่ ก็แสดงว่าจำเลยก็ไม่ทราบจำนวนเนื้อที่แน่นอนดังนั้นแม้จะปรากฏว่าที่ดินมีเนื้อที่เพียง 7 ไร่ ก็ยังฟังไม่ได้ว่าจำเลยมีเจตนาฉ้อฉลโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1752/2523 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิอาศัยต้องทำเป็นหนังสือจดทะเบียน มิฉะนั้นไม่สมบูรณ์ เจ้าของทรัพย์มีสิทธิขอให้ผู้บุกรุกออกจากที่ดินได้ทันที
การได้มาโดยนิติกรรมซึ่งสิทธิอาศัยอันเป็นทรัพย์สิทธิอันเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์นั้น หากมิได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนการได้มากับพนักงานเจ้าหน้าที่ย่อมไม่บริบูรณ์ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1299 วรรคแรก
โจทก์ซึ่งเจ้าของอสังหาริมทรัพย์ซึ่งจำเลยอาศัยอยู่ย่อมฟ้องขอให้ศาลบังคับให้จำเลยออกไปจากอสังหาริมทรัพย์นั้น เมื่อใดก็ได้โดยไม่จำเป็นต้องบอกกล่าวก่อน
โจทก์ซึ่งเจ้าของอสังหาริมทรัพย์ซึ่งจำเลยอาศัยอยู่ย่อมฟ้องขอให้ศาลบังคับให้จำเลยออกไปจากอสังหาริมทรัพย์นั้น เมื่อใดก็ได้โดยไม่จำเป็นต้องบอกกล่าวก่อน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1752/2523
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิอาศัยต้องทำเป็นหนังสือและจดทะเบียน มิฉะนั้นไม่สมบูรณ์ เจ้าของทรัพย์มีสิทธิไล่รื้อได้
การได้มาโดยนิติกรรมซึ่งสิทธิอาศัยอันเป็นทรัพยสิทธิอันเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์นั้น หากมิได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนการได้มากับพนักงานเจ้าหน้าที่ย่อมไม่บริบูรณ์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1299 วรรคแรก
โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของอสังหาริมทรัพย์ซึ่งจำเลยอาศัยอยู่ย่อมฟ้องขอให้ศาลบังคับให้จำเลยออกไปจากอสังหาริมทรัพย์นั้นเมื่อใดก็ได้โดยไม่จำเป็นต้องบอกกล่าวก่อน
โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของอสังหาริมทรัพย์ซึ่งจำเลยอาศัยอยู่ย่อมฟ้องขอให้ศาลบังคับให้จำเลยออกไปจากอสังหาริมทรัพย์นั้นเมื่อใดก็ได้โดยไม่จำเป็นต้องบอกกล่าวก่อน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1734-1735/2523
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานปลอมและใช้เอกสารสิทธิ, เบิกความเท็จในคดีแพ่ง โดยจำเลยรู้อยู่ว่าข้อความเท็จ
โจทก์ได้ลงชื่อในแบบฟอร์มสัญญากู้ให้จำเลยที่ 1 ไป โดยยังไม่ได้กรอกข้อความ จำเลยทั้งสองร่วมกันกรอกข้อความลงไปในสัญญากู้ว่าโจทก์กู้เงินจำเลยที่ 1 จำนวนเงิน92,000 บาท เมื่อวันที่ 10 มกราคม 2514 ซึ่งเป็นสัญญาปลอม จำเลยทั้งสอง จึงมีความผิดฐานปลอมเอกสารสิทธิ
จำเลยที่ 1 ได้นำเอกสารสัญญากู้ปลอมมาใช้ทวงถามและ ยื่นฟ้องต่อศาลแพ่ง จึงมีความผิดฐานใช้เอกสารสิทธิปลอมอีกกระทงหนึ่งด้วยลงโทษตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 268
ฟ้องในข้อหาเบิกความเท็จบรรยายว่า จำเลยทั้งสองเบิกความในคดีแพ่งว่า โจทก์กู้เงินจำเลยที่ 1 ตามสัญญากู้ปลอมที่กล่าวมา ข้างต้น อันเป็นความเท็จและเป็นข้อสำคัญในคดี โดยมิได้บรรยายว่า จำเลยทั้งสองรู้อยู่ว่าข้อความที่เบิกความนั้นเป็นความเท็จ แต่เมื่อ อ่านฟ้องโดยตลอดแล้ว ย่อมเป็นที่เข้าใจอยู่ในตัวแล้วว่าข้อความ ที่จำเลยทั้งสองเบิกความนั้นจำเลยรู้อยู่ว่าเป็นความเท็จ ฟ้องได้ บรรยายการกระทำทั้งหลายที่อ้างว่าจำเลยได้กระทำผิดพอสมควรเท่าที่ จะให้จำเลยทั้งสองเข้าใจข้อหาได้ดีแล้ว จึงเป็นฟ้องที่สมบูรณ์
จำเลยที่ 1 ได้นำเอกสารสัญญากู้ปลอมมาใช้ทวงถามและ ยื่นฟ้องต่อศาลแพ่ง จึงมีความผิดฐานใช้เอกสารสิทธิปลอมอีกกระทงหนึ่งด้วยลงโทษตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 268
ฟ้องในข้อหาเบิกความเท็จบรรยายว่า จำเลยทั้งสองเบิกความในคดีแพ่งว่า โจทก์กู้เงินจำเลยที่ 1 ตามสัญญากู้ปลอมที่กล่าวมา ข้างต้น อันเป็นความเท็จและเป็นข้อสำคัญในคดี โดยมิได้บรรยายว่า จำเลยทั้งสองรู้อยู่ว่าข้อความที่เบิกความนั้นเป็นความเท็จ แต่เมื่อ อ่านฟ้องโดยตลอดแล้ว ย่อมเป็นที่เข้าใจอยู่ในตัวแล้วว่าข้อความ ที่จำเลยทั้งสองเบิกความนั้นจำเลยรู้อยู่ว่าเป็นความเท็จ ฟ้องได้ บรรยายการกระทำทั้งหลายที่อ้างว่าจำเลยได้กระทำผิดพอสมควรเท่าที่ จะให้จำเลยทั้งสองเข้าใจข้อหาได้ดีแล้ว จึงเป็นฟ้องที่สมบูรณ์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1683/2523 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจับกุมโดยมิชอบและการปฏิบัติหน้าที่เกินอำนาจของเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157
ในการจับนั้น เจ้าพนักงานหรือราษฎรซึ่งทำการจับต้องแจ้งแก่ผู้ที่จะถูกจับนั้นว่า เขาต้องถูกจับ จำเลยกับพวกมิได้บอกว่าโจทก์จะต้องถูกจับ เพียงแต่แจ้งว่า จะเอาไปสอบสวนคดีใหม่ และไม่ได้บอกด้วยว่าคดีอะไร โจทก์เข้าใจว่าเอาไปสอบสวนเพิ่มเติมคดีเรื่องโคของโจทก์หายที่เคยแจ้งความไว้ จึงได้ไปกับจำเลย ดังนี้ ถือว่าเป็นการจับโดยชอบด้วยกฎหมายได้หาไม่
จำเลยเป็นตำรวจตำแหน่งสารวัตรใหญ่ โกรธแค้นโจทก์ที่มีหนังสือร้องเรียนถึงผู้กำกับฯ กล่าวหาว่า จำเลยรับสินบนจากผู้ต้องหา 2 คน ข้อหาลักทรัพย์ ของโจทก์แล้วสั่งไม่ฟ้องผู้ต้องหาสองคนนั้น จำเลยกับตำรวจอื่นที่สถานีเดียวกัน ได้นำตัวโจทก์ไปอ้างว่า จะพาไปสอบสวนคดีใหม่ แต่พาโจทก์ไปที่บ้านพักตำรวจแห่งหนึ่ง แล้วทำร้ายโจทก์และใส่กุญแจมือแล้วพาโจทก์ไปที่ควบคุมตัวไว้ที่สถานีตำรวจ ดังนี้เป็นการกระทำที่ลุอำนาจและเกินความเหมาะสมในการจับกุม เป็นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157
ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำคุก 3 เดือน ปรับ 500 บาท โทษจำคุกให้รอการลงโทษไว้ ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นไม่รอการลงโทษจำคุกแต่โทษคงเดิม ดังนี้จำเลยจะฎีกาข้อเท็จจริงไม่ได้เพราะต้องห้ามตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 219 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 8) พ.ศ. 2517 มาตรา 6
จำเลยเป็นตำรวจตำแหน่งสารวัตรใหญ่ โกรธแค้นโจทก์ที่มีหนังสือร้องเรียนถึงผู้กำกับฯ กล่าวหาว่า จำเลยรับสินบนจากผู้ต้องหา 2 คน ข้อหาลักทรัพย์ ของโจทก์แล้วสั่งไม่ฟ้องผู้ต้องหาสองคนนั้น จำเลยกับตำรวจอื่นที่สถานีเดียวกัน ได้นำตัวโจทก์ไปอ้างว่า จะพาไปสอบสวนคดีใหม่ แต่พาโจทก์ไปที่บ้านพักตำรวจแห่งหนึ่ง แล้วทำร้ายโจทก์และใส่กุญแจมือแล้วพาโจทก์ไปที่ควบคุมตัวไว้ที่สถานีตำรวจ ดังนี้เป็นการกระทำที่ลุอำนาจและเกินความเหมาะสมในการจับกุม เป็นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157
ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำคุก 3 เดือน ปรับ 500 บาท โทษจำคุกให้รอการลงโทษไว้ ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นไม่รอการลงโทษจำคุกแต่โทษคงเดิม ดังนี้จำเลยจะฎีกาข้อเท็จจริงไม่ได้เพราะต้องห้ามตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 219 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 8) พ.ศ. 2517 มาตรา 6
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1683/2523
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจับกุมที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายและการปฏิบัติหน้าที่มิชอบของเจ้าพนักงาน
ในการจับนั้น เจ้าพนักงานหรือราษฎรซึ่งทำการจับต้องแจ้งแก่ผู้ที่จะถูกจับนั้นว่าเขาต้องถูกจับ จำเลยกับพวกมิได้บอกว่าโจทก์จะต้องถูกจับ เพียงแต่แจ้งว่าจะเอาไปสอบสวนคดีใหม่ และไม่ได้บอกด้วยว่าคดีอะไร โจทก์เข้าใจว่าเอาไปสอบสวนเพิ่มเติมคดีเรื่องโคของโจทก์หายที่เคยแจ้งความไว้ จึงได้ไปกับจำเลย ดังนี้ ถือว่าเป็นการจับโดยชอบด้วยกฎหมายหาได้ไม่
จำเลยเป็นตำรวจตำแหน่งสารวัตรใหญ่ โกรธแค้นโจทก์ที่มีหนังสือร้องเรียนถึงผู้กำกับฯ กล่าวหาว่าจำเลยรับสินบนจากผู้ต้องหา 2 คน ข้อหาลักทรัพย์ของโจทก์แล้วสั่งไม่ฟ้องผู้ต้องหาสองคนนั้น จำเลยกับตำรวจอื่นที่สถานีเดียวกันได้นำตัวโจทก์ไปโดยอ้างว่าจะพาไปสอบสวนคดีใหม่แต่พาโจทก์ไปที่บ้านพักตำรวจแห่งหนึ่ง แล้วทำร้ายโจทก์และใส่กุญแจมือแล้วพาโจทก์ไปควบคุมตัวไว้ที่สถานีตำรวจดังนี้ เป็นการกระทำที่ลุอำนาจและเกินความเหมาะสมในการจับกุม เป็นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 157
ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำคุก 3 เดือน ปรับ 500 บาทโทษจำคุกให้รอการลงโทษไว้ ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นไม่รอการลงโทษจำคุกแต่โทษคงเดิม ดังนี้จำเลยจะฎีกาข้อเท็จจริงไม่ได้เพราะต้องห้ามตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา219 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 8) พ.ศ.2517 มาตรา 6
จำเลยเป็นตำรวจตำแหน่งสารวัตรใหญ่ โกรธแค้นโจทก์ที่มีหนังสือร้องเรียนถึงผู้กำกับฯ กล่าวหาว่าจำเลยรับสินบนจากผู้ต้องหา 2 คน ข้อหาลักทรัพย์ของโจทก์แล้วสั่งไม่ฟ้องผู้ต้องหาสองคนนั้น จำเลยกับตำรวจอื่นที่สถานีเดียวกันได้นำตัวโจทก์ไปโดยอ้างว่าจะพาไปสอบสวนคดีใหม่แต่พาโจทก์ไปที่บ้านพักตำรวจแห่งหนึ่ง แล้วทำร้ายโจทก์และใส่กุญแจมือแล้วพาโจทก์ไปควบคุมตัวไว้ที่สถานีตำรวจดังนี้ เป็นการกระทำที่ลุอำนาจและเกินความเหมาะสมในการจับกุม เป็นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 157
ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำคุก 3 เดือน ปรับ 500 บาทโทษจำคุกให้รอการลงโทษไว้ ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นไม่รอการลงโทษจำคุกแต่โทษคงเดิม ดังนี้จำเลยจะฎีกาข้อเท็จจริงไม่ได้เพราะต้องห้ามตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา219 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 8) พ.ศ.2517 มาตรา 6
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1646/2523
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลแรงงานในการพิจารณาคดีเลิกจ้างก่อนมีผลบังคับใช้ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานฯ ต้องเป็นไปตามกฎหมายเดิม
ปัญหาที่ว่าศาลแรงงานกลางจะนำบทบัญญัติมาตรา 49 แห่ง พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานฯ มาใช้บังคับแก่การ เลิกจ้าง ก่อนกฎหมายดังกล่าวใช้บังคับได้หรือไม่ เป็นข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกายกขึ้นวินิจฉัยได้ แม้จะมิใช่ข้อที่ยกขึ้นว่ากันมาก็ตาม
พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานฯ ประกาศใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 12 พฤษภาคม 2522 และมาตรา 49 มีผลเป็นการให้สิทธิแก่ลูกจ้างที่จะไม่ต้องถูกนายจ้างเลิกจ้างโดยไม่เป็นธรรมตั้งแต่กฎหมายฉบับนี้มีผลบังคับโจทก์ฟ้องว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยไม่เป็นธรรม ขอให้บังคับจำเลยรับโจทก์เข้าทำงานในตำแหน่งและอัตราเงินเดือนไม่ต่ำกว่าเดิมแต่เมื่อได้ความว่าเป็นกรณีที่จำเลยมีคำสั่งให้โจทก์ออกจากงานโดยไม่เป็นธรรมตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม 2521ซึ่งตามมาตรา 41(4) แห่งพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์พ.ศ.2518 บัญญัติให้อยู่ในอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ที่จะวินิจฉัยชี้ขาดและมีคำสั่งศาลแรงงานกลางจึงไม่มีอำนาจพิจารณาและพิพากษาสั่งให้ จำเลย รับโจทก์เข้าทำงานตามที่โจทก์ขอโดยอาศัยมาตรา 49แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานฯ
พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานฯ ประกาศใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 12 พฤษภาคม 2522 และมาตรา 49 มีผลเป็นการให้สิทธิแก่ลูกจ้างที่จะไม่ต้องถูกนายจ้างเลิกจ้างโดยไม่เป็นธรรมตั้งแต่กฎหมายฉบับนี้มีผลบังคับโจทก์ฟ้องว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยไม่เป็นธรรม ขอให้บังคับจำเลยรับโจทก์เข้าทำงานในตำแหน่งและอัตราเงินเดือนไม่ต่ำกว่าเดิมแต่เมื่อได้ความว่าเป็นกรณีที่จำเลยมีคำสั่งให้โจทก์ออกจากงานโดยไม่เป็นธรรมตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม 2521ซึ่งตามมาตรา 41(4) แห่งพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์พ.ศ.2518 บัญญัติให้อยู่ในอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ที่จะวินิจฉัยชี้ขาดและมีคำสั่งศาลแรงงานกลางจึงไม่มีอำนาจพิจารณาและพิพากษาสั่งให้ จำเลย รับโจทก์เข้าทำงานตามที่โจทก์ขอโดยอาศัยมาตรา 49แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานฯ