พบผลลัพธ์ทั้งหมด 121 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 159/2566
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
นิติบุคคลค้ำประกันเกินวัตถุประสงค์ สัญญาเป็นโมฆะ การให้สัตยาบันต้องทำหลังเกิดนิติกรรม
จำเลยที่ 3 เป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัด ไม่มีวัตถุประสงค์การค้ำประกันการชำระหนี้ของผู้อื่น ตามบทบัญญัติแห่ง ป.พ.พ. มาตรา 66 ผู้แทนนิติบุคคลต้องกระทำกิจการหรือนิติกรรมภายในขอบวัตถุประสงค์ของนิติบุคคลจึงจะมีผลผูกพันนิติบุคคล เมื่อจำเลยที่ 3 ไม่มีวัตถุประสงค์ในการค้ำประกันหนี้ของผู้อื่นสัญญาค้ำประกันระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 3 จึงเป็นเรื่องนอกขอบวัตถุประสงค์ของจำเลยที่ 3 ไม่มีผลผูกพันจำเลยที่ 3 ให้ต้องรับผิดตามสัญญาค้ำประกันดังกล่าว
การให้สัตยาบันแก่นิติกรรมที่นิติบุคคลกระทำนอกขอบวัตถุประสงค์ของนิติบุคคลเป็นการให้การรับรองนิติกรรมที่ไม่มีผลผูกพันให้มีผลผูกพันนิติบุคคลและบังคับกันได้ซึ่งอาจกระทำโดยชัดแจ้งหรือโดยปริยาย โดยสภาพการให้สัตยาบันจึงต้องกระทำภายหลังที่ได้กระทำนิติกรรมนั้นแล้ว กรณีไม่อาจถือเอาการกระทำนิติกรรมนั้นเองเป็นการให้สัตยาบันแก่นิติกรรมนั้นในขณะเดียวกันได้ มิฉะนั้นแล้วจะกลายเป็นว่านิติกรรมที่อยู่นอกขอบวัตถุประสงค์ของนิติบุคคลจะมีผลผูกพันนิติบุคคลนั้นทุกกรณี ซึ่งมิใช่เจตนารมณ์ของกฎหมายในการกำหนดวัตถุประสงค์ของนิติบุคคลให้แตกต่างไปจากบุคคลธรรมดา การลงลายมือชื่อของจำเลยที่ 1 ฐานะกรรมการผู้มีอำนาจของจำเลยที่ 3 ในสัญญาค้ำประกันจึงไม่เป็นการให้สัตยาบันแก่การค้ำประกัน สัญญาค้ำประกันจึงไม่มีผลผูกพันจำเลยที่ 3 โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 3
การให้สัตยาบันแก่นิติกรรมที่นิติบุคคลกระทำนอกขอบวัตถุประสงค์ของนิติบุคคลเป็นการให้การรับรองนิติกรรมที่ไม่มีผลผูกพันให้มีผลผูกพันนิติบุคคลและบังคับกันได้ซึ่งอาจกระทำโดยชัดแจ้งหรือโดยปริยาย โดยสภาพการให้สัตยาบันจึงต้องกระทำภายหลังที่ได้กระทำนิติกรรมนั้นแล้ว กรณีไม่อาจถือเอาการกระทำนิติกรรมนั้นเองเป็นการให้สัตยาบันแก่นิติกรรมนั้นในขณะเดียวกันได้ มิฉะนั้นแล้วจะกลายเป็นว่านิติกรรมที่อยู่นอกขอบวัตถุประสงค์ของนิติบุคคลจะมีผลผูกพันนิติบุคคลนั้นทุกกรณี ซึ่งมิใช่เจตนารมณ์ของกฎหมายในการกำหนดวัตถุประสงค์ของนิติบุคคลให้แตกต่างไปจากบุคคลธรรมดา การลงลายมือชื่อของจำเลยที่ 1 ฐานะกรรมการผู้มีอำนาจของจำเลยที่ 3 ในสัญญาค้ำประกันจึงไม่เป็นการให้สัตยาบันแก่การค้ำประกัน สัญญาค้ำประกันจึงไม่มีผลผูกพันจำเลยที่ 3 โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 3
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4554/2559
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สถานะนิติบุคคล ธนาคาร และความรับผิดชอบอาญาของผู้ช่วยเหลือความผิดในตลาดหลักทรัพย์
บริษัทมหาชนจำกัดเป็นนิติบุคคลต่างหากจากผู้ถือหุ้น และมีสิทธิและหน้าที่ได้ตามกฎหมาย จึงเป็นเจ้าของเงินที่ให้กู้ยืมไป เมื่อมีผู้เบียดบังเอาทรัพย์ดังกล่าว ย่อมเป็นผู้เสียหายโดยตรงตาม ป.วิ.อ.
การพิจารณาความผิดอาญาตาม พ.ร.บ.หลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ.2535 ย่อมกระทำโดยการพิจารณาและสืบพยานในศาล ไม่ต้องผ่านการตรวจสอบโดยสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ก่อน
ความรับผิดทางอาญาคือโทษ ผู้กระทำความผิดย่อมได้รับเองเป็นรายบุคคลเฉพาะตัว แม้ตัวการถึงแก่ความตาย ผู้ช่วยเหลือให้ความสะดวกแก่ตัวการยังต้องรับผิดในการกระทำดังกล่าว
การพิจารณาความผิดอาญาตาม พ.ร.บ.หลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ.2535 ย่อมกระทำโดยการพิจารณาและสืบพยานในศาล ไม่ต้องผ่านการตรวจสอบโดยสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ก่อน
ความรับผิดทางอาญาคือโทษ ผู้กระทำความผิดย่อมได้รับเองเป็นรายบุคคลเฉพาะตัว แม้ตัวการถึงแก่ความตาย ผู้ช่วยเหลือให้ความสะดวกแก่ตัวการยังต้องรับผิดในการกระทำดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3901/2559
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผลผูกพันคำพิพากษาเดิม, สัญญาจ้าง, สัญญาซื้อขายหุ้น, การฟ้องละเมิด, อำนาจฟ้อง
สำหรับคดีที่โจทก์ฟ้อง ธ. นั้น ศาลแรงงานกลาง (สมุทรปราการ) วินิจฉัยว่า ธ. ทำสัญญาจ้างแรงงานกับบริษัท พ. มิได้ทำสัญญากับโจทก์ ถือไม่ได้ว่าโจทก์มีนิติสัมพันธ์กับ ธ. จึงฟังไม่ได้ว่า ธ. เป็นลูกจ้างโจทก์ และโจทก์ไม่อาจนำข้อห้ามต่าง ๆ ตามสัญญาจ้างมากล่าวอ้างว่า ธ. ปฏิบัติผิดสัญญาจนโจทก์ได้รับความเสียหายได้ พิพากษายกฟ้อง คดีดังกล่าวถึงที่สุดและผูกพันคู่ความทั้งในส่วนของผลคดีและข้อเท็จจริงที่ศาลวินิจฉัย ส่วนคดีนี้ แม้โจทก์ฟ้องจำเลยซึ่งเป็นคนละบุคคลกับ ธ. แต่ตามคำฟ้องคดีนี้กล่าวอ้างว่า ธ. เป็นลูกจ้างโจทก์ตามสัญญาจ้างแรงงานที่ ธ. ทำกับบริษัท พ. และ ธ. ปฏิบัติผิดข้อตกลงในสัญญา นำความลับทางการค้าของโจทก์ไปใช้ในกิจการของบริษัทที่ ธ. กับภริยาตนจดทะเบียนจัดตั้งบริษัทจำเลยขึ้น ก่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ สัญญาจ้างแรงงานดังกล่าวเป็นสัญญาเดียวกับที่โจทก์นำมากล่าวอ้างในคดีก่อน ประเด็นในส่วนที่เกี่ยวกับโจทก์และ ธ. ทั้งสองคดีจึงเป็นประเด็นเดียวกัน ข้อเท็จจริงที่ศาลวินิจฉัยในคดีก่อนจึงผูกพันโจทก์คดีนี้ว่า ธ. ไม่ใช่ลูกจ้างโจทก์ และโจทก์ไม่ใช่คู่สัญญาในสัญญาจ้างแรงงาน โจทก์ไม่อาจนำข้อห้ามต่าง ๆ ในสัญญาจ้างแรงงานมากล่าวอ้างว่า ธ. ปฏิบัติผิดสัญญาจ้างแรงงานได้ ปัญหาการรับฟังพยานหลักฐานผูกพันคู่ความนี้เป็นเรื่องเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เอง ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 247 ประกอบด้วย มาตรา 246 และมาตรา 142 (5)
ธ. ทำสัญญาขายหุ้นของบริษัทโจทก์ให้แก่บริษัท อ. ก่อนที่ ธ. จะทำสัญญาจ้างแรงงานกับบริษัท พ. แม้บริษัท อ. จะควบรวมกิจการกับบริษัท จ. กลายเป็นบริษัท พ. และถือว่าบริษัท พ. สวมสิทธิเป็นผู้ถือหุ้นที่ซื้อจาก ธ. แทนบริษัท อ. ก็ตาม แต่บริษัท พ. เป็นนิติบุคคลแยกต่างหากจากโจทก์ จึงถือไม่ได้ว่าโจทก์เป็นคู่สัญญาที่มีสิทธิยกเอาข้อตกลงตามสัญญาขายหุ้นดังกล่าวที่ห้าม ธ. ประกอบธุรกิจหรือให้ข้อมูลแก่บุคคลหรือหน่วยงานอื่นที่เป็นการแข่งขันทางธุรกิจกับโจทก์มากล่าวอ้างฟ้องร้องคดีนี้
ธ. ทำสัญญาขายหุ้นของบริษัทโจทก์ให้แก่บริษัท อ. ก่อนที่ ธ. จะทำสัญญาจ้างแรงงานกับบริษัท พ. แม้บริษัท อ. จะควบรวมกิจการกับบริษัท จ. กลายเป็นบริษัท พ. และถือว่าบริษัท พ. สวมสิทธิเป็นผู้ถือหุ้นที่ซื้อจาก ธ. แทนบริษัท อ. ก็ตาม แต่บริษัท พ. เป็นนิติบุคคลแยกต่างหากจากโจทก์ จึงถือไม่ได้ว่าโจทก์เป็นคู่สัญญาที่มีสิทธิยกเอาข้อตกลงตามสัญญาขายหุ้นดังกล่าวที่ห้าม ธ. ประกอบธุรกิจหรือให้ข้อมูลแก่บุคคลหรือหน่วยงานอื่นที่เป็นการแข่งขันทางธุรกิจกับโจทก์มากล่าวอ้างฟ้องร้องคดีนี้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 14166/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องมูลนิธิ, อายุความสิทธิเรียกร้อง, การซื้อขายเพื่อสนับสนุนการดำเนินงาน
วัตถุประสงค์ของโจทก์ตามสำเนาข้อบังคับอุตสาหกรรมพัฒนามูลนิธิซึ่งในหมวดที่ 2 เรื่องวัตถุประสงค์ ข้อ 4 ระบุว่า วัตถุประสงค์ของมูลนิธิคือ 4.1 เพื่อสนับสนุนและส่งเสริมการดำเนินงานของสถาบันหรือหน่วยงานอิสระที่กระทรวงอุตสาหกรรมจัดตั้งขึ้น... 4.4 ประกอบกิจการให้คำปรึกษา แนะนำ ฝึกอบรม วิจัยและพัฒนา วิเคราะห์และทดสอบ และประกอบกิจการอื่นที่เกี่ยวกับและต่อเนื่องกับภาคอุตสาหกรรมและภาคบริการ... และสถาบันอาหารเป็นสถาบันที่กระทรวงอุตสาหกรรมจัดตั้งขึ้นมีวัตถุประสงค์เพื่อดำเนินงานส่งเสริมและพัฒนาอุตสาหกรรมอาหารของประเทศไทยโดยให้โจทก์เป็นมูลนิธิรองรับการดำเนินงานของสถาบันอาหาร เมื่อสถาบันอาหารได้ดำเนินโครงการพัฒนาปลาเผาะมีเป้าหมายเป็นการเลี้ยงเชิงพาณิชย์และแปรรูปเชิงอุตสาหกรรมเพื่อการส่งออกเพื่อพัฒนาอุตสาหกรรมอาหารของประเทศไทยให้ยังคงเจริญเติบโตต่อไปอย่างมีประสิทธิภาพและสามารถแข่งขันได้ในระดับโลก การที่โจทก์ซึ่งเป็นมูลนิธิที่มีหน้าที่รองรับการดำเนินงานของสถาบันอาหารขายเนื้อปลาเผาะแก่จำเลยจึงเป็นการสนับสนุนส่งเสริมการดำเนินงานของสถาบันอาหารเพื่อสาธารณประโยชน์ มิใช่กระทำเพื่อมุ่งหาผลประโยชน์มาแบ่งปันกันแต่อย่างใด จึงเป็นการกระทำภายในขอบวัตถุประสงค์ของโจทก์ แม้วัตถุประสงค์ของโจทก์มิได้ระบุวัตถุประสงค์ในการซื้อขายก็ตาม โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องคดีนี้
จำเลยฎีกาว่าคำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ขัดกับ ป.วิ.พ. มาตรา 84 นั้น จำเลยมิได้กล่าวโดยชัดแจ้งซึ่งข้อเท็จจริงหรือข้อกฎหมายว่าคำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ขัดกับกฎหมายดังกล่าวอย่างไรเป็นฎีกาที่ไม่ชัดแจ้ง ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง (เดิม) ที่ใช้บังคับในขณะที่โจทก์ยื่นฟ้อง
การที่โจทก์ขายเนื้อปลาเผาะแก่จำเลยเป็นการสนับสนุนส่งเสริมการดำเนินงานของสถาบันอาหารเพื่อสาธารณประโยชน์ มิใช่กระทำเพื่อมุ่งหาผลประโยชน์มาแบ่งปันกันแต่อย่างใด จึงถือไม่ได้ว่าเป็นการประกอบ การค้าตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/34 (1) และเป็นกรณีที่ไม่มีกฎหมายบัญญัติไว้โดยเฉพาะ สิทธิเรียกร้องของโจทก์จึงมีอายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/30
จำเลยฎีกาว่าจำเลยมิได้ซื้อปลาจากโจทก์ แต่โจทก์นำปลามาให้จำเลยช่วยขาย จำเลยจึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์นั้น ประเด็นนี้ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าจำเลยซื้อปลาจากโจทก์ จำเลยมิได้อุทธรณ์โต้แย้งว่าคำพิพากษาของศาลชั้นต้นดังกล่าวไม่ถูกต้องอย่างไร ฎีกาข้อนี้ของจำเลยจึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง (เดิม) ที่ใช้บังคับในขณะที่โจทก์ยื่นฟ้อง
จำเลยฎีกาว่าคำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ขัดกับ ป.วิ.พ. มาตรา 84 นั้น จำเลยมิได้กล่าวโดยชัดแจ้งซึ่งข้อเท็จจริงหรือข้อกฎหมายว่าคำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ขัดกับกฎหมายดังกล่าวอย่างไรเป็นฎีกาที่ไม่ชัดแจ้ง ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง (เดิม) ที่ใช้บังคับในขณะที่โจทก์ยื่นฟ้อง
การที่โจทก์ขายเนื้อปลาเผาะแก่จำเลยเป็นการสนับสนุนส่งเสริมการดำเนินงานของสถาบันอาหารเพื่อสาธารณประโยชน์ มิใช่กระทำเพื่อมุ่งหาผลประโยชน์มาแบ่งปันกันแต่อย่างใด จึงถือไม่ได้ว่าเป็นการประกอบ การค้าตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/34 (1) และเป็นกรณีที่ไม่มีกฎหมายบัญญัติไว้โดยเฉพาะ สิทธิเรียกร้องของโจทก์จึงมีอายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/30
จำเลยฎีกาว่าจำเลยมิได้ซื้อปลาจากโจทก์ แต่โจทก์นำปลามาให้จำเลยช่วยขาย จำเลยจึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์นั้น ประเด็นนี้ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าจำเลยซื้อปลาจากโจทก์ จำเลยมิได้อุทธรณ์โต้แย้งว่าคำพิพากษาของศาลชั้นต้นดังกล่าวไม่ถูกต้องอย่างไร ฎีกาข้อนี้ของจำเลยจึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง (เดิม) ที่ใช้บังคับในขณะที่โจทก์ยื่นฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 13476-13482/2558 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องของนิติบุคคลต้องอยู่ภายในวัตถุประสงค์การจดทะเบียนและได้รับอนุญาตจากเจ้าหน้าที่สำหรับที่ดินของรัฐ
ป.พ.พ. มาตรา 65 บัญญัติว่า "นิติบุคคลจะมีขึ้นได้ก็แต่ด้วยอาศัยอำนาจแห่งประมวลกฎหมายนี้หรือกฎหมายอื่น" มาตรา 66 บัญญัติว่า "นิติบุคคลย่อมมีสิทธิและหน้าที่ตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายนี้หรือกฎหมายอื่นภายในขอบแห่งอำนาจหน้าที่หรือวัตถุประสงค์ดังได้บัญญัติหรือกำหนดไว้ในกฎหมาย ข้อบังคับ หรือตราสารจัดตั้ง" เมื่อโจทก์เป็นนิติบุคคลอันเป็นบุคคลสมมุติโดยอาศัยอำนาจของกฎหมาย การยึดถือครอบครองที่ดินของรัฐจึงต้องเป็นไปโดยชอบด้วยกฎหมายโดยโจทก์ต้องได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่ตามที่กฎหมายบัญญัติ และต้องเป็นกิจการที่อยู่ในขอบวัตถุประสงค์ของโจทก์ตามที่ได้จดทะเบียนไว้ด้วย เมื่อหนังสือรับรองจดทะเบียนบริษัทของโจทก์ โจทก์ไม่ได้จดทะเบียนให้มีวัตถุประสงค์ในการยึดถือครอบครองที่ดินพิพาทซึ่งเป็นที่ดินของรัฐอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินตาม ป.พ.พ. มาตรา 1304 (1) ทั้งไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่ให้ครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทตามกฎหมาย โจทก์จึงไม่มีสิทธิยึดถือครอบครองที่ดินพิพาทและไม่มีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลยทั้งแปดและบริวารออกจากที่ดินพิพาทตามฟ้อง ปัญหาดังกล่าวแม้ไม่มีคู่ความยกขึ้นต่อสู้ แต่เป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12776/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องของ อบจ. ในการดำเนินคดีเกี่ยวกับทรัพย์สินของรัฐ และการใช้สิทธิทางศาลโดยสุจริต
โจทก์มีฐานะเป็นนิติบุคคลตาม พ.ร.บ.องค์การบริหารส่วนจังหวัด พ.ศ.2540 มาตรา 8 วรรคหนึ่ง มีนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดเป็นผู้แทนนิติบุคคลที่มีอำนาจหน้าที่ดำเนินกิจการส่วนจังหวัดในเขตจังหวัดตามมาตรา 7 ซึ่งอำนาจหน้าที่ในการดำเนินกิจการนี้ย่อมหมายรวมถึงอำนาจติดตามและเอาคืนซึ่งทรัพย์สินของรัฐที่อยู่ในเขตจังหวัดที่อยู่ในความดูแล ตลอดจนมีอำนาจฟ้องร้องดำเนินคดีทั้งปวงเกี่ยวกับทรัพย์สินดังกล่าวได้ตามสิทธิและหน้าที่ที่บัญญัติไว้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 66 และ 67 ด้วย เมื่อการกระทำของจำเลยเป็นการทำโดยละเมิดต่อโจทก์โดยตรง โจทก์โดยนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดจึงเป็นผู้เสียหายและมีอำนาจฟ้องจำเลยได้ โดยไม่จำต้องรับมอบอำนาจจากผู้ว่าราชการจังหวัดอีก
เหตุที่โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยเพราะจำเลยปลูกบ้านอยู่ในที่ดินพิพาทโดยไม่มีสิทธิ โดยที่ดินดังกล่าวโจทก์อ้างว่ามีวัตถุประสงค์สร้างเป็นที่พักผ่อนหย่อนใจและสันทนาการตามโครงการก่อสร้างสนามกีฬาของโจทก์ ซึ่งย่อมมีความหมายอยู่ในตัวว่าโจทก์ไม่อาจนำออกให้เช่าตามคำขอเช่าของจำเลยได้เพราะขัดต่อวัตถุประสงค์ของโจทก์ โจทก์มีเหตุที่ไม่อาจให้จำเลยเช่าที่ดินพิพาทตามคำขอเพราะต้องนำที่ดินไปสร้างเป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจและสันทนาการตามโครงการก่อสร้างสนามกีฬาของโจทก์ มิใช่เรื่องโจทก์ไม่ให้จำเลยเช่าที่ดินพิพาทโดยไม่มีเหตุผลรองรับซึ่งมีแต่จะให้เกิดความเสียหายแก่จำเลย ในทางตรงกันข้ามการที่จำเลยปลูกบ้านอยู่ในที่ดินพิพาทย่อมเป็นอุปสรรคทำให้โจทก์ไม่อาจดำเนินการตามวัตถุประสงค์อันเป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลย การใช้สิทธิทางศาลของโจทก์จึงชอบแล้ว หาใช่เป็นเรื่องการใช้สิทธิโดยไม่สุจริตไม่
โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยและเรียกค่าเสียหาย 1,746,000 บาท เป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันอาจคำนวณเป็นราคาเงินได้หรือคดีมีทุนทรัพย์และไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้หรือคดีไม่มีทุนทรัพย์รวมอยู่ด้วย อัตราค่าขึ้นศาลตาราง 1 (3) ท้าย ป.วิ.พ. ให้คิดค่าขึ้นศาลตามอัตราคดีที่มีทุนทรัพย์ แต่ไม่ให้น้อยกว่าอัตราค่าขึ้นศาลในส่วนที่ไม่มีทุนทรัพย์แล้วแต่กรณี เมื่อศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 8 กำหนดค่าเสียหายให้โจทก์เพียง 8,000 บาท ทุนทรัพย์ที่พิพาทในชั้นอุทธรณ์และฎีกาในส่วนที่มีทุนทรัพย์ของจำเลยจึงมีจำนวน 8,000 บาท คิดเป็นค่าขึ้นศาลตามตาราง (1) (ก) เป็นเงิน 160 บาท ซึ่งน้อยกว่าค่าขึ้นศาลในส่วนที่ไม่มีทุนทรัพย์ที่ตาราง (2) (ก) กำหนดไว้ 200 บาท จำเลยจึงต้องชำระค่าขึ้นศาลในชั้นอุทธรณ์และฎีกาตามส่วนที่ไม่มีทุนทรัพย์ซึ่งเป็นอัตราที่มากกว่าเป็นเงินชั้นศาลละ 200 บาท
เหตุที่โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยเพราะจำเลยปลูกบ้านอยู่ในที่ดินพิพาทโดยไม่มีสิทธิ โดยที่ดินดังกล่าวโจทก์อ้างว่ามีวัตถุประสงค์สร้างเป็นที่พักผ่อนหย่อนใจและสันทนาการตามโครงการก่อสร้างสนามกีฬาของโจทก์ ซึ่งย่อมมีความหมายอยู่ในตัวว่าโจทก์ไม่อาจนำออกให้เช่าตามคำขอเช่าของจำเลยได้เพราะขัดต่อวัตถุประสงค์ของโจทก์ โจทก์มีเหตุที่ไม่อาจให้จำเลยเช่าที่ดินพิพาทตามคำขอเพราะต้องนำที่ดินไปสร้างเป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจและสันทนาการตามโครงการก่อสร้างสนามกีฬาของโจทก์ มิใช่เรื่องโจทก์ไม่ให้จำเลยเช่าที่ดินพิพาทโดยไม่มีเหตุผลรองรับซึ่งมีแต่จะให้เกิดความเสียหายแก่จำเลย ในทางตรงกันข้ามการที่จำเลยปลูกบ้านอยู่ในที่ดินพิพาทย่อมเป็นอุปสรรคทำให้โจทก์ไม่อาจดำเนินการตามวัตถุประสงค์อันเป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลย การใช้สิทธิทางศาลของโจทก์จึงชอบแล้ว หาใช่เป็นเรื่องการใช้สิทธิโดยไม่สุจริตไม่
โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยและเรียกค่าเสียหาย 1,746,000 บาท เป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันอาจคำนวณเป็นราคาเงินได้หรือคดีมีทุนทรัพย์และไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้หรือคดีไม่มีทุนทรัพย์รวมอยู่ด้วย อัตราค่าขึ้นศาลตาราง 1 (3) ท้าย ป.วิ.พ. ให้คิดค่าขึ้นศาลตามอัตราคดีที่มีทุนทรัพย์ แต่ไม่ให้น้อยกว่าอัตราค่าขึ้นศาลในส่วนที่ไม่มีทุนทรัพย์แล้วแต่กรณี เมื่อศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 8 กำหนดค่าเสียหายให้โจทก์เพียง 8,000 บาท ทุนทรัพย์ที่พิพาทในชั้นอุทธรณ์และฎีกาในส่วนที่มีทุนทรัพย์ของจำเลยจึงมีจำนวน 8,000 บาท คิดเป็นค่าขึ้นศาลตามตาราง (1) (ก) เป็นเงิน 160 บาท ซึ่งน้อยกว่าค่าขึ้นศาลในส่วนที่ไม่มีทุนทรัพย์ที่ตาราง (2) (ก) กำหนดไว้ 200 บาท จำเลยจึงต้องชำระค่าขึ้นศาลในชั้นอุทธรณ์และฎีกาตามส่วนที่ไม่มีทุนทรัพย์ซึ่งเป็นอัตราที่มากกว่าเป็นเงินชั้นศาลละ 200 บาท
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1131/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมการบริษัทไม่ต้องรับผิดส่วนตัวในสัญญาซื้อขาย หากทำหน้าที่ตามอำนาจและสัญญาทำในนามบริษัท
จำเลยที่ 1 เป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัด มีจำเลยที่ 2 เป็นกรรมการผู้มีอำนาจระหว่างเดือนมกราคมถึงเดือนธันวาคม 2548 โจทก์สั่งซื้อสินค้าเป็นกล่องใส่ซีดีทำด้วยดีบุก จำนวน 5,000,000 ใบราคา 1,470,432 ดอลลาร์สหรัฐ และของเล่นเป็นรถไฟฟ้าทำด้วยไม้ระบบโซนิค จำนวน 5,501,500 ชิ้น ราคา 1,603,429 ดอลลาร์สหรัฐ จากจำเลยที่ 1 โดยโจทก์ชำระเงินมัดจำร้อยละ 20 ของราคาสินค้าในแต่ละประเภทให้แก่จำเลยที่ 1 แล้ว ด้วยการโอนเงินเข้าบัญชีเงินฝากธนาคาร แต่จำเลยที่ 1 ผิดสัญญาไม่ส่งมอบสินค้าทั้งสองประเภทและไม่คืนเงินมัดจำ จึงเป็นการผิดสัญญาต้องคืนเงินและชดใช้ค่าเสียหายให้แก่โจทก์ ส่วนจำเลยที่ 2 นั้น แม้ในการติดต่อซื้อขายสินค้ากับโจทก์ โจทก์ติดต่อผ่านจำเลยที่ 2 โดยการส่งไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ซึ่งข้อความดังกล่าวไม่ได้อ้างถึงจำเลยที่ 1 แต่ข้อความดังกล่าวจำเลยที่ 2 เขียนเพื่อแจ้งรายละเอียดของวันเวลาตามแผนงานการผลิตกล่องใส่ซีดีตั้งแต่วันเริ่มออกแบบจนถึงวันที่จัดส่งสินค้าเสร็จสิ้น และแจ้งราคาค่าเครื่องมือสำหรับผลิตกล่องใส่ซีดีและรถไฟไม้ให้โจทก์ทราบ รวมถึงการนัดหมายเชื้อเชิญให้โจทก์มาเยี่ยมชมโรงงาน ซึ่งล้วนเกี่ยวพันกับสินค้าที่โจทก์สั่งซื้อจากจำเลยที่ 1 ทั้งสิ้น ไม่ปรากฏข้อความตอนใดที่แสดงว่าจำเลยที่ 2 กระทำไปในฐานะส่วนตัว อีกทั้งหลักฐานการโอนเงินก็เป็นชื่อบัญชีของจำเลยที่ 1 เป็นผู้รับเงินแต่ผู้เดียว มิใช่จำเลยที่ 2 ประกอบกับการแสดงเจตนาของจำเลยที่ 1 นิติบุคคลย่อมจะต้องกระทำโดยผ่านจำเลยที่ 2 ที่เป็นกรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทน พยานหลักฐานของโจทก์จึงฟังไม่ได้ว่าจำเลยที่ 2 ทำสัญญาซื้อขายสินค้าที่พิพาทกับโจทก์ในฐานะส่วนตัว จำเลยที่ 2 จึงไม่ต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ส่วนที่โจทก์อ้างว่าจำเลยที่ 2 ต้องรับผิดเพราะกระทำละเมิดแอบอ้างชื่อจำเลยที่ 1 หลอกลวงโจทก์ นั้น ปรากฏว่าโจทก์บรรยายฟ้องขอให้จำเลยทั้งสองรับผิดตามมูลหนี้สัญญาซื้อขาย โดยไม่ได้บรรยายว่าจำเลยที่ 2 กระทำละเมิด ข้ออ้างดังกล่าวถือเป็นข้อที่ไม่ได้ว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลทรัพย์สินฯ ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลทรัพย์สินฯ มาตรา 45 ประกอบ ป.วิ.พ.มาตรา 225 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8077/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประมูลแชร์เพื่อหารายได้ ไม่เกินวัตถุประสงค์บริษัท จำเลยต้องรับผิดตามเช็ค
การประมูลแชร์เป็นวิธีการหารายได้อย่างหนึ่ง เช่นเดียวกับการกู้ยืมเงินเพื่อเป็นทุนในการประกอบธุรกิจหรือการอื่นใดที่ต้องใช้เงิน เป็นกิจทั่วไปที่ดำเนินการได้เพื่อให้กิจการตามวัตถุประสงค์ที่ระบุในหนังสือรับรองดำเนินไปได้ จึงมิใช่เรื่องนอกเหนือวัตถุประสงค์ของจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7625/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนี้จากการซื้อขายสินค้าล่วงหน้า vs. สัญญากู้ยืม: หนี้ไม่มีมูลหากเป็นหนี้บริษัทต่อบริษัท
บริษัท ส. ที่โจทก์เป็นกรรมการได้มอบเงินให้บริษัท ซ. ที่จำเลยเป็นกรรมการเป็นค่าสินค้าที่โจทก์ชำระให้แก่จำเลยล่วงหน้า เงินจำนวนดังกล่าวไม่ใช่หนี้ตามข้อตกลงในฐานะส่วนตัวของโจทก์กับจำเลย แต่เป็นข้อตกลงระหว่างโจทก์ในฐานะกรรมการผู้มีอำนาจของบริษัท ส. กับจำเลยในฐานะกรรมการผู้มีอำนาจของบริษัท ซ. ต่อมาบริษัท ซ. จะต้องคืนเงินแก่บริษัท ส. แต่ได้ทำในรูปสัญญากู้ยืมที่จำเลยลงลายมือชื่อรับผิดต่อโจทก์ หนี้ที่จำเลยทำสัญญากู้ยืมเงินกับโจทก์จึงเป็นหนี้ที่บริษัท ซ. มีต่อบริษัท ส. ไม่ใช่เป็นหนี้ของจำเลยในฐานะส่วนตัว สัญญากู้ยืมเงินตามฟ้องระหว่างโจทก์กับจำเลยจึงไม่มีมูลหนี้ต่อกัน
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยกู้ยืมเงินโจทก์โดยไม่ได้นำสืบว่าหนี้กู้ยืมเงินดังกล่าวเป็นหนี้ที่เกิดจากการแปลงหนี้ ทั้งจำเลยให้การว่าจำเลยไม่ได้กู้ยืมเงินโจทก์ จำเลยทำสัญญากู้ยืมเงินกับโจทก์โดยไม่มีเจตนาผูกพันตามสัญญา จึงรับฟังไม่ได้ว่าหนี้กู้ยืมเงินดังกล่าวเป็นหนี้ที่เกิดจากการแปลงหนี้ตามที่โจทก์อ้าง กรณีไม่จำต้องวินิจฉัยว่า โจทก์จำต้องกล่าวในฟ้องถึงการแปลงหนี้ด้วยหรือไม่ เพราะไม่ทำให้ผลของคดีเปลี่ยนแปลง
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยกู้ยืมเงินโจทก์โดยไม่ได้นำสืบว่าหนี้กู้ยืมเงินดังกล่าวเป็นหนี้ที่เกิดจากการแปลงหนี้ ทั้งจำเลยให้การว่าจำเลยไม่ได้กู้ยืมเงินโจทก์ จำเลยทำสัญญากู้ยืมเงินกับโจทก์โดยไม่มีเจตนาผูกพันตามสัญญา จึงรับฟังไม่ได้ว่าหนี้กู้ยืมเงินดังกล่าวเป็นหนี้ที่เกิดจากการแปลงหนี้ตามที่โจทก์อ้าง กรณีไม่จำต้องวินิจฉัยว่า โจทก์จำต้องกล่าวในฟ้องถึงการแปลงหนี้ด้วยหรือไม่ เพราะไม่ทำให้ผลของคดีเปลี่ยนแปลง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10687/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีล้มละลาย: การมอบอำนาจให้สถาบันการเงินดำเนินคดีแทนเจ้าหนี้ แม้ไม่มีข้อความระบุในวัตถุประสงค์
แม้วัตถุประสงค์ของโจทก์และธนาคาร ท. ผู้รับมอบอำนาจจากโจทก์ตามหนังสือรับรองจะมิได้มีข้อความว่า โจทก์สามารถมอบอำนาจให้สถาบันการเงินหรือนิติบุคคลอื่นฟ้องคดีหรือดำเนินคดีแทน และธนาคาร ท. สามารถเป็นผู้รับมอบอำนาจจากสถาบันการเงินอื่นหรือนิติบุคคลอื่นในการฟ้องคดีหรือดำเนินคดีแทนสถาบันการเงินหรือนิติบุคคลอื่นได้ก็ตาม แต่ทั้งโจทก์และธนาคาร ท. ต่างก็มีวัตถุประสงค์ฝากเงิน ให้กู้ยืมเงิน ประกอบกิจการเป็นที่ปรึกษาทางการเงิน นายหน้า ตัวแทนเรียกเก็บหนี้ รับซื้อ รับโอนลูกหนี้หรือสิทธิเรียกร้องเช่นเดียวกัน เมื่อจำเลยทั้งห้ากับพวกเป็นหนี้โจทก์ตามคำพิพากษา โจทก์ย่อมมีอำนาจบังคับให้จำเลยทั้งห้ากับพวกชำระหนี้ตามคำพิพากษา โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องคดีล้มละลายนี้ได้ และย่อมมีอำนาจมอบอำนาจให้ธนาคาร ท. ดำเนินคดีนี้และให้มีอำนาจมอบอำนาจช่วงได้ด้วย ธนาคาร ท. ผู้รับมอบอำนาจจากโจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง