พบผลลัพธ์ทั้งหมด 117 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 581/2523 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประกวดราคา การเปลี่ยนแปลงราคาหลังยื่นซอง และสิทธิในการริบเงินมัดจำ
แจ้งความประกาศให้ผู้ประสงค์รับเหมาก่อสร้างงานยื่นซองประกวดราคาเป็นคำเชื้อเชิญ และข้อความซึ่งระบุไว้ในแจ้งความว่า ราคาที่ผู้รับเหมายื่นซองประกวดราคาจะไม่เปลี่ยนแปลงภายในกำหนด 60 วัน นับแต่วันยื่นซองประกวดราคา ก็เป็นเงื่อนไขที่บังคับไม่ให้โจทก์ผู้ยื่นซองประกวดราคาเปลี่ยนแปลงราคาค่ารับเหมาก่อสร้างภายในกำหนดเวลาดังกล่าว โจทก์ทราบเงื่อนไขจึงยื่นซองประกวดราคารับเหมาก่อสร้างงานรายนี้ซึ่งเป็นคำเสนอ และตกลงจะไม่เปลี่ยนแปลงราคารับเหมาก่อสร้างภายใน 60 วัน นับแต่วันยื่นซองประกวดราคา ก็ไม่ทำให้คำเสนอของโจทก์เป็นคำเสนอที่มีข้อจำกัด ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 359 วรรคสอง
เมื่อข้อความในประกาศแจ้งความของจำเลยระบุให้ผู้ประกวดราคาได้ต้องเข้าทำสัญญาภายในเวลาที่กำหนด เห็นได้ว่าสัญญาอันจะมุ่งทำนั้นจะต้องทำเป็นหนังสือตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 366 วรรคท้าย เมื่อโจทก์ผู้ประกวดราคาได้ไม่ไปลงนามในสัญญาตามกำหนด จึงเป็นเงื่อนไขที่ทำให้จำเลยมีสิทธิริบเงินประจำซองได้ตามที่ระบุไว้ในประกาศแจ้งความ
เมื่อข้อความในประกาศแจ้งความของจำเลยระบุให้ผู้ประกวดราคาได้ต้องเข้าทำสัญญาภายในเวลาที่กำหนด เห็นได้ว่าสัญญาอันจะมุ่งทำนั้นจะต้องทำเป็นหนังสือตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 366 วรรคท้าย เมื่อโจทก์ผู้ประกวดราคาได้ไม่ไปลงนามในสัญญาตามกำหนด จึงเป็นเงื่อนไขที่ทำให้จำเลยมีสิทธิริบเงินประจำซองได้ตามที่ระบุไว้ในประกาศแจ้งความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 581/2523
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประกวดราคา: เงื่อนไขการยืนราคาและการริบเงินมัดจำเมื่อไม่ทำสัญญา
แจ้งความประกาศให้ผู้ประสงค์รับเหมาก่อสร้างงานยื่นซองประกวดราคาเป็นคำเชื้อเชิญ และข้อความซึ่งระบุไว้ในแจ้งความว่า ราคาที่ผู้รับเหมายื่นซองประกวดราคาจะไม่เปลี่ยนแปลงภายในกำหนด 60 วัน นับแต่วันยื่นซองประกวดราคาก็เป็นเงื่อนไขที่บังคับไม่ให้โจทก์ ผู้ยื่นซองประกวดราคาเปลี่ยนแปลงราคาค่ารับเหมาก่อสร้างภายในกำหนดเวลาดังกล่าว โจทก์ทราบเงื่อนไขจึงยื่นซองประกวดราคารับเหมาก่อสร้างงานรายนี้ซึ่งเป็นคำเสนอ และตกลงจะไม่เปลี่ยนแปลงราคารับเหมาก่อสร้างภายใน 60 วันนับแต่วันยื่นซองประกวดราคา ก็ไม่ทำให้คำเสนอของโจทก์เป็นคำเสนอที่มีข้อจำกัด ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 359 วรรคสอง
เมื่อข้อความในประกาศแจ้งความของจำเลยระบุให้ผู้ประกวดราคาได้ต้องเข้าทำสัญญาภายในเวลาที่กำหนด เห็นได้ว่าสัญญาอันจะมุ่งทำนั้นจะต้องทำเป็นหนังสือตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 366 วรรคท้ายเมื่อโจทก์ผู้ประกวดราคาได้ไม่ไปลงนามในสัญญาตามกำหนด จึงเป็นเงื่อนไขที่ทำให้จำเลยมีสิทธิริบเงินประจำซองได้ตามที่ระบุไว้ในประกาศแจ้งความ
เมื่อข้อความในประกาศแจ้งความของจำเลยระบุให้ผู้ประกวดราคาได้ต้องเข้าทำสัญญาภายในเวลาที่กำหนด เห็นได้ว่าสัญญาอันจะมุ่งทำนั้นจะต้องทำเป็นหนังสือตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 366 วรรคท้ายเมื่อโจทก์ผู้ประกวดราคาได้ไม่ไปลงนามในสัญญาตามกำหนด จึงเป็นเงื่อนไขที่ทำให้จำเลยมีสิทธิริบเงินประจำซองได้ตามที่ระบุไว้ในประกาศแจ้งความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2911/2522 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเวนคืนที่ดินเพื่อสร้างทางหลวงและสิ่งอุปกรณ์ การตีความคำว่า 'ทางหลวง' ตามประกาศของคณะปฏิวัติ
ประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 295 ลงวันที่ 28 พฤศจิกายน 2515 ข้อ 2 บัญญัติว่า ทางหลวง หมายความรวมถึงอาคารหรือสิ่งอื่นอันเป็นอุปกรณ์งานทางบรรดาที่ได้จัดไว้ในเขตทางหลวงและเพื่อประโยชน์แก่งานทางนั้นด้วย ดังนั้น ที่ทำการพัสดุทางหลวง ซึ่งจำเลยปลูกสร้างลงในที่พิพาทเป็นอาคารที่เก็บสิ่งของวัสดุที่ใช้ในกิจการงานทางเพื่อประโยชน์แก่ทางหลวงแผ่นดินสายธนบุรี - ปากท่อ จึงอยู่ในความหมายของคำว่า ทางหลวงตามบทนิยามข้างต้นคำว่าเขตทางหลวงตามบทนิยามย่อมมีความหมายครอบคลุมถึงเขตที่ดินที่สร้างพัสดุทางหลวงด้วย หาใช่เฉพาะเขตที่ดินที่ใช้สร้างทางเพื่อการจราจรไม่ การเวนคืนที่พิพาทในเขตโฉนดของโจทก์จึงเป็นไปโดยชอบตามประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 225 ลงวันที่ 14 ตุลาคม 2515 ข้อ 1 แล้ว โจทก์ไม่มีสิทธิฟ้องเอาคืน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2911/2522
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเวนคืนที่ดินเพื่อสร้างทางหลวงรวมถึงสิ่งอุปกรณ์งานทาง การเวนคืนชอบด้วยกฎหมาย
ประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 295 ลงวันที่ 28 พฤศจิกายน 2515 ข้อ 2 บัญญัติว่า ทางหลวง หมายความถึงอาคารหรือสิ่งอื่นอันเป็นอุปกรณ์งานทางบรรดาที่ได้จัดไว้ในเขตทางหลวงและเพื่อประโยชน์แก่งานทางนั้นด้วย ดังนั้น ที่ทำการพัสดุทางหลวงซึ่งจำเลยเคยปลูกสร้างลงในที่พิพาทเป็นอาคารที่เก็บของวัสดุที่ใช้ในกิจการงานทางเพื่อประโยชน์แก่ทางหลวงแผ่นดินสายธนบุรี - ปากท่อ จึงอยู่ในความปลอดภัยของคำว่า ทางหลวงตามบทนิยามข้างต้นคำว่าเขตทางหลวงตามบทนิยมย่อมมีความหมายครอบคลุมถึงเขตที่ดินที่สร้างพัสดุทางหลวงด้วย หาใช่เฉพาะเขตที่ดินที่ใช้สร้างทางเพื่อการจราจรไม่ การเวนคืนที่พิพาทในเขตโฉนดของโจทก์จึงเป็นไปโดยชอบตามประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 225 ลงวันที่ 14 ตุลาคม 2515 ข้อ 1 แล้ว โจทก์ไม่มีสิทธิฟ้องเอาคืน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2861/2522
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การปล่อยตัวผู้ต้องกักขังและสับเปลี่ยนตัวผู้ต้องหา เจ้าหน้าที่ความผิดมาตรา 157 แต่ไม่ผิดมาตรา 367 หากไม่ถูกสอบถามชื่อ
นายสิบและพลตำรวจควบคุมผู้ต้องกักขังตามคำสั่งนายตำรวจปล่อยผู้ต้องกักขังเหล่านั้นเปลี่ยนตัวผู้อื่นแทน เป็นความผิดตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157,191 กรรมเดียว ลงโทษตาม มาตรา 157 บทหนัก
ตำรวจไม่บอกชื่อผู้ต้องขังที่เข้ามาเปลี่ยนแทนตัวผู้ที่ตนปล่อยไปแก่นายตำรวจที่มารับตัวผู้ต้องขัง ไม่ใช่ผู้ที่ถูกนายตำรวจถามชื่อ จึงไม่มีความผิดตาม มาตรา 367
ตำรวจไม่บอกชื่อผู้ต้องขังที่เข้ามาเปลี่ยนแทนตัวผู้ที่ตนปล่อยไปแก่นายตำรวจที่มารับตัวผู้ต้องขัง ไม่ใช่ผู้ที่ถูกนายตำรวจถามชื่อ จึงไม่มีความผิดตาม มาตรา 367
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2802/2522
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาขายฝากโดยสมัครใจ ไม่ใช่นิติกรรมอำพรางสัญญาจำนอง แม้ดอกเบี้ยเกินกว่ากฎหมายกำหนด
เดิมโจทก์มีเจตนาจะทำสัญญาจำนอง แต่เมื่อจำเลยไม่ตกลงด้วย และให้ทำสัญญาขายฝาก โจทก์ก็ตกลงยินยอม เช่นนี้ ถือว่าโจทก์ทำสัญญาขายฝากโดยความสมัครใจเอง มิใช่เกิดจากเจตนาลวง และมิใช่นิติกรรมอำพรางสัญญาจำนอง แม้จำเลยจะคิดผลประโยชน์ในการรับซื้อฝากโดยเรียกเท่ากับดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 1 บาท 75 สตางค์ต่อเดือน เป็นอัตราเกินกว่ากฎหมายกำหนดในการเรียกดอกเบี้ยก็ตาม แต่เมื่อนำผลประโยชน์ที่เรียกมารวมกับเงินค่ารับซื้อฝากที่จำเลยให้โจทก์ไปแล้วย่อมกลายเป็นสินไถ่ซึ่งในสัญญาขายฝาก คู่สัญญาจะกำหนดสินไถ่โดยเรียกผลประโยชน์รวมไปกับเงินต้นเท่าใดก็ได้ โดย ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 499 อนุญาตไว้ และคู่สัญญาย่อมตกลงผ่อนชำระสินไถ่กันได้ การผ่อนชำระเงินต้นของโจทก์ย่อมมีผลเท่ากับผ่อนชำระสินไถ่บางส่วนนั่นเอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2800/2522
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสนับสนุนความผิดทางอาญาต้องมีตัวการ หากไม่มีตัวการ ผู้ช่วยเหลือจึงไม่มีความผิด
การสนับสนุนการกระทำความผิดตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 86 นั้นจะต้องมีผู้อื่นเป็นตัวการในการกระทำผิด หากเป็นกรณีที่ไม่มีตัวการกระทำผิดในความผิดดังกล่าว ผู้ช่วยเหลือหรือให้ความสะดวกในความผิดนั้น ก็ย่อมไม่มีความผิดในฐานเป็นผู้สนับสนุน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2789/2522 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อตกลงซื้อคืนที่ดินหลังขายฝาก: โมฆะเพราะขัดมาตรา 496 (ขยายเวลาไถ่)
โจทก์ฟ้องว่าโจทก์จดทะเบียนขายฝากที่ดินไว้กับจำเลยในราคา 70,000 บาท กำหนดไถ่คืนใน 1 ปี ก่อนครบกำหนดไถ่ถอนโจทก์กับจำเลยตกลงกันว่า ถ้าที่ดินหลุดเป็นสิทธิแก่จำเลยแล้ว หากโจทก์ยอมเสียดอกเบี้ยให้แก่จำเลย จำเลยยอมให้โจทก์ซื้อที่ดินดังกล่าวคืนในราคา 70,000 บาท โจทก์ได้ชำระดอกเบี้ยให้จำเลยแล้วแต่จำเลยไม่ยอมให้ซื้อที่ดินคืน ดังนี้ แม้จะจริงดังที่โจทก์อ้าง ข้อตกลงดังกล่าวก็เป็นโมฆะ เพราะเท่ากับเป็นการขยายไถ่ทรัพย์สิน ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 496 โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องบังคับจำเลยให้ขายที่ดินคืนแก่โจทก์ตามข้อตกลงนั้น
ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนเมื่อศาลเห็นสมควรก็หยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้
ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนเมื่อศาลเห็นสมควรก็หยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2789/2522
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อตกลงซื้อคืนที่ดินหลังสัญญาขายฝากเป็นโมฆะ หากขัดต่อกฎหมายขยายเวลาไถ่ทรัพย์สิน
โจทก์ฟ้องว่าโจทก์จดทะเบียนขายฝากที่ดินไว้กับจำเลยในราคา 70,000 บาท กำหนดไถ่คืนใน 1 ปี ก่อนครบกำหนดไถ่ถอนโจทก์กับจำเลยตกลงกันว่า ถ้าที่ดินหลุดเป็นสิทธิแก่จำเลยแล้ว หากโจทก์ยอมเสียดอกเบี้ยให้แก่จำเลยจำเลยยอมให้โจทก์ซื้อที่ดินดังกล่าวคืนในราคา 70,000 บาท โจทก์ได้ชำระดอกเบี้ยให้จำเลยแล้ว แต่จำเลยไม่ยอมให้ซื้อที่ดินคืน ดังนี้ แม้จะจริงดังที่โจทก์อ้างข้อตกลงดังกล่าวก็เป็นโมฆะ เพราะเท่ากับเป็นการขยายเวลาไถ่ทรัพย์สิน ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 496 โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องบังคับจำเลยให้ขายที่ดินคืนแก่โจทก์ตามข้อตกลงนั้น
ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน เมื่อศาลเห็นสมควรก็หยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้
ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน เมื่อศาลเห็นสมควรก็หยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2752/2522
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาซื้อขายน้ำมัน: การตีความราคารวมภาษี และขอบเขตการคิดราคาเพิ่มตามราคาตลาดโลก
กรณีที่ข้อความในสัญญาซื้อขายชัดแจ้งแล้ว ก็ไม่จำต้อง สืบพยานประกอบเพื่อตีความถึงความประสงค์ของคู่สัญญา และปกติประเพณีอีก
การตีความสัญญาซื้อขายผลิตภัณฑ์ปิโตรเลี่ยม
การตีความสัญญาซื้อขายผลิตภัณฑ์ปิโตรเลี่ยม