คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
สันติ์ ธีรนิติ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 88 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1621/2522

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเปลี่ยนแปลงระเบียบจ่ายเงินบำนาญนายจ้างต้องไม่เป็นคุณต่อลูกจ้างเดิม และระเบียบเดิมยังคงมีผลบังคับ
ระเบียบจ่ายเงินบำนาญออกเมื่อใช้ พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์แล้วใช้เฉพาะผู้เข้าทำงานหลังวันออกระเบียบ ผู้ทำงานมาก่อนใช้ระเบียบที่มีอยู่เดิม เป็นข้อตกลงเกี่ยวกับการจ้างนายจ้างแก้ไม่ได้ เว้นแต่เป็นคุณแก่ลูกจ้าง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1614/2522

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาซื้อขายคอมพิวเตอร์มีเงื่อนไข: สิทธิบอกเลิกสัญญาเมื่อไม่สามารถส่งมอบสินค้าตามสัญญา และสิทธิเรียกร้องค่าใช้ทรัพย์
เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ขายทำงานได้ระบบเดียว อีก 6 ระบบทำงานไม่ได้ตามสัญญา ผู้ซื้อเลิกสัญญาได้ศาลให้คืนเครื่องคอมพิวเตอร์ผู้ซื้อไม่ต้องใช้ราคา แต่ให้ใช้ค่าใช้ทรัพย์ที่ใช้ได้ 1 ระบบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1611/2522

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิพากษาคดีอาญาโดยคำนึงถึงภาวะวิกลจริตของผู้กระทำผิดขณะทำความผิด
จำเลยทำผิดเข้าไปลักปืนและยิงคน แต่ผู้เชี่ยวชาญทางนิติจิตเวชตรวจรักษาจำเลยอยู่ 9 เดือนเบิกความว่าจำเลยวิกลจริตมา 4 ปีขณะทำผิดไม่รู้ผิดชอบ ดังนี้รับฟังตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา65 ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1590/2522

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของผู้รับประกันภัยต้องพิจารณาจากความรับผิดของผู้เอาประกันภัย หากข้อเท็จจริงเบื้องต้นเกี่ยวกับความรับผิดของผู้เอาประกันภัยไม่เป็นไปตามฟ้อง ผู้รับประกันภัยก็ไม่ต้องรับผิด
ฟ้องบรรยายว่าลูกจ้างของจำเลยที่ 1 ขับรถยนต์ชนรถโจทก์โดยประมาทเลินเล่อ จำเลยที่ 1 เป็นเจ้าของรถซึ่งเอาประกันภัยไว้กับจำเลยที่ 2 ได้ความว่ารถเป็นของคนอื่นเอาประกันภัยค้ำจุนไว้ ไม่ใช่ของจำเลยที่ 1 เอาประกันภัย ข้อที่ว่าเจ้าของรถซึ่งไม่ใช่จำเลยที่ 1 ต้องรับผิดจำเลยที่ 2 ผู้รับประกันภัยจึงต้องรับผิดด้วย เป็นนอกประเด็น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1381/2522

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ไม้ที่ตัดจากที่ดิน น.ส.3 ไม่ใช่ไม้หวงห้าม ไม่เป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ป่าไม้
ไม้ที่ตัดไปจากที่นาของบุคคลตามกฎหมายที่ดิน มี น.ส.3 แล้วไม่ใช่ไม้สัก ไม้ยาง ไม่ใช่ไม้หวงห้าม ที่ผู้ใดมีไว้เป็นความผิดตาม พระราชบัญญัติป่าไม้ พ.ศ. 2484 มาตรา 69 (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2503 มาตรา 12

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1349/2522

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประนีประนอมยอมความเป็นสัญญาต่างตอบแทน การบังคับคดีหลังถอนฟ้องคดีอาญา
สัญญาประนีประนอมยอมความจำเลยยอมใช้เงินแก่โจทก์ตามกำหนดเวลาที่ระบุ โจทก์ยอมถอนคดีอาญาเรื่องเช็คใน 7 วัน เป็นสัญญาต่างตอบแทน โจทก์ยังไม่ถอนฟ้อง จำเลยก็ยังไม่ต้องใช้เงินแก่โจทก์ โจทก์จึงยังบังคับคดียึดทรัพย์ไม่ได้ศาลให้ถอนการยึดแต่เมื่อโจทก์ถอนคดีตามยอมแล้วโจทก์ก็ขอให้บังคับคดียึดทรัพย์ได้ ไม่ใช่ออกหมายบังคับคดีซ้ำหรือฟ้องซ้ำ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1334/2522

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การข่มขู่โดยการแจ้งความดำเนินคดีอาญาไม่ถือว่าเป็นการข่มขู่ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 127 สัญญาประนีประนอมยังใช้บังคับได้
โจทก์จำเลยทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันว่า จำเลยจะผ่อนชำระหนี้ค่าซื้อที่ดินที่ค้างอยู่ให้แก่โจทก์ ต่อมาจำเลยแก้ตัวเลขปีกำหนดระยะเวลาการชำระหนี้ในสัญญาประนีประนอมยอมความจาก 2521 เป็น 2520 และลงลายมือชื่อกำกับไว้ด้วย เพราะโจทก์กับพวกขู่ว่า หากจำเลยไม่แก้ โจทก์จะเอาเช็คที่จำเลยออกให้แก่ ผู้อื่น ซึ่งมาตกอยู่ในครอบครองของโจทก์ฟ้องคดีอาญาแก่จำเลยฐานออกเช็คไม่มีเงิน ดังนี้ การขู่ของโจทก์เป็นการขู่ว่าจะใช้สิทธิตามปกตินิยม ซึ่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 127 ไม่ถือว่าเป็นการข่มขู่ การที่จำเลยแก้กำหนดระยะเวลาการชำระหนี้ในสัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าวจึงไม่เป็นโมฆียะ และมีผลใช้บังคับได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1328/2522 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องกรณีภาษี: ผู้จ่ายภาษีมีหน้าที่อุทธรณ์ก่อนฟ้อง หากไม่ทำ ไม่มีอำนาจฟ้อง
กรณีที่โจทก์ซึ่งเป็นนายจ้างไม่ได้หักและนำส่งเงินภาษีเงินได้ของลูกจ้างหรือหัก และนำส่งเงินภาษีเงินได้ของลูกจ้างแล้วแต่ไม่ครบจำนวนที่ถูกต้อง โจทก์จะต้องรับผิดร่วมกับลูกจ้างในภาษีเงินได้ที่ไม่ได้หักหรือนำส่งตามจำนวนที่ขาดแล้วแต่กรณีตามประมวลรัษฎากร มาตรา 54 วรรคแรก จึงถือได้ว่าโจทก์มีหน้าที่เสียภาษีเช่นเดียวกับลูกจ้างของโจทก์ ดังนั้น เมื่อเจ้าพนักงานประเมินมีคำสั่งให้โจทก์เสียภาษีเงินได้และเงินเพิ่ม หากโจทก์เห็นว่าคำสั่งดังกล่าวไม่ถูกต้องอย่างไรก็ชอบที่จะอุทธรณ์คำสั่งนั้นต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ภายใน 30 วัน นับแต่วันได้รับคำสั่งตามมาตรา 30 เสียก่อน โจทก์จึงนำคดีมาฟ้องต่อศาลได้ เมื่อโจทก์นำคดีมาฟ้องโดยไม่ได้อุทธรณ์การประเมินเสียก่อนย่อมไม่ชอบด้วยมาตรา 30 โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1328/2522

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีภาษีอากรต้องมีการอุทธรณ์การประเมินก่อน หากมิได้อุทธรณ์ถือเป็นขาดอำนาจฟ้อง
กรณีที่โจทก์ซึ่งเป็นนายจ้างไม่ได้หักและนำส่งเงินภาษีเงินได้ของลูกจ้าง หรือหักและนำส่งเงินภาษีเงินได้ของลูกจ้างแล้วแต่ไม่ครบจำนวนที่ถูกต้อง โจทก์จะต้องรับผิดร่วมกับลูกจ้างในภาษีเงินได้ที่ไม่ได้หักหรือนำส่งตามจำนวนที่ขาดแล้วแต่กรณีตามประมวลรัษฎากร มาตรา54 วรรคแรก จึงถือได้ว่าโจทก์มีหน้าที่เสียภาษีเช่นเดียวกับลูกจ้างของโจทก์ ดังนั้น เมื่อเจ้าพนักงานประเมินมีคำสั่งให้โจทก์เสียภาษีเงินได้และเงินเพิ่ม หากโจทก์เห็นว่าคำสั่งดังกล่าวไม่ถูกต้องอย่างไร ก็ชอบที่จะอุทธรณ์คำสั่งนั้นต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ภายใน 30 วัน นับแต่วันได้รับคำสั่งตามมาตรา 30 เสียก่อน โจทก์จึงนำคดีมาฟ้องต่อศาลได้ เมื่อโจทก์นำคดีมาฟ้องโดยไม่ได้อุทธรณ์การประเมินเสียก่อนย่อมไม่ชอบด้วยมาตรา 30 โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1303/2522

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนมรดกโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย และการจัดการมรดกโดยผู้จัดการมรดก
จำเลยที่ 4 เป็นบุตรของ อ. จำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 เป็นบุตรและผู้จัดการมรดกของ อ. โจทก์เป็นบุตรของจำเลยที่ 4 เดิมที่ดินพิพาทเป็นของ อ. ก่อนตาย อ. ได้ลงลายมือชื่อในใบมอบอำนาจเกี่ยวกับการโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทไว้ หลังจาก อ. ตายแล้วโจทก์นำใบมอบอำนาจดังกล่าวไปโอนที่พิพาทมาเป็นของตน เจ้าพนักงานที่ดินไม่ทราบว่า อ. ตายแล้ว จึงจัดทำให้ จำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 กับบรรดาทายาทของ อ. ทำหนังสือรับรองและรับรู้ว่า เมื่อยังมีชีวิตอยู่ อ. ยกที่ดินพิพาท และทำหนังสือมอบอำนาจให้โจทก์ไปโอนกรรมสิทธิ์ ต่อมาเจ้าพนักงานที่ดินได้ถอนชื่อโจทก์ออกจากโฉนด เพราะรับโอนมาโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย ลงชื่อจำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 ในฐานะผู้จัดการมรดกของ อ. เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ และจำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 โอนที่พิพาทให้จำเลยที่ 4 เช่นนี้ จำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 เป็นผู้จัดการมรดกของ อ. มีหน้าที่แบ่งมรดกของ อ.ให้แก่ทายาทโดยธรรม โจทก์มิใช่ทายาทโดยธรรมของอ.ไม่มีสิทธิรับมรดกที่โจทก์เอาหนังสือมอบอำนาจของ อ. ไปขอโอนกรรมสิทธิ์หลัง อ. ตายแล้ว เป็นการไม่ชอบด้วยกฎหมาย แม้จำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 และทายาทของ อ. จะได้ทำหนังสือรับรองและรับรู้ดังกล่าวข้างต้น ก็เป็นเพียงมีความหมายว่า ไม่ติดใจยกเอาเรื่องดังกล่าวเป็นข้ออ้าง เพื่อฟ้องร้องเรียกที่ดินนั้นคืนจากโจทก์เท่านั้น การที่โจทก์ถูกเพิกถอนชื่อออกจากโฉนด เป็นเพราะเจ้าพนักงานที่ดินเห็นว่าการโอนกรรมสิทธิ์ไม่ชอบด้วยกฎหมาย จำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 โอนที่ดินให้จำเลยที่ 4 ซึ่งเป็นทายาทโดยธรรมของ อ. เป็นการปฏิบัติหน้าที่โดยชอบด้วยกฎหมาย ไม่เป็นการละเมิดต่อโจทก์
of 9