คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
พิศิษฏ์ เทศะบำรุง

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 609 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1267/2526

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตอำนาจตัวแทนในการจัดการมรดก: การฟ้องคดีขัดแย้งผู้จัดการมรดกเกินขอบเขต
หนังสือมอบอำนาจมีใจความว่า ขอมอบอำนาจให้ผู้รับมอบอำนาจมีอำนาจทั้งปวงจัดการเกี่ยวกับการขอรับมรดก และมีอำนาจเต็มที่ในการรับและจัดการมรดกดังกล่าวดังนี้ เป็นการมอบอำนาจเฉพาะการให้ผู้รับมอบอำนาจมีอำนาจในการขอรับมรดกและมีลักษณะเป็นการตั้งให้เป็นตัวแทนได้รับมอบอำนาจทั่วไปที่จะจัดการเกี่ยวกับมรดกที่ได้รับมาได้ตามสมควรผู้รับมอบอำนาจย่อมไม่มีอำนาจฟ้องคดีขอให้ศาลถอนจำเลยจากการเป็นผู้จัดการมรดกและแต่งตั้งให้ตนเป็นผู้จัดการมรดกแทนหรือร่วมกับจำเลยเพราะเป็นการขัดกับประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 801(5)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1261/2526

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยื่นเช็คก่อนกำหนดและการปฏิเสธการจ่ายเงิน: ไม่ถือเป็นความผิดตาม พ.ร.บ. เช็ค
การที่ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็คเมื่อผู้ทรงนำเช็คไปเข้าบัญชีเพื่อเรียกเก็บเงินนั้น จะต้องเป็นการปฏิเสธเนื่องจากมีการยื่นให้ใช้เงินโดยชอบเมื่อเช็คถึงกำหนดชำระแล้ว เมื่อโจทก์ซึ่งเป็นผู้ทรงนำเช็คซึ่งจำเลยเป็นผู้ออกเข้าบัญชีเพื่อเรียกเก็บเงินตามเช็คก่อนวันที่ลงในเช็คย่อมเป็นการยื่นให้ใช้เงินโดยไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 989 ประกอบด้วยมาตรา 914 แม้ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินเพราะบัญชีของจำเลยถูกปิดมาก่อนที่จะมีการออกเช็คก็ยังถือไม่ได้ว่าเป็นการปฏิเสธการจ่ายเงินในวันที่เช็คถึงกำหนด การกระทำของจำเลยจึงยังไม่เป็นความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คพ.ศ.2497 มาตรา 3 (ประชุมใหญ่ครั้งที่7/2525)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1261/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การปฏิเสธเช็คก่อนกำหนดและผลต่อความผิดตาม พ.ร.บ. เช็ค
การที่ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็คเมื่อผู้ทรงนำเช็คไปเข้าบัญชีเพื่อเรียกเก็บเงินนั้น จะต้องเป็นการปฏิเสธเนื่องจากมีการยื่นให้ใช้เงินโดยชอบเมื่อเช็คถึงกำหนดชำระแล้ว เมื่อโจทก์ซึ่งเป็นผู้ทรงนำเช็คซึ่งจำเลยเป็นผู้ออกเข้าบัญชีเพื่อเรียกเก็บเงินตามเช็คก่อนวันที่ลงในเช็ค ย่อมเป็นการยื่นให้ใช้เงินโดยไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 989 ประกอบด้วยมาตรา 914 แม้ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินเพราะบัญชีของจำเลยถูกปิดมาก่อนที่จะมีการออกเช็ค ก็ยังถือไม่ได้ว่าเป็นการปฏิเสธการจ่ายเงินในวันที่เช็คถึงกำหนด การกระทำของจำเลยจึงยังไม่เป็นความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2497 มาตรา 3
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 7/2525)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1232/2526

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเปลี่ยนแปลงคำขอทางสิทธิในที่ดิน: โจทก์ต้องอุทธรณ์หากไม่เห็นด้วยกับคำพิพากษาศาลชั้นต้น
โจทก์ฟ้องว่าทางพิพาทเป็นทางจำเป็นและเป็นทางภารจำยอมเมื่อศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าไม่เป็นทางภารจำยอม แต่เป็นทางจำเป็น จึงพิพากษาให้จำเลยรื้อถอนสิ่งปิดกั้นทางพิพาทคำขออื่นๆ ให้ยก หากโจทก์เห็นว่าโจทก์ได้สิทธิทางภารจำยอม โจทก์ก็จะต้องอุทธรณ์คำพิพากษาศาลชั้นต้นว่าวินิจฉัยไม่ถูกต้องอย่างไร แต่โจทก์มิได้อุทธรณ์ เพียงแก้อุทธรณ์และขอให้ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้ว่าทางพิพาทเป็นทางภารจำยอมด้วย ฉะนั้นประเด็นในเรื่องทางพิพาทเป็นทางภารจำยอมหรือไม่จึงยุติไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น โจทก์ไม่มีสิทธิที่จะหยิบยกประเด็นนี้ขึ้นมาให้ศาลฎีกาวินิจฉัยได้อีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1232/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิทางภารจำยอมย่อมต้องยกขึ้นอุทธรณ์หากไม่เห็นพ้องกับคำพิพากษาศาลชั้นต้น การยกขึ้นฎีกาจึงเป็นการยกประเด็นใหม่
โจทก์ฟ้องว่าทางพิพาทเป็นทางจำเป็นและเป็นทางภารจำยอม เมื่อศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าไม่เป็นทางภารจำยอม แต่เป็นทางจำเป็นจึงพิพากษาให้จำเลยรื้อถอนสิ่งปิดกั้นทางพิพาท คำขออื่น ๆ ให้ยก หากโจทก์เห็นว่าโจทก์ได้สิทธิทางภารจำยอม โจทก์ก็จะต้องอุทธรณ์คำพิพากษาศาลชั้นต้นว่าวินิจฉัยไม่ถูกต้องอย่างไร แต่โจทก์มิได้อุทธรณ์ เพียงแก้อุทธรณ์และขอให้ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้ว่าทางพิพาทเป็นทางภารจำยอมด้วย ฉะนั้นประเด็นในเรื่องทางพิพาทเป็นทางภารจำยอมหรือไม่จึงยุติไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น โจทก์ไม่มีสิทธิที่จะหยิบยกประเด็นนี้ขึ้นมาให้ศาลฎีกาวินิจฉัยได้อีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1167/2526

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจ้างเหมาต้องทำเป็นหนังสือ: ผลของการตกลงให้ทำสัญญาอีกชั้นหนึ่ง
จำเลยทำคำเสนอจะทำสัญญาจ้างเหมาก่อสร้างอาคารต่อโจทก์โดยเสนอราคาค่าก่อสร้างหลังละ 500,000 บาท โจทก์ตกลงและมีหนังสือแจ้งให้จำเลยมาทำสัญญาจ้างเหมาก่อสร้างกับเจ้าหน้าที่ แต่จำเลยกลับปฏิเสธและแจ้งแก่โจทก์ขอระงับการทำสัญญาจ้างเหมาก่อสร้าง โจทก์จึงว่าจ้างผู้รับเหมารายอื่นก่อสร้างอาคารดังกล่าวในราคาสูงขึ้นกว่าเดิม ดังนี้เป็นกรณีที่โจทก์ตกลงจะจ้างเหมาจำเลยก่อสร้างตามคำเสนอของจำเลย โดยให้จำเลยไปทำสัญญาจ้างเหมาก่อสร้างอีกชั้นหนึ่งจึงจะมีผลให้ผูกพันกันได้ ต้องตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 366 วรรคสองแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ เมื่อยังมิได้กระทำสัญญาเป็นหนังสือต่อกัน โจทก์จึงไม่มีสิทธิที่จะอาศัยเพียงข้อเสนอของจำเลยและการสนองรับของโจทก์ให้เป็นข้อสัญญาจ้างเหมาที่จะเรียกค่าเสียหายจากจำเลยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1167/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจ้างเหมาต้องทำเป็นหนังสือ: ผลของการตกลงทำสัญญาอีกชั้นหนึ่ง
จำเลยทำคำเสนอจะทำสัญญาจ้างเหมาก่อสร้างอาคารต่อโจทก์ โดยเสนอราคาค่าก่อสร้างหลังละ 500,000 บาท โจทก์ตกลงและมีหนังสือแจ้งให้จำเลยมาทำสัญญาจ้างเหมาก่อสร้างกับเจ้าหน้าที่ แต่จำเลยกลับปฏิเสธและแจ้งแก่โจทก์ขอระงับการทำสัญญาจ้างเหมาก่อสร้าง โจทก์จึงว่าจ้างผู้รับเหมารายอื่นก่อสร้างอาคารดังกล่าวในราคาสูงขึ้นกว่าเดิม ดังนี้เป็นกรณีที่โจทก์ตกลงจะจ้างเหมาจำเลยก่อสร้างตามคำเสนอของจำเลย โดยให้จำเลยไปทำสัญญาจ้างเหมาก่อสร้างอีกชั้นหนึ่งจึงจะมีผลให้ผูกพันกันได้ ต้องตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 366 วรรคสองแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ เมื่อยังมิได้กระทำสัญญาเป็นหนังสือต่อกัน โจทก์จึงไม่มีสิทธิที่จะอาศัยเพียงข้อเสนอของจำเลยและการสนองรับของโจทก์ให้เป็นข้อสัญญาจ้างเหมาที่จะเรียกค่าเสียหายจากจำเลยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1166/2526

