พบผลลัพธ์ทั้งหมด 15 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 652/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การให้สัตยาบันต่อการพิจารณาคดีที่ผิดระเบียบ ย่อมทำให้ไม่สามารถขอเพิกถอนการยึดทรัพย์ได้
ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยทั้งสองใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ และโจทก์นำเจ้าพนักงานบังคับคดียึดทรัพย์ของจำเลยที่ 2 เพื่อบังคับชำระหนี้ เมื่อจำเลยที่ 2 อ้างว่าเป็นการพิจารณาที่ผิดระเบียบ เพราะจำเลยที่ 2 ไม่ทราบว่าถูกฟ้องแล้วจำเลยที่ 2 ชอบที่จะขอให้ศาลชั้นต้นเพิกถอนการพิจารณาที่ผิดระเบียบนั้น ซึ่งจะทำให้คำพิพากษารวมทั้งการบังคับคดีอันเนื่องมาจากการพิจารณาที่ผิดระเบียบของศาลเป็นอันถูกเพิกถอนไปด้วยเพราะศาลจะต้องดำเนินกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบนั้นใหม่ แต่จำเลยที่ 2 ก็หาได้กระทำไม่ จำเลยที่ 2 กลับยินยอมชำระหนี้ตามคำพิพากษานั้นให้โจทก์ ทั้งยังได้ยื่นคำแถลงต่อเจ้าพนักงานบังคับคดีว่าจำเลยที่ 2 ได้ชำระหนี้ตามคำพิพากษาให้โจทก์ครบถ้วนแล้ว มีความประสงค์จะขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดีถอนการยึดทรัพย์ จำเลยที่ 2 ยินดีชำระค่าธรรมเนียมตามระเบียบ จึงขอถ่ายรายการค่าธรรมเนียมศาลเพื่อนำไปยื่นคำร้องขอลดหย่อนค่าธรรมเนียมต่อศาล และจะนำค่าธรรมเนียมชำระให้เจ้าพนักงานบังคับคดีภายหลัง เนื่องจากจำเลยที่ 2 ทราบจากเจ้าพนักงานบังคับคดีว่าค่าธรรมเนียมดังกล่าวมากกว่าหนี้ที่จะต้องรับผิดตามคำพิพากษาดังนี้ ถือได้ว่าจำเลยที่ 2 ได้ให้สัตยาบันแก่การผิดระเบียบ หลังจากได้ทราบเรื่องผิดระเบียบนั้นแล้ว จำเลยที่ 2 จะขอให้เพิกถอนการยึดทรัพย์หาได้ไม่
ตามคำร้องของจำเลยที่ 2 ที่ยื่นต่อศาลชั้นต้นเป็นกรณีที่จำเลยที่ 2ขอให้เพิกถอนการพิจารณาที่ผิดระเบียบและขอให้ยกเลิกค่าธรรมเนียมในการยึดทรัพย์ทั้งหมดเท่านั้น ดังนั้น หากศาลฟังว่าจำเลยที่ 2 ไม่มีสิทธิยื่นคำร้องขอให้เพิกถอนดังกล่าวก็ชอบที่จะยกคำร้องของจำเลยที่ 2 เสีย กรณีไม่มีประเด็นที่จะต้องวินิจฉัยว่าผู้ใดจะต้องรับผิดในค่าธรรมเนียมยึดทรัพย์แล้วไม่มีการขายหรือจำหน่าย ที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้โจทก์รับผิดในค่าธรรมเนียมยึดแล้วไม่มีการขายหรือจำหน่ายจึงเป็นเรื่องนอกประเด็นจากคำร้องของจำเลยที่ 2 เป็นการไม่ชอบ และปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5) ประกอบมาตรา 246, 247
ตามคำร้องของจำเลยที่ 2 ที่ยื่นต่อศาลชั้นต้นเป็นกรณีที่จำเลยที่ 2ขอให้เพิกถอนการพิจารณาที่ผิดระเบียบและขอให้ยกเลิกค่าธรรมเนียมในการยึดทรัพย์ทั้งหมดเท่านั้น ดังนั้น หากศาลฟังว่าจำเลยที่ 2 ไม่มีสิทธิยื่นคำร้องขอให้เพิกถอนดังกล่าวก็ชอบที่จะยกคำร้องของจำเลยที่ 2 เสีย กรณีไม่มีประเด็นที่จะต้องวินิจฉัยว่าผู้ใดจะต้องรับผิดในค่าธรรมเนียมยึดทรัพย์แล้วไม่มีการขายหรือจำหน่าย ที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้โจทก์รับผิดในค่าธรรมเนียมยึดแล้วไม่มีการขายหรือจำหน่ายจึงเป็นเรื่องนอกประเด็นจากคำร้องของจำเลยที่ 2 เป็นการไม่ชอบ และปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5) ประกอบมาตรา 246, 247
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 56/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประนีประนอมยอมความ, ข้อตกลงไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อย, การลดเบี้ยปรับ, ค่าทนายความ
ตามข้อตกลงในสัญญาประนีประนอมยอมความที่ให้โจทก์ถอนฟ้องคดีแพ่งและคดีอาญาที่โจทก์กับพวกฟ้องจำเลยรวม 11 คดี ภายในกำหนด 3 วันนับแต่วันทำสัญญา และให้โจทก์โอนกรรมสิทธิ์ที่ดินตามที่ระบุไว้คืนแก่จำเลยภายในกำหนด 15 วัน นับแต่วันทำสัญญา และจำเลยตกลงจะชำระเงินแก่โจทก์จำนวน18,000,000 บาท ภายในวันที่ 31 กรกฎาคม 2535 ปรากฏว่าสำนวนคดีที่ตกลงให้โจทก์ถอนฟ้องเป็นคดีที่ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ.2497 จำนวน 6 คดี และเป็นคดีฟ้องเรียกให้จำเลยชำระหนี้ในทางแพ่งจำนวน 5 คดี ทั้ง 11 คดีดังกล่าวไม่ใช่คดีอาญาแผ่นดิน ฉะนั้นข้อตกลงในส่วนดังกล่าวจึงไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน ไม่ตกเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ.มาตรา 150 แม้ข้อตกลงในส่วนที่ให้จำเลยถอนฟ้องและไม่ดำเนินคดีในข้อหาฟ้องเท็จตามคดีอาญาที่ระบุในสัญญาประนีประนอมยอมความเอกสาร จ.1 ข้อ 1 (ฏ) เป็นคดีอาญาแผ่นดิน ซึ่งอาจขัดต่อความสงบเรียบร้อยของประชาชนตกเป็นโมฆะก็ตาม ก็เป็นส่วนที่แยกออกจากส่วนที่สมบูรณ์ได้ตาม ป.พ.พ.มาตรา 173 ซึ่งไม่เกี่ยวกับส่วนที่จำเลยจะต้องชำระเงินเพื่อตอบแทนแก่โจทก์ในการที่โจทก์ได้ถอนฟ้องคดีทั้ง11 สำนวน ตามที่ระบุไว้ในสัญญาประนีประนอมยอมความ
ศาลอุทธรณ์หยิบยกเรื่องเช็คขึ้นวินิจฉัย เป็นไปตามประเด็นที่โจทก์กล่าวอ้างมาในคำฟ้อง จึงไม่เป็นเรื่องนอกประเด็น
การที่จำเลยทำสัญญาประนีประนอมยอมความมีข้อตกลงยินยอมให้เบี้ยปรับแก่โจทก์เป็นเงิน 5,000,000 บาท หากจำเลยที่ 1 เป็นฝ่ายผิดสัญญาแสดงว่าจำเลยที่ 1 มีเจตนาผูกพันตามนั้น จำเลยที่ 1 จึงมีหน้าที่ต้องเสียเบี้ยปรับแก่โจทก์ แต่ก็ไม่ได้บังคับว่าจะต้องเป็นไปตามนั้นโดยเด็ดขาด ศาลมีอำนาจใช้ดุลพินิจลดจำนวนเบี้ยปรับตามสัญญาลงได้โดยพิจารณาถึงทางได้เสียของโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ทุกอย่างอันชอบด้วยกฎหมายตาม ป.พ.พ.มาตรา 383
ที่จำเลยทั้งสองฎีกาว่า คดีนี้ไม่ยุ่งยาก ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้จำเลยทั้งสองใช้ค่าทนายความทั้งสองศาลแก่โจทก์รวม 3,000,000 บาทสูงเกินไปนั้น เป็นดุลพินิจที่เหมาะกับรูปคดีแล้ว ไม่มีเหตุที่ศาลฎีกาจะไปเปลี่ยนแปลง
ศาลอุทธรณ์หยิบยกเรื่องเช็คขึ้นวินิจฉัย เป็นไปตามประเด็นที่โจทก์กล่าวอ้างมาในคำฟ้อง จึงไม่เป็นเรื่องนอกประเด็น
การที่จำเลยทำสัญญาประนีประนอมยอมความมีข้อตกลงยินยอมให้เบี้ยปรับแก่โจทก์เป็นเงิน 5,000,000 บาท หากจำเลยที่ 1 เป็นฝ่ายผิดสัญญาแสดงว่าจำเลยที่ 1 มีเจตนาผูกพันตามนั้น จำเลยที่ 1 จึงมีหน้าที่ต้องเสียเบี้ยปรับแก่โจทก์ แต่ก็ไม่ได้บังคับว่าจะต้องเป็นไปตามนั้นโดยเด็ดขาด ศาลมีอำนาจใช้ดุลพินิจลดจำนวนเบี้ยปรับตามสัญญาลงได้โดยพิจารณาถึงทางได้เสียของโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ทุกอย่างอันชอบด้วยกฎหมายตาม ป.พ.พ.มาตรา 383
ที่จำเลยทั้งสองฎีกาว่า คดีนี้ไม่ยุ่งยาก ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้จำเลยทั้งสองใช้ค่าทนายความทั้งสองศาลแก่โจทก์รวม 3,000,000 บาทสูงเกินไปนั้น เป็นดุลพินิจที่เหมาะกับรูปคดีแล้ว ไม่มีเหตุที่ศาลฎีกาจะไปเปลี่ยนแปลง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4444/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อตกลงท้าทายอำนาจฟ้อง: ศาลดำเนินกระบวนพิจารณาตามข้อตกลงได้ชอบธรรม
คู่ความตกลงท้ากันว่าหากโจทก์เบิกความว่าได้มอบอำนาจให้ อ.ฟ้องคดีนี้ จำเลยยอมแพ้ แต่หากโจทก์เบิกความว่าไม่ได้มอบอำนาจให้ อ.ฟ้องคดีนี้โจทก์ยอมแพ้ โดยคู่ความไม่ติดใจสืบพยานหลักฐานอื่น เมื่อโจทก์ได้เบิกความตอบศาลว่า "ข้าพเจ้าได้มอบอำนาจให้ อ.ฟ้องคดีนี้จริง" ซึ่งตรงตามคำท้ากันแล้วส่วนข้อที่จำเลยยกขึ้นโต้แย้งว่าจำเลยมีสิทธิที่จะถามค้านโจทก์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา117 นั้น เป็นข้อที่นอกเหนือไปจากคำท้าไม่อาจดำเนินการให้ได้ ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาไปตามกรอบที่คู่ความตกลงท้ากันโดยชอบด้วยกฎหมายแล้ว จำเลยต้องเป็นฝ่ายแพ้คดีตามคำท้า
จำเลยอุทธรณ์และฎีกาแต่เพียงขอให้ย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาคดีใหม่เป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ จำเลยต้องเสียค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์และชั้นฎีกา ชั้นละ 200 บาทตามตาราง 1 (2) (ก) ท้าย ป.วิ.พ. แต่จำเลยเสียค่าขึ้นศาลอุทธรณ์และชั้นฎีกาอย่างคดีมีทุนทรัพย์ จึงต้องคืนค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์และชั้นฎีกาส่วนที่เกินแก่จำเลย
จำเลยอุทธรณ์และฎีกาแต่เพียงขอให้ย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาคดีใหม่เป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ จำเลยต้องเสียค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์และชั้นฎีกา ชั้นละ 200 บาทตามตาราง 1 (2) (ก) ท้าย ป.วิ.พ. แต่จำเลยเสียค่าขึ้นศาลอุทธรณ์และชั้นฎีกาอย่างคดีมีทุนทรัพย์ จึงต้องคืนค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์และชั้นฎีกาส่วนที่เกินแก่จำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2838/2539 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าขึ้นศาลในคดีล้มละลาย: การคำนวณทุนทรัพย์และผลของการไม่ชำระค่าขึ้นศาล
พ.ร.บ. ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 119 วรรคสองและวรรคสาม บัญญัติให้บุคคลที่ได้รับแจ้งความยืนยันหนี้คัดค้านต่อศาลโดยทำเป็นคำร้องภายในกำหนดเวลาสิบสี่วันนับแต่ได้รับแจ้งความยืนยัน และตาม พ.ร.บ.ล้มละลายพ.ศ. 2483 มาตรา 179 มิได้บัญญัติเกี่ยวกับค่าธรรมเนียมคำร้องไว้โดยเฉพาะจึงต้องนำตาราง 2 (3) ท้าย ป.วิ.พ. ซึ่งกำหนดให้คู่ความเสียค่าธรรมเนียมการยื่นคำขออื่น ๆ ที่ต้องทำเป็นคำร้องเพียง 20 บาท มาใช้บังคับ สำหรับชั้นอุทธรณ์นั้น ตามบทบัญญัติดังกล่าวมิได้ให้คู่ความทำเป็นคำร้อง และตาม พ.ร.บ.ล้มละลายพ.ศ.2483 มาตรา 179 วรรคท้าย บัญญัติให้คิดอัตราเดียวกับค่าธรรมเนียมตามป.วิ.พ. เมื่อผู้ร้องอุทธรณ์ต่อศาลอุทธรณ์ว่า ผู้ร้องไม่ต้องรับผิดชำระหนี้ตามที่ศาลชั้นต้นยกคำร้องของผู้ร้องที่ขอให้ยกคำสั่งของผู้คัดค้านที่ยืนยันให้ผู้ร้องชำระหนี้โดยอ้างว่าไม่มีหนี้ที่จะต้องชำระตามจำนวนที่ผู้คัดค้านแจ้งยืนยัน หากศาลอุทธรณ์มีคำพิพากษาให้ผู้ร้องชนะคดี ทุกข์ของผู้ร้องย่อมปลดเปลื้องไปเท่ากับจำนวนเงินที่ผู้ร้องไม่ต้องรับผิดชำระหนี้ อุทธรณ์ของผู้ร้องจึงเป็นคำฟ้องซึ่งมีจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นอุทธรณ์ตามจำนวนหนี้ที่ผู้ร้องไม่ต้องรับผิดตามที่ศาลชั้นต้นยกคำร้องของผู้ร้องนั้น อันเป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันอาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ ตามตาราง 1 ข้อ (1) (ก) ท้าย ป.วิ.พ. ประกอบด้วย พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483มาตรา 179 วรรคท้าย ซึ่งผู้ร้องต้องเสียค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์อย่างคดีมีทุนทรัพย์
ศาลอุทธรณ์มีคำสั่งให้ผู้ร้องนำค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์ที่ยังขาดอยู่มาชำระ แต่ผู้ร้องไม่ชำระ จึงเป็นการทิ้งฟ้องตาม ป.วิ.พ. มาตรา 174 (2),246 ประกอบ พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 153 ศาลอุทธรณ์ต้องมีคำสั่งให้จำหน่ายคดีเสียจากสารบบความตามมาตรา 132 (1) ประกอบ พ.ร.บ.ล้มละลายพ.ศ.2483 มาตรา 153 ที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า ผู้ร้องไม่นำเงินค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์ที่ยังขาดอยู่มาชำระภายในกำหนด อุทธรณ์ของผู้ร้องจึงเป็นอุทธรณ์ที่ต้องห้ามตามกฎหมาย และพิพากษายกอุทธรณ์ของผู้ร้อง เช่นนี้ คำพิพากษาของศาลอุทธรณ์จึงไม่ชอบด้วยกระบวนวิธีพิจารณา
ศาลอุทธรณ์มีคำสั่งให้ผู้ร้องนำค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์ที่ยังขาดอยู่มาชำระ แต่ผู้ร้องไม่ชำระ จึงเป็นการทิ้งฟ้องตาม ป.วิ.พ. มาตรา 174 (2),246 ประกอบ พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 153 ศาลอุทธรณ์ต้องมีคำสั่งให้จำหน่ายคดีเสียจากสารบบความตามมาตรา 132 (1) ประกอบ พ.ร.บ.ล้มละลายพ.ศ.2483 มาตรา 153 ที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า ผู้ร้องไม่นำเงินค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์ที่ยังขาดอยู่มาชำระภายในกำหนด อุทธรณ์ของผู้ร้องจึงเป็นอุทธรณ์ที่ต้องห้ามตามกฎหมาย และพิพากษายกอุทธรณ์ของผู้ร้อง เช่นนี้ คำพิพากษาของศาลอุทธรณ์จึงไม่ชอบด้วยกระบวนวิธีพิจารณา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7494/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เอกสารประกอบคำให้การ, ค่าธรรมเนียม, และการต่อสู้คดี: ศาลรับฟังได้หากจำเลยไม่ได้จงใจหลีกเลี่ยง
เอกสารท้ายคำให้การที่จำเลยอ้างถึงในคำให้การถือเป็นส่วนหนึ่งของคำให้การจึงไม่ต้องระบุอ้างเอกสารดังกล่าวในบัญชีระบุพยานอีก ศาลรับฟังได้
การที่จำเลยไม่เสียค่าอ้างเอกสารนั้นไม่ปรากฏว่าจำเลยจงใจฝ่าฝืนไม่เสียและศาลชั้นต้นก็มิได้สั่งเรียกเก็บ จึงมิใช่ความบกพร่องของจำเลย ไม่ควรยกเป็นเหตุไม่รับฟังเอกสาร
จำเลยให้การต่อสู้ใจความว่า จำเลยไม่ได้กู้เงินจากโจทก์ตามฟ้อง ไม่เคยทำสัญญากู้เงินกับโจทก์ โจทก์บังคับให้จำเลยลงลายมือชื่อในกระดาษเปล่า เป็นการปฏิเสธฟ้องโจทก์โดยสิ้นเชิงและอ้างที่มาแห่งสัญญากู้เงินตามฟ้องว่ามีความเป็นมาอย่างไร เป็นคำให้การที่ชัดแจ้งไม่ขัดกัน ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 2 ไม่เชื่อว่าจำเลยทำสัญญากู้เงินโจทก์ตามฟ้องจึงมิใช่การวินิจฉัยนอกประเด็น
การที่จำเลยไม่เสียค่าอ้างเอกสารนั้นไม่ปรากฏว่าจำเลยจงใจฝ่าฝืนไม่เสียและศาลชั้นต้นก็มิได้สั่งเรียกเก็บ จึงมิใช่ความบกพร่องของจำเลย ไม่ควรยกเป็นเหตุไม่รับฟังเอกสาร
จำเลยให้การต่อสู้ใจความว่า จำเลยไม่ได้กู้เงินจากโจทก์ตามฟ้อง ไม่เคยทำสัญญากู้เงินกับโจทก์ โจทก์บังคับให้จำเลยลงลายมือชื่อในกระดาษเปล่า เป็นการปฏิเสธฟ้องโจทก์โดยสิ้นเชิงและอ้างที่มาแห่งสัญญากู้เงินตามฟ้องว่ามีความเป็นมาอย่างไร เป็นคำให้การที่ชัดแจ้งไม่ขัดกัน ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 2 ไม่เชื่อว่าจำเลยทำสัญญากู้เงินโจทก์ตามฟ้องจึงมิใช่การวินิจฉัยนอกประเด็น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5406/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การใช้ผลความเห็นผู้เชี่ยวชาญเป็นหลักฐาน และการเสียค่าอ้างเอกสารหลังมีคำพิพากษา
โจทก์อ้างสัญญายืมข้าวเปลือกเป็นพยาน ต่อมาคู่ความท้ากันให้ผู้เชี่ยวชาญตรวจพิสูจน์ลายมือชื่อจำเลยในเอกสารดังกล่าวโดยให้ถือความเห็นของผู้เชี่ยวชาญเป็นข้อแพ้ชนะ ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยแพ้คดีโดยอาศัยผลจากความเห็นของผู้เชี่ยวชาญดังกล่าว ดังนี้ การที่ไม่ได้เสียค่าอ้างเอกสารจึงเป็นเรื่องนอกเหนือคำท้า ไม่มีผลทำให้คำพิพากษาของศาลชั้นต้นเสียไป เมื่อได้ความว่าโจทก์เสียค่าอ้างเอกสารดังกล่าวแล้ว แม้จะเสียภายหลังที่ศาลชั้นต้นพิพากษาก็รับฟังเป็นพยานหลักฐานได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4024/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การไม่ชำระค่าขึ้นศาลในอุทธรณ์ ส่งผลให้ศาลไม่รับอุทธรณ์ได้
จำเลยร่วมยื่นอุทธรณ์และนำเงินค่าขึ้นศาลและค่าธรรมเนียมซึ่งจะต้องใช้แทนคู่ความอีกฝ่ายหนึ่งมาวางศาลแล้ว ต่อมาจำเลยที่ 1 และที่ 2 ยื่นอุทธรณ์ดังนี้ อุทธรณ์ของจำเลยที่ 1 ที่ 2 กับของจำเลยร่วมแต่ละฉบับต่างเป็นคำฟ้องตามมาตรา1 (3) แห่ง ป.วิ.พ. และเป็นคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันอาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ของแต่ละคน ต้องเสียค่าขึ้นศาลตามทุนทรัพย์ที่ฟ้องของแต่ละคนในเวลายื่นฟ้องตามตาราง1 ท้าย ป.วิ.พ. เมื่อจำเลยที่ 1 ที่ 2 ไม่เสียเงินค่าขึ้นศาลภายในเวลาที่ศาลชั้นต้นกำหนด การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับอุทธรณ์จำเลยที่ 1 ที่ 2 จึงชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5892/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องสมบูรณ์ การโอนสิทธิเรียกร้องโดยมีสัตยาบัน และการกำหนดค่าทนายความเกินอัตราที่กฎหมายกำหนด
โจทก์ฟ้องให้จำเลยรับผิดตามสัญญารับจ้างรักษาความปลอดภัยโดยได้แนบสำเนาสัญญาจ้างมาท้ายฟ้องซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของคำฟ้องและระบุข้อความในสัญญาแต่ละข้อแสดงความรับผิดของจำเลยกรณีทรัพย์สินของผู้ว่าจ้างหายไปโดยการโจรกรรม อันเป็นมูลแห่งคำฟ้องไว้แจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาและข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาแล้ว ฟ้องโจทก์จึงสมบูรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 172 วรรคสอง
แม้โจทก์จะมิได้มอบอำนาจเป็นหนังสือให้ ส. บอกกล่าวแจ้งการโอนสิทธิเรียกร้องแก่จำเลย แต่เมื่อ ส. บอกกล่าวแจ้งการโอนสิทธิเรียกร้องในนามของโจทก์และโจทก์ยอมรับเอาการบอกกล่าวแล้ว ย่อมถือได้ว่าโจทก์ได้ให้สัตยาบันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 823 ถือได้ว่าโจทก์ได้บอกกล่าวแจ้งการโอนสิทธิเรียกร้องแก่จำเลยแล้ว
การที่จำเลยฎีกาว่า ศาลอุทธรณ์มิได้ยกสัญญาเอกสารหมาย จ.4ข้อ 11, 13 ขึ้นวินิจฉัยตามที่จำเลยอุทธรณ์ว่าผู้ว่าจ้างไม่ได้แจ้งเหตุให้จำเลยผู้รับจ้างทราบในทันทีและแจ้งจำนวนค่าเสียหายภายในเวลาที่กำหนด จำเลยจึงไม่ต้องรับผิดนั้น เป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง
การที่ศาลอุทธรณ์กำหนดค่าทนายความชั้นอุทธรณ์ให้จำเลยใช้แทนโจทก์เกินกว่าอัตราที่กฎหมายกำหนด แม้จำเลยจะมิได้ฎีกาในปัญหาข้อนี้ ศาลฎีกาย่อมกำหนดใหม่ให้ถูกต้องได้.
แม้โจทก์จะมิได้มอบอำนาจเป็นหนังสือให้ ส. บอกกล่าวแจ้งการโอนสิทธิเรียกร้องแก่จำเลย แต่เมื่อ ส. บอกกล่าวแจ้งการโอนสิทธิเรียกร้องในนามของโจทก์และโจทก์ยอมรับเอาการบอกกล่าวแล้ว ย่อมถือได้ว่าโจทก์ได้ให้สัตยาบันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 823 ถือได้ว่าโจทก์ได้บอกกล่าวแจ้งการโอนสิทธิเรียกร้องแก่จำเลยแล้ว
การที่จำเลยฎีกาว่า ศาลอุทธรณ์มิได้ยกสัญญาเอกสารหมาย จ.4ข้อ 11, 13 ขึ้นวินิจฉัยตามที่จำเลยอุทธรณ์ว่าผู้ว่าจ้างไม่ได้แจ้งเหตุให้จำเลยผู้รับจ้างทราบในทันทีและแจ้งจำนวนค่าเสียหายภายในเวลาที่กำหนด จำเลยจึงไม่ต้องรับผิดนั้น เป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง
การที่ศาลอุทธรณ์กำหนดค่าทนายความชั้นอุทธรณ์ให้จำเลยใช้แทนโจทก์เกินกว่าอัตราที่กฎหมายกำหนด แม้จำเลยจะมิได้ฎีกาในปัญหาข้อนี้ ศาลฎีกาย่อมกำหนดใหม่ให้ถูกต้องได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4769/2533 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยึดทรัพย์-ขายทอดตลาด: การรู้เห็นราคา, อำนาจเจ้าพนักงานบังคับคดี, และราคาขายที่เหมาะสม
จำเลยที่ 3 ลงชื่อทราบหมายบังคับคดี กับลงชื่อในบันทึกการยึดทรัพย์ บัญชีทรัพย์ที่ยึด และสัญญารักษาทรัพย์ ซึ่งต่างลงวันที่วันเดียวกับวันที่ยึดทรัพย์ แสดงว่าจำเลยที่ 3 ได้รู้เห็นการยึดทรัพย์และการคำนวณราคาทรัพย์ของเจ้าพนักงานบังคับคดีโดยตลอด เมื่อจำเลยที่ 3 อ้างว่าเจ้าพนักงานบังคับคดีประเมินราคาทรัพย์ต่ำกว่าความเป็นจริง แม้จะมิใช่เรื่องการคำนวณราคาทรัพย์เพื่อเรียกค่าธรรมเนียมการยึดแล้วไม่ขายตามหมายเหตุท้ายตาราง 5จำเลยที่ 3 ก็ต้องเสนอเรื่องต่อศาลภายใน 8 วัน นับแต่วันที่ยึดทรัพย์ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 296วรรคสอง
เมื่อจ่าศาลได้รับแต่งตั้งให้เป็นเจ้าพนักงานบังคับคดีแล้วย่อมมีอำนาจมอบหมายให้รองจ่าศาลไปปฏิบัติหน้าที่แทนได้
การขายทอดตลาดได้เลื่อนมาหลายครั้งแล้ว และราคาที่ขายได้ในครั้งหลังสุดก็สูงพอสมควร ไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 3 ได้หาผู้เข้าสู้ราคาให้ราคาสูงกว่านี้ได้ และการเลื่อนการขายทอดตลาดไปก็ไม่มีอะไรเป็นประกันว่าจะขายทอดตลาดทรัพย์ที่ยึดได้ในราคาสูงกว่านี้อีก จึงไม่ควรให้เลื่อนการขายทอดตลาดต่อไป.
เมื่อจ่าศาลได้รับแต่งตั้งให้เป็นเจ้าพนักงานบังคับคดีแล้วย่อมมีอำนาจมอบหมายให้รองจ่าศาลไปปฏิบัติหน้าที่แทนได้
การขายทอดตลาดได้เลื่อนมาหลายครั้งแล้ว และราคาที่ขายได้ในครั้งหลังสุดก็สูงพอสมควร ไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 3 ได้หาผู้เข้าสู้ราคาให้ราคาสูงกว่านี้ได้ และการเลื่อนการขายทอดตลาดไปก็ไม่มีอะไรเป็นประกันว่าจะขายทอดตลาดทรัพย์ที่ยึดได้ในราคาสูงกว่านี้อีก จึงไม่ควรให้เลื่อนการขายทอดตลาดต่อไป.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 284/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อพิพาทสัญญาหุ้นส่วนซื้อที่ดิน/โรงงาน: การโต้แย้งสิทธิซื้อขายและผลการบังคับใช้คำขอ
โจทก์ฟ้องว่าโจทก์กับจำเลยทำสัญญาเข้าหุ้นส่วนกันซื้อที่ดินพร้อมโรงงานและสิ่งปลูกสร้าง โดยตกลงออกเงินกันคนละครึ่งจำเลยผิดสัญญาไม่ออกเงินส่วนของตน. โจทก์จึงบอกเลิกสัญญาเข้าหุ้นส่วนต่อจำเลยโดยถือว่าโจทก์มีสิทธิตามสัญญาซื้อขายแต่ผู้เดียว คำขอท้ายฟ้องของโจทก์มีอยู่ข้อหนึ่งว่า โจทก์เป็นผู้ซื้อและทำหนังสือสัญญาจะซื้อขายที่ดินและโรงงานกับผู้ขายแต่ผู้เดียว ห้ามจำเลยเกี่ยวข้อง เช่นนี้ฟังได้ว่าจำเลยได้โต้แย้งสิทธิของโจทก์ตามสัญญาจะซื้อขายที่ดินและโรงงานดังกล่าวแล้ว คำให้การจำเลยก็โต้แย้งว่า จำเลยไม่ได้ขอให้โจทก์จ่ายเงินทดรองและโจทก์ก็ไม่ได้จ่ายเงินทดรองแทนจำเลย เงินที่ชำระครั้งแรกกับที่ผ่อนชำระจำเลยได้ชำระครึ่งหนึ่งตามสัญญาตลอดมา จึงเป็นกรณีที่มีข้อโต้แย้งระหว่างโจทก์กับจำเลย หากพิจารณาได้ตามความที่โจทก์ฟ้อง ศาลก็บังคับตามคำขอของโจทก์ดังกล่าวได้ส่วนคำขออื่นซึ่งศาลบังคับให้ไม่ได้ หรือโจทก์ไม่มีสิทธิเรียกร้องศาลก็ชอบที่จะยกคำขอนั้น การงดสืบพยานจึงไม่ชอบ
โจทก์ฟ้องว่าโจทก์มีสิทธิแต่ผู้เดียวตามสัญญาจะซื้อขายที่ดินและโรงงานในราคา 3,400,000 บาท จำเลยให้การว่าจำเลยมีสิทธิตามสัญญาดังกล่าวครึ่งหนึ่งและจำเลยได้ชำระเงินตามสัญญาครึ่งหนึ่งตลอดมา ดังนี้ เป็นคดีมีทุนทรัพย์ โจทก์ต้องเสียค่าขึ้นศาลในจำนวนทุนทรัพย์ 1,700,000 บาท
โจทก์ฟ้องว่าโจทก์มีสิทธิแต่ผู้เดียวตามสัญญาจะซื้อขายที่ดินและโรงงานในราคา 3,400,000 บาท จำเลยให้การว่าจำเลยมีสิทธิตามสัญญาดังกล่าวครึ่งหนึ่งและจำเลยได้ชำระเงินตามสัญญาครึ่งหนึ่งตลอดมา ดังนี้ เป็นคดีมีทุนทรัพย์ โจทก์ต้องเสียค่าขึ้นศาลในจำนวนทุนทรัพย์ 1,700,000 บาท