พบผลลัพธ์ทั้งหมด 88 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2748/2522
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เงินเพิ่มช่วยค่าครองชีพ (พ.ช.ค.) เป็นเงินเดือนตามกฎหมาย ไม่ตกเป็นเป้าบังคับคดี
คำว่าเงินเดือน ตามพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการจ่ายเงินเดือน ฯลฯ หมายความรวมถึง.....เงินอื่นที่กระทรวงการคลังกำหนดให้เบิกจ่ายในลักษณะเงินเดือนและคำว่าเงินเพิ่มช่วยค่าครองชีพ ตามพระราชกฤษฎีกาเงินสวัสดิการ เกี่ยวกับเงินเพิ่มช่วยค่าครองชีพชั่วคราวพ.ศ.2521 มาตรา 4 หมายความถึงเงินสวัสดิการเกี่ยวกับเงินเพิ่มค่าครองชีพชั่วคราวที่จ่ายช่วยเหลือข้าราชการหรือ ลูกจ้างตามภาวะเศรษฐกิจ และตามพระราชกฤษฎีกาดังกล่าว มาตรา 7 ให้นำพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการจ่ายเงินเดือน ฯลฯ มาใช้บังคับในการจ่ายเงินเพิ่มค่าครองชีพโดยอนุโลม ดังนั้นเงินเพิ่มช่วยค่าครองชีพก็คือเงิน อื่นที่กระทรวงการคลังกำหนดให้เบิกจ่ายแก่ข้าราชการหรือลูกจ้างในลักษณะเงินเดือนจึงเป็นเงินเดือนตามความหมายแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 286(2) ไม่ตกอยู่ในความรับผิดแห่งการบังคับคดี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2748/2522 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เงินเพิ่มช่วยค่าครองชีพเป็นเงินเดือนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ไม่ตกเป็นทรัพย์สินในการบังคับคดี
คำว่าเงินเดือน ตามพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการจ่ายเงิน ฯลฯ หมายความรวมถึง........เงินอื่นที่กระทรวงการคลังกำหนดให้เบิกจ่ายในลักษณะเงินเดือนและคำว่าเงินที่เพิ่มช่วยค่าครองชีพ ตามพระราชกฤษฎีกาเงินสวัสดิการเกี่ยวกับเงินเพิ่มช่วยค่าครองชีพชั่วคราว พ.ศ. 2521 มาตรา 4 หมายความถึงเงินสวัสดิการเกี่ยวกับเงินเพิ่มค่าครองชีพชั่วคราวที่จ่ายช่วยเหลือข้าราชการหรือลูกจ้างตามภาวะเศรษฐกิจ และตามพระราชกฤษฎีกาดังกล่าว มาตรา 7 ให้นำพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการจ่ายเงินเดือน ฯลฯ มาใช้บังคับในการจ่ายเงินเพิ่มค่าครองชีพโดยอนุโลม ดังนั้น เงินเพิ่มช่วยค่าครองชีพก็คือ เงินอื่นที่กระทรวงการคลังกำหนดให้เบิกจ่ายแก่ข้าราชการหรือลูกจ้างในลักษณะเงินเดือนจึงเป็นเงินเดือนตามความหมายแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 286 (2) ไม่ตกอยู่ในความรับผิดแห่งการบังคับคดี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2736/2522
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การริบรถยนต์ที่ใช้ในการกระทำความผิดกรรโชกทรัพย์ ศาลฎีกาพิจารณาจากพฤติการณ์การใช้รถตลอดการกระทำผิด
ใช้รถยนต์พาผู้เสียหายไปขู่เอาทรัพย์โดยเป็นแผนการคบคิดกันไม่เพียงแต่ใช้เป็นยานพาหนะแต่อย่างเดียว ต้องริบรถตาม มาตรา 33(1)
ศาลอุทธรณ์ฟังข้อเท็จจริงไม่ถูก เพราะยังมีข้อเท็จจริงอื่นอีกหลายประการ ศาลฎีกาฟังข้อเท็จจริงใหม่ได้เอง
ศาลอุทธรณ์ฟังข้อเท็จจริงไม่ถูก เพราะยังมีข้อเท็จจริงอื่นอีกหลายประการ ศาลฎีกาฟังข้อเท็จจริงใหม่ได้เอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2731/2522 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผลผูกพันคำพิพากษาคดีอาญาต่อคดีแพ่ง: ประมาทจากการขับรถ
ในคดีส่วนอาญาศาลได้สืบพยานโจทก์จำเลยและได้มีการวินิจฉัยข้อเท็จจริงอันเป็นประเด็นของคดีนั้นว่า โจทก์ไม่มีพยานมาสืบให้ศาลเห็นว่าจำเลยได้ขับรถยนต์โดยประมาทเป็นเหตุให้ชนรถผู้เสียหาย แล้วพิพากษายกฟ้องโจทก์ คดีถึงที่สุด ดังนี้ ในการพิพากษาคดีส่วนแพ่ง ศาลจำต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีส่วนอาญาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 46 โดยต้องฟังว่า โจทก์ไม่มีพยานสืบให้ศาลเห็นว่าจำเลยได้กระทำความผิดหรือกระทำละเมิดด้วย แม้ผู้เสียหายจะไม่ได้ฟ้องหรือร่วมเป็นโจทก์กับพนักงานอัยการในคดีอาญาด้วยก็ตาม
โจทก์ในคดีนี้ซึ่งเป็นผู้รับช่วงสิทธิจากผู้เสียหายก็จำต้องผูกพันตามข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคดีส่วนอาญาด้วย
โจทก์ในคดีนี้ซึ่งเป็นผู้รับช่วงสิทธิจากผู้เสียหายก็จำต้องผูกพันตามข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคดีส่วนอาญาด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2731/2522
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อเท็จจริงในคดีอาญาผูกพันคดีแพ่งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 46 แม้ผู้เสียหายไม่ได้เป็นโจทก์
ในคดีส่วนอาญาศาลได้สืบพยานโจทก์จำเลยและได้มีการวินิจฉัยข้อเท็จจริงอันเป็นประเด็นของคดีนั้นว่าโจทก์ไม่มีพยานมาสืบให้ศาลเห็นว่าจำเลยได้ขับรถยนต์โดยประมาทเป็นเหตุให้ชนรถผู้อื่นเสียหายแล้วพิพากษายกฟ้องโจทก์คดีถึงที่สุดดังนี้ ในการพิพากษาคดีส่วนแพ่งศาลจำต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีส่วนอาญาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 46 โดยต้องฟังว่าโจทก์ไม่มีพยานมาสืบให้ศาลเห็นว่าจำเลยได้กระทำความผิดหรือกระทำละเมิดด้วยแม้ผู้เสียหายจะไม่ได้ฟ้องหรือร่วมเป็นโจทก์กับพนักงานอัยการในคดีอาญาด้วยก็ตาม
โจทก์ในคดีนี้ซึ่งเป็นผู้รับช่วงสิทธิจากผู้เสียหายก็จำต้องผูกพันตามข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคดีส่วนอาญาด้วย
โจทก์ในคดีนี้ซึ่งเป็นผู้รับช่วงสิทธิจากผู้เสียหายก็จำต้องผูกพันตามข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคดีส่วนอาญาด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2687/2522
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ดอกเบี้ยทบต้นเป็นโมฆะ แต่ดอกเบี้ยธรรมดาไม่เป็นโมฆะ และศาลไม่ยกอายุความขึ้นวินิจฉัยเอง
สัญญากู้กล่าวถึงเรื่องดอกเบี้ยไว้สองข้อคือ ข้อ 2 ว่าผู้กู้ ยอมให้ดอกเบี้ยแก่ผู้ให้กู้ชั่งละหนึ่งบาทต่อเดือนนับแต่วันทำสัญญานี้เป็นต้นไป และข้อ 5 ว่าถ้าหากผิดสัญญาชำระดอกเบี้ยผู้กู้ยอมให้ ผู้ให้กู้คิดดอกเบี้ยทบต้นได้ด้วย ดังนี้ ข้อสัญญาต้องห้ามตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 655 เฉพาะการคิดดอกเบี้ยทบต้นตามสัญญากู้ข้อ 5 เท่านั้นแต่การคิดดอกเบี้ยตามข้อ 2 ไม่เป็นโมฆะเพราะเป็นการคิดดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 15 ต่อปี ไม่เกินอัตราที่กฎหมายกำหนด
แม้มาตรา 166 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ได้บัญญัติให้เรียกดอกเบี้ยค้างส่งได้ภายในกำหนดห้าปี แต่ปรากฏว่าในคำให้การของจำเลยมิได้ยกเรื่องอายุความขึ้นต่อสู้ไว้ศาลจะหยิบยกขึ้นวินิจฉัยเองไม่ได้ เพราะต้องห้ามตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193
แม้มาตรา 166 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ได้บัญญัติให้เรียกดอกเบี้ยค้างส่งได้ภายในกำหนดห้าปี แต่ปรากฏว่าในคำให้การของจำเลยมิได้ยกเรื่องอายุความขึ้นต่อสู้ไว้ศาลจะหยิบยกขึ้นวินิจฉัยเองไม่ได้ เพราะต้องห้ามตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2687/2522 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ดอกเบี้ยทบต้นเป็นโมฆะ แต่ดอกเบี้ยธรรมดาตามสัญญากู้ไม่เป็นโมฆะ และศาลไม่ยกอายุความขึ้นวินิจฉัยหากจำเลยไม่ได้ยกขึ้นต่อสู้
สัญญากู้กล่าวถึงเรื่องดอกเบี้ยไว้สองข้อคือ ข้อ 2. ว่าผู้กู้ยอมให้ดอกเบี้ยแก่ผู้ให้กู้ชั่งละหนึ่งบาทต่อเดือนนับแต่วันทำสัญญานี้เป็นต้นไป และข้อ 5. ว่าถ้าหากผิดสัญญาชำระดอกเบี้ยผู้กู้ยอมให้ผู้ให้กู้คิดดอกเบี้ยทบต้นได้ด้วย ดังนี้ ข้อสัญญาต้องห้ามตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 655 เฉพาะการคิดดอกเบี้ยทบต้นตามสัญญากู้ข้อ 5 เท่านั้น แต่การคิดดอกเบี้ยตามข้อ 2 ไม่เป็นโมฆะ เพราะเป็นการคิดดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 15 ต่อปี ไม่เกินอัตราที่กฎหมายกำหนด
แม้มาตรา 166 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ได้บัญญัติให้เรียกดอกเบี้ยค้างส่งได้ภายในกำหนดห้าปี แต่ปรากฏว่าในคำให้การของจำเลยมิได้ยกเรื่องอายุความขึ้นสู้ไว้ ศาลจะหยิบยกขึ้นวินิจฉัยเองไม่ได้ เพราะต้องห้ามตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193
แม้มาตรา 166 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ได้บัญญัติให้เรียกดอกเบี้ยค้างส่งได้ภายในกำหนดห้าปี แต่ปรากฏว่าในคำให้การของจำเลยมิได้ยกเรื่องอายุความขึ้นสู้ไว้ ศาลจะหยิบยกขึ้นวินิจฉัยเองไม่ได้ เพราะต้องห้ามตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2683/2522
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิผู้เสียหายในการเข้าร่วมเป็นโจทก์หลังถอนฟ้องคดีเดิม ไม่ถือเป็นการสละสิทธิฟ้อง
ผู้เสียหายยื่นฟ้องจำเลยในความผิดฐานบุกรุกและกระทำอนาจารเมื่อวันที่ 11 มกราคม 2522 และรุ่งขึ้นวันที่ 12 มกราคม 2522 และรุ่งขึ้นวันที่ 12 มกราคม 2522 พนักงานอัยการได้ฟ้องจำเลยในเรื่องเดียวกันนั้นเข้ามาใหม่ ต่อมาวันที่ 15 มกราคม 2522 ผู้เสียหายถอนฟ้องคดีที่ผู้เสียหายได้ฟ้องไว้ และในวันนั้นเองผู้เสียหายได้ยื่นคำร้องขอเข้าร่วมเป็นโจทก์ในคดีที่พนักงานอัยการยื่นฟ้องจำเลยนั้น ดังนี้ เห็นได้ว่า การถอนฟ้องดังกล่าวก็เพื่อจะขอเข้าร่วมเป็นโจทก์ในคดีที่พนักงานอัยการได้ยื่นฟ้องจำเลยนั่นเอง มิใช่เป็นการถอนฟ้องเด็ดขาดตามความหมาย ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 36 สิทธินำคดีอาญามาฟ้องของผู้เสียหายจึงไม่ระงับไปดังที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39(2) ผู้เสียหายจึงมีสิทธิขอเข้าร่วมเป็นโจทก์กับพนักงานอัยการได้ โดยหาจำต้องกล่าวหรือมีข้อแม้ไว้ในคำร้องขอถอนฟ้องว่าถอนไปเพื่อขอเข้าร่วมเป็นโจทก์ กับพนักงานอัยการด้วยไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2683/2522 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การถอนฟ้องเพื่อขอเข้าร่วมเป็นโจทก์ร่วมกับพนักงานอัยการ สิทธิในการฟ้องไม่ระงับ
ผู้เสียหายยื่นฟ้องจำเลยในความผิดฐานบุกรุกและกระทำอนาจารเมื่อวันที่ 11 มกราคม 2522 และรุ่งขึ้นวันที่ 12 มกราคม 2522 พนักงานอัยการได้ฟ้องจำเลยในเรื่องเดียวกันนั้นเข้ามาใหม่ ต่อมาวันที่ 15 มกราคม 2522 ผู้เสียหายถอนฟ้องคดีที่ผู้เสียหายได้ฟ้องไว้ และในวันนั้นเองผู้เสียหายได้ยื่นคำร้องขอเข้าร่วมเป็นโจทก์ในคดีที่พนักงานอัยการยื่นฟ้องจำเลยนั้น ดังนี้ เห็นได้ว่าการถอนฟ้องดังกล่าวก็เพื่อจะขอเข้าร่วมเป็นโจทก์ในคดีที่พนักงานอัยการได้ยื่นฟ้องจำเลยนั้นเอง มิใช่เป็นการถอนฟ้องเด็ดขาด ตามความหมายในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 36 สิทธินำคดีอาญามาฟ้องของผู้เสียหายจึงไม่ระงับไปดังที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39 (2) ผู้เสียหายจึงมีสิทธิขอเข้าร่วมเป็นโจทก์กับพนักงานอัยการได้ โดยหาจำต้องกล่าวหรือมีข้อแม้ไว้ในคำร้องขอถอนฟ้องว่าถอนไปเพื่อขอเข้าร่วมเป็นโจทก์กับพนักงานอัยการด้วยไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2628/2522
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแบ่งสินสมรสหลังหย่าขาดจากกัน ภรรยามีสิทธิได้ส่วนแบ่ง
ที่ดินพิพาทเป็นสินสมรสระหว่างโจทก์และจำเลยซึ่งเป็นสามีภรรยากันก่อนใช้ ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง บรรพ 5 เมื่อหย่าขาดจากกัน โจทก์ในฐานะภรรยาย่อมมีสิทธิที่จะได้แบ่งสินสมรสหนึ่งในสามตามกฎหมายลักษณะผัวเมีย
ฎีกาของจำเลยในข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาในศาลชั้นต้นนั้น ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้
ฎีกาของจำเลยในข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาในศาลชั้นต้นนั้น ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้