คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 446

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 106 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2816/2528

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของเจ้าหน้าที่และนิติบุคคลต่อความเสียหายจากความประมาทเลินเล่อในการส่งโทรเลข
ตามพระราชบัญญัติการสื่อสารแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2519 ที่บัญญัติให้ใช้พระราชบัญญัติโทรเลขและโทรศัพท์ พุทธศักราช 2477 เท่าที่ไม่ขัดหรือแย่งกันนั้น ตามมาตรา 12 แห่งพระราชบัญญัติโทรเลขและโทรศัพท์ดังกล่าวบัญญัติว่า "รัฐบาลไม่ต้องรับผิดในการสูญหายหรือเสียหายอย่างหนึ่งอย่างใดซึ่งหากเกิดขึ้นเพราะเหตุที่เครื่องโทรเลขใช้การไม่สะดวก หรือพนักงานโทรเลขคนใดบกพร่องต่อหน้าที่อันเกี่ยวแก่การรับส่ง หรือการส่งมอบข่าวสารใด ๆ และพนักงานนั้น ๆ ก็ไม่ต้องรับผิดชอบในการสูญหายหรือเสียหายนั้น ๆ เว้นแต่ตนจะก่อให้เกิดขึ้นโดยเจตนาหรือโดยกลฉ้อฉล หรือโดยความประมาทเลินเล่อ"แสดงว่าจำเลยจะไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ก็ต่อเมื่อเป็นการกระทำที่เกิดจากปฏิบัติหน้าที่ตามปกติของจำเลย ข้อยกเว้นความรับผิดดังกล่าวไม่รวมถึงการที่พนักงานโทรเลขก่อให้เกิดขึ้นโดยเจตนาหรือโดยกลฉ้อฉลหรือโดยความประมาทเลินเล่อ เมื่อฟังได้ว่าจำเลยที่ 1 ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความประมาทเลินเล่อ จำเลยที่ 1และจำเลยที่ 2 จึงไม่ได้รับยกเว้นความรับผิดตามกฎหมายดังกล่าว
แม้จำเลยที่ 1 จะมิใช่ลูกจ้างหรือตัวแทนของการสื่อสารแห่งประเทศไทยจำเลยที่ 2 แต่จำเลยที่ 1 ก็เป็นพนักงานในสังกัดของจำเลยที่ 2 ปฏิบัติหน้าที่การงานตามที่ได้รับมอบหมายจากจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นนิติบุคคลและเป็นผู้บังคับบัญชาเมื่อจำเลยที่ 1 ปฏิบัติหน้าที่การงานโดยประมาทเลินเล่อ ทำให้โจทก์ ได้รับความเสียหาย จำเลยที่ 2 ต้องร่ามรับผิดด้วย
การที่โจทก์ได้รับความเศร้าโศกเสียใจ เนื่องจากได้รับโทรเลขที่จำเลยที่ 1ปรุข้อความผิดเป็นว่าบุตรสาวโจทก์ถึงแก่กรรมแล้วนั้น ความเศร้าโศกเสียใจของโจทก์เป็นเพียงอารมณ์ที่เกิดขึ้นเมื่อทราบข่าวร้าย ไม่มีบทกฎหมายใดที่บัญญัติให้สิทธิโจทก์เรียกค่าเสียหายในเรื่องนี้ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2508/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ มูลละเมิด-ค่าเสียหาย-ดอกเบี้ย-ค่าทนายความ: กรณีรถชน-บาดเจ็บ-ทุพพลภาพ-กำหนดค่าเสียหายเหมาะสม
ข้อเท็จจริงได้ความว่ารถยนต์ของจำเลยทุกคันที่จอดไว้ที่ซอยหน้าโรงงานของจำเลยในช่วงเวลากลางวัน เมื่อเลิกงานแล้วจะต้องนำเข้าไปเก็บในโรงงาน ธ. ซึ่งเป็นลูกจ้างจำเลยได้รับมอบกุญแจรถจาก ส. ยามประตูโรงงานผู้มีหน้าที่เก็บรักษากุญแจรถยนต์ของจำเลย ในช่วงเวลาที่โรงงานจำเลยเลิกงานตามปกติแล้ว และ ธ. ขับรถคันดังกล่าวซึ่งจอดอยู่ฝั่งตรงข้ามโรงงานนำไปที่ด้านข้างโรงงาน โดยมิได้ขับไปที่อื่นใดหรือขับไปเที่ยวเล่นเพราะในช่วงนั้นเป็นเวลาที่จะต้องนำรถไปเก็บไว้ภายในโรงงาน ดังนี้ เมื่อ ธ. ขับรถไปชนโจทก์ที่ 2 ได้รับบาดเจ็บสาหัส ย่อมถือ ได้ว่า ธ. ขับรถไปในทางการที่จ้างของจำเลย จำเลยจึงต้องร่วมรับผิดด้วย
โดยปกติการนำผู้ที่ได้รับอุบัติเหตุส่งโรงพยาบาลย่อมจะส่งไปยังโรงพยาบาลที่อยู่ใกล้ที่เกิดเหตุที่สุด เพื่อให้มีการรักษาพยาบาลรวดเร็วและทันท่วงที เมื่อโรงพยาบาลเอกชนอยู่ใกล้ที่เกิดเหตุ ที่สุด และขณะเกิดเหตุมีผู้อื่นนำโจทก์ที่ 2 ซึ่งอยู่ในอาการช็อคส่งโรงพยาบาลดังกล่าวโดยไม่มีทางเลือกโรงพยาบาลอื่นใดได้อีก เช่นนี้ เมื่อโจทก์ทั้งสองได้เสียค่ารักษาพยาบาลในโรงพยาบาลนั้นไปเพียงใด ค่ารักษาพยาบาลจำนวนนั้นจึงเป็นค่าเสียหายโดยตรงซึ่งโจทก์ทั้งสองชอบที่จะได้รับชดใช้คืนเต็มจำนวน แม้ค่ารักษาพยาบาลจะแพงกว่าโรงพยาบาลของรัฐก็ตาม
ในกรณีหนี้อันเกิดแต่มูลละเมิดลูกหนี้ได้ชื่อว่าผิดนัดมาแต่เวลาทำละเมิด เมื่อโจทก์ฟ้องขอให้จำเลยใช้ค่าเสียหายเป็นตัวเงิน หนี้อันเกิดแต่มูลละเมิดจึงเป็นหนี้เงิน ถือได้ว่าจำเลยผิดนัดมาแต่เวลาทำละเมิด จำต้องรับผิดชดใช้ดอกเบี้ยในระหว่างเวลาผิดนัดร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปี อันเป็นไปโดยผลแห่งกฎหมาย โจทก์ไม่มีหน้าที่ต้องนำสืบในเรื่องดอกเบี้ยอีก
อัตราค่าทนายความตามตาราง 6 ท้าย ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง กำหนดให้ศาลพิจารณาตามความยากง่ายแห่งคดีกับเทียบดูเวลาและงานที่ทนายความต้องปฏิบัติในการว่าคดีเรื่องนั้น ตามอัตราขั้นต่ำและขั้นสูงแห่งทุนทรัพย์ เมื่อศาลเห็นว่าคดีมีข้อยุ่งยากต้องใช้เวลามาก ทนายความทั้งสองฝ่ายต้องปฏิบัติงานนานและใช้เวลามิใช่น้อย และคดีนี้ศาลชั้นต้นพิพากษาให้โจทก์ชนะเต็มตามฟ้อง ในทุนทรัพย์ 700,000 บาท และกำหนดค่าทนายความในอัตรา ร้อยละ 1 ซึ่งต่ำกว่าอัตราขั้นสูงตามที่กฎหมายกำหนด จึงไม่นับว่า สูงเกินสมควร

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2508/2527

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดทางละเมิดจากอุบัติเหตุทางรถยนต์, การชดใช้ค่ารักษาพยาบาล, และดอกเบี้ยจากหนี้ที่เกิดจากละเมิด
ข้อเท็จจริงได้ความว่ารถยนต์ของจำเลยทุกคันที่จอดไว้ที่ซอยหน้าโรงงานของจำเลยในช่วงเวลากลางวัน เมื่อเลิกงานแล้วจะต้องนำเข้าไปเก็บในโรงงาน ธ.ซึ่งเป็นลูกจ้างจำเลยได้รับมอบกุญแจรถจาก ส. ยามประตูโรงงานผู้มีหน้าที่เก็บรักษากุญแจรถยนต์ของจำเลย ในช่วงเวลาที่โรงงานจำเลยเลิกงานตามปกติแล้ว และ ธ. ขับรถคันดังกล่าวซึ่งจอดอยู่ฝั่งตรงข้ามโรงงานนำไปที่ด้านข้างโรงงาน โดยมิได้ขับไปที่อื่นใดหรือขับไปเที่ยวเล่นเพราะในช่วงนั้นเป็นเวลาที่จะต้องนำรถไปเก็บไว้ภายในโรงงาน ดังนี้ เมื่อ ธ. ขับรถไปชนโจทก์ที่ 2 ได้รับบาดเจ็บสาหัส ย่อมถือ ได้ว่า ธ. ขับรถไปในทางการที่จ้างของจำเลย จำเลยจึงต้อง ร่วมรับผิดด้วย โดยปกติการนำผู้ที่ได้รับอุบัติเหตุส่งโรงพยาบาลย่อมจะส่งไปยังโรงพยาบาลที่อยู่ใกล้ที่เกิดเหตุที่สุด เพื่อให้มีการรักษาพยาบาลรวดเร็วและทันท่วงที เมื่อโรงพยาบาลเอกชนอยู่ใกล้ที่เกิดเหตุที่สุด และขณะเกิดเหตุมีผู้อื่นนำโจทก์ที่ 2 ซึ่งอยู่ในอาการช็อคส่งโรงพยาบาลดังกล่าวโดยไม่มีทางเลือกโรงพยาบาลอื่นใดได้อีก เช่นนี้ เมื่อโจทก์ทั้งสองได้เสียค่ารักษาพยาบาลในโรงพยาบาลนั้นไปเพียงใดค่ารักษาพยาบาลจำนวนนั้นจึงเป็นค่าเสียหายโดยตรงซึ่งโจทก์ทั้งสองชอบที่จะได้รับชดใช้คืน เต็มจำนวน แม้ค่ารักษาพยาบาลจะแพงกว่าโรงพยาบาลของรัฐก็ตาม ในกรณีหนี้อันเกิดแต่มูลละเมิดลูกหนี้ได้ชื่อว่าผิดนัดมาแต่เวลาทำละเมิด เมื่อโจทก์ฟ้องขอให้จำเลยใช้ค่าเสียหายเป็นตัวเงิน หนี้อันเกิดแต่มูลละเมิดจึงเป็นหนี้เงิน ถือได้ว่าจำเลยผิดนัดมาแต่เวลาทำละเมิด จำต้องรับผิดชดใช้ดอกเบี้ยในระหว่างเวลาผิดนัดร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปี อันเป็นไปโดยผลแห่งกฎหมาย โจทก์ไม่มีหน้าที่ต้องนำสืบในเรื่องดอกเบี้ยอีก
อัตราค่าทนายความตามตาราง 6 ท้าย ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง กำหนดให้ศาลพิจารณาตามความยากง่ายแห่งคดีกับเทียบดูเวลาและงานที่ทนายความต้องปฏิบัติในการว่าคดีเรื่องนั้น ตามอัตราขั้นต่ำและขั้นสูงแห่งทุนทรัพย์ เมื่อศาลเห็นว่าคดีมีข้อยุ่งยากต้องใช้เวลามาก ทนายความทั้งสองฝ่ายต้องปฏิบัติงานนานและใช้เวลามิใช่น้อย และคดีนี้ศาลชั้นต้นพิพากษาให้โจทก์ชนะเต็มตามฟ้อง ในทุนทรัพย์ 700,000 บาท และกำหนดค่าทนายความในอัตรา ร้อยละ 1 ซึ่งต่ำกว่าอัตราขั้นสูงตามที่กฎหมายกำหนด จึงไม่นับว่า สูงเกินสมควร

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2488/2523

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดทางละเมิดจากสุนัขกัด และการสันนิษฐานความเป็นเจ้าของร่วมสินสมรส
สุนัขในบ้านจำเลยออกจากบ้านไปกัดโจทก์ ภริยาจำเลยรับว่าเป็นเจ้าของ เมื่อกรณีเป็นที่สงสัย ต้องสันนิษฐานว่าสุนัขเป็นสินสมรสตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา1474 จำเลยจึงเป็นเจ้าของสุนัขด้วย
สุนัขหลบหนีออกไปได้ขณะจำเลยเปิดประตู สุนัขจึงออกไปกัดโจทก์ได้แสดงว่าจำเลยมิได้ใช้ความระมัดระวังอันสมควรในการเลี้ยงดูสุนัขจำเลยต้องชดใช้ค่าเสียหายให้โจทก์รวมทั้งทดแทนความตกใจและทุกข์ทรมานด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1447/2523

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของบริษัทขนส่งต่อความเสียหายจากอุบัติเหตุที่เกิดจากลูกจ้างขับรถประมาท และค่าเสียหายที่เหมาะสม
ลูกจ้างของบริษัทเดินรถโดยสาร เป็นสารวัตรควบคุมการเดินรถและตรวจตั๋วขับรถโดยประมาทในเส้นทางของบริษัทในทางค้าปกติเพราะคนขับไม่อยู่บริษัทต้องรับผิดในความเสียหายที่รถตก คนโดยสารต้องตัดแขนตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 634 ต้องใช้ค่าเสียหายรวมถึงการที่โจทก์ได้รับความเสียหายต้องตัดข้อมือขวาใช้แขนเทียมแทนเสียความสามารถประกอบการงาน และความเสียหายที่มิใช่ตัวเงินด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2614/2522 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ละเลยหน้าที่ปิดแผงกั้นทางรถไฟทำให้เกิดอุบัติเหตุ ผู้รับผิดชอบต้องร่วมรับผิดชอบค่าเสียหาย
จำเลยที่ 2 เป็นเจ้าหน้าที่ของการรถไฟแห่งประเทศไทย -จำเลยที่ 3 มีหน้าที่ปิดกั้นแผงกั้นถนนเมื่อมีขบวนรถไฟวิ่งผ่านตรงที่ทางรถไฟตัดผ่านถนน ในวันเกิดเหตุ จำเลยที่ 2 ละทิ้งหน้าที่ไป ตามพระราชบัญญัติจัดวางการรถไฟและทางหลวง พระพุทธศักราช 2464 มาตรา 72 บัญญัติว่า เมื่อทางรถไฟผ่านข้ามถนนสำคัญเสมอระดับ ให้ทำประตูหรือขึงโซ่หรือทำราวกั้นขวางถนน ซึ่งกฎหมายกำหนดให้เป็นหน้าที่โดยตรงของจำเลยที่ 3 ต้องป้องกันภัยในการที่จะเดินรถไฟตัดผ่านถนน การที่จำเลยที่ 2 ไม่นำแผงมาปิดกั้นถนนขณะที่ขบวนรถไฟจะแล่นผ่านจึงเป็นการละเลยไม่ปฏิบัติตามหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย ถือได้ว่าเป็นการประมาทอย่างร้ายแรง ถ้าหากปิดแผงกั้นถนนแล้ว รถยนต์ของโจทก์ที่ 1 ก็ไม่อาจขับผ่านเข้าไปถึงทางรถไฟจนเกิดเหตุชนกันได้ จำเลยที่ 2 มีส่วนประมาทมากกว่าโจทก์ที่ 1 ที่จำเลยที่ 3 อ้างว่าวันเกิดเหตุพนักงานรถไฟบางส่วนนัดหยุดงาน ไม่สามารถหาคนมาปฏิบัติงานให้ทันท่วงทีได้นั้น จะถือว่าเป็นเหตุสุดวิสัยไม่ได้ จำเลยที่ 3 ต้องร่วมรับผิด
โจทก์มีสิทธิเรียกค่ารักษาพยาบาลที่ต้องรักษาต่อที่บ้าน ค่าทำศัลยกรรมตกแต่งใบหน้า และค่าที่ต้องทนทุกข์เวทนาที่ได้รับจากการละเมิดของจำเลยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2614/2522 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความประมาทเลินเล่อของเจ้าหน้าที่รถไฟละเลยปิดกั้นถนน ทำให้เกิดอุบัติเหตุรถไฟชนรถยนต์ ผู้ประกอบการต้องรับผิดร่วมด้วย
