คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 66

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 121 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5804/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดร่วมกันของบริษัทในเครือจากการซื้อขายต่อเนื่อง แม้ชื่อนิติบุคคลต่างกัน
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยที่ 1 ได้มอบให้จำเลยที่ 2 เป็นตัวแทนทำสัญญาซื้อขายคอนกรีตผสมเสร็จโดยตกลงราคาและสถานที่ส่งมอบตามชนิดและปริมาตรโดยให้เครดิตแก่จำเลยทั้งสาม 60 วัน ตามสัญญาซื้อขาย การส่งมอบและเรียกเก็บเงินจำเลยที่ 1 และที่ 2 ให้โจทก์ออกบิลเรียกเก็บในนามบริษัทจำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นบริษัทในเครือเดียวกับจำเลยที่ 1 และที่ 2 โจทก์ได้ส่งสินค้าให้แก่จำเลยทั้งสามหลายครั้งตามรายละเอียดในฟ้อง รวมเป็นเงินที่จำเลยทั้งสามต้องชำระแก่โจทก์ทั้งสิ้น 613,122.84 บาท ครบกำหนดชำระเงินแล้ว จำเลยทั้งสามไม่ชำระ โจทก์ทวงถามหลายครั้งจำเลยทั้งสามเพิกเฉย ขอให้จำเลยทั้งสามชำระเงินพร้อมดอกเบี้ยแก่โจทก์ ตามคำบรรยายฟ้องโจทก์ดังกล่าวได้แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาเกี่ยวกับการซื้อขายและคำขอบังคับ รวมทั้งข้ออ้างที่ระบุให้จำเลยที่ 1 และที่ 3 รับผิดต่อโจทก์แล้ว ฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม และเมื่อเป็นการซื้อขายที่กระทำต่อเนื่องกันจำเลยที่ 1 และที่ 3 ย่อมต่อสู้ได้ว่า มิได้สั่งซื้อหรือได้ชำระราคาส่วนใดไปแล้วเท่าใด
บริษัทจำเลยที่ 1 และที่ 3 ร่วมกันรับจ้างก่อสร้างโรงงาน จำเลยที่ 1 และที่ 3 มีที่อยู่ที่เดียวกัน เมื่อปรากฏว่าจำเลยที่ 1 เป็นบริษัทสาขาหรือบริษัทลูกของจำเลยที่ 3 ด้วย ย่อมแสดงว่าจำเลยที่ 1 และที่ 3 ดำเนินกิจการร่วมกันมาโดยตลอด จึงไม่อาจอ้างความเป็นนิติบุคคลแยกจากกันมาปฏิเสธความรับผิดได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1961/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องของบริษัทเช่าซื้อ, หนังสือมอบอำนาจหลังแปรสภาพเป็นบริษัทมหาชน, และดอกเบี้ยตามสัญญาเช่าซื้อ
โจทก์เป็นนิติบุคคลตามกฎหมายว่าด้วยบริษัทมหาชนจำกัด มีวัตถุประสงค์ให้เช่าซื้อและให้เช่าทรัพย์สิน ตามวัตถุประสงค์ข้อ (1) ถึง (4) ในหนังสือรับรองของกรมทะเบียนการค้ากระทรวงพาณิชย์ การที่โจทก์ให้จำเลยที่ 1 เช่าซื้อรถยนต์จากโจทก์โดยมีจำเลยที่ 2 เป็นผู้ค้ำประกันจึงอยู่ในขอบวัตถุประสงค์ของโจทก์ และธุรกิจของโจทก์หาใช่ธุรกิจการจัดหามาซึ่งเงินทุนและใช้เงินนั้นในการประกอบกิจการอย่างใดอย่างหนึ่ง ซึ่งแยกประเภทได้ดังต่อไปนี้........ดังบทนิยาม "ธุรกิจเงินทุน" ตามพ.ร.บ.การประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ พ.ศ. 2522 ไม่ การดำเนินธุรกิจของโจทก์จึงไม่เข้าลักษณะการประกอบธุรกิจเงินทุนอันจะต้องได้รับใบอนุญาตจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังตามมาตรา 8 วรรคหนึ่ง ดังนั้นโจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
พ.ร.บ บริษัทมหาชนจำกัด พ.ศ. 2535 อนุญาตให้บริษัทเอกชนคือบริษัทจำกัดซึ่งตั้งขึ้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์แปรสภาพเป็นบริษัทมหาชนจำกัดได้ และบริษัทมหาชนจำกัดที่แปรสภาพมานั้นย่อมได้ไปทั้งทรัพย์สิน หนี้ สิทธิและความรับผิดของบริษัทเอกชนเดิมทั้งหมด เมื่อบริษัท ส. จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทเอกชนเดิมก่อนแปรสภาพได้ทำหนังสือมอบอำนาจให้นายส. ลงนามในสัญญาเช่าซื้อทรัพย์สินของบริษัทแทนบริษัทได้ หนังสือมอบอำนาจดังกล่าวย่อมก่อให้เกิด สิทธิและความรับผิดอันโอนไปยังโจทก์ซึ่งแปรสภาพมาได้ เมื่อหนังสือมอบอำนาจดังกล่าวยังอยู่ในกำหนดเวลา ส.จึงยังคงมีอำนาจลงนามในสัญญาเช่าซื้อแทนโจทก์ได้
โจทก์ฟ้องอ้างเหตุผลหนี้อันเกิดจากการผิดสัญญาเช่าซื้อรถยนต์มิใช่เรียกร้องมูลหนี้อันเกิดจากการกู้ยืมเงิน เมื่อโจทก์เรียกดอกเบี้ยเอากับจำเลยทั้งสองตามสัญญาเช่าซื้อซึ่งถือว่าเป็นการใช้สิทธิเรียกร้องค่าเสียหายตามสัญญา หาใช่เป็นการคิดดอกเบี้ยซ้อนดอกเบี้ยหรือขัดต่อพ.ร.บ.ห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตราไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9320/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การงดบังคับคดีต้องมีเหตุตามกฎหมาย แม้กรรมการผู้มีอำนาจเป็นคนละนิติบุคคลก็ไม่ถือเป็นคู่ความเดียวกัน
คดีที่จำเลยหยิบยกมาเป็นเหตุในคำร้องให้ศาลมีคำสั่งงดการบังคับคดีตาม ป.วิ.พ.มาตรา 293 วรรคหนึ่ง โจทก์คือบริษัท ท. จำเลยคือบริษัท อ.ซึ่งเป็นนิติบุคคลตามกฎหมาย แม้โจทก์คดีนี้จะเป็นกรรมการผู้มีอำนาจของบริษัท อ.และจำเลยจะเป็นกรรมการผู้มีอำนาจของบริษัท ท.ก็ตาม จะถือว่าคู่ความในคดีนี้เป็นคู่ความเดียวกันกับคู่ความในคดีดังกล่าวหาได้ไม่ เพราะเป็นบุคคลต่างรายกัน ชอบที่ศาลจะยกคำร้องของจำเลยโดยเหตุดังกล่าวเสีย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8658-8686/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้อง, การครอบครองปรปักษ์, ฐานะนิติบุคคลมิซซัง, ค่าขึ้นศาล, คดีไม่มีทุนทรัพย์
ชั้นอุทธรณ์จำเลยมิได้ต่อสู้กรรมสิทธิ์แล้ว คดีไม่มีประเด็นให้วินิจฉัยในเรื่องกรรมสิทธิ์ในชั้นอุทธรณ์อีก จึงเป็นคดีไม่มีทุนทรัพย์ และถือไม่ได้ว่าเป็นกรณีที่จำนวนทุนทรัพย์ในชั้นอุทธรณ์หรือฎีกาเป็นอย่างเดียวกับในศาลชั้นต้นซึ่งผู้อุทธรณ์หรือผู้ฎีกาต้องเสียค่าขึ้นศาลตามจำนวนทุนทรัพย์หรือราคาเดียวกับในศาลชั้นต้นตาม ป.วิ.พ. มาตรา 150 วรรคสอง ศาลฎีกาต้องสั่งคืนค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์แก่จำเลย
สำหรับจำเลยที่ไม่ปฏิบัติตามคำสั่งศาลอุทธรณ์ที่ให้เสียค่าขึ้นศาลเพิ่มย่อมถือได้ว่าเป็นการทิ้งคำฟ้องอุทธรณ์ แม้จำเลยใดไม่เห็นด้วยกับคำสั่งศาลอุทธรณ์ที่ให้เสียค่าขึ้นศาลเพิ่มก็ตาม จำเลยนั้นก็ต้องปฏิบัติตามคำสั่งของศาลอุทธรณ์ไปก่อนแล้วจึงฎีกาขอคืนค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์ที่ยอมเสียเพิ่มไปก่อนได้
ปัญหาเรื่องอำนาจฟ้อง จำเลยให้การต่อสู้คดีว่าจำเลยได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทโดยการครอบครองปรปักษ์ และจำเลยได้สละประเด็นเรื่องการครอบครองปรปักษ์ที่ดินพิพาทไปตั้งแต่ในชั้นอุทธรณ์แล้ว จำเลยกลับอ้างในฎีกาว่าที่ดินพิพาทไม่ใช่ของโจทก์ แต่เป็นที่ดินในเขตชลประทานของกรมชลประทานอันเป็นข้อที่จำเลยมิได้ยกขึ้นต่อสู้ไว้ในคำให้การ จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
ตามบทบัญญัติมาตรา 65, 66 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่ได้ตรวจชำระใหม่ไม่ได้บัญญัติให้ยกเลิกมิซซังโรมันคาธอลิคว่าไม่เป็นนิติบุคคล แต่ได้บัญญัติรับรองไว้ว่านิติบุคคลจะมีขึ้นได้ก็แต่ด้วยอาศัยอำนาจแห่งประมวลกฎหมายนี้หรือกฎหมายอื่น และนิติบุคคลย่อมมีสิทธิและหน้าที่ตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายนี้หรือกฎหมายอื่น ภายในขอบแห่งอำนาจหน้าที่ หรือวัตถุประสงค์ดังได้บัญญัติหรือกำหนดไว้ในกฎหมายข้อบังคับหรือตราสารจัดตั้ง
โจทก์เป็นมิซซังโรมันคาธอลิคเป็นนิติบุคคลอยู่ก่อนแล้วตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยลักษณะฐานะของวัดบาดหลวงโรมันคาธอลิคในกรุงสยามตามกฎหมาย ร.ศ.128 ซึ่งเป็นกฎหมายพิเศษยังใช้บังคับจนปัจจุบันนี้ พระราชบัญญัติดังกล่าวจึงเป็นกฎหมายอื่นฉบับหนึ่งตามความหมายของ ป.พ.พ.มาตรา 65 โจทก์จึงย่อมมีฐานะเป็นนิติบุคคลตามกฎหมายอยู่ต่อไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8658-8686/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สถานะนิติบุคคลมิซซังโรมันคาทอลิก การครอบครองปรปักษ์ และอำนาจฟ้อง คดีขับไล่
ตามบทบัญญัติมาตรา 65,66 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่ได้ตรวจชำระใหม่ ไม่ได้บัญญัติให้ยกเลิกมิซซังโรมันคาธอลิคว่าไม่เป็นนิติบุคคล แต่ได้บัญญัติรับรองไว้ว่านิติบุคคลจะมีขึ้นได้ก็แต่ด้วยอาศัยอำนาจแห่งประมวลกฎหมายนี้หรือกฎหมายอื่น และนิติบุคคลย่อมมีสิทธิและหน้าที่ตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายนี้หรือกฎหมายอื่นภายในขอบแห่งอำนาจหน้าที่ หรือวัตถุประสงค์ดังได้บัญญัติหรือ กำหนดไว้ในกฎหมายข้อบังคับ หรือตราสารจัดตั้ง
โจทก์เป็นมิซซังโรมันคาธอลิคเป็นนิติบุคคลอยู่ก่อนแล้วตามพระราชบัญญัติว่าด้วยลักษณะฐานะของวัดบาดหลวงโรมันคาธอลิคในกรุงสยามตามกฎหมาย ร.ศ.128 ซึ่งเป็นกฎหมายพิเศษยังใช้บังคับจนปัจจุบันนี้ พระราชบัญญัติดังกล่าวจึงเป็นกฎหมายอื่นฉบับหนึ่งตามความหมายของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 65โจทก์จึงย่อมมีฐานะเป็นนิติบุคคลตามกฎหมายอยู่ต่อไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1903/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจกระทำการแทนบริษัทที่มีข้อพิพาท ศาลต้องไต่สวนข้อเท็จจริงก่อนวินิจฉัย
เดิมบริษัทจำเลยมี ณ.และ ก.เป็นกรรมการผู้มีอำนาจของบริษัทคนใดคนหนึ่งมีอำนาจลงลายมือชื่อและประทับตราสำคัญของบริษัทกระทำการแทนบริษัทจำเลยได้ ต่อมา ก.ได้ยื่นคำขอจดทะเบียนเปลี่ยนแปลงกรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนบริษัทจำเลยต่อนายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทเป็นว่า ให้ ก.เพียงผู้เดียวเป็นกรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนบริษัทจำเลย โดยอ้างว่าเป็นการจดทะเบียนเปลี่ยนแปลงตามมติที่ประชุมผู้ถือหุ้น ผู้ถือหุ้นบริษัทจำเลยจึงประชุมกันและมีมติว่า การดำเนินการของ ก.ดังกล่าวไม่ถูกต้อง และให้ถอดถอน ก.ออกจากกรรมการผู้มีอำนาจของบริษัทจำเลยแล้วแต่งตั้งให้ ณ.เป็นกรรมการผู้มีอำนาจของบริษัทจำเลยเพียงผู้เดียว และให้ดำเนินคดี ก.เป็นคดีอาญาข้อหาแจ้งความเท็จและแจ้งให้จดข้อความอันเป็นเท็จ กับฟ้องคดีแพ่งขอให้เพิกถอนรายการจดทะเบียนเปลี่ยนแปลงกรรมการที่ ก.ได้ดำเนินการไป แต่คดีทั้งหมดดังกล่าวยังไม่ถึงที่สุดจึงยังไม่มีการจดทะเบียนเปลี่ยนแปลงกรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนบริษัทจำเลยมาเป็น ก.เพียงผู้เดียวตามมติที่ประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้นข้างต้น ดังนี้เมื่อกรณียังมีข้อโต้แย้งระหว่าง ณ.กับ ก.ว่าผู้ใดมีอำนาจกระทำการแทนบริษัทจำเลยการที่ ณ.แต่งตั้ง ว.เป็นทนายจำเลยทำคำให้การและยื่นคำร้องขอแก้ไขคำให้การในนามจำเลยก็ดี หรือที่ ก.แต่งตั้ง อ.เป็นทนายจำเลยเข้าดำเนินคดีในเรื่องต่าง ๆรวมทั้งที่ ก.และ อ.เข้าทำสัญญาประนีประนอมยอมความในนามจำเลยกับโจทก์ ซึ่งศาลแรงงานพิพากษาตามยอมไปแล้วก็ดี และคดียังมีปัญหาว่า การกระทำต่าง ๆดังกล่าวชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ จึงชอบที่ศาลแรงงานจะได้ทำการไต่สวนให้สิ้นกระแสความเสียก่อนว่าข้อเท็จจริงเป็นอย่างไร การที่ศาลแรงงานด่วนมีคำวินิจฉัยข้อเท็จจริงเป็นยุติตามหนังสือรับรองว่า ก.เพียงผู้เดียวเป็นผู้มีอำนาจดำเนินคดีนี้แทนจำเลยแล้วมีคำสั่งไม่รับคำให้การกับคำร้องขอแก้ไขคำให้การที่ทำขึ้นโดย ว.ซึ่ง ณ.แต่งตั้งเป็นทนายจำเลย กับที่ศาลแรงงานสั่งให้เพิกถอนใบแต่งทนายความฉบับที่ ณ.แต่ง ว.เป็นทนายจำเลย และพิพากษาตามสัญญาประนีประนอมยอมความที่ ก.และ อ.ลงนามแทนจำเลยทำกับโจทก์จึงไม่ชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1903/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจดำเนินคดีแทนบริษัท: ศาลต้องไต่สวนข้อเท็จจริงก่อนตัดสินว่าผู้ใดมีอำนาจชอบธรรม
เดิมบริษัทจำเลยมี ณ. และ ก. เป็นกรรมการผู้มีอำนาจของบริษัทคนใดคนหนึ่งมีอำนาจลงลายมือชื่อ และประทับตราสำคัญของบริษัทกระทำการแทนบริษัทจำเลยได้ ต่อมา ก.ได้ยื่นคำขอจดทะเบียนเปลี่ยนแปลงกรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนบริษัทจำเลยต่อนายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัท เป็นว่า ให้ ก. เพียงผู้เดียวเป็นกรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนบริษัทจำเลย โดยอ้างว่าเป็นการจดทะเบียน เปลี่ยนแปลงตามมติที่ประชุมผู้ถือหุ้น ผู้ถือหุ้นบริษัทจำเลย จึงประชุมกันและมีมติว่า การดำเนินการของ ก. ดังกล่าวไม่ถูกต้อง และให้ถอดถอน ก.ออกจากกรรมการผู้มีอำนาจของบริษัทจำเลยแล้วแต่ง ตั้งให้ ณ. เป็นกรรมการผู้มีอำนาจของบริษัทจำเลยเพียงผู้เดียว และให้ดำเนินคดี ก. เป็นคดีอาญาข้อหาแจ้งความเท็จและแจ้งให้จดข้อความอันเป็นเท็จ กับฟ้องคดีแพ่งขอให้เพิกถอนรายการจดทะเบียนเปลี่ยนแปลง กรรมการที่ ก. ได้ดำเนินการไป แต่คดีทั้งหมดดังกล่าวยังไม่ถึงที่สุดจึงยังไม่มีการจดทะเบียนเปลี่ยนแปลงกรรมการ ผู้มีอำนาจกระทำการแทนบริษัทจำเลยมาเป็น ก. เพียงผู้เดียวตามมติที่ประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้นข้างต้น ดังนี้ เมื่อกรณียังมีข้อโต้แย้งระหว่าง ณ. กับ ก.ว่าผู้ใดมีอำนาจกระทำการแทนบริษัทจำเลย การที่ ณ. แต่งตั้ง ว.เป็นทนายจำเลยทำคำให้การและยื่นคำร้องขอแก้ไขคำให้การในนามจำเลยก็ดี หรือที่ ก. แต่งตั้ง อ. เป็นทนายจำเลยเข้าดำเนินคดีในเรื่องต่าง ๆ รวมทั้งที่ ก. และ อ. เข้าทำสัญญาประนีประนอมยอมความในนามจำเลยกับโจทก์ ซึ่งศาลแรงงานพิพากษาตามยอมไปแล้วก็ดี และคดียังมีปัญหาว่าการกระทำต่าง ๆ ดังกล่าวชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ จึงชอบที่ศาลแรงงานจะได้ทำการไต่สวนให้สิ้นกระแสความเสียก่อนว่าข้อเท็จจริงเป็นอย่างไร การที่ศาลแรงงานด่วนมีคำวินิจฉัยข้อเท็จจริงเป็นยุติตามหนังสือรับรองว่า ก. เพียงผู้เดียวเป็นผู้มีอำนาจดำเนินคดีนี้แทนจำเลยแล้วมีคำสั่งไม่รับคำให้การกับคำร้องขอแก้ไขคำให้การที่ทำขึ้นโดย ว. ซึ่ง ณ. แต่งตั้งเป็นทนายจำเลย กับที่ศาลแรงงานสั่งให้เพิกถอนใบแต่งทนายความฉบับที่ ณ.แต่ง ว. เป็นทนายจำเลย และพิพากษาตามสัญญาประนีประนอมยอมความ ที่ ก. และ อ. ลงนามแทนจำเลยทำกับโจทก์จึงไม่ชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6557/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ นิติบุคคลเป็นผู้จัดการมรดกได้หากกฎหมายไม่ได้ห้าม และวัตถุประสงค์ของมูลนิธิอนุญาต
ผู้ร้องร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกโดยอ้างสิทธิเป็นผู้รับพินัยกรรมส่วนผู้คัดค้านที่ 5 คัดค้านว่าพินัยกรรมดังกล่าวเป็นเอกสารปลอม ทั้งผู้คัดค้านที่ 5กล่าวอ้างว่าเจ้ามรดกทำพินัยกรรมตั้งให้ผู้คัดค้านที่ 5 เป็นผู้จัดการมรดกและยกทรัพย์มรดกครึ่งหนึ่งให้แก่ผู้คัดค้านที่ 5 ตามพินัยกรรมอีกฉบับหนึ่ง ผู้ร้องไม่ใช่เป็นผู้มีส่วนได้เสียในทรัพย์มรดกของเจ้ามรดก จึงไม่มีสิทธิร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกรายนี้ คดีจึงมีประเด็นว่า พินัยกรรมทั้งสองฉบับดังกล่าวนั้น ฉบับใดเป็นฉบับแท้จริง และผู้รับพินัยกรรมเป็นผู้มีส่วนได้เสียอันสมควรตั้งให้เป็นผู้จัดการมรดกของเจ้ามรดกหรือไม่ กรณีเป็นเรื่องวิธีจัดการมรดกเท่านั้น หาได้มีข้อโต้แย้งในระหว่างผู้รับมรดกแต่อย่างใดไม่ แม้ข้อกำหนดพินัยกรรมระบุให้ถวายทรัพย์มรดกแก่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวด้วย ก็ยังถือไม่ได้ว่าเป็นการฟ้องและโต้แย้งสิทธิต่อองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มิใช่เป็นเรื่องที่มีการกล่าวอ้างว่าบทบัญญัติแห่งกฎหมายที่ศาลจะใช้บังคับแก่คดีขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญอันจะต้องส่งให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 264ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยแต่ประการใด
ตาม ป.พ.พ.มาตรา 66 และ 67 นิติบุคคลย่อมมีสิทธิและหน้าที่เช่นเดียวกับบุคคลธรรมดา เว้นเสียแต่สิทธิและหน้าที่นั้นไม่อยู่ภายในขอบแห่งอำนาจหน้าที่หรือวัตถุประสงค์ของตนดังได้บัญญัติหรือกำหนดไว้ในกฎหมาย ข้อบังคับหรือตราสารจัดตั้ง หรือโดยสภาพจะพึงมีพึงเป็นได้เฉพาะแก่บุคคลธรรมดาเท่านั้น ซึ่งสิทธิและหน้าที่ของผู้จัดการมรดกนั้นโดยสภาพมิใช่สิทธิและหน้าที่ที่จะพึงมีพึงเป็นได้เฉพาะแก่บุคคลธรรมดา และบุคคลที่ต้องห้ามมิให้เป็นผู้จัดการมรดกตามมาตรา 1718 ย่อมนำมาใช้แก่นิติบุคคลได้เท่าที่ไม่ขัดกับสภาพของนิติบุคคล ดังนั้น เมื่อไม่มีบทกฎหมายใดที่ห้ามนิติบุคคลมิให้เป็นผู้จัดการมรดก ประกอบกับผู้ร้องเป็นผู้รับพินัยกรรมด้วย อีกทั้งตามตราสารจัดตั้งมูลนิธิของผู้ร้องได้ระบุไว้ในข้อ 5 ว่า มูลนิธิอาจได้มาซึ่งทรัพย์สินโดยวิธีดังต่อไปนี้... ข.ทรัพย์สินซึ่งมีผู้ยกให้เป็นพินัยกรรมหรือนิติกรรมอื่น ๆ โดยไม่มีเงื่อนไขผูกพันให้มูลนิธิต้องรับผิดในหนี้สินแต่ประการใด... การตั้งให้ผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกรายนี้ จึงอยู่ภายในขอบแห่งอำนาจหน้าที่และไม่ขัดกับวัตถุประสงค์ตามที่กำหนดไว้ในข้อบังคับหรือตราสารจัดตั้งมูลนิธิของผู้ร้อง
การที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยคดีเกี่ยวกับผู้คัดค้านที่ 2 ซึ่งศาลชั้นต้นมีคำสั่งเพิกถอนคำสั่งเดิมที่ให้รับอุทธรณ์ของผู้คัดค้านที่ 2 เนื่องจากผิดหลง เพราะผู้คัดค้านที่ 2 ยื่นอุทธรณ์พ้นระยะเวลาอุทธรณ์ตามกฎหมาย โดยศาลชั้นต้นมีคำสั่งใหม่ไม่รับอุทธรณ์ของผู้คัดค้านที่ 2 ดังนั้น ที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยคดีสำหรับผู้คัดค้านที่ 2จึงไม่ชอบ และเป็นกรณีที่ศาลอุทธรณ์มิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ.ว่าด้วยคำพิพากษาและคำสั่ง แต่ถึงอย่างไรก็ตาม คดีไม่มีผลเปลี่ยนแปลงเป็นอย่างอื่นศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขให้ถูกต้องโดยไม่จำต้องย้อนสำนวนคืนไปให้ศาลอุทธรณ์พิจารณาพิพากษาใหม่แต่อย่างใดอีกโดยพิพากษายกคำพิพากษาศาลอุทธรณ์เฉพาะส่วนคำวินิจฉัยที่เกี่ยวกับผู้คัดค้านที่ 2

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6557/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การตั้งนิติบุคคลเป็นผู้จัดการมรดกตามพินัยกรรม และประเด็นการส่งเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญตามมาตรา 264
ผู้ร้องร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกโดยอ้างสิทธิเป็นผู้รับพินัยกรรมส่วนผู้คัดค้านที่ 5 คัดค้านว่าพินัยกรรมดังกล่าวเป็นเอกสารปลอม ทั้งผู้คัดค้านที่ 5กล่าวอ้างว่าเจ้ามรดกทำพินัยกรรมตั้งให้ผู้คัดค้านที่ 5เป็นผู้จัดการมรดกและยกทรัพย์มรดกครึ่งหนึ่งให้แก่ผู้คัดค้านที่ 5 ตามพินัยกรรมอีกฉบับหนึ่ง ผู้ร้องไม่ใช่เป็นผู้มีส่วนได้เสียในทรัพย์มรดกของเจ้ามรดก จึงไม่มีสิทธิร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกรายนี้ คดีจึงมีประเด็นว่าพินัยกรรมทั้งสองฉบับดังกล่าวนั้น ฉบับใดเป็นฉบับแท้จริงและผู้รับพินัยกรรมเป็นผู้มีส่วนได้เสียอันสมควรตั้งให้เป็นผู้จัดการมรดกของเจ้ามรดกหรือไม่ กรณีเป็นเรื่องวิธีจัดการมรดกเท่านั้น หาได้มีข้อโต้แย้งในระหว่างผู้รับมรดกแต่อย่างใดไม่ แม้ข้อกำหนดพินัยกรรมระบุให้ถวายทรัพย์มรดกแก่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวด้วย ก็ยังถือไม่ได้ว่าเป็นการฟ้องและโต้แย้งสิทธิต่อองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมิใช่เป็นเรื่องที่มีการกล่าวอ้างว่าบทบัญญัติแห่งกฎหมายที่ศาลจะใช้บังคับแก่คดีขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญอันจะต้องส่งให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 264 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยแต่ประการใด ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 66 และ 67 นิติบุคคลย่อมมีสิทธิและหน้าที่เช่นเดียวกับบุคคลธรรมดาเว้นเสียแต่สิทธิและหน้าที่นั้นไม่อยู่ภายในขอบแห่งอำนาจหน้าที่หรือวัตถุประสงค์ของตนดังได้บัญญัติหรือกำหนดไว้ในกฎหมาย ข้อบังคับหรือตราสารจัดตั้ง หรือโดยสภาพจะพึงมีพึงเป็นได้เฉพาะแก่บุคคลธรรมดาเท่านั้น ซึ่งสิทธิและหน้าที่ของผู้จัดการมรดกนั้นโดยสภาพมิใช่สิทธิและหน้าที่ที่จะพึงมีพึงเป็นได้เฉพาะแก่บุคคลธรรมดา และบุคคลที่ต้องห้ามมิให้เป็นผู้จัดการมรดกตามมาตรา 1718 ย่อมนำมาใช้แก่นิติบุคคลได้เท่าที่ไม่ขัดกับสภาพของนิติบุคคลดังนั้น เมื่อไม่มีบทกฎหมายใดที่ห้ามนิติบุคคล มิให้เป็นผู้จัดการมรดก ประกอบกับผู้ร้องเป็นผู้รับพินัยกรรมด้วยอีกทั้งตามตราสารจัดตั้งมูลนิธิของผู้ร้องได้ระบุไว้ในข้อ 5ว่า มูลนิธิอาจได้มาซึ่งทรัพย์สินโดยวิธีดังต่อไปนี้ ข.ทรัพย์สินซึ่งมีผู้ยกให้เป็นพินัยกรรมหรือนิติกรรมอื่น ๆ โดยไม่มีเงื่อนไขผูกพันให้มูลนิธิต้องรับผิดในหนี้สินแต่ประการใด การตั้งให้ผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกรายนี้ จึงอยู่ภายในขอบแห่งอำนาจหน้าที่และไม่ขัดกับวัตถุประสงค์ตามที่กำหนดไว้ในข้อบังคับหรือตราสารจัดตั้งมูลนิธิของผู้ร้อง การที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยคดีเกี่ยวกับผู้คัดค้านที่ 2ซึ่งศาลชั้นต้นมีคำสั่งเพิกถอนคำสั่งเดิมที่ให้รับอุทธรณ์ของผู้คัดค้านที่ 2 เนื่องจากผิดหลง เพราะผู้คัดค้านที่ 2ยื่นอุทธรณ์พ้นระยะเวลาอุทธรณ์ตามกฎหมาย โดยศาลชั้นต้นมีคำสั่งใหม่ไม่รับอุทธรณ์ของผู้คัดค้านที่ 2 ดังนั้น ที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยคดีสำหรับผู้คัดค้านที่ 2 จึงไม่ชอบ และเป็นกรณี ที่ศาลอุทธรณ์มิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ว่าด้วยคำพิพากษาและคำสั่ง แต่ถึงอย่างไรก็ตาม คดีไม่มีผลเปลี่ยนแปลงเป็นอย่างอื่นศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขให้ถูกต้องโดยไม่จำต้องย้อนสำนวนคืนไปให้ศาลอุทธรณ์พิจารณาพิพากษา ใหม่แต่อย่างใดอีกโดยพิพากษายกคำพิพากษาศาลอุทธรณ์เฉพาะส่วนคำวินิจฉัยที่เกี่ยวกับผู้คัดค้านที่ 2

