คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 446

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 106 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6110/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ จำกัดสิทธิฎีกาเมื่อทุนทรัพย์พิพาทไม่เกิน 2 แสน และประเด็นการเรียกร้องค่าเสียหายทางจิตใจจากละเมิด
โจทก์ทั้งสี่ต่างใช้สิทธิเฉพาะตัวของแต่ละคนฟ้องจำเลยทั้งสองให้รับผิดฐานละเมิดมาในคำฟ้องเดียวกันซึ่งไม่ใช่หนี้ร่วมที่ไม่อาจจะแบ่งแยกได้เมื่อศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้ให้จำเลยที่1ชำระเงินค่าเสียหายให้แก่โจทก์ทั้งสี่คนละ50,000บาททุนทรัพย์ที่พิพาทในชั้นฎีการะหว่างจำเลยที่1กับโจทก์แต่ละคนจึงไม่เกินสองแสนบาทต้องห้ามมิให้จำเลยที่1ฎีกาในข้อเท็จจริง จำเลยที่2ก่อสร้างอาคารโดยประมาทเลินเล่อซึ่งนอกจากทำให้เกิดความเสียหายแก่ทรัพย์สินแล้วยังทำให้โจทก์ทั้งสี่เสียหายแก่ร่างกายและอนามัยโจทก์ทั้งสี่ย่อมมีสิทธิเรียกค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายอย่างอื่นอันมิใช่ตัวเงินอันได้แก่ค่าเสียหายที่โจทก์ทั้งสี่ต้องทุกข์ทรมานจิตใจและไม่ใช่ค่าสินไหมทดแทนที่ไกลเกินเหตุ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6110/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ละเมิดจากการก่อสร้างประมาทเลินเล่อ:สิทธิเรียกร้องค่าเสียหายทางจิตใจและทางร่างกาย
จำเลยก่อสร้างอาคารชิดที่ดินของโจทก์โดยประมาทเลินเล่อซึ่งนอกจากทำให้เกิดความเสียหายแก่ทรัพย์สินของโจทก์แล้วยังทำให้โจทก์เสียหายแก่ร่างกายและอนามัย โจทก์ย่อมมีสิทธิเรียกค่าเสียหายอันมิใช่ตัวเงินที่โจทก์ต้องทุกข์ทรมานจิตใจอันเนื่องมาจากการตอกเสาเข็ม วัสดุก่อสร้างและฝุ่นละอองร่วงหล่นเข้ามาในบริเวณที่ดินและบ้านโจทก์ได้และไม่ใช่ค่าสินไหมทดแทนที่ไกลเกินเหตุ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 420,446

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5220/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ มูลละเมิด – ค่าเสียหาย – ดอกเบี้ย – การคำนวณค่าเสียหายในอนาคต
