คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
พิศิษฏ์ เทศะบำรุง

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 609 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2584/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีแพ่ง: ผู้เสียหายต้องเป็นเจ้าของเงินที่ถูกยักยอก หากไม่ใช่ไม่มีอำนาจฟ้อง
กองบังคับการตำรวจรถไฟเป็นหน่วยงานราชการในสังกัดของกรมตำรวจโจทก์ แต่บรรดาค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ของกองบังคับการตำรวจรถไฟ เช่น เงินเดือน ค่าเบี้ยเลี้ยง ค่ารักษาพยาบาล ค่าเล่าเรียนบุตรของเจ้าหน้าที่ตำรวจรถไฟนั้นการรถไฟแห่งประเทศไทยเป็นผู้มีหน้าที่จ่ายจากเงินงบประมาณของการรถไฟแห่งประเทศไทยทั้งสิ้น โดยกรมตำรวจโจทก์ไม่มีหน้าที่จัดสรรเงินงบประมาณเพื่อการนี้ให้แก่กองบังคับการตำรวจรถไฟแต่อย่างใด ดังนั้น เมื่อการรถไฟแห่งประเทศไทยเป็นผู้จ่ายเงินตามฎีกาเบิกเงินค่าเบี้ยเลี้ยง เงินต่าง ๆ รวม 33 ครั้งจำนวน 168 ฎีกาตามที่กองบังคับการตำรวจรถไฟเป็นผู้ตั้งฎีกาเบิกเพื่อนำไปจ่ายให้แก่เจ้าหน้าที่ตำรวจรถไฟตามสิทธิ แต่ร้อยตำรวจเอก บ. สมุห์บัญชีของกองบังคับการตำรวจรถไฟได้ทุจริตเบียดบังยักยอกเงินตามฎีกาทั้งหมดไปเป็นประโยชน์ส่วนตนเสียเช่นนี้ การรถไฟแห่งประเทศไทย ซึ่งเป็นเจ้าของเงินงบประมาณที่เบิกจ่ายเป็นค่าเบี้ยเลี้ยงหรือเงินต่าง ๆ ดังกล่าวจึงถือว่าเป็นผู้เสียหายในเรื่องนี้ไม่ใช่กรมตำรวจโจทก์ แม้ฎีกาเบิกเงินได้แนบใบเบิกเงินค่าเบี้ยเลี้ยงของเจ้าหน้าที่ตำรวจรถไฟผู้ขอเบิกและตามหลักฐานระบุว่าได้รับเงินไปครบถ้วนโดยลงนามรับเงินแล้วก็ตาม แต่เมื่อปรากฏว่าเจ้าหน้าที่ตำรวจรถไฟผู้ขอเบิกยังมิได้รับเงินที่เบิกไปตามที่ ลงนามไว้ในใบเบิกเพราะเงินนั้นถูกยักยอกไปเสียก่อนการรถไฟแห่งประเทศไทยจึงยังมิได้จ่ายเงินให้แก่เจ้าหน้าที่ตำรวจรถไฟผู้ขอเบิกแม้จะมีการตั้งฎีกาเบิกและสมุห์บัญชีกองบังคับการตำรวจรถไฟรับเงินจำนวนที่เบิกไปจากกองคลังเงินการรถไฟแล้ว เงินจำนวนนั้นก็ยังคงเป็นของการรถไฟแห่งประเทศไทยอยู่ หาใช่เงินของกรมตำรวจโจทก์ไม่ เมื่อมีการเบียดบังไปเป็นประโยชน์ส่วนตน จึงไม่ใช่เป็นการเบียดบังเอาเงินของกรมตำรวจโจทก์ โจทก์ไม่ใช่เจ้าของเงิน จึงไม่ถือว่าโจทก์เป็นผู้เสียหายอันจะมีอำนาจฟ้องเรียกคืนเงินดังกล่าวจากจำเลยได้
