คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 66

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 121 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6727/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีประกันภัยทางอากาศ, ฟ้องเคลือบคลุม, และความรับผิดของผู้ขนส่งสินค้าหลายทอด
วัตถุประสงค์ที่โจทก์ได้จดทะเบียนไว้ตามหนังสือรับรองระบุว่า "(1) เพื่อประกอบกิจการประกันภัยทุกชนิดเช่น ประกันอัคคีภัย ประกันภัยทางน้ำ ประกันภัยทางอุบัติเหตุประกันภัยทางชีวิต ประกันภัยสงคราม และประกันภัยวินาศกรรมอื่น ๆ" ดังนี้ แม้หนังสือรับรองดังกล่าวจะมิได้กล่าวถึงการประกันภัยทางอากาศไว้ แต่ประกันภัยทางอากาศย่อมรวมอยู่ในวัตถุประสงค์ที่กล่าวว่า "เพื่อประกอบกิจการประกันภัยทุกชนิด" เพราะการประกันภัยทางอากาศเป็นการประกันภัยชนิดหนึ่ง ดังนั้น โจทก์จึงมีวัตถุประสงค์ในการประกันภัยทางอากาศและมีอำนาจฟ้องคดีนี้ โจทก์ได้บรรยายฟ้องไว้แจ้งชัดถึงสภาพแห่งข้อหาของโจทก์และคำขอบังคับ ตลอดจนข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาดังกล่าวตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 172 วรรคสอง แล้ว ข้อเท็จจริงที่ว่าสินค้าสูญหายไปเมื่อใด และจำเลยไม่ได้ใช้ความระมัดระวังในการดูแลสินค้าอย่างไร โจทก์อาจนำสืบได้ในชั้นพิจารณา ไม่จำต้องบรรยายในฟ้อง คำฟ้องของโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม จำเลยเป็นผู้รับขนส่งของเพื่อบำเหน็จเป็นทางค้าปกติของจำเลย จำเลยได้มอบสินค้าที่รับขนส่งให้บริษัทการบินไทยจำกัด เก็บไว้ในคลังสินค้าเพื่อรอส่งขึ้นเครื่องบินไปยังต่างประเทศอันเป็นจุดหมายปลายทางต่อไป ดังนี้ จึงเป็นกรณีที่สินค้าได้ส่งไปโดยมีผู้ขนส่งหลายคนหลายทอดจำเลยผู้ขนส่งจึงต้องรับผิดในการที่สินค้านั้นสูญหายอันเกิดแต่ความผิดของผู้ขนส่งคนอื่นหรือบุคคลอื่น ซึ่งจำเลยได้มอบหมายสินค้านั้นไปอีกทอดหนึ่งและต้องรับผิดร่วมกันกับผู้ขนส่งรายอื่นด้วย ทั้งนี้ตามบทบัญญัติของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 617 และ 618 คดีนี้โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยชำระเงินค่าเสียหายจำนวน 238,433.30 บาท พร้อมดอกเบี้ยร้อยละ 7.5 ต่อปีนับแต่วันฟ้องจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์ ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยชำระเงินจำนวนดังกล่าวพร้อมดอกเบี้ยแก่โจทก์ตามฟ้อง ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน จำเลยฎีกาขอให้ยกฟ้องดังนี้ คดีจึงมีทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาเท่ากับจำนวนทุนทรัพย์ตามคำฟ้องคือ 238,433.30 บาท ซึ่งจำเลยต้องเสียค่าขึ้นศาลชั้นฎีกาเพียง 5,960 บาท แต่ศาลชั้นต้นคำนวณทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาโดยรวมดอกเบี้ยนับแต่วันฟ้องจนถึงวันที่จำเลยยื่นฎีกาเข้าเป็นทุนทรัพย์จำนวน298,531.50 