พบผลลัพธ์ทั้งหมด 609 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1862/2528
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การมอบเงินให้ลูกจ้างนำไปฝากธนาคาร หากลูกจ้างวางแผนให้พวกปล้นเงินระหว่างทาง เป็นความผิดฐานยักยอกทรัพย์
การที่ผู้เสียหายเอาเงินสดให้จำเลยซึ่งเป็นลูกจ้างนำไปฝากเข้าบัญชีของผู้เสียหายในธนาคารนั้น ถือว่าผู้เสียหายได้มอบเงินสด จำนวนนั้นให้อยู่ในความครอบครองของจำเลย เพราะจำเลยจะต้องถือและรักษาเงินสดจำนวนนั้นจนกระทั่งนำไปฝากธนาคารให้เรียบร้อยการที่จำเลยวางแผนให้พวกของจำเลยมาแย่งเอาเงินไป ในระหว่างทางที่ไปธนาคารการกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิด ฐานยักยอกมิใช่ความผิดฐานลักทรัพย์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1862/2528 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การมอบเงินให้ลูกจ้างนำฝากธนาคาร หากลูกจ้างวางแผนให้พวกแย่งเงิน ถือเป็นการยักยอกทรัพย์
การที่ผู้เสียหายเอาเงินสดให้จำเลยซึ่งเป็นลูกจ้างนำไปฝากเข้าบัญชีของผู้เสียหายในธนาคารนั้น ถือว่าผู้เสียหายได้มอบเงินสด จำนวนนั้นให้อยู่ในความครอบครองของจำเลย เพราะจำเลยจะต้องถือและรักษาเงินสดจำนวนนั้นจนกระทั่งนำไปฝากธนาคารให้เรียบร้อย การที่จำเลยวางแผนให้พวกของจำเลยมาแย่งเอาเงินไป ในระหว่างทางที่ไปธนาคาร การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิด ฐานยักยอกมิใช่ความผิดฐานลักทรัพย์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3444/2527
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประนีประนอมยอมความกับลูกหนี้ร่วม ผลกระทบต่อผู้รับประกันภัย
สัญญาประนีประนอมยอมความระหว่างโจทก์และจำเลยที่ 2 คู่กรณีมีเจตนามุ่งหมายที่จะระงับข้อพิพาทที่จำเลยที่ 2 มีหน้าที่จะต้องรับผิดใช้ค่าเสียหายร่วมกับจำเลยที่ 1 ใน ฐานะที่เป็นนายจ้างของจำเลยที่ 1 ซึ่งได้กระทำละเมิดต่อโจทก์ในทางการที่จ้าง จึงมีผลให้สิทธิเรียกร้องของโจทก์ที่มีต่อจำเลยที่ 2 ในมูลละเมิดระงับสิ้นไปโดยโจทก์ได้สิทธิเรียกร้องใหม่ตามสัญญาประนีประนอมยอมความเมื่อสัญญาประนีประนอมยอมความนั้นจำเลยที่ 3 มิได้ร่วมลงชื่อด้วยจำเลยที่ 3 ในฐานะผู้รับประกันภัยจึงยังต้องรับผิดตามกรมธรรม์ประกันภัยต่อโจทก์จนกว่าโจทก์จะได้รับการชดใช้ค่าเสียหายจากจำเลยที่ 2 ผู้เอาประกันภัยครบถ้วนตามสัญญาประนีประนอมยอมความ
โจทก์และจำเลยที่ 2 ตกลงประนีประนอมยอมความกันโดยโจทก์ยอมรับค่าเสียหายเพียง 17,500 บาท จำเลยที่ 3 ผู้รับประกันภัยค้ำจุนซึ่งจะต้องรับผิดต่อเมื่อจำเลยที่ 2 ผู้เอาประกันภัยจะต้องรับผิดชอบ ย่อมได้รับประโยชน์จากสัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าวด้วยจำเลยที่ 3 จึงต้องร่วมรับผิดใช้ค่าเสียหายให้โจทก์ 17,500 บาท
โจทก์และจำเลยที่ 2 ตกลงประนีประนอมยอมความกันโดยโจทก์ยอมรับค่าเสียหายเพียง 17,500 บาท จำเลยที่ 3 ผู้รับประกันภัยค้ำจุนซึ่งจะต้องรับผิดต่อเมื่อจำเลยที่ 2 ผู้เอาประกันภัยจะต้องรับผิดชอบ ย่อมได้รับประโยชน์จากสัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าวด้วยจำเลยที่ 3 จึงต้องร่วมรับผิดใช้ค่าเสียหายให้โจทก์ 17,500 บาท
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3444/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประนีประนอมยอมความระงับข้อพิพาทในมูลละเมิด ผู้รับประกันภัยยังต้องรับผิดตามกรมธรรม์หากผู้เอาประกันภัยไม่ชำระค่าเสียหายครบถ้วน
สัญญาประนีประนอมยอมความระหว่างโจทก์และจำเลยที่ 2คู่กรณีมีเจตนามุ่งหมายที่จะระงับข้อพิพาทที่จำเลยที่ 2 มีหน้าที่จะต้องรับผิดใช้ค่าเสียหายร่วมกับจำเลยที่ 1 ใน ฐานะที่เป็นนายจ้างของจำเลยที่ 1 ซึ่งได้กระทำละเมิดต่อโจทก์ในทางการที่จ้าง จึงมีผลให้สิทธิเรียกร้องของโจทก์ที่มีต่อจำเลยที่ 2 ในมูลละเมิดระงับสิ้นไปโดยโจทก์ได้สิทธิเรียกร้องใหม่ตามสัญญาประนีประนอมยอมความ เมื่อสัญญาประนีประนอมยอมความนั้นจำเลยที่ 3 มิได้ร่วมลงชื่อด้วยจำเลยที่ 3 ในฐานะผู้รับประกันภัยจึงยังต้องรับผิดตามกรมธรรม์ประกันภัยต่อโจทก์จนกว่าโจทก์จะได้รับการชดใช้ค่าเสียหายจากจำเลยที่ 2 ผู้เอาประกันภัยครบถ้วนตามสัญญาประนีประนอมยอมความ
โจทก์และจำเลยที่ 2 ตกลงประนีประนอมยอมความกันโดยโจทก์ยอมรับค่าเสียหายเพียง 17,500 บาท จำเลยที่ 3 ผู้รับประกันภัยค้ำจุนซึ่งจะต้องรับผิดต่อเมื่อจำเลยที่ 2 ผู้เอาประกันภัยจะต้องรับผิดชอบ ย่อมได้รับประโยชน์จากสัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าวด้วย จำเลยที่ 3 จึงต้องร่วมรับผิดใช้ค่าเสียหายให้โจทก์ 17,500 บาท
โจทก์และจำเลยที่ 2 ตกลงประนีประนอมยอมความกันโดยโจทก์ยอมรับค่าเสียหายเพียง 17,500 บาท จำเลยที่ 3 ผู้รับประกันภัยค้ำจุนซึ่งจะต้องรับผิดต่อเมื่อจำเลยที่ 2 ผู้เอาประกันภัยจะต้องรับผิดชอบ ย่อมได้รับประโยชน์จากสัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าวด้วย จำเลยที่ 3 จึงต้องร่วมรับผิดใช้ค่าเสียหายให้โจทก์ 17,500 บาท
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3176/2527
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องแจ้งความเท็จ: ความเสียหายต้องเกิดจากการกระทำโดยตรงต่อโจทก์ ไม่ใช่ผลกระทบทางอ้อม
การที่จำเลยที่ 5 รับรองข้อความในหนังสือชี้แจงเรื่องราวว่า ซ. ซึ่งเป็นกรรมการของบริษัทด้วยผู้หนึ่งได้ลงลายมือชื่อต่อหน้าจำเลยที่ 5 เพื่อยืนยันหนังสือชี้แจงที่ยื่นต่อนายทะเบียนนั้น มิได้มีข้อความพาดพิงเกี่ยวเนื่องไปถึงโจทก์ซึ่งพ้นจากการเป็นกรรมการผู้จัดการของบริษัทไปแล้วแต่เป็นการกระทำของจำเลยที่ 5 เกี่ยวกับ ซ. ต่อนายทะเบียนโจทก์จึงไม่ได้รับความเสียหายใดๆจากการกระทำของจำเลยที่ 5ที่โจทก์อ้างว่ากรรมการที่เปลี่ยนแปลงใหม่ไม่รับผิดชอบในเช็คที่โจทก์ออกในนามของบริษัทสั่งจ่ายให้เจ้าหนี้ เมื่อจำเลยที่ 1 และที่ 2 ได้รับแต่งตั้งเป็นกรรมการผู้มีอำนาจของบริษัทแล้ว ไม่ได้ทำบัญชีเกี่ยวกับกิจการของบริษัทและทำบัญชีงบดุลของบริษัทให้ถูกต้องตามความเป็นจริงนั้น ก็มิใช่การกระทำของจำเลยที่ 5 โจทก์จึงไม่ใช่ผู้เสียหายและไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 5 ในข้อหาความผิดฐานแจ้งความเท็จ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3008-3009/2527
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดจากอุบัติเหตุทางรถยนต์, การรับช่วงสิทธิ, ฟ้องซ้อน, และค่าขึ้นศาล
รถของโจทก์ถูกรถของจำเลยชนโดยประมาทพังขวางอยู่กลางถนนแล้วถูกรถของบุคคลอื่นชนซ้ำโดยไม่ใช่ความประมาทของบุคคลนั้น แม้จะก่อให้เกิดความเสียหายเพิ่มขึ้นก็เป็นผลโดยตรงอันเกิดจากความประมาทของฝ่ายจำเลยเป็นผู้ก่อขึ้นก่อน ดังนั้นจำเลยจึงต้องรับผิดในผลอันนี้ด้วย สำนวนแรกโจทก์มิได้ฟ้องผู้รับประกันภัยเป็นจำเลย คงฟ้องแต่ผู้อื่น เมื่อผู้รับประกันภัยเข้ามาเป็นโจทก์ในสำนวนที่สองโดยอ้างว่าเป็นผู้รับช่วงสิทธิในฐานะผู้รับประกันภัยฟ้องจำเลยอื่นและโจทก์ในสำนวนแรกให้ร่วมรับผิดอันเนื่องจากเหตุรถชนรายเดียวกัน โจทก์ในสำนวนแรกจึงมีสิทธิฟ้องแย้งเรียกค่าเสียหายจากผู้รับประกันภัยซึ่งเป็นโจทก์ในสำนวนที่สองได้ ไม่เป็นฟ้องซ้อน โจทก์ที่ 2 เป็นจำเลยตามฟ้องแย้งในสำนวนที่สองของโจทก์ที่ 1 ส่วนจำเลยเป็นจำเลยตามฟ้องสำนวนแรกของโจทก์ที่1 แม้จะเป็นค่าเสียหายรายเดียวกันแต่เป็นคนละคดีต้องเสียค่าขึ้นศาลต่างหากจากกัน เมื่อโจทก์ที่ 2 และจำเลยแพ้คดีและฎีกาต่อมาจึงต้องเสียค่าขึ้นศาลเป็นรายคดีการที่ฎีการ่วมกันมาไม่ทำให้หน้าที่ที่จะต้องเสีย ค่าขึ้นศาลลดน้อยลง ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิพากษาให้จำเลยชำระดอกเบี้ยนับแต่วันละเมิดเป็นการเกินคำขอ เพราะโจทก์ขอเรียกดอกเบี้ยตั้งแต่วันที่ 15 ธันวาคม 2522 ศาลฎีกาควรแก้ไขเสียให้ถูกต้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3008-3009/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดทางละเมิดต่อเนื่องจากอุบัติเหตุ, ฟ้องแย้งผู้รับประกันภัย, ค่าขึ้นศาลและดอกเบี้ย
รถของโจทก์ถูกรถของจำเลยชนโดยประมาทพังขวางอยู่กลางถนนแล้วถูกรถของบุคคลอื่นชนซ้ำโดยไม่ใช่ความประมาทของบุคคลนั้น แม้จะก่อให้เกิดความเสียหายเพิ่มขึ้นก็เป็นผลโดยตรงอันเกิดจากความประมาทของฝ่ายจำเลยเป็นผู้ก่อขึ้นก่อน ดังนั้นจำเลยจึงต้องรับผิดในผลอันนี้ด้วย
สำนวนแรกโจทก์มิได้ฟ้องผู้รับประกันภัยเป็นจำเลย คงฟ้องแต่ผู้อื่น เมื่อผู้รับประกันภัยเข้ามาเป็นโจทก์ในสำนวนที่สองโดยอ้างว่าเป็นผู้รับช่วงสิทธิในฐานะผู้รับประกันภัยฟ้องจำเลยอื่นและโจทก์ในสำนวนแรกให้ร่วมรับผิดอันเนื่องจากเหตุรถชนรายเดียวกัน โจทก์ในสำนวนแรกจึงมีสิทธิฟ้องแย้งเรียกค่าเสียหายจากผู้รับประกันภัยซึ่งเป็นโจทก์ในสำนวนที่สองได้ ไม่เป็นฟ้องซ้อน
โจทก์ที่ 2 เป็นจำเลยตามฟ้องแย้งในสำนวนที่สองของโจทก์ที่ 1 ส่วนจำเลยเป็นจำเลยตามฟ้องสำนวนแรกของโจทก์ที่ 1 แม้จะเป็นค่าเสียหายรายเดียวกันแต่เป็นคนละคดี ต้องเสียค่าขึ้นศาลต่างหากจากกัน เมื่อโจทก์ที่ 2 และจำเลยแพ้คดีและฎีกาต่อมาจึงต้องเสียค่าขึ้นศาลเป็นรายคดี การที่ฎีการ่วมกันมาไม่ทำให้หน้าที่ที่จะต้องเสีย ค่าขึ้นศาลลดน้อยลง
ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิพากษาให้จำเลยชำระดอกเบี้ยนับแต่วันละเมิดเป็นการเกินคำขอ เพราะโจทก์ขอเรียกดอกเบี้ยตั้งแต่วันที่ 15 ธันวาคม 2522 ศาลฎีกาควรแก้ไขเสียให้ถูกต้อง
สำนวนแรกโจทก์มิได้ฟ้องผู้รับประกันภัยเป็นจำเลย คงฟ้องแต่ผู้อื่น เมื่อผู้รับประกันภัยเข้ามาเป็นโจทก์ในสำนวนที่สองโดยอ้างว่าเป็นผู้รับช่วงสิทธิในฐานะผู้รับประกันภัยฟ้องจำเลยอื่นและโจทก์ในสำนวนแรกให้ร่วมรับผิดอันเนื่องจากเหตุรถชนรายเดียวกัน โจทก์ในสำนวนแรกจึงมีสิทธิฟ้องแย้งเรียกค่าเสียหายจากผู้รับประกันภัยซึ่งเป็นโจทก์ในสำนวนที่สองได้ ไม่เป็นฟ้องซ้อน
โจทก์ที่ 2 เป็นจำเลยตามฟ้องแย้งในสำนวนที่สองของโจทก์ที่ 1 ส่วนจำเลยเป็นจำเลยตามฟ้องสำนวนแรกของโจทก์ที่ 1 แม้จะเป็นค่าเสียหายรายเดียวกันแต่เป็นคนละคดี ต้องเสียค่าขึ้นศาลต่างหากจากกัน เมื่อโจทก์ที่ 2 และจำเลยแพ้คดีและฎีกาต่อมาจึงต้องเสียค่าขึ้นศาลเป็นรายคดี การที่ฎีการ่วมกันมาไม่ทำให้หน้าที่ที่จะต้องเสีย ค่าขึ้นศาลลดน้อยลง
ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิพากษาให้จำเลยชำระดอกเบี้ยนับแต่วันละเมิดเป็นการเกินคำขอ เพราะโจทก์ขอเรียกดอกเบี้ยตั้งแต่วันที่ 15 ธันวาคม 2522 ศาลฎีกาควรแก้ไขเสียให้ถูกต้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2903/2527
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีบำรุงท้องที่ ต้องใช้ผลการใช้ที่ดินในปีที่เรียกเก็บภาษี ไม่ใช่ปีที่ล่วงมาแล้ว และการประเมินผิดที่ดินเป็นเหตุให้โจทก์มีสิทธิเพิกถอนได้
พระราชบัญญัติภาษีบำรุงท้องที่ พ.ศ.2508 มาตรา 7 ได้กำหนดให้เจ้าของที่ดินซึ่งเป็นเจ้าของอยู่ในวันที่ 1 มกราคมของปีใดเป็นผู้เสียภาษีบำรุงท้องที่ในปีนั้นตามอัตราของราคาปานกลางของที่ดินที่กำหนดไว้ในบัญชีอัตราภาษีบำรุงท้องที่ แต่ถ้าเจ้าของที่ดินประกอบการกสิกรรมประเภทไม้ล้มลุกด้วยตนเองแล้วให้เสียภาษีอย่างสูงไม่เกินไร่ละ 5 บาท มิใช่ให้ถือเอาผลของการใช้ที่ดินในปีที่ล่วงมาแล้วมาเป็นเกณฑ์คำนวณภาษีบำรุงท้องที่ ดังนั้น การเรียกเก็บภาษีบำรุงท้องที่ในปีใด ก็ต้องถือเอาการใช้ที่ดินของเจ้าของที่ดินในปีนั้นเป็นเกณฑ์คำนวณภาษี
ที่ดินที่จำเลยแจ้งการประเมินให้โจทก์ชำระค่าภาษีบำรุงท้องที่ไม่ใช่ที่ดินของโจทก์ ถือได้ว่าไม่มีการประเมินภาษีบำรุงท้องที่สำหรับที่ดินของโจทก์ จึงไม่อยู่ในบังคับแห่งบทบัญญัติว่าด้วยการอุทธรณ์ โจทก์มีสิทธิที่จะขอให้เพิกถอนการประเมินเสียได้โดยมิต้องคำนึงว่าโจทก์ได้ยื่นอุทธรณ์คัดค้านการประเมินดังกล่าวหรือไม่
