คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ภักดิ์ บุณย์ภักดี

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 226 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1398/2522

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องคดีอาญาโดยทนายลงชื่อแทนโจทก์: ฟ้องไม่ชอบตามกฎหมาย, ฎีกาไม่ชอบด้วยประมวลวิธีพิจารณาความอาญา
ชั้นไต่สวนมูลฟ้องศาลยกฟ้องโจทก์ เพราะเห็นว่าคดีโจทก์ไม่มีมูล โจทก์อุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์เห็นว่าทนายลงชื่อในฟ้องแทนโจทก์ เป็นฟ้องที่ไม่ชอบ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158(7) พิพากษายืน โจทก์ฎีกาขอให้ศาลฎีกามีคำสั่งหรือคำพิพากษาให้ศาลชั้นต้นสั่งให้โจทก์แก้ฟ้องให้ถูกต้อง โดยให้โจทก์ลงลายมือชื่อในคำฟ้อง และประทับรับฟ้องของโจทก์ไว้พิจารณาพิพากษาต่อไป ดังนี้ เป็นฎีกาที่มิได้ยกเหตุขึ้นคัดค้านข้อชี้ขาดของคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ ว่าไม่ถูกต้องอย่างใด จึงเป็นฎีกาที่ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 216 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1332/2522

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประนีประนอมยอมความที่ไม่สมบูรณ์และผลกระทบต่อการพิจารณาคดี
ระหว่างส่งประเด็นไปสืบพยานที่ศาลอื่นโจทก์และจำเลยร่วมกันยื่นคำร้องว่าโจทก์และจำเลยตกลงกันได้แล้ว โดยจำเลยยอมชำระเงินให้โจทก์ 30,000 บาท ภายใน 3 ปี ขอให้ศาลเรียกสำนวนคืนมาทำสัญญาประนีประนอมยอมความ แต่ในนัดต่อ ๆ มาปรากฏว่าโจทก์จำเลยตกลงประนีประนอมยอมความกันไม่ได้ศาลได้ดำเนินการพิจารณาต่อมา ดังนี้ คำร้องดังกล่าวหาเป็นการผูกพันโจทก์ไม่ศาลจะถือว่าได้สละประเด็นอื่น ๆ ทั้งสิ้นแล้วจึงพิพากษาให้จำเลยใช้เงินแก่โจทก์ 30,000 บาท ในกำหนด 3 ปี หาได้ไม่ 2 หมายเหตุ มาจากสหกรณ์ขาดข้อมูลหลักกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1312/2522 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การชำระหนี้ด้วยทรัพย์มรดก: เจตนาถือเอาประโยชน์จากสัญญา และการฟ้องบังคับตามสัญญา
ทายาททุกคนทำสัญญาตกลงยกที่ดินมรดกบางส่วนให้แก่โจทก์เพื่อเป็นการชำระหนี้ของผู้ตาย โดยโจทก์มิได้เป็นคู่สัญญาด้วย จึงเป็นการทำสัญญาเพื่อชำระหนี้แก่โจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอก โจทก์ลงชื่อรับทราบสัญญาในช่องพยานและยึดถือสัญญานั้นไว้ ประกอบกับได้บอกกล่าวจำเลยซึ่งเป็นทายาท และผู้จัดการมรดกให้โอนที่ดินนั้นให้แก่โจทก์ตามสัญญาแล้ว ถือได้ว่าโจทก์ได้แสดงเจตนาแก่จำเลยที่จะถือเอาประโยชน์จากสัญญานั้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 374 จำเลยต้องโอนที่ดินนั้นให้แก่โจทก์และทายาทจะเปลี่ยนแปลงแก้ไขสัญญานั้นไม่ได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 375
โจทก์ฟ้องจำเลยในฐานะผู้จัดการมรดก ให้โอนที่ดินตามสัญญาที่ทายาทตกลงยกให้โจทก์เพื่อเป็นการชำระหนี้ เป็นการฟ้องบังคับให้ปฏิบัติตามสัญญา มิใช่เป็นการฟ้องคดีมรดกอันอยู่ในบังคับจะต้องฟ้องภายในหนึ่งปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1754

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1312/2522

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาชำระหนี้ด้วยทรัพย์มรดก: ผลผูกพันผู้จัดการมรดกและอายุความ
ทายาททุกคนทำสัญญาตกลงยกที่ดินมรดกบางส่วนให้แก่โจทก์เพื่อเป็นการชำระหนี้ของผู้ตาย โดยโจทก์มิได้เป็นคู่สัญญาด้วย จึงเป็นการทำสัญญาเพื่อชำระหนี้แก่โจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอก โจทก์ลงชื่อรับทราบสัญญาในช่องพยานและยึดถือสัญญานั้นไว้ ประกอบกับได้บอกกล่าวจำเลย ซึ่งเป็นทายาทและผู้จัดการมรดกให้โอนที่ดินนั้นให้แก่โจทก์ตามสัญญาแล้ว ถือได้ว่าโจทก์ได้แสดงเจตนาแก่จำเลยที่จะถือเอาประโยชน์จากสัญญานั้น ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 374 จำเลยต้องโอนที่ดินนั้นให้แก่โจทก์และทายาทจะเปลี่ยนแปลงแก้ไขสัญญานั้นไม่ได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 375
โจทก์ฟ้องจำเลยในฐานะผู้จัดการมรดก ให้โอนที่ดินตามสัญญาที่ทายาทตกลงยกให้โจทก์เพื่อเป็นการชำระหนี้ เป็นการฟ้องบังคับให้ปฏิบัติตามสัญญา มิใช่เป็นการฟ้องคดีมรดกอันอยู่ในบังคับจะต้องฟ้องภายในหนึ่งปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1754

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1274/2522 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผลผูกพันคำพิพากษาถึงที่สุดในคดีอื่น และการพิจารณาประเด็นนอกฟ้องในคดีแพ่งเกี่ยวกับพินัยกรรม
โจทก์ฟ้องว่าพินัยกรรมของ อ. ซึ่งยกทรัพย์มรดกให้จำเลยเป็นพินัยกรรมปลอมให้จำเลยแบ่งมรดกของ อ. ให้แก่โจทก์กึ่งหนึ่ง ปรากฏว่าอีกคดีหนึ่งซึ่งจำเลยร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกของ อ. ตามพินัยกรรม และโจทก์คัดค้านว่าเป็นพินัยกรรมปลอมนั้น คดีถึงที่สุดโดยศาลฎีกาพิพากษายืนตามศาลล่างว่า มิใช่พินัยกรรมปลอม คำพิพากษาดังกล่าวย่อมผูกพันคู่ความในคดีนี้ด้วยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 145 ดังนั้น ในคดีนี้โจทก์จะกล่าวอ้างว่าพินัยกรรมดังกล่าวเป็นพินัยกรรมปลอมหาได้ไม่
แม้พินัยกรรมจะมิได้ลงชื่อผู้พิมพ์พินัยกรรมตามมาตรา 1671 ก็ตาม หาก อ. ผู้ทำพินัยกรรมเป็นผู้จัดพิมพ์พินัยกรรมเองก็ไม่จำต้องลงชื่อระบุว่า เป็นผู้พิมพ์พินัยกรรมตามมาตรา ดังกล่าว ทั้งพินัยกรรมที่มิได้ลงชื่อผู้พิมพ์ก็หาทำให้พินัยกรรมเป็นโมฆะไม่ เพราะมาตรา 1705 หาได้บัญญัติให้พินัยกรรมที่ทำไม่ถูกต้องตามมาตรา 1671 เป็นโมฆะด้วยไม่
แม้พินัยกรรมจะมิได้ลงชื่อผู้พิมพ์พินัยกรรมตามมาตรา 1671 ก็ตาม หาก อ. ผู้ทำพินัยกรรมเป็นผู้จัดพิมพ์พินัยกรรมเองก็ไม่จำต้องลงชื่อระบุว่าเป็นผู้พิมพ์พินัยกรรมตามมาตราดังกล่าว ทั้งพินัยกรรมที่มิได้ลงชื่อผู้พิมพ์ก็หาทำให้พินัยกรรมเป็นโมฆะไม่ เพราะมาตรา 1705 หาได้บัญญัติให้พินัยกรรมที่ทำไม่ถูกต้องตามมาตรา 1671 เป็นโมฆะด้วยไม่
คดีมีประเด็นว่า พินัยกรรมตามที่จำเลยอ้างเป็นพินัยกรรมปลอมหรือไม่ ไม่มีข้อเท็จจริงโต้เถียงกันว่า จำเลยเป็นผู้เขียนหรือผู้พิมพ์พินัยกรรมหรือไม่แต่อย่างใด การที่ศาลอุทธรณ์หยิบยกข้อเท็จจริงซึ่งคู่ความมิได้นำสืบ และมิใช่ประเด็นแห่งคดี โดยฟังว่าจำเลยเป็นผู้พิมพ์พินัยกรรม แล้วนำมาวินิจฉัยปรับเป็นข้อกฎหมายว่าจำเลยต้องห้ามมิให้รับทรัพย์ตามพินัยกรรม พินัยกรรมตกเป็นโมฆะตามมาตรา 1653, 1705 ย่อมเป็นการชี้ขาดตัดสินคดีนอกฟ้องนอกประเด็น แม้ปัญหาดังกล่าวจะเป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ก็จะต้องเป็นข้อกฎหมายที่เกิดจากข้อเท็จจริงในการดำเนินการกระบวนพิจารณาโดยชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1274/2522

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผลผูกพันคำพิพากษาถึงที่สุดในคดีอื่น และการวินิจฉัยนอกประเด็นเกี่ยวกับรูปแบบพินัยกรรม
โจทก์ฟ้องว่าพินัยกรรมของ อ. ซึ่งยกทรัพย์มรดกให้จำเลยเป็นพินัยกรรมปลอม ให้จำเลยแบ่งมรดกของ อ.ให้แก่โจทก์กึ่งหนึ่ง ปรากฏว่าอีกคดีหนึ่งซึ่งจำเลยร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกของ อ. ตามพินัยกรรม และโจทก์คัดค้านว่าเป็นพินัยกรรมปลอมนั้น คดีถึงที่สุดโดยศาลฎีกาพิพากษายืนตามศาลล่างว่า มิใช่พินัยกรรมปลอมคำพิพากษาดังกล่าวย่อมผูกพันคู่ความในคดีนี้ด้วยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 145 ดังนั้น ในคดีนี้โจทก์จะกล่าวอ้างว่าพินัยกรรมดังกล่าวเป็นพินัยกรรมปลอมหาได้ไม่
แม้พินัยกรรมจะมิได้ลงชื่อผู้พิมพ์พินัยกรรมตามมาตรา 1671ก็ตาม หาก อ. ผู้ทำพินัยกรรมเป็นผู้จัดพิมพ์พินัยกรรมเองก็ไม่จำต้องลงชื่อระบุว่าเป็นผู้พิมพ์พินัยกรรมตามมาตราดังกล่าว ทั้งพินัยกรรมที่มิได้ลงชื่อผู้พิมพ์ก็หาทำให้พินัยกรรมเป็นโมฆะไม่ เพราะมาตรา 1705หาได้บัญญัติให้พินัยกรรมที่ทำไม่ถูกต้องตามมาตรา 1671เป็นโมฆะด้วยไม่
คดีมีประเด็นว่าพินัยกรรมตามที่จำเลยอ้างเป็นพินัยกรรมปลอมหรือไม่ ไม่มีข้อเท็จจริงโต้เถียงกันว่าจำเลยเป็นผู้เขียนหรือผู้พิมพ์พินัยกรรมหรือไม่แต่อย่างใดการที่ศาลอุทธรณ์หยิบยกข้อเท็จจริงซึ่งคู่ความมิได้นำสืบและมิใช่ประเด็นแห่งคดี โดยฟังว่าจำเลยเป็นผู้พิมพ์พินัยกรรม แล้วนำมาวินิจฉัยปรับเป็นข้อกฎหมายว่าจำเลยต้องห้ามมิให้รับทรัพย์ตามพินัยกรรมพินัยกรรมตกเป็นโมฆะตามมาตรา 1653,1705ย่อมเป็นการชี้ขาดตัดสินคดีนอกฟ้องนอกประเด็น แม้ปัญหาดังกล่าวจะเป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ก็จะต้องเป็นข้อกฎหมายที่เกิดจากข้อเท็จจริงในการดำเนินกระบวนพิจารณาโดยชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1269-1273/2522 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การงดสืบพยานในคดีภาษี การวินิจฉัยชี้ขาดเบื้องต้นและสิทธิอุทธรณ์ การสืบพยานเพื่อฟังข้อเท็จจริงให้ยุติ
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้งดสืบพยานโจทก์จำเลยโดยเห็นว่าตามคำฟ้อง คำให้การและเอกสารที่คู่ความส่งศาล ข้อเท็จจริงฟังเป็นยุติได้แล้วไม่จำเป็นต้องสืบพยานฟังข้อเท็จจริงอีกต่อไป แล้วยกข้อเท็จจริงขึ้นวินิจฉัยในปัญหาข้อกฎหมายให้ยกฟ้องโจทก์ ดังนี้ เป็นการวินิจฉัยชี้ขาดเบื้องต้นในปัญหาข้อกฎหมายตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 24 ซึ่งไม่ถือว่าเป็นคำสั่งในระหว่างพิจารณาตามมาตรา 227 โจทก์จึงมีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นที่สั่งให้งดสืบพยานดังกล่าวได้โดยไม่จำเป็นต้องโต้แย้งคำสั่งนั้นไว้
ประเด็นข้อสำคัญของคดี ทั้ง 5 สำนวนซึ่งพิจารณารวมกันมีว่า เงินมีสาขาธนาคารโจทก์ในกรุงเทพฯ จ่ายให้สำนักงานใหญ่หรือสาขาอื่นในต่างประเทศเป็นรายจ่ายที่ต้องห้ามในการคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลตามประมวลรัษฎากร มาตรา 65 ตรี (9) (10) (11) หรือไม่ และเงินดังกล่าวถือว่าเป็นกำไรซึ่งโจทก์จะต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลจากการจำหน่ายเงินกำไรออกไปจากประเทศไทยตามมาตรา 70 ทวิหรือไม่ ซึ่งโจทก์กล่าวอ้างว่าเงินดังกล่าวไม่ใช่ดอกเบี้ยที่คิดสำหรับเงินทุน เงินสำรองหรือเงินกองทุนของตนเอง ไม่ใช่เงินกำไรหรือกันไว้จากกำไร แต่เป็นเงินได้ที่ยังไม่ได้หักค่าใช้จ่ายและเป็นรายจ่ายที่จะทำให้ได้กำไรมาสำหรับดำเนินกิจการสาขาธนาคารโจทก์ในประเทศไทยโดยเฉพาะ ไม่ต้องห้ามตามมาตรา 65 ตรี (13) (14) จึงถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิได้ จำเลยต่อสู้ว่าการจ่ายเงินดังกล่าวภายในธุรกิจนิติบุคคลเดียวกัน ต้องห้ามมิให้ถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิตามมาตรา 65 ตรี (9) (10) (11) และถือว่าโจทก์จำหน่ายเงินกำไรออกไปจากประเทศไทยตามมาตรา 70 ทวิ กับต่อสู้เกี่ยวกับข้อที่โจทก์อ้างว่ามีค่าใช้จ่ายโดยต่อสู้ด้วยว่า โจทก์จะยกเรื่องค่าใช้จ่ายนำมาฟ้องไม่ได้ เพราะไม่ได้ยกขึ้นอ้างในชั้นอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ ดังนี้ การที่จะวินิจฉัยในประเด็นดังกล่าวข้างต้นจะต้องวินิจฉัยข้อเท็จจริงที่คู่ความโต้เถียงกันเสียก่อนว่า เงินที่สาขาธนาคารโจทก์ในกรุงเทพ ฯ จ่ายไปนั้นเป็นเงินที่จ่ายไปตามที่โจทก์กล่าวอ้างหรือตามที่จำเลยต่อสู้และมีค่าใช้จ่ายหรือไม่ ทั้งโจทก์ยกเรื่องค่าใช้จ่ายขึ้นอ้างในชั้นอุทธรณ์หรือไม่ นอกจากนี้ในบางสำนวนยังมีข้อเท็จจริงที่คู่ความโต้เถียงกันอยู่ เกี่ยวกับโจทก์จำหน่ายเงินกำไรออกไปเมื่อไร ก่อนหรือหลังมาตรา 70 ทวิใช้บังคับ เจ้าพนักงานประเมินคำนวณภาษีถูกต้องหรือไม่ ประเมินให้ชำระภาษีซ้ำหรือไม่โจทก์ชำระเงินภาษีบางปีไปโดยหลงผิดหรือไม่ ทำให้โจทก์เสียเปรียบหรือไม่ คดีขาดอายุความหรือไม่ โจทก์จำหน่ายเงินออกไปต่างประเทศจำนวนเท่าใด กันไว้เป็นเงินสำรองหรือไม่ ดังนั้น ย่อมจำเป็นต้องสืบพยานของจำเลยทั้งสองฝ่ายเพื่อฟังข้อเท็จจริงให้ยุติเสียก่อนจึงจะวินิจฉัยได้ การที่ศาลอุทธรณ์ย้อนสำนวนทั้ง 5 สำนวนที่พิจารณารวมกันไปให้ศาลชั้นต้นสืบพยานของคู่ความแล้วพิพากษาใหม่จึงชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1269-1273/2522

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การงดสืบพยานและการอุทธรณ์คำสั่งในคดีภาษีอากร: การวินิจฉัยข้อเท็จจริงเป็นสาระสำคัญ
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้งดสืบพยานโจทก์จำเลยโดยเห็นว่าตามคำฟ้อง คำให้การ และเอกสารที่คู่ความส่งศาล ข้อเท็จจริงฟังเป็นยุติได้แล้วไม่จำเป็นต้องสืบพยานฟังข้อเท็จจริงอีกต่อไป แล้วยกข้อเท็จจริงขึ้นวินิจฉัยในปัญหาข้อกฎหมายให้ยกฟ้องโจทก์ ดังนี้ เป็นการวินิจฉัยชี้ขาดเบื้องต้นในปัญหาข้อกฎหมายตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 24 ซึ่งไม่ถือว่าเป็นคำสั่งในระหว่างพิจารณาตามมาตรา 227 โจทก์จึงมีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นที่สั่งให้งดสืบพยานดังกล่าวได้โดยไม่จำเป็นต้องโต้แย้งคำสั่งนั้นไว้
ประเด็นข้อสำคัญของคดีทั้ง 5 สำนวนซึ่งพิจารณารวมกันมีว่า เงินที่สาขาธนาคารโจทก์ในกรุงเทพฯ จ่ายให้สำนักงานใหญ่หรือสาขาอื่นในต่างประเทศเป็นรายจ่ายที่ต้องห้ามในการคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลตามประมวลรัษฎากรมาตรา 65 ตรี (9)(10)(11) หรือไม่ และเงินดังกล่าวถือว่าเป็นกำไรซึ่งโจทก์จะต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลจากการจำหน่ายเงินกำไรออกไปจากประเทศไทยตามมาตรา70 ทวิหรือไม่ ซึ่งโจทก์กล่าวอ้างว่าเงินดังกล่าวไม่ใช่ดอกเบี้ยที่คิดสำหรับเงินทุนเงินสำรองหรือเงินกองทุนของตนเอง ไม่ใช่เงินกำไรหรือกันไว้จากกำไร แต่เป็นเงินได้ที่ยังไม่ได้หักค่าใช้จ่ายและเป็นรายจ่ายที่จะทำให้ได้กำไรมาสำหรับดำเนินกิจการสาขาธนาคารโจทก์ในประเทศไทยโดยเฉพาะไม่ต้องห้ามตามมาตรา 65 ตรี (13)(14) จึงถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิได้จำเลยต่อสู้ว่าการจ่ายเงินดังกล่าวภายในธุรกิจนิติบุคคลเดียวกันต้องห้ามมิให้ถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิตามมาตรา 65 ตรี (9)(10)(11) และถือว่าโจทก์จำหน่ายเงินกำไรออกไปจากประเทศไทยตามมาตรา 70 ทวิ กับต่อสู้เกี่ยวกับข้อที่โจทก์อ้างว่ามีค่าใช้จ่ายโดยต่อสู้ด้วยว่า โจทก์จะยกเรื่องค่าใช้จ่ายนำมาฟ้องไม่ได้เพราะไม่ได้ยกขึ้นอ้างในชั้นอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ ดังนี้ การที่จะวินิจฉัยในประเด็นดังกล่าวข้างต้นจะต้องวินิจฉัยข้อเท็จจริงที่คู่ความโต้เถียงกันเสียก่อนว่า เงินที่สาขาธนาคารโจทก์ในกรุงเทพฯจ่ายไปนั้นเป็นเงินที่จ่ายไปตามที่โจทก์กล่าวอ้างหรือตามที่จำเลยต่อสู้และมีค่าใช้จ่ายหรือไม่ทั้งโจทก์ยกเรื่องค่าใช้จ่ายขึ้นอ้างในชั้นอุทธรณ์หรือไม่นอกจากนี้ในบางสำนวนยังมีข้อเท็จจริงที่คู่ความโต้เถียงกันอยู่ เกี่ยวกับโจทก์จำหน่ายเงินกำไรออกไปเมื่อไรก่อนหรือหลังมาตรา 70 ทวิใช้บังคับเจ้าพนักงานประเมินคำนวณภาษีถูกต้องหรือไม่ ประเมินให้ชำระภาษีซ้ำหรือไม่ โจทก์ชำระเงินภาษีบางปีไปโดยผิดหลงหรือไม่ ทำให้โจทก์เสียเปรียบหรือไม่ คดีขาดอายุความหรือไม่ โจทก์จำหน่ายเงินออกไปต่างประเทศจำนวนเท่าใด กันไว้เป็นเงินสำรองหรือไม่ ดังนั้นย่อมจำเป็นต้องสืบพยานของจำเลยทั้งสองฝ่ายเพื่อฟังข้อเท็จจริงให้ยุติเสียก่อนจึงจะวินิจฉัยได้ การที่ศาลอุทธรณ์ย้อนสำนวนทั้ง 5 สำนวนที่พิจารณารวมกันไปให้ศาลชั้นต้นสืบพยานของคู่ความแล้วพิพากษาใหม่จึงชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1262/2522

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยื่นคำร้องขอคืนของกลางซ้ำในประเด็นที่วินิจฉัยแล้วถึงที่สุด ถือเป็นการรื้อฟื้นข้อกฎหมายที่ต้องห้าม
ผู้ร้องยื่นคำร้องต่อศาลขอคืนรถยนต์ของกลางที่ศาลสั่งริบ ศาลสั่งยกคำร้อง เพราะผู้ร้องไม่ใช่เจ้าของรถยนต์คันที่ขอคืน คดีถึงที่สุด การที่ผู้ร้องมายื่นคำร้องขอคืนรถยนต์ของกลางคันดังกล่าวในคดีนี้อีกโดยอ้างว่ารถยนต์เป็นของผู้ร้องนั้น จึงเป็นการรื้อร้องกันในประเด็นที่ได้วินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกันต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 148ประกอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1258/2522 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดทางละเมิด: ผู้ครอบครองรถยนต์ต้องรับผิดเมื่อเกิดอุบัติเหตุ แม้ไม่ได้เป็นผู้ขับ
โจทก์ฟ้องให้จำเลยรับผิดในฐานะจำเลยเป็นผู้ขับรถยนต์โดยประมาทตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 420 ประการหนึ่ง และให้รับผิดในฐานะจำเลยเป็นผู้ครอบครองรถยนต์ขณะเกิดเหตุ ตามมาตรา 437 อีกประการหนึ่ง ฉะนั้น แม้คดีอาญาที่จำเลยถูกฟ้องศาลพิพากษาถึงที่สุดว่า ต. เป็นคนขับรถจำเลยก็ตาม ในคดีนี้ศาลก็ยังต้องวินิจฉัยต่อไปว่าความรับผิดของจำเลยตามมาตรา 437 มีเพียงใด ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า มาตรา 437 มุ่งหมายให้มีข้อสันนิษฐานเป็นคุณแก่ฝ่ายที่มิใช่ยานพาหนะอันเดินด้วยกำลังเครื่องจักรกล โจทก์จำเลยต่างเป็นผู้ครอบครองหรือควบคุมดูแลยานพาหนะอันเดินด้วยกำลังเครื่องจักรกล ไม่อาจบังคับใช้บทบัญญัติ มาตรา 437 ได้นั้น เป็นการกล่าวเกี่ยวกับภาระแห่งการพิสูจน์หรือหน้าที่นำสืบ มิใช่วินิจฉัยชี้ขาดว่าจำเลยไม่ต้องรับผิดตามมาตรา 437 ที่ศาลอุทธรณ์ย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นพิจารณาพิพากษาใหม่นั้นชอบแล้ว
of 23