กรณีนี้แม้ได้มีคำพิพากษาถึงที่สุดในคดีอาญาที่ร้อยตำรวจเอกบ.เป็นจำเลยให้ร้อยตำรวจเอก บ. คืนหรือใช้เงินจำนวนที่ยักยอกไปให้แก่กองบังคับการตำรวจรถไฟ กรมตำรวจก็ตาม แต่คำพิพากษาถึงที่สุดในคดีอาญาดังกล่าว หามีผลผูกพันจำเลยที่ 1 และที่ 2 ในคดีนี้ซึ่งมิใช่เป็นคู่ความในคดีอาญาให้จำต้องถือตามไม่ เมื่อข้อเท็จจริงในคดีแพ่งนี้รับฟังได้ว่า เงินจำนวนตามฟ้องที่ถูกร้อยตำรวจเอก บ.สมุห์บัญชีกองบังคับการ ตำรวจรถไฟทุจริตเบียดบัง ยักยอกไปเป็นประโยชน์ส่วนตนมิใช่เป็นเงินงบประมาณของกรมตำรวจโจทก์ โจทก์ย่อมไม่ใช่ผู้เสียหายที่จะมีอำนาจฟ้องร้องจำเลยที่ 1 และที่ 2 ให้ร่วมรับผิดในเงินจำนวนนี้กับร้อยตำรวจเอกบ. จำเลยในคดีอาญานั้นได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2516/2527

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนังสือมอบฉันทะต้องเป็นไปตามข้อบังคับบริษัท การลงนามและประทับตราสำคัญของกรรมการจึงจะถือเป็นผู้แทนนิติบุคคล
หนังสือรับรองของนายทะเบียนสำนักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทได้กำหนดให้กรรมการบริษัทอย่างน้อยสองคนมีอำนาจลงชื่อแทนบริษัทและต้องประทับตราสำคัญของบริษัทไว้ด้วยเมื่อปรากฏว่าหนังสือมอบฉันทะของบริษัทมีเพียงกรรมการเพียงคนเดียวลงลายมือชื่อไว้และไม่ได้ประทับตราสำคัญของบริษัทจึงเป็นการขัดต่อข้อบังคับและความประสงค์ของบริษัทซึ่งเป็นนิติบุคคล ถือไม่ได้ว่าเป็นการกระทำของผู้แทนนิติบุคคลและกรณีเช่นนี้ไม่ถือว่าเป็นการกระทำของผู้แทนนิติบุคคลที่ขาดความสามารถ อันจะทำให้นิติบุคคลให้การรับรองหรือให้สัตยาบันได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2499/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เบิกความเท็จในคดีแพ่งไม่เป็นข้อสำคัญ หากไม่ทำให้เจ้าของกรรมสิทธิ์ได้รับความเสียหาย
จำเลยเบิกความต่อศาลในคดีแพ่งมีสาระสำคัญว่า จำเลยและ ม.เป็นสามีภริยากัน ต่างไม่มีสินเดิม ระหว่างอยู่กินด้วยกันทำมาหาได้ก็ไปซื้อเรือพรพิพัฒน์ 1 แล้วขายไปซื้อ เรือพรพิพัฒน์ 2 และหุ้นส่วนกับผู้อื่นซื้อเรือพรพิพัฒน์ 3 ต่อมา เรือ พรพิพัฒน์ 2 จมหายไปและขายหุ้นส่วนเรือพรพิพัฒน์ 3 มาซื้อเรือพรพิพัฒน์ 4 โดยใส่ชื่อ ม. กับโจทก์เป็นเจ้าของร่วมกัน เมื่อปรากฏว่าเรือพรพิพัฒน์ 4 มีชื่อโจทก์เป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วย และเป็นทรัพย์สินที่ได้มาในระหว่างจำเลยและ ม. ยังเป็นสามีภริยากัน ทั้งผลที่สุดในคดีแพ่งดังกล่าวศาลอุทธรณ์พิพากษาถึงที่สุดให้แบ่งเรือพรพิพัฒน์ 4 ให้จำเลยหนึ่งในสี่ คำเบิกความของจำเลยแม้จะเกินเลยไปบ้างก็ไม่เป็นข้อสำคัญในคดี เพราะไม่ทำให้โจทก์ซึ่งมีกรรมสิทธิ์รวมในเรือพรพิพัฒน์ 4 ได้รับความเสียหาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2499/2527

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เบิกความเกินเลยในคดีแพ่ง ไม่ทำให้เจ้าของกรรมสิทธิ์รวมเสียหาย ไม่เป็นเหตุฟ้องเท็จ
