คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
พิศิษฏ์ เทศะบำรุง

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 609 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2430/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในเครื่องหมายการค้า: การฟ้องคดีใหม่หลังพ้น 90 วันจากคำวินิจฉัยนายทะเบียนเป็นอันขาดสิทธิ
โจทก์กับจำเลยที่ 1 ต่างพิพาทกันด้วยสิทธิในเครื่องหมายการค้าว่าใครจะมีสิทธิดีกว่ากัน ซึ่งนายทะเบียนเครื่องหมายการค้าได้วินิจฉัยแล้วว่า จำเลยที่ 1 มีสิทธิในเครื่องหมายการค้าดีกว่าโจทก์ กรณีจึงตกอยู่ในบังคับมาตรา 22 ของพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า ฯ ที่บังคับให้โจทก์จะต้องใช้สิทธิในการอุทธรณ์คำวินิจฉัยของนายทะเบียนเครื่องหมายการค้าหรือนำคดีไปสู่ศาลภายใน 90 วัน มิฉะนั้นสิทธิที่จะอุทธรณ์หรือนำคดีไปสู่ศาลเป็นอันสิ้นไป แม้โจทก์จะเคยฟ้องต่อศาลแต่โจทก์ก็ถอนฟ้องคดีดังกล่าวเสีย ซึ่งทำให้ลบล้างผลแห่งการยื่นฟ้อง เสมือนหนึ่งมิได้มีการยื่นฟ้องเลยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 176 การที่โจทก์มาฟ้องคดีนี้ใหม่ ก็เท่ากับยื่นฟ้องเมื่อพ้น 90 วัน นับแต่วันได้รับหนังสือแจ้งคำวินิจฉัยของนายทะเบียนซึ่งโจทก์ไม่มีสิทธิจะทำได้
แม้โจทก์จะอ้างว่าเป็นเรื่องละเมิดและฟ้องจำเลยที่ 2 เข้ามาด้วยแต่ในคำขอท้ายฟ้องของโจทก์ก็เพียงแต่ให้ศาลพิพากษาว่าโจทก์มีสิทธิในเครื่องหมายการค้าดีกว่าจำเลยที่ 1 ให้เพิกถอนการจดทะเบียนของจำเลยที่ 1 และมิให้จำเลยที่ 1 ขัดขวางการจดทะเบียนของโจทก์ หาใช่เรียกร้องค่าเสียหายฐานละเมิดอย่างหนึ่งอย่างใดไม่ คำฟ้องของโจทก์จึงต้องห้ามตามมาตรา 22 ของพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 1135/2516) และเนื่องจากคดีนี้เกี่ยวด้วยการปฏิบัติการชำระหนี้ที่ไม่อาจแบ่งแยกได้คำพิพากษานี้มีผลถึงจำเลยที่ 2 ด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2430/2526

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในเครื่องหมายการค้า: การไม่ฟ้องคดีภายใน 90 วันหลังคำวินิจฉัยนายทะเบียนทำให้สิทธิสิ้นสุด
โจทก์กับจำเลยที่ 1 ต่างพิพาทกันด้วยสิทธิในเครื่องหมายการค้าว่าใครจะมีสิทธิดีกว่ากัน ซึ่งนายทะเบียนเครื่องหมายการค้าได้วินิจฉัยแล้วว่า จำเลยที่ 1 มีสิทธิในเครื่องหมายการค้าดีกว่าโจทก์ กรณีจึงตกอยู่ในบังคับมาตรา 22 ของพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้าฯ ที่บังคับให้โจทก์จะต้องใช้สิทธิในการอุทธรณ์คำวินิจฉัยของนายทะเบียนเครื่องหมายการค้าหรือนำคดีไปสู่ศาลภายใน 90 วัน มิฉะนั้นสิทธิที่จะอุทธรณ์หรือนำคดีไปสู่ศาลเป็นอันสิ้นไป แม้โจทก์จะเคยฟ้องต่อศาลแต่โจทก์ก็ถอนฟ้องคดีดังกล่าวเสีย ซึ่งทำให้ลบล้างผลแห่งการยื่นฟ้อง เสมือนหนึ่งมิได้มีการยื่นฟ้องเลยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 176 การที่โจทก์มาฟ้องคดีนี้ใหม่ ก็เท่ากับยื่นฟ้องเมื่อพ้น 90 วัน นับแต่วันได้รับหนังสือแจ้งคำวินิจฉัยของนายทะเบียนซึ่งโจทก์ไม่มีสิทธิจะทำได้
แม้โจทก์จะอ้างว่าเป็นเรื่องละเมิดและฟ้องจำเลยที่ 2 เข้ามาด้วยแต่ในคำขอท้ายฟ้องของโจทก์ก็เพียงแต่ให้ศาลพิพากษาว่าโจทก์มีสิทธิในเครื่องหมายการค้าดีกว่าจำเลยที่ 1 ให้เพิกถอนการจดทะเบียนของจำเลยที่ 1 และมิให้จำเลยที่ 1 ขัดขวางการจดทะเบียนของโจทก์ หาใช่เรียกร้องค่าเสียหายฐานละเมิดอย่างหนึ่งอย่างใดไม่ คำฟ้องของโจทก์จึงต้องห้ามตามมาตรา 22ของพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 1135/2516)และเนื่องจากคดีนี้เกี่ยวด้วยการปฏิบัติการชำระหนี้ที่ไม่อาจแบ่งแยกได้คำพิพากษานี้มีผลถึงจำเลยที่ 2 ด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2391/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประนีประนอมยอมความมีผลผูกพันตามกฎหมาย อายุความ 10 ปี การสำคัญผิดไม่ใช่สาระสำคัญ
เดิมจำเลยที่ 1 ค้างชำระค่าเช่าซื้อรถยนต์แก่โจทก์ต่อมาจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นกรรมการผู้จัดการจำเลยที่ 1 กับโจทก์ตกลงทำสัญญากันขึ้นฉบับหนึ่ง ซึ่งคู่สัญญาเรียกว่าสัญญาประนีประนอมยอมความ มีสาระสำคัญว่า จำเลยที่ 2 ยอมชำระหนี้ที่จำเลยที่ 1 ค้างชำระให้แก่โจทก์โดยมอบเช็คของบริษัท ก. ซึ่งจำเลยที่ 2 สลักหลังรวม 20 ฉบับ ถ้าเช็คฉบับใดธนาคารปฏิเสธการใช้เงิน จำเลยที่ 2 ยอมเสียดอกเบี้ยนับแต่วันที่ธนาคารปฏิเสธการใช้เงินจนกว่าจะชำระเสร็จด้วย สัญญาระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 2 จึงเป็นสัญญาประเภทหนึ่งซึ่งคู่สัญญากระทำด้วยความสมัครใจ เมื่อไม่ขัดต่อกฎหมายย่อมสมบูรณ์ใช้บังคับได้ และเมื่อหนี้ตามสัญญานี้ไม่มีกฎหมายบัญญัติอายุความไว้โดยเฉพาะ ก็ต้องใช้อายุความ 10 ปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164
ที่จำเลยที่ 2 แก้ฎีกาว่าทำสัญญาตามเอกสารหมาย จ.4 โดยสำคัญผิดว่าตนเป็นผู้ค้ำประกันสัญญาเช่าซื้อเดิม จึงเป็นโมฆะนั้น การสำคัญผิดเช่นนี้มิใช่สำคัญผิดในสาระสำคัญ ของนิติกรรมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 119 สัญญาตามเอกสารหมาย จ.4 จึงไม่เป็นโมฆะ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2391/2526

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความสัญญาประนีประนอมยอมความ และการสำคัญผิดที่ไม่ถึงขั้นโมฆะ
เดิมจำเลยที่ 1 ค้างชำระค่าเช่าซื้อรถยนต์แก่โจทก์ต่อมาจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นกรรมการผู้จัดการจำเลยที่ 1กับโจทก์ตกลงทำสัญญากันขึ้นฉบับหนึ่ง ซึ่งคู่สัญญาเรียกว่าสัญญาประนีประนอมยอมความ มีสาระสำคัญว่า จำเลยที่ 2 ยอมชำระหนี้ที่จำเลยที่ 1 ค้างชำระให้แก่โจทก์โดยมอบเช็คของบริษัท ก. ซึ่งจำเลยที่ 2 สลักหลังรวม 20 ฉบับ ถ้าเช็คฉบับใดธนาคารปฏิเสธการใช้เงิน จำเลยที่ 2 ยอมเสียดอกเบี้ยนับแต่วันที่ธนาคารปฏิเสธการใช้เงินจนกว่าจะชำระเสร็จด้วย สัญญาระหว่างโจทก์กับจำเลยที่2 จึงเป็นสัญญาประเภทหนึ่งซึ่งคู่สัญญากระทำด้วยความสมัครใจ เมื่อไม่ขัดต่อกฎหมายย่อมสมบูรณ์ใช้บังคับได้และเมื่อหนี้ตามสัญญานี้ไม่มีกฎหมายบัญญัติอายุความไว้โดยเฉพาะ ก็ต้องใช้อายุความ 10 ปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164
ที่จำเลยที่ 2 แก้ฎีกาว่าทำสัญญาตามเอกสารหมาย จ.4โดยสำคัญผิดว่าตนเป็นผู้ค้ำประกันสัญญาเช่าซื้อเดิม จึงเป็นโมฆะนั้น การสำคัญผิดเช่นนี้มิใช่สำคัญผิดในสาระสำคัญ ของนิติกรรมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 119 สัญญาตามเอกสารหมาย จ.4 จึงไม่เป็นโมฆะ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2383/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเสรีภาพในการประกอบอาชีพและการจดทะเบียนบริษัท: การจำกัดสิทธิโดยมติคณะรัฐมนตรีขัดต่อกฎหมาย
การที่โจทก์มีความประสงค์จะจัดตั้งบริษัทเพื่อประกอบกิจการซื้อขายสินค้าล่วงหน้าและการเล่นแชร์ เป็นสิทธิและเสรีภาพที่จะกระทำได้ตามกฎหมายรัฐธรรมนูญ การจำกัดสิทธิเช่นว่านี้จะกระทำได้ต่อเมื่อมีกฎหมายบัญญัติไว้โดยชัดแจ้ง ฉะนั้นเมื่อโจทก์ยื่นคำขอจดทะเบียนจัดตั้งบริษัทโดยมีวัตถุประสงค์ที่ไม่ต้องห้ามหรือต้องควบคุมตามกฎหมาย จึงเป็นหน้าที่ของจำเลยที่จะต้องพิจารณาว่าคำขอของโจทก์ครบถ้วนถูกต้องตามหลักเกณฑ์ที่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1019 บัญญัติไว้หรือไม่เท่านั้น จำเลยจะสั่งให้รอการรับจดทะเบียนไว้ก่อนตามมติของคณะรัฐมนตรีเพื่อที่จะแก้ไขกฎหมายให้ควบคุมถึงการประกอบอาชีพของโจทก์ดังกล่าวหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2383/2526

