คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.รัษฎากร ม. 89

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 66 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 421/2525

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินภาษีมันเนย: การตีความ 'เนย' ตาม พ.ร.ก. และหน้าที่ในการยื่นรายการภาษีที่ถูกต้อง
การที่พระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ฯ(ฉบับที่ 28)พ.ศ.2511 และ (ฉบับที่ 57) พ.ศ.2518 นำคำว่า'นอกจากมันเนย' ไปต่อท้ายคำว่า'เนย' แสดงว่าพระราชกฤษฎีกาที่ออกตามประมวลรัษฎากรถือว่า 'เนย' มีความหมายถึง'มันเนย' ด้วย จึงกำหนดข้อยกเว้นไว้ในพระราชกฤษฎีกาฉบับที่ประสงค์จะเก็บภาษีการค้าสำหรับมันเนยในอัตราร้อยละ 1.5 ของรายรับฉะนั้นโจทก์นำสินค้ามันเนยเข้ามาในราชอาณาจักรช่วงเวลาที่พระราชกฤษฎีกา ฯ (ฉบับที่43) พ.ศ.2516 ซึ่งไม่ได้กำหนดยกเว้นสำหรับสินค้ามันเนยไว้บังคับโจทก์จึงต้องเสียภาษีการค้าร้อยละ 7 ของรายรับ
โจทก์ผู้นำเข้ามีหน้าที่ตามกฎหมายที่จะต้องยื่นแสดงรายการค้าเพื่อเสียภาษีให้ถูกต้อง เมื่อโจทก์ยื่นแสดงรายการค้าเพื่อเสียภาษีไม่ถูกต้องหรือผิดพลาด ทำให้จำนวนที่ต้องเสียภาษีคลาดเคลื่อน เจ้าพนักงานย่อมมีอำนาจเรียก ให้โจทก์เสียเบี้ยปรับและเงินเพิ่มได้ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 89,89 ทวิ
การที่โจทก์เสียภาษีนำสินค้าผ่านพิธีการศุลกากร โดยสำแดงในใบขนสินค้าขาเข้าและแบบแสดงรายการค้าแล้วมิได้หมายความว่าโจทก์ได้ชำระภาษีการค้าตามใบแจ้งการประเมินของเจ้าพนักงานประเมินโดยถูกต้องตามกฎหมาย เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏแก่เจ้าพนักงานประเมินในภายหลังว่าโจทก์เสียภาษีไม่ถูกต้อง โจทก์ก็หาพ้นจากหน้าที่และความรับผิดตามกฎหมายไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 665/2523 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ภาษีการค้า: การหักลดหย่อนจากใบลดหนี้ประเภทต่างๆ และเจตนาหลีกเลี่ยงภาษี
ยางรถยนต์ที่โจทก์ขายไปแล้ว ต่อมายางชำรุดเสื่อมคุณภาพเนื่องจากความบกพร่องในการผลิต โจทก์จึงรับคืนยางที่ชำรุดบกพร่องและเปลี่ยนยางเส้นใหม่ให้ลูกค้าในการเปลี่ยนยางเส้นใหม่ โจทก์คิดคำนวณค่ายางชำรุดหรือเสื่อมคุณภาพดังกล่าวออกมาเป็นตัวเงินเพื่อชดเชยให้แก่ลูกค้า แล้วนำเงินค่าชดเชยนี้ไปหักออกจากราคาปกติของยางเส้นใหม่โดยให้ลูกค้าชำระเงินเป็นราคายางเส้นใหม่ ในราคาคงเหลือจากที่หักค่าชดเชยแล้ว โจทก์จะถือราคายางเส้นใหม่เท่ากับยอดเงินราคายางที่หักค่าชำรุดเสียหายออกเพื่อคำนวณเสียภาษีการค้าไม่ได้ เพราะโจทก์ขายยางเส้นใหม่เสร็จเด็ดขาดเต็มราคา
