คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
สันติ์ ธีรนิติ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 88 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1242/2522

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หลักฐานการกู้ยืมเงิน, วันชำระหนี้, การบอกกล่าวทวงถาม, การงดสืบพยาน, และผลของการไม่ยื่นบัญชีพยาน
จำเลยทำหนังสือให้โจทก์ไว้มีใจความว่า 'ข้าพเจ้านายศุภวัตรแก้วประดับได้ยืมเงินจากนายยีซบมูฮำหมัดจำนวน 130,000 บาท และจะชำระคืนให้ตามเช็คธนาคารชาร์เตอร์เลขที่ 917820 ซึ่งได้ให้ไว้เป็นการค้ำประกัน' แล้วลงลายมือชื่อไว้ ดังนี้ หนังสือนั้นเป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืมตามกฎหมายแล้ว
เช็คธนาคารชาร์เตอร์ฉบับดังกล่าวลงวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2518 ซึ่งเป็นวันสั่งจ่ายนั้น ถือว่าหนี้เงินยืมนั้นได้กำหนดวันชำระไว้แล้ว คือวันที่ลงในเช็คดังกล่าวนั้นเอง เมื่อเช็คถึงกำหนดแล้วโจทก์นำไปขึ้นเงินไม่ได้ย่อมถือได้ว่าจำเลยตกเป็นผู้ผิดนัดตั้งแต่วันที่ธนาคารปฏิเสธการจ่าย
การที่โจทก์รับเช็คของบุคคลอื่นไว้เป็นการค้ำประกันหนี้ นั้น ไม่ใช่เป็นการเปลี่ยนวัตถุประสงค์แห่งหนี้และเปลี่ยนตัวลูกหนี้อันจะทำให้จำเลยพ้นความรับผิดตามหนี้นั้น
ศาลชั้นต้นได้ทำการชี้สองสถานและแจ้งวันกำหนดนัดสืบพยานให้โจทก์จำเลยทราบ หลังจากนั้นมีการเลื่อนการสืบพยานโจทก์สองคราวนับตั้งแต่วันทำการชี้สองสถานเป็นต้นมาจนกระทั่งวันสืบพยานโจทก์ครั้งหลังสุดเป็นเวลา 2 เดือนเศษหากจำเลยมีความสนใจในคดีของตนตามสมควรย่อมมีเวลาที่จะตระเตรียมคดีได้เพียงพอ แต่จำเลยก็มิได้ยื่นบัญชีพยานเมื่อจำเลยไม่ได้ยื่นบัญชีพยานก็มีผลเท่ากับจำเลยไม่มีพยานจะนำสืบ จำเลยจะอ้างตนเองเข้าสืบย่อมไม่ได้ที่ศาลล่างไม่อนุญาตให้จำเลยเลื่อนคดีและมีคำสั่งให้งดสืบพยานจำเลยจึงชอบแล้ว
เมื่อจำเลยรับว่าได้ทำเอกสารการกู้ยืมแล้ว ย่อมไม่มีประเด็นเรื่องปิดอากรแสตมป์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1227/2522

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเลือกดำเนินการระหว่างอุทธรณ์คำสั่ง หรือ ขอพิจารณาคำขออุทธรณ์อย่างคนอนาถาใหม่ ศาลวินิจฉัยว่าใช้สิทธิอย่างใดอย่างหนึ่งเท่านั้น
เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้องขออุทธรณ์อย่างคนอนาถาแล้วผู้ร้องขอไม่พอใจคำสั่งนั้น ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 156 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมแล้วได้ให้สิทธิแก่ผู้ร้องขอที่จะยื่นอุทธรณ์คำสั่งต่อศาลอุทธรณ์ หรือยื่นคำร้องขอศาลชั้นต้นนั้นพิจารณาคำฟ้องอุทธรณ์อย่างคนอนาถาใหม่ได้ แต่เป็นการให้สิทธิเลือกวิธีดำเนินการอย่างหนึ่งอย่างใดเพียงอย่างเดียวจำเลยแพ้คดีในศาลชั้นต้นได้ยื่นอุทธรณ์พร้อมกับยื่นคำขออุทธรณ์อย่างคนอนาถา ศาลชั้นต้นไต่สวน แล้วมีคำสั่งยกคำขอ จำเลยอุทธรณ์คำสั่ง ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับอุทธรณ์ของจำเลยเพราะยื่นเมื่อพ้นกำหนดเวลา ดังนี้จำเลยเลือกเอาการใช้สิทธิอุทธรณ์คำสั่งเสียแล้ว จึงไม่มีสิทธิที่จะร้องขอให้พิจารณาคำขอฟ้องอุทธรณ์อย่างคนอนาถาใหม่ ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 918/2522 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของผู้สลักหลังเช็คเมื่อเช็คไม่สามารถเรียกเก็บเงินได้
โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 ในฐานะผู้สั่งจ่ายเช็ค และจำเลยที่ 2 ในฐานะผู้สลักหลังเช็คให้ชำระเงินตามเช็คพิพาท แม้จำเลยที่ 1 จะไม่ต้องรับผิดใช้เงินตามเช็ค เพราะมิใช่เป็นผู้ลงลายมือชื่อสั่งจ่ายเช็คก็ตาม แต่เมื่อจำเลยที่ 2 เป็นผู้สลักหลังซึ่งมีผู้ลงลายมือชื่อสั่งจ่ายไว้ จำเลยที่ 2 ย่อมต้องรับผิดตามเนื้อความที่ระบุไว้ในเช็คพิพาทนั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 918/2522

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของผู้สลักหลังเช็ค แม้ผู้สั่งจ่ายจะไม่มีหนี้
โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 ในฐานะผู้สั่งจ่ายเช็ค และจำเลยที่ 2 ในฐานะผู้สลักหลังเช็คให้ชำระเงินตามเช็คพิพาทแม้จำเลยที่ 1จะไม่ต้องรับผิดใช้เงินตามเช็คเพราะมิใช่เป็นผู้ลงลายมือชื่อสั่งจ่ายเช็คก็ตามแต่เมื่อจำเลยที่ 2 เป็นผู้สลักหลังซึ่งมีผู้ลงลายมือชื่อเป็นผู้สั่งจ่ายไว้จำเลยที่ 2 ย่อมต้องรับผิดตามเนื้อความที่ระบุไว้ในเช็คพิพาทนั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 879/2522

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การลงโทษตาม ม.339 และ ม.340 ตรี ไม่ใช่การเพิ่มโทษ แต่เป็นการรับโทษหนักขึ้น จึงใช้ ม.51 เปลี่ยนโทษไม่ได้
กรณีการรับโทษหนักขึ้นตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 340 ตรีเป็นคนละเรื่องกับการเพิ่มโทษ และหาใช่เป็นเรื่องการเพิ่มโทษไม่(นัยคำพิพากษาฎีกาที่ 234/2521) จึงจะนำมาตรา 51 มาเปลี่ยนโทษจำคุกตลอดชีวิตให้เป็นโทษจำคุก 50ปีไม่ได้
จำเลยได้รับโทษจำคุกตลอดชีวิตตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา339 วรรคสุดท้าย เมื่อเปลี่ยนโทษจำคุกตลอดชีวิตเป็นโทษจำคุก50 ปีไม่ได้ก็ไม่มีทางที่จะระวางโทษหนักกว่าหรือหนักขึ้นอีกกึ่งหนึ่งตามที่ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 340ตรี บัญญัติไว้จึงนำมาตรา 340 ตรี มาปรับด้วยไม่ได้จำเลยคงมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 339วรรคสุดท้าย
มาตรา 340 ตรี เป็นเพียงเหตุที่ทำให้ผู้กระทำความผิดตามที่บัญญัติไว้ในมาตรานี้รับโทษหนักขึ้นเท่านั้นลำพังแต่เพียงมาตรานี้โดยเฉพาะแล้วหาได้เป็นความผิดอีกบทหนึ่งต่างหากไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 874/2522 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำฟ้องอาญาต้องระบุวันเวลาที่เกิดเหตุ หากไม่ครบถ้วน ศาลต้องยกฟ้อง แม้มีมูลความผิด
การกระทำผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2497 มาตรา 3 จะเกิดขึ้นต่อเมื่อธนาคารผู้มีชื่อเป็นผู้ใช้เงินตามเช็คปฏิเสธการใช้เงินตามเช็คนั้น แต่ฟ้องโจทก์ไม่ได้ระบุวันเวลาที่ธนาคารปฏิเสธการจ่ยเงินตามเช็คและไม่ได้แนบสำเนาเช็ค และใบคืนเช็คมากับคำฟ้องด้วย ฟ้องของโจทก์ไม่มีรายละเอียดที่เกี่ยวกับเวลาที่เกิดการกระทำผิด จึงเป็นฟ้องที่ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 874/2522

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำฟ้องอาญาต้องระบุเวลาที่เกิดการกระทำผิด โดยเฉพาะคดีเช็ค การระบุวันที่ออกเช็คไม่เพียงพอ
การกระทำผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คพ.ศ.2497 มาตรา 3 จะเกิดขึ้นต่อเมื่อธนาคารผู้มีชื่อเป็นผู้ใช้เงินตามเช็คปฏิเสธการใช้เงินตามเช็คนั้นแต่ฟ้องโจทก์ไม่ได้ระบุวันเวลาที่ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็คและไม่ได้แนบสำเนาเช็คและใบคืนเช็คมากับคำฟ้องด้วยฟ้องของโจทก์ไม่มีรายละเอียดที่เกี่ยวกับเวลาที่เกิดการกระทำผิด จึงเป็นฟ้องที่ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 837/2522