จำเลยเบิกความต่อศาลในคดีแพ่งมีสาระสำคัญว่า จำเลยและ ม.เป็นสามีภริยากัน ต่างไม่มีสินเดิม ระหว่างอยู่กินด้วยกันทำมาหาได้ก็ไปซื้อเรือพรพิพัฒน์ 1 แล้วขายไปซื้อเรือพรพิพัฒน์ 2 และหุ้นส่วนกับผู้อื่นซื้อเรือพรพิพัฒน์ 3 ต่อมาเรือพรพิพัฒน์ 2 จมหายไปและขายหุ้นส่วนเรือพรพิพัฒน์ 3 มาซื้อเรือพรพิพัฒน์ 4 โดยใส่ชื่อ ม. กับโจทก์เป็นเจ้าของร่วมกัน เมื่อปรากฏว่าเรือพรพิพัฒน์ 4 มีชื่อโจทก์เป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วย และเป็นทรัพย์สินที่ได้มาในระหว่างจำเลยและ ม. ยังเป็นสามีภริยากันทั้งผลที่สุดในคดีแพ่งดังกล่าวศาลอุทธรณ์พิพากษาถึงที่สุดให้แบ่งเรือพรพิพัฒน์ 4 ให้จำเลยหนึ่งในสี่ คำเบิกความของจำเลยแม้จะเกินเลยไปบ้างก็ไม่เป็นข้อสำคัญในคดี เพราะไม่ทำให้โจทก์ซึ่งมีกรรมสิทธิ์รวมในเรือพรพิพัฒน์ 4 ได้รับความเสียหาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2480/2527

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเวนคืนอสังหาริมทรัพย์: การเสนอเรื่องให้คณะกรรมการพิจารณาไม่ถือเป็นการปฏิบัติหน้าที่มิชอบ
จำเลยเป็นผู้อำนวยการการท่าเรือแห่งประเทศไทยและเป็นเจ้าหน้าที่เวนคืนอสังหาริมทรัพย์ การที่จำเลยนำเรื่องการจ่ายเงินทดแทนการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ตามบันทึกข้อตกลงระหว่างโจทก์กับคณะกรรมการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์เสนอปรึกษาหารือคณะกรรมการการท่าเรือแห่งประเทศไทย แล้วรอการจ่ายเงินทดแทนบางส่วนของโจทก์ไว้ตามมติของคณะกรรมการของการท่าเรือแห่งประเทศไทย ย่อมเป็นการกระทำตามหน้าที่ภายใต้บังคับของพระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ในท้องที่ตำบลทุ่งสุขลาฯพ.ศ.2521 และพระราชบัญญัติการท่าเรือแห่งประเทศไทย พ.ศ.2494มิได้เป็นการปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบเพื่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์และไม่เป็นการใช้อำนาจในตำแหน่งหน้าที่โดยทุจริต จึงไม่เป็นความผิด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2394/2527

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำพิพากษาคดีแพ่งไม่ผูกพันคดีอาญา การเบิกความเท็จต้องมีพยานหลักฐานสนับสนุน
ในคดีอาญาที่ฟ้องกล่าวหาว่าจำเลยได้เบิกความเท็จในคดีแพ่ง นั้นแม้ศาลที่พิจารณาพิพากษาคดีแพ่งจะไม่เชื่อข้อเท็จจริงที่พยานจำเลยนำสืบและพิพากษาให้โจทก์ชนะคดีและคดีถึงที่สุดแล้วก็ตาม ก็จะนำเอาผลของคำพิพากษานั้นมาฟังว่าคำเบิกความของจำเลยเป็นเท็จหาได้ไม่เพราะประเด็นในการวินิจฉัยในคดีแพ่งกับปัญหาวินิจฉัยในคดีอาญาแตกต่างกันคำพิพากษาในคดีแพ่งก็มีผลผูกพันเฉพาะคู่ความในคดีแพ่งเท่านั้น ไม่ใช่เป็นข้อเท็จจริงที่รู้กันอยู่ทั่วไปหรือไม่อาจโต้แย้งได้ เพราะมิฉะนั้นคู่ความหรือพยานฝ่ายที่แพ้คดีก็จะต้องมีความผิดฐานเบิกความเท็จเสมอไปเมื่อโจทก์ฟ้องกล่าวหาว่าจำเลยเบิกความเท็จ โจทก์ก็มีหน้าที่ต้อง พิสูจน์ให้ได้ความว่าคำเบิกความของจำเลยเป็นเท็จ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2394/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เบิกความเท็จในคดีแพ่ง ไม่ถือเป็นเท็จโดยอัตโนมัติ โจทก์ต้องพิสูจน์ความเท็จเอง
ในคดีอาญาที่ฟ้องกล่าวหาว่าจำเลยได้เบิกความเท็จในคดีแพ่งนั้น แม้ศาลที่พิจารณาพิพากษาคดีแพ่งจะไม่เชื่อข้อเท็จจริงที่พยานจำเลยนำสืบและพิพากษาให้โจทก์ชนะคดีและคดีถึงที่สุดแล้วก็ตาม ก็จะนำเอาผลของคำพิพากษานั้นมาฟังว่าคำเบิกความของจำเลยเป็นเท็จหาได้ไม่ เพราะประเด็นในการวินิจฉัยในคดีแพ่งกับปัญหาวินิจฉัยในคดีอาญาแตกต่างกัน คำพิพากษาในคดีแพ่งก็มีผลผูกพันเฉพาะคู่ความในคดีแพ่งเท่านั้น ไม่ใช่เป็นข้อเท็จจริงที่รู้กันอยู่ทั่วไปหรือไม่อาจโต้แย้งได้ เพราะมิฉะนั้นคู่ความหรือพยานฝ่ายที่แพ้คดีก็จะต้องมีความผิดฐานเบิกความเท็จเสมอไป เมื่อโจทก์ฟ้องกล่าวหาว่าจำเลยเบิกความเท็จ โจทก์ก็มีหน้าที่ต้องพิสูจน์ให้ได้ความว่าคำเบิกความของจำเลยเป็นเท็จ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2304/2527

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผลของคำท้าพิสูจน์ลายมือชื่อและการบังคับใช้ตามคำสั่งศาล ศาลต้องวินิจฉัยตามผลการพิสูจน์ลายมือชื่อ ไม่ใช่การไม่วางเงิน
โจทก์จำเลยตกลงท้ากันให้พิสูจน์ลายพิมพ์นิ้วมือของ ค.ภรรยาของจำเลยในเอกสารใบมอบอำนาจว่า ถ้าเป็นลายพิมพ์นิ้วมือของ ค. จริงจำเลยยอมแพ้ ถ้าไม่ใช่โจทก์ยอมแพ้โจทก์และจำเลยต่างสละข้อต่อสู้อื่นทั้งหมด และในวันเดียวกันนั้นเองศาลชั้นต้นสั่งให้โจทก์และจำเลยวางเงินค่าตรวจพิสูจน์ฝ่ายละ 2,000 บาท ภายใน 20 วันนับแต่วันสั่ง ถ้าฝ่ายใดไม่วางเงินภายในกำหนดเวลาก็ให้ถือว่าฝ่ายนั้นเป็นฝ่ายแพ้คดี ดังนี้แม้จำเลยมิได้วางเงินดังกล่าว ภายในกำหนด ก็หามีผลทำให้จำเลยตกเป็นฝ่ายแพ้คดีเพราะการไม่วางเงินตามคำสั่งศาลชั้นต้นไม่ เพราะการที่ฝ่ายใดไม่วางเงินให้ถือว่าฝ่ายนั้นเป็นฝ่ายแพ้คดีนั้นเป็นเรื่องนอกเหนือที่คู่ความท้ากัน ศาลชั้นต้นจะนำมาเป็นเหตุวินิจฉัยให้จำเลยแพ้คดีหาได้ไม่ คำท้ายังมีผลบังคับได้ต่อไป เมื่อกองพิสูจน์หลักฐานกรมตำรวจได้ตรวจพิสูจน์ลายพิมพ์นิ้วมือนั้นว่าไม่ใช่ลายพิมพ์นิ้วมือของ ค. โจทก์จึงต้องตกเป็นฝ่ายแพ้คดีตามคำท้า