บาท ด้วย และให้จำเลยเสียค่าขึ้นศาลชั้นฎีกาเป็นเงิน 7,462.50 บาท จำเลยจึงเสียค่าขึ้นศาลชั้นฎีกาเกินมาจำนวน 1,502.50 บาท ศาลฎีกาชอบที่จะสั่งให้คืนเงิน ค่าขึ้นศาลชั้นฎีกาที่ชำระเกินมาแก่จำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6727/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ วัตถุประสงค์การประกอบกิจการประกันภัยครอบคลุมประกันภัยทุกชนิด ผู้รับขนส่งมีหน้าที่รับผิดชอบความเสียหายจากการขนส่ง
วัตถุประสงค์ที่โจทก์ได้จดทะเบียนไว้ตามหนังสือรับรองระบุว่า"(1) เพื่อประกอบกิจการประกันภัยทุกชนิด เช่น ประกันอัคคีภัย ประกันภัยทางน้ำประกันภัยทางอุบัติเหตุ ประกันภัยทางชีวิต ประกันภัยสงคราม และประกันภัยวินาศกรรมอื่น ๆ" ดังนี้ แม้หนังสือรับรองดังกล่าวจะมิได้กล่าวถึงการประกันภัยทางอากาศไว้แต่ประกันภัยทางอากาศย่อมรวมอยู่ในวัตถุประสงค์ที่กล่าวว่า "เพื่อประกอบกิจการประกันภัยทุกชนิด" เพราะการประกันภัยทางอากาศเป็นการประกันภัยชนิดหนึ่ง ดังนั้นโจทก์จึงมีวัตถุประสงค์ในการประกันภัยทางอากาศและมีอำนาจฟ้องคดีนี้
โจทก์ได้บรรยายฟ้องไว้แจ้งชัดถึงสภาพแห่งข้อหาของโจทก์และคำขอบังคับ ตลอดจนข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาดังกล่าวตามที่บัญญัติไว้ใน ป.วิ.พ.มาตรา 172 วรรคสอง แล้ว ข้อเท็จจริงที่ว่าสินค้าสูญหายไปเมื่อใด และจำเลยไม่ได้ใช้ความระมัดระวังในการดูแลสินค้าอย่างไร โจทก์อาจนำสืบได้ในชั้นพิจารณา ไม่จำต้องบรรยายในฟ้อง คำฟ้องของโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม
จำเลยเป็นผู้รับขนส่งของเพื่อบำเหน็จเป็นทางค้าปกติของจำเลยจำเลยได้มอบสินค้าที่รับขนส่งให้บริษัทการบินไทย จำกัด เก็บไว้ในคลังสินค้าเพื่อรอส่งขึ้นเครื่องบินไปยังต่างประเทศอันเป็นจุดหมายปลายทางต่อไป ดังนี้ จึงเป็นกรณีที่สินค้าได้ส่งไปโดยมีผู้ขนส่งหลายคนหลายทอด จำเลยผู้ขนส่งจึงต้องรับผิดในการที่สินค้านั้นสูญหายอันเกิดแต่ความผิดของผู้ขนส่งคนอื่นหรือบุคคลอื่นซึ่งจำเลยได้มอบหมายสินค้านั้นไปอีกทอดหนึ่งและต้องรับผิดร่วมกันกับผู้ขนส่งรายอื่นด้วย ทั้งนี้ตามบทบัญญัติของป.พ.พ.มาตรา 617 และ 618
คดีนี้โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยชำระเงินค่าเสียหายจำนวน238,433.30 บาท พร้อมดอกเบี้ยร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันฟ้องจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์ ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยชำระเงินจำนวนดังกล่าวพร้อมดอกเบี้ยแก่โจทก์ตามฟ้อง ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน จำเลยฎีกาขอให้ยกฟ้อง ดังนี้ คดีจึงมีทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาเท่ากับจำนวนทุนทรัพย์ตามคำฟ้องคือ 238,433.30 บาทซึ่งจำเลยต้องเสียค่าขึ้นศาลชั้นฎีกาเพียง 5,960 บาท แต่ศาลชั้นต้นคำนวณทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาโดยรวมดอกเบี้ยนับแต่วันฟ้องจนถึงวันที่จำเลยยื่นฎีกาเข้าเป็นทุนทรัพย์จำนวน 298,531.50 บาท ด้วย และให้จำเลยเสียค่าขึ้นศาลชั้นฎีกาเป็นเงิน7,462.50 บาท จำเลยจึงเสียค่าขึ้นศาลชั้นฎีกาเกินมาจำนวน 1,502.50 บาทศาลฎีกาชอบที่จะสั่งให้คืนเงินค่าขึ้นศาลชั้นฎีกาที่ชำระเกินมาแก่จำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4911/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแต่งตั้งข้าราชการภายใน มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ: อำนาจรองอธิการบดีและขอบเขตการสั่งการ
การแต่งตั้งจำเลยที่ 2 ของจำเลยที่ 4 เป็นการแต่งตั้งโดยอาศัยอำนาจตามมาตรา 18 และ 21 แห่ง พ.ร.บ.มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒพ.ศ.2517 ซึ่งเป็นบทบัญญัติเกี่ยวกับประโยชน์ในการบังคับบัญชาของรองอธิการบดีที่ให้ถือว่าเป็นอธิการบดี การสั่งแต่งตั้งดังกล่าวจึงเป็นกรณีระหว่างผู้บังคับบัญชากับผู้ใต้บังคับบัญชาสั่งการให้ปฏิบัติราชการในกองธุรการวิทยาเขตสงขลา มิใช่สั่งการให้เข้าดำรงตำแหน่งหัวหน้ากองธุรการวิทยาเขตโดยให้รับอัตราเงินเดือนในตำแหน่งดังกล่าว การที่จำเลยที่ 4 มีคำสั่งแต่งตั้งให้จำเลยที่ 2 เป็นหัวหน้ากองธุรการวิทยาเขตสงขลาอีกตำแหน่งหนึ่ง จึงเป็นการชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 583/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้ำคดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา: คำพิพากษาคดีอาญาผูกพันโจทก์ในคดีแพ่ง
โจทก์ไม่มีพยานหลักฐานแสดงให้เห็นว่าจำเลยที่ 8 จดทะเบียนเป็นนิติบุคคล คงได้ความแต่เพียงว่าจำเลยที่ 8 เป็นที่ทำการสาขาของจำเลยที่ 7 จำเลยที่ 8 จึงมิได้เป็นนิติบุคคลอันอาจถูกฟ้องให้รับผิดได้
จำเลยที่ 7 เป็นธนาคาร มีหน้าที่ต้องจ่ายเงินตามเช็คที่ผู้เคยค้ากับธนาคารได้ออกเบิกเงินแก่ตน เช็คพิพาทที่จำเลยที่ 1 นำไปขอเบิกเงินไม่เข้าข้อยกเว้นตาม ป.พ.พ. มาตรา 991 ที่จำเลยที่ 7 จะไม่จ่ายเงินให้ และไม่ใช่กรณีที่หน้าที่และอำนาจของจำเลยที่ 7 ที่จะจ่ายเงินตามเช็คสิ้นสุดลงตามมาตรา 992 จึงไม่มีเหตุตามกฎหมายที่จำเลยที่ 7 จะปฏิเสธไม่ใช้เงินตามเช็คที่จำเลยที่ 1 นำไปขอเบิกเงิน เช็คเป็นตราสารที่ออกใช้แทนเงินสดเพื่อความสะดวก รวดเร็ว ปลอดภัยและคล่องตัวในการประกอบธุรกิจดังนั้นเมื่อจำเลยที่ 7 ซึ่งเป็นธนาคารผู้จ่ายเงินตามเช็คได้ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความ-ระมัดระวังตามควรแก่หน้าที่ที่ผู้ประกอบธุรกิจเช่นที่จะพึงปฏิบัติก็นับว่าเป็นการ-เพียงพอแล้ว จำเลยที่ 9 ถึงที่ 11 ลูกจ้างของจำเลยที่ 7 ได้ปฏิบัติหน้าที่ในการจ่ายเงินตามเช็คพิพาทให้จำเลยที่ 1 ด้วยความระมัดระวังตามควรแก่หน้าที่แล้วจะถือว่าจำเลยที่ 7 จ่ายเงินตามเช็คด้วยความประมาทเลินเล่อไม่ได้