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การใช้ยานพาหนะเพื่อกระทำความผิดฐานปล้นทรัพย์และการพาทรัพย์นั้นหลบหนี
จำเลยนำรถยนต์บรรทุกข้าวสารไปจอดรอสมทบกับรถกระบะของพวกจำเลย แล้วนำรถยนต์บรรทุกข้าวสารที่พวกของตนปล้นมาได้หลบหนีไปถือได้ว่าปล้นทรัพย์โดยใช้ยานพาหนะ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 340 ตรี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 822/2522 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำสั่งไล่ออกจากราชการ: ศาลไม่อำนาจพิจารณาหากมีการอุทธรณ์ตามขั้นตอนกฎหมายแล้ว
โจทก์มีกรณีต้องหาว่ากระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรง และจำเลยที่ 1 ตั้งคณะกรรมการขึ้นสอบสวนแล้วจำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 3 ในฐานะรัฐมนตรีมีคำสั่งไล่โจทก์ออกจากราชการตามมติของ อ.ก.พ. กระทรวงมหาดไทย เป็นกรณีที่จำเลยที่ 1 และที่ 3 กระทำการตามอำนาจหน้าที่ที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2497 ซึ่งใช้บังคับอยู่ในขณะนั้น หากโจทก์เห็นว่าคำสั่งของจำเลยที่ไล่โจทก์ออกจากราชการไม่ถูกต้องก็อุทธรณ์ได้และโจทก์ก็ได้ยื่นอุทธรณ์ต่อนายรัฐมนตรีตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2497 มาตรา 104 แล้ว คำสั่งของนายกรัฐมนตรีจึงเป็นที่สุดตามมาตรา 105 ของกฎหมายดังกล่าวเว้นแต่คำสั่งของนายกรัฐมนตรีจะไม่ถูกต้องตามกฎหมาย และการฟังข้อเท็จจริงหรือการใช้ดุลพินิจนั้นไม่มีพยานหลักฐานสนับสนุนเป็นเพียงพอหรือมิได้เป็นไปโดยสุจริต แต่โจทก์ก็ไม่ได้บรรยายฟ้องว่าคำสั่งของนายกรัฐมนตรีไม่ถูกต้องตามกฎหมาย และมิได้บรรยายว่าคณะกรรมการสอบสวนของจำเลยที่ 1 หรือนายกรัฐมนตรีฟังข้อเท็จจริงหรือใช้ดุลพินิจโดยไม่มีพยานหลักฐานหรือเหตุผลสนับสนุนเพียงพอหรือโดยไม่สุจริต โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องขอให้ศาลบังคับให้จำเลยที่ 1 และที่ 2 เพิกถอนคำสั่งที่ไล่โจทก์ออกจากราชการ
ส่วนข้อที่โจทก์ขอให้รับฟ้องฐานละเมิด ซึ่งโจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยที่ 1 เชื่อข้อเท็จจริงจากสำนวนสอบสวนของคณะกรรมการ แล้วนำเข้าประชุม อ.ก.พ. กระทรวงมหาดไทยไม่ให้โอกาสแก่ อ.ก.พ. แต่ละคนพิจารณาสอบสวนให้ละเอียดรอบคอบ จำเลยที่ 2 ซึ่งมีหน้าที่พิจารณาอุทธรณ์ของโจทก์หลงเชื่อ อ.ก.พ. กระทรวงฯ และไม่สอบสวนหรือเรียกพยานหลักฐานจากโจทก์มาประกอบการพิจารณา และจำเลยที่ 3 ในฐานะประธาน อ.ก.พ. กระทรวงฯ ในขณะนั้นใช้อำนาจมิชอบฉวยโอกาสจากความเกรงกลัวของผู้ใต้บังคับบัญชารวบรัดให้ที่ประชุม อ.ก.พ. มีมติให้ไล่โจทก์ออกจากราชการมีเจตนาไม่สุจริต ไม่ให้ความเป็นธรรมเพียงพอ โดยพิจารณาอุทธรณ์ในทางที่จะยืนยันคำสั่งซึ่งจำเลยที่ 3 เป็นผู้ลงชื่อในขณะออกคำสั่ง ทำให้จำเลยที่ 2 เป็นชอบกับคำสั่งของจำเลยที่ 1 นั้น เห็นว่าตามคำบรรยายฟ้องของโจทก์ดังกล่าวยังฟังไม่ได้ว่าจำเลยทั้งสามจงใจหรือประมาทเลินเล่อทำต่อโจทก์โดยผิดกฎหมายหรือมิชอบด้วยกฎหมายให้โจทก์เสียหายแก่ทรัพย์สินหรือสิทธิหรือจำเลยทั้งสามทำละเมิดต่อโจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 420 ดังที่โจทก์ฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 822/2522

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำสั่งไล่ออกจากราชการ: อำนาจหน้าที่, กระบวนการอุทธรณ์, และการฟ้องละเมิด
โจทก์มีกรณีต้องหาว่ากระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรงและจำเลยที่ 1 ตั้งคณะกรรมการขึ้นสอบสวน แล้วจำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 3 ในฐานะรัฐมนตรีมีคำสั่งไล่โจทก์ออกจากราชการตามมติของ อ.ก.พ.กระทรวงมหาดไทย เป็นกรณีที่จำเลยที่ 1และที่ 3 กระทำการตามอำนาจหน้าที่ที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ.2497 ซึ่งใช้บังคับอยู่ในขณะนั้น หากโจทก์เห็นว่าคำสั่งของจำเลยที่ไล่โจทก์ออกจากราชการไม่ถูกต้องก็อุทธรณ์ได้และโจทก์ก็ได้ยื่นอุทธรณ์ต่อนายกรัฐมนตรีตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ.2497 มาตรา 104 แล้วคำสั่งของนายกรัฐมนตรีจึงเป็นที่สุดตามมาตรา 105 ของกฎหมายดังกล่าวเว้นแต่คำสั่งของนายกรัฐมนตรีจะไม่ถูกต้องตามกฎหมายและการฟังข้อเท็จจริงหรือการใช้ดุลพินิจนั้นไม่มีพยานหลักฐานสนับสนุนเพียงพอหรือมิได้เป็นไปโดยสุจริตแต่โจทก์ก็ไม่ได้บรรยายฟ้องว่าคำสั่งของนายกรัฐมนตรีไม่ถูกต้องตามกฎหมายและมิได้บรรยายว่าคณะกรรมการสอบสวนของจำเลยที่ 1 หรือนายกรัฐมนตรีฟังข้อเท็จจริงหรือใช้ดุลพินิจโดยไม่มีพยานหลักฐานหรือเหตุผลสนับสนุนเพียงพอหรือโดยไม่สุจริตโจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องขอให้ศาลบังคับให้จำเลยที่ 1 และที่ 2 เพิกถอนคำสั่งที่ไล่โจทก์ออกจากราชการ
ส่วนข้อที่โจทก์ขอให้รับฟ้องฐานละเมิดซึ่งโจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยที่ 1 เชื่อข้อเท็จจริงจากสำนวนสอบสวนของคณะกรรมการแล้วนำเข้าประชุม อ.ก.พ.กระทรวงมหาดไทยโดยไม่ให้โอกาสแก่ อ.ก.พ. แต่ละคนพิจารณาสอบสวนให้ละเอียดรอบคอบจำเลยที่ 2 ซึ่งมีหน้าที่พิจารณาอุทธรณ์ของโจทก์หลงเชื่ออ.ก.พ.กระทรวงฯ และไม่สอบสวนหรือเรียกพยานหลักฐานจากโจทก์มาประกอบการพิจารณาและจำเลยที่ 3ในฐานะประธานอ.ก.พ.กระทรวงฯ ในขณะนั้นใช้อำนาจมิชอบฉวยโอกาสจากความเกรงกลัวของผู้ใต้บังคับบัญชารวบรัดให้ที่ประชุมอ.ก.พ.มีมติให้ไล่โจทก์ออกจากราชการมีเจตนาไม่สุจริตไม่ให้ความเป็นธรรมเพียงพอโดยพิจารณาอุทธรณ์ในทางที่จะยืนยันคำสั่งซึ่งจำเลยที่ 3 เป็นผู้ลงชื่อในขณะออกคำสั่งทำให้จำเลยที่ 2 เห็นชอบกับคำสั่งของจำเลยที่ 1 นั้น เห็นว่าตามคำบรรยายฟ้องของโจทก์ดังกล่าวยังฟังไม่ได้ว่าจำเลยทั้งสามจงใจหรือประมาทเลินเล่อทำต่อโจทก์โดยผิดกฎหมายหรือมิชอบด้วยกฎหมายให้โจทก์เสียหายแก่ทรัพย์สินหรือสิทธิหรือจำเลยทั้งสามทำละเมิดต่อโจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 420 ดังที่โจทก์ฟ้อง
of 9