พบผลลัพธ์ทั้งหมด 64 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 947/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าทนายความในคดีขอเพิกถอนหมายบังคับคดี: ศาลฎีกาแก้ไขค่าทนายความให้เป็นไปตามอัตราที่กฎหมายกำหนด
จำเลยที่ 3 ยื่นคำร้องขอให้ศาลไต่สวนและมีคำสั่งเพิกถอนหมายบังคับคดี คดีของจำเลยที่ 3 ในชั้นนี้จึงเป็นคดีที่มีคำขอปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ซึ่งตาราง 6อัตราค่าทนายความท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งชั้นสูงในศาลอุทธรณ์ศาลฎีกากำหนดไว้ไม่เกิน 1,500 บาท
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 947/2535 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำร้องเพิกถอนหมายบังคับคดีต้องอ้างเหตุฝ่าฝืนก.ม. และอัตราค่าทนายความในคดีปลดเปลื้องทุกข์
คำร้องขอเพิกถอนหมายบังคับคดี จะต้องกล่าวอ้างว่าศาลได้ออกหมายบังคับคดีฝ่าฝืนหรือเจ้าพนักงานบังคับคดีดำเนินการบังคับคดีฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ว่าด้วยการบังคับคดีตามคำพิพากษาหรือคำสั่ง หากไม่กล่าวอ้างศาลก็ชอบที่จะยกคำร้องเสียได้โดยไม่จำต้องไต่สวน เพราะถึงจะไต่สวนได้ความตามคำร้อง ศาลก็จะงดการบังคับคดีไว้ตามมาตรา 296 ไม่ได้อยู่แล้ว คำร้องขอให้ศาลไต่สวนคำร้อง และมีคำสั่งเพิกถอนหมายบังคับคดีเป็นคดีที่มีคำขอปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้เมื่อศาลอุทธรณ์กำหนดค่าทนายความเกินอัตราขั้นสูงตามตาราง 6ศาลฎีกากำหนดให้ใหม่ตามที่ถูกต้องได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 947/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับคดีและการกำหนดค่าทนายความที่เกินอัตราตามกฎหมาย
ตามคำร้องของจำเลยที่ 3 ได้ความว่า จำเลยที่ 1 ชำระหนี้แก่โจทก์แล้วจำนวน 106,500 บาท จำเลยที่ 3 ไม่ได้ชำระหนี้แก่โจทก์เลยทั้ง ๆ ที่ตามคำพิพากษาของศาลชั้นต้นจำเลยที่ 1 และที่ 3 ต้องร่วมกันชำระหนี้แก่โจทก์ จำนวน 569,624.30 บาท พร้อมด้วย ดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 17.5 ต่อปี โดยการผ่อนชำระภายในวันที่ 16 ของทุกเดือน เป็นเงินไม่น้อยกว่าเดือนละ 10,000 บาท และจะต้อง ชำระให้เสร็จสิ้นภายในวันที่ 16 กรกฎาคม 2531 เมื่อปรากฏว่า จำเลยที่ 1และที่ 3 มิได้ปฏิบัติตามคำพิพากษา โจทก์จึงมีสิทธิ ที่จะขอให้ศาลออกหมายบังคับคดีได้ และตามคำร้องของจำเลยที่ 3 หาได้กล่าวอ้างว่าศาลได้ออกหมายบังคับคดีฝ่าฝืนหรือ เจ้าพนักงานบังคับคดีได้ดำเนินการบังคับคดีฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติ แห่งลักษณะ 2 ว่าด้วยการบังคับคดีตามคำพิพากษาหรือคำสั่งอย่างใดไม่ ดังนี้ ศาลชั้นต้นจึงชอบที่จะยก คำร้องของจำเลยที่ 3 เสียได้โดย ไม่จำต้องทำการไต่สวนต่อไปเพราะถึงจะไต่สวนได้ความตามคำร้อง ศาลก็จะงด การ บังคับ คดีไว้ตามมาตรา 296 ที่จำเลยที่ 3 อ้างไม่ได้ อยู่แล้ว จำเลยที่ 3 ยื่นคำร้องขอให้ศาลไต่สวนคำร้องของจำเลยที่ 3และมีคำสั่งเพิกถอนหมายบังคับคดี คดีของจำเลยที่ 3 ในชั้นนี้ จึงเป็นคดีที่มีคำขอปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ซึ่งตาราง 6 อัตราค่าทนายความท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งขั้นสูงในศาลอุทธรณ์หรือศาลฎีกากำหนดไว้ไม่เกิน 1,500 บาทศาลอุทธรณ์ภาค 1 กำหนดค่าทนายความ 2,000 บาท เกินอัตราขั้นสูงตามตารางดังกล่าวจึงเป็นการไม่ถูกต้อง.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 35/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนหุ้นโดยไม่สุจริตและไม่มีค่าตอบแทน เพิกถอนได้หากผู้รับโอนรู้ถึงฐานะหนี้สินของผู้โอน
การที่ผู้คัดค้านที่ 1 อ้างว่าให้จำเลยกู้ยืมเงินครั้งละ500,000 บาท รวม 4 ครั้ง และผู้คัดค้านที่ 2 อ้างว่าให้จำเลย กู้ยืมเงินรวม 3 ครั้ง เป็นเงิน 1,300,000 บาท โดยไม่มีหลักฐาน การจ่ายเงินหรือหลักฐานการกู้ยืมเงิน และไม่มีหลักประกันใด ๆ ทั้งที่เงินที่ให้กู้ยืมก็มีจำนวนมาก และผู้คัดค้านที่ 1 ก็เป็น ผู้ประกอบการค้าน่าจะมีบัญชีเงินฝากในธนาคารซึ่งสามารถนำสืบถึง หลักฐานการจ่ายเงินให้กู้ได้ การที่ผู้คัดค้านที่ 1 นำสืบว่าให้ กู้ไปแล้วได้รับชำระหนี้เป็นหุ้นกู้จึงทำลายหลักฐานการกู้ยืมรวม ทั้งเช็คที่จำเลยจ่ายให้ ส่วนผู้คัดค้านที่ 2 อ้างเพียงว่าให้ จำเลยกู้ยืมเงิน โดยไม่มีพยานหลักฐานใด มาสืบสนับสนุนข้ออ้าง จึง ไม่น่าเชื่อว่าผู้คัดค้านทั้ง สองได้ให้จำเลยกู้ยืมเงินจริง ทั้ง ในชั้นสอบสวนของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ผู้คัดค้านทั้งสองให้การว่าผู้คัดค้านทั้งสองรู้จักสนิทสนมกับ ช.กรรมการผู้จัดการบริษัทท. มานานแล้ว การรับโอนหุ้นของจำเลย ก็โอนมาจากบริษัทดังกล่าว นี้ ดังนั้น ผู้คัดค้านทั้งสองจึงน่าจะรู้ถึงฐานะและการมีหนี้สิน ของจำเลยดี และรู้ถึงการที่จำเลยถูกโจทก์ฟ้องและถูกบังคับคดี การที่ผู้คัดค้านทั้งสองรับโอนหุ้นของจำเลยไว้จึงเป็นการรับโอนไว้โดย ไม่สุจริตและไม่มีค่าตอบแทน การเพิกถอนการโอนหุ้นเป็นไปโดยผลของคำพิพากษา ตราบใดที่ยัง ไม่มีคำสั่งหรือคำพิพากษาให้เพิกถอนการโอนก็ยังถือเป็นการโอน โดย ชอบอยู่ เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีสิทธิเรียกดอกเบี้ยนับแต่วันที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้เพิกถอนการโอน เมื่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มิได้แต่งทนายความแก้ฎีกา ศาลฎีกาจึงไม่กำหนดค่าทนายความชั้นฎีกาให้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 949/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การละเมิดเครื่องหมายการค้า: การเลียนแบบเครื่องหมายการค้าของผู้อื่นทำให้สับสนและเป็นเหตุให้เกิดความเสียหาย
เมื่อนำเครื่องหมายการค้าซึ่งปรากฏที่ฉลากกล่องกระดาษสำหรับใส่ขวดน้ำมันทาถูนวดของจำเลยเปรียบเทียบกับของโจทก์ ปรากฏว่ากล่องของจำเลยมีขนาดเท่ากับกล่องของโจทก์ทั้งหกด้าน รูปร่างของกล่องตลอดจนฝากล่องก็เหมือนกัน สีสรรและลวดลายของภาพต่าง ๆ บนกล่องมีลักษณะคล้ายกันและอยู่ในตำแหน่งเดียวกัน ขนาดของภาพและตัวอักษรที่อยู่ในตำแหน่งเดียวกันก็เท่ากัน นอกจากนี้ด้านหน้าของกล่องมีตัวอักษรที่เด่นชัดเหมือนกันคือคำว่า "น้ำมัน" แม้จะมีตัวอักษรที่ต่างกันคือ ของโจทก์ใช้คำว่า "มวย" ของจำเลยใช้คำว่า "กีฬา"กล่าวคือรวมแล้วของโจทก์ใช้คำว่า "น้ำมันมวย" ของจำเลยใช้คำว่า"น้ำมันกีฬา" แต่ตัวหนังสือดังกล่าวต่างก็เป็นตัวสีขาว และอยู่ในพื้นสีน้ำเงินเหมือนกัน โดยเฉพาะกล่องของจำเลยอยู่ในกรอบแบบเดียวกันและมีขนาดเท่ากับกล่องของโจทก์ด้วย สำหรับด้านหลังของกล่องซึ่งมีอักษรโรมัน แม้จะมีคำต่างกันกล่าวคือ ของโจทก์ใช้คำว่า "BOXINGLINIMENT" ของจำเลยใช้คำว่า "SPORTOIL" ก็ตาม แต่คำทั้งสองเป็นตัวสีขาวและอยู่ในกรอบสีน้ำเงินแบบเดียวกันและมีขนาดเท่ากันสีและลวดลายอื่น ๆ ของกล่องมีลักษณะคล้ายกันและมีขนาดเท่ากันสำหรับผู้ที่อ่านอักษรโรมันไม่ได้ หากได้เห็นเครื่องหมายการค้าของโจทก์และของจำเลยดังกล่าวก็น่าจะไม่สามารถสังเกตเห็นข้อแตกต่างของเครื่องหมายการค้าดังกล่าวได้เลย ส่วนที่ฝากล่องกระดาษของโจทก์ด้านบนมีรูปดอกไม้และมีอักษรภาษาไทยคำว่า "ดอกไม้" แต่ที่ฝากล่องของจำเลยด้านบนมีรูปสิงห์ 5 ตัว เหยียบอยู่บนลูกโลกและมีอักษรภาษาไทยคำว่า "ตราห้าสิงห์เหยียบโลก" นั้น ก็มีลักษณะเล็กมากมองในระยะห่าง 1 เมตร จะอ่านตัวอักษรดังกล่าวของทั้งโจทก์และจำเลยไม่ออก อย่างไรก็ตาม รูปและอักษรดังกล่าวอยู่ในรูปวงกลมล้อมรอบ3 ชั้นเหมือนกัน โดยเฉพาะวงกลมชั้นนอกเป็นวงกลมที่มีรอยหยักในลักษณะเหมือนกันและภาพนักมวยกำลังชกต่อยกันบนกล่องของโจทก์ซึ่งของจำเลยไม่มีก็เป็นเพียงภาพเงาและไม่เด่นชัด ไม่ทำให้เครื่องหมายการค้าของโจทก์และของจำเลยต่างกัน เครื่องหมายการค้าของจำเลยจึงมีลักษณะคล้ายคลึงกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์จนถึงนับได้ว่าเป็นการลวงสาธารณชนให้สับสนหลงผิดว่าสินค้าของจำเลยคือสินค้าของโจทก์ เมื่อเครื่องหมายการค้าของโจทก์จดทะเบียนในประเทศไว้ตั้งแต่ พ.ศ. 2498 ซึ่งเป็นเวลาก่อนที่จำเลยจะเริ่มดำเนินกิจการใช้เครื่องหมายการค้าของจำเลยเมื่อ พ.ศ. 2527 ถึง30 ปี จึงเป็นการที่จำเลยมีเจตนาผลิตสินค้าโดยใช้เครื่องหมายการค้าที่เลียนแบบเครื่องหมายการค้าของโจทก์อันเป็นการใช้สิทธิซึ่งมีแต่จะให้เกิดความเสียหายแก่บุคคลอื่นเป็นการอันมิชอบด้วยกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 421 โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องขอให้ศาลสั่งห้ามจำเลยใช้เครื่องหมายการค้าดังกล่าวและเรียกค่าเสียหายจากจำเลยได้ การโอนสิทธิในเครื่องหมายการค้าให้แก่กันจะสมบูรณ์ต่อเมื่อได้จดทะเบียนการโอนต่อนายทะเบียนเครื่องหมายการค้าตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 33 แห่งพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2474และต้องปฏิบัติตามกฎกระทรวงพาณิชย์และคมนาคม พ.ศ. 2474(ฉบับที่ 1)ลงวันที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2474 ข้อ 12 ซึ่งบังคับว่าต้องใช้แบบค.ม. 8 ก. เมื่อปรากฏว่าเอกสารที่จำเลยอ้างว่าโจทก์โอนสิทธิในเครื่องหมายการค้าพิพาทให้ ก. ไม่มีลักษณะเป็นการโอนสิทธิในเครื่องหมายการค้าและข้อความในเอกสารดังกล่าวก็มิได้ระบุว่าเป็นการโอนสิทธิในเครื่องหมายการค้าพิพาทให้ ท.แต่ระบุว่าโจทก์ให้ท. เป็นผู้ถือสิทธิในเครื่องหมายการค้าของโจทก์ไว้แทนโจทก์โจทก์จึงเป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าพิพาทตลอดมาและมีสิทธิเรียกค่าเสียหายจากจำเลยได้เต็มจำนวนนับแต่วันที่จำเลยทำละเมิด จำนวนเงินค่าทนายความที่ศาลกำหนดให้จำเลยใช้แทนโจทก์เป็นส่วนหนึ่งของค่าฤชาธรรมเนียมซึ่งเป็นดุลพินิจของแต่ละศาลที่จะกำหนดให้ โดยคำนึงถึงเหตุผลสมควรและความสุจริตในการสู้ ความหรือการดำเนินคดีของคู่ความทั้งปวง ตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 161 วรรคหนึ่ง โดยศาลต้องกำหนดค่าทนายความระหว่างอัตราขั้นต่ำและอัตราขั้นสูงดังที่ระบุไว้ในตาราง 6 ท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5892/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องสมบูรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 172 วรรคสอง การโอนสิทธิเรียกร้องโดยการให้สัตยาบัน และอำนาจศาลแก้ไขค่าทนายความ
โจทก์ฟ้องให้จำเลยรับผิดตามสัญญารับจ้างรักษาความปลอดภัยโดยได้แนบสำเนาสัญญาจ้างมาท้ายฟ้องซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของคำฟ้องและระบุข้อความในสัญญาแต่ละข้อแสดงความรับผิดของจำเลยกรณีทรัพย์สินของผู้ว่าจ้างหายไปโดยการโจรกรรม อันเป็นมูลแห่งคำฟ้องไว้แจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาและข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาแล้ว ฟ้องโจทก์จึงสมบูรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 172 วรรคสอง แม้โจทก์จะมิได้มอบอำนาจเป็นหนังสือให้ ส. บอกกล่าวแจ้งการโอนสิทธิเรียกร้องแก่จำเลย แต่เมื่อ ส. บอกกล่าวแจ้งการโอนสิทธิเรียกร้องในนามของโจทก์และโจทก์ยอมรับเอาการบอกกล่าวแล้ว ย่อมถือได้ว่าโจทก์ได้ให้สัตยาบันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 823 ถือได้ว่าโจทก์ได้บอกกล่าวแจ้งการโอนสิทธิเรียกร้องแก่จำเลยแล้ว การที่จำเลยฎีกาว่า ศาลอุทธรณ์มิได้ยกสัญญาเอกสารหมาย จ.4ข้อ 11,13 ขึ้นวินิจฉัยตามที่จำเลยอุทธรณ์ว่าผู้ว่าจ้างไม่ได้แจ้งเหตุให้จำเลยผู้รับจ้างทราบในทันทีและแจ้งจำนวนค่าเสียหายภายในเวลาที่กำหนด จำเลยจึงไม่ต้องรับผิดนั้น เป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง การที่ศาลอุทธรณ์กำหนดค่าทนายความชั้นอุทธรณ์ให้จำเลยใช้แทนโจทก์เกินกว่าอัตราที่กฎหมายกำหนด แม้จำเลยจะมิได้ฎีกาในปัญหาข้อนี้ ศาลฎีกาย่อมกำหนดใหม่ให้ถูกต้องได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2011/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบอกเลิกสัญญาเช่า การมีอำนาจฟ้อง และค่าเสียหายจากการเช่าค้างชำระ
สัญญาเช่าไม่มีกำหนดเวลา ตกลง ชำระค่าเช่าภายในวันที่ 5ของทุกเดือน โจทก์บอกเลิกการเช่า ให้จำเลยออกจากอาคารพิพาทภายในวันที่ 5 มีนาคม 2528 จำเลยรับหนังสือบอกเลิกสัญญาเช่าวันที่ 31 มกราคม 2528 นับจากวันที่จำเลยรับหนังสือบอกเลิกสัญญาเช่า จนถึง วันเลิกสัญญา เป็นเวลานานกว่า 1 เดือน เป็นการบอกกล่าวแก่จำเลยให้รู้ตัวก่อนชั่ว กำหนดเวลาชำระค่าเช่าระยะหนึ่งแล้ว การบอกเลิกสัญญาเช่าจึงเป็นไปโดย ชอบตาม ป.พ.พ.มาตรา 566 ประกอบมาตรา 570 โจทก์ฟ้องขับไล่และเรียกค่าเสียหายก่อนฟ้องจำนวน 120,000 บาทอัตราค่าทนายความชั้นสูงในศาลอุทธรณ์หรือศาลฎีกาตาม ตาราง 6ท้าย ป.วิ.พ. ไม่เกินจำนวนร้อยละ 3.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4476/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแปลงหนี้จากสัญญาซื้อขายหลักทรัพย์เป็นสัญญากู้ยืมเงิน และความสมบูรณ์ของสัญญา
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยกู้เงินโจทก์ไปตามสัญญากู้เงินต่อมาจำเลยได้นำเงินที่ได้จากการขายหุ้น เงินปันผล และเงินสดมาชำระหนี้ให้โจทก์บางส่วนนับถึงวันที่ 11 กันยายน 2523 จำเลยชำระเงินต้นให้โจทก์ 831,333 บาท 67 สตางค์ กับดอกเบี้ยอีก 583,642บาท 99 สตางค์ ซึ่งโจทก์ได้มีหนังสือถึงจำเลยให้ชำระเงินต้นส่วนที่เหลือพร้อมดอกเบี้ยตามเอกสารท้ายฟ้องอันเป็นส่วนหนึ่งของคำฟ้องซึ่งได้ระบุยอดเงินต้นที่ค้างตรงตามฟ้อง คำฟ้องของโจทก์จึงแสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาและคำขอบังคับทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาต้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 172 พอที่จำเลยจะเข้าใจข้อหาได้ดีและสามารถต่อสู้คดีได้แล้ว ส่วนข้อที่ว่ายอดเงินที่จำเลยชำระคืนบางส่วนเป็นเงินเท่าใด เป็นเงินอะไร และมีการชำระเงินเมื่อใดนั้น เป็นเพียงรายละเอียดที่โจทก์จะต้องนำสืบต่อไป หาจำต้องบรรยายในคำฟ้องไม่ จึงไม่เป็นฟ้องเคลือบคลุม
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยกู้เงินโจทก์และได้ชำระเงินคืนบางส่วนแล้วจำเลยต้องรับผิดชำระหนี้ที่เหลือให้โจทก์ จำเลยให้การปฏิเสธว่าไม่ได้กู้เงินโจทก์และไม่ได้รับเงินตามฟ้อง ดังนี้การที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยในคำพิพากษาโดยตั้งประเด็นพิพาทว่าจำเลยกู้เงินโจทก์หรือไม่และจะต้องรับผิดเพียงใดนั้น ย่อมมีความหมายทำนองเดียวกับประเด็นเดิมที่ตั้งไว้ในชั้นพิจารณาที่ว่า จำเลยได้ทำสัญญากู้เงินและรับเงินไปตามฟ้องหรือไม่จึงไม่เป็นการวินิจฉัยนอกฟ้องแต่อย่างใด และไม่เป็นการวินิจฉัยนอกประเด็นหรือขยายประเด็นเดิม
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยกู้เงินโจทก์ การที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าสัญญากู้เงินตามฟ้องมีมูลหนี้มาจากการซื้อขายหลักทรัพย์ จึงเป็นการแปลงหนี้ใหม่จากหนี้ซื้อขายหลักทรัพย์มาเป็นหนี้เงินกู้ เป็นการวินิจฉัยถึงที่มาแห่งการทำสัญญากู้เงินระหว่างโจทก์จำเลย จึงไม่ถือเป็นการวินิจฉัยนอกฟ้องแต่อย่างใด
จำเลยได้กู้ยืมเงินโจทก์เพื่อนำไปซื้อขายหลักทรัพย์ในตลาดหลักทรัพย์ฯ จำเลยเป็นหนี้โจทก์ 3,500,000 บาทเศษ จำเลยจึงได้ทำสัญญากู้ยืมเงินจากโจทก์ ดังนี้การทำสัญญากู้ยืมเงินระหว่างโจทก์และจำเลยเป็นการแปลงหนี้ใหม่อันชอบด้วยกฎหมายจึงบังคับตามสัญญากู้ยืมเงินได้
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยชำระเงินต้น 2,760,896.67 บาทกับดอกเบี้ยอีก 864,221.48 บาท ศาลล่างทั้งสองวินิจฉัยให้จำเลยชำระเฉพาะเงินต้น อันเป็นหนี้ส่วนใหญ่ที่จำเลยค้างชำระ ดังนี้ที่ศาลชั้นต้นกำหนดให้จำเลยชำระค่าฤชาธรรมเนียมโดยกำหนดค่าทนายความเป็นเงิน 10,000 บาทแทนโจทก์ และศาลอุทธรณ์กำหนดค่าทนายความในชั้นอุทธรณ์เป็นเงิน 6,000 บาท จึงเหมาะสมแล้ว
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยกู้เงินโจทก์และได้ชำระเงินคืนบางส่วนแล้วจำเลยต้องรับผิดชำระหนี้ที่เหลือให้โจทก์ จำเลยให้การปฏิเสธว่าไม่ได้กู้เงินโจทก์และไม่ได้รับเงินตามฟ้อง ดังนี้การที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยในคำพิพากษาโดยตั้งประเด็นพิพาทว่าจำเลยกู้เงินโจทก์หรือไม่และจะต้องรับผิดเพียงใดนั้น ย่อมมีความหมายทำนองเดียวกับประเด็นเดิมที่ตั้งไว้ในชั้นพิจารณาที่ว่า จำเลยได้ทำสัญญากู้เงินและรับเงินไปตามฟ้องหรือไม่จึงไม่เป็นการวินิจฉัยนอกฟ้องแต่อย่างใด และไม่เป็นการวินิจฉัยนอกประเด็นหรือขยายประเด็นเดิม
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยกู้เงินโจทก์ การที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าสัญญากู้เงินตามฟ้องมีมูลหนี้มาจากการซื้อขายหลักทรัพย์ จึงเป็นการแปลงหนี้ใหม่จากหนี้ซื้อขายหลักทรัพย์มาเป็นหนี้เงินกู้ เป็นการวินิจฉัยถึงที่มาแห่งการทำสัญญากู้เงินระหว่างโจทก์จำเลย จึงไม่ถือเป็นการวินิจฉัยนอกฟ้องแต่อย่างใด
จำเลยได้กู้ยืมเงินโจทก์เพื่อนำไปซื้อขายหลักทรัพย์ในตลาดหลักทรัพย์ฯ จำเลยเป็นหนี้โจทก์ 3,500,000 บาทเศษ จำเลยจึงได้ทำสัญญากู้ยืมเงินจากโจทก์ ดังนี้การทำสัญญากู้ยืมเงินระหว่างโจทก์และจำเลยเป็นการแปลงหนี้ใหม่อันชอบด้วยกฎหมายจึงบังคับตามสัญญากู้ยืมเงินได้
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยชำระเงินต้น 2,760,896.67 บาทกับดอกเบี้ยอีก 864,221.48 บาท ศาลล่างทั้งสองวินิจฉัยให้จำเลยชำระเฉพาะเงินต้น อันเป็นหนี้ส่วนใหญ่ที่จำเลยค้างชำระ ดังนี้ที่ศาลชั้นต้นกำหนดให้จำเลยชำระค่าฤชาธรรมเนียมโดยกำหนดค่าทนายความเป็นเงิน 10,000 บาทแทนโจทก์ และศาลอุทธรณ์กำหนดค่าทนายความในชั้นอุทธรณ์เป็นเงิน 6,000 บาท จึงเหมาะสมแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4476/2529
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแปลงหนี้จากซื้อขายหลักทรัพย์เป็นหนี้เงินกู้ และความสมบูรณ์ของสัญญา
โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยกู้เงินโจทก์ไปตามสัญญากู้เงินต่อมาจำเลยได้นำเงินที่ได้จากการขายหุ้นเงินปันผลและเงินสดมาชำระหนี้ให้โจทก์บางส่วนนับถึงวันที่11กันยายน2523จำเลยชำระเงินต้นให้โจทก์831,333บาท67สตางค์กับดอกเบี้ยอีก583,642บาท99สตางค์ซึ่งโจทก์ได้มีหนังสือถึงจำเลยให้ชำระเงินต้นส่วนที่เหลือพร้อมดอกเบี้ยตามเอกสารท้ายฟ้องอันเป็นส่วนหนึ่งของคำฟ้องซึ่งได้ระบุยอดเงินต้นที่ค้างตรงตามฟ้องคำฟ้องของโจทก์จึงแสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาและคำขอบังคับทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาต้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา172พอที่จำเลยจะเข้าใจข้อหาได้ดีและสามารถต่อสู้คดีได้แล้วส่วนข้อที่ว่ายอดเงินที่จำเลยชำระคืนบางส่วนเป็นเงินเท่าใดเป็นเงินอะไรและมีการชำระเงินเมื่อใดนั้นเป็นเพียงรายละเอียดที่โจทก์จะต้องนำสืบต่อไปหาจำต้องบรรยายในคำฟ้องไม่จึงไม่เป็นฟ้องเคลือบคลุม โจทก์ฟ้องว่าจำเลยกู้เงินโจทก์และได้ชำระเงินคืนบางส่วนแล้วจำเลยต้องรับผิดชำระหนี้ที่เหลือให้โจทก์จำเลยให้การปฏิเสธว่าไม่ได้กู้เงินโจทก์และไม่ได้รับเงินตามฟ้องดังนี้การที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยในคำพิพากษาโดยตั้งประเด็นพิพาทว่าจำเลยกู้เงินโจทก์หรือไม่และจะต้องรับผิดเพียงใดนั้นย่อมมีความหมายทำนองเดียวกับประเด็นเดิมที่ตั้งไว้ในชั้นพิจารณาที่ว่าจำเลยได้ทำสัญญากู้เงินและรับเงินไปตามฟ้องหรือไม่จึงไม่เป็นการวินิจฉัยนอกฟ้องแต่อย่างใดและไม่เป็นการวินิจฉัยนอกประเด็นหรือขยายประเด็นเดิม โจทก์ฟ้องว่าจำเลยกู้เงินโจทก์การที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าสัญญากู้เงินตามฟ้องมีมูลหนี้มาจากการซื้อขายหลักทรัพย์จึงเป็นการแปลงหนี้ใหม่จากหนี้ซื้อขายหลักทรัพย์มาเป็นหนี้เงินกู้เป็นการวินิจฉัยถึงที่มาแห่งการทำสัญญากู้เงินระหว่างโจทก์จำเลยจึงไม่ถือเป็นการวินิจฉัยนอกฟ้องแต่อย่างใด จำเลยได้กู้ยืมเงินโจทก์เพื่อนำไปซื้อขายหลักทรัพย์ในตลาดหลักทรัพย์ฯจำเลยเป็นหนี้โจทก์3,500,000บาทเศษจำเลยจึงได้ทำสัญญากู้ยืมเงินจากโจทก์ดังนี้การทำสัญญากู้ยืมเงินระหว่างโจทก์และจำเลยเป็นการแปลงหนี้ใหม่อันชอบด้วยกฎหมายจึงบังคับตามสัญญากู้ยืมเงินได้ โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยชำระเงินต้น2,760,896.67บาทกับดอกเบี้ยอีก864,221.48บาทศาลล่างทั้งสองวินิจฉัยให้จำเลยชำระเฉพาะเงินต้นอันเป็นหนี้ส่วนใหญ่ที่จำเลยค้างชำระดังนี้ที่ศาลชั้นต้นกำหนดให้จำเลยชำระค่าฤชาธรรมเนียมโดยกำหนดค่าทนายความเป็นเงิน10,000บาทแทนโจทก์และศาลอุทธรณ์กำหนดค่าทนายความในชั้นอุทธรณ์เป็นเงิน6,000บาทจึงเหมาะสมแล้ว.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3882/2529
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาเรื่องฟ้องเคลือบคลุม, สัญญาค้ำประกัน, และค่าทนายความที่ขัดต่อกฎหมายความสงบเรียบร้อย
จำเลยให้การว่าคำฟ้องของโจทก์เคลือบคลุมเพราะไม่แสดงโดยชัดแจ้งซึ่งสภาพแห่งข้อหาและคำขอบังคับทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเช่นว่านั้นเป็นการยกถ้อยคำในกฎหมายมาอ้างโดยมิได้บรรยายว่าสภาพแห่งข้อหาคำขอคำบังคับหรือข้ออ้างในคำฟ้องของโจทก์ข้อใดที่ไม่ชัดแจ้งและไม่ชัดแจ้งอย่างไรคำให้การจำเลยจึงแสดงเหตุไม่ชัดแจ้งไม่มีประเด็นว่าฟ้องเคลือบคลุมหรือไม่แม้ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์วินิจฉัยให้ก็เป็นการไม่ชอบถือว่าเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ต้องห้ามฎีกาศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย จำเลยทำสัญญาค้ำประกันไว้ต่อโจทก์ก่อนโจทก์จะนำหลักทรัพย์ไปประกันตัวผู้ต้องหาโดยมิได้ระบุมูลค่าแห่งความรับผิดไว้แน่นอนเพื่อให้โจทก์ประกันผู้ต้องหาในคดีอาญาจากศาลโดยทำสัญญาไว้ว่าถ้าผู้ต้องหาหลบหนีและนายประกันถูกปรับจำเลยรับชดใช้ค่าปรับแทนจนครบถ้วนสัญญาค้ำประกันดังกล่าวไม่เป็นการเอารัดเอาเปรียบจำเลยแต่ประการใดเพราะหากโจทก์ไม่นำหลักทรัพย์ไปประกันตัวผู้ต้องหาสัญญาค้ำประกันที่ทำกันไว้ก็ไม่มีผลบังคับส่วนจำนวนความรับผิดก็เป็นไปตามที่ศาลจะตีราคาประกันและสั่งปรับเมื่อผิดสัญยาประกันต่อไปสัญญาดังกล่าวจึงใช้บังคับได้หาขัดต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชนไม่ สัญญาค้ำประกันดังกล่าวกำหนดว่า'หากข้าพเจ้าปล่อยให้จำเลยหลบหนีด้วยเหตุใดๆก็ดีถ้านายประกันถูกปรับหรือถูกริบทรัพย์ข้าพเจ้าจะเป็นผู้รับชดใช้ค่าปรับแทนนายประกันจนครบถ้วนและจะเป็นผู้รับไถ่ถอนหลักทรัพย์ที่จำนองประกันคืนแก่นายประกันโดยมิชักช้า'ดังนี้เพียงแต่โจทก์ถูกศาลสั่งปรับจำเลยก็มีหน้าที่ต้องชำระค่าปรับไถ่ถอนหลักทรัพย์ที่ประกันคืนแก่โจทก์แล้วโจทก์จึงมีอำนาจฟ้องบังคับจำเลยให้ปฏิบัติตามสัญญาได้ไม่ต้องรอให้มีการขายทรัพย์อันเป็นหลักประกันก่อน ค่าทนายความเป็นค่าฤชาธรรมเนียมอย่างหนึ่งซึ่งศาลมีอำนาจใช้ดุลพินิจกำหนดจำนวนตามกฎหมายและสั่งในคำพิพากษาให้ฝ่ายใดชดใช้แก่ฝ่ายใดหรือให้เป็นพับกันไปก็ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา161,167และตาราง6ท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งดังนี้การที่สัญญาค้ำประกันกำหนดให้จำเลยต้องชดใช้ค่าทนายความแก่โจทก์ผิดแผกแตกต่างไปจากกฎหมายอันเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนจึงใช้บังคับมิได้ข้อนี้เป็นเรื่องอำนาจฟ้องอันเป็นข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนศาลฎีกาเห็นสมควรยกขึ้นวินิจฉัย.