คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
แต่ง ทองภักดี

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 293 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 716/2525

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิของผู้ให้เช่าซื้อเมื่อสัญญาเช่าซื้อเลิกกัน: ริบเงินค่าเช่าซื้อ และเรียกร้องค่าเสียหาย
ผู้เช่าซื้อผิดสัญญา เมื่อมีการเลิกสัญญาเช่าซื้อแล้วผู้ให้เช่าซื้อย่อมมีสิทธิรับเงินค่าเช่าซื้อที่รับไว้แล้วทั้งหมด กับมีสิทธิเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนความเสียหายที่ผู้เช่าซื้อได้ใช้ทรัพย์ของผู้ให้เช่าซื้อตลอดระยะเวลาที่ผู้ซื้อครอบครองทรัพย์ดังกล่าวอยู่
(อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 1195/2511)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 716/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกสัญญาเช่าซื้อและการเรียกร้องค่าเสียหายจากการใช้รถยนต์หลังเลิกสัญญา
จำเลยเช่าซื่อรถยนต์จากโจทก์ กำหนดชำระค่าเช่าซื้อ 19 งวด จำเลยผิดนัดชำระตั้งแต่งวดที่ 10 เป็นต้นมาเกิน 2 งวดติดต่อกัน ซึ่งตามสัญญาเช่าซื่อให้ถือว่าสัญญาเป็นอันเลิกกันตั้งแต่วันผิดนัด เมื่อมีการเลิกสัญญาเช่าซื้อแล้ว โจทก์ผู้ให้เช่าซื้อย่อมมีสิทธิริบเงินค่าเช่าซื้อที่รับไว้แล้วทั้งหมด กับมีสิทธิเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนความเสียหายที่ผู้เช่าซื้อได้ใช้รถยนต์ของโจทก์ตลอดระยะเวลาที่ผู้ซื้อครอบครองรถยนต์ดังกล่าวอยู่
(อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 1195/2511)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3533/2524 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาต่างประเทศ, ใบมอบอำนาจ, การรับสภาพหนี้, อายุความ, และผลของการลงนามสัญญาโดยกรรมการผู้จัดการ
ใบมอบอำนาจให้ฟ้องคดีแม้จะมิได้ระบุว่าให้ฟ้องคดีในศาลประเทศไทยผู้รับมอบอำนาจก็มีอำนาจฟ้องคดีได้
สาระสำคัญของสัญญามีความว่า โจทก์ตกลงจะให้คำแนะนำช่วยเหลือจำเลยในการก่อตั้งโรงงานทอกระสอบและช่วยฝึกฝนพนักงานของจำเลยในด้านเทคนิคและบริหารโรงงานทอกระสอบของจำเลยโดยจำเลยตกลงให้ค่าตอบแทนและค่าใช้จ่ายที่โจทก์เสียไปแก่โจทก์เป็นงานที่โจทก์ตกลงจะทำให้จำเลยหลายสิ่งหลายอย่างทั่ว ๆ ไปและไม่กำหนดให้งานนั้นสำเร็จอย่างไรเมื่อใด จึงไม่มีลักษณะเป็นการจ้างทำของอันจะต้องเสียอากรแสตมป์ตามประมวลรัษฎากร
กรรมการผู้จัดการบริษัทจำเลยลงนามในสัญญาพิพาทเพียงคนเดียวและไม่ประทับตามของบริษัท ไม่ถูกต้องตามข้อบังคับของบริษัท แต่หลังจากทำสัญญาแล้วโจทก์ได้ส่งพนักงานของโจทก์มาช่วยเหลือแนะนำจำเลยตามสัญญา จนการก่อตั้งโรงงานทอกระสอบของจำเลยสำเร็จเรียบร้อยเปิดดำเนินการได้ และจำเลยได้ยอมรับเอาผลงานของโจทก์ไว้เป็นประโยชน์แล้วตลอดมา จำเลยจึงต้องผูกพันรับผิดต่อโจทก์ตามสัญญาพิพาทนั้น
กรรมการผู้จัดการบริษัทจำเลย เป็นผู้ติดต่อกับโจทก์ตลอดมาเกี่ยวกับการดำเนินงานตามสัญญา ในฐานะกรรมการผู้จัดการบริษัทจำเลยและจำเลยก็ยอมรับเอาผลงานของโจทก์แล้ว เมื่อผู้แทนโจทก์มาเจรจาเรื่องหนี้ตามสัญญาพิพาท กรรมการผู้จัดการบริษัทจำเลยก็เป็นผู้เจรจากับผู้แทนโจทก์ตามพฤติการณ์ดังกล่าวจึงถือได้ว่าบริษัทจำเลยเชิดกรรมการผู้จัดการบริษัทจำเลยออกแสดงเป็นตัวแทนของจำเลย
การที่กรรมการผู้จัดการบริษัทจำเลยมีหนังสือลงวันที่ 24 เมษายน 2514 ในนามบริษัทจำเลยถึงโจทก์รับรองจะชำระเงินค่าตอบแทนและค่าใช้จ่ายให้แก่โจทก์ตามสัญญาพิพาทนั้น เป็นการยอมรับสภาพหนี้เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยได้แจ้งให้โจทก์ทราบว่า กรรมการผู้จัดการบริษัทจำเลยพ้นจากตำแหน่งหรือไม่มีอำนาจกระทำการแทนบริษัทจำเลยแล้วแต่อย่างใด จำเลยจึงต้องผูกพันรับผิดต่อโจทก์ตามหนังสือรับสภาพหนี้นับแต่วันที่ 24 เมษายน 2514 ซึ่งเป็นวันรับสภาพหนี้ถึงวันฟ้องยังไม่เกิน 10 ปี คดีโจทก์จึงยังไม่ขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3533/2524