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5544/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ รายจ่ายของสำนักงานใหญ่ที่จัดสรรให้บริษัทในเครือ ต้องเป็นรายจ่ายที่สำนักงานใหญ่จัดสรรจริง และมีหลักฐานสนับสนุน
การที่บริษัท ยท. ซึ่งประกอบกิจการปิโตรเลียมจะมีสิทธิหักค่าใช้จ่ายได้หรือไม่เพียงใด ก็ต้องอาศัยพระราชบัญญัติภาษีเงินได้ปิโตรเลียม พ.ศ. 2514 ซึ่งมิได้กำหนดไว้ว่ารายจ่ายที่ได้รับจัดสรรจากบริษัทอื่นซึ่งในคดีนี้ได้แก่บริษัท ยค. ให้ถือเป็นรายจ่ายที่ทำการหักเป็นค่าใช้จ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิหรือผลขาดทุนได้คงมีแต่มาตรา 27แห่งพระราชบัญญัติภาษีเงินได้ปิโตรเลียม พ.ศ. 2514บัญญัติไว้ว่า "รายได้เมื่อหักรายจ่ายตามปกติและจำเป็นออกแล้ว ผลลัพธ์เป็นผลกำไรประจำปีหรือผลขาดทุนประจำปีแล้วแต่กรณี" และตามมาตรา 65 ฉ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติภาษีเงินได้ปิโตรเลียม (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2522มาตรา 3 บัญญัติว่า "ภายใต้บังคับมาตรา 65 สัตต และมาตรา 65 อัฏฐ รายจ่ายตามปกติและจำเป็นให้จำกัดอยู่เฉพาะแต่รายจ่ายตามปกติและจำเป็นในจำนวนไม่เกินสมควรและได้จ่ายไปทั้งหมดเฉพาะในกิจการปิโตรเลียมไม่ว่าจะจ่ายในหรือนอกราชอาณาจักรและภายในข้อจำกัดดังกล่าวให้รวมถึง (8)รายจ่ายของสำนักงานใหญ่เท่าที่จัดสรรได้โดยสมควรว่าเกี่ยวกับกิจการปิโตรเลียมของบริษัท" ฉะนั้น รายจ่ายคดีนี้ตามมาตรา 65 ฉ (8) ต้องเป็นรายจ่ายของสำนักงานใหญ่ที่สำนักงานใหญ่เป็นผู้จัดสรรโดยสมควร กฎหมายไม่ยอมให้นำมาหักเป็นค่าใช้จ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิหรือผลขาดทุนหากไม่ใช่เป็นรายจ่ายของสำนักงานใหญ่ เมื่อโจทก์ซึ่งรับโอนกิจการปิโตรเลียมมาจากบริษัท ยท. ไม่สามารถพิสูจน์หรือแยกให้เห็นว่ารายจ่ายใดบ้างที่เป็นรายจ่ายของสำนักงานใหญ่จัดสรรมาให้ โจทก์จึงอ้างเป็นรายจ่ายเพื่อกิจการในบริษัทโจทก์และนำมาหักค่าใช้จ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิหรือผลขาดทุนไม่ได้ บริษัท ยค.และยท. ต่างเป็นนิติบุคคลจดทะเบียนเป็นบริษัทจำกัดจัดตั้งขึ้นตามกฎหมายแห่งมลรัฐแคลิฟอร์เนียประเทศสหรัฐอเมริกา บริษัททั้งสองดังกล่าวจึงเป็นนิติบุคคลแยกต่างหากจากกัน ส่วนโจทก์ก็เป็นนิติบุคคลต่างหากจากบริษัททั้งสองดังกล่าว แม้จะได้ความว่าบริษัท ยค.ถือหุ้นทั้งหมดอยู่ในบริษัทยท. ก็ตาม ก็ไม่ทำให้ฐานะของนิติบุคคลทั้งสองกลับกลายเป็นนิติบุคคลเดียวกันหรือบริษัท ยท.เป็นสาขาของบริษัทยค.การที่บริษัทยค. ถือหุ้นอยู่ในบริษัท ยท. มีผลเพียงให้บริษัททั้งสองมีลักษณะเป็นบริษัทในเครือเดียวกัน หาใช่ว่าบริษัท ยค. เป็นสำนักงานใหญ่ของบริษัท ยท.หรือโจทก์ไม่ดังนั้นบริษัทยค. แม้จะมีค่าใช้จ่ายต่าง ๆ อันเกิดจากการให้ความช่วยเหลือและให้บริการแก่บริษัท ยท.ค่าใช้จ่ายดังกล่าวก็หาใช่รายจ่ายที่อาจจัดสรรหรือได้รับจัดสรรจากสำนักงานใหญ่ตามความหมายแห่ง พระราชบัญญัติภาษีเงินได้ปิโตรเลียม พ.ศ. 2514มาตรา 65 ฉ (8) ไม่
of 13