พบผลลัพธ์ทั้งหมด 14 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2524-2525/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ที่ดินสาธารณประโยชน์-การฟ้องอาญา: การพิสูจน์สถานะที่ดินและเอกสารหลักฐานที่ไม่ต้องปิดอากรแสตมป์
ที่ดินที่จะต้องออกเป็น พ.ร.ฎ. และประกาศราชกิจจานุเบกษาก่อนขึ้นทะเบียนเป็นที่สาธารณประโยชน์ตาม พ.ร.บ. ว่าด้วยการหวงห้ามที่ดินรกร้างว่างเปล่าอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน พ.ศ. 2478 มาตรา 5 จำกัดเฉพาะ ที่ดินรกร้างว่างเปล่าตาม ป.พ.พ. มาตรา 1304 (1) เท่านั้น แต่ที่ดินพิพาทเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินตาม ป.พ.พ. มาตรา 1304 (2) ไม่มีกฎหมายบังคับให้ต้องขึ้นทะเบียนและออกเป็น พ.ร.ฎ. แต่อย่างใด
แม้หนังสือที่นายอำเภอมีไปถึงสารวัตรใหญ่มิได้ปิดอากรแสตมป์ตามประมวลรัษฎากร ไม่อาจใช้เป็นพยานหลักฐานในคดีแพ่งได้ก็ตาม แต่ไม่มีบทกฎหมายใดห้ามมิให้รับฟังเอกสารเช่นว่านั้นเป็นพยานหลักฐานในคดีอาญาด้วย ศาลย่อมรับฟังเอกสารดังกล่าวได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 226
แม้หนังสือที่นายอำเภอมีไปถึงสารวัตรใหญ่มิได้ปิดอากรแสตมป์ตามประมวลรัษฎากร ไม่อาจใช้เป็นพยานหลักฐานในคดีแพ่งได้ก็ตาม แต่ไม่มีบทกฎหมายใดห้ามมิให้รับฟังเอกสารเช่นว่านั้นเป็นพยานหลักฐานในคดีอาญาด้วย ศาลย่อมรับฟังเอกสารดังกล่าวได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 226
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1377-1378/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ที่ดินสาธารณสมบัติ: ประกาศสงวนที่ดินย้อนหลังมีผลผูกพัน แม้ไม่มีพระราชกฤษฎีกา
การที่ทางราชการอำเภอจันทึกได้ประกาศสงวนหวงห้ามที่ดินรกร้างว่างเปล่าไว้เพื่อใช้เป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน ตามประกาศลงวันที่ 30 ตุลาคม 2478 นั้นแม้ในภายหลังได้มีพระราชบัญญัติว่าด้วยการหวงห้ามที่ดินรกร้างว่างเปล่าอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน พ.ศ. 2478 ซึ่ง มาตรา 4 และ มาตรา 5 บัญญัติว่าการหวงห้ามที่ดินดังกล่าวต้องออกเป็นพระราชกฤษฎีกา ก็หามีผลลบล้างถึงที่ดินซึ่งเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน ตามประกาศดังกล่าวอยู่ก่อนแล้วไม่ ประกาศของอำเภอจันทึกลงวันที่ 30 ตุลาคม 2478 มีข้อความตอนท้ายของประกาศยกเว้นมิให้ที่ดินที่เป็นสิทธิของราษฎรอยู่ก่อนแล้วกลายสภาพเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน ตามประกาศ ดังกล่าว ผู้โอนขายที่พิพาทแก่โจทก์ ที่ 1 ได้ที่พิพาทมาโดยการจับจอง เมื่อ พ.ศ. 2493 ส่วน โจทก์ ที่ 2 ได้ที่พิพาทมาโดยการจับจองเมื่อ พ.ศ. 2497 ที่พิพาททั้งสองแปลงมิได้เป็นสิทธิของราษฎรซึ่ง มีมาตั้งแต่ก่อนทางราชการได้ประกาศสงวนที่ดินใน พ.ศ. 2478 จึงเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินซึ่งจะโอนแก่กันมิได้ เว้นแต่อาศัยอำนาจแห่งบทกฎหมายเฉพาะหรือพระราชกฤษฎีกา ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1305 โจทก์ทั้งสองจึงไม่มีสิทธิในที่พิพาท
