พบผลลัพธ์ทั้งหมด 495 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3578/2565
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างหลังเข้าร่วมโครงการบำบัดยาเสพติด: สิทธิในการได้รับค่าชดเชย
ตามกฎระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานพนักงานรายเดือนและพนักงานรายวัน ข้อ 9 วินัยในการปฏิบัติงาน ข้อย่อยที่ 18 กำหนดว่า "ห้ามพนักงานทุกคนนํายาเสพติดผิดกฎหมาย.... เข้ามาในบริเวณที่ทำงานหรือโรงงาน และพนักงานทุกคนต้องยินยอมให้บริษัทตรวจหาสารเสพติดได้ตลอดเวลาและทุกกรณีพนักงานที่ฝ่าฝืนหรือไม่ให้ความร่วมมือจะพิจารณาโทษสูงสุดโดยการเลิกจ้าง" เมื่อยาเสพติดให้โทษเป็นสิ่งผิดกฎหมายและเป็นภัยร้ายแรงต่อสังคมส่วนรวม กฎระเบียบดังกล่าวของจําเลยย่อมมีเจตนารมณ์หรือวัตถุประสงค์ที่จะห้ามมิให้พนักงานทุกคนของจําเลยเข้าไปเกี่ยวข้องกับยาเสพติดไม่ว่ากรณีใดๆ มิได้เฉพาะแต่การนําหรือพกพายาเสพติดเข้ามาในที่ทำงานหรือโรงงานของจําเลยเท่านั้น แต่รวมถึงการเสพยาเสพติดแล้วเข้ามาปฏิบัติงานในที่ทำงานหรือโรงงานของจําเลยด้วย เพื่อป้องกันมิให้เกิดความเสียหายแก่จําเลยและผู้ปฏิบัติงานทุกคนในที่ทำงานหรือโรงงานของจําเลยด้วย ดังนั้น การที่เจ้าหน้าที่ตรวจพบสารเสพติดในปัสสาวะของโจทก์ขณะปฏิบัติหน้าที่ในที่ทำงานหรือโรงงานของจําเลยจึงเป็นการฝ่าฝืนกฎระเบียบดังกล่าว ซึ่งจําเลยจะพิจารณาโทษสูงสุดโดยการเลิกจ้างได้
คดีนี้จําเลยสมัครใจเข้าร่วมโครงการแก้ไขปัญหายาเสพติดในระบบสมัครใจ "ค่ายปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจังหวัดนครปฐม" ของศูนย์อํานวยการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดจังหวัดนครปฐม เพื่อเป็นการบำบัดรักษาฟื้นฟูผู้ป่วยเสพยาเสพติด ตามประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ 108/2557 ย่อมถือได้ว่า จําเลยสมัครใจที่จะปฏิบัติตามหรือให้ความร่วมมือกับมาตรการใด ๆ ที่เป็นส่วนหนึ่งในเงื่อนไขของโครงการดังกล่าวด้วย เมื่อจําเลยมีคำสั่งให้โจทก์หยุดงานเพื่อไปดำเนินการบำบัดฟื้นฟูตามโครงการดังกล่าวในค่ายปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจังหวัดนครปฐมในระหว่างวันที่ 4 ถึงวันที่ 15 มิถุนายน 2562 โดยโจทก์ก็ยินยอมเข้ารับการบําบัดฟื้นฟูด้วย ซึ่งในช่วงระยะเวลาที่โจทก์เข้ารับการบําบัดฟื้นฟูดังกล่าว จําเลยก็มิได้ลงโทษหรือเลิกจ้างโจทก์จากการกระทำผิดของโจทก์ดังกล่าว แสดงให้เห็นว่า จําเลยให้ความร่วมมือสนับสนุนการดำเนินการบำบัดรักษาฟื้นฟูสมรรถภาพผู้เสพยาเสพติด "ค่ายปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจังหวัดนครปฐม" แล้ว จําเลยจึงต้องให้โอกาสแก่โจทก์กลับเข้าทำงานต่อไปตามที่กำหนดไว้ และถือว่าจําเลยไม่ติดใจจะนํากฎระเบียบดังกล่าว ข้อ 9 ข้อย่อย 18 มาใช้บังคับแก่พนักงานที่ถูกพบสารเสพติดในปัสสาวะในโครงการดังกล่าวรวมถึงโจทก์ด้วย เพื่อให้เป็นไปตามความมุ่งหมายของโครงการแก้ไขปัญหายาเสพติดในระบบสมัครใจ การที่จําเลยไม่ให้โจทก์กลับเข้าทำงานต่อไปและเลิกจ้างโจทก์ในวันที่ 18 มิถุนายน 2562 ซึ่งเป็นวันถัดจากวันที่โจทก์ได้รับการบําบัดฟื้นฟูสิ้นสุดลงตามกระบวนการ จําเลยย่อมต้องจ่ายค่าชดเชยแก่โจทก์
คดีนี้จําเลยสมัครใจเข้าร่วมโครงการแก้ไขปัญหายาเสพติดในระบบสมัครใจ "ค่ายปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจังหวัดนครปฐม" ของศูนย์อํานวยการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดจังหวัดนครปฐม เพื่อเป็นการบำบัดรักษาฟื้นฟูผู้ป่วยเสพยาเสพติด ตามประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ 108/2557 ย่อมถือได้ว่า จําเลยสมัครใจที่จะปฏิบัติตามหรือให้ความร่วมมือกับมาตรการใด ๆ ที่เป็นส่วนหนึ่งในเงื่อนไขของโครงการดังกล่าวด้วย เมื่อจําเลยมีคำสั่งให้โจทก์หยุดงานเพื่อไปดำเนินการบำบัดฟื้นฟูตามโครงการดังกล่าวในค่ายปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจังหวัดนครปฐมในระหว่างวันที่ 4 ถึงวันที่ 15 มิถุนายน 2562 โดยโจทก์ก็ยินยอมเข้ารับการบําบัดฟื้นฟูด้วย ซึ่งในช่วงระยะเวลาที่โจทก์เข้ารับการบําบัดฟื้นฟูดังกล่าว จําเลยก็มิได้ลงโทษหรือเลิกจ้างโจทก์จากการกระทำผิดของโจทก์ดังกล่าว แสดงให้เห็นว่า จําเลยให้ความร่วมมือสนับสนุนการดำเนินการบำบัดรักษาฟื้นฟูสมรรถภาพผู้เสพยาเสพติด "ค่ายปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจังหวัดนครปฐม" แล้ว จําเลยจึงต้องให้โอกาสแก่โจทก์กลับเข้าทำงานต่อไปตามที่กำหนดไว้ และถือว่าจําเลยไม่ติดใจจะนํากฎระเบียบดังกล่าว ข้อ 9 ข้อย่อย 18 มาใช้บังคับแก่พนักงานที่ถูกพบสารเสพติดในปัสสาวะในโครงการดังกล่าวรวมถึงโจทก์ด้วย เพื่อให้เป็นไปตามความมุ่งหมายของโครงการแก้ไขปัญหายาเสพติดในระบบสมัครใจ การที่จําเลยไม่ให้โจทก์กลับเข้าทำงานต่อไปและเลิกจ้างโจทก์ในวันที่ 18 มิถุนายน 2562 ซึ่งเป็นวันถัดจากวันที่โจทก์ได้รับการบําบัดฟื้นฟูสิ้นสุดลงตามกระบวนการ จําเลยย่อมต้องจ่ายค่าชดเชยแก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3529/2565
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิไล่เบี้ยค่าสินไหมทดแทนจากลูกจ้างกรณีทำละเมิด: กฎหมายเฉพาะ (พรบ.ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่) ไม่เปิดช่องให้ไล่เบี้ยตามประมวลกฎหมายแพ่ง
การนำบทบัญญัติแห่งกฎหมายใดมาใช้บังคับแก่คดี เป็นปัญหาข้อกฎหมายสำคัญที่ศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษควรวินิจฉัยให้ เมื่อคดีขึ้นสู่ศาลฎีกาโดยมีข้อเท็จจริงเพียงพอที่ศาลฎีกาจะวินิจฉัยในปัญหาตามอุทธรณ์ของโจทก์ดังกล่าวนี้ไปเสียทีเดียวได้ และเพื่อความรวดเร็ว ศาลฎีกาเห็นสมควรวินิจฉัยปัญหาดังกล่าวไปโดยไม่ต้องย้อนสำนวนให้ศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษพิจารณาพิพากษาใหม่
พ.ร.บ.ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539 มาตรา 4 ให้คำนิยามของคำว่า เจ้าหน้าที่ หมายความว่า ข้าราชการ พนักงาน ลูกจ้าง หรือ... และคำว่า หน่วยงานของรัฐ หมายความว่า... รัฐวิสาหกิจที่ตั้งขึ้นโดยพระราชบัญญัติหรือพระราชกฤษฎีกา และมาตรา 8 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า ในกรณีที่หน่วยงานของรัฐต้องรับผิดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่ผู้เสียหายเพื่อการละเมิดของเจ้าหน้าที่ ให้หน่วยงานของรัฐมีสิทธิเรียกให้เจ้าหน้าที่ผู้ทำละเมิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนดังกล่าวแก่หน่วยงานของรัฐได้ ถ้าเจ้าหน้าที่ได้กระทำการนั้นไปด้วยความจงใจหรือประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง เมื่อโจทก์เป็นรัฐวิสาหกิจซึ่งเป็นองค์การของรัฐบาลที่จัดตั้งขึ้นตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการจัดตั้งองค์การของรัฐบาล พ.ศ. 2496 และ พ.ร.ฎ.จัดตั้งองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ พ.ศ. 2519 อันอยู่ในนิยามของคำว่า หน่วยงานของรัฐ และจำเลยเป็นลูกจ้างโจทก์อันอยู่ในนิยามคำว่า เจ้าหน้าที่ จึงต้องใช้พระราชบัญญัติดังกล่าวบังคับแก่คดีนี้ ข้อเท็จจริงได้ความว่า จำเลยกระทำด้วยความประมาทเลินเล่อ มิได้ประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง โจทก์จึงไม่มีสิทธิไล่เบี้ยค่าสินไหมทดแทนจากจำเลยตามพระราชบัญญัติดังกล่าว
แม้ ป.พ.พ. มาตรา 426 บัญญัติว่า นายจ้างซึ่งได้ใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่บุคคลภายนอกเพื่อละเมิดอันลูกจ้างได้ทำนั้น ชอบที่จะได้ชดใช้จากลูกจ้างนั้น แต่บทบัญญัติดังกล่าวเป็นบทบัญญัติที่ใช้บังคับแก่นายจ้างและลูกจ้างในกรณีทั่วไป พ.ร.บ.ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539 มีเหตุผลในการประกาศใช้บังคับซึ่งปรากฏอยู่ที่ท้ายพระราชบัญญัติดังกล่าวว่า การที่เจ้าหน้าที่ดำเนินกิจการต่าง ๆ ของหน่วยงานของรัฐนั้น หาได้เป็นไปเพื่อประโยชน์อันเป็นการเฉพาะตัวไม่ การปล่อยให้ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ ในการปฏิบัติงานในหน้าที่และเกิดความเสียหายแก่เอกชนเป็นไปตามหลักกฎหมายเอกชนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์จึงเป็นการไม่เหมาะสม... ดังนั้น จึงสมควรกำหนดให้เจ้าหน้าที่ต้องรับผิดทางละเมิดในการปฏิบัติหน้าที่เฉพาะเมื่อเป็นการจงใจกระทำเพื่อการเฉพาะตัว หรือจงใจให้เกิดความเสียหายหรือประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงเท่านั้น... จึงเห็นได้ว่าพระราชบัญญัติดังกล่าวเป็นกฎหมายเฉพาะที่มีเจตนารมณ์ไม่ให้นำประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยการไล่เบี้ยระหว่างนายจ้างและลูกจ้างซึ่งเกิดจากลูกจ้างทำละเมิดต่อบุคคลภายนอกมาใช้บังคับ ดังนี้ โจทก์จึงไม่มีสิทธิไล่เบี้ยเรียกค่าสินไหมทดแทนจากจำเลยตาม ป.พ.พ. มาตรา 426
ที่โจทก์ฎีกาว่า คำสั่งองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพให้จำเลยชำระเงินค่าสินไหมทดแทนที่โจทก์ในฐานะนายจ้างชดใช้แก่ผู้เสียหายคืนแก่โจทก์ยังไม่ได้ถูกฟ้องขอให้เพิกถอน จึงมีผลในทางปฏิบัติต่อไป จำเลยจึงต้องรับผิดต่อโจทก์ตามฟ้อง เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่ได้ยกขึ้นว่ากล่าวกันมาแล้วโดยชอบในศาลแรงงานกลางและในชั้นอุทธรณ์ โจทก์ก็มีอำนาจยกขึ้นฎีกาได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคสอง และมาตรา 252 ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 57/1 วรรคหนึ่ง
จำเลยต้องรับผิดต่อโจทก์หรือไม่ เพียงใด ต้องพิจารณาจากการกระทำของจำเลยแล้วปรับเข้ากับบทบัญญัติของกฎหมาย เมื่อพิจารณาการกระทำของจำเลย บทบัญญัติของกฎหมาย และรูปคดีนี้แล้ว จำเลยไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ แม้คำสั่งให้จำเลยชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่โจทก์ดังกล่าวยังไม่ได้ถูกเพิกถอน ก็ถือได้ว่าคำสั่งดังกล่าวสิ้นผลบังคับไปโดยปริยาย
พ.ร.บ.ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539 มาตรา 4 ให้คำนิยามของคำว่า เจ้าหน้าที่ หมายความว่า ข้าราชการ พนักงาน ลูกจ้าง หรือ... และคำว่า หน่วยงานของรัฐ หมายความว่า... รัฐวิสาหกิจที่ตั้งขึ้นโดยพระราชบัญญัติหรือพระราชกฤษฎีกา และมาตรา 8 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า ในกรณีที่หน่วยงานของรัฐต้องรับผิดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่ผู้เสียหายเพื่อการละเมิดของเจ้าหน้าที่ ให้หน่วยงานของรัฐมีสิทธิเรียกให้เจ้าหน้าที่ผู้ทำละเมิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนดังกล่าวแก่หน่วยงานของรัฐได้ ถ้าเจ้าหน้าที่ได้กระทำการนั้นไปด้วยความจงใจหรือประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง เมื่อโจทก์เป็นรัฐวิสาหกิจซึ่งเป็นองค์การของรัฐบาลที่จัดตั้งขึ้นตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการจัดตั้งองค์การของรัฐบาล พ.ศ. 2496 และ พ.ร.ฎ.จัดตั้งองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ พ.ศ. 2519 อันอยู่ในนิยามของคำว่า หน่วยงานของรัฐ และจำเลยเป็นลูกจ้างโจทก์อันอยู่ในนิยามคำว่า เจ้าหน้าที่ จึงต้องใช้พระราชบัญญัติดังกล่าวบังคับแก่คดีนี้ ข้อเท็จจริงได้ความว่า จำเลยกระทำด้วยความประมาทเลินเล่อ มิได้ประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง โจทก์จึงไม่มีสิทธิไล่เบี้ยค่าสินไหมทดแทนจากจำเลยตามพระราชบัญญัติดังกล่าว
แม้ ป.พ.พ. มาตรา 426 บัญญัติว่า นายจ้างซึ่งได้ใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่บุคคลภายนอกเพื่อละเมิดอันลูกจ้างได้ทำนั้น ชอบที่จะได้ชดใช้จากลูกจ้างนั้น แต่บทบัญญัติดังกล่าวเป็นบทบัญญัติที่ใช้บังคับแก่นายจ้างและลูกจ้างในกรณีทั่วไป พ.ร.บ.ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539 มีเหตุผลในการประกาศใช้บังคับซึ่งปรากฏอยู่ที่ท้ายพระราชบัญญัติดังกล่าวว่า การที่เจ้าหน้าที่ดำเนินกิจการต่าง ๆ ของหน่วยงานของรัฐนั้น หาได้เป็นไปเพื่อประโยชน์อันเป็นการเฉพาะตัวไม่ การปล่อยให้ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ ในการปฏิบัติงานในหน้าที่และเกิดความเสียหายแก่เอกชนเป็นไปตามหลักกฎหมายเอกชนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์จึงเป็นการไม่เหมาะสม... ดังนั้น จึงสมควรกำหนดให้เจ้าหน้าที่ต้องรับผิดทางละเมิดในการปฏิบัติหน้าที่เฉพาะเมื่อเป็นการจงใจกระทำเพื่อการเฉพาะตัว หรือจงใจให้เกิดความเสียหายหรือประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงเท่านั้น... จึงเห็นได้ว่าพระราชบัญญัติดังกล่าวเป็นกฎหมายเฉพาะที่มีเจตนารมณ์ไม่ให้นำประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยการไล่เบี้ยระหว่างนายจ้างและลูกจ้างซึ่งเกิดจากลูกจ้างทำละเมิดต่อบุคคลภายนอกมาใช้บังคับ ดังนี้ โจทก์จึงไม่มีสิทธิไล่เบี้ยเรียกค่าสินไหมทดแทนจากจำเลยตาม ป.พ.พ. มาตรา 426
ที่โจทก์ฎีกาว่า คำสั่งองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพให้จำเลยชำระเงินค่าสินไหมทดแทนที่โจทก์ในฐานะนายจ้างชดใช้แก่ผู้เสียหายคืนแก่โจทก์ยังไม่ได้ถูกฟ้องขอให้เพิกถอน จึงมีผลในทางปฏิบัติต่อไป จำเลยจึงต้องรับผิดต่อโจทก์ตามฟ้อง เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่ได้ยกขึ้นว่ากล่าวกันมาแล้วโดยชอบในศาลแรงงานกลางและในชั้นอุทธรณ์ โจทก์ก็มีอำนาจยกขึ้นฎีกาได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคสอง และมาตรา 252 ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 57/1 วรรคหนึ่ง
จำเลยต้องรับผิดต่อโจทก์หรือไม่ เพียงใด ต้องพิจารณาจากการกระทำของจำเลยแล้วปรับเข้ากับบทบัญญัติของกฎหมาย เมื่อพิจารณาการกระทำของจำเลย บทบัญญัติของกฎหมาย และรูปคดีนี้แล้ว จำเลยไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ แม้คำสั่งให้จำเลยชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่โจทก์ดังกล่าวยังไม่ได้ถูกเพิกถอน ก็ถือได้ว่าคำสั่งดังกล่าวสิ้นผลบังคับไปโดยปริยาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3513-3526/2565
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของนายจ้างต่อลูกจ้างกรณีบำนาญ การคำนวณดอกเบี้ยและการปรับเงินบำนาญตามระเบียบ
ระเบียบโรงเรียนของมูลนิธิจำเลยที่ 1 ว่าด้วยบำนาญ พ.ศ. 2549 ข้อ 15 ระบุไว้ว่า ครูที่ได้รับบำนาญจะได้รับการพิจารณาขึ้นเงินบำนาญทุกปีการศึกษาใหม่ในอัตรา 10 เปอร์เซ็นต์ของเงินบำนาญที่ได้รับในเดือนพฤษภาคม ข้อกำหนดดังกล่าวชัดแจ้งว่า การจะได้รับการปรับขึ้นเงินบำนาญในทุกปีการศึกษาใหม่จะต้องได้รับการพิจารณาเสียก่อน
คำว่า "พิจารณา" ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554 หมายความว่า ตรวจตรา ตริตรอง สอบสวน ดังนั้น ไม่ว่าจะเป็นการตรวจตรา หรือตริตรอง หรือสอบสวน ก็ย่อมต้องขึ้นอยู่กับดุลพินิจของผู้พิจารณาเป็นสำคัญว่า สมควรปรับเพิ่มเงินบำนาญแก่ครูผู้มีสิทธิรับบำนาญหรือไม่ ระเบียบโรงเรียนของจำเลยที่ 1 ดังกล่าวหาใช่บทกำหนดให้จำเลยที่ 1 และที่ 2 หรือที่ 3 ต้องปรับขึ้นเงินบำนาญให้แก่โจทก์ทั้งสิบสี่ในอัตราร้อยละ 10 ของเงินบำนาญทุกปีการศึกษาใหม่ไม่
ขณะเกิดเหตุ จำเลยที่ 2 และที่ 3 ซึ่งเป็นโรงเรียนเอกชนในระบบและเป็นนิติบุคคลตาม พ.ร.บ.โรงเรียนเอกชน พ.ศ. 2550 โดยมีจำเลยที่ 1 เป็นผู้รับใบอนุญาตให้จัดตั้งโรงเรียนและจำเลยที่ 1 เป็นผู้แทนจำเลยที่ 2 และที่ 3 ตาม พ.ร.บ.โรงเรียนเอกชน พ.ศ. 2550 มาตรา 24 เมื่อ พ.ร.บ.โรงเรียนเอกชน พ.ศ. 2550 กำหนดให้ผู้รับใบอนุญาตให้จัดตั้งโรงเรียนเอกชนในระบบมีฐานะเป็นผู้แทนของโรงเรียน และการดำเนินกิจการของโรงเรียน ให้ผู้รับใบอนุญาตดำเนินการให้มีคณะกรรมการบริหารเพื่อบริหารกิจการโรงเรียนโดยที่ไม่ได้กำหนดเรื่องความรับผิดของผู้รับใบอนุญาตไว้เป็นการเฉพาะต่างหาก จึงต้องบังคับตาม ป.พ.พ. มาตรา 77 ประกอบมาตรา 820
โจทก์ทั้งสิบสี่ซึ่งเป็นครูโรงเรียนเอกชนและเป็นลูกจ้างฟ้องจำเลยที่ 1 ในฐานะผู้รับใบรับอนุญาตและฟ้องจำเลยที่ 2 และที่ 3 ในฐานะโรงเรียนเอกชนและเป็นนายจ้าง เมื่อการกระทำของจำเลยที่ 1 ในฐานะผู้แทนของจำเลยที่ 2 และที่ 3 เป็นการกระทำแทนจำเลยที่ 2 และที่ 3 ในขอบอำนาจ จำเลยที่ 1 จึงไม่ต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 2 และที่ 3
คำว่า "พิจารณา" ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554 หมายความว่า ตรวจตรา ตริตรอง สอบสวน ดังนั้น ไม่ว่าจะเป็นการตรวจตรา หรือตริตรอง หรือสอบสวน ก็ย่อมต้องขึ้นอยู่กับดุลพินิจของผู้พิจารณาเป็นสำคัญว่า สมควรปรับเพิ่มเงินบำนาญแก่ครูผู้มีสิทธิรับบำนาญหรือไม่ ระเบียบโรงเรียนของจำเลยที่ 1 ดังกล่าวหาใช่บทกำหนดให้จำเลยที่ 1 และที่ 2 หรือที่ 3 ต้องปรับขึ้นเงินบำนาญให้แก่โจทก์ทั้งสิบสี่ในอัตราร้อยละ 10 ของเงินบำนาญทุกปีการศึกษาใหม่ไม่
ขณะเกิดเหตุ จำเลยที่ 2 และที่ 3 ซึ่งเป็นโรงเรียนเอกชนในระบบและเป็นนิติบุคคลตาม พ.ร.บ.โรงเรียนเอกชน พ.ศ. 2550 โดยมีจำเลยที่ 1 เป็นผู้รับใบอนุญาตให้จัดตั้งโรงเรียนและจำเลยที่ 1 เป็นผู้แทนจำเลยที่ 2 และที่ 3 ตาม พ.ร.บ.โรงเรียนเอกชน พ.ศ. 2550 มาตรา 24 เมื่อ พ.ร.บ.โรงเรียนเอกชน พ.ศ. 2550 กำหนดให้ผู้รับใบอนุญาตให้จัดตั้งโรงเรียนเอกชนในระบบมีฐานะเป็นผู้แทนของโรงเรียน และการดำเนินกิจการของโรงเรียน ให้ผู้รับใบอนุญาตดำเนินการให้มีคณะกรรมการบริหารเพื่อบริหารกิจการโรงเรียนโดยที่ไม่ได้กำหนดเรื่องความรับผิดของผู้รับใบอนุญาตไว้เป็นการเฉพาะต่างหาก จึงต้องบังคับตาม ป.พ.พ. มาตรา 77 ประกอบมาตรา 820
โจทก์ทั้งสิบสี่ซึ่งเป็นครูโรงเรียนเอกชนและเป็นลูกจ้างฟ้องจำเลยที่ 1 ในฐานะผู้รับใบรับอนุญาตและฟ้องจำเลยที่ 2 และที่ 3 ในฐานะโรงเรียนเอกชนและเป็นนายจ้าง เมื่อการกระทำของจำเลยที่ 1 ในฐานะผู้แทนของจำเลยที่ 2 และที่ 3 เป็นการกระทำแทนจำเลยที่ 2 และที่ 3 ในขอบอำนาจ จำเลยที่ 1 จึงไม่ต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 2 และที่ 3
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3458/2565
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอุทธรณ์คำชี้ขาดอนุญาโตตุลาการกรณีค่าชดเชยและการทำคำชี้ขาดไม่ชอบด้วยกฎหมาย ศาลฎีกายกคำอุทธรณ์
ผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้ศาลแรงงานกลางมีคำสั่งเพิกถอนคำชี้ขาดของคณะอนุญาโตตุลาการตาม พ.ร.บ.อนุญาโตตุลาการ พ.ศ. 2545 ซึ่งตามมาตรา 45 วรรคสอง กำหนดให้การอุทธรณ์คำพิพากษาของศาลตามพระราชบัญญัติดังกล่าวให้อุทธรณ์ต่อศาลฎีกา การที่ศาลแรงงานกลางมีคำสั่งให้รวมสำนวนส่งศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษโดยเร็ว และศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษพิจารณาแล้วมีคำพิพากษาให้ยกอุทธรณ์ของผู้ร้อง และให้ศาลแรงงานกลางส่งอุทธรณ์ของผู้ร้องพร้อมสำนวนไปยังศาลฎีกาเพื่อพิจารณาพิพากษาหรือมีคำสั่งโดยเร็ว จึงเป็นการไม่ชอบด้วยกระบวนพิจารณา อันเป็นการผิดหลงที่เกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนในเรื่องการยื่นอุทธรณ์และการพิจารณาคดี ปัญหานี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนที่ศาลฎีกาหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้ จึงเห็นควรให้เพิกถอนการพิจารณาที่ผิดระเบียบดังกล่าวนั้นเสีย ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 27 วรรคหนึ่ง ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 57/1 วรรคสอง
พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 เป็นกฎหมายกำหนดมาตรฐานแรงงานขั้นต่ำที่นายจ้างจะต้องปฏิบัติต่อลูกจ้างเป็นอย่างน้อย แต่กฎหมายมิได้มีข้อห้ามมิให้นายจ้างปฏิบัติต่อลูกจ้างสูงกว่ามาตรฐานแรงงานขั้นต่ำที่กฎหมายกำหนดไว้ หากนายจ้างฝ่าฝืนมาตรฐานแรงงานขั้นต่ำที่ พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 ซึ่งมีวัตถุประสงค์ที่จะคุ้มครองแรงงานกำหนดไว้ ก็ถือว่าฝ่าฝืนกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน หากนายจ้างปฏิบัติต่อลูกจ้างสูงกว่ามาตรฐานแรงงานขั้นต่ำตามกฎหมายก็มีผลใช้บังคับได้ คดีนี้ผู้ร้องทำสัญญาจ้างแรงงานกับผู้คัดค้าน ข้อ 1 มีกำหนดเวลาจ้าง 4 ปี ข้อ 4.1 ให้ค่าจ้างปีละ 650,000 ดอลลาร์สหรัฐ สูงกว่าค่าจ้างขั้นต่ำตามกฎหมาย ข้อ 9.3 ผู้ร้องเลิกสัญญาโดยไม่มีสาเหตุ ผู้คัดค้านจะได้รับค่าชดเชย 650,000 ดอลลาร์สหรัฐ หรือค่าจ้าง 1 ปี แล้วแต่จำนวนใดจะมากกว่ากันเป็นเงินบาท จำนวนนี้ให้ถือเป็นเงินค่าชดเชยตามกฎหมายแรงงานของไทย โดยสัญญาไม่ได้กำหนดเงื่อนไขว่าผู้คัดค้านจะต้องทำงานขั้นต่ำมานานเท่าใด และไม่มีเงื่อนไขให้ผู้คัดค้านทดลองงาน ถือได้ว่า ผู้ร้องได้สมัครใจทำสัญญาจ้างแรงงานปฏิบัติต่อผู้คัดค้านเรื่องเงินค่าชดเชยสูงกว่ามาตรฐานแรงงานขั้นต่ำตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 118 วรรคหนึ่ง กำหนดไว้ สัญญาจ้างแรงงานเรื่องค่าชดเชยดังกล่าวมีผลผูกพันและใช้บังคับคู่ความได้ คำชี้ขาดของคณะอนุญาโตตุลาการ และคำพิพากษาของศาลแรงงานกลางไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน และไม่ฝ่าฝืนต่อบทกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน
ส่วนที่ผู้ร้องอุทธรณ์ว่า ผู้ร้องเลิกจ้างผู้คัดค้านโดยมีสาเหตุมาจากผู้คัดค้านทำงานไม่เป็นที่พอใจของผู้ร้องและทำงานไม่มีประสิทธิภาพซึ่งผู้ร้องได้ตักเตือนแล้วจึงไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย ทั้งผู้ร้องจ่ายเงินช่วยเหลือแก่ผู้คัดค้าน 108,333.33 บาท แต่กลับไม่ถูกนำมาพิจารณาในคำชี้ขาดของคณะอนุญาโตตุลาการนั้น เป็นการโต้แย้งดุลพินิจในการวินิจฉัยของคณะอนุญาโตตุลาการที่วินิจฉัยแล้วว่าการเลิกจ้างของผู้ร้องมิใช่การเลิกจ้างโดยมีสาเหตุและไม่พบเหตุการณ์ใดเชื่อมโยงไปถึงการเลิกจ้างตามสัญญาจ้างแรงงาน ข้อ 9.2 และ พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 119 และเป็นการโต้แย้งดุลพินิจการกำหนดค่าเสียหายของคณะอนุญาโตตุลาการที่นำเงินช่วยเหลือของผู้ร้องจ่ายแก่ผู้คัดค้านมาคำนวณไว้ในส่วนการกำหนดค่าเสียหายอื่นที่ผู้คัดค้านร้องขอ ซึ่งศาลแรงงานกลางให้ผู้ร้องปฏิบัติตามคำชี้ขาดดังกล่าว ดังนี้ อุทธรณ์ของผู้ร้องจึงไม่เข้าหลักเกณฑ์ตาม พ.ร.บ.อนุญาโตตุลาการ พ.ศ. 2545 มาตรา 45 วรรคหนึ่ง ที่ผู้ร้องจะอุทธรณ์ได้ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 เป็นกฎหมายกำหนดมาตรฐานแรงงานขั้นต่ำที่นายจ้างจะต้องปฏิบัติต่อลูกจ้างเป็นอย่างน้อย แต่กฎหมายมิได้มีข้อห้ามมิให้นายจ้างปฏิบัติต่อลูกจ้างสูงกว่ามาตรฐานแรงงานขั้นต่ำที่กฎหมายกำหนดไว้ หากนายจ้างฝ่าฝืนมาตรฐานแรงงานขั้นต่ำที่ พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 ซึ่งมีวัตถุประสงค์ที่จะคุ้มครองแรงงานกำหนดไว้ ก็ถือว่าฝ่าฝืนกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน หากนายจ้างปฏิบัติต่อลูกจ้างสูงกว่ามาตรฐานแรงงานขั้นต่ำตามกฎหมายก็มีผลใช้บังคับได้ คดีนี้ผู้ร้องทำสัญญาจ้างแรงงานกับผู้คัดค้าน ข้อ 1 มีกำหนดเวลาจ้าง 4 ปี ข้อ 4.1 ให้ค่าจ้างปีละ 650,000 ดอลลาร์สหรัฐ สูงกว่าค่าจ้างขั้นต่ำตามกฎหมาย ข้อ 9.3 ผู้ร้องเลิกสัญญาโดยไม่มีสาเหตุ ผู้คัดค้านจะได้รับค่าชดเชย 650,000 ดอลลาร์สหรัฐ หรือค่าจ้าง 1 ปี แล้วแต่จำนวนใดจะมากกว่ากันเป็นเงินบาท จำนวนนี้ให้ถือเป็นเงินค่าชดเชยตามกฎหมายแรงงานของไทย โดยสัญญาไม่ได้กำหนดเงื่อนไขว่าผู้คัดค้านจะต้องทำงานขั้นต่ำมานานเท่าใด และไม่มีเงื่อนไขให้ผู้คัดค้านทดลองงาน ถือได้ว่า ผู้ร้องได้สมัครใจทำสัญญาจ้างแรงงานปฏิบัติต่อผู้คัดค้านเรื่องเงินค่าชดเชยสูงกว่ามาตรฐานแรงงานขั้นต่ำตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 118 วรรคหนึ่ง กำหนดไว้ สัญญาจ้างแรงงานเรื่องค่าชดเชยดังกล่าวมีผลผูกพันและใช้บังคับคู่ความได้ คำชี้ขาดของคณะอนุญาโตตุลาการ และคำพิพากษาของศาลแรงงานกลางไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน และไม่ฝ่าฝืนต่อบทกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน
ส่วนที่ผู้ร้องอุทธรณ์ว่า ผู้ร้องเลิกจ้างผู้คัดค้านโดยมีสาเหตุมาจากผู้คัดค้านทำงานไม่เป็นที่พอใจของผู้ร้องและทำงานไม่มีประสิทธิภาพซึ่งผู้ร้องได้ตักเตือนแล้วจึงไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย ทั้งผู้ร้องจ่ายเงินช่วยเหลือแก่ผู้คัดค้าน 108,333.33 บาท แต่กลับไม่ถูกนำมาพิจารณาในคำชี้ขาดของคณะอนุญาโตตุลาการนั้น เป็นการโต้แย้งดุลพินิจในการวินิจฉัยของคณะอนุญาโตตุลาการที่วินิจฉัยแล้วว่าการเลิกจ้างของผู้ร้องมิใช่การเลิกจ้างโดยมีสาเหตุและไม่พบเหตุการณ์ใดเชื่อมโยงไปถึงการเลิกจ้างตามสัญญาจ้างแรงงาน ข้อ 9.2 และ พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 119 และเป็นการโต้แย้งดุลพินิจการกำหนดค่าเสียหายของคณะอนุญาโตตุลาการที่นำเงินช่วยเหลือของผู้ร้องจ่ายแก่ผู้คัดค้านมาคำนวณไว้ในส่วนการกำหนดค่าเสียหายอื่นที่ผู้คัดค้านร้องขอ ซึ่งศาลแรงงานกลางให้ผู้ร้องปฏิบัติตามคำชี้ขาดดังกล่าว ดังนี้ อุทธรณ์ของผู้ร้องจึงไม่เข้าหลักเกณฑ์ตาม พ.ร.บ.อนุญาโตตุลาการ พ.ศ. 2545 มาตรา 45 วรรคหนึ่ง ที่ผู้ร้องจะอุทธรณ์ได้ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2960/2565
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การปรับโครงสร้างเงินเดือนลดระดับตำแหน่ง ทำให้ลูกจ้างเสียเปรียบและขาดโอกาสปรับขึ้นเงินเดือน ถือเป็นความเสียหาย
การปรับโครงสร้างเงินเดือนของจำเลยก็ดี การย้ายโจทก์ให้ไปทำงานในตำแหน่งอื่นก็ดี เป็นอำนาจการบริหารจัดการของจำเลยซึ่งเป็นนายจ้างที่มีอำนาจกระทำได้ แต่ต้องไม่ทำให้ลูกจ้างได้รับความเสียหายหรือเสียเปรียบ
โจทก์เริ่มเข้าทำงานตำแหน่งบรรณารักษ์ ระดับ 4 วุฒิการศึกษาบัณฑิต สาขาวิชาบรรณารักษศาสตร์ ขณะที่จำเลยเปลี่ยนโครงสร้างเงินเดือนปี 2551 โจทก์ทำงานตำแหน่งเจ้าหน้าที่ธุรการ ระดับ 4 สังกัดแผนกบำรุงรักษาสวน กองอาคารสถานที่ ถูกปรับให้อยู่ในตำแหน่งเดิมคือเจ้าหน้าที่ธุรการกองอาคารสถานที่ แต่ปรับลดระดับให้อยู่ในโครงสร้างเงินเดือนระดับ 2 ซึ่งคุณสมบัติของผู้ปฏิบัติงานที่อยู่ในระดับ 2 นั้น ต้องเป็นผู้มีคุณวุฒิการศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) หรือมัธยมมีประสบการณ์ ฐานเงินเดือนขั้นต่ำของระดับ คือ 7,700 บาท เงินเดือนขั้นสูงสุด 17,600 บาท และขณะจำเลยปรับโจทก์ให้อยู่ในระดับ 2 โจทก์ได้รับเงินเดือน เดือนละ 22,960 บาท สูงกว่าเพดานเงินเดือนของโครงสร้างเงินเดือนระดับ 2 (ใหม่) การที่จำเลยย้ายโจทก์ไปทำงานตำแหน่งเจ้าหน้าที่ธุรการ กองอาคารสถานที่ เมื่อจำเลยปรับปรุงโครงสร้างเงินเดือน จำเลยตีค่างานดังกล่าวอยู่ในระดับ 2 แล้วจำเลยปรับโครงสร้างเงินเดือนใหม่ โดยให้โจทก์อยู่ในระดับ 2 โดยโครงสร้างเงินเดือนของโจทก์เกินเพดานระดับ 2 ถึง 5,360 บาท แม้จำเลยจะมิได้ปรับลดเงินเดือนของโจทก์หรือทำให้เงินเดือนของโจทก์ลดลง แต่ย่อมเห็นได้อย่างชัดเจนว่าทำให้โจทก์ไม่มีโอกาสได้ปรับขึ้นเงินเดือนในอนาคตอย่างแน่แท้ เว้นแต่จำเลยจะปรับฐานเงินเดือนขั้นสูงสุดให้สูงกว่าเงินเดือนที่โจทก์ได้รับอยู่ ทั้งที่จำเลยสามารถที่จะปรับย้ายโจทก์ให้ไปทำงานอยู่ในแท่งค่างานที่ใช้คุณวุฒิปริญญาตรีเท่ากับระดับตำแหน่งที่รับโจทก์เข้ามาทำงานได้ แต่จำเลยมิได้กระทำ การปรับโครงสร้างเงินเดือนของจำเลยย่อมทำให้โจทก์เสียเปรียบและได้รับความเสียหายจากการขาดโอกาสที่จะได้รับการพิจารณาปรับขึ้นเงินเดือน
ปัญหาว่าโจทก์ได้รับความเสียหายจากการกระทำของจำเลยเพียงใด เป็นปัญหาข้อเท็จจริง ศาลฎีกาไม่มีอำนาจวินิจฉัย จึงต้องย้อนสำนวนให้ศาลแรงงานกลางวินิจฉัยในปัญหาข้างต้นประกอบข้อเท็จจริงที่ยุติต่อไป
โจทก์เริ่มเข้าทำงานตำแหน่งบรรณารักษ์ ระดับ 4 วุฒิการศึกษาบัณฑิต สาขาวิชาบรรณารักษศาสตร์ ขณะที่จำเลยเปลี่ยนโครงสร้างเงินเดือนปี 2551 โจทก์ทำงานตำแหน่งเจ้าหน้าที่ธุรการ ระดับ 4 สังกัดแผนกบำรุงรักษาสวน กองอาคารสถานที่ ถูกปรับให้อยู่ในตำแหน่งเดิมคือเจ้าหน้าที่ธุรการกองอาคารสถานที่ แต่ปรับลดระดับให้อยู่ในโครงสร้างเงินเดือนระดับ 2 ซึ่งคุณสมบัติของผู้ปฏิบัติงานที่อยู่ในระดับ 2 นั้น ต้องเป็นผู้มีคุณวุฒิการศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) หรือมัธยมมีประสบการณ์ ฐานเงินเดือนขั้นต่ำของระดับ คือ 7,700 บาท เงินเดือนขั้นสูงสุด 17,600 บาท และขณะจำเลยปรับโจทก์ให้อยู่ในระดับ 2 โจทก์ได้รับเงินเดือน เดือนละ 22,960 บาท สูงกว่าเพดานเงินเดือนของโครงสร้างเงินเดือนระดับ 2 (ใหม่) การที่จำเลยย้ายโจทก์ไปทำงานตำแหน่งเจ้าหน้าที่ธุรการ กองอาคารสถานที่ เมื่อจำเลยปรับปรุงโครงสร้างเงินเดือน จำเลยตีค่างานดังกล่าวอยู่ในระดับ 2 แล้วจำเลยปรับโครงสร้างเงินเดือนใหม่ โดยให้โจทก์อยู่ในระดับ 2 โดยโครงสร้างเงินเดือนของโจทก์เกินเพดานระดับ 2 ถึง 5,360 บาท แม้จำเลยจะมิได้ปรับลดเงินเดือนของโจทก์หรือทำให้เงินเดือนของโจทก์ลดลง แต่ย่อมเห็นได้อย่างชัดเจนว่าทำให้โจทก์ไม่มีโอกาสได้ปรับขึ้นเงินเดือนในอนาคตอย่างแน่แท้ เว้นแต่จำเลยจะปรับฐานเงินเดือนขั้นสูงสุดให้สูงกว่าเงินเดือนที่โจทก์ได้รับอยู่ ทั้งที่จำเลยสามารถที่จะปรับย้ายโจทก์ให้ไปทำงานอยู่ในแท่งค่างานที่ใช้คุณวุฒิปริญญาตรีเท่ากับระดับตำแหน่งที่รับโจทก์เข้ามาทำงานได้ แต่จำเลยมิได้กระทำ การปรับโครงสร้างเงินเดือนของจำเลยย่อมทำให้โจทก์เสียเปรียบและได้รับความเสียหายจากการขาดโอกาสที่จะได้รับการพิจารณาปรับขึ้นเงินเดือน
ปัญหาว่าโจทก์ได้รับความเสียหายจากการกระทำของจำเลยเพียงใด เป็นปัญหาข้อเท็จจริง ศาลฎีกาไม่มีอำนาจวินิจฉัย จึงต้องย้อนสำนวนให้ศาลแรงงานกลางวินิจฉัยในปัญหาข้างต้นประกอบข้อเท็จจริงที่ยุติต่อไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2868/2565
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสิ้นสุดสัญญาทํางานและค่าเสียหาย: แม้มีคำสั่งรับกลับเข้าทำงาน แต่สิทธิเรียกร้องค่าเสียหายสิ้นสุดเมื่อเลิกจ้าง
นิติสัมพันธ์ตามสัญญาจ้างแรงงานระหว่างโจทก์กับจำเลยสิ้นสุดลงไม่ว่าจะกรณีใด สิทธิและหน้าที่อันเกิดจากการปฏิบัติตามสัญญาจ้างแรงงานดังกล่าวย่อมระงับสิ้นไปด้วย จำเลยย่อมไม่มีหน้าที่จ่ายค่าเบี้ยเลี้ยง น้ำมัน ค่าเที่ยว หรือค่าโทรศัพท์ตามสัญญาจ้างแรงงานให้แก่โจทก์อีกต่อไป เมื่อจำเลยเลิกจ้างโจทก์แล้ว จำเลยจึงไม่มีหน้าที่ต้องจ่ายเงินดังกล่าวให้แก่โจทก์อีก
แม้คณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์จะมีคำสั่งที่ 378/2561 ให้จำเลยรับโจทก์กลับเข้าทำงานพร้อมทั้งให้จำเลยจ่ายค่าเสียหายนับแต่วันเลิกจ้างจนถึงวันรับโจทก์กลับเข้าทำงาน เพราะเห็นว่าการเลิกจ้างของจำเลยเป็นการกระทำอันไม่เป็นธรรมก็ตาม แต่คำสั่งของคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ดังกล่าวก็เป็นเพียงการใช้อำนาจตามที่กฎหมายแรงงานสัมพันธ์กำหนดไว้เท่านั้น หาใช่เป็นการถือเสมือนว่าจำเลยไม่เคยเลิกจ้างโจทก์ อำนาจการรับโจทก์กลับเข้าทำงานจากการกระทำอันไม่เป็นธรรมเพื่อผูกพันตามสัญญาจ้างแรงงานเดิมย่อมเป็นของจำเลยซึ่งเป็นนายจ้าง เพราะหากจำเลยไม่รับโจทก์กลับเข้าทำงานอาจต้องจ่ายค่าเสียหายให้แก่โจทก์ต่อเนื่องไปตามคำสั่งคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ดังกล่าว เมื่อจำเลยยังไม่รับโจทก์กลับเข้าทำงาน โจทก์จึงไม่มีสิทธิได้รับค่าเสียหายจากการไม่ปฏิบัติตามสัญญาจ้างแรงงานจากจำเลยนับแต่วันที่จำเลยเลิกจ้างซึ่งเป็นวันที่สัญญาจ้างแรงงานระหว่างโจทก์กับจำเลยสิ้นสุดลงแล้วได้อีก
แม้คณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์จะมีคำสั่งที่ 378/2561 ให้จำเลยรับโจทก์กลับเข้าทำงานพร้อมทั้งให้จำเลยจ่ายค่าเสียหายนับแต่วันเลิกจ้างจนถึงวันรับโจทก์กลับเข้าทำงาน เพราะเห็นว่าการเลิกจ้างของจำเลยเป็นการกระทำอันไม่เป็นธรรมก็ตาม แต่คำสั่งของคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ดังกล่าวก็เป็นเพียงการใช้อำนาจตามที่กฎหมายแรงงานสัมพันธ์กำหนดไว้เท่านั้น หาใช่เป็นการถือเสมือนว่าจำเลยไม่เคยเลิกจ้างโจทก์ อำนาจการรับโจทก์กลับเข้าทำงานจากการกระทำอันไม่เป็นธรรมเพื่อผูกพันตามสัญญาจ้างแรงงานเดิมย่อมเป็นของจำเลยซึ่งเป็นนายจ้าง เพราะหากจำเลยไม่รับโจทก์กลับเข้าทำงานอาจต้องจ่ายค่าเสียหายให้แก่โจทก์ต่อเนื่องไปตามคำสั่งคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ดังกล่าว เมื่อจำเลยยังไม่รับโจทก์กลับเข้าทำงาน โจทก์จึงไม่มีสิทธิได้รับค่าเสียหายจากการไม่ปฏิบัติตามสัญญาจ้างแรงงานจากจำเลยนับแต่วันที่จำเลยเลิกจ้างซึ่งเป็นวันที่สัญญาจ้างแรงงานระหว่างโจทก์กับจำเลยสิ้นสุดลงแล้วได้อีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2629/2565
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขสภาพการจ้างของรัฐวิสาหกิจ: ชอบด้วยกฎหมายหากเป็นไปตามกระบวนการและไม่ขัดแย้งกับสิทธิลูกจ้าง
คณะกรรมการแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์โดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีมีมติให้กำหนดขอบเขตสภาพการจ้างที่เกี่ยวกับการเงิน ตามมาตรา 13 (2) แห่ง พ.ร.บ.แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. 2543 แก่รัฐวิสาหกิจ 12 แห่ง ซึ่งรวมถึงจำเลยขณะเป็นบริษัท ท. โดยให้สามารถดำเนินการปรับปรุงสภาพการจ้างที่เกี่ยวกับการเงิน ในการกำหนดอัตราค่าจ้าง ค่าตอบแทนหรือสวัสดิการต่าง ๆ ของพนักงานได้เอง เมื่อคณะกรรมการรัฐวิสาหกิจนั้นเห็นชอบแล้ว ถือว่าจำเลยมีอำนาจปรับปรุงระเบียบบริษัท ท. ว่าด้วยกองทุนสวัสดิการสงเคราะห์พนักงาน พ.ศ. 2546 ซึ่งเป็นสภาพการจ้างที่เกี่ยวกับการเงินในการกำหนดค่าตอบแทนหรือสวัสดิการต่าง ๆ ของพนักงานและอยู่ในขอบเขตที่คณะกรรมการแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์เสนอขอความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีแล้ว ไม่จำต้องขอความเห็นชอบจากคณะกรรมการแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์และคณะรัฐมนตรีแต่ละครั้งอีก
การที่จำเลยมอบให้คณะกรรมการกิจการสัมพันธ์ซึ่งมีอำนาจหน้าที่ปรึกษาหารือเพื่อพิจารณาปรับปรุงสภาพการจ้างตาม พ.ร.บ.แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. 2543 มาตรา 23 (5) ร่วมกันพิจารณามีมติเห็นชอบให้แก้ไขระเบียบดังกล่าว แล้วจำเลยเสนอกระทรวงการคลังให้ความเห็นชอบในการใช้บังคับ จึงถูกต้องตามกระบวนการใน พ.ร.บ.แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. 2543
มติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 23 กรกฎาคม 2545 ที่เห็นชอบการแปลงสภาพองค์การ ท. เป็นบริษัท ท. ตามที่ประธานคณะกรรมการนโยบายทุนรัฐวิสาหกิจเสนอ มีใจความ ให้ผู้ปฏิบัติงานขององค์การ ท. ที่โอนไปยังบริษัท ท. ณ วันที่มีการจดทะเบียนจัดตั้งบริษัทได้รับเงินเดือน ค่าจ้าง และสิทธิประโยชน์ไม่น้อยกว่าที่เคยได้รับอยู่เดิมเป็นมติที่สอดคล้องกับ พ.ร.บ.ทุนรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. 2542 มาตรา 25 วรรคสอง ที่ให้พนักงานตามวรรคหนึ่งได้รับเงินเดือน ค่าจ้าง และสิทธิประโยชน์ต่าง ๆ ไม่น้อยกว่าที่เคยได้รับอยู่เดิม กับให้ถือว่าเวลาการทำงานของพนักงานดังกล่าวในรัฐวิสาหกิจเดิมเป็นเวลาการทำงานในบริษัทโดยไม่ถือว่าการเปลี่ยนสภาพจากรัฐวิสาหกิจเดิมเป็นบริษัทนั้นเป็นการเลิกจ้าง มติคณะรัฐมนตรีและบทบัญญัติดังกล่าวเป็นกรณีที่ใช้ในช่วงเวลาเปลี่ยนสภาพจากรัฐวิสาหกิจในรูปองค์การของรัฐเป็นบริษัท
ในขณะที่จำเลยแปลงสภาพจากองค์การของรัฐเป็นบริษัทเมื่อวันที่ 31 กรกฎาคม 2545 จำเลยได้ให้พนักงานได้รับสิทธิประโยชน์ต่าง ๆ ที่เคยได้รับอยู่เดิมและยังไม่มีการปรับปรุงแก้ไขออกเป็นระเบียบจำเลย ว่าด้วย กองทุนสวัสดิการสงเคราะห์พนักงาน พ.ศ. 2546 ฉบับที่ 3 พ.ศ. 2548 กรณีไม่อาจอ้าง พ.ร.บ.ทุนรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. 2542 และมติคณะรัฐมนตรีมาปรับหรือบังคับให้ระเบียบดังกล่าวตกไป
พ.ร.บ.ทุนรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. 2542 มิได้เป็นบทบัญญัติที่ห้ามมิให้มีการแก้ไขสภาพการจ้าง เพราะการแก้ไขสภาพการจ้างของลูกจ้างในรัฐวิสาหกิจต้องดำเนินการตาม พ.ร.บ.แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. 2543 ซึ่งมีคณะกรรมการแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์กำกับดูแลในขั้นตอนต่าง ๆ เพื่อให้ฝ่ายบริหารกับพนักงานและลูกจ้างของรัฐวิสาหกิจมีสิทธิ หน้าที่ และความรับผิดชอบในขอบเขตที่เหมาะสมและสอดคล้องกับนโยบายการพัฒนาและส่งเสริมเสถียรภาพทางเศรษฐกิจและสังคมตลอดจนความมั่นคงของประเทศ
สภาพการจ้างตามระเบียบจำเลย ว่าด้วย กองทุนสวัสดิการสงเคราะห์พนักงาน พ.ศ. 2546 ฉบับที่ 3 พ.ศ. 2548 นอกจากเป็นสภาพการจ้างเกี่ยวกับการเงินที่อยู่ในขอบเขตที่กำหนดตาม พ.ร.บ.แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. 2543 มาตรา 13 (2) ที่จำเลยมีอำนาจที่จะแก้ไขปรับปรุงได้เอง ไม่ใช่สภาพการจ้างที่เกิดจากการยื่นข้อเรียกร้อง เจรจาตกลงเป็นข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างที่มีข้อห้ามตาม พ.ร.บ.แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. 2543 มาตรา 29 วรรคสอง ที่ห้ามมิให้นายจ้างทำสัญญาจ้างแรงงานกับลูกจ้างซึ่งเป็นสมาชิกสหภาพแรงงาน ขัดหรือแย้งกับข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง เว้นแต่สัญญาจ้างแรงงานนั้นจะเป็นคุณแก่ลูกจ้างยิ่งกว่าแล้ว หลักของการแก้ไขปรับปรุงเพื่อให้เกิดสภาพการจ้างใหม่ แม้ข้อตกลงหรือข้อยุติไม่เป็นคุณแก่ลูกจ้าง เป็นการลดประโยชน์ที่ลูกจ้างมีสิทธิที่ได้รับอยู่เดิมลงบ้าง แต่อยู่ในขอบเขตที่เหมาะสม สอดคล้องกับนโยบายการพัฒนาและส่งเสริมเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ ตามเหตุผลในหมายเหตุท้าย พ.ร.บ.แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. 2543 ย่อมใช้บังคับได้
จำเลยออกระเบียบแก้ไขหลักเกณฑ์การคำนวณบำเหน็จ เพราะจำเลยปรับขึ้นเงินเดือนให้พนักงานเป็นกรณีพิเศษ ส่งผลกระทบต่อฐานะการเงินของจำเลยที่ต้องจ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนสวัสดิการสงเคราะห์พนักงานมากขึ้น ฝ่ายพนักงานลูกจ้างหรือโจทก์ได้รับประโยชน์เพิ่มขึ้นจากการปรับขึ้นเงินเดือนเป็นกรณีพิเศษแล้ว หากจะต้องลดประโยชน์จากการเปลี่ยนหลักเกณฑ์การคำนวณบำเหน็จไปบ้าง เพื่อเสถียรภาพเศรษฐกิจโดยรวมขององค์กร ย่อมถือได้ว่าอยู่ในขอบเขตที่เหมาะสม ระเบียบจำเลย ว่าด้วย กองทุนสวัสดิการสงเคราะห์พนักงาน พ.ศ. 2546 ฉบับที่ 3 พ.ศ. 2548 จึงชอบด้วยกฎหมายและมีผลใช้บังคับแก่พนักงานของจำเลยทุกคนรวมทั้งโจทก์ด้วย
การที่จำเลยมอบให้คณะกรรมการกิจการสัมพันธ์ซึ่งมีอำนาจหน้าที่ปรึกษาหารือเพื่อพิจารณาปรับปรุงสภาพการจ้างตาม พ.ร.บ.แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. 2543 มาตรา 23 (5) ร่วมกันพิจารณามีมติเห็นชอบให้แก้ไขระเบียบดังกล่าว แล้วจำเลยเสนอกระทรวงการคลังให้ความเห็นชอบในการใช้บังคับ จึงถูกต้องตามกระบวนการใน พ.ร.บ.แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. 2543
มติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 23 กรกฎาคม 2545 ที่เห็นชอบการแปลงสภาพองค์การ ท. เป็นบริษัท ท. ตามที่ประธานคณะกรรมการนโยบายทุนรัฐวิสาหกิจเสนอ มีใจความ ให้ผู้ปฏิบัติงานขององค์การ ท. ที่โอนไปยังบริษัท ท. ณ วันที่มีการจดทะเบียนจัดตั้งบริษัทได้รับเงินเดือน ค่าจ้าง และสิทธิประโยชน์ไม่น้อยกว่าที่เคยได้รับอยู่เดิมเป็นมติที่สอดคล้องกับ พ.ร.บ.ทุนรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. 2542 มาตรา 25 วรรคสอง ที่ให้พนักงานตามวรรคหนึ่งได้รับเงินเดือน ค่าจ้าง และสิทธิประโยชน์ต่าง ๆ ไม่น้อยกว่าที่เคยได้รับอยู่เดิม กับให้ถือว่าเวลาการทำงานของพนักงานดังกล่าวในรัฐวิสาหกิจเดิมเป็นเวลาการทำงานในบริษัทโดยไม่ถือว่าการเปลี่ยนสภาพจากรัฐวิสาหกิจเดิมเป็นบริษัทนั้นเป็นการเลิกจ้าง มติคณะรัฐมนตรีและบทบัญญัติดังกล่าวเป็นกรณีที่ใช้ในช่วงเวลาเปลี่ยนสภาพจากรัฐวิสาหกิจในรูปองค์การของรัฐเป็นบริษัท
ในขณะที่จำเลยแปลงสภาพจากองค์การของรัฐเป็นบริษัทเมื่อวันที่ 31 กรกฎาคม 2545 จำเลยได้ให้พนักงานได้รับสิทธิประโยชน์ต่าง ๆ ที่เคยได้รับอยู่เดิมและยังไม่มีการปรับปรุงแก้ไขออกเป็นระเบียบจำเลย ว่าด้วย กองทุนสวัสดิการสงเคราะห์พนักงาน พ.ศ. 2546 ฉบับที่ 3 พ.ศ. 2548 กรณีไม่อาจอ้าง พ.ร.บ.ทุนรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. 2542 และมติคณะรัฐมนตรีมาปรับหรือบังคับให้ระเบียบดังกล่าวตกไป
พ.ร.บ.ทุนรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. 2542 มิได้เป็นบทบัญญัติที่ห้ามมิให้มีการแก้ไขสภาพการจ้าง เพราะการแก้ไขสภาพการจ้างของลูกจ้างในรัฐวิสาหกิจต้องดำเนินการตาม พ.ร.บ.แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. 2543 ซึ่งมีคณะกรรมการแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์กำกับดูแลในขั้นตอนต่าง ๆ เพื่อให้ฝ่ายบริหารกับพนักงานและลูกจ้างของรัฐวิสาหกิจมีสิทธิ หน้าที่ และความรับผิดชอบในขอบเขตที่เหมาะสมและสอดคล้องกับนโยบายการพัฒนาและส่งเสริมเสถียรภาพทางเศรษฐกิจและสังคมตลอดจนความมั่นคงของประเทศ
สภาพการจ้างตามระเบียบจำเลย ว่าด้วย กองทุนสวัสดิการสงเคราะห์พนักงาน พ.ศ. 2546 ฉบับที่ 3 พ.ศ. 2548 นอกจากเป็นสภาพการจ้างเกี่ยวกับการเงินที่อยู่ในขอบเขตที่กำหนดตาม พ.ร.บ.แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. 2543 มาตรา 13 (2) ที่จำเลยมีอำนาจที่จะแก้ไขปรับปรุงได้เอง ไม่ใช่สภาพการจ้างที่เกิดจากการยื่นข้อเรียกร้อง เจรจาตกลงเป็นข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างที่มีข้อห้ามตาม พ.ร.บ.แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. 2543 มาตรา 29 วรรคสอง ที่ห้ามมิให้นายจ้างทำสัญญาจ้างแรงงานกับลูกจ้างซึ่งเป็นสมาชิกสหภาพแรงงาน ขัดหรือแย้งกับข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง เว้นแต่สัญญาจ้างแรงงานนั้นจะเป็นคุณแก่ลูกจ้างยิ่งกว่าแล้ว หลักของการแก้ไขปรับปรุงเพื่อให้เกิดสภาพการจ้างใหม่ แม้ข้อตกลงหรือข้อยุติไม่เป็นคุณแก่ลูกจ้าง เป็นการลดประโยชน์ที่ลูกจ้างมีสิทธิที่ได้รับอยู่เดิมลงบ้าง แต่อยู่ในขอบเขตที่เหมาะสม สอดคล้องกับนโยบายการพัฒนาและส่งเสริมเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ ตามเหตุผลในหมายเหตุท้าย พ.ร.บ.แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. 2543 ย่อมใช้บังคับได้
จำเลยออกระเบียบแก้ไขหลักเกณฑ์การคำนวณบำเหน็จ เพราะจำเลยปรับขึ้นเงินเดือนให้พนักงานเป็นกรณีพิเศษ ส่งผลกระทบต่อฐานะการเงินของจำเลยที่ต้องจ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนสวัสดิการสงเคราะห์พนักงานมากขึ้น ฝ่ายพนักงานลูกจ้างหรือโจทก์ได้รับประโยชน์เพิ่มขึ้นจากการปรับขึ้นเงินเดือนเป็นกรณีพิเศษแล้ว หากจะต้องลดประโยชน์จากการเปลี่ยนหลักเกณฑ์การคำนวณบำเหน็จไปบ้าง เพื่อเสถียรภาพเศรษฐกิจโดยรวมขององค์กร ย่อมถือได้ว่าอยู่ในขอบเขตที่เหมาะสม ระเบียบจำเลย ว่าด้วย กองทุนสวัสดิการสงเคราะห์พนักงาน พ.ศ. 2546 ฉบับที่ 3 พ.ศ. 2548 จึงชอบด้วยกฎหมายและมีผลใช้บังคับแก่พนักงานของจำเลยทุกคนรวมทั้งโจทก์ด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2165-2209/2565
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างสำหรับลูกจ้างรัฐวิสาหกิจ: สิทธิและขอบเขตการบังคับใช้กับลูกจ้างใหม่
แม้เดิม พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 จะใช้บังคับกับทั้งกิจการภาคเอกชนและรัฐวิสาหกิจก็ตาม แต่ต่อมาได้มีการตรา พ.ร.บ.พนักงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. 2534 ใช้บังคับแก่กิจการภาครัฐวิสาหกิจโดยเฉพาะ และมีการยกเลิก พ.ร.บ.พนักงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. 2534 แล้วตรา พ.ร.บ.แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. 2543 มาใช้บังคับแทน โดยในส่วนของลูกจ้างและนายจ้างภาคเอกชนยังคงบังคับตาม พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 ต่อไป ส่วนกิจการรัฐวิสาหกิจเปลี่ยนมาใช้บังคับตาม พ.ร.บ.แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. 2543 เช่นนี้ เมื่อมีกฎหมายเฉพาะบัญญัติให้ใช้บังคับระหว่างโจทก์ทั้งสี่สิบห้าซึ่งเป็นลูกจ้างรัฐวิสาหกิจและจำเลยซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจแล้ว ย่อมไม่อาจนำ พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 ซึ่งใช้บังคับแก่ลูกจ้างและนายจ้างภาคเอกชนมาใช้บังคับแก่คดีนี้ได้
พ.ร.บ.แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. 2543 มาตรา 29 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า "ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างมีผลผูกพันนายจ้างและลูกจ้างซึ่งเป็นสมาชิกสหภาพแรงงาน" และวรรคสอง บัญญัติว่า "ห้ามมิให้นายจ้างทำสัญญาจ้างแรงงานกับลูกจ้างซึ่งเป็นสมาชิกสหภาพแรงงานขัดหรือแย้งกับข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง เว้นแต่สัญญาจ้างแรงงานนั้นจะเป็นคุณแก่ลูกจ้างยิ่งกว่า" ดังนั้น ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง ฉบับลงวันที่ 6 พฤษภาคม 2548 แผ่นที่ 2 ถึงแผ่นที่ 5 และประกาศจำเลย ที่ ปก 309/2548 ฉบับลงวันที่ 25 กรกฎาคม 2548 แผ่นที่ 6 ถึงแผ่นที่ 8 เรื่องการปรับปรุงเงินเพิ่มค่าวิชาชีพที่ขาดแคลนและค่าเสี่ยงอันตรายในที่สูง ซึ่งมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2548 เป็นต้นไป จึงมีผลผูกพันเฉพาะจำเลยและลูกจ้างจำเลยที่เป็นสมาชิกสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจวิทยุการบินแห่งประเทศไทยในขณะที่ข้อตกลงดังกล่าวเกิดขึ้นและมีผลใช้บังคับตามที่มาตรา 29 วรรคหนี่ง บัญญัติไว้เท่านั้น หาได้มีผลผูกพันลูกจ้างจำเลยทั้งองค์กรและลูกจ้างที่เข้าทำงานภายหลังข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างและประกาศดังกล่าวมีผลใช้บังคับแล้วด้วยไม่ เว้นแต่นายจ้างจะกำหนดให้ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างที่เกิดขึ้นมีผลใช้บังคับรวมถึงพนักงานที่มิได้เป็นสมาชิกสหภาพแรงงานในขณะนั้นหรือพนักงานที่จะเข้าทำงานใหม่ด้วย ดั่งเช่นประกาศจำเลย ที่ ปก 218/2548 ประกาศเรื่องข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง ฉบับลงวันที่ 9 พฤษภาคม 2548 แผ่นที่ 1 ที่จำเลยกำหนดให้ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างฉบับลงวันที่ 6 พฤษภาคม 2548 ท้ายประกาศดังกล่าวมีผลใช้บังคับรวมถึงพนักงานที่มิได้เป็นสมาชิกสหภาพแรงงานด้วย แต่เมื่อจำเลยมิได้กำหนดให้มีผลใช้บังคับกับพนักงานที่จะเข้าทำงานใหม่ด้วย โจทก์ทั้งสี่สิบห้าเพิ่งเข้ามาทำงานกับจำเลยระหว่างวันที่ 1 มิถุนายน 2556 ถึงวันที่ 1 ธันวาคม 2559 ในขณะที่ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง ฉบับลงวันที่ 6 พฤษภาคม 2548 และประกาศจำเลย ที่ ปก 309/2548 ฉบับลงวันที่ 25 กรกฎาคม 2548 เกิดขึ้นและมีผลใช้บังคับแล้ว ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างและประกาศดังกล่าวจึงไม่มีผลผูกพันโจทก์ทั้งสี่สิบห้า จำเลยย่อมมีสิทธิออกประกาศจำเลย ที่ ปก 57/2556 ฉบับลงวันที่ 3 เมษายน 2556 กำหนดเงื่อนไขให้ลูกจ้างที่เข้าทำงานใหม่ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2555 เป็นต้นไป ได้รับสิทธิประโยชน์ในเงินเพิ่มค่าวิชาชีพด้านเทคนิคแตกต่างไปจากที่กำหนดไว้ในข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง ฉบับลงวันที่ 6 พฤษภาคม 2548 และประกาศจำเลย ที่ ปก 309/2548 ฉบับลงวันที่ 25 กรกฎาคม 2548 ได้ ไม่เป็นการฝ่าฝืน พ.ร.บ.แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. 2543 มาตรา 29 วรรคสอง
ขณะโจทก์ทั้งสี่สิบห้าเข้าทำงาน จำเลยแจ้งหลักเกณฑ์การจ่ายเงินเพิ่มค่าวิชาชีพด้านเทคนิค ตามประกาศจำเลย ที่ ปก 57/2556 ฉบับลงวันที่ 3 เมษายน 2556 ไว้ในหนังสือจ้างโจทก์ทั้งสี่สิบห้าเป็นพนักงานและโจทก์ทุกคนได้ลงลายมือชื่อให้คำยินยอมโดยระบุว่า ให้ความยินยอมในการถือปฏิบัติให้เป็นไปตามระเบียบ ข้อบังคับ วิธีปฏิบัติ ประกาศ และคำสั่งที่จำเลยกำหนดไว้ในปัจจุบันและที่จะประกาศใช้ในอนาคตอย่างเคร่งครัด อันเป็นส่วนหนึ่งของสัญญาจ้างแรงงานระหว่างจำเลยกับโจทก์ทั้งสี่สิบห้า ประกาศจำเลย ที่ ปก 57/2556 ฉบับลงวันที่ 3 เมษายน 2556 จึงใช้บังคับแก่โจทก์ทั้งสี่สิบห้าได้ การออกประกาศจำเลย ที่ ปก 57/2556 ฉบับลงวันที่ 3 เมษายน 2556 จึงไม่ใช่กรณีจำเลยเปลี่ยนแปลงหลักเกณฑ์การจ่ายเงินเพิ่มค่าวิชาชีพด้านเทคนิคแก่ลูกจ้างเดิมทั้งหมดโดยไม่ได้ยื่นข้อเรียกร้องเพื่อขอเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้างและแก้ไขสภาพการจ้างที่ไม่เป็นคุณแก่ลูกจ้างตามที่โจทก์ทั้งสี่สิบห้ากล่าวอ้าง
ตามประกาศจำเลย ที่ ปก 218/2548 ฉบับลงวันที่ 9 พฤษภาคม 2548 ที่ให้ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง ฉบับลงวันที่ 6 พฤษภาคม 2548 และประกาศจำเลย ที่ ปก 309/2548 ฉบับลงวันที่ 25 กรกฎาคม 2548 มีผลใช้บังคับรวมถึงพนักงานที่มิได้เป็นสมาชิกสหภาพแรงงานด้วย หมายถึงให้มีผลใช้บังคับกับพนักงานหรือลูกจ้างของจำเลยในขณะนั้นที่ไม่ได้เป็นสมาชิกสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจวิทยุการบินแห่งประเทศไทยเท่านั้น หาได้มีความหมายรวมไปถึงบุคคลที่จะเข้ามาทำงานเป็นลูกจ้างของจำเลยในอนาคตดังเช่นโจทก์ทั้งสี่สิบห้าด้วยไม่
สิทธิของสมาชิกสหภาพแรงงานตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ย่อมเกิดขึ้นนับแต่ที่ตนเองเข้าเป็นสมาชิกสหภาพแรงงาน ส่วนสิทธิของสมาชิกสหภาพแรงงานตามข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างฉบับใด ย่อมเกิดขึ้นเมื่อสมาชิกสหภาพแรงงานผู้นั้นมีผลผูกพันตามข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างนั้น เมื่อโจทก์ทั้งสี่สิบห้าไม่มีผลผูกพันกับข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง ฉบับลงวันที่ 6 พฤษภาคม 2548 และประกาศจำเลย ที่ ปก 309/2548 ฉบับลงวันที่ 25 กรกฎาคม 2548 โจทก์ทั้งสี่สิบห้าจึงหามีสิทธิได้รับเงินเพิ่มค่าวิชาชีพด้านเทคนิคนับแต่เข้าเป็นสมาชิกสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจวิทยุการบินแห่งประเทศไทยตามที่กล่าวอ้างไม่ จำเลยจึงไม่ต้องจ่ายเงินเพิ่มค่าวิชาชีพด้านเทคนิคพร้อมดอกเบี้ยตามคำฟ้องแก่โจทก์ดังกล่าว
พ.ร.บ.แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. 2543 มาตรา 29 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า "ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างมีผลผูกพันนายจ้างและลูกจ้างซึ่งเป็นสมาชิกสหภาพแรงงาน" และวรรคสอง บัญญัติว่า "ห้ามมิให้นายจ้างทำสัญญาจ้างแรงงานกับลูกจ้างซึ่งเป็นสมาชิกสหภาพแรงงานขัดหรือแย้งกับข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง เว้นแต่สัญญาจ้างแรงงานนั้นจะเป็นคุณแก่ลูกจ้างยิ่งกว่า" ดังนั้น ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง ฉบับลงวันที่ 6 พฤษภาคม 2548 แผ่นที่ 2 ถึงแผ่นที่ 5 และประกาศจำเลย ที่ ปก 309/2548 ฉบับลงวันที่ 25 กรกฎาคม 2548 แผ่นที่ 6 ถึงแผ่นที่ 8 เรื่องการปรับปรุงเงินเพิ่มค่าวิชาชีพที่ขาดแคลนและค่าเสี่ยงอันตรายในที่สูง ซึ่งมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2548 เป็นต้นไป จึงมีผลผูกพันเฉพาะจำเลยและลูกจ้างจำเลยที่เป็นสมาชิกสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจวิทยุการบินแห่งประเทศไทยในขณะที่ข้อตกลงดังกล่าวเกิดขึ้นและมีผลใช้บังคับตามที่มาตรา 29 วรรคหนี่ง บัญญัติไว้เท่านั้น หาได้มีผลผูกพันลูกจ้างจำเลยทั้งองค์กรและลูกจ้างที่เข้าทำงานภายหลังข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างและประกาศดังกล่าวมีผลใช้บังคับแล้วด้วยไม่ เว้นแต่นายจ้างจะกำหนดให้ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างที่เกิดขึ้นมีผลใช้บังคับรวมถึงพนักงานที่มิได้เป็นสมาชิกสหภาพแรงงานในขณะนั้นหรือพนักงานที่จะเข้าทำงานใหม่ด้วย ดั่งเช่นประกาศจำเลย ที่ ปก 218/2548 ประกาศเรื่องข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง ฉบับลงวันที่ 9 พฤษภาคม 2548 แผ่นที่ 1 ที่จำเลยกำหนดให้ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างฉบับลงวันที่ 6 พฤษภาคม 2548 ท้ายประกาศดังกล่าวมีผลใช้บังคับรวมถึงพนักงานที่มิได้เป็นสมาชิกสหภาพแรงงานด้วย แต่เมื่อจำเลยมิได้กำหนดให้มีผลใช้บังคับกับพนักงานที่จะเข้าทำงานใหม่ด้วย โจทก์ทั้งสี่สิบห้าเพิ่งเข้ามาทำงานกับจำเลยระหว่างวันที่ 1 มิถุนายน 2556 ถึงวันที่ 1 ธันวาคม 2559 ในขณะที่ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง ฉบับลงวันที่ 6 พฤษภาคม 2548 และประกาศจำเลย ที่ ปก 309/2548 ฉบับลงวันที่ 25 กรกฎาคม 2548 เกิดขึ้นและมีผลใช้บังคับแล้ว ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างและประกาศดังกล่าวจึงไม่มีผลผูกพันโจทก์ทั้งสี่สิบห้า จำเลยย่อมมีสิทธิออกประกาศจำเลย ที่ ปก 57/2556 ฉบับลงวันที่ 3 เมษายน 2556 กำหนดเงื่อนไขให้ลูกจ้างที่เข้าทำงานใหม่ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2555 เป็นต้นไป ได้รับสิทธิประโยชน์ในเงินเพิ่มค่าวิชาชีพด้านเทคนิคแตกต่างไปจากที่กำหนดไว้ในข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง ฉบับลงวันที่ 6 พฤษภาคม 2548 และประกาศจำเลย ที่ ปก 309/2548 ฉบับลงวันที่ 25 กรกฎาคม 2548 ได้ ไม่เป็นการฝ่าฝืน พ.ร.บ.แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. 2543 มาตรา 29 วรรคสอง
ขณะโจทก์ทั้งสี่สิบห้าเข้าทำงาน จำเลยแจ้งหลักเกณฑ์การจ่ายเงินเพิ่มค่าวิชาชีพด้านเทคนิค ตามประกาศจำเลย ที่ ปก 57/2556 ฉบับลงวันที่ 3 เมษายน 2556 ไว้ในหนังสือจ้างโจทก์ทั้งสี่สิบห้าเป็นพนักงานและโจทก์ทุกคนได้ลงลายมือชื่อให้คำยินยอมโดยระบุว่า ให้ความยินยอมในการถือปฏิบัติให้เป็นไปตามระเบียบ ข้อบังคับ วิธีปฏิบัติ ประกาศ และคำสั่งที่จำเลยกำหนดไว้ในปัจจุบันและที่จะประกาศใช้ในอนาคตอย่างเคร่งครัด อันเป็นส่วนหนึ่งของสัญญาจ้างแรงงานระหว่างจำเลยกับโจทก์ทั้งสี่สิบห้า ประกาศจำเลย ที่ ปก 57/2556 ฉบับลงวันที่ 3 เมษายน 2556 จึงใช้บังคับแก่โจทก์ทั้งสี่สิบห้าได้ การออกประกาศจำเลย ที่ ปก 57/2556 ฉบับลงวันที่ 3 เมษายน 2556 จึงไม่ใช่กรณีจำเลยเปลี่ยนแปลงหลักเกณฑ์การจ่ายเงินเพิ่มค่าวิชาชีพด้านเทคนิคแก่ลูกจ้างเดิมทั้งหมดโดยไม่ได้ยื่นข้อเรียกร้องเพื่อขอเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้างและแก้ไขสภาพการจ้างที่ไม่เป็นคุณแก่ลูกจ้างตามที่โจทก์ทั้งสี่สิบห้ากล่าวอ้าง
ตามประกาศจำเลย ที่ ปก 218/2548 ฉบับลงวันที่ 9 พฤษภาคม 2548 ที่ให้ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง ฉบับลงวันที่ 6 พฤษภาคม 2548 และประกาศจำเลย ที่ ปก 309/2548 ฉบับลงวันที่ 25 กรกฎาคม 2548 มีผลใช้บังคับรวมถึงพนักงานที่มิได้เป็นสมาชิกสหภาพแรงงานด้วย หมายถึงให้มีผลใช้บังคับกับพนักงานหรือลูกจ้างของจำเลยในขณะนั้นที่ไม่ได้เป็นสมาชิกสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจวิทยุการบินแห่งประเทศไทยเท่านั้น หาได้มีความหมายรวมไปถึงบุคคลที่จะเข้ามาทำงานเป็นลูกจ้างของจำเลยในอนาคตดังเช่นโจทก์ทั้งสี่สิบห้าด้วยไม่
สิทธิของสมาชิกสหภาพแรงงานตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ย่อมเกิดขึ้นนับแต่ที่ตนเองเข้าเป็นสมาชิกสหภาพแรงงาน ส่วนสิทธิของสมาชิกสหภาพแรงงานตามข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างฉบับใด ย่อมเกิดขึ้นเมื่อสมาชิกสหภาพแรงงานผู้นั้นมีผลผูกพันตามข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างนั้น เมื่อโจทก์ทั้งสี่สิบห้าไม่มีผลผูกพันกับข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง ฉบับลงวันที่ 6 พฤษภาคม 2548 และประกาศจำเลย ที่ ปก 309/2548 ฉบับลงวันที่ 25 กรกฎาคม 2548 โจทก์ทั้งสี่สิบห้าจึงหามีสิทธิได้รับเงินเพิ่มค่าวิชาชีพด้านเทคนิคนับแต่เข้าเป็นสมาชิกสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจวิทยุการบินแห่งประเทศไทยตามที่กล่าวอ้างไม่ จำเลยจึงไม่ต้องจ่ายเงินเพิ่มค่าวิชาชีพด้านเทคนิคพร้อมดอกเบี้ยตามคำฟ้องแก่โจทก์ดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1858/2565
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม: การลาและการละทิ้งหน้าที่ ความรับผิดของนายจ้างและลูกจ้าง
พ.ร.บ.โรงเรียนเอกชน พ.ศ. 2550 มาตรา 18 และมาตรา 20 วรรคหนึ่ง (4) อยู่ในส่วนที่ 1 การจัดตั้งและเปิดดำเนินการโรงเรียนในระบบ มีเจตนารมณ์มุ่งเน้นให้การจัดตั้งโรงเรียนในระบบจะต้องได้รับใบอนุญาตจากผู้อนุญาตก่อน มิฉะนั้นอาจมีโทษตามมาตรา 130 และการขอรับใบอนุญาตให้แนบรายละเอียดเกี่ยวกับกิจการของโรงเรียนในระบบตามมาตรา 20 วรรคหนึ่ง (4) เช่น หลักเกณฑ์การจ้างฯลฯ ไปให้ทราบเพื่อประกอบการพิจารณาอนุญาตให้จัดตั้งโรงเรียนในระบบ ส่วนการคุ้มครองการทำงานไปอยู่ในส่วนที่ 6 มาตรา 86 เมื่อพิจารณาระเบียบการลา ก็มิใช่เอกสารที่เป็นรายละเอียดเกี่ยวกับกิจการของโรงเรียนในระบบ จึงมิใช่เอกสารตามมาตรา 20 วรรคหนึ่ง (4) ที่ผู้ขอรับใบอนุญาตต้องแนบพร้อมตราสารจัดตั้งมาพร้อมคำขอตามมาตรา 18 วรรคหนึ่ง ด้วย
ในการกำหนดบทลงโทษตามมาตรา 130 เป็นกรณีที่ผู้จัดตั้งโรงเรียนในระบบโดยไม่ได้รับอนุญาตตามมาตรา 18 ซึ่งเป็นคนละเรื่องกับระเบียบการลา
เมื่อไม่มีกรณีที่จำเลยต้องจัดส่งระเบียบการลาให้สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน การที่จำเลยกำหนดระเบียบการลา และโจทก์ทราบระเบียบดังกล่าว ถือว่าระเบียบการลามีผลใช้บังคับแก่โจทก์และจำเลยแล้ว ส่วนที่ว่าระเบียบการลามีผลใช้บังคับแก่โจทก์และจำเลยเพียงใดนั้นจะต้องพิจารณาประกอบระเบียบเกี่ยวกับการคุ้มครองการทำงานที่คณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชนกำหนดตาม พ.ร.บ.โรงเรียนเอกชน พ.ศ. 2550 มาตรา 86 วรรคสอง ซึ่งเป็นกฎหมายคุ้มครองแรงงานที่ใช้บังคับกับผู้อำนวยการ ครู และบุคลากรทางการศึกษาของโรงเรียนเอกชน
ในขณะเกิดเหตุยังไม่ได้ออกระเบียบดังกล่าวเพื่อปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติดังกล่าว จึงต้องนำระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการคุ้มครองการทำงานของครูใหญ่และครูโรงเรียนเอกชน พ.ศ. 2542 มาใช้บังคับแทนโดยอนุโลมเท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับพระราชบัญญัติดังกล่าวตามมาตรา 166
ระเบียบการลาประกอบระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการคุ้มครองการทำงานของครูใหญ่และครูโรงเรียนเอกชน พ.ศ. 2542 ที่กำหนดว่า "ต้องยื่นใบลาต่อผู้บริหารล่วงหน้าอย่างน้อย 3 วันทำงาน" ไม่สอดคล้องกับระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการคุ้มครองการทำงานของครูใหญ่และครูโรงเรียนเอกชน พ.ศ. 2542 ข้อ 25 (1) ที่ว่า "การลากิจ หรือลาเพื่อทำหมันให้ยื่นใบลาล่วงหน้าอย่างน้อย 1 วัน ในกรณีจำเป็นและไม่สามารถยื่นใบลาได้ตามกำหนด ให้แจ้งการลาโดยเร็วที่สุด" ดังนี้ หลักเกณฑ์เกี่ยวกับลากิจในส่วนนี้จึงต้องใช้บังคับตามระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการคุ้มครองการทำงานของครูใหญ่และครูโรงเรียนเอกชน พ.ศ. 2542 ข้อ 25 (1) ดังนี้ แม้การยื่นขอลากิจของโจทก์ได้ยื่นเมื่อวันที่ 12 มิถุนายน 2561 ก่อนวันแรกที่ขอลากิจคือวันที่ 13 มิถุนายน 2561 เป็นเวลาอย่างน้อย 1 วัน ซึ่งพอถือได้ว่าได้ยื่นใบลาล่วงหน้าอย่างน้อย 1 วัน ตามระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการคุ้มครองการทำงานของครูใหญ่และครูโรงเรียนเอกชน พ.ศ. 2542 ข้อ 25 (1) ก็ตาม แต่เมื่อการลากิจตามระเบียบการลาของจำเลย ข้อ 2 การลากิจยังได้กำหนดหลักเกณฑ์และเงื่อนไขอื่นอีกในข้อ 4 ไว้ด้วยว่า "การอนุมัติคำขอขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของผู้บริหาร หากไม่มาปฏิบัติงาน โดยที่ผู้บริหารยังไม่อนุมัติคำขอลาจะถือว่า "ขาดงาน" และไม่ได้รับค่าจ้างในวันดังกล่าว" เช่นนี้ การขอลากิจของโจทก์จึงต้องปฏิบัติให้ครบถ้วนตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขดังกล่าวด้วย การที่โจทก์หยุดโดยยังไม่ได้รับอนุมัติจากจำเลย และเดินทางไปกับบิดาทันทีภายหลังยื่นขอลากิจและหลังเวลาเลิกงานโดยไม่ได้รออนุมัติจากจำเลย เมื่อต่อมาจำเลยไม่ได้อนุมัติใบลากิจของโจทก์เนื่องจากโจทก์เพิ่งกลับเข้ามาปฏิบัติงานเป็นวันแรกหลังจากถูกพักงานครั้งที่สองและจำเลยได้เรียกโจทก์ให้กลับมาปฏิบัติหน้าที่และแจ้งคำสั่งตามหนังสือไม่อนุมัติการลาให้ทราบแล้ว และโจทก์ไม่ได้มาทำงานในวันที่ 13 ถึงวันที่ 15 มิถุนายน 2561 จึงเป็นการไม่ปฏิบัติตามระเบียบการลา อีกทั้งเมื่อสาเหตุการลากิจของโจทก์เป็นการพาบิดาซึ่งมีอายุกว่า 70 ปี ไปเยี่ยมพี่สาวของบิดาที่จังหวัดสุราษฎร์ธานีถือเป็นเรื่องปกติทั่วไปที่ไม่ใช่กรณีมีความจำเป็นทางครอบครัว ถือว่าไม่มีเหตุอันสมควร การกระทำของโจทก์จึงถือได้ว่าเป็นการละทิ้งการงานไปเสียตาม ป.พ.พ. มาตรา 583 จำเลยมีสิทธิเลิกจ้างโจทก์ได้โดยไม่จำต้องบอกกล่าวล่วงหน้า และการที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์ด้วยสาเหตุดังกล่าวนี้ด้วย ถือได้ว่าเป็นเหตุอันสมควรและเพียงพอในการเลิกจ้าง ไม่เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 49
ในการกำหนดบทลงโทษตามมาตรา 130 เป็นกรณีที่ผู้จัดตั้งโรงเรียนในระบบโดยไม่ได้รับอนุญาตตามมาตรา 18 ซึ่งเป็นคนละเรื่องกับระเบียบการลา
เมื่อไม่มีกรณีที่จำเลยต้องจัดส่งระเบียบการลาให้สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน การที่จำเลยกำหนดระเบียบการลา และโจทก์ทราบระเบียบดังกล่าว ถือว่าระเบียบการลามีผลใช้บังคับแก่โจทก์และจำเลยแล้ว ส่วนที่ว่าระเบียบการลามีผลใช้บังคับแก่โจทก์และจำเลยเพียงใดนั้นจะต้องพิจารณาประกอบระเบียบเกี่ยวกับการคุ้มครองการทำงานที่คณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชนกำหนดตาม พ.ร.บ.โรงเรียนเอกชน พ.ศ. 2550 มาตรา 86 วรรคสอง ซึ่งเป็นกฎหมายคุ้มครองแรงงานที่ใช้บังคับกับผู้อำนวยการ ครู และบุคลากรทางการศึกษาของโรงเรียนเอกชน
ในขณะเกิดเหตุยังไม่ได้ออกระเบียบดังกล่าวเพื่อปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติดังกล่าว จึงต้องนำระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการคุ้มครองการทำงานของครูใหญ่และครูโรงเรียนเอกชน พ.ศ. 2542 มาใช้บังคับแทนโดยอนุโลมเท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับพระราชบัญญัติดังกล่าวตามมาตรา 166
ระเบียบการลาประกอบระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการคุ้มครองการทำงานของครูใหญ่และครูโรงเรียนเอกชน พ.ศ. 2542 ที่กำหนดว่า "ต้องยื่นใบลาต่อผู้บริหารล่วงหน้าอย่างน้อย 3 วันทำงาน" ไม่สอดคล้องกับระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการคุ้มครองการทำงานของครูใหญ่และครูโรงเรียนเอกชน พ.ศ. 2542 ข้อ 25 (1) ที่ว่า "การลากิจ หรือลาเพื่อทำหมันให้ยื่นใบลาล่วงหน้าอย่างน้อย 1 วัน ในกรณีจำเป็นและไม่สามารถยื่นใบลาได้ตามกำหนด ให้แจ้งการลาโดยเร็วที่สุด" ดังนี้ หลักเกณฑ์เกี่ยวกับลากิจในส่วนนี้จึงต้องใช้บังคับตามระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการคุ้มครองการทำงานของครูใหญ่และครูโรงเรียนเอกชน พ.ศ. 2542 ข้อ 25 (1) ดังนี้ แม้การยื่นขอลากิจของโจทก์ได้ยื่นเมื่อวันที่ 12 มิถุนายน 2561 ก่อนวันแรกที่ขอลากิจคือวันที่ 13 มิถุนายน 2561 เป็นเวลาอย่างน้อย 1 วัน ซึ่งพอถือได้ว่าได้ยื่นใบลาล่วงหน้าอย่างน้อย 1 วัน ตามระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการคุ้มครองการทำงานของครูใหญ่และครูโรงเรียนเอกชน พ.ศ. 2542 ข้อ 25 (1) ก็ตาม แต่เมื่อการลากิจตามระเบียบการลาของจำเลย ข้อ 2 การลากิจยังได้กำหนดหลักเกณฑ์และเงื่อนไขอื่นอีกในข้อ 4 ไว้ด้วยว่า "การอนุมัติคำขอขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของผู้บริหาร หากไม่มาปฏิบัติงาน โดยที่ผู้บริหารยังไม่อนุมัติคำขอลาจะถือว่า "ขาดงาน" และไม่ได้รับค่าจ้างในวันดังกล่าว" เช่นนี้ การขอลากิจของโจทก์จึงต้องปฏิบัติให้ครบถ้วนตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขดังกล่าวด้วย การที่โจทก์หยุดโดยยังไม่ได้รับอนุมัติจากจำเลย และเดินทางไปกับบิดาทันทีภายหลังยื่นขอลากิจและหลังเวลาเลิกงานโดยไม่ได้รออนุมัติจากจำเลย เมื่อต่อมาจำเลยไม่ได้อนุมัติใบลากิจของโจทก์เนื่องจากโจทก์เพิ่งกลับเข้ามาปฏิบัติงานเป็นวันแรกหลังจากถูกพักงานครั้งที่สองและจำเลยได้เรียกโจทก์ให้กลับมาปฏิบัติหน้าที่และแจ้งคำสั่งตามหนังสือไม่อนุมัติการลาให้ทราบแล้ว และโจทก์ไม่ได้มาทำงานในวันที่ 13 ถึงวันที่ 15 มิถุนายน 2561 จึงเป็นการไม่ปฏิบัติตามระเบียบการลา อีกทั้งเมื่อสาเหตุการลากิจของโจทก์เป็นการพาบิดาซึ่งมีอายุกว่า 70 ปี ไปเยี่ยมพี่สาวของบิดาที่จังหวัดสุราษฎร์ธานีถือเป็นเรื่องปกติทั่วไปที่ไม่ใช่กรณีมีความจำเป็นทางครอบครัว ถือว่าไม่มีเหตุอันสมควร การกระทำของโจทก์จึงถือได้ว่าเป็นการละทิ้งการงานไปเสียตาม ป.พ.พ. มาตรา 583 จำเลยมีสิทธิเลิกจ้างโจทก์ได้โดยไม่จำต้องบอกกล่าวล่วงหน้า และการที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์ด้วยสาเหตุดังกล่าวนี้ด้วย ถือได้ว่าเป็นเหตุอันสมควรและเพียงพอในการเลิกจ้าง ไม่เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 49
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1800/2565
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับฟังพยานหลักฐานในคดีแรงงาน: การเชื่อมโยงพยานหลักฐานกับประเด็นแห่งคดีและการวินิจฉัยเหตุผลที่ชัดเจน
การที่ศาลจะรับฟังพยานหลักฐานใดย่อมจะต้องพิจารณาว่าพยานหลักฐานนั้นเกี่ยวกับประเด็นในคดีหรือไม่ หากพยานหลักฐานใดไม่เกี่ยวกับประเด็นหรือนอกประเด็น แม้คู่ความจะนำสืบกล่าวอ้างพยานหลักฐานนั้นต่อศาล ศาลย่อมมีอำนาจที่จะไม่รับฟังพยานหลักฐานนั้น
โจทก์บรรยายคำฟ้องว่า จำเลยทั้งสองร่วมกันทุจริตต่อโจทก์ โดยจำเลยที่ 1 ตั้งระบบอัตโนมัติในเครื่องคอมพิวเตอร์และบันทึกข้อมูลในระบบว่ามีการหักเงินบางส่วนของบัญชีกำไรจากอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ แล้วนำไปตั้งพักไว้ในบัญชีตั้งพักของธนาคารโจทก์ หลังจากนั้นได้ล้างรายการเงินฝากของโจทก์โดยจำเลยที่ 1 ไม่มีอำนาจ แล้วโอนเงินเข้าบัญชีเงินฝากของจำเลยที่ 2 และจำเลยที่ 2 ได้เบิกถอนเงินจากบัญชีของตนไป การที่โจทก์นำสืบถึงการกระทำของจำเลยที่ 2 ที่เกี่ยวข้องกับค่าตรวจสอบบัญชี จำนวน 700,000 บาท เศษ โดยมีการระบุถึงรหัสประจำตัวพนักงานของจำเลยที่ 2 เป็นผู้บันทึกข้อมูล และจำเลยที่ 1 เป็นผู้อนุมัติรายการต่อศาลแรงงานกลาง จึงเป็นการนำสืบถึงรายละเอียดในการกระทำความผิดของจำเลยทั้งสอง เนื่องจากเป็นเรื่องความเป็นมาที่โจทก์ตรวจพบการทุจริตของจำเลยทั้งสองก่อนหน้าที่จะมีการกระทำผิดตามคำฟ้อง และอาจใช้สนับสนุนพยานหลักฐานโจทก์เกี่ยวกับการทุจริตของจำเลยที่ 2 ไม่ใช่การนำสืบนอกฟ้องนอกประเด็น
อุทธรณ์ของโจทก์ที่ว่า ศาลแรงงานกลางวินิจฉัยพยานหลักฐานขัดกับสำนวน เนื่องจากพยานหลักฐานโจทก์ฟังได้ว่าพฤติการณ์ของจำเลยที่ 2 เป็นการร่วมกันกระทำความผิดกับจำเลยที่ 1 หรือจำเลยที่ 2 กระทำความผิดหรือรู้เห็นยินยอมให้จำเลยที่ 1 กระทำความผิด อันเป็นการร่วมกันกระทำทุจริตและผิดสัญญาจ้างแรงงานต่อโจทก์ เป็นอุทธรณ์ที่ขอให้ศาลอุทธรณ์คดีชํานัญพิเศษวินิจฉัยว่าคำพิพากษาศาลแรงงานกลางชอบด้วย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 หรือไม่ อุทธรณ์ของโจทก์เป็นอุทธรณ์ในข้อกฎหมาย
ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 51 วรรคหนึ่ง คำพิพากษาศาลแรงงานกลางในส่วนของการวินิจฉัยประเด็นแห่งคดีจะต้องมีเหตุผลแห่งคำวินิจฉัย เพื่อให้ทราบว่าศาลแรงงานได้นำข้อเท็จจริงหรือข้อกฎหมายใดเป็นหลักในการวินิจฉัยคดีและถูกต้องตามหลักเกณฑ์ในการรับฟังพยานหลักฐานและการแปลความบทบัญญัติของกฎหมายหรือไม่ คดีนี้ ข้อเท็จจริงปรากฏว่า มีการล้างรายการเงินฝากในบัญชีตั้งพัก เพื่อโอนเงินมาเข้าบัญชีของจำเลยทั้งสองกับพวก โดยในส่วนของจำเลยที่ 2 ได้รับโอนเงินของโจทก์เข้าบัญชีถึง 2 ครั้ง จำนวน 240,000 บาท และ 250,000 บาท แต่ศาลแรงงานกลางวินิจฉัยลอย ๆ เพียงว่า โจทก์ไม่มีพยานบุคคลมานำสืบให้เห็นว่าจำเลยทั้งสองได้ร่วมกันกระทำความผิด มิได้วินิจฉัยถึงพยานเอกสารอื่นว่าไม่อาจรับฟังเชื่อมโยงว่าจำเลยทั้งสองร่วมกันทุจริตเงินตามคำฟ้องเพราะเหตุใด นอกจากนั้น เงินที่โอนเข้าบัญชีจำเลยที่ 2 รวมสองครั้งมิใช่เงินจำนวนเล็กน้อย จำเลยที่ 2 ย่อมต้องให้ความสำคัญและย่อมทราบว่าเงินดังกล่าวมีที่มาอย่างไร แต่ศาลแรงงานกลางกลับวินิจฉัยเพียงว่าเงินที่เข้าบัญชีจำเลยที่ 2 จำเลยที่ 2 ได้ถอนให้จำเลยที่ 1 ไป จึงฟังได้ว่า จำเลยที่ 1 เอาเงินของโจทก์ไปโดยทุจริตเป็นการผิดสัญญาจ้างแรงงานต่อโจทก์ แต่ฟังไม่ได้ว่าจำเลยที่ 2 มีส่วนร่วมกันกระทำความผิดกับจำเลยที่ 1 หรือรู้เห็นยินยอมให้จำเลยที่ 1 กระทำความผิดเท่านั้น โดยไม่วินิจฉัยว่าจำเลยที่ 2 ทราบถึงที่มาของการโอนเงินดังกล่าวอย่างไร เพื่อให้เห็นว่าจำเลยที่ 2 มีส่วนร่วมในการกระทำความผิดกับจำเลยที่ 1 หรือไม่ เช่นนี้ แม้คำพิพากษาศาลแรงงานกลางจะยังไม่ถึงกับเป็นการวินิจฉัยขัดกับพยานหลักฐานในสำนวนดังที่โจทก์อุทธรณ์ แต่ก็เป็นคำพิพากษาที่มิได้แสดงข้อเท็จจริงที่ฟังได้โดยสรุปและคำวินิจฉัยในประเด็นแห่งคดีพร้อมด้วยเหตุผลแห่งคำวินิจฉัยในประเด็นว่า จำเลยที่ 2 มีส่วนร่วมกระทำละเมิดกับจำเลยที่ 1 หรือรู้เห็นยินยอมให้จำเลยที่ 1 กระทำละเมิดต่อโจทก์หรือไม่ จึงเป็นคำพิพากษาที่ไม่ชอบด้วย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 51 วรรคหนึ่ง
โจทก์บรรยายคำฟ้องว่า จำเลยทั้งสองร่วมกันทุจริตต่อโจทก์ โดยจำเลยที่ 1 ตั้งระบบอัตโนมัติในเครื่องคอมพิวเตอร์และบันทึกข้อมูลในระบบว่ามีการหักเงินบางส่วนของบัญชีกำไรจากอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ แล้วนำไปตั้งพักไว้ในบัญชีตั้งพักของธนาคารโจทก์ หลังจากนั้นได้ล้างรายการเงินฝากของโจทก์โดยจำเลยที่ 1 ไม่มีอำนาจ แล้วโอนเงินเข้าบัญชีเงินฝากของจำเลยที่ 2 และจำเลยที่ 2 ได้เบิกถอนเงินจากบัญชีของตนไป การที่โจทก์นำสืบถึงการกระทำของจำเลยที่ 2 ที่เกี่ยวข้องกับค่าตรวจสอบบัญชี จำนวน 700,000 บาท เศษ โดยมีการระบุถึงรหัสประจำตัวพนักงานของจำเลยที่ 2 เป็นผู้บันทึกข้อมูล และจำเลยที่ 1 เป็นผู้อนุมัติรายการต่อศาลแรงงานกลาง จึงเป็นการนำสืบถึงรายละเอียดในการกระทำความผิดของจำเลยทั้งสอง เนื่องจากเป็นเรื่องความเป็นมาที่โจทก์ตรวจพบการทุจริตของจำเลยทั้งสองก่อนหน้าที่จะมีการกระทำผิดตามคำฟ้อง และอาจใช้สนับสนุนพยานหลักฐานโจทก์เกี่ยวกับการทุจริตของจำเลยที่ 2 ไม่ใช่การนำสืบนอกฟ้องนอกประเด็น
อุทธรณ์ของโจทก์ที่ว่า ศาลแรงงานกลางวินิจฉัยพยานหลักฐานขัดกับสำนวน เนื่องจากพยานหลักฐานโจทก์ฟังได้ว่าพฤติการณ์ของจำเลยที่ 2 เป็นการร่วมกันกระทำความผิดกับจำเลยที่ 1 หรือจำเลยที่ 2 กระทำความผิดหรือรู้เห็นยินยอมให้จำเลยที่ 1 กระทำความผิด อันเป็นการร่วมกันกระทำทุจริตและผิดสัญญาจ้างแรงงานต่อโจทก์ เป็นอุทธรณ์ที่ขอให้ศาลอุทธรณ์คดีชํานัญพิเศษวินิจฉัยว่าคำพิพากษาศาลแรงงานกลางชอบด้วย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 หรือไม่ อุทธรณ์ของโจทก์เป็นอุทธรณ์ในข้อกฎหมาย
ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 51 วรรคหนึ่ง คำพิพากษาศาลแรงงานกลางในส่วนของการวินิจฉัยประเด็นแห่งคดีจะต้องมีเหตุผลแห่งคำวินิจฉัย เพื่อให้ทราบว่าศาลแรงงานได้นำข้อเท็จจริงหรือข้อกฎหมายใดเป็นหลักในการวินิจฉัยคดีและถูกต้องตามหลักเกณฑ์ในการรับฟังพยานหลักฐานและการแปลความบทบัญญัติของกฎหมายหรือไม่ คดีนี้ ข้อเท็จจริงปรากฏว่า มีการล้างรายการเงินฝากในบัญชีตั้งพัก เพื่อโอนเงินมาเข้าบัญชีของจำเลยทั้งสองกับพวก โดยในส่วนของจำเลยที่ 2 ได้รับโอนเงินของโจทก์เข้าบัญชีถึง 2 ครั้ง จำนวน 240,000 บาท และ 250,000 บาท แต่ศาลแรงงานกลางวินิจฉัยลอย ๆ เพียงว่า โจทก์ไม่มีพยานบุคคลมานำสืบให้เห็นว่าจำเลยทั้งสองได้ร่วมกันกระทำความผิด มิได้วินิจฉัยถึงพยานเอกสารอื่นว่าไม่อาจรับฟังเชื่อมโยงว่าจำเลยทั้งสองร่วมกันทุจริตเงินตามคำฟ้องเพราะเหตุใด นอกจากนั้น เงินที่โอนเข้าบัญชีจำเลยที่ 2 รวมสองครั้งมิใช่เงินจำนวนเล็กน้อย จำเลยที่ 2 ย่อมต้องให้ความสำคัญและย่อมทราบว่าเงินดังกล่าวมีที่มาอย่างไร แต่ศาลแรงงานกลางกลับวินิจฉัยเพียงว่าเงินที่เข้าบัญชีจำเลยที่ 2 จำเลยที่ 2 ได้ถอนให้จำเลยที่ 1 ไป จึงฟังได้ว่า จำเลยที่ 1 เอาเงินของโจทก์ไปโดยทุจริตเป็นการผิดสัญญาจ้างแรงงานต่อโจทก์ แต่ฟังไม่ได้ว่าจำเลยที่ 2 มีส่วนร่วมกันกระทำความผิดกับจำเลยที่ 1 หรือรู้เห็นยินยอมให้จำเลยที่ 1 กระทำความผิดเท่านั้น โดยไม่วินิจฉัยว่าจำเลยที่ 2 ทราบถึงที่มาของการโอนเงินดังกล่าวอย่างไร เพื่อให้เห็นว่าจำเลยที่ 2 มีส่วนร่วมในการกระทำความผิดกับจำเลยที่ 1 หรือไม่ เช่นนี้ แม้คำพิพากษาศาลแรงงานกลางจะยังไม่ถึงกับเป็นการวินิจฉัยขัดกับพยานหลักฐานในสำนวนดังที่โจทก์อุทธรณ์ แต่ก็เป็นคำพิพากษาที่มิได้แสดงข้อเท็จจริงที่ฟังได้โดยสรุปและคำวินิจฉัยในประเด็นแห่งคดีพร้อมด้วยเหตุผลแห่งคำวินิจฉัยในประเด็นว่า จำเลยที่ 2 มีส่วนร่วมกระทำละเมิดกับจำเลยที่ 1 หรือรู้เห็นยินยอมให้จำเลยที่ 1 กระทำละเมิดต่อโจทก์หรือไม่ จึงเป็นคำพิพากษาที่ไม่ชอบด้วย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 51 วรรคหนึ่ง