พนักงานอัยการจังหวัดร้อยเอ็ดฟ้องจำเลยที่ 1 เป็นคดีอาญาในข้อหาเจ้าพนักงานยักยอกทรัพย์ซึ่งเป็นเงินตามเช็คพิพาทในคดีนี้ ขอให้ลงโทษและให้จำเลยที่ 1 คืนหรือใช้เงินที่ยักยอกไปยังไม่ได้คืน เป็นการฟ้องคดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา เมื่อคดีอาญาถึงที่สุดโดยศาลพิพากษาลงโทษจำเลยที่ 1กับให้คืนหรือใช้เงินที่ยักยอกไปส่วนที่ยังไม่ได้คืน คำพิพากษาดังกล่าวผูกพันโจทก์-ทั้งสามซึ่งเป็นเจ้าของเงินเป็นผู้เสียหายในคดีอาญา เพราะถือว่าพนักงาน-อัยการจังหวัดร้อยเอ็ดฟ้องคดีแทนโจทก์ทั้งสาม จึงต้องห้ามมิให้โจทก์ทั้งสามนำคดีมารื้อร้องฟ้องจำเลยที่ 1 อีก ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 148 ปัญหาเรื่องฟ้องซ้ำเป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาเห็นควรยกขึ้นวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 583/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้ำ-หน้าที่ธนาคารจ่ายเช็ค-ความรับผิดข้าราชการ-ประมาทเลินเล่อ
โจทก์ไม่มีพยานหลักฐานแสดงให้เห็นว่าจำเลยที่8จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลคงได้ความแต่เพียงว่าจำเลยที่8เป็นที่ทำการสาขาของจำเลยที่7จำเลยที่8จึงมิได้เป็นนิติบุคคลอันอาจถูกฟ้องให้รับผิดได้ จำเลยที่7เป็นธนาคารมีหน้าที่ต้องจ่ายเงินตามเช็คที่ผู้เคยค้ากับธนาคารได้ออกเบิกเงินแก่ตนเช็คพิพาทที่จำเลยที่1นำไปขอเบิกเงินไม่เข้าข้อยกเว้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา991ที่จำเลยที่7จะไม่จ่ายเงินให้และไม่ใช่กรณีที่หน้าที่และอำนาจของจำเลยที่7ที่จะจ่ายเงินตามเช็คสิ้นสุดลงตามมาตรา992จึงไม่มีเหตุตามกฎหมายที่จำเลยที่7จะปฎิเสธไม่ใช้เงินตามเช็คที่จำเลยที่1นำไปขอเบิกเงินเช็คเป็นตราสารที่ออกใช้แทนเงินสดเพื่อความสะดวกรวดเร็วปลอดภัยและคล่องตัวในการประกอบธุรกิจดังนั้นเมื่อจำเลยที่7ซึ่งเป็นธนาคารผู้จ่ายเงินตามเช็คได้ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความระมัดระวังตามควรแก่หน้าที่ที่ผู้ปฎิบัติธุรกิจเช่นที่จะพึงปฎิบัติก็นับว่าเป็นการเพียงพอแล้วจำเลยที่9ถึงที่11ลูกจ้างของจำเลยที่7ได้ปฏิบัติหน้าที่ในการจ่ายเงินตามเช็คพิพาทให้จำเลยที่1ด้วยความระมัดระวังตามควรแก่หน้าที่แล้วจะถือว่าจำเลยที่7จ่ายเงินตามเช็คด้วยความประมาทเลินเล่อไม่ได้ พนักงานอัยการจังหวัดร้อยเอ็ดฟ้องจำเลยที่1เป็นคดีอาญาในข้อหา เจ้าพนักงานยักยอกทรัพย์ซึ่งเป็นเงินตามเช็คพิพาทในคดีนี้ขอให้ลงโทษและให้จำเลยที่1คืนหรือใช้เงินที่ยักยอกไปยังไม่ได้คืนเป็นการฟ้องคดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญาเมื่อคดีอาญาถึงที่สุดโดยศาลพิพากษาลงโทษจำเลยที่1กับให้คืนหรือใช้เงินที่ยักยอกไปส่วนที่ยังไม่ได้คืนคำพิพากษาดังกล่าวผูกพันโจทก์ทั้งสามซึ่งเป็นเจ้าของเงินเป็นผู้เสียหายในคดีอาญาเพราะถือว่าพนักงานอัยการจังหวัดร้อยเอ็ดฟ้องคดีแทนโจทก์ทั้งสามจึงต้องห้ามมิให้โจทก์ทั้งสามนำคดีมารื้อร้องฟ้องจำเลยที่1อีกตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา148ปัญหาเรื่องฟ้องซ้ำเป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนศาลฎีกาเห็นควรยกขึ้นวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6503/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในเครื่องหมายการค้า: การจดทะเบียนต่างประเทศ, การใช้ก่อน, และการเพิกถอนทะเบียน
โจทก์บรรยายฟ้องว่าโจทก์เป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัดตามกฎหมายของ สาธารณรัฐประชาชนจีน โดยแนบหนังสือรับรองพร้อม คำแปลเป็นภาษาไทยมาด้วยท้ายฟ้องซึ่งในคำแปลเป็นภาษาไทยดังกล่าวได้ระบุว่าเป็นใบอนุญาตประกอบธุรกิจจดทะเบียนการค้าต่างประเทศเลขที่10832มีชื่อบริษัทโจทก์ที่อยู่และทุนจดทะเบียนพร้อมซึ่งเพียงพอที่จะทำให้จำเลยและจำเลยร่วมเข้าใจได้ว่าโจทก์เป็นนิติบุคคลของประเทศ สาธารณรัฐประชาชนจีน ส่วนข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลหรือการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์นั้นโจทก์สามารถจะนำสืบรายละเอียดในชั้นพิจารณาคดีได้ฟ้องของโจทก์จึงมีสภาพแห่งข้อหาและคำขอบังคับทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาชัดเจนพอเพียงที่จำเลยและจำเลยร่วมสามารถให้การต่อสู้คดีในส่วนนี้ได้แล้วหาเป็น ฟ้องเคลือบคลุมแต่อย่างใดไม่ การเป็นผู้รับมอบอำนาจฟ้องคดีแทนนั้นไม่จำต้องระบุไว้เป็นกิจการใน วัตถุประสงค์ของ นิติบุคคล หากเป็นการฟ้องคดีเกี่ยวกับกิจการค้าขายที่บริษัท ก. เกี่ยวข้องอยู่ด้วยก็ย่อมเป็นผู้รับมอบอำนาจฟ้องคดีแทนได้เมื่อบริษัท ก.เป็น ตัวแทนจำหน่ายกุญแจตราลูกโลกของโจทก์ซึ่งพิพาทกันในคดีนี้บริษัท ก. จึงเป็นผู้รับมอบอำนาจฟ้องคดีแทนโจทก์ได้ โจทก์ได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าตราลูกโลกกับสินค้ากุญแจไว้ในต่างประเทศหลายประเทศและได้ใช้เครื่องหมายการค้านี้ในประเทศไทยตั้งแต่ก่อนจำเลยและจำเลยร่วมจะได้ใช้และได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้านี้การที่จำเลยและจำเลยร่วมรู้ดีว่าโจทก์เป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าดังกล่าวอยู่ก่อนแล้วจำเลยและจำเลยร่วมยังนำเครื่องหมายการค้านั้นไปจดทะเบียนแสดงว่าจำเลยและจำเลยร่วมมิได้คิดประดิษฐ์เครื่องหมายการค้านี้ขึ้นเองโจทก์จึงมีสิทธิในเครื่องหมายการค้าดังกล่าวดีกว่าจำเลยและจำเลยร่วมทั้งนี้แม้โจทก์จะยังไม่ได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้านั้นในประเทศไทยและจำเลยกับจำเลยร่วมได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้านี้ก่อนที่ประเทศไทยจะมีความสัมพันธ์ทางการฑูตกับประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีนก็ตามโจทก์ก็ย่อมจะมีสิทธิในเครื่องหมายการค้าดังกล่าวดีกว่าจำเลยกับจำเลยร่วมและมีสิทธิขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้านั้นในนามของจำเลยได้ตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้าพ.ศ.2474มาตรา41(1)ซึ่งใช้บังคับในขณะเกิดข้อพิพาท