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาต่างประเทศ, ใบมอบอำนาจ, การลงนามสัญญาที่ไม่ถูกต้อง, อายุความหนี้, การยอมรับผลงาน
ใบมอบอำนาจให้ฟ้องคดีแม้จะมิได้ระบุว่าให้ฟ้องคดีในศาลประเทศไทยผู้รับมอบอำนาจก็มีอำนาจฟ้องคดีได้
สาระสำคัญของสัญญามีความว่า โจทก์ตกลงจะให้คำแนะนำช่วยเหลือจำเลยในการก่อตั้งโรงงานทอกระสอบและช่วยฝึกฝนพนักงานของจำเลยในด้านเทคนิคและบริหารโรงงานทอกระสอบของจำเลย โดยจำเลยตกลงให้ค่าตอบแทนและค่าใช้จ่ายที่โจทก์เสียไปแก่โจทก์ เป็นงานที่โจทก์ตกลงจะทำให้จำเลยหลายสิ่งหลายอย่างทั่ว ๆ ไปและไม่กำหนดให้งานนั้นสำเร็จอย่างไรเมื่อใด จึงไม่มีลักษณะเป็นการจ้างทำของอันจะต้องเสียอากรแสตมป์ตามประมวลรัษฎากร
กรรมการผู้จัดการบริษัทจำเลยลงนามในสัญญาพิพาทเพียงคนเดียวและไม่ประทับตามของบริษัท ไม่ถูกต้องตามข้อบังคับของบริษัท แต่หลังจากทำสัญญาแล้วโจทก์ได้ส่งพนักงานของโจทก์มาช่วยเหลือแนะนำจำเลยตามสัญญา จนการก่อตั้งโรงงานทอกระสอบของจำเลยสำเร็จเรียบร้อยเปิดดำเนินการได้ และจำเลยได้ยอมรับเอาผลงานของโจทก์ไว้เป็นประโยชน์แล้วตลอดมา จำเลยจึงต้องผูกพันรับผิดต่อโจทก์ตามสัญญาพิพาทนั้น
กรรมการผู้จัดการบริษัทจำเลย เป็นผู้ติดต่อกับโจทก์ตลอดมาเกี่ยวกับการดำเนินงานตามสัญญา ในฐานะกรรมการผู้จัดการบริษัทจำเลย และจำเลยก็ยอมรับเอาผลงานของโจทก์แล้ว เมื่อผู้แทนโจทก์มาเจรจาเรื่องหนี้ตามสัญญาพิพาท กรรมการผู้จัดการบริษัทจำเลยก็เป็นผู้เจรจากับผู้แทนโจทก์ตามพฤติการณ์ดังกล่าวจึงถือได้ว่าบริษัทจำเลยเชิดกรรมการผู้จัดการบริษัทจำเลยออกแสดงเป็นตัวแทนของจำเลย
การที่กรรมการผู้จัดการบริษัทจำเลยมีหนังสือลงวันที่ 24 เมษายน 2514 ในนามบริษัทจำเลยถึงโจทก์รับรองจะชำระเงินค่าตอบแทนและค่าใช้จ่ายให้แก่โจทก์ตามสัญญาพิพาทนั้น เป็นการยอมรับสภาพหนี้ เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยได้แจ้งให้โจทก์ทราบว่า กรรมการผู้จัดการบริษัทจำเลยพ้นจากตำแหน่งหรือไม่มีอำนาจกระทำการแทนบริษัทจำเลยแล้วแต่อย่างใด จำเลยจึงต้องผูกพันรับผิดต่อโจทก์ตามหนังสือรับสภาพหนี้นับแต่วันที่ 24 เมษายน 2514ซึ่งเป็นวันรับสภาพหนี้ถึงวันฟ้องยังไม่เกิน 10 ปี คดีโจทก์จึงยังไม่ขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3441/2524 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประนีประนอมยอมความ: ผลผูกพันของคู่สัญญา และการยอมรับหนี้ร่วมกันของห้างหุ้นส่วน
บันทึกข้อตกลงระหว่างโจทก์จำเลยซึ่งพนักงานสอบสวนทำไว้มีใจความว่า จำเลยที่ 2 โดย ช. หุ้นส่วนผู้จัดการ และ ท. ผู้รับมอบอำนาจจากจำเลยที่ 1 ยินยอมชดใช้เงินทั้งสิ้น 107,704 บาท 50 สตางค์ ให้แก่โจทก์ โดยตกลงชำระงวดแรกในเดือนที่ตกลงกันเป็นเงิน 20,000บาท ต่อไปชำระทุกเดือน เดือนละ 10,000 บาท พร้อมด้วยดอกเบี้ยอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปี หากผิดสัญญายอมให้ฟ้องร้องดำเนินการทางแพ่งอย่างเดียว ส่วนการร้องทุกข์คดีอาญาโจทก์ไม่ประสงค์ให้ดำเนินคดีต่อไป ข้อความเช่นนี้เป็นสัญญาประนีประนอมยอมความ
แม้ ช. หุ้นส่วนผู้จัดการห้าง ฯ จำเลยที่ 2 ได้ลงลายมือชื่อในสัญญาประนีประนอมยอมความโดยไม่ได้ประทับตราสำคัญของห้าง ฯ แต่เมื่อมีข้อความระบุไว้แจ้งชัดว่า ช. เป็นผู้ทำความตกลงในนามของห้าง ฯ ถือได้ว่าห้าง ฯ จำเลยที่ 2 ได้ตกลงชดใช้เงินให้แก่โจทก์อันมีลักษณะเป็นการประนีประนอมยอมความ จึงต้องผูกพันรับผิดตามข้อความในบันทึกด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3441/2524