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเปลี่ยนแปลงสถานะทางกฎหมายของก๊าซบิวเตนจากน้ำมันเชื้อเพลิง ทำให้จำเลยพ้นจากความผิด
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยเก็บก๊าซเชื้อเพลิงเหลวบิวเตน (ปกติ)ซึ่งเป็นน้ำมันเชื้อเพลิง ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องกำหนดชนิดของเหลวต่างๆที่เป็นน้ำมันเชื้อเพลิงตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเก็บรักษาน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ.2474 ลงวันที่ 5มกราคม 2504 ลำดับที่ 17 และทำการจำหน่ายบิวเตน (ปกติ)ในสถานที่มิได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงาน ขณะที่คดีอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาล ได้มีประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องกำหนดชนิดของเหลวต่างๆที่เป็นน้ำมันเชื้อเพลิงตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเก็บรักษาน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ.2474(ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 25 ธันวาคม 2524 ให้ยกเลิกความในลำดับที่ 17 แห่งประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องกำหนดชนิดของเหลวต่างๆที่เป็นน้ำมันเชื้อเพลิง ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเก็บรักษาน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ.2474 ลงวันที่ 5มกราคม 2504ดังนี้ บิวเตน (ปกติ) จึงไม่เป็นน้ำมันเชื้อเพลิงอีกต่อไปการกระทำของจำเลยแม้จะเป็นความผิดดังที่โจทก์กล่าวในฟ้อง จำเลยก็พ้นจากการเป็นผู้กระทำความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 2

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1166/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเปลี่ยนแปลงสถานะทางกฎหมายของบิวเตนจาก 'น้ำมันเชื้อเพลิง' ทำให้จำเลยพ้นจากความผิด
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยเก็บก๊าซเชื้อเพลิงเหลวบิวเตน (ปกติ) ซึ่งเป็นน้ำมันเชื้อเพลิง ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องกำหนดชนิดของเหลวต่าง ๆ ที่เป็นน้ำมันเชื้อเพลิงตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเก็บรักษาน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. 2474 ลงวันที่ 5มกราคม 2504 ลำดับที่ 17 และทำการจำหน่ายบิวเตน (ปกติ) ในสถานที่มิได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงาน ขณะที่คดีอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาล ได้มีประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องกำหนดชนิดของเหลวต่าง ๆ ที่เป็นน้ำมันเชื้อเพลิงตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเก็บรักษาน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. 2474 (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 25 ธันวาคม 2524 ให้ยกเลิกความในลำดับที่ 17 แห่งประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องกำหนดชนิดของเหลวต่าง ๆ ที่เป็นน้ำมันเชื้อเพลิง ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเก็บรักษาน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ.2474 ลงวันที่ 5 มกราคม 2504 ดังนี้ บิวเตน (ปกติ) จึงไม่เป็นน้ำมันเชื้อเพลิงอีกต่อไป การกระทำของจำเลยแม้จะเป็นความผิดดังที่โจทก์กล่าวในฟ้องจำเลยก็พ้นจากการเป็นผู้กระทำความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 2

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1068/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องแทน & สิทธิเรียกร้องตามสัญญาประกันภัย: แม้ชื่อไม่ตรงกัน แต่เชื่อได้ว่าเป็นนิติบุคคลเดียวกัน และสิทธิเรียกร้องมีเมื่อเกิดความเสียหาย
โจทก์ที่ 2 มอบอำนาจให้โจทก์ที่ 1 ฟ้องคดี ในคำฟ้องของโจทก์ทั้งสองที่ขอให้จำเลยรับผิดตามสัญญากรมธรรม์ประกันภัยนั้นได้แนบใบมอบอำนาจและสัญญากรมธรรม์ประกันภัยมาท้ายคำฟ้องด้วย จึงถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของคำฟ้อง ฉะนั้น แม้ชื่อในใบมอบอำนาจและในสัญญากรมธรรม์ประกันภัยจะไม่ตรงกับชื่อโจทก์ในคำฟ้อง แต่ก็มีเหตุให้เชื่อได้ว่าความจริงเป็นคนเดียวกัน โจทก์ที่ 1 จึงอาศัยใบมอบอำนาจดังกล่าวฟ้องและดำเนินคดีแทนโจทก์ที่ 2 ได้
เมื่อจำเลยจะต้องรับผิดตามสัญญาประกันภัย โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องร้องขอให้จำเลยชำระเงินค่าสินไหมทดแทนเป็นค่าเสียหายตามสัญญาดังกล่าวได้โดยมิต้องคำนึงว่าโจทก์จะได้เป็นผู้ออกเงินค่าใช้จ่ายในการซ่อมแซมรถยนต์ที่เอาประกันภัยไว้หรือไม่
of 61