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6503/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในเครื่องหมายการค้า: การใช้ก่อนจดทะเบียนและการเพิกถอนทะเบียนเครื่องหมายการค้าที่ละเมิด
โจทก์บรรยายฟ้องว่า โจทก์เป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัดตามกฎหมายของสาธารณรัฐประชาชนจีน โดยแนบหนังสือรับรองพร้อมคำแปลเป็นภาษาไทยมาด้วยท้ายฟ้อง ซึ่งในคำแปลเป็นภาษาไทยดังกล่าวได้ระบุว่าเป็นใบอนุญาตประกอบธุรกิจจดทะเบียนการค้าต่างประเทศเลขที่ 10832 มีชื่อบริษัทโจทก์ที่อยู่และทุนจดทะเบียนพร้อมซึ่งเพียงพอที่จะทำให้จำเลยและจำเลยร่วมเข้าใจได้ว่าโจทก์เป็นนิติบุคคลของประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน ส่วนข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลหรือการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์นั้น โจทก์สามารถจะนำสืบรายละเอียดในชั้นพิจารณาคดีได้ ฟ้องของโจทก์จึงมีสภาพแห่งข้อหาและคำขอบังคับ ทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาชัดเจนพอเพียงที่จำเลยและจำเลยร่วมสามารถให้การต่อสู้คดีในส่วนนี้ได้แล้ว หาเป็นฟ้องเคลือบคลุมแต่อย่างใดไม่ การเป็นผู้รับมอบอำนาจฟ้องคดีแทนนั้นไม่จำต้องระบุไว้เป็นกิจการในวัตถุประสงค์ของนิติบุคคล หากเป็นการฟ้องคดีเกี่ยวกับกิจการค้าขายที่บริษัท ก. เกี่ยวข้องอยู่ด้วย ก็ย่อมเป็นผู้รับมอบอำนาจฟ้องคดีแทนได้ เมื่อบริษัท ก.เป็นตัวแทนจำหน่ายกุญแจตราลูกโลกของโจทก์ซึ่งพิพาทกันในคดีนี้ บริษัทก. จึงเป็นผู้รับมอบอำนาจฟ้องคดีแทนโจทก์ได้ โจทก์ได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าตราลูกโลกกับสินค้ากุญแจไว้ในต่างประเทศหลายประเทศ และได้ใช้เครื่องหมายการค้านี้ในประเทศไทยตั้งแต่ก่อนจำเลยและจำเลยร่วมจะได้ใช้และได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้านี้การที่จำเลยและจำเลยร่วมรู้ดีว่าโจทก์เป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าดังกล่าวอยู่ก่อนแล้วจำเลยและจำเลยร่วมยังนำเครื่องหมายการค้านั้นไปจดทะเบียนแสดงว่าจำเลยและจำเลยร่วมมิได้คิดประดิษฐ์เครื่องหมายการค้านี้ขึ้นเอง โจทก์จึงมีสิทธิในเครื่องหมายการค้าดังกล่าวดีกว่าจำเลยและจำเลยร่วม ทั้งนี้แม้โจทก์จะยังไม่ได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้านั้นในประเทศไทย และจำเลยกับจำเลยร่วมได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้านี้ก่อนที่ประเทศไทยจะมีความสัมพันธ์ทางการฑูตกับประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีนก็ตาม โจทก์ก็ย่อมจะมีสิทธิในเครื่องหมายการค้าดังกล่าวดีกว่าจำเลยกับจำเลยร่วมและมีสิทธิขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้านั้นในนามของจำเลยได้ ตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2474 มาตรา 41(1)ซึ่งใช้บังคับในขณะเกิดข้อพิพาท

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6503/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในเครื่องหมายการค้าต่างประเทศ การฟ้องเพิกถอนการจดทะเบียนในไทย แม้จะยังไม่มีความสัมพันธ์ทางการทูต
โจทก์บรรยายฟ้องว่า โจทก์เป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัดตามกฎหมายของสาธารณรัฐประชาชนจีน โดยแนบหนังสือรับรองพร้อมคำแปลเป็นภาษาไทยมาด้วยท้ายฟ้อง ซึ่งในคำแปลเป็นภาษาไทยดังกล่าวได้ระบุว่าเป็นใบอนุญาตประกอบธุรกิจ จดทะเบียนการค้าต่างประเทศเลขที่ 10832 มีชื่อบริษัทโจทก์ ที่อยู่และทุนจดทะเบียนพร้อมซึ่งเพียงพอที่จะทำให้จำเลยและจำเลยร่วมเข้าใจได้ว่าโจทก์เป็นนิติบุคคลของประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน ส่วนข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลหรือการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์นั้น โจทก์สามารถจะนำสืบรายละเอียดในชั้นพิจารณาคดีได้ ฟ้องของโจทก์จึงมีสภาพแห่งข้อหาและคำขอบังคับ ทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาชัดเจนพอเพียงที่จำเลยและจำเลยร่วมสามารถให้การต่อสู้คดีในส่วนนี้ได้แล้ว หาเป็นฟ้องเคลือบคลุมแต่อย่างใดไม่
การเป็นผู้รับมอบอำนาจฟ้องคดีแทนนั้นไม่จำต้องระบุไว้เป็นกิจการในวัตถุประสงค์ของนิติบุคคล หากเป็นการฟ้องคดีเกี่ยวกับกิจการค้าขายที่บริษัท ก.เกี่ยวข้องอยู่ด้วย ก็ย่อมเป็นผู้รับมอบอำนาจฟ้องคดีแทนได้ เมื่อบริษัท ก.เป็นตัวแทนจำหน่ายกุญแจตราลูกโลกของโจทก์ซึ่งพิพาทกันในคดีนี้ บริษัท ก.จึงเป็นผู้รับมอบอำนาจฟ้องคดีแทนโจทก์ได้
โจทก์ได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าตราลูกโลกกับสินค้ากุญแจไว้ในต่างประเทศหลายประเทศ และได้ใช้เครื่องหมายการค้านี้ในประเทศไทยตั้งแต่ก่อนจำเลยและจำเลยร่วมจะได้ใช้และได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้านี้การที่จำเลยและจำเลยร่วมรู้ดีว่าโจทก์เป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าดังกล่าวอยู่ก่อนแล้ว จำเลยและจำเลยร่วมยังนำเครื่องหมายการค้านั้นไปจดทะเบียนแสดงว่าจำเลยและจำเลยร่วมมิได้คิดประดิษฐ์เครื่องหมายการค้านี้ขึ้นเอง โจทก์จึงมีสิทธิในเครื่องหมายการค้าดังกล่าวดีกว่าจำเลยและจำเลยร่วม ทั้งนี้แม้โจทก์จะยังไม่ได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้านั้นในประเทศไทย และจำเลยกับจำเลยร่วมได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้านี้ก่อนที่ประเทศไทยจะมีความสัมพันธ์ทางการทูตกับประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีนก็ตาม โจทก์ก็ย่อมจะมีสิทธิในเครื่องหมายการค้าดังกล่าวดีกว่าจำเลยกับจำเลยร่วมและมีสิทธิขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้านั้นในนามของจำเลยได้ ตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2474 มาตรา 41 (1) ซึ่งใช้บังคับในขณะเกิดข้อพิพาท

