พบผลลัพธ์ทั้งหมด 121 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5544/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การหักค่าใช้จ่ายกิจการปิโตรเลียม: รายจ่ายสำนักงานใหญ่ต้องจัดสรรโดยสมควรและพิสูจน์ได้
การที่บริษัท ยท.ซึ่งประกอบกิจการปิโตรเลียมจะมีสิทธิหักค่าใช้จ่ายได้หรือไม่เพียงใด ก็ต้องอาศัย พ.ร.บ.ภาษีเงินได้ปิโตรเลียม พ.ศ.2514ซึ่งมิได้กำหนดไว้ว่า รายจ่ายที่ได้รับจัดสรรจากบริษัทอื่นซึ่งในคดีนี้ได้แก่ บริษัท ยค.ให้ถือเป็นรายจ่ายที่ทำการหักเป็นค่าใช้จ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิหรือผลขาดทุนได้คงมีแต่มาตรา 27 แห่ง พ.ร.บ.ภาษีเงินได้ปิโตรเลียม พ.ศ.2514 บัญญัติไว้ว่า"รายได้เมื่อหักรายจ่ายตามปกติและจำเป็นออกแล้ว ผลลัพธ์เป็นผลกำไรประจำปีหรือผลขาดทุนประจำปีแล้วแต่กรณี" และตามมาตรา 65 ฉ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพ.ร.บ.ภาษีเงินได้ปิโตรเลียม (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2522 มาตรา 3 บัญญัติว่า "ภายใต้บังคับมาตรา 65 สัตต และมาตรา 65 อัฏฐ รายจ่ายตามปกติและจำเป็นให้จำกัดอยู่เฉพาะแต่รายจ่ายตามปกติและจำเป็นในจำนวนไม่เกินสมควรและได้จ่ายไปทั้งหมดเฉพาะในกิจการปิโตรเลียมไม่ว่าจะจ่ายในหรือนอกราชอาณาจักรและภายในข้อจำกัดดังกล่าวให้รวมถึง...(8) รายจ่ายของสำนักงานใหญ่เท่าที่จัดสรรได้โดยสมควรว่าเกี่ยวกับกิจการปิโตรเลียมของบริษัท..." ฉะนั้น รายจ่ายคดีนี้ตามมาตรา 65 ฉ (8)ต้องเป็นรายจ่ายของสำนักงานใหญ่ที่สำนักงานใหญ่เป็นผู้จัดสรรโดยสมควร กฎหมายไม่ยอมให้นำมาหักเป็นค่าใช้จ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิหรือผลขาดทุนหากไม่ใช่เป็นรายจ่ายของสำนักงานใหญ่ เมื่อโจทก์ซึ่งรับโอนกิจการปิโตรเลียมมาจากบริษัท ยท.ไม่สามารถพิสูจน์หรือแยกให้เห็นว่ารายจ่ายใดบ้างที่เป็นรายจ่ายของสำนักงานใหญ่จัดสรรมาให้ โจทก์จึงอ้างเป็นรายจ่ายเพื่อกิจการในบริษัทโจทก์และนำมาหักค่าใช้จ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิหรือผลขาดทุนไม่ได้
บริษัท ยค. และ ยท. ต่างเป็นนิติบุคคลจดทะเบียนเป็นบริษัทจำกัดจัดตั้งขึ้นตามกฎหมายแห่งมลรัฐแคลิฟอร์เนีย ประเทศสหรัฐอเมริกา บริษัททั้งสองดังกล่าวจึงเป็นนิติบุคคลแยกต่างหากจากกัน ส่วนโจทก์ก็เป็นนิติบุคคลต่างหากจากบริษัททั้งสองดังกล่าว แม้จะได้ความว่าบริษัท ยค.ถือหุ้นทั้งหมดอยู่ในบริษัท ยท.ก็ตาม ก็ไม่ทำให้ฐานะของนิติบุคคลทั้งสองกลับกลายเป็นนิติบุคคลเดียวกันหรือบริษัทยท.เป็นสาขาของบริษัท ยค.การที่บริษัท ยค.ถือหุ้นอยู่ในบริษัท ยท.มีผลเพียงให้บริษัททั้งสองมีลักษณะเป็นบริษัทในเครือเดียวกัน หาใช่ว่าบริษัท ยค.เป็นสำนักงานใหญ่ของบริษัท ยท.หรือโจทก์ไม่ ดังนั้น บริษัท ยค.แม้จะมีค่าใช้จ่ายต่าง ๆอันเกิดจากการให้ความช่วยเหลือและให้บริการแก่บริษัท ยท. ค่าใช้จ่ายดังกล่าวก็หาใช่รายจ่ายที่อาจจัดสรรหรือได้รับจัดสรรจากสำนักงานใหญ่ตามความหมายแห่งพ.ร.บ.ภาษีเงินได้ปิโตรเลียม พ.ศ.2514 มาตรา 65 ฉ (8) ไม่
บริษัท ยค. และ ยท. ต่างเป็นนิติบุคคลจดทะเบียนเป็นบริษัทจำกัดจัดตั้งขึ้นตามกฎหมายแห่งมลรัฐแคลิฟอร์เนีย ประเทศสหรัฐอเมริกา บริษัททั้งสองดังกล่าวจึงเป็นนิติบุคคลแยกต่างหากจากกัน ส่วนโจทก์ก็เป็นนิติบุคคลต่างหากจากบริษัททั้งสองดังกล่าว แม้จะได้ความว่าบริษัท ยค.ถือหุ้นทั้งหมดอยู่ในบริษัท ยท.ก็ตาม ก็ไม่ทำให้ฐานะของนิติบุคคลทั้งสองกลับกลายเป็นนิติบุคคลเดียวกันหรือบริษัทยท.เป็นสาขาของบริษัท ยค.การที่บริษัท ยค.ถือหุ้นอยู่ในบริษัท ยท.มีผลเพียงให้บริษัททั้งสองมีลักษณะเป็นบริษัทในเครือเดียวกัน หาใช่ว่าบริษัท ยค.เป็นสำนักงานใหญ่ของบริษัท ยท.หรือโจทก์ไม่ ดังนั้น บริษัท ยค.แม้จะมีค่าใช้จ่ายต่าง ๆอันเกิดจากการให้ความช่วยเหลือและให้บริการแก่บริษัท ยท. ค่าใช้จ่ายดังกล่าวก็หาใช่รายจ่ายที่อาจจัดสรรหรือได้รับจัดสรรจากสำนักงานใหญ่ตามความหมายแห่งพ.ร.บ.ภาษีเงินได้ปิโตรเลียม พ.ศ.2514 มาตรา 65 ฉ (8) ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5458/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าซื้อโมฆะเนื่องจากลายมือชื่อไม่ถูกต้อง และโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง
การที่กรรมการผู้มีอำนาจทำการแทนโจทก์ลงลายมือชื่อในสัญญาเช่าซื้อเพียงคนเดียว ไม่ครบถ้วนตามหนังสือรับรองของโจทก์ที่กำหนดให้กรรมการสองคนลงลายมือชื่อร่วมกันและ ประทับตราสำคัญของบริษัทจึงจะผูกพันโจทก์ ดังนี้ย่อมมีผล เท่ากับโจทก์ไม่ได้ลงลายมือชื่อในสัญญาเช่าซื้อ สัญญาเช่าซื้อ จึงตกเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 572 วรรคสอง โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง ปัญหาเรื่องอำนาจฟ้องเป็นปัญหาเกี่ยวด้วย ความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จำเลยไม่ได้ให้การต่อสู้ไว้ แต่เมื่อศาลเห็นสมควรก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142(5)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5458/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าซื้อโมฆะ: ลายมือชื่อกรรมการไม่ครบถ้วนตามหนังสือรับรองบริษัท
การที่กรรมการผู้มีอำนาจทำการแทนโจทก์ลงลายมือชื่อในสัญญาเช่าซื้อเพียงคนเดียว ไม่ครบถ้วนตามหนังสือรับรองของโจทก์ที่กำหนดให้กรรมการสองคนลงลายมือชื่อร่วมกันและประทับตราสำคัญของบริษัทจึงจะผูกพันโจทก์ ดังนี้ย่อมมีผลเท่ากับโจทก์ไม่ได้ลงลายมือชื่อในสัญญาเช่าซื้อ สัญญาเช่าซื้อจึงตกเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ.มาตรา 572 วรรคสอง โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง ปัญหาเรื่องอำนาจฟ้องเป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จำเลยไม่ได้ให้การต่อสู้ไว้แต่เมื่อศาลเห็นสมควรก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 142 (5)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4924/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลงลายมือชื่ออุทธรณ์ของกรรมการบริษัทที่ไม่ถูกต้องตามข้อบังคับบริษัท ทำให้การอุทธรณ์ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
จำเลยเป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัด และตามข้อบังคับของบริษัทกำหนดให้กรรมการซึ่ง ลงลายมือชื่อผูกพันบริษัทได้คือ น. หรือป.ลงลายมือชื่อร่วมกับล. หรือช. รวมเป็นสองคนและประทับตราสำคัญของบริษัท แต่ตามอุทธรณ์ของจำเลย กรรมการที่ลงลายมือชื่อ ในช่องผู้อุทธรณ์คือ น.และป. และประทับสำคัญของบริษัท ซึ่งไม่ถูกต้องตามข้อบังคับของบริษัท จึงไม่มี อำนาจกระทำการผูกพันจำเลยได้ อุทธรณ์ของจำเลยจึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย ศาลชั้นต้นย่อมมีอำนาจสั่งไม่รับอุทธรณ์ของจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5002/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกู้ยืมเงินเพื่อดำเนินธุรกิจ, การเชิดตัวผู้กระทำการ, และการคิดดอกเบี้ยหลังสัญญาหมดอายุ
จำเลยที่ 1 เป็นนิติบุคคล มีวัตถุประสงค์ในการประกอบธุรกิจการค้า การประกอบธุรกิจดังกล่าวจึงต้องมีการซื้อขายและต้องมีเงินทุนในการดำเนินกิจการ การกู้ยืมเงินมาเพื่อใช้ในการดำเนินกิจการของจำเลยที่ 1 จึงเป็นเรื่องการประกอบธุรกิจการค้าของจำเลยที่ 1 นั่นเอง หาใช่เป็นการกระทำนอกเหนือวัตถุประสงค์อย่างใดไม่ การที่จำเลยที่ 1ทำสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีกับโจทก์จึงมีผลสมบูรณ์ตามกฎหมาย
หลังจากจำเลยที่ 2 พ้นจากการเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการแล้ว จำเลยที่ 2 ยังคงแสดงตนเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการของจำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 1 ยอมให้จำเลยที่ 2 เข้าทำสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีและสัญญารับมอบสินค้าเชื่อกับโจทก์รวมทั้งดำเนินการขายลดเช็คแก่โจทก์ ถือได้ว่าจำเลยที่ 1 เชิดหรือให้จำเลยที่ 2 เชิดตัวเองทำการแทนจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1 จึงต้องรับผิดต่อโจทก์ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 821 สัญญาที่จำเลยที่ 2 ทำกับโจทก์จึงมีผลใช้บังคับได้
สัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีครบกำหนดในวันที่ 19 เมษายน 2523 แต่เมื่อครบกำหนดแล้วจำเลยที่ 1 ก็ยังเดินสะพัดทางบัญชีกับโจทก์มิได้บอกเลิก พฤติการณ์ดังกล่าวถือได้ว่าโจทก์และจำเลยที่ 1 ต่ออายุสัญญาออกไปโดยไม่มีกำหนดเวลา สัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีจึงยังมีอยู่ ดังนั้น โจทก์จึงคิดดอกเบี้ยทบต้นต่อมาได้ ภายหลังโจทก์บอกกล่าวให้จำเลยที่ 1 ชำระหนี้ซึ่งครบกำหนดวันที่ 5 กันยายน 2526 จำเลยที่ 1 ไม่ชำระ ถือได้ว่าวันดังกล่าวเป็นวันหักทอนบัญชีนับแต่นั้น โจทก์ไม่มีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นอีกต่อไป
หลังจากจำเลยที่ 2 พ้นจากการเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการแล้ว จำเลยที่ 2 ยังคงแสดงตนเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการของจำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 1 ยอมให้จำเลยที่ 2 เข้าทำสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีและสัญญารับมอบสินค้าเชื่อกับโจทก์รวมทั้งดำเนินการขายลดเช็คแก่โจทก์ ถือได้ว่าจำเลยที่ 1 เชิดหรือให้จำเลยที่ 2 เชิดตัวเองทำการแทนจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1 จึงต้องรับผิดต่อโจทก์ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 821 สัญญาที่จำเลยที่ 2 ทำกับโจทก์จึงมีผลใช้บังคับได้
สัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีครบกำหนดในวันที่ 19 เมษายน 2523 แต่เมื่อครบกำหนดแล้วจำเลยที่ 1 ก็ยังเดินสะพัดทางบัญชีกับโจทก์มิได้บอกเลิก พฤติการณ์ดังกล่าวถือได้ว่าโจทก์และจำเลยที่ 1 ต่ออายุสัญญาออกไปโดยไม่มีกำหนดเวลา สัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีจึงยังมีอยู่ ดังนั้น โจทก์จึงคิดดอกเบี้ยทบต้นต่อมาได้ ภายหลังโจทก์บอกกล่าวให้จำเลยที่ 1 ชำระหนี้ซึ่งครบกำหนดวันที่ 5 กันยายน 2526 จำเลยที่ 1 ไม่ชำระ ถือได้ว่าวันดังกล่าวเป็นวันหักทอนบัญชีนับแต่นั้น โจทก์ไม่มีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นอีกต่อไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2791/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตวัตถุประสงค์สัญญาเช่าซื้อ, อายุความค่าเช่าซื้อ, และเอกสารหลักฐานทางภาษี
สัญญาเช่าซื้อคือสัญญาที่เจ้าของทรัพย์สินเอาทรัพย์สินออกให้เช่าและให้คำมั่นว่าจะขายทรัพย์สินนั้น ดังนั้นเมื่อโจทก์มีวัตถุประสงค์ ซื้อ ขาย เช่า ให้เช่า การที่โจทก์ให้จำเลยที่ 1 เช่าซื้อรถยนต์ของโจทก์จึงเป็นการกระทำภายในขอบวัตถุประสงค์ของโจทก์
เมื่อสัญญาเช่าซื้อสิ้นสุดลงโจทก์มีสิทธิเรียกค่าใช้ทรัพย์ตลอดระยะเวลาที่ยังไม่ได้รับทรัพย์คืนและค่าเสื่อมราคารวมถึงค่าเสียหายในกรณีที่จำเลยที่ 1 ผิดสัญญาต้องใช้อายุความ 10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/30
บัญชีอัตราอากรแสตมป์ท้ายหมวด 6 แห่งประมวลรัษฎากร มิได้กำหนดให้สัญญาซื้อขายรถยนต์จากการขายทอดตลาดเป็นตราสารที่ต้องปิดอากรแสตมป์ และเอกสารดังกล่าวมิใช่ใบรับสำหรับการขายหรือโอนกรรมสิทธิ์ยานพาหนะตามข้อ 28(ค)แห่งบัญชีอัตราอากรแสตมป์ อันจะถือเป็นตราสารที่ต้องเสียอากรโดยปิดแสตมป์บริบูรณ์ตามอัตราที่กำหนดในบัญชีอัตราอากรแสตมป์ ตามความมุ่งหมายแห่งประมวลรัษฎากร มาตรา 103,104 และ 108 เอกสารดังกล่าวแม้ไม่ปิดอากรแสตมป์ก็ใช้เป็นพยานหลักฐานได้
เมื่อสัญญาเช่าซื้อสิ้นสุดลงโจทก์มีสิทธิเรียกค่าใช้ทรัพย์ตลอดระยะเวลาที่ยังไม่ได้รับทรัพย์คืนและค่าเสื่อมราคารวมถึงค่าเสียหายในกรณีที่จำเลยที่ 1 ผิดสัญญาต้องใช้อายุความ 10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/30
บัญชีอัตราอากรแสตมป์ท้ายหมวด 6 แห่งประมวลรัษฎากร มิได้กำหนดให้สัญญาซื้อขายรถยนต์จากการขายทอดตลาดเป็นตราสารที่ต้องปิดอากรแสตมป์ และเอกสารดังกล่าวมิใช่ใบรับสำหรับการขายหรือโอนกรรมสิทธิ์ยานพาหนะตามข้อ 28(ค)แห่งบัญชีอัตราอากรแสตมป์ อันจะถือเป็นตราสารที่ต้องเสียอากรโดยปิดแสตมป์บริบูรณ์ตามอัตราที่กำหนดในบัญชีอัตราอากรแสตมป์ ตามความมุ่งหมายแห่งประมวลรัษฎากร มาตรา 103,104 และ 108 เอกสารดังกล่าวแม้ไม่ปิดอากรแสตมป์ก็ใช้เป็นพยานหลักฐานได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5004/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนังสือค้ำประกันและรับสภาพหนี้มีผลบังคับใช้ได้ ไม่ขาดอายุความ สิทธิเรียกร้องตามสัญญาไม่มีกำหนดอายุความชัดเจนใช้ 10 ปี
ตามคำฟ้องโจทก์บรรยายถึงข้อหาว่าจำเลยที่1ผิดสัญญาจึงทำบันทึกข้อความยอมรับชำระหนี้แก่โจทก์และจำเลยที่2ถึงที่4เป็นผู้ค้ำประกันจำเลยที่1โดยยอมรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมจึงต้องรับผิดต่อโจทก์ส่วนข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาคือสัญญาขอวงเงินสินเชื่อในการเปิดเลตเตอร์ออฟเครดิตเพื่อสั่งซื้อสินค้าจากต่างประเทศที่จำเลยที่1ทำไว้กับโจทก์กับบันทึกข้อตกลงยอมรับชำระหนี้แก่โจทก์และสัญญาค้ำประกันจำเลยที่1ที่จำเลยที่2ถึงที่4ทำไว้ต่อโจทก์และคำขอบังคับคือโจทก์ขอให้บังคับจำเลยทั้งสี่ร่วมกันชำระหนี้จำนวนตามฟ้องดังนี้คำฟ้องโจทก์จึงได้แสดงโดยแจ้งขัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาคำขอบังคับทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นข้อหาแล้วส่วนในช่องข้อหาแม้โจทก์จะระบุข้อหาไว้ไม่ละเอียดเท่าที่ปรากฏตามเนื้อความในคำฟ้องก็ไม่ใช่สาระสำคัญที่จะทำให้คำฟ้องของโจทก์เป็นคำฟ้องเคลือบคลุมส่วนข้อที่ว่าจำเลยได้รับหรือใช้วงเงินสินเชื่อของโจทก์ไปกี่ครั้งครั้งละจำนวนเท่าใดและโจทก์ชำระเงินให้แก่ธนาคารไปก่อนแล้วเป็นจำนวนเท่าใดเพื่อแสดงว่าได้รับเงินจากโจทก์หรือเป็นหนี้โจทก์จำนวนเท่าใดนั้นเป็นรายละเอียดที่โจทก์สามารถนำสืบได้ในชั้นพิจารณาฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม ห้างหุ้นส่วนจำกัดจำเลยที่1ได้ทำสัญญาขอวงเงินสินเชื่อในการเปิดเลตเตอร์ออฟเครดิตเพื่อสั่งซื้อสินค้าจากต่างประเทศไว้กับโจทก์และจำเลยที่2ได้เข้าค้ำประกันจำเลยที่1แต่จำเลยที่1และที่2ไม่ชำระหนี้จึงเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์โจทก์ย่อมมีสิทธินำคดีมาฟ้องได้จำเลยที่1และที่2จึงไม่อาจโต้แย้งว่าโจทก์ไม่มีสิทธินำคดีมาฟ้องเพราะโจทก์ดำเนินกิจการตามสัญญาดังกล่าวนอกขอบวัตถุประสงค์ได้และสัญญาสัญญามิได้มีวัตถุประสงค์เป็นการต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมายเป็นการพ้นวิสัยหรือเป็นการขัดต่อการสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนจึงมีผลใช้บังคับกันได้ระหว่างโจทก์กับจำเลยที่1มิได้ตกเป็นโมฆะ สัญญาขอวงเงินสินเชื่อในการเปิดเลตเตอร์ออฟเครดิตเพื่อสั่งซื้อสินค้าจากต่างประเทศกำหนดให้จำเลยที่1เป็นผู้ดำเนินการสั่งซื้อสินค้าจากต่างประเทศเองมิได้ตั้งโจทก์ให้เป็นตัวแทนในการสั่งสินค้าจากต่างประเทศจำเลยที่1เพียงแต่ขอให้โจทก์เปิดเลตเตอร์ออฟเครดิตกับธนาคารและจำเลยที่1ขอใช้วงเงินสินเชื่อในการเปิดเลตเตอร์ออฟเครดิตดังกล่าวเงินสินเชื่อนั้นจึงมิใช่เงินทดรองที่โจทก์ออกไปก่อนในการเป็นตัวแทนจำเลยที่1ในการสั่งซื้อสินค้าจากต่างประเทศและเงินค่าตอบแทน1เปอร์เซ็นต์ของมูลค่าเลตเตอร์ออฟเครดิตก็ถือไม่ได้ว่าเป็นเงินค่าบำเหน็จในการเป็นตัวแทนหรือเป็นสินจ้างในการงานที่โจทก์รับทำสิทธิเรียกร้องของโจทก์จึงมิได้มีกำหนดอายุความ2ปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา165(1)และ(7)เดิมแต่เป็นกรณีไม่มีบทบัญญัติกฎหมายกำหนดอายุความไว้โดยเฉพาะจึงต้องถืออายุความทั่วไปคือ10ปีตามมาตรา164เดิม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5004/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อพิพาทสัญญาเลตเตอร์ออฟเครดิต: การฟ้องเรียกหนี้และอายุความ
ตามคำฟ้องโจทก์บรรยายถึงข้อหาว่า จำเลยที่ 1 ผิดสัญญาจึงทำบันทึกข้อความยอมรับชำระหนี้แก่โจทก์และจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 เป็นผู้ค้ำประกันจำเลยที่ 1 โดยยอมรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วม จึงต้องรับผิดต่อโจทก์ ส่วนข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาคือสัญญาขอวงเงินสินเชื่อในการเปิดเลตเตอร์ออฟเครดิตเพื่อสั่งซื้อสินค้าจากต่างประเทศที่จำเลยที่ 1 ทำไว้กับโจทก์ กับบันทึกข้อตกลงยอมรับชำระหนี้แก่โจทก์ และสัญญาค้ำประกันจำเลยที่ 1 ที่จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4ทำไว้ต่อโจทก์ และคำขอบังคับคือโจทก์ขอให้บังคับจำเลยทั้งสี่ร่วมกันชำระหนี้จำนวนตามฟ้อง ดังนี้ คำฟ้องโจทก์จึงได้แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาคำขอบังคับ ทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นข้อหาแล้ว ส่วนในช่องข้อหาแม้โจทก์จะระบุข้อหาไว้ไม่ละเอียดเท่าที่ปรากฏตามเนื้อความในคำฟ้อง ก็ไม่ใช่สาระสำคัญที่จะทำให้คำฟ้องของโจทก์เป็นคำฟ้องเคลือบคลุม ส่วนข้อที่ว่าจำเลยได้รับหรือใช้วงเงินสินเชื่อของโจทก์ไปกี่ครั้ง ครั้งละจำนวนเท่าใด และโจทก์ชำระเงินให้แก่ธนาคารไปก่อนแล้วเป็นจำนวนเท่าใด เพื่อแสดงว่าได้รับเงินจากโจทก์หรือเป็นหนี้โจทก์จำนวนเท่าใดนั้น เป็นรายละเอียดที่โจทก์สามารถนำสืบได้ในชั้นพิจารณา ฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม
ห้างหุ้นส่วนจำกัด จำเลยที่ 1 ได้ทำสัญญาขอวงเงินสินเชื่อในการเปิดเลตเตอร์ออฟเครดิตเพื่อสั่งซื้อสินค้าจากต่างประเทศไว้กับโจทก์ และจำเลยที่ 2 ได้เข้าค้ำประกันจำเลยที่ 1 แต่จำเลยที่ 1 และที่ 2 ไม่ชำระหนี้จึงเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ โจทก์ย่อมมีสิทธินำคดีมาฟ้องได้ จำเลยที่ 1และที่ 2 จึงไม่อาจโต้แย้งว่า โจทก์ไม่มีสิทธินำคดีมาฟ้องเพราะโจทก์ดำเนินกิจการตามสัญญาดังกล่าวนอกขอบวัตถุประสงค์ได้ และสัญญาสัญญามิได้มีวัตถุ-ประสงค์เป็นการต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมาย เป็นการพ้นวิสัย หรือเป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน จึงมีผลใช้บังคับกันได้ระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 มิได้ตกเป็นโมฆะ
สัญญาขอวงเงินสินเชื่อในการเปิดเลตเตอร์ออฟเครดิตเพื่อสั่งซื้อสินค้าจากต่างประเทศ กำหนดให้จำเลยที่ 1 เป็นผู้ดำเนินการสั่งซื้อสินค้าจากต่างประเทศเอง มิได้ตั้งโจทก์ให้เป็นตัวแทนในการสั่งสินค้าจากต่างประเทศ จำเลยที่ 1 เพียงแต่ขอให้โจทก์เปิดเลตเตอร์ออฟเครดิตกับธนาคารและจำเลยที่ 1 ขอใช้วงเงินสินเชื่อในการเปิดเลตเตอร์ออฟเครดิตดังกล่าว เงินสินเชื่อนั้นจึงมิใช่เงินทดรองที่โจทก์ออกไปก่อนในการเป็นตัวแทนจำเลยที่ 1 ในการสั่งซื้อสินค้าจากต่างประเทศ และเงินค่าตอบแทน 1เปอร์เซ็นต์ของมูลค่าเลตเตอร์ออฟเครดิตก็ถือไม่ได้ว่าเป็นเงินค่าบำเหน็จในการเป็นตัวแทนหรือเป็นสินจ้างในการงานที่โจทก์รับทำ สิทธิเรียกร้องของโจทก์จึงมิได้มีกำหนดอายุความ 2 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 165 (1)และ (7) เดิม แต่เป็นกรณีไม่มีบทบัญญัติกฎหมายกำหนดอายุความไว้โดยเฉพาะจึงต้องถืออายุความทั่วไปคือ 10 ปี ตามมาตรา 164 เดิม
ห้างหุ้นส่วนจำกัด จำเลยที่ 1 ได้ทำสัญญาขอวงเงินสินเชื่อในการเปิดเลตเตอร์ออฟเครดิตเพื่อสั่งซื้อสินค้าจากต่างประเทศไว้กับโจทก์ และจำเลยที่ 2 ได้เข้าค้ำประกันจำเลยที่ 1 แต่จำเลยที่ 1 และที่ 2 ไม่ชำระหนี้จึงเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ โจทก์ย่อมมีสิทธินำคดีมาฟ้องได้ จำเลยที่ 1และที่ 2 จึงไม่อาจโต้แย้งว่า โจทก์ไม่มีสิทธินำคดีมาฟ้องเพราะโจทก์ดำเนินกิจการตามสัญญาดังกล่าวนอกขอบวัตถุประสงค์ได้ และสัญญาสัญญามิได้มีวัตถุ-ประสงค์เป็นการต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมาย เป็นการพ้นวิสัย หรือเป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน จึงมีผลใช้บังคับกันได้ระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 มิได้ตกเป็นโมฆะ