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5389/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ที่ดินสาธารณสมบัติ: การเพิกถอนหนังสือรับรองการทำประโยชน์ที่ออกทับที่ดินสาธารณประโยชน์
เดิมที่พิพาทเป็นที่รกร้างว่างเปล่า ต่อมานายอำเภอท้องที่ ได้ประกาศหวงห้ามที่พิพาทไว้เพื่อให้ประชาชนพักผ่อนหย่อนใจ และอาบน้ำร้อน ซึ่งที่พิพาทมิใช่นายอำเภอท้องที่ประกาศหวงห้ามแล้วไม่มีประชาชนใช้ประโยชน์อะไรเลย กลับปรากฏว่าเป็นที่ที่ประชาชนใช้พักผ่อนหย่อนใจ ใช้อาบน้ำร้อน ทั้งมีท่อซีเมนต์ฝังลงในดิน เป็นบ่อมีศาลาสำหรับพักร้อนตั้งแต่นั้นมา ดังนั้นที่พิพาทจึงเป็นที่ รกร้างว่างเปล่ามีสภาพเป็นทรัพย์สินของแผ่นดินที่ใช้เพื่อ สาธารณประโยชน์และเป็นที่ดินที่พลเมืองใช้ร่วมกัน จึงเป็นที่ สาธารณสมบัติของแผ่นดินตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1304(1)(2) การที่นายอำเภอท้องที่ประกาศหวงห้ามที่พิพาทไว้จะดำเนินการถูกต้องตามหลักเกณฑ์และวิธีการตามบทบัญญัติพระราชบัญญัติ ว่าด้วยการหวงห้ามที่ดินรกร้างว่างเปล่าอันเป็นที่สาธารณสมบัติของ แผ่นดินพ.ศ. 2478 โดยชอบหรือไม่ หาเป็นข้อสาระสำคัญแต่ประการใด ในเมื่อที่พิพาทเป็นที่สาธารณสมบัติของแผ่นดินแล้ว และแม้ต่อมาจะมีผู้ครอบครองที่พิพาทจนกระทั่งทางราชการออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ให้ และโจทก์ได้รับสิทธิครอบครองมาโดยการซื้อจากการขาย ทอดตลาดตามคำสั่งศาลก็ตาม แต่โจทก์ก็มิได้อาศัยอำนาจแห่งบทกฎหมาย เฉพาะหรือพระราชกฤษฎีกาตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1305 โจทก์จึงไม่อาจได้สิทธิครอบครองที่พิพาท รวมทั้งไม่อาจออกเอกสารสิทธิใด ๆ ในที่พิพาทได้หนังสือรับรองการทำประโยชน์ที่พิพาทที่โจทก์ได้รับโอนมาจึงเป็นหนังสือรับรองการทำประโยชน์ที่ออกโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย จำเลย มี อำนาจที่จะออกคำสั่งเพิกถอนเสียได้ ตามประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 61 การที่ศาลอุทธรณ์หยิบยกข้อเท็จจริงตามคำแถลงของโจทก์ และเอกสารท้ายฟ้องของโจทก์มาเป็นข้อวินิจฉัยว่าที่พิพาทเป็น ที่พลเมืองใช้ร่วมกันหาเป็นการนอกฟ้องไม่.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1254/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การได้มาซึ่งที่ดิน: การครอบครองก่อนกฎหมาย และการปฏิบัติตามขั้นตอนการหวงห้ามที่ดินสาธารณะ
คำว่า 'ที่ดินรกร้างว่างเปล่า' ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา1304(1) ตรงกับคำว่า 'ที่ดินรกร้างว่างเปล่าอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน' ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการหวงห้ามที่ดินรกร้างว่างเปล่าอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน พ.ศ. 2478 การดำเนินการจัดหาที่ดินรกร้างว่างเปล่าอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินทำเป็นที่สาธารณะประจำตำบลและหมู่บ้านตามหนังสือของกระทรวงมหาดไทยถึงคณะกรรมการจังหวัดทุกจังหวัดนั้น จะต้องปฏิบัติตามพระราชบัญญัติดังกล่าว กล่าวคือต้องออกเป็นพระราชกฤษฎีกาและประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อไม่ปรากฏว่า ได้มีการดำเนินการตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการหวงห้ามที่ดินรกร้างว่างเปล่าอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินซึ่งมีผลบังคับอยู่ในขณะนั้นแม้จะได้มีการขึ้นทะเบียนที่พิพาทเป็นที่สาธารณะประจำหมู่บ้าน ก็ไม่มีผลให้ที่พิพาทเป็นที่สาธารณะประจำหมู่บ้านไปได้ โจทก์เข้าครอบครองที่พิพาทก่อนประกาศใช้ประมวลกฎหมายที่ดิน ทางราชการได้ออกใบเหยียบย่ำให้ เมื่อประกาศใช้ประมวลกฎหมายที่ดินโจทก์ได้แจ้งการครอบครองไว้แล้ว ทั้งยังครอบครองตลอดมา ที่พิพาทจึงเป็นสิทธิของโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1387/2516 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในการร้องสอดของหน่วยงานรัฐในการปกป้องที่ดินนิคมสร้างตนเอง แม้ไม่มีพระราชกฤษฎีกาจัดตั้ง
ตามประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 20(4) คณะกรรมการจัดที่ดินแห่งชาติมีอำนาจหน้าที่พิจารณาสงวนที่ดินตามความต้องการของกรมประชาสงเคราะห์เพื่อจัดตั้งนิคมสร้างตนเองได้ โดยไม่ต้องออกพระราชกฤษฎีกาหวงห้ามที่ดินตามความในมาตรา 4, 5 แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการหวงห้ามที่ดินรกร้างว่างเปล่าอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน พุทธศักราช 2478เพราะพระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ.2497 มาตรา 4ได้บัญญัติให้ยกเลิกพระราชบัญญัติหวงห้ามที่ดินรกร้างว่างเปล่าฯนั้นแล้วการที่คณะกรรมการจัดที่ดินแห่งชาติมีมติมอบอำนาจให้กรมประชาสงเคราะห์ดำเนินการเกี่ยวกับการจัดที่ดิน กรมประชาสงเคราะห์จึงมีหน้าที่จัดการที่ดินดังกล่าวนั้นตามมติคณะกรรมการจัดการที่ดินแห่งชาติได้ ถึงแม้ในขณะนั้นจะยังมิได้ออกพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งนิคมสร้างตนเองก็ตาม
เมื่อที่พิพาทเป็นที่ดินที่กรมประชาสงเคราะห์ได้รับมอบหมายมาดังกล่าวได้ถูกโจทก์กล่าวอ้างโต้แย้งสิทธิว่าเป็นที่ดินซึ่งโจทก์มีสิทธิครอบครองอยู่กรมประชาสงเคราะห์ย่อมมีสิทธิที่จะร้องสอดเข้ามาในคดีเพื่อยังให้ได้รับความคุ้มครองหรือบังคับตามสิทธิของตนที่มีอยู่นั้นได้
เมื่อที่พิพาทเป็นที่ดินที่กรมประชาสงเคราะห์ได้รับมอบหมายมาดังกล่าวได้ถูกโจทก์กล่าวอ้างโต้แย้งสิทธิว่าเป็นที่ดินซึ่งโจทก์มีสิทธิครอบครองอยู่กรมประชาสงเคราะห์ย่อมมีสิทธิที่จะร้องสอดเข้ามาในคดีเพื่อยังให้ได้รับความคุ้มครองหรือบังคับตามสิทธิของตนที่มีอยู่นั้นได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1387/2516
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในที่ดินนิคมสร้างตนเอง: การสงวนที่ดินโดยคณะกรรมการจัดที่ดินแห่งชาติโดยไม่ต้องมี พ.ร.ฎ. และสิทธิของกรมประชาสงเคราะห์
ตามประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 20(4) คณะกรรมการจัดที่ดินแห่งชาติมีอำนาจหน้าที่พิจารณาสงวนที่ดินตามความต้องการของกรมประชาสงเคราะห์ เพื่อจัดตั้งนิคมสร้างตนเองได้ โดยไม่ต้องออกพระราชกฤษฎีกาหวงห้ามที่ดินตามความในมาตรา 4,5 แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการหวงห้ามที่ดินรกร้างว่างเปล่าอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน พุทธศักราช 2478 เพราะพระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ.2497 มาตรา 4 ได้บัญญัติให้ยกเลิกพระราชบัญญัติหวงห้ามที่ดินรกร้างว่างเปล่าฯนั้นแล้ว การที่คณะกรรมการจัดที่ดินแห่งชาติมีมติมอบอำนาจให้กรมประชาสงเคราะห์ดำเนินการเกี่ยวกับการจัดที่ดินกรมประชาสงเคราะห์จึงมีหน้าที่จัดการที่ดินดังกล่าวนั้นตามมติคณะกรรมการจัดการที่ดินแห่งชาติได้ ถึงแม้ในขณะนั้นจะยังมิได้ออกพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งนิคมสร้างตนเองก็ตาม
เมื่อที่พิพาทเป็นที่ดินที่กรมประชาสงเคราะห์ได้รับมอบหมายมาดังกล่าวได้ถูกโจทก์กล่าวอ้างโต้แย้งสิทธิว่าเป็นที่ดินซึ่งโจทก์มีสิทธิครอบครองอยู่ กรมประชาสงเคราะห์ย่อมมีสิทธิที่จะร้องสอดเข้ามาในคดีเพื่อยังให้ได้รับความคุ้มครองหรือบังคับตามสิทธิของตนที่มีอยู่นั้นได้
เมื่อที่พิพาทเป็นที่ดินที่กรมประชาสงเคราะห์ได้รับมอบหมายมาดังกล่าวได้ถูกโจทก์กล่าวอ้างโต้แย้งสิทธิว่าเป็นที่ดินซึ่งโจทก์มีสิทธิครอบครองอยู่ กรมประชาสงเคราะห์ย่อมมีสิทธิที่จะร้องสอดเข้ามาในคดีเพื่อยังให้ได้รับความคุ้มครองหรือบังคับตามสิทธิของตนที่มีอยู่นั้นได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1858-1859/2515
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิของเทศบาลในการครอบครองที่ดินเพื่อประโยชน์สาธารณะ และการฟ้องขับไล่ผู้บุกรุก
บทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติหวงห้ามที่ดินรกร้างว่างเปล่าอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน พ.ศ.2478 ที่ว่า ถ้ารัฐบาลต้องการจะหวงห้ามที่ดินรกร้างว่าเปล่าอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินเพื่อประโยชน์ใดๆ ก็ให้ดำเนินการหวงห้ามตามบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัตินี้ โดยต้องออกเป็นพระราชกฤษฎีกาและประกาศในราชกิจจานุเบกษานั้น เป็นบทบัญญัติกำหนดวิธีการที่รัฐบาลต้องการจะหวงห้ามที่ดินสาธารณสมบัติไว้เพื่อประโยชน์ของรัฐในภายหน้า
ไม่มีกฎหมายห้าม ณ ที่ใดว่า ส่วนราชการของรัฐจะดำเนินการเพื่อให้ได้มาซึ่งสิทธิครอบครองหรือกรรมสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติออกโฉนดซึ่งใช้อยู่ขณะนั้น สำหรับให้พลเมืองใช้ร่วมกันตามหน้าที่ของส่วนราชการไม่ได้
เทศบาลซึ่งมีหน้าที่จัดให้มีสุสานและฌาปนสถานตามพระราชบัญญัติเทศบาล ดำเนินการขอจับจองที่ดินรกร้างว่างเปล่าจนได้รับใบเหยียบย่ำและทำเป็นฌาปนสถานสำหรับราษฎร ใช้ฝังและเผาศพมา 20 ปีเศษแล้ว จนกลายสภาพเป็นที่สำหรับพลเมืองใช้ร่วมกันอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1304(2) แล้ว จังหวัดซึ่งมีหน้าที่ดูแลรักษาสาธารณสมบัติของแผ่นดินตามพระราชบัญญัติ ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน และเทศบาล ย่อมมีสิทธิและอำนาจฟ้องผู้บุกรุกเข้ายึดถือเอาที่ดินดังกล่าวเป็นของตนให้ออกไปได้
ไม่มีกฎหมายห้าม ณ ที่ใดว่า ส่วนราชการของรัฐจะดำเนินการเพื่อให้ได้มาซึ่งสิทธิครอบครองหรือกรรมสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติออกโฉนดซึ่งใช้อยู่ขณะนั้น สำหรับให้พลเมืองใช้ร่วมกันตามหน้าที่ของส่วนราชการไม่ได้
เทศบาลซึ่งมีหน้าที่จัดให้มีสุสานและฌาปนสถานตามพระราชบัญญัติเทศบาล ดำเนินการขอจับจองที่ดินรกร้างว่างเปล่าจนได้รับใบเหยียบย่ำและทำเป็นฌาปนสถานสำหรับราษฎร ใช้ฝังและเผาศพมา 20 ปีเศษแล้ว จนกลายสภาพเป็นที่สำหรับพลเมืองใช้ร่วมกันอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1304(2) แล้ว จังหวัดซึ่งมีหน้าที่ดูแลรักษาสาธารณสมบัติของแผ่นดินตามพระราชบัญญัติ ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน และเทศบาล ย่อมมีสิทธิและอำนาจฟ้องผู้บุกรุกเข้ายึดถือเอาที่ดินดังกล่าวเป็นของตนให้ออกไปได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 684/2509
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ที่ดินสาธารณะต้องมีพระราชกฤษฎีกาประกาศ การครอบครองทำกินต่อเนื่องเป็นสิทธิเจ้าของ
การที่ทางราชการจะให้อำเภอหรือจังหวัดจัดหาที่ดินสงวนไว้เป็นที่สาธารณะประจำหมู่บ้านหรือตำบลนั้นจะต้องออกเป็นพระราชกฤษฎีกาประกาศเขตที่ดินซึ่งสงวนไว้เป็นสาธารณะทั้งที่นั้นก็ต้องเป็นที่ดินรกร้างว่างเปล่า ไม่มีเอกชนเป็นเจ้าของอยู่และต้องประกาศในราชกิจจานุเบกษาตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการหวงห้ามที่ดินรกร้างว่างเปล่าอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน พ.ศ.2478 มาตรา 4,5 การที่ผู้ใหญ่บ้านได้เขียนป้ายนำไปปิดประกาศไว้ว่า เป็นที่สาธารณะ นั้นไม่ทำให้ที่ดินนั้นกลายสภาพเป็นที่สาธารณะหวงห้ามไปได้เพราะทางการยังไม่ได้ดำเนินการออกเป็นพระราชกฤษฎีกาหวงห้ามไว้เพื่อประชาชน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 684/2509 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การได้มาซึ่งที่ดินสาธารณะต้องมีพระราชกฤษฎีกาประกาศ การครอบครองทำกินต่อเนื่องเป็นสิทธิเจ้าของ
การที่ทางราชการจะให้อำเภอหรือจังหวัดจัดทำที่ดินสงวนไว้เป็นที่สาธารณะประจำหมู่บ้านหรือตำบลนั้น จะต้องออกเป็นพระราชกฤษฎีกาประกาศเขตที่ดินซึ่งสงวนไว้เป็นสาธารณะ ทั้งที่นั้นก็ต้องเป็นที่ดินรกร้างว่างเปล่า ไม่มีเอกชนเป็นเจ้าของอยู่ และต้องประกาศในราชกิจจานุเบกษาตามพระราชบัญญัติ ว่าด้วยการหวงห้ามที่พินรกร้างว่างเปล่าอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน พ.ศ. 2478 มาตรา 4,5 การที่ผู้ใหญ่บ้านได้เขียนป้ายนำไปปิดประกาศไว้ว่าเป็นที่สาธารณะ นั้น ไม่ทำให้ที่ดินนั้นกลายสภาพเป็นที่สาธารณะหวงห้ามไปได้ เพราะทางการยังไม่ได้ดำเนินการออกเป็นพระราชกฤษฎีกาหวงห้ามไว้เพื่อประชาชน.