ที่ดินที่จำเลยแจ้งการประเมินให้โจทก์ชำระค่าภาษีบำรุงท้องที่ไม่ใช่ที่ดินของโจทก์ ถือได้ว่าไม่มีการประเมินภาษีบำรุงท้องที่สำหรับที่ดินของโจทก์ จึงไม่อยู่ในบังคับแห่งบทบัญญัติว่าด้วยการอุทธรณ์ โจทก์มีสิทธิที่จะขอให้เพิกถอนการประเมินเสียได้โดยมิต้องคำนึงว่าโจทก์ได้ยื่นอุทธรณ์คัดค้านการประเมินดังกล่าวหรือไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2903/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีบำรุงท้องที่ ต้องใช้ผลการใช้ที่ดินในปีที่เรียกเก็บภาษี มิใช่ปีที่ล่วงมาแล้ว การประเมินผิดที่ดินให้เพิกถอนได้
พระราชบัญญัติภาษีบำรุงท้องที่ พ.ศ. 2508 มาตรา 7 ได้กำหนดให้เจ้าของที่ดินซึ่งเป็นเจ้าของอยู่ในวันที่ 1 มกราคมของปีใด เป็นผู้เสียภาษีบำรุงท้องที่ในปีนั้นตามอัตราของราคาปานกลางของที่ดินที่กำหนดไว้ในบัญชีอัตราภาษีบำรุงท้องที่ แต่ถ้าเจ้าของที่ดินประกอบการกสิกรรมประเภทไม้ล้มลุกด้วยตนเองแล้วให้เสียภาษีอย่างสูงไม่เกินไร่ละ 5 บาท มิใช่ให้ถือเอาผลของการใช้ที่ดินในปีที่ล่วงมาแล้วมาเป็นเกณฑ์คำนวณภาษีบำรุงท้องที่ ดังนั้น การเรียกเก็บภาษีบำรุงท้องที่ในปีใด ก็ต้องถือเอาการใช้ที่ดินของเจ้าของที่ดินในปีนั้นเป็นเกณฑ์คำนวณภาษี
ที่ดินที่จำเลยแจ้งการประเมินให้โจทก์ชำระค่าภาษีบำรุงท้องที่ไม่ใช่ที่ดินของโจทก์ ถือได้ว่าไม่มีการประเมินภาษีบำรุงท้องที่สำหรับที่ดินของโจทก์ จึงไม่อยู่ในบังคับแห่งบทบัญญัติว่าด้วยการอุทธรณ์ โจทก์มีสิทธิที่จะขอให้เพิกถอนการประเมินเสียได้โดยมิต้องคำนึงว่าโจทก์ได้ยื่นอุทธรณ์คัดค้านการประเมินดังกล่าวหรือไม่
ที่ดินที่จำเลยแจ้งการประเมินให้โจทก์ชำระค่าภาษีบำรุงท้องที่ไม่ใช่ที่ดินของโจทก์ ถือได้ว่าไม่มีการประเมินภาษีบำรุงท้องที่สำหรับที่ดินของโจทก์ จึงไม่อยู่ในบังคับแห่งบทบัญญัติว่าด้วยการอุทธรณ์ โจทก์มีสิทธิที่จะขอให้เพิกถอนการประเมินเสียได้โดยมิต้องคำนึงว่าโจทก์ได้ยื่นอุทธรณ์คัดค้านการประเมินดังกล่าวหรือไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2584/2527
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีแพ่ง: เงินถูกยักยอกไม่ใช่เงินงบประมาณของกรมตำรวจ, กรมตำรวจจึงไม่ใช่ผู้เสียหาย