สัญญาขอวงเงินสินเชื่อในการเปิดเลตเตอร์ออฟเครดิตเพื่อสั่งซื้อสินค้าจากต่างประเทศ กำหนดให้จำเลยที่ 1 เป็นผู้ดำเนินการสั่งซื้อสินค้าจากต่างประเทศเอง มิได้ตั้งโจทก์ให้เป็นตัวแทนในการสั่งสินค้าจากต่างประเทศ จำเลยที่ 1 เพียงแต่ขอให้โจทก์เปิดเลตเตอร์ออฟเครดิตกับธนาคารและจำเลยที่ 1 ขอใช้วงเงินสินเชื่อในการเปิดเลตเตอร์ออฟเครดิตดังกล่าว เงินสินเชื่อนั้นจึงมิใช่เงินทดรองที่โจทก์ออกไปก่อนในการเป็นตัวแทนจำเลยที่ 1 ในการสั่งซื้อสินค้าจากต่างประเทศ และเงินค่าตอบแทน 1เปอร์เซ็นต์ของมูลค่าเลตเตอร์ออฟเครดิตก็ถือไม่ได้ว่าเป็นเงินค่าบำเหน็จในการเป็นตัวแทนหรือเป็นสินจ้างในการงานที่โจทก์รับทำ สิทธิเรียกร้องของโจทก์จึงมิได้มีกำหนดอายุความ 2 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 165 (1)และ (7) เดิม แต่เป็นกรณีไม่มีบทบัญญัติกฎหมายกำหนดอายุความไว้โดยเฉพาะจึงต้องถืออายุความทั่วไปคือ 10 ปี ตามมาตรา 164 เดิม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8210/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องกรณีจำหน่ายสินค้าเคมีภัณฑ์ แม้โจทก์มิได้มีวัตถุประสงค์ในธุรกิจดังกล่าว
แม้การจำหน่ายสินค้าเคมีภัณฑ์ตามฟ้องจะอยู่นอกวัตถุประสงค์ของโจทก์แต่เมื่อจำเลยตกลงรับสินค้าไปจากโจทก์เพื่อจำหน่ายและจำเลยก็ได้รับสินค้าของโจทก์ไปจำหน่ายตลอดจนมีการชำระราคาสินค้าบางส่วนแล้วจำเลยจะมาอ้างเหตุว่าโจทก์ไม่มีวัตถุประสงค์ในการจำหน่ายเคมีภัณฑ์จึงไม่มีอำนาจฟ้องให้ชำระค่าสินค้าหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8033-8037/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สถานะนิติบุคคลของมิซซังโรมันคาทอลิกตามกฎหมายพิเศษและประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
พระราชบัญญัติว่าด้วยลักษณะฐานะของวัดบาดหลวงโรมันคาทอลิคในกรุงสยามตามกฎหมายร.ศ.128ข้อ1และข้อ2วรรคหนึ่งและวรรคสองระบุให้มิสซังมีฐานะเป็นบริษัทมิสซังโรมันคาทอลิคกรุงเทพมหานครจึงเป็นนิติบุคคลตามกฎหมาย ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา65,66ที่ได้ตรวจชำระใหม่ไม่ได้บัญญัติให้ยกเลิกมัสซังโรมันคาธอลิคว่าไม่เป็นนิติบุคคลแต่อย่างใดแต่ได้บัญญัติรับรองไว้ว่านิติบุคคลจะมีขึ้นได้ก็แต่ด้วยอาศัยอำนาจแห่งกฎหมายนี้หรือกฎหมายอื่นและนิติบุคคลย่อมมีสิทธิและหน้าที่ตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายนี้หรือกฎหมายอื่นภายในขอบอำนาจแห่งหน้าที่หรือวัตถุประสงค์ดังได้บัญญัติหรือกำหนดไว้ในกฎหมายข้อบังคับหรือตราสารจัดตั้งเมื่อโจทก์เป็นมิสซังโรมันคาธอลิคเป็นนิติบุคคลอยู่ก่อนแล้วตามพระราชบัญญัติว่าด้วยลักษณะฐานะของวัดบาดหลวงโรมันคาธอลิคในกรุงสยามตามกฎหมายร.ศ.128ซึ่งเป็นกฎหมายพิเศษยังใช้บังคับจนปัจจุบันนี้พระราชบัญญัติดังกล่าวจึงเป็นกฎหมายอื่นฉบับหนึ่งตามความหมายของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา65โจทก์จึงย่อมมีฐานะเป็นนิติบุคคลตามกฎหมายอยู่ต่อไป ข้อที่จำเลยอ้างว่าโจทก์ไม่ใช่บริษัทจำคุกตามความในบรรพ3ลักษณะ22หมวด4จึงไม่เป็นนิติบุคคลตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์บรรพ1หมวด2นั้นปัญหาข้อนี้แม้จะวินิจฉัยให้ก็ไม่ทำให้ผลของคดีเปลี่ยนแปลงถือว่าไม่เป็นสาระแก่คดีศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย