พบผลลัพธ์ทั้งหมด 117 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1587/2522 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การชำระภาษีแทนบริษัทต่างประเทศไม่ใช่เงินได้พึงประเมินตามประมวลรัษฎากร
เงินค่าสิทธิในกรรมวิธีผลิตตามมาตรา 40 (3) และดอกเบี้ยเงินกู้ยืมตาม (5)(ก) กฎหมายบัญญัติว่าเป็นเงินได้พึงประเมิน ไม่ได้บัญญัติรวมถึงภาษีเงินได้ของเงินค่าสิทธิและดอกเบี้ยที่ผู้จ่ายเงินออกชำระแทนให้ผู้มีเงินได้อันจะถือว่าเป็นเงินได้พึงประเมิน เช่นที่บัญญัติไว้ชัดแจ้งในมาตรา 40 (1) และ (2) ฉะนั้น เงินที่โจทก์ชำระแทนบริษัทต่างประเทศเป็นค่าภาษีเงินได้ของเงินค่าสิทธิและดอกเบี้ยดังกล่าว จึงไม่ใช่เงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (3) และ (4)(ก)
โจทก์ชำระภาษีเงินได้ของเงินค่าสิทธิและดอกเบี้ยจำนวน 74,747,567.84 บาท แทนบริษัทต่างประเทศ เป็นเงิน 18,096,689.72 บาท เต็มจำนวนภาษีเงินได้ที่ต้องชำระแล้ว กรมสรรพากรจำเลยอ้างว่าหากโจทก์หักภาษีเงินได้จำนวนดังกล่าวออกบริษัทในต่างประเทศจะได้รับเงินค่าสิทธิและดอกเบี้ยไปเพียง 56,650,878.12 บาท แต่โจทก์ชำระภาษีเงินได้แทนเป็นเหตุให้บริษัทในต่างประเทศได้รับเงินค่าสิทธิและดอกเบี้ยเกินไปเท่ากับจำนวนภาษีเงินได้ที่โจทก์ชำระแทน เงินจำนวนนี้จึงถือเป็นส่วนหนึ่งของค่าสิทธิและดอกเบี้ยซึ่งโจทก์ผู้จ่ายเงินจะต้องรับผิดร่วมกับบริษัทในต่างประเทศชำระภาษีเงินได้ ดังนี้ รังฟังไม่ได้ เพราะโจทก์ได้ชำระภาษีเงินได้ของเงินค่าสิทธิและดอกเบี้ยจำนวน 74,747,767.84 บาท หาใช่ชำระภาษีเงินได้ของเงินค่าสิทธิและดอกเบี้ยจำนวน 56,650,878.12 บาทไม่ หากโจทก์จะต้องรับผิดชำระภาษีเงินได้อีกก็เป็นการชำระภาษีซ้ำซ้อน แม้ในกรณีนี้ถ้าโจกท์มิได้นำส่งภาษีเงินได้ทั้งมิได้ชำระภาษีเงินได้แทน โจทก์ก็คงต้องรับผิดร่วมกับบริษัทในต่างประเทศชำระภาษีเงินได้เท่าจำนวนที่มิได้หักและนำส่งตามมาตรา 54 วรรคแรกเท่านั้น
โจทก์ชำระภาษีเงินได้ของเงินค่าสิทธิและดอกเบี้ยจำนวน 74,747,567.84 บาท แทนบริษัทต่างประเทศ เป็นเงิน 18,096,689.72 บาท เต็มจำนวนภาษีเงินได้ที่ต้องชำระแล้ว กรมสรรพากรจำเลยอ้างว่าหากโจทก์หักภาษีเงินได้จำนวนดังกล่าวออกบริษัทในต่างประเทศจะได้รับเงินค่าสิทธิและดอกเบี้ยไปเพียง 56,650,878.12 บาท แต่โจทก์ชำระภาษีเงินได้แทนเป็นเหตุให้บริษัทในต่างประเทศได้รับเงินค่าสิทธิและดอกเบี้ยเกินไปเท่ากับจำนวนภาษีเงินได้ที่โจทก์ชำระแทน เงินจำนวนนี้จึงถือเป็นส่วนหนึ่งของค่าสิทธิและดอกเบี้ยซึ่งโจทก์ผู้จ่ายเงินจะต้องรับผิดร่วมกับบริษัทในต่างประเทศชำระภาษีเงินได้ ดังนี้ รังฟังไม่ได้ เพราะโจทก์ได้ชำระภาษีเงินได้ของเงินค่าสิทธิและดอกเบี้ยจำนวน 74,747,767.84 บาท หาใช่ชำระภาษีเงินได้ของเงินค่าสิทธิและดอกเบี้ยจำนวน 56,650,878.12 บาทไม่ หากโจทก์จะต้องรับผิดชำระภาษีเงินได้อีกก็เป็นการชำระภาษีซ้ำซ้อน แม้ในกรณีนี้ถ้าโจกท์มิได้นำส่งภาษีเงินได้ทั้งมิได้ชำระภาษีเงินได้แทน โจทก์ก็คงต้องรับผิดร่วมกับบริษัทในต่างประเทศชำระภาษีเงินได้เท่าจำนวนที่มิได้หักและนำส่งตามมาตรา 54 วรรคแรกเท่านั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1584/2522
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยกอายุความในคดีมรดก: ศาลฎีกาวินิจฉัยประเด็นการต่อสู้เรื่องอายุความตามมาตรา 1754 และ 1710
จำเลยให้การว่าฟ้องของโจทก์ขาดอายุความ เพราะคดีนี้เป็นคดีเกี่ยวกับมรดกจำเลยเป็นทายาทตามพินัยกรรม โจทก์ฟ้องคดีเมื่อพ้นกำหนดหนึ่งปี เป็นคำให้การที่จำเลยประสงค์ยกอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1754 เป็นข้อต่อสู้ที่จำเลยให้การอีกข้อหนึ่งว่า โจทก์ขาดอำนาจฟ้องเพราะมิได้ฟ้องคดีภายในกำหนด 60 วัน ตามคำสั่งของนายอำเภอก็ยังไม่พอแปลได้ว่า จำเลยได้ยกอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1710 เป็นข้อต่อสู้คดีไม่มีประเด็นว่าฟ้องของโจทก์ขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1710
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1584/2522 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยกอายุความในคดีมรดก: จำเลยต้องอ้างอย่างชัดเจนตามกฎหมาย
จำเลยให้การว่าฟ้องของโจทก์ขาดอายุความ เพราะคดีนี้เป็นคดีเกี่ยวกับมรดก จำเลยเป็นทายาทตามพินัยกรรม โจทก์ฟ้องคดีเมื่อพ้นกำหนดหนึ่งปี เป็นคำให้การที่จำเลยประสงค์ยกอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1754 เป็นข้อต่อสู้ ที่จำเลยให้การอีกข้อหนึ่งว่าโจทก์ขาดอำนาจฟ้องเพราะมิได้ฟ้องคดีภายในกำหนด 60 วัน ตามคำสั่งของนายอำเภอ ก็ยังไม่พอแปลได้ว่า จำเลยได้ยกอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1710 เป็นข้อต่อสู้ คดีไม่มีประเด็นว่าฟ้องของโจทก์ขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1710
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1550/2522
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความภาษีเงินได้บริษัท, การประเมินภาษี, และการคืนเงินภาษีที่ชำระเกิน พร้อมดอกเบี้ย
ภาษีเงินได้บริษัทจำกัดถึงกำหนดชำระ 150 วัน จากครบรอบระยะบัญชีแต่ละปี อายุความ 10 ปี ตาม มาตรา 167 นับตั้งแต่วันนั้น ครบ 150 วัน จากรอบปีบัญชี 30 พ.ค.2496 กรมสรรพากรแจ้งการประเมินภาษีเพิ่ม 26 ธ.ค.2505 ไม่เกิน 10 ปี ถือเสมือนฟ้องคดีตาม มาตรา 173 แล้ว โดยเป็นการใช้สิทธิตาม ป.รัษฎากร มาตรา 12 โดยไม่ต้องฟ้อง การแจ้งผลวินิจฉัยอุทธรณ์หลังจากนั้นไม่ขาดอายุความ
เงินเดือนพนักงานของโจทก์ที่สำนักงานภาคส่งเข้ามาสอนพนักงานสาขาในประเทศ เป็นรายจ่ายที่หักได้ จึงต้องคืนเงินนี้แก่บริษัทโจทก์รวมกับดอกเบี้ย ตาม มาตรา 224 ไม่มีกฎหมายให้กรมสรรพากรเอาเป็นเครดิตสำหรับภาษีปีต่อไปเหมือนชำระภาษีล่วงหน้าตาม มาตรา 18ทวิ 20ทวิ และหักกลบลบหนี้ไม่ได้เพราะยังมีข้อต่อสู้ อายุความเรียกเงินคืนมิใช่ลาภมิควรได้ จึงไม่ใช่ 1 ปี ตาม มาตรา 419
เงินเดือนพนักงานของโจทก์ที่สำนักงานภาคส่งเข้ามาสอนพนักงานสาขาในประเทศ เป็นรายจ่ายที่หักได้ จึงต้องคืนเงินนี้แก่บริษัทโจทก์รวมกับดอกเบี้ย ตาม มาตรา 224 ไม่มีกฎหมายให้กรมสรรพากรเอาเป็นเครดิตสำหรับภาษีปีต่อไปเหมือนชำระภาษีล่วงหน้าตาม มาตรา 18ทวิ 20ทวิ และหักกลบลบหนี้ไม่ได้เพราะยังมีข้อต่อสู้ อายุความเรียกเงินคืนมิใช่ลาภมิควรได้ จึงไม่ใช่ 1 ปี ตาม มาตรา 419
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1515/2522
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องเรียกค่าซื้อเชื่อ: การรับสภาพหนี้ภายในอายุความ vs. หลังขาดอายุความ และผลต่อการสะดุดหยุดอายุความ
พ่อค้าฟ้องเรียกค่าซื้อเชื่อปุ๋ยอายุความ 2 ปี ตาม มาตรา 165(1)ผู้ซื้อทำหนังสือรับสภาพหนี้เมื่อ 1 มิถุนายน 2513 ก่อนขาดอายุความว่าจะใช้หนี้ภายใน 30 พฤศจิกายน 2513 ไม่ใช่รับสภาพหนี้โดยสัญญา เมื่อขาดอายุความแล้วอายุความ 2 ปี นับใหม่ตั้งแต่ 1 ธันวาคม 2513 โจทก์ฟ้องเมื่อ 22 มิถุนายน 2520 ขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1510/2522
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนี้จากการจำนองที่ดินสินสมรสเพื่อปรนเปรอภริยาน้อย ไม่เป็นหนี้ร่วม และสามีต้องจ่ายค่าอุปการะเลี้ยงดู
สามีเอาที่ดินสินสมรสไปจำนองธนาคารเอาเงินไปปรนเปรอภริยาน้อยหนี้นี้ไม่เป็นหนี้ร่วมตามมาตรา 1482(1) ที่ใช้อยู่ในขณะนั้น
สามีแพ้คดีที่ภริยาฟ้องหย่าโดยเหตุที่สามีต้องรับผิดฝ่ายเดียว ภริยาไม่มีรายได้ สามีต้องจ่ายค่าอุปการะเลี้ยงดูตามฐานะของภริยา และความสามารถของสามี ตามมาตรา 1506, 1508 ซึ่งใช้อยู่ในขณะนั้น
สามีแพ้คดีที่ภริยาฟ้องหย่าโดยเหตุที่สามีต้องรับผิดฝ่ายเดียว ภริยาไม่มีรายได้ สามีต้องจ่ายค่าอุปการะเลี้ยงดูตามฐานะของภริยา และความสามารถของสามี ตามมาตรา 1506, 1508 ซึ่งใช้อยู่ในขณะนั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1398/2522
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องคดีอาญาโดยทนายลงชื่อแทนโจทก์: ฟ้องไม่ชอบตามกฎหมาย, ฎีกาไม่ชอบด้วยประมวลวิธีพิจารณาความอาญา
ชั้นไต่สวนมูลฟ้องศาลยกฟ้องโจทก์ เพราะเห็นว่าคดีโจทก์ไม่มีมูล โจทก์อุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์เห็นว่าทนายลงชื่อในฟ้องแทนโจทก์ เป็นฟ้องที่ไม่ชอบ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158(7) พิพากษายืน โจทก์ฎีกาขอให้ศาลฎีกามีคำสั่งหรือคำพิพากษาให้ศาลชั้นต้นสั่งให้โจทก์แก้ฟ้องให้ถูกต้อง โดยให้โจทก์ลงลายมือชื่อในคำฟ้อง และประทับรับฟ้องของโจทก์ไว้พิจารณาพิพากษาต่อไป ดังนี้ เป็นฎีกาที่มิได้ยกเหตุขึ้นคัดค้านข้อชี้ขาดของคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ ว่าไม่ถูกต้องอย่างใด จึงเป็นฎีกาที่ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 216 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1398/2522 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องที่ไม่ชอบเนื่องจากทนายลงชื่อแทนโจทก์ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยฎีกาที่ไม่คัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์
ชั้นไต่สวนมูลฟ้องยกฟ้องโจทก์เพราะเห็นว่าคดีโจทก์ไม่มีมูล โจทก์อุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์เห็นว่าทนายลงชื่อในฟ้องแทนโจทก์เป็นฟ้องที่ไม่ชอบ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158 (7) พิพากษายืน โจทก์ฎีกาขอให้ศาลฎีกามีคำสั่งหรือคำพิพากษาให้ศาลชั้นต้นสั่งให้โจทก์แก้ฟ้องให้ถูกต้องโดยให้โจทก์ลงลายมือชื่อในคำฟ้องและประทับรับฟ้องของโจทก์ไว้พิจารณาพิพากษาต่อไป ดังนี้ เป็นฎีกาที่มิได้ยกเหตุขึ้นคัดค้านข้อชี้ขาดของคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ว่าไม่ถูกต้องอย่างใด จึงเป็นฎีกาที่ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 216 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1332/2522
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประนีประนอมยอมความที่ไม่สมบูรณ์และผลกระทบต่อการพิจารณาคดี
ระหว่างส่งประเด็นไปสืบพยานที่ศาลอื่นโจทก์และจำเลยร่วมกันยื่นคำร้องว่าโจทก์และจำเลยตกลงกันได้แล้ว โดยจำเลยยอมชำระเงินให้โจทก์ 30,000 บาท ภายใน 3 ปี ขอให้ศาลเรียกสำนวนคืนมาทำสัญญาประนีประนอมยอมความ แต่ในนัดต่อ ๆ มาปรากฏว่าโจทก์จำเลยตกลงประนีประนอมยอมความกันไม่ได้ศาลได้ดำเนินการพิจารณาต่อมา ดังนี้ คำร้องดังกล่าวหาเป็นการผูกพันโจทก์ไม่ศาลจะถือว่าได้สละประเด็นอื่น ๆ ทั้งสิ้นแล้วจึงพิพากษาให้จำเลยใช้เงินแก่โจทก์ 30,000 บาท ในกำหนด 3 ปี หาได้ไม่ 2 หมายเหตุ มาจากสหกรณ์ขาดข้อมูลหลักกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1312/2522
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาชำระหนี้ด้วยทรัพย์มรดก: ผลผูกพันผู้จัดการมรดกและอายุความ
ทายาททุกคนทำสัญญาตกลงยกที่ดินมรดกบางส่วนให้แก่โจทก์เพื่อเป็นการชำระหนี้ของผู้ตาย โดยโจทก์มิได้เป็นคู่สัญญาด้วย จึงเป็นการทำสัญญาเพื่อชำระหนี้แก่โจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอก โจทก์ลงชื่อรับทราบสัญญาในช่องพยานและยึดถือสัญญานั้นไว้ ประกอบกับได้บอกกล่าวจำเลย ซึ่งเป็นทายาทและผู้จัดการมรดกให้โอนที่ดินนั้นให้แก่โจทก์ตามสัญญาแล้ว ถือได้ว่าโจทก์ได้แสดงเจตนาแก่จำเลยที่จะถือเอาประโยชน์จากสัญญานั้น ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 374 จำเลยต้องโอนที่ดินนั้นให้แก่โจทก์และทายาทจะเปลี่ยนแปลงแก้ไขสัญญานั้นไม่ได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 375
โจทก์ฟ้องจำเลยในฐานะผู้จัดการมรดก ให้โอนที่ดินตามสัญญาที่ทายาทตกลงยกให้โจทก์เพื่อเป็นการชำระหนี้ เป็นการฟ้องบังคับให้ปฏิบัติตามสัญญา มิใช่เป็นการฟ้องคดีมรดกอันอยู่ในบังคับจะต้องฟ้องภายในหนึ่งปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1754
โจทก์ฟ้องจำเลยในฐานะผู้จัดการมรดก ให้โอนที่ดินตามสัญญาที่ทายาทตกลงยกให้โจทก์เพื่อเป็นการชำระหนี้ เป็นการฟ้องบังคับให้ปฏิบัติตามสัญญา มิใช่เป็นการฟ้องคดีมรดกอันอยู่ในบังคับจะต้องฟ้องภายในหนึ่งปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1754