กรณีโจทก์ถูกทำละเมิดจนต้องกลายเป็นคนทุพพลภาพ ค่ารักษาพยาบาลและค่าใช้จ่ายในอนาคต ค่าจ้างคนขับรถยนต์ตลอดชีวิต ค่าเสียหายมิใช่ตัวเงินกรณีเสียโฉมและเสียบุคคลิกภาพ ค่าเสียความสามารถประกอบการงานในอนาคตและค่าทุกข์ทรมาน เป็นหนี้อันเกิดแต่มูลละเมิดซึ่งศาลกำหนดค่าเสียหายที่โจทก์ได้รับความเสียหายมาแล้วตั้งแต่วันทำละเมิด เมื่อโจทก์ฟ้องเรียกค่าเสียหายเป็นเงินก้อนแม้จะขอค่าเสียหายที่คำนวณในอนาคตเข้ามาด้วยจำเลยก็ต้องเสียดอกเบี้ยนับแต่วันทำละเมิด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5220/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ดอกเบี้ยจากมูลละเมิด: นับแต่วันกระทำละเมิด แม้ฟ้องเป็นเงินก้อน
กรณีโจทก์ถูกทำละเมิดจนต้องกลายเป็นคนทุพพลภาพค่ารักษาพยาบาลและค่าใช้จ่ายในอนาคตค่าจ้างคนขับรถยนต์ตลอดชีวิตค่าเสียหายมิใช่ตัวเงินกรณีเสียโฉมและเสียบุคคลิกภาพค่าเสียความสามารถประกอบการงานในอนาคตและค่าทุกข์ทรมานเป็นหนี้อันเกิดแต่มูลละเมิดซึ่งศาลกำหนดค่าเสียหายที่โจทก์ได้รับความเสียหายมาแล้วตั้งแต่วันทำละเมิดเมื่อโจทก์ฟ้องเรียกค่าเสียหายเป็นเงินก้อนแม้จะขอค่าเสียหายที่คำนวณในอนาคตเข้ามาด้วยจำเลยก็ต้องเสียดอกเบี้ยนับแต่วันทำละเมิด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5220/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ลูกหนี้มูลละเมิดต้องเสียดอกเบี้ยนับแต่วันกระทำละเมิด - ความรับผิดทางละเมิด - ค่าเสียหาย
แม้เกิดเหตุแล้วโจทก์ยังสามารถสอนหนังสือได้แต่การที่โจทก์ต้องทุพพลภาพเป็นอัมพาตตั้งแต่คอลงไปจึงทำได้แต่เพียงสอนหนังสืออย่างเดียวทั้งๆที่ความรู้ความสามารถของโจทก์สามารถก้าวหน้าไปในทางวิชาการและดำรงตำแหน่งผู้บริหารได้ถือได้ว่าโจทก์สูญเสียความสามารถประกอบการงานในอนาคตแล้วและการที่โจทก์ไม่สามารถช่วยเหลือตนเองได้ต้องรักษาตัวไปตลอดชีวิตไม่สามารถสมรสและมีบุตรได้อนาคตทางการงานไม่อาจเจริญก้าวหน้าไปตามปกติโจทก์ต้องได้รับความทุกข์ทรมานแสนสาหัสทั้งร่างกายและจิตใจไปตลอดชีวิตจึงได้รับค่าเสียหายในส่วนที่เป็นค่าทุกข์ทรมานอีกส่วนหนึ่งด้วย หนี้อันเกิดแต่มูลละเมิดลูกหนี้ได้ชื่อว่าผิดนัดมาแต่เวลาที่ทำละเมิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา206ดังนั้นจำเลยที่1และที่2จึงต้องรับผิดชำระดอกเบี้ยนับแต่วันทำละเมิดแม้ค่าเสียหายบางส่วนจะเป็นค่าเสียหายในอนาคตก็ตาม จำเลยที่2มีอำนาจสั่งให้จำเลยที่1ขับรถยนต์บรรทุกสิบล้อคันเกิดเหตุที่จำเลยที่2เป็นเจ้าของไปส่งของโดยจำเลยที่1ได้รับค่าจ้างจากจำเลยที่2เป็นค่าตอบแทนในการทำงานเมื่อจำเลยที่1ขับรถยนต์บรรทุกตามคำสั่งของจำเลยที่2ไปชนโจทก์เป็นเหตุให้ได้รับอันตรายสาหัสถือได้ว่าจำเลยที่1ลูกจ้างได้กระทำละเมิดต่อโจทก์ในทางการที่จ้างจำเลยที่2จึงต้องร่วมกันรับผิดกับจำเลยที่1