จำเลยที่ 2 เป็นเจ้าหน้าที่ของการรถไฟแห่งประเทศไทยจำเลยที่ 3 มีหน้าที่ปิดกั้นแผงกั้นถนนเมื่อมีขบวนรถไฟวิ่งผ่านตรงที่ทางรถไฟตัดผ่านถนน ในวันเกิดเหตุจำเลยที่ 2 ละทิ้งหน้าที่ไป ตามพระราชบัญญัติจัดวางการรถไฟและทางหลวงพระพุทธศักราช 2464 มาตรา 72 บัญญัติว่าเมื่อทางรถไฟผ่านข้ามถนนสำคัญเสมอระดับ ให้ทำประตูหรือขึงโซ่หรือทำราวกั้นขวางถนน ซึ่งกฎหมายกำหนดให้เป็นหน้าที่โดยตรงของจำเลยที่ 3 ต้องป้องกันภัยในการที่จะเดินรถไฟตัดผ่านถนนการที่จำเลยที่ 2 ไม่นำแผงมาปิดกั้นถนนขณะที่ขบวนรถไฟจะแล่นผ่านจึงเป็นการละเลยไม่ปฏิบัติตามหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย ถือได้ว่าเป็นการประมาทอย่างร้ายแรงถ้าหากปิดแผงกั้นถนนแล้ว รถยนต์ของโจทก์ที่ 1 ก็ไม่อาจขับผ่านเข้าไปถึงทางรถไฟจนเกิดเหตุชนกันได้ จำเลยที่ 2 มีส่วนประมาทมากกว่าโจทก์ที่ 1 ที่จำเลยที่ 3 อ้างว่าวันเกิดเหตุพนักงานรถไฟบางส่วนนัดหยุดงาน ไม่สามารถหาคนมาปฏิบัติงานให้ทันท่วงทีได้นั้น จะถือว่าเป็นเหตุสุดวิสัยไม่ได้ จำเลยที่ 3 ต้องร่วมรับผิด
โจทก์มีสิทธิเรียกค่ารักษาพยาบาลที่ต้องรักษาต่อที่บ้าน ค่าทำศัลยกรรมตกแต่งใบหน้า และค่าที่ต้องทนทุกข์เวทนาที่ได้รับจากการละเมิดของจำเลยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2614/2522

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความประมาทเลินเล่อของเจ้าหน้าที่รถไฟและการละเลยหน้าที่ ทำให้เกิดอุบัติเหตุรถไฟชนรถยนต์ ผู้ประกอบการต้องรับผิด
จำเลยที่ 2 เป็นเจ้าหน้าที่ของการรถไฟแห่งประเทศไทยจำเลยที่ 3 มีหน้าที่ปิดกั้นแผงกั้นถนนเมื่อมีขบวนรถไฟวิ่งผ่านตรงที่ทางรถไฟตัดผ่านถนน ในวันเกิดเหตุจำเลยที่ 2 ละทิ้งหน้าที่ไป ตามพระราชบัญญัติจัดวางการรถไฟและทางหลวงพระพุทธศักราช 2464 มาตรา 72 บัญญัติว่าเมื่อทางรถไฟผ่านข้ามถนนสำคัญเสมอระดับ ให้ทำประตูหรือขึงโซ่หรือทำราวกั้นขวางถนน ซึ่งกฎหมายกำหนดให้เป็นหน้าที่โดยตรงของจำเลยที่ 3 ต้องป้องกันภัยในการที่จะเดินรถไฟตัดผ่านถนนการที่จำเลยที่ 2 ไม่นำแผงมาปิดกั้นถนนขณะที่ขบวนรถไฟจะแล่นผ่านจึงเป็นการละเลยไม่ปฏิบัติตามหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย ถือได้ว่าเป็นการประมาทอย่างร้ายแรงถ้าหากปิดแผงกั้นถนนแล้ว รถยนต์ของโจทก์ที่ 1 ก็ไม่อาจขับผ่านเข้าไปถึงทางรถไฟจนเกิดเหตุชนกันได้ จำเลยที่ 2 มีส่วนประมาทมากกว่าโจทก์ที่ 1 ที่จำเลยที่ 3 อ้างว่าวันเกิดเหตุพนักงานรถไฟบางส่วนนัดหยุดงาน ไม่สามารถหาคนมาปฏิบัติงานให้ทันท่วงทีได้นั้น จะถือว่าเป็นเหตุสุดวิสัยไม่ได้ จำเลยที่ 3 ต้องร่วมรับผิด
โจทก์มีสิทธิเรียกค่ารักษาพยาบาลที่ต้องรักษาต่อที่บ้าน ค่าทำศัลยกรรมตกแต่งใบหน้า และค่าที่ต้องทนทุกข์เวทนาที่ได้รับจากการละเมิดของจำเลยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 627/2522

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ลูกหนี้ร่วม ความรับผิดในค่าเสียหาย และการไม่ซ้ำซ้อนของค่าเสียหายจากการบาดเจ็บและขาดรายได้
ปัญหาที่ว่าเมื่อโจทก์ไม่ติดใจเรียกร้องค่าเสียหายจากจำเลยที่ 1 หรือปลดหนี้ให้จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นลูกหนี้ร่วมกับจำเลยที่ 2 แล้ว จำเลยที่ 2 ย่อมหลุดพ้นจากความรับผิด โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 2นั้น มิใช่ปัญหาที่เกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน
ค่าเสียหายที่ขาดรายได้ตามปกติ เป็นค่าเสียหายเกี่ยวกับตัวเงินที่โจทก์ต้องขาดไป เพราะไม่สามารถประกอบการงานได้ในระหว่างที่ต้องรักษาตัวตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 443 ส่วนค่าเสียหายในการเจ็บป่วยก็คือค่าที่โจทก์ต้องเสียหายแก่ร่างกายหรืออนามัย เป็นค่าสินไหมทดแทนความเสียหายอย่างอื่นที่มิใช่เป็นตัวเงินตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 446 ไม่ใช่ค่าเสียหายอย่างเดียวกัน ศาลพิพากษาให้จำเลยชดใช้ค่าเสียหายทั้งสองอย่างนี้ให้แก่โจทก์ได้ไม่เป็นการซ้ำซ้อนกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 627/2522 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ลูกหนี้ร่วม ความรับผิด ค่าเสียหายซ้ำซ้อน การวินิจฉัยข้อกฎหมายที่มิได้ยกขึ้นในชั้นอุทธรณ์
ปัญหาที่ว่าเมื่อโจทก์ไม่ติดใจเรียกร้องค่าเสียหายจากจำเลยที่ 1 หรือปลดหนี้ให้จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นลูกหนี้ร่วมกับจำเลยที่ 2 แล้ว จำเลยที่ 2 ย่อมหลุดพ้นจากความรับผิด โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 2 นั้น มิใช่ปัญหาที่เกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน
ค่าเสียหายที่ขาดรายได้ตามปกติ เป็นค่าเสียหายเกี่ยวกับตัวเงินที่โจทก์ต้องขาดไป เพราะไม่สามารถประกอบการงานได้ในระหว่างที่ต้องรักษาตัวตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 443 ส่วนค่าเสียหายในการเจ็บป่วยก็คือค่าที่โจทก์ต้องเสียหายแก่ร่างกายหรืออนามัย เป็นค่าสินไหมทดแทนความเสียหายอย่างอื่นที่มิใช่เป็นตัวเงินตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 446 ไม่ใช่ค่าเสียหายอย่างเดียวกัน ศาลพิพากษาให้จำเลยชดใช้ค่าเสียหายทั้งสองอย่างนี้ให้แก่โจทก์ได้ไม่เป็นการซ้ำซ้อนกัน
of 11