คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ทวี กสิยพงศ์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 557 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1482/2529

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดฐานออกเช็คเพื่อนำไปใช้โดยที่ไม่มีเงินในบัญชี แม้ไม่ได้ลงวันเดือนปีด้วยตนเองก็ยังมีความผิด
ขณะจำเลยนำเช็คพิพาทไปแลกเงินสดจากโจทก์เช็คพิพาทมีวันเดือนปีที่ออกเช็คครบถ้วนสมบูรณ์ตามกฎหมายจำเลยผู้ออกเช็คย่อมทราบได้ว่าจะต้องมีการใช้เงินตามเช็คนั้นในวันใด เมื่อเช็คถึงกำหนด ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินโดยอ้างว่าบัญชีปิดแล้ว จำเลยจึงต้องมีความผิด ส่วนจำเลยจะเป็นผู้ลงวันเดือนปีที่ออกเช็คด้วยลายมือของจำเลยเองหรือไม่ ไม่เป็นข้อสำคัญ และไม่ทำให้จำเลยพ้นความรับผิดไปได้กรณีมิใช่เป็นเรื่องไม่มีวันที่ผู้ออกเช็คกระทำผิด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1455/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจดทะเบียนเครื่องจักรทำให้เปลี่ยนสถานะเป็นสังหาริมทรัพย์ชนิดพิเศษ การโอนกรรมสิทธิ์จึงต้องจดทะเบียนตามกฎหมาย
เครื่องจักรที่ได้จดทะเบียนกรรมสิทธิ์ตาม พระราชบัญญัติจดทะเบียนเครื่องจักร พ.ศ. 2514 แล้ว ย่อมเปลี่ยนสถานะจาสังหาริมทรัพย์ธรรมดากลายมาเป็นสังหาริ่มทรัพย์ชนิดพิเศษ การโอนกรรมสิทธิ์จึงต้องทำการจดทะเบียนให้ถูกต้องตาม พระราชบัญญัติจดทะเบียนเครื่องจักรฯ ด้วย มิฉะนั้นถือว่าไม่สมบูรณ์
โจทก์ฟ้องและนำสืบว่า จำเลยที่ 2 ตกลงขายเครื่องจักรผลิตปุ๋ยเคมีให้โจทก์ แต่ยังมิได้จดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์เครื่องจักรดังกล่าวให้แก่โจทก์ ดังนี้กรรมสิทธิ์ในตัวเครื่องจักรจึงยังไม่เปลี่ยนมือไปยังโจทก์ ที่โจทก์อ้างว่าจำเลยที่ 2 ใช้ให้จำเลยที่ 1 ไปหลอกลวงโจทก์เพื่อขอรับหนังสือสำคัญการจดทะเบียนกรรมสิทธิ์เครื่องจักรและโจทก์หลงเชื่อมอบหนังสือสำคัญดังกล่าวให้ไป อันเป็นความผิดฐานฉ้อโกงนั้น แม้หากจะเป็นจริง การกระทำของจำเลยทั้งสองก็ยังไม่เข้าองค์ประกอบเป็นความผิด เพราะหนังสือสำคัญแสดงการจดทะเบียนนั้นยังเป็นของจำเลยที่ 2 และเมื่อจำเลยที่ 2 นำไปจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์เครื่องจักรให้จำเลยที่ 1 ต่อเจ้าพนักงานจึงมิใช่เป็นการแจ้งความเท็จ หรือกล่าวเท็จเพื่อให้เจ้าหน้าที่จดแจ้งข้อความลงในเอกสารตามฟ้องของโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1455/2529