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 67/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ละเมิดจากอุบัติเหตุทางรถยนต์ ความรับผิดร่วมกันของผู้ขับขี่และผู้ประกอบการ การแบ่งความรับผิดตามสัดส่วน
การที่จำเลยที่2ขับรถบรรทุกในเวลากลางคืนบรรทุกรถแทรกเตอร์ใบมีดจานไถของรถแทรกเตอร์ยื่นล้ำออกมานอกตัวรถบรรทุกจำเลยที่2จะต้องติดไฟสัญญาณตามพระราชบัญญัติจราจรทางบกพ.ศ.2522มาตรา11,15กฎกระทรวงและข้อกำหนดของกรมตำรวจแต่จำเลยที่2มิได้กระทำเป็นการฝ่าฝืนบทกฎหมายดังกล่าวซึ่งเป็นกฎหมายที่มีความประสงค์จะปกป้องบุคคลอื่นๆต้องด้วยข้อสันนิษฐานว่าจำเลยที่2เป็นฝ่ายผิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา422 จำเลยที่4ขับรถในเวลากลางคืนลงเนินซึ่งความเร็วของรถต้องเพิ่มขึ้นขณะที่มีแสงไฟของรถแล่นสวนมาเห็นได้ไกลจำเลยที่4จะต้องระวังเพิ่มขึ้นโดยลดความเร็วแต่จำเลยที่4ยังขับต่อไปด้วยความเร็วสูงจนเกิดอุบัติเหตุชนกับใบมีดรถแทรกเตอร์ที่จำเลยที่2ขับมาจึงเป็นความประมาทของจำเลยที่4ด้วย ค่าเสียหายจากการกระทำละเมิดในกรณีที่ผู้เสียหายได้รับอันตรายสาหัสและทุพพลภาพได้แก่ค่ารักษาพยาบาลค่าขาเทียมค่าเสียความสามารถในการประกอบการงานทั้งในปัจจุบันและอนาคตตามมาตรา444และค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายอย่างอื่นอันมิใช่ตัวเงินตามมาตรา446วรรคหนึ่งได้แก่ค่าที่ต้องทุพพลภาพพิการตลอดชีวิตต้องทรมานร่างกายและจิตใจนอกจากนี้หากทรัพย์สินหายจากการกระทำละเมิดก็มีสิทธิได้รับชดใช้อีกต่างหาก จำเลยที่2และที่4ต่างฝ่ายต่างทำละเมิดโดยมิได้ร่วมกันแต่ละฝ่ายจึงไม่ต้องร่วมกันใช้ค่าสินไหมทดแทนทั้งหมดแก่โจทก์คงรับผิดเฉพาะส่วนของตนเท่านั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9221/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ละเมิดจากอุบัติเหตุทางรถยนต์ ความรับผิดทางแพ่ง นายจ้างต้องรับผิดร่วมกับลูกจ้าง ค่ารักษาพยาบาล ค่าเสียหายทางจิตใจ
โจทก์เปิดสัญญาณไฟเลี้ยวขวาและรถจักรยานยนต์ของโจทก์ได้แล่นไปถึงกึ่งกลางถนนแล้ว การที่จำเลยที่ 1 ขับรถยนต์บรรทุกตามหลังรถจักรยานยนต์ของโจทก์ จำเลยที่ 1 จะต้องใช้ความระมัดระวังให้โอกาสแก่โจทก์ได้ผ่านไปก่อน จำเลยที่ 1ขับรถยนต์บรรทุกมาชนรถจักรยานยนต์โจทก์ในลักษณะเช่นนี้ถือได้ว่าจำเลยที่ 1 ขับรถยนต์บรรทุกโดยประมาทเลินเล่อแต่ฝ่ายเดียว ค่ารักษาพยาบาลของโจทก์ตามรายการแสดงค่ารักษาพยาบาลของโจทก์มีข้อความตรงกับเอกสารที่โรงพยาบาลได้ส่งศาลตามคำสั่งเรียกที่จำเลยที่ 2 ยื่นคำร้องมา และโจทก์มีหัวหน้าแผนกเวชระเบียน โรงพยาบาล ผู้อำนวยการโรงพยาบาลมาเบิกความประกอบเอกสารดังกล่าวยืนยันว่า โจทก์ได้เสียค่ารักษาพยาบาลไปตามเอกสารเช่นว่านั้นจริง แม้เอกสารดังกล่าวจะเป็นเพียงสำเนาแต่ก็มีเจ้าหน้าที่รับรองสำเนามาแล้ว ทั้งกรณีไม่มีกฎหมายบังคับว่าการอ้างเอกสารเป็นพยานต้องมีผู้ทำเอกสารมาเบิกความ เอกสารดังกล่าวจึงจะรับฟังได้ ค่าที่โจทก์ต้องทนทุกข์ทรมานระหว่างรักษาตัวที่โรงพยาบาลค่าที่โจทก์ต้องเสียบุคลิกภาพทางร่างกาย และค่าที่โจทก์สูญเสียความสามารถในการสืบพันธุ์ไม่อาจมีบุตรได้อีกต่อไปนั้นเป็นค่าเสียหายเพื่อความเสียหายอย่างอื่นอันมิใช่ตัวเงินโจทก์มีสิทธิเรียกได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 446 การที่ศาลกำหนดจำนวนค่าเสียหายให้จำเลยที่ 2 ชดใช้นั้นมิใช่ว่าโจทก์ได้รับความเสียหายตั้งแต่วันพิพากษา แต่เป็นกรณีที่ศาลกำหนดค่าเสียหายเพื่อชดใช้ความเสียหายที่โจทก์ได้รับมาแล้วตั้งแต่วันทำละเมิด จำเลยที่ 2 จึงต้องรับผิดเสียดอกเบี้ยในจำนวนเงินที่ต้องชดใช้ตั้งแต่วันทำละเมิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 206 แต่โจทก์ขอคิดดอกเบี้ยนับแต่วันฟ้อง นับว่าเป็นผลดีแก่จำเลยที่ 2 แล้ว โจทก์ได้บรรยายมาในฟ้องแล้วว่า โจทก์เสียหายส่วนใดเป็นเงินเท่าใด ส่วนรายละเอียดต่าง ๆ ตามที่จำเลยที่ 2ฎีกาว่า โจทก์รักษาตัวที่โรงพยาบาลใด จำนวนเท่าใด รักษากี่วันนั้น เป็นข้อที่จะต้องนำสืบพยานหลักฐานกันต่อไป เมื่อมีประเด็นข้อโต้เถียงกันในชั้นพิจารณา ฟ้องของโจทก์ในส่วนค่าเสียหายจึงไม่เคลือบคลุม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9221/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดทางละเมิดจากการชนทางรถยนต์ การคำนวณค่าเสียหาย และดอกเบี้ย
โจทก์เปิดสัญญาณไฟเลี้ยวขวาและรถจักรยานยนต์ของโจทก์ได้แล่นไปถึงกึ่งกลางถนนแล้ว การที่จำเลยที่ 1 ขับรถยนต์บรรทุกตามหลังรถจักรยานยนต์ของโจทก์ จำเลยที่ 1 จะต้องใช้ความระมัดระวังให้โอกาสแก่โจทก์ได้ผ่านไปก่อน จำเลยที่ 1 ขับรถยนต์บรรทุกมาชนรถจักรยานยนต์โจทก์ในลักษณะเช่นนี้ถือได้ว่าจำเลยที่ 1 ขับรถยนต์บรรทุกโดยประมาทเลินเล่อแต่ฝ่ายเดียว
ค่ารักษาพยาบาลของโจทก์ตามรายการแสดงค่ารักษาพยาบาลของโจทก์มีข้อความตรงกับเอกสารที่โรงพยาบาลได้ส่งศาลตามคำสั่งเรียกที่จำเลยที่ 2ยื่นคำร้องมา และโจทก์มีหัวหน้าแผนกเวชระเบียน โรงพยาบาล ผู้อำนวยการโรงพยาบาลมาเบิกความประกอบเอกสารดังกล่าวยืนยันว่า โจทก์ได้เสียค่ารักษาพยาบาลไปตามเอกสารเช่นว่านั้นจริง แม้เอกสารดังกล่าวจะเป็นเพียงสำเนาแต่ก็มีเจ้าหน้าที่รับรองสำเนามาแล้ว ทั้งกรณีไม่มีกฎหมายบังคับว่าการอ้างเอกสารเป็นพยานต้องมีผู้ทำเอกสารมาเบิกความ เอกสารดังกล่าวจึงจะรับฟังได้
ค่าที่โจทก์ต้องทนทุกข์ทรมานระหว่างรักษาตัวที่โรงพยาบาลค่าที่โจทก์ต้องเสียบุคลิกภาพทางร่างกาย และค่าที่โจทก์สูญเสียความสามารถในการสืบพันธุ์ไม่อาจมีบุตรได้อีกต่อไปนั้นเป็นค่าเสียหายเพื่อความเสียหายอย่างอื่นอันมิใช่ตัวเงิน โจทก์มีสิทธิเรียกได้ตาม ป.พ.พ.มาตรา 446
การที่ศาลกำหนดจำนวนค่าเสียหายให้จำเลยที่ 2 ชดใช้นั้นมิใช่ว่าโจทก์ได้รับความเสียหายตั้งแต่วันพิพากษา แต่เป็นกรณีที่ศาลกำหนดค่าเสียหายเพื่อชดใช้ความเสียหายที่โจทก์ได้รับมาแล้วตั้งแต่วันทำละเมิด จำเลยที่ 2 จึงต้องรับผิดเสียดอกเบี้ยในจำนวนเงินที่ต้องชดใช้ตั้งแต่วันทำละเมิดตามป.พ.พ.มาตรา 206 แต่โจทก์ขอคิดดอกเบี้ยนับแต่วันฟ้อง นับว่าเป็นผลดีแก่จำเลยที่ 2 แล้ว
โจทก์ได้บรรยายมาในฟ้องแล้วว่า โจทก์เสียหายส่วนใดเป็นเงินเท่าใด ส่วนรายละเอียดต่าง ๆ ตามที่จำเลยที่ 2 ฎีกาว่า โจทก์รักษาตัวที่โรงพยาบาลใด จำนวนเท่าใด รักษากี่วันนั้น เป็นข้อที่จะต้องนำสืบพยาน-หลักฐานกันต่อไป เมื่อมีประเด็นข้อโต้เถียงกันในชั้นพิจารณา ฟ้องของโจทก์ในส่วนค่าเสียหายจึงไม่เคลือบคลุม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4982/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของนายจ้างต่อการประมาทของลูกจ้าง และการชดใช้ค่าเสียหายจากการบาดเจ็บทางร่างกาย
โจทก์ที่ 5 ได้บรรยายฟ้องว่า โจทก์ที่ 5 เป็นเจ้าของรถยนต์บรรทุก รถยนต์ดังกล่าวของโจทก์ที่ 5 ได้ถูกจำเลยที่ 1ซึ่งเป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 3 ขับรถยนต์โดยสารปรับอากาศชนได้รับความเสียหายโดยความประมาท ของจำเลยที่ 1โจทก์ที่ 5 ต้องเสียค่าซ่อมไปเป็นเงิน 80,300 บาทเงินค่าซ่อมรถยนต์ของโจทก์ที่ 5 จำนวน 80,300 บาท นี้เป็นยอดค่าเสียหายรวมที่โจทก์ที่ 5 ต้องการให้จำเลยทั้งสี่ทราบว่า ผลแห่งการละเมิดของจำเลยที่ 1 ทำให้โจทก์ที่ 5 เสียหายคิดเป็นเงินทั้งหมดเท่าไร ค่าเสียหายส่วนนี้จำเป็นที่โจทก์ที่ 5 จะต้องบรรยายไว้ในฟ้อง ส่วนรายละเอียดแห่งความเสียหายที่ว่าโจทก์ที่ 5 ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการซ่อมรถส่วนไหนเป็นเงินเท่าไร แม้โจทก์ที่ 5 จะไม่ได้บรรยายฟ้องไว้ก็หาทำให้ฟ้องของโจทก์ที่ 5 เคลือบคลุมไม่ เพราะโจทก์ที่ 5 ชอบที่จะนำสืบถึงรายละเอียดแห่งการซ่อมในชั้นพิจารณาได้ จำเลยที่ 1 เป็นฝ่ายขับรถยนต์โดยสารปรับอากาศคันเกิดเหตุโดยประมาทเพียงฝ่ายเดียว หากจำเลยที่ 1 ไม่ขับรถยนต์โดยสารปรับอากาศคันดังกล่าวล้ำเส้นแบ่งกึ่งกลางถนนที่เกิดเหตุเข้าไปในช่องเดินรถของโจทก์ที่ 6 การเฉี่ยวชนของรถยนต์ทั้งสองคันและความเสียหายทั้งปวงก็จะไม่เกิดขึ้นจำเลยที่ 3 นายจ้างของจำเลยที่ 1 จะเฉลี่ยความรับผิดไปให้แก่โจทก์ที่ 6 ด้วยไม่ได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 446 ผู้เสียหายจากการที่ถูกผู้อื่นทำให้เสียหายแก่ร่างกายและอนามัยชอบที่จะเรียกร้องเอาค่าสินไหมทดแทนจากผู้ทำให้เสียหายได้ แม้ค่าเสียหายนั้น มิใช่ตัวเงินก็ตาม กฎหมายมาตรานี้มิได้บังคับให้เรียกได้เฉพาะค่าเสียหายที่คำนวณเป็นเงินได้หากแต่บัญญัติเปิดโอกาสให้ผู้เสียหายเรียกค่าเสียหายที่คำนวณเป็นเงินไม่ได้แต่กำหนดขึ้นมาเพื่อทดแทนความเสียหายนั้นที่ศาลล่างทั้งสองกำหนดค่าสินไหมทดแทนให้โจทก์ที่ 6ที่ต้องทุกข์ทรมานในระหว่างรักษาตัวเป็นตัวเงินจึงไม่ขัดต่อบทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าว ผลแห่งการละเมิดของจำเลยที่ 1 ทำให้โจทก์ที่ 6 ได้รับอันตรายแก่กาย ถึงขนาดม้ามแตก ไตแตก และตับ ขาด จนแพทย์ต้องผ่าตัดไตทิ้งไปข้างหนึ่งเป็นเหตุให้ร่างกายไม่สามารถขับถ่ายของเสียได้ตามปกติ ย่อมเป็นธรรมดาอยู่เองที่ร่างกายของโจทก์ที่ 6 ซึ่งมีอวัยวะไม่ครบบริบูรณ์จะต้องอ่อนแอ กว่าตอนที่โจทก์ที่ 6 ไม่ได้รับอันตรายจากการกระทำละเมิดของจำเลยที่ 1 ลักษณะของความอ่อนแอ หรือความเสื่อมโทรมของร่างกายของโจทก์ที่ 6 นี้ แม้โจทก์ที่ 6จะยังประกอบการงานตามปกติได้ก็ตาม แต่ความอ่อนแอ หรือความเสื่อมโทรมนั้นจะค่อยเป็นค่อยไปจนในที่สุดโจทก์ที่ 6ก็จะมีร่างกายที่อ่อนแอ หรือเสื่อมโทรมเร็วกว่าที่ควรจะเป็นไปตามปกติ และจะไม่สามารถทำงานได้ตามปกติเหมือนก่อน ในระหว่างพักรักษาตัว โจทก์ที่ 5 ได้จ่ายค่าแรงงานให้โจทก์ที่ 6 เพียงครึ่งหนึ่งของค่าจ้างเงินค่าแรงงานส่วนที่โจทก์ที่ 6 ไม่ได้รับอีกครึ่งหนึ่งนี้เห็นได้ว่าเป็นการเรียกค่าเสียหายที่ต้องขาดประโยชน์ทำมาหาได้เพราะไม่สามารถประกอบการงานอันเป็นผลจากการทำละเมิดของจำเลยที่ 1 โดยตรงโจทก์ที่ 6 ชอบที่จะเรียกเอาจากจำเลยที่ 3 ผู้เป็นนายจ้างของจำเลยที่ 1ผู้ทำละเมิดได้ ฎีกาของจำเลยที่ 3 ในข้อที่ว่า จำเลยที่ 1 เป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 