กองบังคับการตำรวจรถไฟเป็นหน่วยงานราชการในสังกัดของกรมตำรวจโจทก์แต่บรรดาค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ของกองบังคับการตำรวจรถไฟ เช่น เงินเดือน ค่าเบี้ยเลี้ยงค่ารักษาพยาบาล ค่าเล่าเรียนบุตรของเจ้าหน้าที่ตำรวจรถไฟนั้นการรถไฟแห่งประเทศไทยเป็นผู้มีหน้าที่จ่ายจากเงินงบประมาณของการรถไฟแห่งประเทศไทยทั้งสิ้นโดยกรมตำรวจโจทก์ไม่มีหน้าที่จัดสรรเงินงบประมาณเพื่อการนี้ให้แก่กองบังคับการตำรวจรถไฟแต่อย่างใด ดังนั้น เมื่อการรถไฟแห่งประเทศไทยเป็นผู้จ่ายเงินตามฎีกาเบิกเงินค่าเบี้ยเลี้ยง เงินต่าง ๆ รวม 33 ครั้งจำนวน 168 ฎีกาตามที่กองบังคับการตำรวจรถไฟเป็นผู้ตั้งฎีกาเบิกเพื่อนำไปจ่ายให้แก่เจ้าหน้าที่ตำรวจรถไฟตามสิทธิแต่ร้อยตำรวจเอก บ. สมุห์บัญชีของกองบังคับการตำรวจรถไฟได้ทุจริตเบียดบังยักยอกเงินตามฎีกาทั้งหมดไปเป็นประโยชน์ส่วนตนเสียเช่นนี้การรถไฟแห่งประเทศไทย ซึ่งเป็นเจ้าของเงินงบประมาณที่เบิกจ่ายเป็นค่าเบี้ยเลี้ยงหรือเงินต่าง ๆ ดังกล่าวจึงถือว่าเป็นผู้เสียหายในเรื่องนี้ไม่ใช่กรมตำรวจโจทก์ แม้ฎีกาเบิกเงินได้แนบใบเบิกเงินค่าเบี้ยเลี้ยงของเจ้าหน้าที่ตำรวจรถไฟผู้ขอเบิกและตามหลักฐานระบุว่าได้รับเงินไปครบถ้วนโดยลงนามรับเงินแล้วก็ตามแต่เมื่อปรากฏว่าเจ้าหน้าที่ตำรวจรถไฟผู้ขอเบิกยังมิได้รับเงินที่เบิกไปตามที่ ลงนามไว้ในใบเบิกเพราะเงินนั้นถูกยักยอกไปเสียก่อนการรถไฟแห่งประเทศไทยจึงยังมิได้จ่ายเงินให้แก่เจ้าหน้าที่ตำรวจรถไฟผู้ขอเบิกแม้จะมีการตั้งฎีกาเบิกและสมุห์บัญชีกองบังคับการตำรวจรถไฟรับเงินจำนวนที่เบิกไปจากกองคลังเงินการรถไฟแล้วเงินจำนวนนั้นก็ยังคงเป็นของการรถไฟแห่งประเทศไทยอยู่ หาใช่เงินของกรมตำรวจโจทก์ไม่เมื่อมีการเบียดบังไปเป็นประโยชน์ส่วนตน จึงไม่ใช่เป็นการเบียดบังเอาเงินของกรมตำรวจโจทก์โจทก์ไม่ใช่เจ้าของเงิน จึงไม่ถือว่าโจทก์เป็นผู้เสียหายอันจะมีอำนาจฟ้องเรียกคืนเงินดังกล่าวจากจำเลยได้ กรณีนี้แม้ได้มีคำพิพากษาถึงที่สุดในคดีอาญาที่ร้อยตำรวจเอกบ.เป็นจำเลยให้ร้อยตำรวจเอก บ. คืนหรือใช้เงินจำนวนที่ยักยอกไปให้แก่กองบังคับการตำรวจรถไฟ กรมตำรวจก็ตามแต่คำพิพากษาถึงที่สุดในคดีอาญาดังกล่าว หามีผลผูกพันจำเลยที่ 1 และที่ 2 ในคดีนี้ซึ่งมิใช่เป็นคู่ความในคดีอาญาให้จำต้องถือตามไม่เมื่อข้อเท็จจริงในคดีแพ่งนี้รับฟังได้ว่า เงินจำนวนตามฟ้องที่ถูกร้อยตำรวจเอก บ.สมุห์บัญชีกองบังคับการ ตำรวจรถไฟทุจริตเบียดบัง ยักยอกไปเป็นประโยชน์ส่วนตนมิใช่เป็นเงินงบประมาณของกรมตำรวจโจทก์โจทก์ย่อมไม่ใช่ผู้เสียหายที่จะมีอำนาจฟ้องร้องจำเลยที่ 1 และที่ 2 ให้ร่วมรับผิดในเงินจำนวนนี้กับร้อยตำรวจเอกบ. จำเลยในคดีอาญานั้นได้