คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
สีห์ คลายนสูตร

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 117 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1831/2522

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิครอบครองที่พิพาทเป็นเหตุให้ฎีกาฐานบุกรุกต้องห้าม และคดีแพ่งต้องอ้างอิงข้อเท็จจริงจากคดีอาญา
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยฐานบุกรุก ขอให้ขับไล่จำเลยและเรียกค่าเสียหาย ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ฟังข้อเท็จจริงต้องกันว่า โจทก์ไม่มีสิทธิครอบครองที่พิพาทการกระทำของจำเลยไม่เป็นความผิดฐานบุกรุกหรือละเมิดทางแพ่ง พิพากษายกฟ้อง ดังนี้ เป็นกรณีที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้องโจทก์โดยอาศัยข้อเท็จจริง จึงต้องห้ามฎีกาในความผิดฐานบุกรุกตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 220 ส่วนคดีทางแพ่งที่ขอให้ขับไล่จำเลยนั้น เป็นคดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญาในการพิพากษาคดีส่วนแพ่งศาลจำต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีส่วนอาญาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 46 ศาลฎีกาต้องฟังข้อเท็จจริงว่า โจทก์ไม่มีสิทธิครอบครองที่พิพาท จึงไม่มีสิทธิขับไล่และเรียกค่าเสียหายจากจำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1774/2522

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกบริษัทจำกัด: ศาลใช้ดุลพินิจพิจารณาเหตุผลประกอบการค้า, การถือหุ้น, และผลขาดทุน
การที่บริษัทจำกัดทำผิดวัตถุประสงค์ของบริษัท ก็ไม่ใช่เหตุที่จะปรับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1237 ที่จะให้ศาลสั่งเลิกบริษัทได้ และแม้บริษัทจะเริ่มประกอบการค้าเกิน 1 ปี นับแต่วันจดทะเบียนบริษัทก็ตามแต่มาตรา 1237 มิได้เป็นบทบังคับให้ศาลสั่งเลิกบริษัท เพียงแต่บัญยัติให้ศาลมีอำนาจใช้ดุลพินิจว่าสมควรสั่งให้เลิกบริษัทหรือไม่ เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่าเงินค่าหุ้นที่ผู้ถือหุ้นชำระให้บริษัทจำเลยด้วยเงินสดและเช็คส่วนใหญ่ โจทก์ที่ 8ซึ่งเป็นกรรมการรักษาเงินเป็นคนเก็บรักษาและไม่ยอมมอบให้บริษัทจำเลยดังนั้น ที่บริษัทจำเลยไม่เริ่มทำการค้าภายใน 1 ปี อาจเป็นเพราะบริษัทจำเลยไม่มีทุนดำเนินการค้า จึงยังไม่สมควรที่จะสั่งเลิกบริษัทจำเลย
แม้บริษัทจำเลยจะขาดทุนมาทุกปะ แต่เมื่อรวมยอดขาดทุนแล้วก็เพียงร้อยละ 12 ขแงจำนวนทุนทั้งหมด และเหตุที่ขาดทุนเป็นเพราะโจทก์ที่ 8 กับบริษัทจำเลยมีข้อพิพาทฟ้องร้องกัน และเงินค่าหุ้นส่วนใหญ่อยู่ที่โจทก์ที่ 8ซึ่งไม่ให้ความร่วมมือโดยกักเงินค่าหุ้นไว้ เมื่อบริษัทจำเลยเรียกให้ชำระค่าหุ้นฝ่ายโจทก์ก็ไม่ยอมชำระ บริษัทจำเลยจึงไม่มีทุนดำเนินการค้าได้เต็มที่ อย่างไรก็ดีบริษัทจำเลยได้ซื้อหุ้นของบริษัทอื่นเพื่อเป็นตัวแทนจำหน่ายสินค้าแสดงว่าบริษัทจำเลยยังมุ่งประกอบการค้าเพื่อให้ได้ผลกำไรอยู่ และมีลุ่ทางจะทำกำไรได้จึงย่อมไม่สมควรจะเลิกบริษัทจำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1747/2522

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การชำระดอกเบี้ยเกินอัตราที่กฎหมายกำหนด แม้เป็นความสมัครใจ แต่ไม่มีสิทธิเรียกคืน และประเด็นฟ้องซ้ำ
การชำระดอกเบี้ยเงินกู้ไปร้อยละ 2 ต่อเดือน แม้เป็นการฝ่าฝืนข้อห้ามตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 654 แต่ก็เป็นเรื่องที่ชำระหนี้ด้วยความสมัครใจ โดยรู้อยู่แล้วว่าตนไม่มีความผูกพันที่จะต้องชำระ จึงไม่มีสิทธิฟ้องเรียกคืน
คดีก่อนจำเลยเป็นโจทก์ฟ้องทายาทของผู้กู้(ซึ่งถึงแก่กรรม)เรียกต้นเงินและดอกเบี้ยตั้งแต่วันค้างชำระเงินต้นและดอกเบี้ยคือวันที่ 26 กรกฎาคม 2513 ทายาทยอมใช้เงินต้นที่ค้างและดอกเบี้ยตามฟ้อง ต่อมาทายาททราบว่าจำเลยได้รับชำระดอกเบี้ยไปก่อนวันที่ 26 กรกฎาคม 2513 จำนวนหนึ่งแล้ว จึงฟ้องเรียกเงินนั้นคืน ดังนี้ ไม่เป็นฟ้องซ้ำ เพราะมิใช่เป็นคดีที่มีประเด็นอย่างเดียวกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1713/2522

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตการอุทธรณ์ในปัญหาข้อกฎหมายและการวินิจฉัยข้อเท็จจริงของศาลชั้นต้น
โจทก์ฟ้องเรียกค่าซ่อมหม้อแปลงไฟฟ้าจากจำเลยเป็นเงิน 19,920 บาท โดยอ้างว่าหม้อแปลงชำรุดในระหว่างเวลารับประกันศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าจำเลยประกันจะซ่อมให้เมื่อหม้อแปลงชำรุดภายใน 180 วัน หม้อแปลงรายพิพาทชำรุดเมื่อพ้นเวลารับประกันแล้วจำเลยไม่ต้องรับผิดพิพากษายกฟ้องดังนี้ โจทก์จะอุทธรณ์ได้เฉพาะในปัญหาข้อกฎหมายและการวินิจฉัยข้อกฎหมายศาลอุทธรณ์จำต้องถือตามข้อเท็จจริงที่ศาลชั้นต้นฟังมาจากพยานหลักฐานในสำนวนที่โจทก์อุทธรณ์ในปัญหาข้อกฎหมายว่า โจทก์มีอำนาจฟ้อง และโจทก์มีสิทธินำสืบพยานว่าตามสัญญาซื้อขายจำเลยรับประกัน 5-10 ปีนั้นเมื่อศาลชั้นต้นได้วินิจฉัยพยานหลักฐานของทั้งสองฝ่ายแล้วฟังข้อเท็จจริงว่าจำเลยรับประกันเพียง 180 วัน หม้อแปลงรายพิพาทชำรุดเมื่อพ้นกำหนดเวลารับประกันแล้ว จำเลยไม่ต้องรับผิด ดังนั้น ปัญหาข้อกฎหมายที่โจทก์อุทธรณ์จึงไม่เป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัยที่ศาลอุทธรณ์พิพากษายกคำพิพากษาศาลชั้นต้นและให้พิจารณาพิพากษาใหม่ จึงไม่ชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1652/2522 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับคดียึดทรัพย์สินส่วนตัวของภรรยาที่เป็นหนี้ร่วม ศาลฎีกาตัดสินว่าโจทก์ไม่มีอำนาจยึด
สินส่วนตัวของภรรยาไม่ใช่ทรัพย์สินที่เป็นของภรรยา ซึ่งตามกฎหมายอาจถือได้ว่าเป็นทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคำพิพากษา หรือเป็นทรัพย์สินที่อาจบังคับเอาชำระหนี้ตามคำพิพากษาได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 282 วรรคท้าย
โจทก์มิได้ฟ้องผู้ร้องเป็นจำเลย ผู้ร้องมิได้เป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษาของโจทก์ แม้หนี้ที่จำเลยที่ 1 เป็นลูกหนี้โจทก์เป็นหนี้ร่วมระหว่างจำเลยที่ 1 กับผู้ร้อง โจทก์ก็ไม่มีอำนาจยึดที่พิพาท ซึ่งเป็นสินส่วนตัวของผู้ร้องเพื่อชำระหนี้แก่โจทก์ได้ (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 1039/2492)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1652/2522

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยึดทรัพย์สินส่วนตัวของภรรยาชำระหนี้สามี: ศาลฎีกาคุ้มครองทรัพย์สินส่วนตัว แม้เป็นหนี้ร่วม
สินส่วนตัวของภรรยาไม่ใช่ทรัพย์สินที่เป็นของภรรยาซึ่งตามกฎหมายอาจถือได้ว่าเป็นทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคำพิพากษา หรือเป็นทรัพย์สินที่อาจบังคับเอาชำระหนี้ตามคำพิพากษาได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 282 วรรคท้าย
โจทก์มิได้ฟ้องผู้ร้องเป็นจำเลย ผู้ร้องมิได้เป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษาชองโจทก์ แม้หนี้ที่จำเลยที่ 1 เป็นลูกหนี้โจทก์เป็นหนี้ร่วมระหว่างจำเลยที่ 1 กับผู้ร้องโจทก์ก็ไม่มีอำนาจยึดที่พิพาทซึ่งเป็นสินส่วนตัวของผู้ร้องเพื่อชำระหนี้แก่โจทก์ได้(อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 1039/2492)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1626/2522

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจทนายประนีประนอมยอมความ: ใบแต่งทนายต้องมีเจตนาตรงกัน หากทนายกระทำการนอกเหนือขอบเขต จำเลยมีสิทธิว่ากล่าวทนายต่างหาก
ใบแต่งทนายให้ทนายยอมความได้ จำเลยอุทธรณ์ว่าทนายกรอกข้อความเอาเองลงในใบแต่งทนายที่จำเลยลงลายมือชื่อให้ไว้ขัดต่อเจตนาของจำเลยที่กำหนดให้ดังนี้ เป็นกรณีที่จำเลยต้องว่ากล่าวกับทนายจำเลยเป็นอีกเรื่องหนึ่ง จะขอสืบพยานในคดีนี้โดยที่ศาลพิพากษาตามยอมแล้วไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1619/2522

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขายทอดตลาดที่ชอบด้วยกฎหมาย แม้ราคาต่ำกว่าประเมิน ไม่มีเหตุเพิกถอน หากไม่มีพฤติการณ์ไม่สุจริต
จำเลยทราบกำหนดวันขายทอดตลาดทรัพย์ดีแล้ว และขายได้ราคาสูงกว่าราคาประเมิน แม้ต่ำกว่าราคาปานกลาง ไม่มีพฤติการณ์ว่าไม่สุจริตไม่มีเหตุจะยกเลิกการขายทอดตลาด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1595/2522

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกระทำผิดฐานค้ามนุษย์โดยการหลอกลวงและข่มขืนกระทำชำเราถือเป็นกรรมเดียว
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยที่ 1 ที่ 2 ที่ 3 มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 283 วรรคแรก กระทงหนึ่งจำคุกคนละ 3 ปี ผิดตามมาตรา 320 วรรคแรก อีกกระทงหนึ่ง จำคุกคนละ 2 ปีจำเลยที่ 4 มีความผิดตามมาตรา 283,86 กระทงหนึ่ง จำคุก 2 ปีและผิดตามมาตรา 320,86 อีก กระทงหนึ่ง จำคุก 1 ปี 4 เดือน ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นว่า จำเลยที่ 3 มีความผิดตามมาตรา 283วรรคแรก และมาตรา 320 วรรคสอง ลงโทษตามมาตรา 283 วรรคแรกซึ่งเป็นบทหนักที่สุด จำคุก 3 ปี จำเลยที่ 1 ที่ 2 ที่ 4 มีความผิดตามมาตรา 283 วรรคสุดท้าย 320 วรรคสอง และมาตรา 86 ลงโทษตามมาตรา 283 วรรคแรก ซึ่งเป็นบทหนักที่สุด จำคุกจำเลยที่ 1 ที่ 2 คนละ 3 ปี จำเลยที่ 4 สองปี ดังนี้ศาลอุทธรณ์มิได้พิพากษาแก้บท ทั้งโทษที่ลงก็จำคุกไม่เกิน 5 ปี เป็นการแก้ไขเล็กน้อย จำเลย จะฎีกา โต้เถียงว่าไม่ได้กระทำผิดมิได้ ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218 (อ้าง คำพิพากษาฎีกาที่ 1588/2492 และ 2177/2520)
จำเลยใช้อุบายกล่าวหาโจทก์ร่วมว่ายักยอกทรัพย์เพื่อให้ โจทก์ร่วมจำนนต่อคดีในทางอาญาแล้วจูงใจให้โจทก์ร่วมไปทำงาน ที่ฮ่องกงเพื่อให้มีรายได้และให้พ้นคดีอาญาครั้นโจทก์ร่วมยอมไป ถึงฮ่องกง ก็มีผู้ชายมารับที่สนามบินไปควบคุมตัวไว้ไม่ให้หนี แล้วมีผู้ชายมารับโจทก์ร่วมไปข่มขืนกระทำชำเราตามโรงแรม ต่าง ๆ หลายครั้งดังนี้ เห็นเจตนาของจำเลย ได้ว่า หาได้จัด ส่งโจทก์ร่วมออกไปนอกราชอาณาจักรเพื่อการอย่างอื่นไม่เจตนา แท้จริงก็เพื่อให้สำเร็จความใคร่ของผู้อื่นประการเดียว การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดกรรมเดียว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1587/2522 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การชำระภาษีแทนบริษัทต่างประเทศไม่ใช่เงินได้พึงประเมินตามประมวลรัษฎากร
เงินค่าสิทธิในกรรมวิธีผลิตตามมาตรา 40 (3) และดอกเบี้ยเงินกู้ยืมตาม (5)(ก) กฎหมายบัญญัติว่าเป็นเงินได้พึงประเมิน ไม่ได้บัญญัติรวมถึงภาษีเงินได้ของเงินค่าสิทธิและดอกเบี้ยที่ผู้จ่ายเงินออกชำระแทนให้ผู้มีเงินได้อันจะถือว่าเป็นเงินได้พึงประเมิน เช่นที่บัญญัติไว้ชัดแจ้งในมาตรา 40 (1) และ (2) ฉะนั้น เงินที่โจทก์ชำระแทนบริษัทต่างประเทศเป็นค่าภาษีเงินได้ของเงินค่าสิทธิและดอกเบี้ยดังกล่าว จึงไม่ใช่เงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (3) และ (4)(ก)
โจทก์ชำระภาษีเงินได้ของเงินค่าสิทธิและดอกเบี้ยจำนวน 74,747,567.84 บาท แทนบริษัทต่างประเทศ เป็นเงิน 18,096,689.72 บาท เต็มจำนวนภาษีเงินได้ที่ต้องชำระแล้ว กรมสรรพากรจำเลยอ้างว่าหากโจทก์หักภาษีเงินได้จำนวนดังกล่าวออกบริษัทในต่างประเทศจะได้รับเงินค่าสิทธิและดอกเบี้ยไปเพียง 56,650,878.12 บาท แต่โจทก์ชำระภาษีเงินได้แทนเป็นเหตุให้บริษัทในต่างประเทศได้รับเงินค่าสิทธิและดอกเบี้ยเกินไปเท่ากับจำนวนภาษีเงินได้ที่โจทก์ชำระแทน เงินจำนวนนี้จึงถือเป็นส่วนหนึ่งของค่าสิทธิและดอกเบี้ยซึ่งโจทก์ผู้จ่ายเงินจะต้องรับผิดร่วมกับบริษัทในต่างประเทศชำระภาษีเงินได้ ดังนี้ รังฟังไม่ได้ เพราะโจทก์ได้ชำระภาษีเงินได้ของเงินค่าสิทธิและดอกเบี้ยจำนวน 74,747,767.84 บาท หาใช่ชำระภาษีเงินได้ของเงินค่าสิทธิและดอกเบี้ยจำนวน 56,650,878.12 บาทไม่ หากโจทก์จะต้องรับผิดชำระภาษีเงินได้อีกก็เป็นการชำระภาษีซ้ำซ้อน แม้ในกรณีนี้ถ้าโจกท์มิได้นำส่งภาษีเงินได้ทั้งมิได้ชำระภาษีเงินได้แทน โจทก์ก็คงต้องรับผิดร่วมกับบริษัทในต่างประเทศชำระภาษีเงินได้เท่าจำนวนที่มิได้หักและนำส่งตามมาตรา 54 วรรคแรกเท่านั้น
of 12