2 และที่ 4 หรือไม่ และจำเลยที่ 2 กับจำเลยที่ 4 มีผลประโยชน์ในกิจการเดินรถร่วมกับจำเลยที่ 3หรือไม่นั้น เมื่อจำเลยที่ 3 ให้การทั้งสองสำนวนรับว่า จำเลยที่ 1 เป็นลูกจ้างและเป็นผู้ขับรถยนต์โดยสารปรับอากาศคันเกิดเหตุในขณะเกิดเหตุ และข้อเท็จจริงฟังได้ว่าเหตุรถชนเกิดเพราะความประมาทของจำเลยที่ 1 ฝ่ายเดียว และจำเลยที่ 3 ในฐานะนายจ้างต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ด้วย ฎีกาของจำเลยที่ 3 ในข้อนี้จึงไม่เป็นสาระแก่คดี เพราะไม่ทำให้ผลแห่งคดีเปลี่ยนแปลงไป ทั้งจำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 4 ไม่ได้ฎีกาขึ้นมาจึงไม่มีประเด็นในชั้นฎีกา ศาลฎีกาไม่วินิจฉัยให้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4982/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดทางละเมิดจากอุบัติเหตุทางรถยนต์ และการประเมินค่าเสียหายที่เกิดกับร่างกาย
โจทก์ที่ 5 ได้บรรยายฟ้องว่า โจทก์ที่ 5 เป็นเจ้าของรถยนต์บรรทุก รถยนต์ดังกล่าวของโจทก์ที่ 5 ได้ถูกจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 3 ขับรถยนต์โดยสารปรับอากาศชนได้รับความเสียหายโดยความประมาทของจำเลยที่ 1 โจทก์ที่ 5 ต้องเสียค่าซ่อมไปเป็นเงิน 80,300 บาท เงินค่าซ่อมรถยนต์ของโจทก์ที่ 5 จำนวน 80,300 บาท นี้ เป็นยอดค่าเสียหายรวมที่โจทก์ที่ 5 ต้องการให้จำเลยทั้งสี่ทราบว่า ผลแห่งการละเมิดของจำเลยที่ 1 ทำให้โจทก์ที่ 5 เสียหายคิดเป็นเงินทั้งหมดเท่าไร ค่าเสียหายส่วนนี้จำเป็นที่โจทก์ที่ 5 จะต้องบรรยายไว้ในฟ้อง ส่วนรายละเอียดแห่งความเสียหายที่ว่าโจทก์ที่ 5 ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการซ่อมรถส่วนไหนเป็นเงินเท่าไร แม้โจทก์ที่ 5 จะไม่ได้บรรยายฟ้องไว้ก็หาทำให้ฟ้องของโจทก์ที่ 5 เคลือบคลุมไม่ เพราะโจทก์ที่ 5 ชอบที่จะนำสืบถึงรายละเอียดแห่งการซ่อมในชั้นพิจารณาได้
จำเลยที่ 1 เป็นฝ่ายขับรถยนต์โดยสารปรับอากาศคันเกิดเหตุโดยประมาทเพียงฝ่ายเดียว หากจำเลยที่ 1 ไม่ขับรถยนต์โดยสารปรับอากาศคันดังกล่าวล้ำเส้นแบ่งกึ่งกลางถนนที่เกิดเหตุเข้าไปในช่องเดินรถของโจทก์ที่ 6การเฉี่ยวชนของรถยนต์ทั้งสองคันและความเสียหายทั้งปวงก็จะไม่เกิดขึ้น จำเลยที่ 3 นายจ้างของจำเลยที่ 1 จะเฉลี่ยความรับผิดไปให้แก่โจทก์ที่ 6 ด้วยไม่ได้
