คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
พิศิษฏ์ เทศะบำรุง

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 609 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2009/2526

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขาดบัญชีเงินงบประมาณ ไม่พอฟังว่าทุจริต ต้องมีหลักฐานชัดเจน
จากการตรวจสอบบัญชี หลักฐานการเบิกจ่ายเงินงบประมาณซึ่งอยู่ในความดูแลรับผิดชอบของจำเลย คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดินเสนอต่อทางจังหวัดว่า เงินขาดบัญชีไป 1 ล้านบาทเศษ ซึ่งโจทก์ยึดถือกล่าวหาจำเลยเป็นคดีนี้ แต่คณะกรรมการที่ทางจังหวัดตั้งขึ้นตรวจสอบปรากฏว่าจำนวนเงินขาดไปเพียง 1 แสนบาทเศษ ทั้งยังพบหลักฐานการจ่ายเงิน ซึ่งเป็นใบสำคัญคู่จ่ายที่จำเลยยังมิได้ลงไว้ในหลักฐานการเบิกจ่ายเงินในบัญชีเป็นจำนวน 8 แสนบาทเศษ ถ้าหากมีการอนุมัติการจ่ายถูกต้องและลงบัญชีให้ครบถ้วนแล้ว เงินก็จะไม่ขาดบัญชี การที่เงินขาดบัญชีไปน่าจะเกิดจากความบกพร่องในการทำบัญชีไม่เรียบร้อยมิใช่การทุจริตเกิดขึ้น ดังนี้ จำเลยไม่มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 147

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1861/2526

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเบิกความเท็จเกี่ยวกับจำได้หรือไม่จำได้คนร้ายในคดีอาญา: ศาลเชื่อเบิกความคลุมเครือเป็นความจริงตามเหตุผล
ชั้นสอบสวนจำเลยให้การว่าจำคนร้ายได้ตามพฤติการณ์ที่จำเลยเห็นคนร้ายครั้งแรกในลักษณะที่จำเลยขับขี่รถจักรยานยนต์ผ่านมา ไม่ได้คิดมาก่อนว่าจะถูกปล้นทรัพย์ เมื่อรถคนร้ายแซงปาดหน้า จำเลยหักรถกลับหนีไปตามทางเดิม จึงเห็นคนร้ายในระยะสั้นมากและอยู่ในอาการรีบร้อน ดังนั้นที่จำเลยเบิกความต่อศาลว่าจำคนร้ายได้คลับคล้ายคลับคลาจึงเชื่อว่าเป็นความจริง จำเลยไม่มีความผิดฐานเบิกความเท็จตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 177

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1840/2526

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การผัดฟ้องและอำนาจฟ้อง: การอนุมัติจากอธิบดีกรมอัยการทำให้โจทก์มีอำนาจฟ้องได้ แม้จะพ้นกำหนดผัดฟ้อง
โจทก์ได้รับอนุญาตจากศาลให้ผัดฟ้องจำเลยได้ เมื่อไม่ฟ้องในระยะเวลาที่ขอผัดฟ้อง แต่ต่อมาได้รับอนุญาตจากอธิบดีกรมอัยการให้ฟ้องได้ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1616/2526

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินภาษี: นิติสัมพันธ์ซื้อขายสินค้ากับโรงงาน ไม่ถือเป็นการผลิต
โจทก์จำหน่ายรองเท้าโดยสั่งโรงงานผลิตให้ และตกลงราคากัน เป็นคู่ ๆ ไป โรงงานเป็นผู้เสียภาษีการค้าในฐานะผู้ผลิต ดังนี้ นิติสัมพันธ์ ระหว่างโจทก์กับโรงงานเป็นเรื่องซื้อขายสินค้ากันตามธรรมดาไม่ใช่เจตนา ว่าจ้างหรือรับจ้างทำของอันจะถือว่าโจทก์อยู่ในฐานะเป็นผู้ผลิตรองเท้า ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 77

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1585/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การตีความบทบัญญัติ 'ขาย' ในความผิดฐานมีวัตถุออกฤทธิ์ครอบครองเพื่อขาย และความชอบด้วยกฎหมายของการฟ้องสองข้อหา
พระราชบัญญัติวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ. 2518 มาตรา 13 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า "ห้ามมิให้ผู้ใดผลิต ขาย นำ เข้า หรือส่งออกซึ่งวัตถุออกฤทธิ์" มีโทษตาม มาตรา 89 นั้น ไม่มีข้อความใดบัญญัติถึงโทษฐานมีไว้เพื่อขายก็ตาม แต่มาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัตินี้ได้นิยามว่า "ขาย" ไว้ว่า หมายความรวมถึง จำหน่าย จ่าย แจก แลกเปลี่ยน ส่งมอบ หรือมีไว้เพื่อขาย ดังนั้น เมื่อจำเลยมีเมทแอมเฟตามีน ซึ่งออกฤทธิ์ไว้ในครอบครองเพื่อขาย จึงเป็นความผิดตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 13 และพิพากษาลงโทษตาม มาตรา 89 ได้
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อขายก็โดยอาศัยบทบัญญัติของมาตรา 4 ซึ่งให้คำนิยามของคำว่า "ขาย" ให้หมายความรวมถึงการมีไว้เพื่อขายอันอันถือว่าเป็นความผิดตามมาตรา 13 ซึ่งมีบทบัญญัติลงโทษไว้ในมาตรา 89 แห่งพระราชบัญญัติวัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ. 2518 และขณะเดียวกันก็ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยฐานขายเมทแอมเฟตามีนของกลางจำนวนหนึ่ง ดังนี้ ไม่ถือว่าเป็นฟ้องที่ขัดแย้งหรือฟ้องที่ไม่มีบทบัญญติของกฎหมายให้ลงโทษและไม่เคลือบคลุม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1585/2526

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจำหน่ายหรือมีไว้เพื่อจำหน่ายยาเสพติด การตีความคำว่า 'ขาย' ตาม พ.ร.บ.วัตถุออกฤทธิ์ฯ และความชอบด้วยกฎหมายของการฟ้อง
พระราชบัญญัติวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ. 2518มาตรา 13 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า "ห้ามมิให้ผู้ใดผลิต ขาย นำ เข้า หรือส่งออกซึ่งวัตถุออกฤทธิ์" มีโทษตาม มาตรา 89 นั้น ไม่มีข้อความใดบัญญัติถึงโทษฐานมีไว้เพื่อขายก็ตาม แต่มาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัตินี้ได้นิยามว่า "ขาย" ไว้ว่า หมายความรวมถึง จำหน่าย จ่าย แจก แลกเปลี่ยนส่งมอบ หรือมีไว้เพื่อขาย ดังนั้น เมื่อจำเลยมีเมทแอมเฟตามีน ซึ่งออกฤทธิ์ไว้ในครอบครองเพื่อขาย จึงเป็นความผิดตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 13และพิพากษาลงโทษตาม มาตรา 89 ได้
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อขายก็โดยอาศัยบทบัญญัติของมาตรา 4 ซึ่งให้คำนิยามของคำว่า "ขาย" ให้หมายความรวมถึงการมีไว้เพื่อขายอันอันถือว่าเป็นความผิดตามมาตรา 13 ซึ่งมีบทบัญญัติลงโทษไว้ในมาตรา 89 แห่งพระราชบัญญัติวัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ. 2518 และขณะเดียวกันก็ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยฐานขายเมทแอมเฟตามีนของกลางจำนวนหนึ่ง ดังนี้ ไม่ถือว่าเป็นฟ้องที่ขัดแย้งหรือฟ้องที่ไม่มีบทบัญญติของกฎหมายให้ลงโทษและไม่เคลือบคลุม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1576/2526

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประนีประนอมยอมความมีผลผูกพันบังคับใช้ได้ แม้จะไม่ได้ระบุรายละเอียดการแบ่งแยกที่ดินชัดเจน
จำเลยขายที่ดินให้โจทก์โดยไม่ได้กำหนดว่าส่วนที่ขายอยู่ตอนใดของโฉนด แต่จำเลยได้จดทะเบียนให้โจทก์ถือกรรมสิทธิ์รวมในโฉนดนั้น แล้วต่อมาโจทก์จำเลยได้ขอให้เจ้าพนักงานที่ดินทำการรังวัดแบ่งแยกโฉนดที่ดินนี้โดยให้เจ้าพนักงานที่ดินนำแผนที่สังเขปแสดงรูปส่วนของที่ดินที่จะแบ่งแยกไว้และโจทก์จำเลยได้ลงลายมือชื่อในเอกสารบันทึกการแบ่งแยกที่ดินไว้เป็นหลักฐานด้วยดังนี้ถือได้ว่าเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความเพื่อระงับข้อพิพาทเกี่ยวกับการแบ่งแยกที่ดินที่โจทก์จำเลยถือกรรมสิทธิ์รวมกันอยู่จำเลยจึงมีหน้าที่จะต้องยึดถือปฏิบัติตาม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1576/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประนีประนอมยอมความในการแบ่งแยกที่ดิน ถือเป็น binding agreement ที่จำเลยต้องปฏิบัติตาม
จำเลยขายที่ดินให้โจทก์โดยไม่ได้กำหนดว่าส่วนที่ขายอยู่ตอนใดของโฉนด แต่จำเลยได้จดทะเบียนให้โจทก์ถือกรรมสิทธิ์รวมในโฉนดนั้น แล้วต่อมาโจทก์จำเลยได้ขอให้เจ้าพนักงานที่ดินทำการรังวัดแบ่งแยกโฉนดที่ดินนี้โดยให้เจ้าพนักงานที่ดินนำแผนที่สังเขปแสดงรูปส่วนของที่ดินที่จะแบ่งแยกไว้และโจทก์จำเลยได้ลงลายมือชื่อในเอกสารบันทึกการแบ่งแยกที่ดินไว้เป็นหลักฐานด้วย ดังนี้ ถือได้ว่าเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความเพื่อระงับข้อพิพาทเกี่ยวกับการแบ่งแยกที่ดินที่โจทก์จำเลยถือกรรมสิทธิ์รวมกันอยู่ จำเลยจึงมีหน้าที่จะต้องยึดถือปฏิบัติตาม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1561/2526

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การลงโทษจำเลยในคดีเช็คพิพาทหลายฉบับ ศาลฎีกาวินิจฉัยว่าแต่ละฉบับถือเป็นกรรมต่างกัน และการฎีกาเกี่ยวกับดุลพินิจโทษเป็นปัญหาข้อเท็จจริง
ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษปรับจำเลยที่ 1 เป็นเงิน20,000 บาท และลงโทษจำคุกจำเลยที่ 2 แต่ละกระทงไม่เกิน 1 ปีศาลอุทธรณ์พิพากษายืน จำเลยทั้งสองฎีกาขอให้ลดค่าปรับให้แก่จำเลยที่ 1 และลงโทษจำเลยที่ 2ในสถานเบาและรอการลงโทษจำเลยที่ 2 ไว้ด้วยนั้น เป็นการฎีกาเกี่ยวกับดุลพินิจในการกำหนดโทษของศาล ซึ่งเป็นปัญหาข้อเท็จจริง ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 218
จำเลยออกเช็คพิพาทรวม 4 ฉบับ เพื่อชำระหนี้ให้แก่โจทก์ในวันเดียวกันและสั่งจ่ายเงินวันเดียวกัน ธนาคารได้ปฏิเสธการจ่ายเงินไปในวันเดียวกันทั้งหมดทุกฉบับแต่การออกเช็คดังกล่าวเป็นการสั่งให้ธนาคารจ่ายเงินตามจำนวนและวันที่ที่ปรากฏในเช็คซึ่งผู้ออกเช็คอาจมีเงินจ่ายตามเช็คหรือมีเจตนาให้ใช้เงินตามเช็คแต่ละฉบับหรือไม่แตกต่างแยกจากกันได้ การที่จำเลยทั้งสองออกเช็คหลายฉบับและธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินดังกล่าวจึงเป็นการกระทำผิดหลายกรรมต่างกัน ศาลต้องลงโทษจำเลยทุกกรรมเป็นกระทงความผิดไปตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91(อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 31/2518)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1561/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การลงโทษฐานออกเช็คไร้เงิน การกระทำผิดหลายกรรมต่างกัน ศาลต้องลงโทษทุกกรรมเป็นกระทง
ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษปรับจำเลยที่ 1 เป็นเงิน 20,000 บาทและลงโทษจำคุกจำเลยที่ 2 แต่ละกระทงไม่เกิน 1 ปี ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน จำเลยทั้งสองฎีกาขอให้ลดค่าปรับให้แก่จำเลยที่ 1 และลงโทษจำเลยที่ 2 ในสถานเบาและรอการลงโทษจำเลยที่ 2 ไว้ด้วยนั้น เป็นการฎีกาเกี่ยวกับดุลพินิจในการกำหนดโทษของศาล ซึ่งเป็นปัญหาข้อเท็จจริง ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218
จำเลยออกเช็คพิพาทรวม 4 ฉบับ เพื่อชำระหนี้ให้แก่โจทก์ในวันเดียวกันและสั่งจ่ายเงินวันเดียวกัน ธนาคารได้ปฏิเสธการจ่ายเงินไปในวันเดียวกันทั้งหมดทุกฉบับ แต่การออกเช็คดังกล่าวเป็นการสั่งให้ธนาคารจ่ายเงินตามจำนวนและวันที่ที่ปรากฏในเช็ค ซึ่งผู้ออกเช็คอาจมีเงินจ่ายตามเช็คหรือมีเจตนาให้ใช้เงินตามเช็คแต่ละฉบับหรือไม่แตกต่างแยกจากกันได้ การที่จำเลยทั้งสองออกเช็คหลายฉบับ และธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินดังกล่าวจึงเป็นการกระทำผิดหลายกรรมต่างกัน ศาลต้องลงโทษจำเลยทุกกรรมเป็นกระทงความผิดไปตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91 (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 31/2518)
of 61