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2304/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผลของการท้าพิสูจน์ลายพิมพ์นิ้วมือ: ศาลต้องยึดผลการพิสูจน์จริง แม้จำเลยไม่วางเงินค่าตรวจพิสูจน์
โจทก์จำเลยตกลงท้ากันให้พิสูจน์ลายพิมพ์นิ้วมือของ ค.ภรรยาของจำเลยในเอกสารใบมอบอำนาจว่า ถ้าเป็นลายพิมพ์นิ้วมือของ ค.จริงจำเลยยอมแพ้ ถ้าไม่ใช่โจทก์ยอมแพ้ โจทก์และจำเลยต่างสละข้อต่อสู้อื่นทั้งหมด และในวันเดียวกันนั้นเองศาลชั้นต้นสั่งให้โจทก์และจำเลยวางเงินค่าตรวจพิสูจน์ฝ่ายละ 2,000 บาท ภายใน 20 วัน นับแต่วันสั่ง ถ้าฝ่ายใดไม่วางเงินภายในกำหนดเวลาก็ให้ถือว่าฝ่ายนั้นเป็นฝ่ายแพ้คดี ดังนี้แม้จำเลยมิได้วางเงินดังกล่าวภายในกำหนด ก็หามีผลทำให้จำเลยตกเป็นฝ่ายแพ้คดีเพราะการไม่วางเงินตามคำสั่งศาลชั้นต้นไม่ เพราะการที่ฝ่ายใดไม่วางเงินให้ถือว่าฝ่ายนั้นเป็นฝ่ายแพ้คดีนั้นเป็นเรื่องนอกเหนือที่คู่ความท้ากัน ศาลชั้นต้นจะนำมาเป็นเหตุวินิจฉัยให้จำเลยแพ้คดีหาได้ไม่ คำท้ายังมีผลบังคับได้ต่อไป เมื่อกองพิสูจน์หลักฐานกรมตำรวจได้ตรวจพิสูจน์ลายพิมพ์นิ้วมือนั้นว่าไม่ใช่ลายพิมพ์นิ้วมือของ ค. โจทก์จึงต้องตกเป็นฝ่ายแพ้คดีตามคำท้า

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2302/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตการวินิจฉัยข้อเท็จจริงในชั้นอุทธรณ์คดีอาญา และการห้ามอุทธรณ์ตามมาตรา 193 ทวิ
กรณีที่มีการอุทธรณ์เฉพาะในปัญหาข้อกฎหมาย การวินิจฉัยข้อกฎหมายนั้นๆ ศาลอุทธรณ์ต้องฟังข้อเท็จจริงตามคำวินิจฉัยของศาลชั้นต้น แต่ถ้าศาลชั้นต้นวินิจฉัยข้อเท็จจริงผิดต่อกฎหมาย ศาลอุทธรณ์มีอำนาจฟังข้อเท็จจริงใหม่แล้วมีคำพิพากษาหรือคำสั่งชี้ขาดไปตามนั้นได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 243 (3) (ก) ประกอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 15
โจทก์อุทธรณ์ว่า ศาลชั้นต้นไม่มีอำนาจถือเอาข้อเท็จจริงตาม คำพิพากษาคดีแพ่งมาผูกพันโจทก์ในคดีอาญาแล้วพิพากษายกฟ้องโจทก์โดยศาลชั้นต้นชอบที่จะวินิจฉัยพยานหลักฐานที่โจทก์นำสืบไว้ในชั้นไต่สวนมูลฟ้องเพื่อประทับฟ้องโจทก์ไว้พิจารณานั้นเท่ากับโจทก์อุทธรณ์ว่าศาลชั้นต้นวินิจฉัยข้อเท็จจริงผิดต่อกฎหมาย ศาลอุทธรณ์มีอำนาจฟังข้อเท็จจริงใหม่แล้วพิพากษาหรือมีคำสั่งชี้ขาดไปตามนั้นได้
ชั้นไต่สวนมูลฟ้อง ศาลชั้นต้นฟังว่าเอกสารสัญญากู้ที่จำเลยใช้เป็นหลักฐานฟ้องเรียกเงินกู้จากโจทก์ในคดีแพ่งเป็นเอกสารที่แท้จริงแล้วพิพากษายกฟ้องโจทก์ในความผิดฐานแสดงหลักฐานเท็จตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 180 นั้น เป็น การยกฟ้องโดยอาศัยข้อเท็จจริง ต้องห้ามอุทธรณ์ใน ปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 193ทวิ
of 61