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนกรรมสิทธิ์เครื่องจักรต้องจดทะเบียนตามกฎหมาย การฟ้องฐานฉ้อโกงและแจ้งความเท็จไม่สมบูรณ์หากกรรมสิทธิ์ยังไม่เปลี่ยนมือ
จำเลยที่ 2 ขายเครื่องจักรผลิตปุ๋ยเคมีซึ่งมีหนังสือสำคัญแสดงการจดทะเบียนเครื่องจักรให้โจทก์ โจทก์ชำระราคาครบถ้วนและรับมอบเครื่องจักรแล้ว แต่ยังมิได้จดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ซึ่งการโอนกรรมสิทธิ์ต้องจดทะเบียนให้ถูกต้องตามพระราชบัญญัติจดทะเบียนเครื่องจักร พ.ศ. 2514 ด้วย ดังนั้นกรรมสิทธิ์ในตัวทรัพย์คือเครื่องจักรจึงยังไม่เปลี่ยนมือไปยังโจทก์ แม้จำเลยที่ 2 ใช้ให้จำเลยที่ 1 ไปพูดหลอกลวงโจทก์เพื่อขอรับหนังสือสำคัญการจดทะเบียนกรรมสิทธิ์เครื่องจักรและโจทก์หลงเชื่อมอบหนังสือดังกล่าวให้ไป การกระทำของจำเลยทั้งสองก็ไม่เข้าองค์ประกอบความผิดฐานฉ้อโกงเพราะหนังสือนั้นเป็นของจำเลยที่ 2 เมื่อจำเลยที่ 2นำไปจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์เครื่องจักรให้จำเลยที่ 1ต่อเจ้าพนักงานจึงมิใช่เป็นการแจ้งความเท็จหรือกล่าวเท็จเพื่อให้เจ้าหน้าที่จดแจ้งข้อความลงในเอกสารอันจะเป็นความผิด ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 137,267 จำเลยที่ 2 โอนหุ้นให้โจทก์หมดแล้ว แต่ยังมิได้จดทะเบียนเปลี่ยนแปลงให้โจทก์เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการของห้างหุ้นส่วนจำกัดแทน จำเลยที่ 2 ยังคงอยู่ในฐานะหุ้นส่วนผู้จัดการ การที่จำเลยที่ 2 ไปทำนิติกรรมโอนขายเครื่องจักรในนามของห้างหุ้นส่วนจำกัดให้แก่จำเลยที่ 1 จึงไม่เป็นความผิดฐานแจ้งความเท็จตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 137

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1389/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ พฤติการณ์จ้องปืนและเจตนาฆ่า: การประเมินหลักฐานเพื่อพิสูจน์ความผิดฐานพยายามฆ่า
จำเลยจ้องปืนไปยังผู้เสียหายโดยที่นิ้วมือของจำเลยอยู่ในโกร่งไกปืน หากจำเลยมีเจตนาจะฆ่าผู้เสียหาย จำเลยก็อาจยิงได้ทันทีโดยที่ไม่มีผู้ใดอาจห้ามได้ทัน เมื่อมีผู้เข้าไปจับมือจำเลยข้างที่ถือปืนให้ปากกระบอกปืนเบนขึ้น ก็ไม่ปรากฏว่าจำเลยดิ้นรนขัดขืนที่จะยิงผู้เสียหาย สาเหตุโกรธเคืองที่โจทก์นำสืบก็ไม่น่าจะเป็นเหตุร้ายแรงถึงจะต้องฆ่ากัน การที่จำเลยจ้องปืนไปยังผู้เสียหายนั้น อาจเป็นการกระทำเพื่อขู่ผู้เสียหายซึ่งเคยมีเรื่องโกรธเคืองกันก็ได้ จำเลยไม่มีความผิดฐานพยายามฆ่าผู้เสียหาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1389/2529

