พบผลลัพธ์ทั้งหมด 609 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1980/2527
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของผู้ร่วมขนส่งในความเสียหายของสินค้า การพิสูจน์ความเสียหายและขอบเขตความรับผิด
จำเลยเป็นตัวแทนของบริษัท ซ. ซึ่งมีหน้าที่ควบคุมสายการเดินเรือต่างๆรวมทั้งเรือ อ. ของบริษัท บ.ผู้ขนส่งสินค้ารายพิพาทด้วย เมื่อเรือจะเข้าท่าเรือกรุงเทพจำเลยเป็นผู้แจ้งให้บริษัท ย. เจ้าของสินค้าผู้รับตราส่งทราบ บริษัท ย. นำใบตราส่งมาชำระค่าระวางสินค้าแก่จำเลย และจำเลยออกใบรับมอบของหรือใบปล่อยสินค้าให้ไปรับสินค้า และจำเลยติดต่อขออนุญาตเช่าเครื่องมือขนถ่ายสินค้าจากการท่าเรือฯด้วย หน้าที่ดังกล่าวจำเลยได้รับผลประโยชน์ตอบแทน ต้องถือว่าการขนส่งสินค้ารายพิพาทจำเลยเป็นผู้ร่วมขนส่งด้วยคนหนึ่ง โดยไม่ต้องคำนึงว่าจำเลยมีนิติสัมพันธ์กับบริษัท บ. หรือไม่ จำเลยซึ่งเป็นผู้ร่วมขนส่งจึงต้องรับผิดร่วมกันในความเสียหายทั้งหมดของสินค้ารายพิพาทด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1868/2527
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องละเมิด: เริ่มนับแต่วันที่รู้ถึงการละเมิดและตัวผู้รับผิด แม้มีการสอบสวนภายในก็ไม่หยุดนับ
ข้อเท็จจริงได้ความจากการนำสืบของโจทก์ว่า รถยนต์โจทก์ถูกรถยนต์จำเลยที่ 2 ซึ่งมีจำเลยที่ 1 เป็นลูกจ้างขับรถไปในทางการที่จ้างของจำเลยที่ 2 ด้วยความประมาทชนได้รับความเสียหายเมื่อวันที่ 25 สิงหาคม 2518 ต่อมาวันที่ 29 สิงหาคม 2518 นาย น.ข้าราชการในสังกัดกรมโจทก์ และได้รับมอบหมายจากกรมโจทก์ให้เดินทางไปสังเกตการณ์และสอบถามรายละเอียดต่าง ๆ เกี่ยวกับอุบัติเหตุรถยนต์คันของโจทก์ถูกชน นาย น.ได้ทำบันทึกรายงานแจ้งถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ดังปรากฏตามรายงานข้อ 7 ในบันทึกเอกสารหมายจ.5 ว่า "กระผมได้ไปพบเจ้าของรถบรรทุก ร. น.00562และตัวแทนบริษัทธนกิจประกันภัยจำกัด(นายธัญญะเอื้ออารี) เพื่อเรียกร้องการชดใช้ค่าเสียหายที่เกิดขึ้น ซึ่งทางบริษัทประกันภัยได้ตกลงเป็นหลักการไว้ว่ายินดีจะชดใช้ ค่าเสียหายโดยจะซ่อมแซม รถยนต์แลนด์โรเวอร์ก.ท.ฬ.-1021ให้อยู่ในสภาพเดิม" นายภักดีลุศนันท์ อธิบดีกรมโจทก์ ในขณะนั้นได้มีบันทึกสั่งการไว้ในท้ายบันทึกรายงานดังกล่าว ลงวันที่ 2 กันยายน 2518 ว่า 1. การตกลงกับบริษัทประกันภัยและเจ้าของรถบรรทุกต้องมีลายลักษณ์อักษร 2. ทำรายงานไปกระทรวงการคลัง 3. ตั้งกรรมการสอบ ผู้รับผิดชอบทางแพ่งตามระเบียบซึ่งต่อมานาง ฉ.ประธานกรรมการสอบสวนหาตัวผู้รับผิดในทางแพ่งตามที่กรมโจทก์ตั้ง ขึ้นก็ได้ทำรายงานความเห็นต่ออธิบดีกรมโจทก์ ดังปรากฏตามบันทึกข้อความเอกสารหมายจ.6หน้าที่ 3 ความว่าเห็นว่ารถยนต์บรรทุกหมายเลขทะเบียน ร.น.00562 เป็นฝ่ายผิด ซึ่งเจ้าของรถยนต์ดังกล่าวจะต้องชดใช้ค่าเสียหายให้แก่กรมโจทก์แต่เหตุเกิดเมื่อวันที่ 25 สิงหาคม 2518 และรู้ตัวผู้ที่จะต้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเมื่อวันที่ 12 กันยายน 2518 ฉะนั้นการที่จะเรียกร้องเอาค่าสินไหมทดแทนจากเจ้าของรถยนต์บรรทุกหมายเลขทะเบียน ร.น.00562 นั้น ขาดอายุความ แล้ว จากข้อเท็จจริงตามที่ได้ความดังกล่าวเห็นว่า กรมโจทก์โดยอธิบดีในขณะนั้นได้รู้ถึงการกระทำละเมิดและรู้ตัว ผู้ที่จะต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนซึ่งได้แก่จำเลยแล้วตั้งแต่วันที่ 2 กันยายน 2518ตามที่อธิบดีกรมโจทก์ในขณะนั้นได้ เขียนบันทึกสั่งการไว้ท้ายบันทึกรายงานตามเอกสารหมายจ.5 ซึ่งแม้แต่นางฉ.ประธานกรรมการสอบสวนหาตัวผู้รับผิดในทางแพ่งที่โจทก์แต่งตั้งขึ้นก็ยังให้ความเห็นว่าคดีขาดอายุความแล้ว ดังนี้ การที่โจทก์นำคดีมาฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายจากจำเลยเมื่อวันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2522 ซึ่งเป็นเวลาพ้นหนึ่งปีนับแต่วันที่โจทก์ผู้เสียหายรู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวจำเลยผู้ต้องรับผิดดังกล่าว คดีโจทก์จึงขาดอายุความฟ้องร้องแล้ว (ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 6/2527)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1868/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องละเมิด: เริ่มนับแต่วันที่ผู้เสียหายรู้ถึงการละเมิดและตัวผู้ต้องรับผิด
ข้อเท็จจริงได้ความจากการนำสืบของโจทก์ว่า รถยนต์โจทก์ถูกรถยนต์จำเลยที่ 2 ซึ่งมีจำเลยที่ 1 เป็นลูกจ้างขับรถไปในทางการที่จ้างของจำเลยที่ 2 ด้วยความประมาทชนได้รับความเสียหายเมื่อวันที่ 25 สิงหาคม 2518 ต่อมาวันที่ 29 สิงหาคม 2518 นาย น.ข้าราชการในสังกัดกรมโจทก์ และได้รับมอบหมายจากกรมโจทก์ให้เดินทางไปสังเกตการณ์และสอบถามรายละเอียดต่าง ๆ เกี่ยวกับอุบัติเหตุรถยนต์คันของโจทก์ถูกชน นาย น.ได้ทำบันทึกรายงานแจ้งถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ดังปรากฏตามรายงานข้อ 7 ในบันทึกเอกสารหมายจ.5 ว่า "กระผมได้ไปพบเจ้าของรถบรรทุก ร. น. 00562 และตัวแทนบริษัทธนกิจประกันภัย จำกัด (นายธัญญะ เอื้ออารี) เพื่อเรียกร้องการชดใช้ค่าเสียหายที่เกิดขึ้น ซึ่งทางบริษัทประกันภัยได้ตกลงเป็นหลักการไว้ว่ายินดีจะชดใช้ ค่าเสียหายโดยจะซ่อมแซม รถยนต์แลนด์โรเวอร์ ก.ท.ฬ.- 1021 ให้อยู่ในสภาพเดิม " นายภักดี ลุศนันท์ อธิบดีกรมโจทก์ในขณะนั้นได้มีบันทึกสั่งการไว้ในท้ายบันทึกรายงานดังกล่าว ลงวันที่ 2 กันยายน 2518 ว่า 1. การตกลงกับบริษัทประกันภัยและเจ้าของรถบรรทุกต้องมีลายลักษณ์อักษร 2. ทำรายงานไปกระทรวงการคลัง 3. ตั้งกรรมการสอบ ผู้รับผิดชอบทางแพ่งตามระเบียบซึ่งต่อมานาง ฉ.ประธานกรรมการสอบสวนหาตัวผู้รับผิดในทางแพ่งตามที่กรมโจทก์ตั้ง ขึ้นก็ได้ทำรายงานความเห็นต่ออธิบดีกรมโจทก์ ดังปรากฏตามบันทึกข้อความเอกสารหมายจ.6หน้าที่ 3 ความว่าเห็นว่ารถยนต์บรรทุกหมายเลขทะเบียน ร.น.00562 เป็นฝ่ายผิดซึ่งเจ้าของรถยนต์ดังกล่าวจะต้องชดใช้ค่าเสียหายให้แก่กรมโจทก์แต่เหตุเกิดเมื่อวันที่ 25 สิงหาคม 2518 และรู้ตัวผู้ที่จะต้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเมื่อวันที่ 12 กันยายน 2518 ฉะนั้นการที่จะเรียกร้องเอาค่าสินไหมทดแทนจากเจ้าของรถยนต์บรรทุกหมายเลขทะเบียนร.น.00562 นั้น ขาดอายุความ แล้ว
จากข้อเท็จจริงตามที่ได้ความดังกล่าวเห็นว่า กรมโจทก์โดยอธิบดีในขณะนั้นได้รู้ถึงการกระทำละเมิดและรู้ตัว ผู้ที่จะต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนซึ่งได้แก่จำเลยแล้วตั้งแต่วันที่ 2 กันยายน 2518ตามที่อธิบดีกรมโจทก์ในขณะนั้นได้ เขียนบันทึกสั่งการไว้ท้ายบันทึกรายงานตามเอกสารหมายจ.5 ซึ่งแม้แต่นางฉ.ประธานกรรมการสอบสวนหาตัวผู้รับผิดในทางแพ่งที่โจทก์แต่งตั้งขึ้นก็ยังให้ความเห็นว่าคดีขาดอายุความแล้ว ดังนี้ การที่โจทก์นำคดีมาฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายจากจำเลยเมื่อวันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2522 ซึ่งเป็นเวลาพ้นหนึ่งปีนับแต่วันที่โจทก์ผู้เสียหายรู้ถึงการละเมิด และรู้ตัวจำเลยผู้ต้องรับผิดดังกล่าว คดีโจทก์จึงขาดอายุความฟ้องร้องแล้ว (ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 6/2527)
จากข้อเท็จจริงตามที่ได้ความดังกล่าวเห็นว่า กรมโจทก์โดยอธิบดีในขณะนั้นได้รู้ถึงการกระทำละเมิดและรู้ตัว ผู้ที่จะต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนซึ่งได้แก่จำเลยแล้วตั้งแต่วันที่ 2 กันยายน 2518ตามที่อธิบดีกรมโจทก์ในขณะนั้นได้ เขียนบันทึกสั่งการไว้ท้ายบันทึกรายงานตามเอกสารหมายจ.5 ซึ่งแม้แต่นางฉ.ประธานกรรมการสอบสวนหาตัวผู้รับผิดในทางแพ่งที่โจทก์แต่งตั้งขึ้นก็ยังให้ความเห็นว่าคดีขาดอายุความแล้ว ดังนี้ การที่โจทก์นำคดีมาฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายจากจำเลยเมื่อวันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2522 ซึ่งเป็นเวลาพ้นหนึ่งปีนับแต่วันที่โจทก์ผู้เสียหายรู้ถึงการละเมิด และรู้ตัวจำเลยผู้ต้องรับผิดดังกล่าว คดีโจทก์จึงขาดอายุความฟ้องร้องแล้ว (ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 6/2527)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1829/2527
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีเงินได้จากการซื้อขายฝาก: สิทธิของเจ้าพนักงานประเมินในการแสวงหาหลักฐาน และข้อยกเว้นมาตรา 94 พ.ร.บ.วิธีพิจารณาความแพ่ง
บทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94 เป็นบทบัญญัติที่ห้ามมิให้ศาลยอมรับฟังพยานบุคคล ในกรณีที่มีกฎหมายบังคับให้ต้องมีพยานเอกสารมาแสดงที่จะนำสืบว่ายังมีข้อความเพิ่มเติมตัดทอนหรือเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในเอกสารนั้นอยู่อีก ซึ่งหมายเฉพาะในกรณีที่ฟ้องร้องให้บังคับหรือไม่บังคับระหว่างคู่สัญญาตามสัญญาขายฝาก แต่กรณีระหว่างโจทก์กับจำเลยในคดีนี้ไม่ใช่เป็นเรื่องที่มีการฟ้องร้องให้บังคับตามสัญญาขายฝาก หากแต่เป็นกรณีที่จำเลยซึ่งเป็นเจ้าพนักงาน(ประเมินภาษี) ของรัฐไม่เชื่อว่าโจทก์จะไม่มีกำไรในการรับซื้อฝาก เพราะเป็นการผิดวิสัยของผู้มีอาชีพในการซื้อขายที่ดิน จำเลยจึงย่อมมีสิทธิที่จะแสวงหาหลักฐาน เมื่อได้ความจริงก็ย่อมมีอำนาจที่จะประเมินให้โจทก์เสียภาษีใหม่ได้ และย่อมมีสิทธินำพยานบุคคลมาสืบในศาลว่าผู้ขายฝากที่ดินให้แก่โจทก์นั้น ได้รับเงินไม่เต็มตามจำนวนที่ระบุไว้ในสัญญาขายฝากได้ไม่ขัดต่อประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1829/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษี: สิทธิของเจ้าพนักงานประเมินในการแสวงหาหลักฐานเพิ่มเติม และข้อยกเว้นมาตรา 94 พ.ร.บ.วิธีพิจารณาความแพ่ง
บทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 94 เป็นบทบัญญัติที่ห้ามมิให้ศาลยอมรับฟังพยานบุคคลในกรณีที่มีกฎหมายบังคับให้ต้องมีพยานเอกสารมาแสดงที่จะนำสืบว่ายังมีข้อความเพิ่มเติมตัดทอนหรือเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในเอกสารนั้นอยู่อีก ซึ่งหมายเฉพาะ ในกรณีที่ฟ้องร้องให้บังคับหรือไม่บังคับระหว่างคู่สัญญาตามสัญญาขายฝาก แต่กรณีระหว่างโจทก์กับจำเลยในคดีนี้ไม่ใช่เป็นเรื่องที่มีการฟ้องร้องให้บังคับตามสัญญาขายฝาก หากแต่เป็นกรณีที่จำเลยซึ่งเป็นเจ้าพนักงาน(ประเมินภาษี) ของรัฐไม่เชื่อว่าโจทก์จะไม่มีกำไรในการรับซื้อฝาก เพราะเป็นการผิดวิสัยของผู้มีอาชีพในการซื้อขายที่ดิน จำเลยจึงย่อมมีสิทธิที่จะแสวงหาหลักฐาน เมื่อได้ความจริงก็ย่อมมีอำนาจที่จะประเมินให้โจทก์เสียภาษีใหม่ได้ และย่อมมีสิทธินำพยานบุคคลมาสืบในศาลว่าผู้ขายฝากที่ดินให้แก่โจทก์นั้น ได้รับเงินไม่เต็มตามจำนวนที่ระบุไว้ในสัญญาขายฝากได้ไม่ขัดต่อประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 94
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1701-1703/2527
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดทางละเมิดของนายจ้างต่อการกระทำของลูกจ้าง และขอบเขตการฟ้องเรียกค่าเสียหายจากเหตุละเมิด
บิดามารดาโดยชอบด้วยกฎหมายของผู้ตาย มีอำนาจฟ้องนายจ้างให้ร่วมรับผิดกับลูกจ้างชดใช้ค่าเสียหายในผลแห่งละเมิด ซึ่งลูกจ้าง กระทำไปในทางการที่จ้างนั้นได้
โจทก์ที่ 3 เป็นผู้ครอบครองและใช้ประโยชน์รถยนต์ของบุตรคันที่ ถูกชนโดยละเมิด โจทก์ที่ 3 ฟ้องเรียกค่าเสียหายและค่าเสื่อมราคาของรถ โดยไม่ปรากฏว่าได้ซ่อมรถและจ่ายเงินไปจริงหรือไม่ โจทก์ที่ 3 มีอำนาจฟ้องเฉพาะเรียกค่าขาดประโยชน์จากการใช้รถระหว่างซ่อมเท่านั้น
คำฟ้องของโจทก์ในคดีส่วนอาญาที่จำเลยที่ 1 ถูกฟ้องบรรยายว่า ผู้ตายซึ่งขับขี่รถยนต์อีกคันหนึ่งมีส่วนในการ ประมาทด้วย ข้อเท็จจริง ในคดีส่วนแพ่งคงมีผลให้ผูกพันและถือตามเฉพาะในส่วนที่ว่า จำเลยที่ 1 ขับรถด้วยความประมาทเท่านั้นแต่หาต้องผูกพันถึงผู้ตาย ซึ่งขับรถอีกคันหนึ่งและไม่ได้ถูกฟ้องเป็นจำเลยด้วยไม่ ผู้ตายขับรถโดยประมาทหรือไม่ ต้องถือตามที่นำสืบกันในคดีส่วนแพ่ง
จำเลยที่ 1 ลูกจ้างขับรถของจำเลยที่ 2 เมาสุราขับรถของจำเลยที่ 2 ไปในทางการที่จ้างชนรถยนต์คันอื่นโดยละเมิด จำเลยที่ 2 มีหน้าที่ จะต้องร่วมรับผิดในการกระทำละเมิดของจำเลยที่ 1 นั้นด้วย
ตามคำขอท้ายฟ้องของโจทก์ที่ 2 ขอดอกเบี้ยเฉพาะจากเงินค่าใช้จ่ายในการทำศพบุตรของโจทก์ที่ 2 โจทก์ที่ 2 จึงชอบจะได้ดอกเบี้ยจากเงิน ค่าใช้จ่ายในการทำศพจำนวน 4,000 บาทเท่านั้น ที่ศาลอุทธรณ์กำหนดให้ จำเลยทั้งสองใช้ดอกเบี้ยจากเงินค่าขาดไร้อุปการะมาด้วยจึงมิชอบ
โจทก์ที่ 3 เป็นผู้ครอบครองและใช้ประโยชน์รถยนต์ของบุตรคันที่ ถูกชนโดยละเมิด โจทก์ที่ 3 ฟ้องเรียกค่าเสียหายและค่าเสื่อมราคาของรถ โดยไม่ปรากฏว่าได้ซ่อมรถและจ่ายเงินไปจริงหรือไม่ โจทก์ที่ 3 มีอำนาจฟ้องเฉพาะเรียกค่าขาดประโยชน์จากการใช้รถระหว่างซ่อมเท่านั้น
คำฟ้องของโจทก์ในคดีส่วนอาญาที่จำเลยที่ 1 ถูกฟ้องบรรยายว่า ผู้ตายซึ่งขับขี่รถยนต์อีกคันหนึ่งมีส่วนในการ ประมาทด้วย ข้อเท็จจริง ในคดีส่วนแพ่งคงมีผลให้ผูกพันและถือตามเฉพาะในส่วนที่ว่า จำเลยที่ 1 ขับรถด้วยความประมาทเท่านั้นแต่หาต้องผูกพันถึงผู้ตาย ซึ่งขับรถอีกคันหนึ่งและไม่ได้ถูกฟ้องเป็นจำเลยด้วยไม่ ผู้ตายขับรถโดยประมาทหรือไม่ ต้องถือตามที่นำสืบกันในคดีส่วนแพ่ง
จำเลยที่ 1 ลูกจ้างขับรถของจำเลยที่ 2 เมาสุราขับรถของจำเลยที่ 2 ไปในทางการที่จ้างชนรถยนต์คันอื่นโดยละเมิด จำเลยที่ 2 มีหน้าที่ จะต้องร่วมรับผิดในการกระทำละเมิดของจำเลยที่ 1 นั้นด้วย
ตามคำขอท้ายฟ้องของโจทก์ที่ 2 ขอดอกเบี้ยเฉพาะจากเงินค่าใช้จ่ายในการทำศพบุตรของโจทก์ที่ 2 โจทก์ที่ 2 จึงชอบจะได้ดอกเบี้ยจากเงิน ค่าใช้จ่ายในการทำศพจำนวน 4,000 บาทเท่านั้น ที่ศาลอุทธรณ์กำหนดให้ จำเลยทั้งสองใช้ดอกเบี้ยจากเงินค่าขาดไร้อุปการะมาด้วยจึงมิชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1278/2527
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินต้องจดทะเบียนตามกฎหมาย เพื่อให้มีผลสมบูรณ์ แม้มีการทำสัญญาให้แล้ว
จำเลยเป็นผู้มีชื่อถือกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทที่ถูกยึดและได้ทำ สัญญายกให้แก่ผู้ร้องแต่การยกให้ซึ่งที่ดินอันเป็นอสังหาริมทรัพย์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 525ประกอบกับมาตรา 456 จะต้องทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่เมื่อปรากฏว่ายังไม่ได้มีการจดทะเบียนการยกให้ ที่ดินพิพาทยังคงเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยอยู่ผู้ร้องจึงไม่มีสิทธิยื่นคำร้องขอต่อศาลให้สั่งปล่อยที่ดินพิพาท
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1192-1193/2527
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การไม่โต้แย้งคำสั่งศาลทันที ทำให้สิทธิในการอุทธรณ์/ฎีกาในประเด็นนั้นสิ้นสุด และข้อจำกัดในการฎีกาปัญหาข้อเท็จจริง
จำเลยยื่นคำร้องว่าศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นใหม่ไม่ถูกต้องขอให้ถือตามประเด็นที่กำหนดไว้เดิม หากศาลไม่อนุญาตก็ขอถือเอาคำร้องเป็นคำโต้แย้งคำสั่งศาลเพื่อประโยชน์ในการอุทธรณ์ต่อไป เมื่อศาลสั่งยกคำร้อง จำเลยหาได้โต้แย้งคำสั่งในเรื่องนี้อีกแต่อย่างใดไม่ ดังนี้ จะถือเอาคำร้องของจำเลยเป็นคำโต้แย้งไม่ได้จำเลยจะอุทธรณ์ในปัญหานี้อีกไม่ได้ ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 226(2) การที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยเรื่องนี้ให้จำเลยจึงเป็นการไม่ชอบแม้จำเลยจะฎีกาต่อมาศาลฎีกาก็ไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1033/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความไม่สมบูรณ์ของฟ้องอาญา: องค์ประกอบความผิดที่ขาดหายและรายละเอียดที่ไม่ชัดเจน
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 148 โดยไม่ปรากฏรายละเอียดว่าให้ทรัพย์สินอะไร แก่ใคร ซึ่งเป็นสาระสำคัญของฟ้องที่จะต้องกล่าวถึง ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158 (5)
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 โดยไม่มีข้อความว่า เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใด หรือปฏิบัติ หรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริต ซึ่งเป็นองค์ประกอบสำคัญของความผิดตามมาตรานี้ ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158 (5)
โจทก์ไม่ได้บรรยายฟ้องให้เห็นว่าจำเลยมีหน้าที่ทำเอกสารดูแลรักษาเอกสาร รับเอกสาร หรือมีหน้าที่กรอกข้อความลงในเอกสาร ซึ่งเป็นองค์ประกอบที่สำคัญของความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 161, 162 จึงไม่ครบองค์ประกอบความผิดไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา158 (5)
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา278, 284 โดยไม่มีรายละเอียดว่ามีการขู่เข็ญ หรือใช้กำลังประทุษร้ายหรือใช้อุบายหลอกลวง ใช้อำนาจครอบงำผิดคลองธรรม หรือใช้วิธีข่มขืนใจด้วยประการใดๆ จึงไม่ครบองค์ประกอบความผิดไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 158(5)
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา340 โดยไม่ได้บรรยายว่าการใช้กำลังประทุษร้ายของจำเลยดังกล่าว จำเลยกระทำอย่างใดเพื่อที่จำเลยจะเข้าใจข้อหาและไม่ปรากฏว่าการใช้กำลังประทุษร้ายนั้นเพื่อให้ความสะดวกแก่การลักทรัพย์หรือพาเอาทรัพย์นั้นไปหรือเพื่อการอย่างหนึ่งอย่างใดตามมาตรา 339 อันเป็นส่วนหนึ่งของความผิดฐานปล้นทรัพย์ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158(5)
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 โดยไม่มีข้อความว่า เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใด หรือปฏิบัติ หรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริต ซึ่งเป็นองค์ประกอบสำคัญของความผิดตามมาตรานี้ ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158 (5)
โจทก์ไม่ได้บรรยายฟ้องให้เห็นว่าจำเลยมีหน้าที่ทำเอกสารดูแลรักษาเอกสาร รับเอกสาร หรือมีหน้าที่กรอกข้อความลงในเอกสาร ซึ่งเป็นองค์ประกอบที่สำคัญของความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 161, 162 จึงไม่ครบองค์ประกอบความผิดไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา158 (5)
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา278, 284 โดยไม่มีรายละเอียดว่ามีการขู่เข็ญ หรือใช้กำลังประทุษร้ายหรือใช้อุบายหลอกลวง ใช้อำนาจครอบงำผิดคลองธรรม หรือใช้วิธีข่มขืนใจด้วยประการใดๆ จึงไม่ครบองค์ประกอบความผิดไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 158(5)
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา340 โดยไม่ได้บรรยายว่าการใช้กำลังประทุษร้ายของจำเลยดังกล่าว จำเลยกระทำอย่างใดเพื่อที่จำเลยจะเข้าใจข้อหาและไม่ปรากฏว่าการใช้กำลังประทุษร้ายนั้นเพื่อให้ความสะดวกแก่การลักทรัพย์หรือพาเอาทรัพย์นั้นไปหรือเพื่อการอย่างหนึ่งอย่างใดตามมาตรา 339 อันเป็นส่วนหนึ่งของความผิดฐานปล้นทรัพย์ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158(5)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1033/2527
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องที่ไม่บรรยายองค์ประกอบความผิดครบถ้วนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158(5) ทำให้ฟ้องไม่ชอบ
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 148โดยไม่ปรากฏรายละเอียดว่าให้ทรัพย์สินอะไรแก่ใครซึ่งเป็นสาระสำคัญของฟ้องที่จะต้องกล่าวถึงไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158(5) โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157โดยไม่มีข้อความว่าเพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใดหรือปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริตซึ่งเป็นองค์ประกอบสำคัญของความผิดตามมาตรานี้ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158(5) โจทก์ไม่ได้บรรยายฟ้องให้เห็นว่าจำเลยมีหน้าที่ทำเอกสารดูแลรักษาเอกสารรับเอกสารหรือมีหน้าที่กรอกข้อความลงในเอกสารซึ่งเป็นองค์ประกอบที่สำคัญของความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 161,162 จึงไม่ครบองค์ประกอบความผิดไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา158(5) โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา278,284 โดยไม่มีรายละเอียดว่ามีการขู่เข็ญหรือใช้กำลังประทุษร้ายหรือใช้อุบายหลอกลวงใช้อำนาจครอบงำผิดคลองธรรมหรือใช้วิธีข่มขืนใจด้วยประการใดๆ จึงไม่ครบองค์ประกอบความผิดไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 158(5) โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา340 โดยไม่ได้บรรยายว่าการใช้กำลังประทุษร้ายของจำเลยดังกล่าวจำเลยกระทำอย่างใดเพื่อที่จำเลยจะเข้าใจข้อหาและไม่ปรากฏว่า การใช้กำลังประทุษร้ายนั้นเพื่อให้ความสะดวกแก่การลักทรัพย์ หรือพาเอาทรัพย์นั้นไปหรือเพื่อการอย่างหนึ่งอย่างใดตามมาตรา 339อันเป็นส่วนหนึ่งของความผิดฐานปล้นทรัพย์ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158(5)