พบผลลัพธ์ทั้งหมด 117 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 344/2522
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลในการพิจารณาการควบคุมตัวผู้ถูกกล่าวหาว่าเป็นภัยต่อสังคม และสิทธิในการร้องขอความเป็นธรรม
คำสั่งของคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน ฉบับที่ 22 ไม่ตัดอำนาจศาลที่จะวินิจฉัยว่าบุคคลผู้ถูกควบคุมนั้นมีพฤติการณ์ที่เป็นภัยต่อสังคมจริงหรือไม่โดยเฉพาะในคำสั่งก็ไม่มีข้อความระบุว่าให้อำนาจในการจับกุมและควบคุมของเจ้าพนักงานเป็นที่สุด หรือห้ามบุคคลใด ๆ นำกรณีดังกล่าวไปฟ้องร้องต่อศาล ศาลจึงมีอำนาจวินิจฉัยว่าบุคคลใดมีพฤติการณ์ที่เป็นภัยต่อสังคมจริงหรือไม่ อันจะนำข้อเท็จจริงไปสู่ข้อวินิจฉัยว่าการที่เจ้าพนักงานควบคุมบุคคลผู้นั้น เป็นการควบคุมโดยชอบหรือผิดกฎหมาย
เมื่อมีคำร้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 90และศาลได้หมายเรียกเจ้าพนักงานหรือบุคคลซึ่งก่อให้เกิดการควบคุมหรือขังเข้ามาในคดีแล้ว ย่อมถือว่ามีข้อพิพาทระหว่างผู้ร้องกับเจ้าพนักงานหรือบุคคลซึ่งเป็นผู้คัดค้าน และเป็นคู่ความ เมื่อศาลพิจารณาและมีคำสั่งอย่างไร หากผู้ร้องหรือผู้คัดค้านไม่เห็นด้วยตามคำสั่งก็ย่อมมีสิทธิอุทธรณ์ฎีกาได้ตามกฎหมาย
เมื่อมีคำร้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 90และศาลได้หมายเรียกเจ้าพนักงานหรือบุคคลซึ่งก่อให้เกิดการควบคุมหรือขังเข้ามาในคดีแล้ว ย่อมถือว่ามีข้อพิพาทระหว่างผู้ร้องกับเจ้าพนักงานหรือบุคคลซึ่งเป็นผู้คัดค้าน และเป็นคู่ความ เมื่อศาลพิจารณาและมีคำสั่งอย่างไร หากผู้ร้องหรือผู้คัดค้านไม่เห็นด้วยตามคำสั่งก็ย่อมมีสิทธิอุทธรณ์ฎีกาได้ตามกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 344/2522 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลในการพิจารณาคำร้องปล่อยตัวผู้ถูกควบคุมตามคำสั่ง คปถ. และสิทธิในการอุทธรณ์ฎีกา
คำสั่งของคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน ฉบับที่ 22 ไม่ตัดอำนาจศาลที่จะวินิจฉัยว่า บุคคลผู้ถูกควบคุมนั้นมีพฤติการณ์ที่เป็นภัยต่อสังคมจริงหรือไม่ โดยเฉพาะในคำสั่งก็ไม่มีข้อความระบุว่าให้อำนาจในการจับกุมและควบคุมของเจ้าพนักงานเป็นที่สุด หรือห้ามบุคคลใด ๆ นำกรณีดังกล่าวไปฟ้องร้องต่อศาล ศาลจึงมีอำนาจวินิจฉัยว่าบุคคลใดมีพฤติการณ์ที่เป็นภัยต่อสังคมจริงหรือไม่ อันจะนำข้อเท็จจริงไปสู่ข้อวินิจฉัยว่าการที่เจ้าพนักงานควบคุมบุคคลผู้นั้น เป็นการควบคุมโดยชอบหรือผิดกฎหมาย
เมื่อมีคำร้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 90 และศาลได้หมายเรียกเจ้าพนักงานหรือบุคคลซึ่งก่อให้เกิดการควบคุมหรือขังเข้ามาในคดีแล้ว ย่อมถือว่ามีข้อพิพาทระหว่างผู้ร้องกับเจ้าพนักงานหรือบุคคลซึ่งเป็นผู้คัดค้าน และเป็นคู่ความ เมื่อศาลพิจารณาและมีคำสั่งอย่างไร หากผู้ร้องหรือผู้คัดค้านไม่เห็นด้วยตามคำสั่ง ก็ย่อมมีสิทธิอุทธรณ์ฎีกาได้ตามกฎหมาย
เมื่อมีคำร้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 90 และศาลได้หมายเรียกเจ้าพนักงานหรือบุคคลซึ่งก่อให้เกิดการควบคุมหรือขังเข้ามาในคดีแล้ว ย่อมถือว่ามีข้อพิพาทระหว่างผู้ร้องกับเจ้าพนักงานหรือบุคคลซึ่งเป็นผู้คัดค้าน และเป็นคู่ความ เมื่อศาลพิจารณาและมีคำสั่งอย่างไร หากผู้ร้องหรือผู้คัดค้านไม่เห็นด้วยตามคำสั่ง ก็ย่อมมีสิทธิอุทธรณ์ฎีกาได้ตามกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 227/2522 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เขตอำนาจศาล: ผลของพระราชกฤษฎีกาเปลี่ยนแปลงเขตอำนาจหลังเกิดเหตุ และดุลพินิจศาลในการไม่รับฟ้อง
ขณะเกิดเหตุคดีของโจทก์อยู่ในเขตอำนาจของศาลจังหวัดที่จะต้องรับฟ้องไว้พิจารณา แต่เมื่อโจกท์ยื่นฟ้องได้มีพระราชกฤษฎีกาขยายเขตอำนาจศาลให้คดีของโจทก์อยู่ในเขตอำนาจของศาลแขวง โจทก์จึงต้องฟ้องคดีต่อศาลแขวง
คดีที่เกิดขึ้นในเขตศาลแขวงและอยู่ในอำนาจของศาลแขวง ถ้ายื่นฟ้องต่อศาลจังหวัดย่อมอยู่ในดุลพินิจของศาลจังหวัดที่จะไม่ยอมรับพิจารณาพิพากษาคดีที่ยื่นฟ้องเช่นนั้นได้
คดีที่เกิดขึ้นในเขตศาลแขวงและอยู่ในอำนาจของศาลแขวง ถ้ายื่นฟ้องต่อศาลจังหวัดย่อมอยู่ในดุลพินิจของศาลจังหวัดที่จะไม่ยอมรับพิจารณาพิพากษาคดีที่ยื่นฟ้องเช่นนั้นได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 227/2522
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เขตอำนาจศาลเปลี่ยนแปลงหลังเกิดเหตุ: คดีต้องฟ้องต่อศาลแขวง แม้ฟ้องศาลจังหวัด ศาลมีดุลพินิจไม่รับ
ขณะเกิดเหตุคดีของโจทก์อยู่ในเขตอำนาจของศาลจังหวัดที่จะต้องรับฟ้องไว้พิจารณา แต่เมื่อโจทก์ยื่นฟ้องได้มีพระราชกฤษฎีกาขยายเขตอำนาจศาลให้คดีของโจทก์อยู่ในเขตอำนาจของศาลแขวง โจทก์จึงต้องฟ้องคดีต่อศาลแขวง
คดีที่เกิดขึ้นในเขตศาลแขวงและอยู่ในอำนาจของศาลแขวงถ้ายื่นฟ้องต่อศาลจังหวัดย่อมอยู่ในดุลพินิจของศาลจังหวัดที่จะไม่ยอมรับพิจารณาพิพากษาคดีที่ยื่นฟ้องเช่นนั้นได้
คดีที่เกิดขึ้นในเขตศาลแขวงและอยู่ในอำนาจของศาลแขวงถ้ายื่นฟ้องต่อศาลจังหวัดย่อมอยู่ในดุลพินิจของศาลจังหวัดที่จะไม่ยอมรับพิจารณาพิพากษาคดีที่ยื่นฟ้องเช่นนั้นได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 200/2522
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องแย้งไม่เกี่ยวเนื่องกับคำฟ้องเดิม ศาลไม่ต้องพิจารณาพร้อมกัน
โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยออกจากตึกแถวที่เช่า จำเลยให้การว่าสัญญาเช่ายังไม่ครบกำหนดการบอกกล่าวไม่ชอบ ขับไล่จำเลยไม่ได้ พร้อมกับฟ้องแย้งว่า โจทก์รับเงินประกันการเสียหายไว้จากจำเลยจำนวนหนึ่ง เมื่อเลิกสัญญาเช่ากันโจทก์ต้องคืนเงินประกันดังกล่าวให้จำเลย ดังนี้ฟ้องแย้งของจำเลยเป็นเรื่องอื่นไม่เกี่ยวกับคำฟ้องเดิมแต่เป็นเรื่องที่จะเกิดตามมาภายหลัง เมื่อจำเลยถูกขับไล่แล้วโจทก์จึงต้องคืนเงินประกันความเสียหาย กล่าวคือถ้าจำเลยชนะคดีตามคำให้การ ฟ้องแย้งของจำเลยก็ตกไปเพราะยังไม่ถึงเวลาที่จะคืนเงินประกัน ซึ่งเป็นเรื่องที่จะต้องเรียกร้องกันอีกต่างหากเมื่อปรากฏผลในคดีนี้แล้ว จึงพิจารณาฟ้องแย้งของจำเลยไปพร้อมกับข้อต่อสู้ในคำให้การไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 90/2522 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าซื้อ: การผ่อนผันชำระหนี้และการบอกเลิกสัญญา ต้องเป็นไปตามกฎหมาย หากไม่ครบถ้วน จำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญา
โจทก์เช่าซื้อรถยนต์บรรทุกสิบล้อจากจำเลย สัญญาเช่าซื้อได้กำหนดการชำระค่าเช่าซื้อไว้ทุกวันที่ 25 ของเดือน แต่เมื่อโจทก์ไม่ชำระค่าเช่าซื้อตรงตามกำหนดเวลาหลายงวด โจทก์ขอผ่อนผัน จำเลยก็ยินยอมผ่อนผันให้ และเมื่อโจทก์นำค่าเช่าซื้อมาชำระหลังจากเกินกำหนดเวลาตามงวดแล้ว จำเลยก็ยินยอมรับไว้มิได้ทักท้วง เมื่อจำเลยยึดรถยนต์ไปจากโจทก์แล้ว จำเลยยังมีหนังสือให้โจทก์เอาเงินค่าเช่าซื้อที่ค้างมาชำระตามพฤติการณ์แสดงว่าในทางปฏิบัติคู่สัญญาไม่ถือเอากำหนดเวลาชำระหนี้ตามสัญญาเป็นสำคัญ ดังนี้ จะถือว่าโจทก์ผิดสัญญา สัญญาจึงเลิกกันตามข้อกำหนดในสัญญาไม่ได้ จำเลยจะเลิกสัญญาได้ก็แต่ด้วยการแสดงเจตนาบอกเลิกตามมาตรา 386 และการบอกเลิกสัญญาก็จะต้องปฏิบัติตามมาตรา 387 และ 388 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
อุทธรณ์ของจำเลยไม่ได้ยกข้อเท็จจริงหรือข้อกฎหมายคัดค้านคำวินิจฉัยของศาลชั้นต้น ศาลอุทธรณ์ไม่วินิจฉัยให้ ดังนี้ จำเลยจะฎีกาในข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลอุทธรณ์มิได้
ค่าฤชาธรรมเนียมนั้นเป็นอำนาจของศาลตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 161 ที่จะใช้ดุลพินิจพิพากษาให้คู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเป็นผู้เสียค่าฤชาธรรมเนียมหรือจะให้เป็นพับไปก็ได้ โดยคำนึงถึงเหตุสมควรและความสุจริตในการสู้ความหรือในการดำเนินคดีของคู่ความ
อุทธรณ์ของจำเลยไม่ได้ยกข้อเท็จจริงหรือข้อกฎหมายคัดค้านคำวินิจฉัยของศาลชั้นต้น ศาลอุทธรณ์ไม่วินิจฉัยให้ ดังนี้ จำเลยจะฎีกาในข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลอุทธรณ์มิได้
ค่าฤชาธรรมเนียมนั้นเป็นอำนาจของศาลตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 161 ที่จะใช้ดุลพินิจพิพากษาให้คู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเป็นผู้เสียค่าฤชาธรรมเนียมหรือจะให้เป็นพับไปก็ได้ โดยคำนึงถึงเหตุสมควรและความสุจริตในการสู้ความหรือในการดำเนินคดีของคู่ความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 90/2522
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าซื้อ: การผ่อนผันการชำระหนี้, การบอกเลิกสัญญา, และการยึดรถโดยพลการ
โจทก์เช่าซื้อรถยนต์บรรทุกสิบล้อจากจำเลย สัญญาเช่าซื้อได้กำหนดการชำระค่าเช่าซื้อไว้ทุกวันที่ 25 ของเดือน แต่เมื่อโจทก์ไม่ชำระค่าเช่าซื้อตรงตามกำหนดเวลาหลายงวดโจทก์ขอผ่อนผัน จำเลยก็ยินยอมผ่อนผันให้ และเมื่อโจทก์นำค่าเช่าซื้อมาชำระหลังจากเกินกำหนดเวลาตามงวดแล้ว จำเลยก็ยินยอมรับไว้มิได้ทักท้วง เมื่อจำเลยยึดรถยนต์ไปจากโจทก์ แล้ว จำเลยยังมีหนังสือให้โจทก์เอาเงินค่าเช่าซื้อที่ค้างมาชำระ ตามพฤติการณ์แสดงว่าในทางปฏิบัติคู่สัญญาไม่ถือเอากำหนดเวลาชำระหนี้ตามสัญญาเป็นสำคัญดังนี้ จะถือว่าโจทก์ ผิดสัญญา สัญญาจึงเลิกกันตามข้อกำหนดในสัญญาไม่ได้ จำเลยจะเลิกสัญญาได้ก็แต่ด้วยการแสดงเจตนาบอกเลิกตามมาตรา 386 และการบอกเลิกสัญญาก็จะต้องปฏิบัติตามมาตรา387 และ 388 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
อุทธรณ์ของจำเลยไม่ได้ยกข้อเท็จจริงหรือข้อกฎหมายคัดค้านคำวินิจฉัยของศาลชั้นต้น ศาลอุทธรณ์ไม่วินิจฉัยให้ ดังนี้ จำเลยจะฎีกาในข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลอุทธรณ์มิได้
ค่าฤชาธรรมเนียมนั้นเป็นอำนาจของศาลตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 161 ที่จะใช้ดุลพินิจพิพากษาให้คู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเป็นผู้เสียค่าฤชาธรรมเนียมหรือจะให้เป็นพับไปก็ได้ โดยคำนึงถึงเหตุสมควรและความสุจริตในการสู้ความหรือในการดำเนินคดีของคู่ความ
อุทธรณ์ของจำเลยไม่ได้ยกข้อเท็จจริงหรือข้อกฎหมายคัดค้านคำวินิจฉัยของศาลชั้นต้น ศาลอุทธรณ์ไม่วินิจฉัยให้ ดังนี้ จำเลยจะฎีกาในข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลอุทธรณ์มิได้
ค่าฤชาธรรมเนียมนั้นเป็นอำนาจของศาลตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 161 ที่จะใช้ดุลพินิจพิพากษาให้คู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเป็นผู้เสียค่าฤชาธรรมเนียมหรือจะให้เป็นพับไปก็ได้ โดยคำนึงถึงเหตุสมควรและความสุจริตในการสู้ความหรือในการดำเนินคดีของคู่ความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 14/2522
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การไม่มาศาลตามเวลาที่ผิดพลาดเนื่องจากจดเวลาคลาดเคลื่อน ไม่ถือว่าโจทก์ไม่มีพยาน
วันนัดสืบพยานโจทก์ทั้งสองคราวโจทก์นำพยานมาศาล โดยครั้งแรกจำเลยที่ 2 ขอเลื่อนคดี แต่วันนัดสืบพยานครั้งที่สองโจทก์นำพยานมาศาลผิดเวลาเพราะจดเวลานัดสืบพยานคลาดเคลื่อนไปเป็นข้ออ้างที่มีเหตุผลสมควร เพราะวันนัดสืบพยานครั้งแรกนัดสืบพยานเวลา 13.30 นาฬิกา ส่วนครั้งหลังนัดเวลา 9 นาฬิกา การที่โจทก์ไม่มาศาลตามเวลาในวันนัดสืบพยานโจทก์ดังกล่าวยังไม่พอถือว่าโจทก์ไม่มีพยานมาสืบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 14/2522 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลื่อนนัดสืบพยานจากความเข้าใจผิดเรื่องเวลา ไม่ถือว่าโจทก์ไม่มีพยาน
วันนัดสืบพยานโจทก์ทั้งสองคราวโจทก์นำพยานมาศาล โดยครั้งแรกจำเลยที่ 2 ขอเลื่อนคดี แต่วันนัดสืบพยานครั้งที่สองโจทก์นำพยานมาศาลผิดเวลาเพราะจดเวลานัดสืบพยานคลาดเคลื่อนไป เป็นข้ออ้างมีเหตุผลสมควร เพราะวันนัดสืบพยานครั้งแรกนัดสืบพยานเวลา 13.30 นาฬิกา ส่วนครั้งหลังนัดเวลา 9 นาฬิกา การที่โจทก์ไม่มาศาลตามเวลาในวันนัดสืบพยานโจทก์ดังกล่าวยังไม่พอถือว่าโจทก์ไม่มีพยานมาสืบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2612/2521
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิซื้อนาของผู้เช่าเมื่อมีการโอนกรรมสิทธิ์ แม้มีการเจรจาแต่ยังไม่ตกลงประนีประนอม สิทธิซื้อยังไม่ระงับ
น. ขายนาพิพาทให้แก่จำเลยโดยมิได้แจ้งการขายให้แก่โจทก์ซึ่งเป็นผู้เช่าทำนาทราบ โจทก์จึงมีสิทธิซื้อนาพิพาทจากจำเลยตามพระราชบัญญัติควบคุมการเช่านา พ.ศ.2517 มาตรา 41
โจทก์ร้องเรียนต่อกรมการอำเภอเพื่อขอซื้อนาพิพาทจากจำเลยกรมการอำเภอบันทึกเปรียบเทียบคดีไว้ว่า "ให้จำเลยขายนาพิพาทแก่โจทก์ จำเลยไม่ตกลงขายแต่ยินยอมให้โจทก์เช่านาทำต่อไป โจทก์ตกลง ถ้าโจทก์ประสงค์จะซื้อนาพิพาทก็ให้ไปฟ้องร้องต่อศาล "และบันทึกข้อตกลงของโจทก์จำเลยไว้ว่าโจทก์ตกลงเช่าทำนาต่อไป จำเลยยอมให้โจทก์เช่าทำนา แต่ยังไม่ยอมขายให้แก่โจทก์ตามราคาที่โจทก์เสนอ" ดังนี้บันทึกดังกล่าวมีแต่ข้อตกลงเรื่องการเช่านาพิพาทซึ่งแม้จะไม่มีข้อตกลงโจทก์ก็มีสิทธิเช่าจากจำเลย ไม่มีข้อตกลงเกี่ยวกับสิทธิของโจทก์ในเรื่องซื้อนาพิพาทและไม่มีข้อความใดแสดงให้เห็นว่าโจทก์สละสิทธิการซื้อนาพิพาทจากจำเลยแต่มีข้อความว่าถ้าโจทก์จะซื้อนาพิพาทก็ให้ไปฟ้องร้องยังศาล ทั้งตอนท้ายบันทึกยังมีว่าผลการเปรียบเทียบไม่อาจตกลงกันได้ตามความประสงค์ของโจทก์ทั้งหมด แสดงให้เห็นว่าสิทธิของโจทก์ที่จะซื้อนาพิพาทยังตกลงกันไม่ได้ และยังไม่ได้ตกลงประนีประนอมยอมความกัน จึงไม่ทำให้สิทธิของโจทก์ที่จะซื้อนาพิพาทระงับไป
โจทก์ร้องเรียนต่อกรมการอำเภอเพื่อขอซื้อนาพิพาทจากจำเลยกรมการอำเภอบันทึกเปรียบเทียบคดีไว้ว่า "ให้จำเลยขายนาพิพาทแก่โจทก์ จำเลยไม่ตกลงขายแต่ยินยอมให้โจทก์เช่านาทำต่อไป โจทก์ตกลง ถ้าโจทก์ประสงค์จะซื้อนาพิพาทก็ให้ไปฟ้องร้องต่อศาล "และบันทึกข้อตกลงของโจทก์จำเลยไว้ว่าโจทก์ตกลงเช่าทำนาต่อไป จำเลยยอมให้โจทก์เช่าทำนา แต่ยังไม่ยอมขายให้แก่โจทก์ตามราคาที่โจทก์เสนอ" ดังนี้บันทึกดังกล่าวมีแต่ข้อตกลงเรื่องการเช่านาพิพาทซึ่งแม้จะไม่มีข้อตกลงโจทก์ก็มีสิทธิเช่าจากจำเลย ไม่มีข้อตกลงเกี่ยวกับสิทธิของโจทก์ในเรื่องซื้อนาพิพาทและไม่มีข้อความใดแสดงให้เห็นว่าโจทก์สละสิทธิการซื้อนาพิพาทจากจำเลยแต่มีข้อความว่าถ้าโจทก์จะซื้อนาพิพาทก็ให้ไปฟ้องร้องยังศาล ทั้งตอนท้ายบันทึกยังมีว่าผลการเปรียบเทียบไม่อาจตกลงกันได้ตามความประสงค์ของโจทก์ทั้งหมด แสดงให้เห็นว่าสิทธิของโจทก์ที่จะซื้อนาพิพาทยังตกลงกันไม่ได้ และยังไม่ได้ตกลงประนีประนอมยอมความกัน จึงไม่ทำให้สิทธิของโจทก์ที่จะซื้อนาพิพาทระงับไป