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเสรีภาพในการประกอบอาชีพ: การจำกัดสิทธิโดยมติคณะรัฐมนตรีขัดต่อหลักกฎหมาย
การที่โจทก์มีความประสงค์จะจัดตั้งบริษัทเพื่อประกอบกิจการซื้อขายสินค้าล่วงหน้าและการเล่นแชร์ เป็นสิทธิและเสรีภาพที่จะกระทำได้ตามกฎหมายรัฐธรรมนูญ การจำกัดสิทธิเช่นว่านี้จะกระทำได้ต่อเมื่อมีกฎหมายบัญญัติไว้โดยชัดแจ้ง ฉะนั้นเมื่อโจทก์ยื่นคำขอจดทะเบียนจัดตั้งบริษัทโดยมีวัตถุประสงค์ที่ไม่ต้องห้ามหรือต้องควบคุมตามกฎหมาย จึงเป็นหน้าที่ของจำเลยที่จะต้องพิจารณาว่าคำขอของโจทก์ครบถ้วนถูกต้องตามหลักเกณฑ์ที่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1019 บัญญัติไว้หรือไม่เท่านั้น จำเลยจะสั่งให้รอการรับจดทะเบียนไว้ก่อนตามมติของคณะรัฐมนตรีเพื่อที่จะแก้ไขกฎหมายให้ควบคุมถึงการประกอบอาชีพของโจทก์ดังกล่าวหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2337/2526

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การนำสืบหลักฐานการซื้อขายที่ไม่ตรงกับคำฟ้อง: ศาลฎีกาวินิจฉัยว่าการนำสืบว่าสามีและลูกจ้างสั่งซื้อเครื่องอะไหล่ไม่ขัดกับคำฟ้องที่จำเลยเป็นผู้ซื้อ
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยซื้อเครื่องอะไหล่รถยนต์จากโจทก์ แล้วนำสืบว่าสามีจำเลยและจำเลยเป็นผู้สั่งให้พยานโจทก์ไปเอาเครื่องอะไหล่รถยนต์จากร้านโจทก์มาซ่อมรถยนต์ซึ่งเป็นของจำเลยและสามี ซึ่งเท่ากับจำเลยเป็นผู้ซื้อเครื่องอะไหล่รถยนต์จากโจทก์ โจทก์จึงนำสืบได้ไม่เป็นการขัดกับคำฟ้อง และไม่เป็นคำฟ้องที่เคลือบคลุม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2292/2526

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องคดีอาญาความผิดที่มิใช่ความผิดต่อส่วนตัว แม้ผู้เสียหายถอนฟ้อง ก็ไม่ตัดสิทธิอัยการ
ในคดีที่โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 343และตามพระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ. 2511 ซึ่งมิใช่ความผิดต่อส่วนตัว แม้ผู้เสียหายขอถอนคำร้องทุกข์ ก็ไม่ตัดสิทธิพนักงานอัยการที่จะฟ้องคดีนั้น ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 126 วรรคสอง สิทธินำคดีอาญามาฟ้องของโจทก์จึงไม่ระงับไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2292/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องคดีอาญาความผิดไม่ต่อส่วนตัว แม้ผู้เสียหายถอนฟ้อง สิทธิฟ้องของโจทก์ยังคงอยู่
ในคดีที่โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 343 และตามพระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ. 2511 ซึ่งมิใช่ความผิดต่อส่วนตัว แม้ผู้เสียหายขอถอนคำร้องทุกข์ ก็ไม่ตัดสิทธิพนักงานอัยการที่จะฟ้องคดีนั้น ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 126 วรรคสอง สิทธินำคดีอาญามาฟ้องของโจทก์จึงไม่ระงับไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2129/2526

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำพิพากษาไม่ขัดกัน หากเป็นคนละแปลงที่ดิน แม้เกี่ยวข้องกับกรรมสิทธิ์
ที่ดินที่ศาลพิพากษาให้โจทก์จำเลยจัดการแบ่งแยกในคดีนี้คือโฉนดเลขที่ 451 เป็นที่ดินต่างแปลงกับโฉนดเลขที่ 447 ซึ่ง ศาลพิพากษาในอีกคดีหนึ่ง จึงมิใช่คำพิพากษาที่ขัดกัน
of 61