คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
แต่ง ทองภักดี

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 293 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 985/2524

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องอาญาไม่ชัดเจน วันเวลาเกิดเหตุคลุมเครือ ทำให้จำเลยไม่เข้าใจข้อหา เป็นฟ้องที่ไม่ชอบ
โจทก์บรรยายฟ้องมีวันเวลาเกิดเหตุทั้งก่อนวันฟ้องและหลังวันฟ้องเป็นการกล่าวหาคลุมไปถึงวันเวลาที่ยังมาไม่ถึงซึ่งเป็นไปไม่ได้ จำเลยไม่อาจเข้าใจข้อหาตามฟ้องได้ดีจึงเป็นฟ้องที่ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 158(5)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 931/2524

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนคำสั่งศาลที่เกินกำหนดเวลาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 27
ผู้ร้องเป็นเจ้าหนี้จำเลยที่ 1 ตามคำพิพากษาของศาลจังหวัด ช. ได้ขอให้ศาลจังหวัด ช. อายัดเงินค่าจ้างที่จำเลยที่ 1 จะได้รับ ศาลจังหวัด ช. อายัดเงินดังกล่าวและขอให้ศาลแพ่งบังคับคดีแทน ต่อมาจำเลยที่ 1 ถูกฟ้องล้มละลายคดีนี้ที่ศาลแพ่งและถูกสั่งพิทักษ์ทรัพย์ ศาลแพ่งได้มีคำสั่งตามคำขอของโจทก์ให้ส่งเงินของจำเลยที่ 1 ลูกหนี้ที่อายัดไว้ตามหมายอายัดของศาลจังหวัด ช. ซึ่งยังอยู่ที่กองบังคับคดีแพ่งไปรวมไว้ในกองทรัพย์สินของลูกหนี้ในคดีนี้ เมื่อวันที่ 29 ตุลาคม 2516 วันที่ 14 ตุลาคม 2517 ผู้ร้องได้ไปยื่นคำร้องต่อศาลจังหวัด ช. ขอให้เพิกถอนคำสั่งของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ในคดีนี้ที่สั่งให้เจ้าพนักงานบังคับคดีส่งเงินที่อายัดมาไว้ในกองทรัพย์สินของลูกหนี้ ผลที่สุดศาลฎีกาได้พิพากษายกคำร้องดังกล่าวของผู้ร้องโดยวินิจฉัยว่า ผู้ร้องจะต้องมายื่นคำร้องต่อศาลแพ่งจึงจะชอบ (ฎีกาที่ 532/2520) ผู้ร้องได้ฟังคำพิพากษาฎีกาดังกล่าวในวันที่ 15 สิงหาคม 2520 ต่อมาวันที่ 6 กันยายน 2520 ผู้ร้องจึงมายื่นคำร้องขอให้ศาลแพ่งสั่งเพิกถอนคำสั่งของศาลแพ่งฉบับลงวันที่ 29 ตุลาคม 2516 อ้างว่าสั่งไปโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย ดังนี้ เป็นกรณีที่ผู้ร้องมายื่นคำร้องขอให้เพิกถอนการพิจารณาที่ผิดระเบียบเกินกำหนดเวลาตามที่กฎหมายกำหนดไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 27 วรรคสอง แล้วผู้ร้องจึงไม่มีสิทธิมายื่นคำร้องขอให้เพิกถอนคำสั่งของศาลแพ่งฉบับดังกล่าวนั้นได้ ชอบที่จะยกคำร้องของผู้ร้องเสีย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 786/2524

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาล: การฟ้องหย่า จำเลยมีภูมิลำเนาต่างประเทศ ศาลไทยไม่มีอำนาจพิจารณา
โจทก์ฟ้องหย่าจำเลย แต่จำเลยมีเชื้อชาติและสัญชาติฝรั่งเศสและมีภูมิลำเนาอยู่ในประเทศฝรั่งเศส ศาลไทยจึงไม่มีอำนาจรับคำฟ้องของโจทก์ไว้พิจารณาได้ แม้มูลคดีจะเกิดในเขตศาลไทย แต่จำเลยก็ไม่ได้เข้ามาในประเทศไทย กรณีจึงไม่อยู่ในบังคับ ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 4(3) และเมื่อศาลยังไม่ได้ สั่งรับคำฟ้องจะใช้ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 34 บังคับไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 784/2524

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ภาษีอากร: การตีความตัวบทกฎหมายเกี่ยวกับค่าใช้จ่ายและค่าเสื่อมราคาที่นำมาหักลดหย่อนเพื่อคำนวณภาษี
รายการจ่ายในการซื้อบัตรงานกุศลต่างๆ เช่น งานกาชาดงานบอลล์ ซื้อของขวัญปีใหม่และงานสมรส มีลักษณะเป็นการให้โดยเสน่หาและเป็นการส่วนตัวของผู้มีอำนาจจ่ายเงินนั้นๆเพื่อประโยชน์ในการทำงานหรือในทางสังคมของตนเองเป็นส่วนตัว ยิ่งกว่าเพื่อประโยชน์ของบริษัทโจทก์ มิใช่รายจ่ายเพื่อหารายได้ในการดำเนินธุรกิจการค้าของโจทก์โดยตรง ต้องห้ามมิให้ถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิตามประมวลรัษฎากร มาตรา 65 ตรี (3)
รายการจ่ายเงินกองทุนหรือเงินบำเหน็จพนักงาน เมื่อปรากฏว่าโจทก์เพียงแต่ตั้งเป็นค่าใช้จ่ายที่ต้องจ่ายไว้ในบัญชีของโจทก์เพื่อจ่ายให้พนักงานไปโดยเด็ดขาดคือ เมื่อพนักงานออกจากงานหรือถึงแก่กรรม ยังไม่ได้มีการจ่ายให้แก่พนักงานไปโดยเด็ดขาดในรอบระยะเวลาบัญชีปี พ.ศ.2511 โจทก์เพิ่งจ่ายเงินนั้นให้แก่พนักงานไปในปี 2514โจทก์จึงไม่มีสิทธินำมาหักเป็นค่าใช้จ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิสำหรับรอบระยะเวลาบัญชีปี พ.ศ.2511
รายการจ่ายค่าแสตมป์สุราซึ่งโจทก์จะต้องซื้อจากกรมสรรพสามิตมาเพื่อใช้ปิดขวดสุราให้ครบถ้วนตามจำนวนสุราที่จะต้องผลิตตามสัญญาหรืออีกนัยหนึ่งก็คือโจทก์ต้องเสียภาษีสุราให้แก่กรมสรรพสามิตให้ครบถ้วนตามโควต้าสุราที่กำหนดให้โจทก์ผลิตตามสัญญานั้น แม้ว่าโจทก์จะผลิตสุราได้ไม่ครบตามโควต้าสุราที่โจทก์จะต้องผลิตตามสัญญารายจ่ายค่าแสตมป์สุราก็เป็นภาษีสุราตามโควต้าสุราในแต่ละปีที่โจทก์ต้องเสียให้กรมสรรพสามิตอย่างแน่นอนและได้เสียไปจริงในแต่ละปี การที่โจทก์ใช้แสตมป์สุราที่ซื้อมาในแต่ละปีไม่หมด ซึ่งอาจจะเป็นเพราะโจทก์ผลิตสุราในปีนั้นได้ต่ำกว่าโควต้า แล้วได้รับการผ่อนผันให้นำแสตมป์สุราที่เหลือนั้น ไปใช้ปิดขวดสุราในปีต่อไปได้ก็เป็นคนละเรื่องกันกับค่าแสตมป์สุราหรือภาษีสุราที่โจทก์ได้เสียไปแล้วในปีที่ซื้อแสตมป์สุรานั้นมา ฉะนั้นเมื่อแสตมป์สุรารายพิพาทนี้โจทก์จ่ายเงินซื้อมาในรอบระยะเวลาบัญชีปี พ.ศ.2511 จึงเป็นรายจ่ายที่โจทก์มีสิทธินำมาหักในการคำนวณกำไรสุทธิสำหรับรอบระยะเวลาบัญชีปีพ.ศ.2511 ได้ไม่ต้องห้ามตาม มาตรา 65 ตรี (9)
เจ้าพนักงานประเมินให้โจทก์เสียภาษีเพิ่มเติม โดยว่ารายจ่ายซึ่งเป็นค่าก่อสร้างและซื้อทรัพย์สิน จำนวน3,743,169.72 บาท เป็นรายจ่ายอันมีลักษณะเป็นการลงทุนทั้งหมดต้องห้ามมิให้นำมาเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิ(ตามมาตรา 65 ตรี (5)) โจทก์อุทธรณ์คัดค้าน (ว่าหักเป็นค่าใช้จ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิได้) คณะกรรมการอุทธรณ์วินิจฉัยว่ารายจ่ายดังกล่าวมีลักษณะเป็นการลงทุนเพียง12,774.30 บาท นอกนั้นมิใช่เป็นค่าใช้จ่ายในการลงทุนยอมให้โจทก์หักเป็นค่าใช้จ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิได้ตามที่โจทก์อุทธรณ์ แต่ย้อนไปวินิจฉัยปรับปรุงคำนวณค่าเสื่อมราคาทรัพย์สินของโจทก์ที่จะนำมาหักเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิของปี พ.ศ.2511 ให้โจทก์ใหม่จากที่เจ้าพนักงานประเมินคิดไว้เดิมเป็นเงินรวม 4,213,852.11 บาทมาเป็นหักให้เพียง 66,846.22 บาท คือตัดออกเสีย4,147,005.89 บาท และคิดคำนวณภาษีใหม่เป็นว่าโจทก์จะต้องชำระภาษีและเงินเพิ่มเพิ่มจากที่เจ้าพนักงานประเมินให้โจทก์เสียภาษีเพิ่มนั้นอีกเป็นเงิน 3,111.08 บาทเงินเพิ่ม 622.21 บาท รวมเป็นเงิน 3,733.29 บาท ดังนี้ คำวินิจฉัยอุทธรณ์ในส่วนที่ปรับปรุงคำนวณค่าเสื่อมราคาทรัพย์สินของโจทก์เสียใหม่เป็นการพิจารณาและวินิจฉัยไปโดยไม่เปิดโอกาสให้โจทก์ได้ชี้แจงแสดงหลักฐาน และมิได้เป็นประเด็นที่โจทก์อุทธรณ์คัดค้านการประเมินของเจ้าพนักงานประเมินต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์แต่อย่างใดคำวินิจฉัยที่ให้โจทก์เสียภาษีเพิ่มขึ้นจากที่เจ้าพนักงานประเมินแจ้งการประเมินไปยังโจทก์จึงไม่ถูกต้องและไม่ชอบด้วยกฎหมาย
กองภาษีเงินได้นิติบุคคลได้ออกหมายเรียกโจทก์มาทำการไต่สวนตรวจสอบภาษีอากร เพราะมีกรณีสงสัยว่าโจทก์เสียภาษีไว้ไม่ถูกต้อง ซึ่งผลการตรวจสอบก็ปรากฏว่าโจทก์ได้เสียภาษีไว้ยังไม่ถูกต้องครบถ้วนจริง โจทก์จึงต้องรับผิดเสียเงินเพิ่มตามมาตรา 22. ที่โจทก์อ้างว่า ได้ทำบัญชีรับจ่ายโดยสุจริต มิได้ปิดบังรายรับรายจ่าย ที่เกิดกรณีพิพาทขึ้นเนื่องจากการตีความตัวบทประมวลรัษฎากรผิดพลาด ยังไม่เป็นเหตุผลอันสมควรเพียงพอที่จะผ่อนผันให้ยกเลิกหรือยกเว้นเงินเพิ่มให้แก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 738/2524

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการเป็นผู้จัดการมรดก: ทายาทลำดับที่สามไม่มีสิทธิหากมีทายาทลำดับที่หนึ่ง
ผู้ร้องเป็นพี่ร่วมบิดามารดาเดียวกับผู้ตาย ซึ่งเป็นทายาทลำดับสาม ส่วนบุตร 5 คน ของผู้ตายเป็นทายาทลำดับหนึ่ง จึงตัดผู้ร้องมิให้มีสิทธิรับมรดกของผู้ตาย เมื่อผู้ร้องไม่เป็นทายาทผู้มีสิทธิรับมรดก ทั้งมิได้เป็นผู้มีส่วนได้เสียที่จะร้องขอต่อศาลให้ตั้งเป็นผู้จัดการมรดก ผู้ร้องจึงไม่มีสิทธิร้องขอให้ศาลตั้งเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 725/2524

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การออกเช็คโดยไม่มีเงินในบัญชีเพียงพอ การพิสูจน์สถานะทางการเงิน ณ วันออกเช็คเป็นสาระสำคัญ
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คมาตรา 3 ข้อเท็จจริงได้ความว่า จำเลยออกเช็คพิพาทลงวันที่ 10 มิถุนายน 2521 ชำระหนี้เงินกู้ให้โจทก์ร่วม ต่อมาวันที่ 19 กรกฎาคม 2521 โจทก์นำเช็คพิพาทไปเข้าบัญชีเพื่อเรียกเก็บเงินตามเช็ค ธนาคารตามเช็คปฏิเสธการจ่ายเงินเพราะเงินในบัญชีของจำเลยมีไม่พอจ่าย โดยมิได้นำสืบให้เห็นว่าขณะที่ออกเช็คพิพาทคือวันที่ 10 มิถุนายน 2521 นั้น เงินในบัญชีของจำเลยมีพอจ่ายตามเช็คพิพาทหรือไม่ ดังนี้ จะฟังว่าการที่เงินในบัญชีของจำเลยมีไม่พอจ่ายในวันที่ 19กรกฎาคม 2521 นั้น. ในวันที่ 10 มิถุนายน 2521 อันอันเป็นวันออกเช็คพิพาทจำเลยก็ไม่มีเงินในบัญชีพอจ่ายตามเช็คจึงลงโทษจำเลยตามฟ้องไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 703/2524

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสิ้นสุดสมาชิกภาพสภาเทศบาลจากคำพิพากษาจำคุกและการมีลักษณะต้องห้าม
พระราชบัญญัติเทศบาล มาตรา 19(4) บัญญัติว่าสมาชิกภาพแห่งสภาเทศบาลย่อมสิ้นสุดลงเมื่อขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้ามสำหรับผู้สมัครรับเลือกตั้งตามที่บัญญัติไว้ในกฎหมายว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาล ซึ่งพระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาล มาตรา 21(9) บัญญัติว่าผู้ต้องคำพิพากษาหรือคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมายให้จำคุกและถูกคุมขังอยู่โดยหมายของศาลหรือโดยคำสั่งนั้น เป็นผู้มีลักษณะต้องห้ามมิให้ใช้สิทธิสมัครรับเลือกตั้ง ผู้คัดค้านถูกศาลฎีกาพิพากษาจำคุกและถูกคุมขังอยู่โดยหมายของศาลในขณะดำรงตำแหน่งสมาชิกสภาเทศบาล ผู้คัดค้านจึงขาดจากสมาชิกภาพแห่งสภาเทศบาลตามนัยกฎหมายดังกล่าว
พระราชบัญญัติเทศบาล มาตรา 71 วรรคแรก บัญญัติให้ผู้ว่าราชการจังหวัดมีอำนาจหน้าที่ควบคุมดูแลเทศบาลในจังหวัดนั้น เมื่อผู้คัดค้านซึ่งเป็นสมาชิกสภาเทศบาลถูกจำคุกตามคำพิพากษาของศาล ผู้ว่าราชการจังหวัดย่อมมีอำนาจยื่นคำร้องขอให้ขาดจากสมาชิกภาพแห่งสภาเทศบาลได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 695/2524 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ โจทก์ร่วม: การฟ้องละเมิดร่วมกัน แม้ค่าเสียหายต่างกัน ก็รวมฟ้องได้ตามมาตรา 59 ว.พ.พ.
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 59 บัญญัติว่า"บุคคลตั้งแต่สองคนขึ้นไปอาจเป็นคู่ความในคดีเดียวกันได้โดยเป็นโจทก์ร่วมหรือจำเลยร่วม ถ้าหากปรากฏว่าบุคคลเหล่านั้นมีผลประโยชน์ร่วมกันในมูลความแห่งคดี ......ฯลฯ" ซึ่งหมายความว่าต้องมีส่วนได้เสียร่วมกันในมูลเหตุอันเป็นรากฐานแห่งคดีนั้นโดยถือหนี้อันเป็นมูลของคดีนั้นเป็นสารสำคัญ ฉะนั้นในกรณีทำละเมิดต่อโจทก์หลายคนร่วมกันแม้ค่าเสียหายของโจทก์แต่ละคนจะแยกต่างหากจากกันได้ ก็อาจเป็นโจทก์ร่วมกันในคดีเดียวกันได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 695/2524

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องร่วมคดีละเมิด: ผลประโยชน์ร่วมกันในมูลเหตุเป็นสำคัญ แม้ค่าเสียหายต่างกัน
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 59 บัญญัติว่า'บุคคลตั้งแต่สองคนขึ้นไปอาจเป็นคู่ความในคดีเดียวกันได้โดยเป็นโจทก์ร่วมหรือจำเลยร่วม ถ้าหากปรากฏว่าบุคคลเหล่านั้นมีผลประโยชน์ร่วมกันในมูลความแห่งคดี ......ฯลฯ' ซึ่งหมายความว่าต้องมีส่วนได้เสียร่วมกันในมูลเหตุอันเป็นรากฐานแห่งคดีนั้น โดยถือหนี้อันเป็นมูลของคดีนั้นเป็นสารสำคัญ ฉะนั้นในกรณีทำละเมิดต่อโจทก์หลายคนร่วมกันแม้ค่าเสียหายของโจทก์แต่ละคนจะแยกต่างหากจากกันได้ ก็อาจเป็นโจทก์ร่วมกันในคดีเดียวกันได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 624/2524

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบุกรุกโรงเรียนที่หมดอายุสัญญาเช่า แม้เจ้าของเป็นชื่อในนาม แต่ยังมีหน้าที่ครอบครองดูแลรักษา
จำเลยเอาข้าวเปลือกเข้าไปเก็บไว้ในอาคารโรงเรียนที่เกิดเหตุโดยมิได้รับอนุญาต แม้โรงเรียนจะเป็นของส่วนรวม ส. ผู้เสียหายเป็นเจ้าของแต่เพียงในนามเพื่อให้ถูกต้องตามพระราชบัญญัติโรงเรียนราษฎร์ ปลูกสร้างอยู่ในที่ดินของมารดาจำเลยและหมดอายุสัญญาเช่าแล้ว ส.ผู้เสียหายก็มีหน้าที่ครอบครองดูแลรักษาโรงเรียนที่เกิดเหตุการกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดฐานบุกรุก
of 30