ตาม ป.พ.พ. มาตรา 446 ผู้เสียหายจากการที่ถูกผู้อื่นทำให้เสียหายแก่ร่างกายและอนามัยชอบที่จะเรียกร้องเอาค่าสินไหมทดแทนจากผู้ทำให้เสียหายได้ แม้ค่าเสียหายนั้นจะมิใช่ตัวเงินก็ตาม กฎหมายมาตรานี้มิได้บังคับให้เรียกได้เฉพาะค่าเสียหายที่คำนวณเป็นเงินได้ หากแต่บัญญัติเปิดโอกาสให้ผู้เสียหายเรียกค่าเสียหายที่คำนวณเป็นเงินไม่ได้แต่กำหนดขึ้นมาเพื่อทดแทนความเสียหายนั้น ที่ศาลล่างทั้งสองกำหนดค่าสินไหมทดแทนให้โจทก์ที่ 6 ที่ต้องทุกข์ทรมานในระหว่างรักษาตัวเป็นตัวเงินจึงไม่ขัดต่อบทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าว
ผลแห่งการละเมิดของจำเลยที่ 1 ทำให้โจทก์ที่ 6 ได้รับอันตรายแก่กาย ถึงขนาดม้ามแตก ไตแตก และตับขาด จนแพทย์ต้องผ่าตัดไตทิ้งไปข้างหนึ่งเป็นเหตุให้ร่างกายไม่สามารถขับถ่ายของเสียได้ตามปกติ ย่อมเป็นธรรมดาอยู่เองที่ร่างกายของโจทก์ที่ 6 ซึ่งมีอวัยวะไม่ครบบริบูรณ์จะต้องอ่อนแอกว่าตอนที่โจทก์ที่ 6ไม่ได้รับอันตรายจากการกระทำละเมิดของจำเลยที่ 1 ลักษณะของความอ่อนแอหรือความเสื่อมโทรมของร่างกายของโจทก์ที่ 6 นี้ แม้โจทก์ที่ 6 จะยังประกอบการงานตามปกติได้ก็ตาม แต่ความอ่อนแอหรือความเสื่อมโทรมนั้นจะค่อยเป็นค่อยไปจนในที่สุดโจทก์ที่ 6 ก็จะมีร่างกายที่อ่อนแอหรือเสื่อมโทรมเร็วกว่าที่ควรจะเป็นไปตามปกติ และจะไม่สามารถทำงานได้ตามปกติเหมือนก่อน
ในระหว่างพักรักษาตัว โจทก์ที่ 5 ได้จ่ายค่าแรงงานให้โจทก์ที่ 6 เพียงครึ่งหนึ่งของค่าจ้างเงินค่าแรงงานส่วนที่โจทก์ที่ 6 ไม่ได้รับอีกครึ่งหนึ่งนี้เห็นได้ว่าเป็นการเรียกค่าเสียหายที่ต้องขาดประโยชน์ทำมาหาได้เพราะไม่สามารถประกอบการงานอันเป็นผลจากการทำละเมิดของจำเลยที่ 1 โดยตรงโจทก์ที่ 6 ชอบที่จะเรียกร้องเอาจากจำเลยที่ 3 ผู้เป็นนายจ้างของจำเลยที่ 1ผู้ทำละเมิดได้
ฎีกาของจำเลยที่ 3 ในข้อที่ว่า จำเลยที่ 1 เป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 2 และที่ 4 หรือไม่ และจำเลยที่ 2 กับจำเลยที่ 4 มีผลประโยชน์ในกิจการเดินรถร่วมกับจำเลยที่ 3 หรือไม่นั้น เมื่อจำเลยที่ 3 ให้การทั้งสองสำนวนรับว่า จำเลยที่ 1 เป็นลูกจ้างและเป็นผู้ขับรถยนต์โดยสารปรับอากาศคันเกิดเหตุในขณะเกิดเหตุ และข้อเท็จจริงฟังได้ว่าเหตุรถชนเกิดเพราะความประมาทของจำเลยที่ 1 ฝ่ายเดียว และจำเลยที่ 3 ในฐานะนายจ้างต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ด้วย ฎีกาของจำเลยที่ 3 ในข้อนี้จึงไม่เป็นสาระแก่คดี เพราะไม่ทำให้ผลแห่งคดีเปลี่ยนแปลงไป ทั้งจำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 4 ไม่ได้ฎีกาขึ้นมาจึงไม่มีประเด็นในชั้นฎีกา ศาลฎีกาไม่วินิจฉัยให้
of 11