พบผลลัพธ์ทั้งหมด 266 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2605/2524
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
พยานผู้เชี่ยวชาญและน้ำหนักพยานหลักฐาน: การรับฟังเอกสารและการชำระค่าเอกสาร
พยานผู้เชี่ยวชาญเป็นพยานแสดงความคิดเห็นตามหลักวิชาแม้จะเป็นพยานที่ศาลรับฟัง ก็ไม่ใช่ว่าจะต้องเชื่อเสมอไป คำพยานชนิดนี้จะมีน้ำหนักกว่าประจักษ์พยานหรือไม่ต้องพิจารณา ตามรูปเรื่อง เหตุผล และพยานหลักฐานอื่นประกอบกัน
แม้โจทก์จะไม่ได้เสียค่าอ้างเอกสารตามคำสั่งของศาลชั้นต้น แต่โจทก์ก็ได้ขอชำระค่าอ้างเอกสารนั้นแล้วเมื่อจำเลยอุทธรณ์ อ้างว่าโจทก์เข้าใจผิดคิดว่าเสียค่าอ้างแล้ว มิได้จงใจที่จะไม่ชำระ ดังนี้ เมื่อศาลได้ยอมรับชำระเงินค่าอ้างเอกสารนั้นแล้ว จึงรับฟังเป็นพยานได้
แม้โจทก์จะไม่ได้เสียค่าอ้างเอกสารตามคำสั่งของศาลชั้นต้น แต่โจทก์ก็ได้ขอชำระค่าอ้างเอกสารนั้นแล้วเมื่อจำเลยอุทธรณ์ อ้างว่าโจทก์เข้าใจผิดคิดว่าเสียค่าอ้างแล้ว มิได้จงใจที่จะไม่ชำระ ดังนี้ เมื่อศาลได้ยอมรับชำระเงินค่าอ้างเอกสารนั้นแล้ว จึงรับฟังเป็นพยานได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2579-2580/2524
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองปรปักษ์สิ้นสุดเมื่อศาลตัดสินว่ากรรมสิทธิ์ยังเป็นของเดิม การนับระยะเวลาใหม่เริ่มจากวันตัดสิน
โจทก์เคยฟ้องจำเลยกับพวกขอแสดงกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้อง ศาลฎีกาพิพากษายืน ผลแห่งคำพิพากษาก็คือโจทก์ไม่ได้กรรมสิทธิ์ในที่พิพาท ที่ดินพิพาทจึงยังคงเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยอยู่ โจทก์ยังขืนอยู่ในที่ดินของจำเลยทั้งๆ ที่โจทก์แพ้คดีทั้งสามศาล จึงเป็นการอยู่ในที่ดินของผู้อื่นโดยละเมิด หากจะนับเวลาครอบครองปรปักษ์ก็ต้องนับตั้งแต่ศาลฎีกาพิพากษายังไม่ถึง 10 ปี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2562/2524
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การทำนิติกรรมเกี่ยวกับสินสมรส: สิทธิของผู้จัดการสินสมรส และผลของการไม่ต่อสู้คดี
ปัญหาที่ว่าจำเลยที่ 2 ได้จดทะเบียนสมรสกับจำเลยที่ 1 ซึ่งจะถือว่าจำเลยที่ 2 เป็นภริยาโดยชอบด้วยกฎหมายของจำเลยที่ 1 แล้วหรือไม่นั้น เป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง เมื่อจำเลยที่ 2 ไม่ได้ให้การต่อสู้เป็นประเด็นไว้โดยแจ้งชัด ก็ไม่มีสิทธิยกขึ้นต่อสู้ในชั้นอุทธรณ์
ในขณะที่จำเลยที่ 1 นำที่พิพาทไปขายฝากแก่โจทก์ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 เดิม มาตรา1468 และ 1473 ยังคงใช้บังคับอยู่ จำเลยที่ 1 จึงมีสิทธิเป็นผู้จัดการที่ดินพิพาทซึ่งเป็นสินบริคณห์ และมีอำนาจจำหน่ายสินบริคณห์ตามบทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าวนั้นได้ โดยไม่จำต้องได้รับความยินยอมจากจำเลยที่ 2 ผู้เป็นภริยา
ในขณะที่จำเลยที่ 1 นำที่พิพาทไปขายฝากแก่โจทก์ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 เดิม มาตรา1468 และ 1473 ยังคงใช้บังคับอยู่ จำเลยที่ 1 จึงมีสิทธิเป็นผู้จัดการที่ดินพิพาทซึ่งเป็นสินบริคณห์ และมีอำนาจจำหน่ายสินบริคณห์ตามบทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าวนั้นได้ โดยไม่จำต้องได้รับความยินยอมจากจำเลยที่ 2 ผู้เป็นภริยา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2547/2524 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลงโทษทางวินัยข้าราชการ: การใช้กฎหมายที่บังคับใช้ ณ เวลาที่กระทำผิด แม้หลังมีการเปลี่ยนกฎหมาย
กำหนดเวลา 1 ปีตามมาตรา 117 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2518 หมายถึงระยะเวลาที่ให้นำพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนพ.ศ. 2497 มาใช้บังคับไปพลางก่อนในระหว่างที่ ก.พ. ยังมิได้กำหนดตำแหน่งข้าราชการพลเรือนตามมาตรา 32 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2518 ส่วนมาตรา 121 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนพ.ศ. 2518 บัญญัติถึงเมื่อ ก.พ. ได้กำหนดตำแหน่งข้าราชการพลเรือนตามมาตรา 32 แล้ว หากข้าราชการพลเรือนผู้ใดมีกรณีกระทำผิดวินัยหรือกรณีที่สมควรให้ออกจากราชการก่อนวันที่ ก.พ. กำหนดตำแหน่งก็ให้ผู้บังคับบัญชาการดำเนินการเพื่อสั่งลงโทษผู้นั้น หรือสั่งให้ผู้นั้นออกจากราชการตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือนที่ใช้อยู่ในขณะนั้น ดังนั้น เมื่อกรณีการกระทำที่โจทก์ถูกตั้งคณะกรรมการสอบสวนลงโทษทางวินัยได้เกิดขึ้นในปี พ.ศ. 2517 ก่อนที่พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2518 ใช้บังคับ แม้โจทก์จะไปให้การต่อคณะกรรมการสอบสวนเมื่อวันที่ 14 กันยายน 2519 ภายหลังที่โจทก์ได้รับราชการกำหนดตำแหน่งตามมาตรา 32 ซึ่งเป็นเวลาหลังจากที่พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2497 และที่แก้ไขได้ถูกยกเลิก และใช้พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2518 แทนแล้วก็ตาม การดำเนินการเพื่อสั่งลงโทษโจทก์หรือสั่งให้โจทก์ออกจากราชการก็ต้องเป็นไปตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2497 และที่แก้ไขซึ่งใช้อยู่ในขณะโจทก์กระทำผิดวินัยหรือมีกรณีที่สมควรให้ออกจากราชการก่อนวันที่ ก.พ. กำหนดตำแหน่งดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 121 ดังนั้นที่จำเลยที่ 1 มีคำสั่งให้ไล่โจทก์ออกจากราชการตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนพ.ศ. 2497 และที่แก้ไขจึงชอบด้วยกฎหมายแล้ว ไม่เป็นการละเมิดต่อโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2547/2524
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลงโทษทางวินัยข้าราชการ: การใช้กฎหมายในอดีตกับกรณีที่เกิดขึ้นก่อนการบังคับใช้กฎหมายใหม่
กำหนดเวลา 1 ปีตามมาตรา 117 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2518 หมายถึงระยะเวลาที่ให้นำพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2497 มาใช้บังคับไปพลางก่อนในระหว่างที่ ก.พ. ยังมิได้กำหนดตำแหน่งข้าราชการพลเรือนตามมาตรา 32 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2518 ส่วนมาตรา 121 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนพ.ศ. 2518 บัญญัติถึงเมื่อ ก.พ. ได้กำหนดตำแหน่งข้าราชการพลเรือนตามมาตรา 32 แล้ว หากข้าราชการพลเรือนผู้ใดมีกรณีกระทำผิดวินัยหรือกรณีที่สมควรให้ออกจากราชการก่อนวันที่ ก.พ. กำหนดตำแหน่ง ก็ให้ผู้บังคับบัญชาการดำเนินการเพื่อสั่งลงโทษผู้นั้น หรือสั่งให้ผู้นั้นออกจากราชการตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือนที่ใช้อยู่ในขณะนั้น ดังนั้น เมื่อกรณีการกระทำที่โจทก์ถูกตั้งคณะกรรมการสอบสวนลงโทษทางวินัยได้เกิดขึ้นในปี พ.ศ. 2517 ก่อนที่พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2518 ใช้บังคับ แม้โจทก์จะไปให้การต่อคณะกรรมการสอบสวนเมื่อวันที่ 14 กันยายน 2519 ภายหลังที่โจทก์ได้รับราชการกำหนดตำแหน่งตามมาตรา 32 ซึ่งเป็นเวลาหลังจากที่พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2497 และที่แก้ไขได้ถูกยกเลิก และใช้พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2518 แทนแล้วก็ตาม การดำเนินการเพื่อสั่งลงโทษโจทก์หรือสั่งให้โจทก์ออกจากราชการก็ต้องเป็นไปตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2497 และที่แก้ไขซึ่งใช้อยู่ในขณะโจทก์กระทำผิดวินัยหรือมีกรณีที่สมควรให้ออกจากราชการก่อนวันที่ ก.พ. กำหนดตำแหน่งดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา121 ดังนั้นที่จำเลยที่ 1 มีคำสั่งให้ไล่โจทก์ออกจากราชการตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนพ.ศ. 2497 และที่แก้ไขจึงชอบด้วยกฎหมายแล้ว ไม่เป็นการละเมิดต่อโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2509/2524
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องข้ามประเทศ: การมีภูมิลำเนาเฉพาะการของบริษัทต่างชาติในไทย
จำเลยเป็นบริษัทจำกัดจดทะเบียนไว้ ณ ประเทศญี่ปุ่น ไม่มีสำนักงานสาขาในประเทศไทย ฟ. เป็นเพียงตัวแทนยื่นคำคัดค้านการขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์คดีก่อนเท่านั้น จำเลยจึงไม่มีภูมิลำเนาในเขตศาลตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา4(2) โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2406/2524
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของผู้ค้ำประกันและผู้จำนองยังคงอยู่เมื่อลูกหนี้ไม่ชำระหนี้ตามสัญญาประนีประนอม แม้ศาลมีคำพิพากษาแล้ว
การที่ ท. ทำสัญญาประนีประนอมยอมความชำระหนี้ตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีแก่โจทก์ และศาลพิพากษาให้คดีเสร็จเด็ดขาด ไปแล้ว แต่ ท. ยังมิได้ชำระหนี้ตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีแก่โจทก์ ตามสัญญาประนีประนอมยอมความนั้นเลย เพราะยังอยู่ในระหว่าง บังคับคดี ดังนี้ หนี้ที่ประกันจึงยังมิได้ระงับสิ้นไปตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 698 จำเลยผู้ค้ำประกัน และผู้จำนองจึงยังไม่หลุดพ้นจากความรับผิด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2404/2524 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของนายจ้างต่อการกระทำละเมิดของลูกจ้าง: หลักการชำระหนี้ร่วมกันและจำกัดความรับผิด
เมื่อโจทก์ได้รับอนุญาตให้ถอนฟ้องฎีกาสำหรับลูกจ้างแล้วคดีเกี่ยวกับลูกจ้างเป็นอันถึงที่สุดตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ว่าให้ลูกจ้างร่วมกับนายจ้างชำระเงินแก่โจทก์จำนวนหนึ่งอันเป็นการชำระหนี้ที่ไม่อาจแบ่งแยกได้ แม้โจทก์ยังคงฎีกาให้นายจ้างรับผิดเพิ่มขึ้นนายจ้างก็ต้องร่วมรับผิดกับลูกจ้างเท่ากับจำนวนเงินที่ต้องชำระตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์เท่านั้น นายจ้างไม่ต้องรับผิดเกินไปกว่าที่ลูกจ้างจะต้องรับผิด (ประชุมใหญ่ครั้งที่ 11/2524)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2404/2524
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของนายจ้างต่อการกระทำละเมิดของลูกจ้าง: หนี้ร่วมที่ไม่สามารถแบ่งแยกได้
เมื่อโจทก์ได้รับอนุญาตให้ถอนฟ้องฎีกาสำหรับลูกจ้างแล้วคดีเกี่ยวกับลูกจ้างเป็นอันถึงที่สุดตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ว่าให้ลูกจ้างร่วมกับนายจ้างชำระเงินแก่โจทก์จำนวนหนึ่งอันเป็นการชำระหนี้ที่ไม่อาจแบ่งแยกได้ แม้โจทก์ยังคงฎีกาให้นายจ้างรับผิดเพิ่มขึ้นนายจ้างก็ต้องร่วมรับผิดกับลูกจ้างเท่ากับจำนวนเงินที่ต้องชำระตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์เท่านั้น นายจ้างไม่ต้องรับผิดเกินไปกว่าที่ลูกจ้างจะต้องรับผิด (ประชุมใหญ่ครั้งที่ 11/2524)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2332/2524
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสมรส, มรดก, และการครอบครองปรปักษ์: ศาลฎีกาวินิจฉัยสถานะภรรยาโดยชอบด้วยกฎหมาย, สิทธิในมรดก, และอายุความ
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1488(เดิม)บุคคลใดจะอ้างว่าการสมรสเป็นโมฆะไม่ได้ นอกจากศาลพิพากษาว่าเป็นเช่นนั้นเช่นนี้ แม้ขณะเจ้ามรดกจดทะเบียนสมรสกับโจทก์ที่ 1แต่เจ้ามรดกยังอยู่กินฉันสามีภริยากับ อ. ซึ่งเป็นภริยาโดยชอบด้วยกฎหมายก่อนใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 และศาลยังมิได้พิพากษาว่าการสมรสระหว่างโจทก์ที่ 1 กับเจ้ามรดกเป็นโมฆะ การสมรสจึงยังสมบูรณ์อยู่ โจทก์ที่ 1 เป็นภริยาโดยชอบด้วยกฎหมาย และโจทก์ที่ 2 ที่ 3 ซึ่งเป็นบุตรของโจทก์ที่ 1 กับเจ้ามรดก จึงเป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายของเจ้ามรดก
โจทก์ที่ 2 ที่ 3 เข้าใจว่าเจ้ามรดกไม่มีทรัพย์สินอันใดอยู่อีกจึงได้ทำเอกสารไว้ต่อผู้จัดการมรดกตามที่ผู้จัดการสั่งให้ทำ ความว่าผู้จัดการมรดกได้แบ่งมรดกตามที่ควารได้ให้แก่ผู้รับไว้ถูกต้องแล้วผู้รับขอรับรองว่าหมดสิทธิในกองมรดกทั้งหมด เอกสารนี้ถือไม่ได้ว่าเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความเพราะโจทก์ที่ 2 ที่ 3 ไม่มีข้อพิพาทอันใดต่อผู้จัดการมรดก และมิใช่เป็นการสละมรดกตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1612
โจทก์ที่ 2 ที่ 3 เข้าใจว่าเจ้ามรดกไม่มีทรัพย์สินอันใดอยู่อีกจึงได้ทำเอกสารไว้ต่อผู้จัดการมรดกตามที่ผู้จัดการสั่งให้ทำ ความว่าผู้จัดการมรดกได้แบ่งมรดกตามที่ควารได้ให้แก่ผู้รับไว้ถูกต้องแล้วผู้รับขอรับรองว่าหมดสิทธิในกองมรดกทั้งหมด เอกสารนี้ถือไม่ได้ว่าเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความเพราะโจทก์ที่ 2 ที่ 3 ไม่มีข้อพิพาทอันใดต่อผู้จัดการมรดก และมิใช่เป็นการสละมรดกตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1612