คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
พ.ร.บ.บำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ.2494 ม. 6

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 7 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1125/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หน้าที่จ่ายบำเหน็จตกทอดของส่วนราชการเมื่อมีผู้ทวงถาม และการคิดดอกเบี้ยกรณีผิดนัด
บำเหน็จตกทอดของ ป. ผู้ตายมิใช่มรดก และกฎหมายมิได้บังคับให้กรมบัญชีกลางจำเลยต้องจ่ายแก่ผู้มีส่วนได้เสียในทันทีที่ ป. ตาย แต่จะต้องจ่ายเมื่อมีผู้มีส่วนได้เสียทวงถาม โจทก์และจำเลยที่ 2 ยื่นเรื่องราวขอรับบำเหน็จตกทอดของ ป. ต่อจำเลยที่ 1 ต่างฝ่ายต่างอ้างว่าเป็นภริยาของ ป.โดยโจทก์อ้างว่าจดทะเบียนสมรสกับ ป. เมื่อวันที่ 10 ตุลาคม 2517ส่วนจำเลยที่ 2 อ้างว่า หย่ากับ ป. ตามสัญญาประนีประนอมยอมความซึ่งศาลพิพากษาตามยอมในปี 2516 แต่ยังมิได้ไปจดทะเบียนหย่า เช่นนี้ จำเลยที่ 1 มีหน้าที่ต้องวินิจฉัยให้เสร็จไปภายในเวลาอันสมควรว่าจะจ่ายบำเหน็จตกทอดให้แก่โจทก์หรือจำเลยที่ 2 เมื่อจำเลยที่ 1 ปฏิเสธการจ่ายจึงตกเป็นผู้ผิดนัดนับแต่วันที่จำเลยที่ 1 ปฏิเสธการจ่าย แต่ข้อเท็จจริงไม่ปรากฏว่าปฏิเสธการจ่ายเมื่อใด จึงถือว่าจำเลยที่ 1 ผิดนัดตั้งแต่วันฟ้องต้องชำระดอกเบี้ยอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปี นับแต่วันฟ้องแก่โจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 224 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1125/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ บำเหน็จตกทอดไม่ใช่ทรัพย์มรดก ส่วนราชการผู้จ่ายมีหน้าที่วินิจฉัยสิทธิ และถือเป็นผู้ผิดนัดเมื่อปฏิเสธการจ่าย
บำเหน็จตกทอดมิใช่ทรัพย์มรดกตาม ป.พ.พ. บรรพ 6
โจทก์และจำเลยที่ 2 ยื่นเรื่องราวขอรับบำเหน็จตกทอดของ ป. ต่อจำเลยที่ 1 โดยต่างฝ่ายต่างอ้างว่าเป็นภริยาของ ป. โจทก์อ้างว่าจดทะเบียนสมรสกับ ป. เมื่อวันที่ 10 ตุลาคม 2517 ส่วนจำเลยที่ 2 อ้างว่า หย่ากับ ป. ตามสัญญาประนีประนอมยอมความซึ่งศาลพิพากษาตามยอมในปี 2516 แต่ยังมิได้จดทะเบียนหย่า จำเลยที่ 1 มีหน้าที่ต้องวินิจฉัยให้เสร็จไปภายในเวลาอันสมควรว่าจะจ่ายบำเหน็จตกทอดให้แก่โจทก์หรือจำเลยที่ 2 เมื่อจำเลยที่ 1 ปฏิเสธการจ่าย จำเลยที่ 1 จึงตกเป็นผู้ผิดนัดนับแต่วันที่จำเลยที่ 1 ปฏิเสธการจ่าย แต่เมื่อไม่ปรากฏข้อเท็จจริงว่าปฏิเสธการจ่ายเมื่อใด จึงถือว่าจำเลยที่ 1 ผิดนัดตั้งแต่วันฟ้องต้องชำระดอกเบี้ยอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีนับแต่วันฟ้องแก่โจทก์ตามป.พ.พ. มาตรา 224 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3020/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เงินบำเหน็จข้าราชการได้รับการคุ้มครองจากการบังคับคดี หากยังไม่ได้ปะปนกับเงินอื่น
จำเลยมีสิทธิได้รับเงินบำเหน็จเนื่องจากลาออกจากราชการและจำเลยเพิ่งได้รับเงินบำเหน็จมาจากเจ้าหน้าที่การเงินโดยที่เงินบำเหน็จนั้นยังมิได้ปะปนกับเงินอื่นของจำเลยจนแยกไม่ออกเช่นนี้ โจทก์จะขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดียึดเงินบำเหน็จดังกล่าวจากจำเลยเพื่อชำระหนี้ตามคำพิพากษาหาได้ไม่.
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 5/2532)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3020/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เงินบำเหน็จข้าราชการได้รับการคุ้มครองจากการบังคับคดี หากยังมิได้ปะปนกับเงินอื่น
จำเลยมีสิทธิได้รับเงินบำเหน็จเนื่องจากลาออกจากราชการ และจำเลยเพิ่งได้รับเงินบำเหน็จมาจากเจ้าหน้าที่การเงินโดยที่เงินบำเหน็จนั้นยังมิได้ปะปนกับเงินอื่นของจำเลยจนแยกไม่ออกเช่นนี้ โจทก์จะขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดียึดเงินบำเหน็จดังกล่าวจากจำเลยเพื่อชำระหนี้ตามคำพิพากษาหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3020/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เงินบำเหน็จข้าราชการได้รับการคุ้มครองจากการบังคับคดี หากยังมิได้ปะปนกับเงินอื่น
จำเลยมีสิทธิได้รับเงินบำเหน็จเนื่องจากลาออกจากราชการและจำเลยเพิ่งได้รับเงินบำเหน็จมาจากเจ้าหน้าที่การเงินโดยที่เงินบำเหน็จนั้นยังมิได้ปะปนกับเงินอื่นของจำเลยจนแยกไม่ออกเช่นนี้ โจทก์จะขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดียึดเงินบำเหน็จดังกล่าวจากจำเลยเพื่อชำระหนี้ตามคำพิพากษาหาได้ไม่. (ประชุมใหญ่ครั้งที่ 5/2532)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1166/2510

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิบำเหน็จข้าราชการเป็นส่วนหนึ่งของกองมรดก สามารถทำพินัยกรรมยกให้ผู้อื่นได้
พระราชบัญญัติบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ. 2494 มาตรา 6 วรรคสองที่ว่า 'สิทธิในบำเหน็จฯลฯ เป็นสิทธิเฉพาะตัวจะโอนไม่ได้' นั้น หมายถึงห้ามการโอนสิทธิในบำเหน็จให้ผู้อื่นในขณะที่ผู้โอนยังมีชีวิตอยู่เท่านั้นหาได้มีความหมายห้ามเลยไปถึงการทำพินัยกรรมอันจะมีผลในเมื่อผู้นั้นได้ถึงแก่ความตายแล้วไม่
ขอลาออกจากราชการตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2507 และทางราชการอนุญาตให้ออกได้ตั้งแต่วันนั้น แม้คำสั่งอนุญาตนั้นจะออกเมื่อหลังจากที่ผู้นั้นตายไปแล้ว สิทธิที่ผู้นั้นจะได้รับบำเหน็จก็มีมาตั้งแต่วันที่ได้รับอนุญาตให้ออกจากราชการแล้ว เมื่อผู้นั้นตาย สิทธิในการได้รับบำเหน็จจึงเป็นสิทธิอย่างหนึ่งในกองมรดกซึ่งผู้นั้นมีอยู่ขณะถึงแก่ความตายตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1600 จึงแสดงเจตนาโดยพินัยกรรม โอนสิทธิในบำเหน็จนั้นให้แก่ผู้รับพินัยกรรมได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1646

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1166/2510 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในบำเหน็จข้าราชการสามารถโอนให้ผู้รับพินัยกรรมได้หลังผู้รับบำนาญเสียชีวิต แม้มีข้อจำกัดการโอนในขณะยังมีชีวิตอยู่
พระราชบัญญัติบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ.2494 มาตรา 6 วรรคสองที่ว่า "สิทธิในบำเหน็จฯลฯ เป็นสิทธิเฉพาะตัว จะโอนไม่ได้" นั้นหมายถึงห้ามการโอนสิทธิในบำเหน็จ ให้ผู้อื่นในขณะที่ผู้โอนยังมีชีวิตอยู่เท่านั้น หาได้มีความหมายห้ามเลยไปถึงการทำพินัยกรรมอันจะมีผลในเมื่อผู้นั้นได้ถึงแก่ความตายแล้วไม่
ขอลาออกจากราชการตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2507 และทางราชการอนุญาตให้ออกได้ตั้งแต่วันนั้น แม้คำสั่งอนุญาตนั้นจะออกเมื่อหลังจากที่ผู้นั้นตายไปแล้ว สิทธิที่ผู้นั้นจะได้รับบำเหน็จก็มีมาตั้งแต่วันที่ได้รับอนุญาตให้ออกจากราชการแล้วเมื่อผู้นั้นตาย สิทธิในการได้รับบำหน็จจึงเป็นสิทธิอย่างหนึ่งในกองมรดกซึ่งผู้นั้นมีอยู่ขณะถึงแก่ความตายตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1600 จึงแสดงเจตนาโดยพินัยกรรมโอนสิทธิในบำเหน็จนั้นให้แก่ผู้รับพินัยกรรมได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1646