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประนีประนอมยอมความ: ผลผูกพันของคู่สัญญาและผู้ลงนามในนามห้างหุ้นส่วน
บันทึกข้อตกลงระหว่างโจทก์จำเลยซึ่งพนักงานสอบสวนทำไว้มีใจความว่า จำเลยที่ 2 โดย ช.หุ้นส่วนผู้จัดการและท. ผู้รับมอบอำนาจจากจำเลยที่ 1 ยินยอมชดใช้เงินทั้งสิ้น 107,704 บาท 50 สตางค์ให้แก่โจทก์ โดยตกลงชำระงวดแรกในเดือนที่ตกลงกันเป็นเงิน 20,000บาท ต่อไปชำระทุกเดือน เดือนละ 10,000 บาท พร้อมด้วยดอกเบี้ยอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปี หากผิดสัญญายอมให้ฟ้องร้องดำเนินการทางแพ่งอย่างเดียว ส่วนการร้องทุกข์คดีอาญาโจทก์ไม่ประสงค์ให้ดำเนินคดีต่อไป ข้อความเช่นนี้เป็นสัญญาประนีประนอมยอมความ
แม้ ช. หุ้นส่วนผู้จัดการห้าง ฯ จำเลยที่ 2 ได้ลงลายมือชื่อในสัญญาประนีประนอมยอมความโดยไม่ได้ประทับตราสำคัญของห้าง ฯ แต่เมื่อมีข้อความระบุไว้แจ้งชัดว่า ช. เป็นผู้ทำความตกลงในนามของห้าง ฯ ถือได้ว่าห้าง ฯ จำเลยที่ 2 ได้ตกลงชดใช้เงินให้แก่โจทก์อันมีลักษณะเป็นการประนีประนอมยอมความ จึงต้องผูกพันรับผิดตามข้อความในบันทึกด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3383/2524

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การไถ่ถอนขายฝากภายในกำหนดเวลา ไม่ขาดอายุความ แม้ยังไม่ได้จดทะเบียน
เมื่อโจทก์ได้ไถ่ถอนการขายฝากที่ดินภายในกำหนดเวลาตามสัญญาขายฝากแล้ว คดีโจทก์ก็ไม่ขาดอายุความ เพราะการจดทะเบียนไถ่ทรัพย์สินที่ขายฝากเป็นเพียงการทำให้การกลับคืนมาซึ่งทรัพยสิทธิในที่ดินบริบูรณ์เท่านั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3381/2524 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา-นิติบุคคล และการหักค่าเสื่อมราคาจากการเช่าทรัพย์สิน
ส. และ ว. ซึ่งเป็นสามีภริยากันถือหุ้นรวมกันเกินกว่าร้อยละ 50 ของจำนวนทุนทั้งหมดของบริษัทโจทก์บริษัทโจทก์จึงต้องเสียภาษีเงินได้อย่างบุคคลธรรมดาตามประมวลรัษฎากร มาตรา 75
บริษัทโจทก์สร้างอาคารราคา 465,981.34 บาท แล้วยกกรรมสิทธิ์ให้เจ้าของที่ดิน โดยโจทก์ได้สิทธิการเช่าอาคารและที่ดินเป็นเวลา 11 ปี อัตราค่าเช่าเดือนละ 150 บาท เป็นสัญญาต่างตอบแทนอันทำให้บริษัทโจทก์ได้รับประโยชน์จากการได้สิทธิการเช่าอาคารและที่ดินนั้น ค่าก่อสร้างอาคารจึงเป็นรายจ่ายอันมีลักษณะเป็นการลงทุนต้องห้ามมิให้ถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิตามประมวลรัษฎากร มาตรา 65 ตรี (5) โจทก์มีสิทธิเพียงหักค่าเสื่อมราคาในอัตราร้อยละ 100 หารด้วยปีอายุการเช่าตามมาตรา 5 (4)วรรคสอง แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาของทรัพย์สิน (ฉบับที่ 22) พ.ศ.2509

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3381/2524

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาและการหักค่าเสื่อมราคาจากการเช่าทรัพย์สิน
ส.และว. ซึ่งเป็นสามีภริยากันถือหุ้นรวมกันเกินกว่าร้อยละ 50 ของจำนวนทุนทั้งหมดของบริษัทโจทก์ บริษัทโจทก์จึงต้องเสียภาษีเงินได้อย่างบุคคลธรรมดาตามประมวลรัษฎากร มาตรา 75
บริษัทโจทก์สร้างอาคารราคา 465,981.34 บาท แล้วยกกรรมสิทธิ์ให้เจ้าของที่ดิน โดยโจทก์ได้สิทธิการเช่าอาคารและที่ดินเป็นเวลา 11 ปี อัตราค่าเช่าเดือนละ 150 บาทเป็นสัญญาต่างตอบแทนอันทำให้บริษัทโจทก์ได้รับประโยชน์จากการได้สิทธิการเช่าอาคารและที่ดินนั้น ค่าก่อสร้างอาคารจึงเป็นรายจ่ายอันมีลักษณะเป็นการลงทุนต้องห้ามมิให้ถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิตามประมวลรัษฎากร มาตรา65 ตรี (5) โจทก์มีสิทธิเพียงหักค่าเสื่อมราคาในอัตราร้อยละ 100 หารด้วยปีอายุการเช่าตามมาตรา 5(4)วรรคสอง แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาของทรัพย์สิน (ฉบับที่ 22) พ.ศ.2509

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3281/2524

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องค่าเสียหายจากสินค้าชำรุด: สัญญาซื้อขายตามตัวอย่าง/คำพรรณนา vs. สัญญาซื้อขายธรรมดา
สัญญาซื้อขายอะไหล่เครื่องยนต์ยอมให้โจทก์ผู้ซื้อตรวจสอบและทดลองคุณภาพสินค้า ถ้าปรากฏว่าสินค้าที่ส่งมอบมีคุณภาพไม่ตรงตามตัวอย่างหรือรายการละเอียดที่ระบุไว้ในสัญญา โจทก์ทรงไว้ซึ่งสิทธิที่จะไม่รับสินค้านั้นได้ ดังนี้ มิใช่การขายตามตัวอย่างหรือตามคำพรรณนา มีอายุความ 10 ปี ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164
of 30