คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ทวี กสิยพงศ์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 557 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1240/2529

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิสูจน์สถานะทางการเงิน ณ วันออกเช็ค: โจทก์ต้องพิสูจน์เองว่าเงินในบัญชีจำเลยมีไม่พอ ณ วันที่ออกเช็ค
จำเลยออกเช็คพิพาทลงวันที่19เมษายน2526โจทก์นำเช็คพิพาทเข้าบัญชีเพื่อเรียกเก็บเงินแต่ธนาคารตามเช็คปฏิเสธการจ่ายเงินเมื่อวันที่20เมษายน2526โดยอ้างว่าเงินในบัญชีไม่พอจ่ายเมื่อโจทก์มิได้นำสืบให้ได้ความว่าในวันที่19เมษายน2526ซึ่งเป็นวันที่จำเลยออกเช็คเงินในบัญชีของจำเลยมีไม่พอจ่ายดังนี้จะฟังว่าการที่ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินในวันที่20เมษายน2526นั้นในวันที่19เมษายน2526เงินในบัญชีของจำเลยก็มีไม่พอจ่ายด้วยหาไม่ได้จึงลงโทษจำเลยตามฟ้องไม่ได้.(ที่มา-ส่งเสริมฯ)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1006/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจ้าหนี้ยอมให้ลูกหนี้เป็นหนี้เพิ่มพ้นตัวในช่วงที่ลูกหนี้มีหนี้สินล้นพ้นตัว การรับชำระหนี้ตามเช็คเป็นโมฆะ
การที่เจ้าหนี้ยอมให้ลูกหนี้เป็นหนี้เพิ่มขึ้นอีก7ครั้งตามเช็ค7ฉบับที่เจ้าหนี้ขอรับชำระหนี้รวมเป็นเงิน306,000บาททั้งๆที่หนี้เงินกู้ที่ลูกหนี้เป็นหนี้เจ้าหนี้อยู่ก็ยังไม่ชำระถือว่าเป็นเรื่องผิดปกติวิสัยที่วิญญูชนจะพึงกระทำโดยเฉพาะเมื่อเช็คฉบับแรกถึงกำหนดแล้วลูกหนี้ไม่นำเงินมาใช้เพื่อนำเช็คกลับคืนไปตามที่ตกลงไว้เจ้าหนี้ยังยอมให้ลูกหนี้กู้ยืมเพิ่มไปอีกโดยวิธีการออกเช็คเพิ่มเติมเรื่อยไปถึง7ฉบับทั้งนี้โดยไม่มีหลักประกันในการกู้และเจ้าหนี้เพิ่งนำเช็คดังกล่าวไปเรียกเก็บเงินพร้อมกันก่อนลูกหนี้ถูกฟ้องล้มละลายไม่ถึง2เดือนซึ่งเจ้าหนี้ทราบดีอยู่แล้วว่าลูกหนี้ได้ปิดบัญชีกับธนาคารแล้วทั้งในขณะนั้นก็เป็นช่วงเวลาที่ลูกหนี้กำลังยักย้ายทรัพย์หลบหนีเจ้าหนี้พฤติการณ์เห็นได้ชัดว่าหนี้ตามเช็ค7ฉบับเป็นหนี้ที่เจ้าหนี้ยอมให้ลูกหนี้กระทำขึ้นเมื่อเจ้าหนี้ได้รู้ถึงการที่ลูกหนี้มีหนี้สินล้นพ้นตัว.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1006/2529

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจ้าหนี้ยอมให้ลูกหนี้เป็นหนี้เพิ่ม ทั้งที่ทราบว่าลูกหนี้มีหนี้สินล้นพ้นตัว การรับชำระหนี้เป็นโมฆะ
การที่เจ้าหนี้ยอมให้ลูกหนี้เป็นหนี้เพิ่มขึ้นอีกครั้งตามเช็ค7ฉบับที่เจ้าหนี้ขอรับชำระหนี้รวมเป็นเงิน306,000บาททั้งๆที่หนี้เงินกู้ที่ลูกหนี้เป็นหนี้เจ้าหนี้อยู่ก็ยังไม่ชำระถือว่าเป็นเรื่องผิดปกติวิสัยที่วิญญูชนจะพึงกระทำโดยเฉพาะเมื่อเช็คฉบับแรกถึงกำหนดแล้วลูกหนี้ไม่นำเงินมาใช้เพื่อนำเช็คกลับคืนไปตามที่ตกลงไว้เจ้าหนี้ยังยอมให้ลูกหนี้กู้ยืมเพิ่มไปอีกโดยวิธีการออกเช็คเพิ่มเติมเรื่อยไปถึง7ฉบับทั้งนี้โดยไม่มีหลักประกันในการกู้และเจ้าหนี้เพิ่งนำเช็คดังกล่าวไปเรียกเก็บเงินพร้อมกันก่อนลูกหนี้ถูกฟ้องล้มละลายไม่ถึง2เดือนซึ่งเจ้าหนี้ทราบดีอยู่แล้วว่าลูกหนี้ได้ปิดบัญชีกับธนาคารแล้วทั้งในขณะนั้นก็เป็นช่วงเวลาที่ลูกหนี้กำลังยักย้ายทรัพย์หลบหนีเจ้าหนี้พฤติการณ์เห็นได้ชัดว่าหนี้ตามเช็ค7ฉบับเป็นหนี้ที่เจ้าหนี้ยอมให้ลูกหนี้กระทำขึ้นเมื่อเจ้าหนี้ได้รู้ถึงการที่ลูกหนี้มีหนี้สินล้นพ้นตัว.(ที่มา-ส่งเสริมฯ)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 991/2529

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้ำคดีแพ่งหลังมีคำพิพากษาในคดีอาญาที่มีประเด็นแพ่งปนอยู่ การบังคับคดีส่วนแพ่ง และสิทธิในการเรียกร้องดอกเบี้ย
โจทก์ในคีดนี้เข้าเป็นโจทก์ร่วมในคดีอาญาที่พนักงานอัยการเป็นโจทก์และเรียกให้จำเลยที่1ใช้ค่าทดแทนความเสียหายแก่โจทก์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา43,44,47ย่อมต้องผูกพันตามคำพิพากษาในคดีอาญาดังกล่าวซึ่งมีคดีส่วนแพ่งปนอยู่ด้วยและโจทก์ย่อมมีสิทธิบังคับคดีส่วนแพ่งตามคำพิพากษานั้นได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา249,253อยู่แล้วโจทก์จะรื้อฟื้นคดีส่วนแพ่งนั้นมาฟ้องใหม่โดยเรียกค่าดอกเบี้ยเพิ่มเติมในคดีนี้อีกย่อมเป็นฟ้องซ้ำอันต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา148

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 991/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้ำในคดีแพ่ง และความรับผิดของผู้ค้ำประกันจากการยักยอกทรัพย์
โจทก์ในฐานะผู้เสียหายได้เข้าเป็นโจทก์ร่วมในคดีที่พนักงานอัยการฟ้องจำเลยที่1ฐานยักยอกเงินของโจทก์ศาลพิพากษาลงโทษจำเลยที่1และให้คืนหรือใช้เงินที่ยักยอกไปแก่โจทก์แล้วโจทก์จึงมีสิทธิบังคับคดีส่วนแพ่งในคดีอาญาได้อยู่แล้วตามป.วิ.อ.มาตรา249,253หากรื้อฟื้นคดีส่วนแพ่งนั้นมาฟ้องใหม่โดยเรียกค่าดอกเบี้ยเพิ่มเติมย่อมเป็นฟ้องซ้ำ เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าจำเลยที่1ต้องรับผิดใช้หนี้ที่ทุจริตในการทำงานโดยยักยอกทรัพย์ของโจทก์ไปจำเลยที่2ที่3ในฐานะผู้ค้ำประกันอย่างไม่มีจำกัดในการทำงานของจำเลยที่1ย่อมต้องรับผิดชดใช้แทนจำเลยที่1ตามสัญญาค้ำประกันรวมทั้งดอกเบี้ยด้วย.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 878/2529

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินภาษีซ้ำซ้อน เจ้าพนักงานประเมินไม่มีอำนาจเรียกเอกสารเพิ่มเติมหลังตรวจสอบเบื้องต้น
โจทก์ได้ส่งสมุดบัญชีและเอกสารให้เจ้าพนักงานประเมินทำการไต่สวนมาแล้วครั้งหนึ่ง จนได้รับแจ้งการประเมินให้เสียภาษีเพิ่มจากยอดกำไรสุทธิ กรณีนี้จึงไม่มีความจำเป็นที่เจ้าพนักงานประเมินจะเรียกเอกสารอื่นใดจากโจทก์มาสอบเพิ่มเติมอีก ดังนั้น ที่เจ้าพนักงานประเมินเรียกให้โจทก์ส่งสัญญาขายผ่อนชำระ สัญญาเช่าซื้อ สัญญาค้ำประกันและบัญชีรายละเอียดสินค้าคงเหลืออีก เป็นการเรียกเอกสารที่ไม่สมควรแก่เรื่องไม่ชอบด้วยประมวลรัษฎากรมาตรา 19 จึงไม่มีเหตุที่จะประเมินภาษีโจทกจากยอดขายก่อนหักรายจ่ายตามวิธีการในมาตรา 71(1) ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 800/2529