โจทก์ขายยางให้ลูกค้าไปแล้ว ต่อมาโจทก์ประกาศลดราคาขายยางลง หลังโจทก์ตรวจจำนวนยางที่ยังเหลืออยู่ที่ลูกค้ายังไม่ได้ขายออกไปว่ามีจำนวนเท่าใด แล้วโจทก์ออกใบลดหนี้เท่าจำนวนราคายางที่ต้องลดให้ลูกค้า ในการเสียภาษีการค้าโจทก์จะนำจำนวนเงินตามใบลดหนี้ดังกล่าวไปหักออกจากรายรับในเดือนที่โจทก์ออกใบลดหนี้ แล้วเสียภาษีการค้าในจำนวนเงินรายรับที่เหลือนั้น โจทก์ไม่มีสิทธิหักเงินตามใบลดหนี้ประเภทนี้ออกจากรายรับเพราะส่วนลดดังกล่าวเป็นค่าใช้จ่ายและไม่มีกฎหมายบัญญัติให้หักค่าใช้จ่ายออกจากรายรับก่อนเสียภาษีการค้า
โจทก์ขายยางให้ลูกค้าไปจำนวนหนึ่งและมีข้อตกลงกับลูกค้าว่า หากลูกค้าซื้อยางจากโจทก์ตามจำนวนและภายในเวลาที่กำหนดไว้แล้ว โจทก์จะคิดราคายางต่ำลงมาจากราคาปกติ กล่าวคือในตอนแรกคิดราคาตามปกติ เมื่อซื้อครบจำนวนภายในเวลาที่กำหนดแล้วโจทก์จึงจะลดราคายางให้ เมื่อลูกค้าซื้อยางตามจำนวนและภายในเวลาที่กำหนดแล้วโจทก์จะลดราคาให้แล้วโจทก์ออกแบบลดหนี้ให้ลูกค้าตามจำนวนที่ลดลง ราคายางที่โจทก์ลดให้ดังกล่าวเป็นการให้ค่าตอบแทนในลักษณะที่เป็นค่าใช้จ่ายของโจทก์ โจทก์จะนำเงินตามใบลดหนี้ประเภทนี้มาหักออกจากรายรับก่อนเสียภาษีการค้าไม่ได้เช่นกัน
โจทก์ออกใบกำกับสินค้าโดยลงรายการจำนวนเงินผิดพลาดและลงบัญชีผิดพลาดตามไปด้วย โจทก์จึงออกใบลดหนี้เพื่อยกเลิกใบกำกับสินค้าที่ผิดพลาดเพื่อแก้ไขให้ถูกต้องนั้นถือได้ว่าไม่มีการขายสินค้าตามใบกำกับสินค้าที่ผิดพลาดเพื่อแก้ไขให้ถูกต้องนั้นถือได้ว่าไม่มีการขายสินค้าตามใบกำกับสินค้านั้นและไม่มีรายรับเนื่องจากการขายสินค้าเจ้าพนักงานประเมินนำเงินตามใบรับนี้มาคำนวณเป็นรายรับเป็นการไม่ถูกต้อง
ในกิจการค้าของโจทก์ โจทก์ตั้งเป้าหมายในการจำหน่ายยางแต่ละเดือนไว้ว่าเมื่อใกล้จะสิ้นเดือนหากยังขายยางไม่ได้ตามเป้าหมาย ตัวแทนของโจทก์จะเสนอขายยางให้แก่ลูกค้าในราคาต่ำกว่าปกติเป็นกรณีพิเศษ แต่ฝ่ายบัญชีของโจทก์ไม่ทราบ จึงออกใบกำกับสินค้าไปตามราคาปกติ เมื่อลูกค้าทักท้วงมา ฝ่ายบัญชีจึงออกใบลดหนี้เพื่อปรับปรุงรายการทางบัญชีให้ตรงตามราคายางที่ขายไปจริง ใบลดหนี้ประเภทนี้ออกมาเพื่อให้ราคาที่ขายถูกต้องตรงตามความเป็นจริง เงินตามใบลดหนี้ดังกล่าวมิใช่รายรับ เจ้าพนักงานประเมินนำเงินตามใบลดหนี้ดังกล่าวมาคำนวณเป็นรายรับย่อมไม่ถูกต้อง
การที่โจทก์รับคืนยางที่ชำรุดหลังจ่ายยางเส้นใหม่ให้ หรือลดราคายางที่ค้างสต๊อกของลูกค้าที่ซื้อไปด้วยเงินเชื่อ หรือลดราคายางให้แก่ลูกค้าที่ซื้อยางจำนวนมากก็ดี ไม่เกี่ยวกับรายรับของเดือนภาษีต่อมา ฉะนั้น ที่โจทก์ทำใบลดหนี้ในกรณีดังกล่าวแล้วนำมาหักจากรายรับของเดือนภาษีต่อมา จึงเป็นการส่อเจตนาหลีกเลี่ยภาษีการค้า เจ้าพนักงานประเมินและคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ไม่ลดเบี้ยปรับให้จึงชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 665/2523

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ภาษีการค้า: การหักลดหย่อนใบลดหนี้จากรายรับและการหลีกเลี่ยงภาษี
ยางรถยนต์ที่โจทก์ขายไปแล้ว ต่อมายางชำรุดเสื่อมคุณภาพเนื่องจากความบกพร่องในการผลิต โจทก์จึงรับคืนยางที่ชำรุดบกพร่องและเปลี่ยนยางเส้นใหม่ให้ลูกค้าในการเปลี่ยนยางเส้นใหม่ โจทก์คิดคำนวณค่ายางชำรุดหรือเสื่อมคุณภาพดังกล่าวออกมาเป็นตัวเงินเพื่อชดเชยให้แก่ลูกค้า แล้วนำเงินค่าชดเชยนี้ไปหักออกจากราคาปกติของยางเส้นใหม่โดยให้ลูกค้าชำระเงินเป็นราคายางเส้นใหม่ในราคาคงเหลือจากที่หักค่าชดเชยแล้ว โจทก์จะถือราคายางเส้นใหม่เท่ากับยอดเงินราคายางที่หักค่าชำรุดเสียหายออกเพื่อคำนวณเสียภาษีการค้าไม่ได้ เพราะโจทก์ขายยางเส้นใหม่เสร็จเด็ดขาดเต็มราคา
โจทก์ขายยางให้ลูกค้าไปแล้ว ต่อมาโจทก์ประกาศลดราคายางลง หลังโจทก์ตรวจจำนวนยางที่ยังเหลืออยู่ที่ลูกค้าที่ยังไม่ได้ขายออกไปว่ามีจำนวนเท่าใด แล้วโจทก์ออกใบลดหนี้เท่าจำนวนราคายางที่ต้องลดให้ลูกค้า ในการเสียภาษีการค้าโจทก์จะนำจำนวนเงินตามใบลดหนี้ดังกล่าวไปหักออกจากรายรับในเดือนที่โจทก์ออกใบลดหนี้ แล้วเสียภาษีการค้าในจำนวนเงินรายรับที่เหลือนั้น โจทก์ไม่มีสิทธิหักเงินตามใบลดหนี้ประเภทนี้ออกจากรายรับ เพราะส่วนลดดังกล่าวเป็นค่าใช้จ่ายและไม่มีกฎหมายบัญญัติให้หักค่าใช้จ่ายออกจากรายรับก่อนเสียภาษีการค้า
โจทก์ขายยางให้ลูกค้าไปจำนวนหนึ่งและมีข้อตกลงกับลูกค้าว่า หากลูกค้าซื้อยางจากโจทก์ตามจำนวนและภายในเวลาที่กำหนดไว้แล้ว โจทก์จะคิดราคายางต่ำลงมาจากราคาปกติกล่าวคือในตอนแรกคิดราคาตามปกติ เมื่อซื้อครบจำนวนภายในเวลาที่กำหนดแล้วโจทก์จึงจะลดราคายางให้ เมื่อลูกค้าซื้อยางตามจำนวนและภายในเวลาที่กำหนดแล้วโจทก์จะลดราคาให้แล้วโจทก์ออกแบบลดหนี้ให้ลูกค้าตามจำนวนที่ลดลง ราคายางที่โจทก์ลดให้ดังกล่าวเป็นการให้ค่าตอบแทนในลักษณะที่เป็นค่าใช้จ่ายของโจทก์ โจทก์จะนำเงินตามใบลดหนี้ประเภทนี้มาหักออกจากรายรับก่อนเสียภาษีการค้าไม่ได้เช่นกัน
โจทก์ออกใบกำกับสินค้าโดยลงรายการจำนวนเงินผิดพลาดและลงบัญชีผิดพลาดตามไปด้วย โจทก์จึงออกใบลดหนี้เพื่อยกเลิกใบกำกับสินค้าที่ผิดพลาดเพื่อแก้ไขให้ถูกต้องนั้น ถือได้ว่าไม่มีการขายสินค้าตามใบกำกับสินค้านั้นและไม่มีรายรับเนื่องจากการขายสินค้า เจ้าพนักงานประเมินนำเงินตามใบรับนี้มาคำนวณเป็นรายรับเป็นการไม่ถูกต้อง
ในกิจการค้าของโจทก์ โจทก์ตั้งเป้าหมายในการจำหน่ายยางแต่ละเดือนไว้ว่าเมื่อใกล้จะสิ้นเดือนหากยังขายยางไม่ได้ตามเป้าหมาย ตัวแทนของโจทก์จะเสนอขายยางให้แก่ลูกค้าในราคาต่ำกว่าปกติเป็นกรณีพิเศษ แต่ฝ่ายบัญชีของโจทก์ไม่ทราบ จึงออกใบกำกับสินค้าไปตามราคาปกติ เมื่อลูกค้าทักท้วงมา ฝ่ายบัญชีจึงออกใบลดหนี้เพื่อปรับปรุงรายการทางบัญชีให้ตรงตามราคายางที่ขายไปจริง ใบลดหนี้ประเภทนี้ออกมาเพื่อให้ราคาที่ขายถูกต้องตรงตามความเป็นจริงเงินตามใบลดหนี้ดังกล่าวมิใช่รายรับ เจ้าพนักงานประเมินนำเงินตามใบลดหนี้ดังกล่าวมาคำนวณเป็นรายรับย่อมไม่ถูกต้อง
การที่โจทก์รับคืนยางที่ชำรุดหลังจ่ายยางเส้นใหม่ให้หรือลดราคายางที่ค้างสต๊อกของลูกค้าที่ซื้อไปด้วยเงินเชื่อ หรือลดราคายางให้แก่ลูกค้าที่ซื้อยางจำนวนมากก็ดี ไม่เกี่ยวกับรายรับของเดือนภาษีต่อมา ฉะนั้นที่โจทก์ทำใบลดหนี้ในกรณีดังกล่าวแล้วนำมาหักจากรายรับของเดือนภาษีต่อมา จึงเป็นการส่อเจตนาหลีกเลี่ยงภาษีการค้าเจ้าพนักงานประเมินและคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ไม่ลดเบี้ยปรับให้จึงชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 897/2520 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประกอบการค้าข้าวส่งออก: โจทก์เป็นนายหน้าหรือผู้ขายเอง การประเมินภาษีค่านายหน้า
ห้างโจทก์มีวัตถุประสงค์จำหนายข้าวสาร และเป็นนายหน้าและตัวแทนต่างในกิจการทุกประเภท ในการติดต่อขายข้าวให้กับผู้ซื้อในต่างประเทศ ทางห้างโจทก์เสนอราคาขายข้าวโดยบวกค่าระวางบรรทุก ค่าประกันภัยและค่านายหน้ารวมเข้าไปด้วย แต่โจทก์ไม่ได้จดทะเบียนเป็นผู้ส่งข้าวออกไปขายต่างประเทศ และไม่ได้ขออนุญาตต่อทางราชการได้ความว่าโรงสีเป็นผู้ขออนุญาตส่งข้าวไปขายต่างประเทศ เป็นผู้ขออนุญาตนำเงินตราต่างประเทศเท่าราคาข้าวที่ขายเข้ามาในประเทศ ทั้งเป็นผู้ปฏิบัติตามพิธีการส่งออกของกรมศุลกากร เสียภาษีศุลกากร ค่าพรีเมี่ยม และภาษีการค้าข้าว กระสอบบรรจุข้าวส่งไปขายต่างประเทศก็มีตราของผู้ซื้อประทับอยู่ แสดงว่าโรงสีรู้อยู่แล้วว่ามีผู้ซื้อตัวจริงในต่างประเทศโจทก์อ้างว่าโรงสีขายข้าวให้โจทก์ แต่การซื้อขายไม่มีการวางมัดจำหรือทำสัญญาซื้อขายข้าวกัน โจทก์ไม่มีโกดังเก็บข้าวเอง เมื่อโรงสีส่งมอบข้าวแล้วโจทก์ยังไม่ชำระเงินค่าข้าวประกอบกับเลตเตอร์ออฟเครดิตที่ผู้ซื้อในต่างประเทศส่งมาชำระค่าข้าวนั้นโจทก์จะรับเอาทั้งหมดไม่ได้ คงรับได้เฉพาะส่วนที่เป็นผลประโยชน์ของโจทก์เองเท่านั้น พฤติการณ์เหล่านี้แสดงว่าโจทก์เพียงแต่ทำการเป็นนายหน้าหรือตัวแทน หรือรับจัดธุรกิจจัดการให้โรงสีและผู้ซื้อในต่างประเทศของโจทก์ก็เข้าลักษณะเป็นการประกอบการค้าประเภทนายหน้าตามประมวลรัษฎากรหาใช่โจทก์เป็นผู้ขายข้าวส่งต่างประเทศเองไม่ (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 1388/2509)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 897/2520

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประกอบการค้าข้าวส่งออก: นายหน้า vs. ผู้ขาย การประเมินภาษีค่านายหน้า
ห้างโจทก์มีวัตถุประสงค์จำหน่ายข้าวสารและเป็นนายหน้าและตัวแทนค้าต่างในกิจการทุกประเภทในการติดต่อขายข้าวให้กับผู้ซื้อในต่างประเทศทางห้างโจทก์เสนอราคาขายข้าวโดยบวกค่าระวางบรรทุก ค่าประกันและค่านายหน้ารวมเข้าไปด้วย แต่โจทก์ไม่ได้จดทะเบียนเป็นผู้ส่งข้าวออกไปขายต่างประเทศ และไม่ได้ขออนุญาตต่อทางราชการได้ความว่าโรงสีเป็นผู้ขออนุญาตส่งข้าวไปขายต่างประเทศเป็นผู้ขออนุญาตนำเงินตราต่างประเทศเท่าราคาข้าวที่ขายเข้ามาในประเทศ ทั้งเป็นผู้ปฏิบัติตามพิธีการส่งออกของกรมศุลกากร เสียภาษีศุลกากร ค่าพรีเมี่ยม และภาษีการค้าข้าว กระสอบบรรจุข้าวส่งไปขายต่างประเทศก็มีตราของผู้ซื้อประทับอยู่ แสดงว่าโรงสีรู้อยู่แล้วว่ามีผู้ซื้อตัวจริงในต่างประเทศโจทก์อ้างว่าโรงสีขายข้าวให้โจทก์ แต่การซื้อขายไม่มีการวางมัดจำหรือทำสัญญาซื้อขายข้าวกันโจทก์ไม่มีโกดังเก็บข้าวเองเมื่อโรงสีส่งมอบข้าวแล้วโจทก์ยังไม่ชำระเงินค่าข้าวประกอบกับเลตเตอร์ออฟเครดิตที่ผู้ซื้อในต่างประเทศส่งมาชำระค่าข้าวนั้นโจทก์จะรับเอาทั้งหมดไม่ได้คงรับได้เฉพาะส่วนที่เป็นผลประโยชน์ของโจทก์เองเท่านั้นพฤติการณ์เหล่านี้แสดงว่าโจทก์เพียงแต่ทำการเป็นนายหน้าหรือตัวแทน หรือรับจัดธุรกิจจัดการให้โรงสีและผู้ซื้อในต่างประเทศได้ซื้อขายกันแม้บางเดือนมีการขาดทุนเพราะคำนวณค่าใช้จ่ายผิดพลาดบ้างการกระทำของโจทก์ก็เข้าลักษณะเป็นการประกอบการค้าประเภทนายหน้าตามประมวลรัษฎากรหาใช่โจทก์เป็นผู้ขายข้าวส่งต่างประเทศเองไม่ (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 1388/2509)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1292/2518

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สินค้าสำเร็จรูป-ไม่สำเร็จรูปทางภาษีอากร การประเมินภาษี เบี้ยปรับ เงินเพิ่ม และการคืนค่าขึ้นศาล
น้ำมันสะระแหน่และน้ำมันระกำนั้น แม้ก่อนจะใช้รับประทานหรือทา ต้องนำไปผสมกับแอลกอฮอล์หรือวัสลินเสียก่อน แต่การใช้แอลกอฮอล์หรือวัสลินผสมก็เพื่อจะลดหรือบรรเทาความเข้มของตัวยาและเพื่อสะดวกในการใช้เท่านั้น จึงถือว่าเป็นยาที่อาจอุปโภคบริโภคได้ทันที โดยไม่จำต้องเปลี่ยนหรือดัดแปลงหรือผสมกับสิ่งอื่นอีก และเป็นสินค้าสำเร็จรูป
ยาระงับความรู้สึกบาบิตอล ควินิน และควินินซัลเฟตผง ซึ่งเป็นยาผงนั้น การเอาสิ่งอื่นมาผสมเพื่อให้ตัวยาเกาะแน่นเป็นยาเม็ด หรือเอายาผง 3 ประเภทนี้ละลายในน้ำกลั่นก่อนเพื่อใช้เป็นยาฉีด แต่การผสมหรือใช้ละลายดังกล่าวก็เพื่อความสะดวกในการอุปโภคบริโภคเท่านั้นแม้ไม่ผสมกับสิ่งอื่นหรือละลายกับน้ำกลั่น ยา 3ประเภทนี้ก็อยู่ในสภาพที่อาจอุปโภคและบริโภคได้ทันทีจึงเป็นสินค้าสำเร็จรูป
ชะเอมแท่งนั้น การสะกัดโดยใช้แอลกอฮอล์และน้ำ หรือทำน้ำยาสะกัดชะเอม ก็เพื่อความสะดวกในการใช้ จึงเป็นสินค้าสำเร็จรูป
ประมวลรัษฎากร มาตรา 87(2) และ 89(3) มิได้เพ่งเล็งว่า ผู้ประกอบการค้าขัดขืนหรือมีเจตนาจะหลีกเลี่ยงภาษีการค้าหรือไม่ การที่โจทก์ผู้ประกอบการค้ายื่นแบบแสดงรายการสินค้าโดยคาดหมายเอาว่าเป็นสินค้าไม่สำเร็จรูปทำให้จำนวนภาษีที่ต้องเสียคลาดเคลื่อน เจ้าพนักงานประเมินย่อมมีอำนาจทำการประเมินแล้วสั่งให้โจทก์ชำระภาษีตามที่ที่ประเมินพร้อมด้วยเบี้ยปรับ และเมื่อโจทก์โต้แย้งไม่ยอมชำระภายในกำหนด เช่นนี้ โจทก์ต้องเสียทั้งเบี้ยปรับและเงินเพิ่มตามประมวลรัษฎากร มาตรา 89(3) และมาตรา89ทวิ ไม่มีเหตุที่ศาลจะสั่งยกเลิกเพิกถอนคำสั่งของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์การประเมินภาษี และคำสั่งของเจ้าพนักงานประเมินที่สั่งให้ผู้ประกอบการค้าชำระเบี้ยปรับและเงินเพิ่มได้
โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์การประเมินภาษี และคำสั่งของเจ้าพนักงานประเมินที่สั่งให้โจทก์ชำระค่าภาษีการค้า เบี้ยปรับ เงินเพิ่ม และภาษีบำรุงเทศบาล สำหรับสินค้าหลายชนิดซึ่งโจทก์นำเข้ามาในราชอาณาจักร โดยโจทก์ถือว่าสินค้าเหล่านั้นเป็นสินค้าไม่สำเร็จรูป โจทก์เสียค่าขึ้นศาลแต่ละศาลมาตามจำนวนทุนทรัพย์ตามฟ้องเดิม ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า สินค้าตามฟ้องบางชนิดไม่ใช่สินค้าสำเร็จรูป แต่มิได้สั่งไว้ว่าเงินภาษีเพิ่มเบี้ยปรับ และเงินเพิ่มเอากับสินค้าชนิดนั้นควรถูกเพิกถอนไปด้วยหรือไม่ โจทก์อุทธรณ์และฎีกา ขอให้ศาลอุทธรณ์และศาลฎีกายกเลิกเพิกถอนคำสั่งของจำเลยที่สั่งให้โจทก์ชำระเบี้ยปรับและเงินเพิ่มทั้งหมดเสียนั้น แต่โจทก์มิได้กล่าวมาในฟ้องหรือนำสืบให้ปรากฏว่าสินค้าที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ฟัง มาว่าเป็นสินค้าไม่สำเร็จรูปนั้น เจ้าพนักงานประเมินและจำเลยสั่งให้โจทก์เสียเบี้ยปรับและเงินเพิ่มเป็นจำนวนเท่าใด เพื่อจะได้เป็นแนวทางในการคิดหักเงินค่าขึ้นศาลให้โจทก์ เมื่อไม่มีทางคิดเงินเบี้ยปรับและเงินเพิ่ม เกี่ยวกับสินค้าที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ฟังมาว่าเป็นสินค้าสำเร็จรูปนั้น ว่าเป็นจำนวนเงินเท่าใดแล้ว จึงคืนเงินค่าขึ้นศาลในชั้นอุทธรณ์และชั้นฎีกาจากจำนวนทุนทรัพย์ดังกล่าวให้โจทก์ไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1292/2518 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สินค้าสำเร็จรูป vs. ไม่สำเร็จรูป ภาษีอากร การประเมินภาษี และเบี้ยปรับ
น้ำมันสะระแหน่และน้ำมันระกำนั้น แม้ก่อนจะใช้รับประทานหรือทา ต้องนำไปผสมกับแอลกอฮอล์หรือวัสลินเสียก่อน แต่การใช้แอลกอฮอล์หรือวัสลินผสมก็เพื่อจะลดหรือบรรเทาความเข้มของตัวยาและเพื่อสะดวกในการใช้เท่านั้น จึงถือว่าเป็นยาที่อาจอุปโภคบริโภคได้ทันทีโดยไม่จำต้องเปลี่ยนหรือดัดแปลงหรือผสมกับสิ่งอื่นอีก และเป็นสินค้าสำเร็จรูป
ยาระงับความรู้สึกบาบิตอล ควินิน และควินินซัลเฟตผง ซึ่งเป็นยาผงนั้น การเอาสิ่งอื่นมาผสมเพื่อให้ตัวยาเกาะแน่นเป็นยาเม็ด หรือเอายาผง 3 ประเภทนี้ละลายในน้ำกลั่นก่อนเพื่อใช้เป็นยาฉีด แต่การผสมหรือใช้ละลายดังกล่าวก็เพื่อความสะดวกในการอุปโภคบริโภคเท่านั้น แม้ไม่ผสมกับสิ่งอื่นหรือละลายกับน้ำกลั่น ยา 3 ประเภทนี้ก็อยู่ในสภาพที่อาจอุปโภคและบริโภคได้ทันที จึงเป็นสินค้าสำเร็จรูป
ชะเอมแท่งนั้น การสะกัดโดยใช้แอลกอฮอล์และน้ำ หรือทำน้ำยาสะกัดชะเอม ก็เพื่อความสะดวกในการใช้ จึงเป็นสินค้าสำเร็จรูป
ประมวลรัษฎากร มาตรา 87 (2) และ 85 (3) มิได้เพ่งเล็งว่า ผู้ประกอบการค้าขัดขืนหรือมีเจตนาจะหลีกเลี่ยงภาษีการค้าหรือไม่ การที่โจทก์ผู้ประกอบการค้ายื่นแบบแสดงรายการสินค้าโดยคาดหมายเอาว่าเป็นสินค้าไม่สำเร็จรูป ทำให้จำนวนภาษีที่ต้องเสียคลาดเคลื่อน เจ้าพนักงานประเมินย่อมมีอำนาจทำการประเมินแล้วสั่งให้โจทก์ชำระภาษีตามที่ประเมินพร้อมด้วยเบี้ยปรับ และเมื่อโจทก์โต้แย้งไม่ยอมชำระภายในกำหนด เช่นนี้ โจทก์ต้องเสียทั้งเบี้ยปรับและเงินเพิ่มตามประมวลรัษฎากร มาตรา 89 (3) และมาตรา 89 ทวิ ไม่มีเหตุที่ศาลจะสั่งยกเลิกเพิกถอนคำสั่งของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์การประเมินภาษีและคำสั่งของเจ้าพนักงานประเมินที่สั่งให้ผู้ประกอบการค้าชำระเบี้ยปรับและเงินเพิ่มได้
โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์การประเมินภาษี และคำสั่งของเจ้าพนักงานประเมินที่สั่งให้โจทก์ชำระค่าภาษีการค้า เบี้ยปรับ เงินเพิ่ม และภาษีบำรุงเทศบาล สำหรับสินค้าหลายชนิดซึ่งโจทก์นำเข้ามาในราชอาณาจักร โดยโจทก์ถือว่าสินค้าเหล่านั้นเป็นสินค้าไม่สำเร็จรูป โจทก์เสียค่าขึ้นศาลแต่ละศาลมาตามจำนวนทุนทรัพย์ตามฟ้องเดิม ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า สินค้าตามฟ้องบางชนิดไม่ใช่สินค้าสำเร็จรูป แต่มิได้สั่งไว้ว่าเงินภาษีเพิ่มเบี้ยปรับ และเงินเพิ่มเอากับสินค้าชนิดนั้นควรถูกเพิกถอนไปด้วยหรือไม่ โจทก์อุทธรณ์และฎีกาขอให้ศาลอุทธรณ์และศาลฎีกายกเลิกเพิกถอนคำสั่งของจำเลยที่สั่งให้โจทก์ชำระเบี้ยปรับและเงินเพิ่มทั้งหมดเสียนั้น แต่โจทก์มิได้กล่าวมาในฟ้องหรือนำสืบให้ปรากฏว่าสินค้าที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ฟังมาว่าเป็นสินค้าไม่สำเร็จรูปนั้น เจ้าพนักงานประเมินและจำเลยสั่งให้โจทก์เสียเบี้ยปรับและเงินเพิ่มเป็นจำนวนเท่าใด เพื่อจะได้เป็นแนวทางในการคิดหักเงินค่าขึ้นศาลให้โจทก์ เมื่อไม่มีทางคิดเงินเบี้ยปรับและเงินเพิ่มเกี่ยวกับสินค้าที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ฟังมาว่าเป็นสินค้าสำเร็จรูปนั้นว่าเป็นจำนวนเงินเท่าใดแล้ว จึงคืนเงินค่าขึ้นศาลในชั้นอุทธรณ์และชั้นฎีกาจากจำนวนทุนทรัพย์ดังกล่าวให้โจทก์ไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1071/2515

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การให้เช่ารถยนต์ไม่เข้าข่ายการรับขนส่ง แม้มีข้อตกลงเพิ่มหน้าที่ให้ผู้ให้เช่า ต้องเสียภาษีการค้าจากการให้เช่าทรัพย์สิน
โจทก์มีรถยนต์หลายประเภทสำหรับให้ผู้อื่นเช่าไปใช้ประโยชน์ กำหนดเวลาเช่าเป็นรายเดือนก็มี เป็นเวลา 1 ปีก็มี ค่าเช่าคิดเป็นรายเดือนต่อรถยนต์หนึ่งคัน แม้สัญญาเช่าระหว่างโจทก์กับผู้เช่าจะเพิ่มหน้าที่ของโจทก์นอกเหนือไปจากหน้าที่ของผู้ให้เช่าตามที่กฎหมายกำหนดไว้ก็ตาม ก็ไม่ทำให้ลักษณะของสัญญาเช่าเปลี่ยนแปลงไปเป็นสัญญารับขนดังโจทก์อ้าง ถือว่าการค้าของโจทก์เป็นการค้าประเภทให้เช่าทรัพย์สินที่ไม่ใช่อสังหาริมทรัพย์ต้องคำนวณภาษีการค้าร้อยละ 2.5 ของรายรับ ไม่ใช่ร้อยละ 0.5

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1826/2511 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ มูลหนี้ภาษีการค้าเกิดขึ้นเมื่อนำเข้าสินค้า แม้ยังมิได้ยื่นแบบฯ กรมสรรพากรมีสิทธิรับชำระหนี้ในฐานะเจ้าหนี้บุริมสิทธิ
จำเลยนำสินค้าเข้ามาในราชอาณาจักรตั้งแต่ปี 2507-2508 โดยมิได้ยื่นแบบแสดงรายการการค้าและชำระภาษีการค้า ตามประกาศของอธิบดีกรมสรรพากรโดยอนุมัติรัฐมนตรี ถือว่าผู้ประกอบการค้าที่เป็นผู้นำเข้าซึ่งสินค้าทุกชนิดได้ขายสินค้านั้นในวันนำเข้าในราชอาณาจักร จำเลยย่อมมีรายรับตามมูลค่าของสินค้าในวันนำเข้าในราชอาณาจักร และมีหน้าที่ต้องชำระเงินค่าภาษีการค้าทุกเดือนภาษี ภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไป มูลหนี้ค่าภาษีการค้าจึงเกิดขึ้นตั้งแต่เดือนภาษีที่จำเลยผู้ประกอบการค้ามีรายรับ
การที่เจ้าพนักงานประเมินทำการประเมินในภายหลัง เนื่องจากจำเลยมิได้ยื่นแบบแสดงรายการการค้า แล้วมีหนังสือแจ้งยอดเงินภาษีไปให้จำเลยชำระเงินดังกล่าวไม่ทำให้มูลหนี้ค่าภาษีการค้าเพิ่งเกิด แม้หนังสือแจ้งยอดเงินภาษีที่ประเมินจะเพิ่งมีไปยังจำเลยภายหลังจากจำเลยถูกศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์แล้ว กรมสรรพากรก็ยังมีสิทธิยื่นคำขอรับชำระหนี้ค่าภาษีการค้า ซึ่งมีมูลหนี้เกิดขึ้นก่อนได้
เบี้ยปรับและเงินเพิ่มซึ่งผู้ประกอบการค้าต้องเสียตามประมวลรัษฎากรถือว่าเป็นเงินภาษีด้วย
สิทธิเรียกร้องของรัฐบาลเพื่อเอาค่าภาษีอากรมีกำหนดอายุความ 10 ปี
คำขอรับชำระหนี้ของกรมสรรพากรซึ่งระบุว่าขอรับชำระหนี้ค่าภาษีอากร (ภาษีการค้า) ถือได้ว่าขอรับชำระหนี้ในฐานะเป็นเจ้าหนี้บุริมสิทธิ เพราะค่าภาษีอากรเป็นหนี้บุริมสิทธิสามัญตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 253(3) อยู่แล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1826/2511 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ มูลหนี้ภาษีการค้าเกิดขึ้นเมื่อใด: การประเมินภาษีและการขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลาย
จำเลยนำสินค้าเข้ามาในราชอาณาจักรตั้งแต่ปี 2507- 2508 โดยมิได้ยื่นแบบแสดงรายการการค้าและชำระภาษีการค้า ตามประกาศของอธิบดีกรมสรรพากรโดยอนุมัติรัฐมนตรี ถือว่า ผู้ประกอบการค้าที่เป็นผู้นำเข้าซึ่งสินค้าทุกชนิดได้ขาย สินค้านั้นในวันนำเข้าในราชอาณาจักร จำเลยย่อมมีรายรับตาม มูลค่าของสินค้าในวันนำเข้าในราชอาณาจักร และมีหน้าที่ต้อง ชำระเงินค่าภาษีการค้าทุกเดือนภาษี ภายในวันที่ 15 ของ เดือนถัดไป มูลหนี้ค่าภาษีการค้าจึงเกิดขึ้นตั้งแต่ เดือนภาษีที่จำเลยผู้ประกอบการค้ามีรายรับ
การที่เจ้าพนักงานประเมินทำการประเมินในภายหลัง เนื่องจาก จำเลยมิได้ยื่นแบบแสดงรายการการค้า แล้วมี หนังสือแจ้งยอดเงินภาษีไปให้จำเลยชำระเงินดังกล่าวไม่ทำให้ มูลหนี้ค่าภาษีการค้าเพิ่งเกิด แม้หนังสือแจ้งยอดเงินภาษีที่ ประเมินจะเพิ่งมีไปยังจำเลยภายหลังจากจำเลยถูกศาลสั่ง พิทักษ์ทรัพย์แล้ว กรมสรรพากรก็ยังมีสิทธิยื่น คำขอรับชำระหนี้ค่าภาษีการค้า ซึ่งมีมูลหนี้เกิดขึ้นก่อนได้
เบี้ยปรับและเงินเพิ่มซึ่งผู้ประกอบการค้าต้องเสียตาม ประมวลรัษฎากรถือว่าเป็นเงินภาษีด้วย
สิทธิเรียกร้องของรัฐบาลเพื่อเอาค่าภาษีอากรมีกำหนดอายุความ 10 ปี
คำขอรับชำระหนี้ของกรมสรรพากรซึ่งระบุว่าขอรับชำระหนี้ ค่าภาษีอากร (ภาษีการค้า) ถือได้ว่าขอรับชำระหนี้ในฐานะ เป็นเจ้าหนี้บุริมสิทธิ เพราะค่าภาษีอากรเป็น หนี้บุริมสิทธิสามัญตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 253(3) อยู่แล้ว
of 7