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจตนาพยายามฆ่า: การจ้องปืนและพฤติการณ์ที่ไม่มีการขัดขืน ไม่เพียงพอพิสูจน์เจตนาฆ่า
จำเลยจ้องปืนไปยังผู้เสียหาย โดยที่นิ้วมือของจำเลยอยู่ในโกร่งไก ปืนหากเจตนาฆ่า ก็อาจยิงได้ทันที โดยที่ไม่อาจห้ามได้ทัน เหตุเกิดในเวลากลางวันที่มีคนอยู่เป็นจำนวนมาก ก่อนเกิดเหตุ1 เดือนเศษ จำเลยใช้ไม้ตีศีรษะ ช. พี่ภรรยาของผู้เสียหาย แล้วผู้เสียหายพาช.ไปแจ้งความที่สถานีตำรวจก็ไม่น่าเป็นเหตุร้ายแรงถึงกับจะต้องฆ่ากัน เมื่อพี่เขยจำเลยมาจับมือที่ถือปืนให้ปากกระบอกเบนขึ้น ไม่ปรากฏว่าจำเลยพยายามดิ้นรนขัดขืน ที่จะยิงผู้เสียหาย ดังนี้ จำเลยไม่มีเจตนาจะยิงผู้เสียหาย อาจกระทำไปเพื่อขู่ จึงไม่มีความผิดฐาน พยายามฆ่าผู้เสียหาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1285/2529

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความประมาทเลินเล่อทำให้เกิดความเสียหายต่อทรัพย์สินผู้อื่น: การลดโทษจากความผิดตามมาตรา 220 เป็นมาตรา 225
จำเลยจุดไฟเมื่อเวลาประมาณ10.00นาฬิกาแต่เพลิงได้ลามไปไหม้บ้านบุคคลอื่นซึ่งปลูกอยู่ใกล้เคียงกันตอนบ่าย3โมงระยะเวลาห่างกันหลายชั่วโมง แสดงว่าไม่มีลักษณะที่น่ากลัวจะเป็นอันตรายต่อทรัพย์สินของบุคคลอื่นแต่เป็นเรื่องที่จำเลยตั้งอยู่ในความประมาทไม่คอยควบคุมดูแลให้เพลิงลุกไหม้อยู่ภายในขอบเขตที่จำกัดเพลิงจึงได้ลามเข้าไปยังนาข้างเคียงและก่อให้เกิดความสูญเสียขึ้นเมื่อข้อเท็จจริงไม่ปรากฏลักษณะที่น่าจะเป็นอันตรายต่อบุคคลหรือทรัพย์สินของผู้อื่นอันเป็นองค์ประกอบความผิดตามป.อ.มาตรา220ดังกล่าวแล้วก็ไม่อาจลงโทษจำเลยตามมาตรานี้อันเป็นบทหนักได้การกระทำของจำเลยเป็นเรื่องขาดความระมัดระวังจนก่อให้เกิดความเสียหายต่อทรัพย์สินของผู้อื่นเป็นความผิดตามมาตรา225.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1285/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประมาททำให้เกิดเพลิงไหม้: การพิจารณาองค์ประกอบความผิดตามมาตรา 220 vs. 225
การที่จำเลยจุดไฟเผาฟางข้าวในนาของตนโดยไม่ปรากฏว่ามีลักษณะที่น่าจะเป็นอันตรายต่อทรัพย์สินของบุคคลอื่นอันเป็นองค์ประกอบความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 220 อย่างไร เช่น ขณะนั้นกำลังมีลมพัดแรงหรือโรงเรือนของผู้เสียหายอยู่ใกล้ชิดกับบริเวณที่จุดไฟขึ้น ซึ่งเป็นที่คาดเห็นได้ว่าเพลิงจะลามไปไหม้นาตลอดจนโรงเรือนข้างเคียงแน่ แต่จำเลยยังขืนจุดไฟจนลุกลามไปไหม้ทรัพย์สินของผู้เสียหาย เมื่อระยะเวลาที่จำเลยจุดไฟจนถึงเวลาที่บ้านผู้เสียหายถูกเพลงไหม้ห่างกันถึงหลายชั่วโมงจึงแสดงว่าไม่มีลักษณะที่น่ากลัวจะเป็นอันตรายต่อทรัพย์สินของบุคคลอื่นแต่เป็นเพราะจำเลยประมาทไม่ควบคุมดูแลให้เพลิงลุกไหม้อยู่ภายในขอบเขตที่จำกัดการกระทำของจำเลยจึงเป็นเรื่องขาดความระมัดระวังจนก่อให้เกิดความเสียหายแก่ทรัพย์สินของผู้อื่นตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 225 หาใช่เป็นกรณีความผิดตาม มาตรา 220 ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1270/2529

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนทรัพย์สินเพื่อหลีกเลี่ยงหนี้สิน: เพิกถอนได้หากเจ้าหนี้พิสูจน์ได้ว่าการโอนนั้นทำเพื่อลดทรัพย์สินที่นำมาชำระหนี้
จำเลยที่1เพิ่งจดทะเบียนยกที่ดินพิพาทให้จำเลยที่2ผู้เป็นบุตรทั้งๆที่เข้าอยู่ในที่ดินก่อนหน้านั้นนานแล้วและก่อนวันจดทะเบียน2วันจำเลยที่1คงเป็นหนี้โจทก์อยู่ถึงเก้าแสนบาทเมื่อจดทะเบียนโอนให้แล้วจำเลยที่1ก็หลบหนีไปพฤติการณ์ดังกล่าวแสดงว่าเป็นการกระทำไปทั้งที่รู้ว่าเป็นทางให้โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้เสียเปรียบเมื่อเป็นการยกให้โดยเสน่หาลำพังจำเลยที่1ลูกหนี้รู้ฝ่ายเดียวก็ขอให้เพิกถอนได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1240/2529 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิสูจน์การมีเงินไม่พอจ่าย ณ วันออกเช็ค จำเลยไม่ต้องรับผิดหากโจทก์มิได้พิสูจน์
จำเลยออกเช็คพิพาท ลงวันที่ 19 เมษายน 2526 โจทก์นำเช็คพิพาทเข้าบัญชีเพื่อเรียกเก็บเงิน แต่ธนาคารตามเช็คปฏิเสธการจ่ายเงินเมื่อวันที่ 20 เมษายน 2526 โดยอ้างว่า เงินในบัญชีไม่พอจ่ายเมื่อโจทก์มิได้นำสืบให้ได้ความว่าในวันที่ 19 เมษายน 2526ซึ่งเป็นวันที่จำเลยออกเช็ค เงินในบัญชีของจำเลยมีไม่พอจ่ายดังนี้ จะฟังว่าการที่ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินในวันที่ 20เมษายน 2526 นั้น ในวันที่ 19 เมษายน 2526 เงินในบัญชีของจำเลยก็มีไม่พอจ่ายด้วยหาไม่ได้ จึงลงโทษจำเลยตามฟ้องไม่ได้.(ที่มา-ส่งเสริมฯ)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1240/2529

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิสูจน์สถานะทางการเงิน ณ วันออกเช็ค: โจทก์ต้องพิสูจน์เองว่าเงินในบัญชีจำเลยมีไม่พอ ณ วันที่ออกเช็ค
จำเลยออกเช็คพิพาทลงวันที่19เมษายน2526โจทก์นำเช็คพิพาทเข้าบัญชีเพื่อเรียกเก็บเงินแต่ธนาคารตามเช็คปฏิเสธการจ่ายเงินเมื่อวันที่20เมษายน2526โดยอ้างว่าเงินในบัญชีไม่พอจ่ายเมื่อโจทก์มิได้นำสืบให้ได้ความว่าในวันที่19เมษายน2526ซึ่งเป็นวันที่จำเลยออกเช็คเงินในบัญชีของจำเลยมีไม่พอจ่ายดังนี้จะฟังว่าการที่ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินในวันที่20เมษายน2526นั้นในวันที่19เมษายน2526เงินในบัญชีของจำเลยก็มีไม่พอจ่ายด้วยหาไม่ได้จึงลงโทษจำเลยตามฟ้องไม่ได้.(ที่มา-ส่งเสริมฯ)
of 56