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การตีความสัญญา การก่อสร้างตึกแถว และการผูกพันตามแบบแปลนที่ได้รับอนุมัติ
สัญญาก่อสร้างตึกแถวระหว่างโจทก์จำเลยมิได้ระบุแบบแปลนการก่อสร้างไว้แน่นอนในตัวสัญญาแต่ได้กำหนดเงื่อนไขให้จำเลยทำการก่อสร้างตึกแถว12 ห้อง ภายในเวลา 2 เดือน นับแต่วันที่ได้รับอนุญาตจากเทศบาล และต้องก่อสร้างให้แล้วเสร็จภายใน 2 ปีนับแต่วันที่เทศบาลอนุญาต ดังนี้ ต้องถือว่า แบบแปลนที่จำเลยยื่นขออนุญาตต่อเทศบาล และได้รับอนุมัติแล้วคือแบบแปลนตามสัญญาที่จำเลย จะต้องทำการก่อสร้างให้ถูกต้อง การตีความสัญญาจะต้องตีความไปตามความประสงค์ในทางสุจริตโดยพิเคราะห์ถึงปกติประเพณีด้วยประกอบกันเมื่อปรากฏว่าข้อความในสัญญาแจ้งชัด และถูกต้องตามทางปฏิบัติอันชอบด้วยกฎหมาย และระเบียบข้อบังคับของทางราชการแล้ว ก็ถือได้ว่า ไม่เข้ากรณีที่มีข้อสงสัยอันจะต้องตีความให้เป็น คุณแก่ฝ่ายจำเลยผู้ที่จะต้องเป็นฝ่ายเสียหาย ในมูลหนี้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 800/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การตีความสัญญาและการกำหนดแบบแปลนก่อสร้าง: เจตนาของคู่สัญญาและกฎหมาย
สัญญาก่อสร้างตึกแถวระหว่างโจทก์จำเลยมิได้ระบุแบบแปลนการก่อสร้างไว้แน่นอนในตัวสัญญา แต่ได้กำหนดเงื่อนไขให้จำเลยทำการก่อสร้างตึกแถวจำนวน 12 ห้อง ภายในเวลา 2 เดือน นับแต่วันที่ได้รับอนุญาตจากเทศบาลและต้องก่อสร้างให้แล้วเสร็จภายในสองปีนับแต่วันที่เทศบาลอนุญาต ดังนี้ต้องถือว่าแบบแปลนที่จำเลยยื่นขออนุญาตต่อเทศบาลและได้รับอนุมัติแล้วคือแบบแปลนตามสัญญาที่จำเลยจะต้องทำการก่อสร้างให้ถูกต้อง
การตีความสัญญาจะต้องตีความไปตามความประสงค์ในทางสุจริตโดยพิเคราะห์ถึงปกติประเพณีด้วยประกอบกัน เมื่อปรากฏว่าข้อความในสัญญาแจ้งชัดและถูกต้องตามทางปฏิบัติอันชอบด้วยกฎหมายและระเบียบข้อบังคับของทางราชการแล้ว ก็ถือได้ว่าไม่เข้ากรณีที่มีข้อสงสัยอันจะต้องตีความให้เป็นคุณแก่ฝ่ายจำเลยผู้ที่จะต้องเป็นฝ่ายเสียหายในมูลหนี้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 756/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การลักทรัพย์ที่มีเจตนาหักหนี้: ปัญหาข้อเท็จจริงต้องห้ามฎีกา
ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิพากษาต้องกันให้ยกฟ้องโจทก์โดยฟังข้อเท็จจริงว่าจำเลยจับสุกรของโจทก์ร่วมไปโดยมีเจตนาเพื่อจะนำเงินที่ขายสุกรได้มาหักหนี้ที่โจทก์ร่วมเป็นหนี้จำเลยดังที่ได้เคยปฏิบัติต่อกันมาจำเลยไม่มีเป็นเจตนาทุจริตลักสุกรของโจทก์ร่วมดังนี้การที่โจทก์ร่วมฎีกาว่ามิได้ยินยอมให้จับสุกรสุกรยังเป็นกรรมสิทธิ์ของตนอยู่จำเลยจึงมีความผิดฐานลักทรัพย์และฎีกาที่หยิบยกคำพยานขึ้นกล่าวอ้างเพื่อให้ศาลฟังว่าจำเลยมีเจตนาทุจริตนั้นเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงต้องห้ามฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา220.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 756/2529

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาต้องห้ามในปัญหาข้อเท็จจริง: การโต้แย้งการกระทำโดยไม่มีเจตนาทุจริตและกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สิน
ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิพากษาต้องกันให้ยกฟ้องโจทก์โดยฟังข้อเท็จจริงว่าจำเลยจับสุกรของโจทก์ร่วมไปโดยมีเจตนาเพื่อจะนำเงินที่ขายสุกรได้มาหักหนี้ที่โจทก์ร่วมเป็นหนี้จำเลยดังที่ได้เคยปฏิบัติต่อกันมาจำเลยไม่มีเป็นเจตนาทุจริตลักสุกรของโจทก์ร่วมดังนี้การที่โจทก์ร่วมฎีกาว่ามิได้ยินยอมให้จับสุกรสุกรยังเป็นกรรมสิทธิ์ของตนอยู่จำเลยจึงมีความผิดฐานลักทรัพย์และฎีกาที่หยิบยกคำพยานขึ้นกล่าวอ้างเพื่อให้ศาลฟังว่าจำเลยมีเจตนาทุจริตนั้นเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงต้องห้ามฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา220.(ที่มา-ส่งเสริมฯ)
of 56