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6106/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดี, หนังสือค้ำประกัน, และความรับผิดของผู้บริหารบริษัทเงินทุน
จำเลยที่ 3 ไม่ได้อ้างเหตุในคำให้การว่า ช. และ ก.ผู้มอบอำนาจไม่มีอำนาจกระทำการแทนโจทก์ซึ่งเป็นนิติบุคคลเพราะเหตุใด ดังนี้คำให้การปฏิเสธของจำเลยที่ 3 ไม่มีเหตุแห่งการนั้นจำเลยที่ 3 จึงไม่มีประเด็นที่จะนำสืบตามคำให้การดังกล่าวเมื่อโจทก์นำสืบโดยมีหนังสือรับรองของนายทะเบียนสำนักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทกรุงเทพมหานครมาแสดงว่าขณะที่โจทก์ฟ้อง ช. และก. เป็นกรรมการของโจทก์ผู้มีอำนาจลงลายมือชื่อและประทับตราสำคัญของโจทก์ดำเนินการแทนโจทก์ได้ และมีหนังสือมอบอำนาจให้ฟ้องคดีของโจทก์ ซึ่ง ช. และ ก. ลงลายมือชื่อและประทับตราสำคัญของโจทก์มอบอำนาจให้ ธ.ฟ้องจำเลยทั้งเจ็ดคดีนี้รวมทั้งแต่งตั้งทนายความได้ด้วย ทั้ง ธ. ผู้รับมอบอำนาจเบิกความประกอบหนังสือมอบอำนาจดังกล่าวยืนยันว่า ช. และก.เป็นกรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนโจทก์ ดังนี้ ธ.ย่อมเป็นผู้รับมอบอำนาจโจทก์ผู้มีอำนาจแต่งตั้ง ส. เป็นทนายความฟ้องคดีนี้แทนโจทก์ได้ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง ประเด็นข้อที่จำเลยฎีกา จำเลยไม่ได้ให้การต่อสู้ไว้ แม้ศาลอุทธรณ์จะวินิจฉัยประเด็นดังกล่าวให้ ก็ถือไมไ่ด้ว่าเป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย การที่จำเลยที่ 3 ทำหนังสือค้ำประกันหนี้ของจำเลยที่ 1เกิดจากความรับผิดชอบของจำเลยที่ 3 ในฐานะผู้บริหารงานของบริษัทเงินทุนโจทก์เพื่อมิให้เกิดผลเสียหายแก่ประชาชนที่นำเงินมาฝากโจทก์ และเพราะเกรงว่าโจทก์จะถูกเพิกถอนใบอนุญาตให้ประกอบธุรกิจเงินทุนจากกระทรวงการคลัง เป็นการเข้าค้ำประกันด้วยความสมัครใจ จึงเป็นการยอมตนเข้าผูกพันต่อโจทก์เพื่อชำระหนี้ในเมื่อจำเลยที่ 1 ลูกหนี้ไม่ชำระหนี้ให้โจทก์ จำเลยที่ 3 จึงต้องรับผิดตามหนังสือค้ำประกันนั้น การที่จำเลยที่ 3 ลงลายมือชื่อในหนังสือค้ำประกันเพราะได้รับแจ้งจากกระทรวงการคลังโดยเจ้าหน้าที่ของธนาคารแห่งประเทศไทยว่าจำเลยที่ 3 ลงลายมือชื่อในหนังสือค้ำประกันแล้วจะไม่ดำเนินคดีอาญา ถ้าไม่ลงลายมือชื่อจะดำเนินคดีอาญา เป็นเรื่องที่กระทรวงการคลังและธนาคารแห่งประเทศไทยจะกระทำการตามกฎหมายเพื่อรักษาผลประโยชน์ของประชาชนถือได้ว่าเป็นการใช้สิทธิตามปกตินิยม ไม่เป็นการข่มขู่ที่จะทำให้สัญญาค้ำประกันตกเป็นโมฆียะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 126 และ 127 เดิม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3489/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับฝากเงินโดยนิติบุคคล แม้กรรมการจะทำธุรกรรมส่วนตัว หากสร้างความเข้าใจผิดแก่ผู้ฝาก ย่อมผูกพันนิติบุคคลตามหลักตัวแทนเชิด
การที่โจทก์นำเช็คเงินสดจำนวน 2,000,000บาท ซึ่งต่อมาภายหลังได้มีการเรียกเก็บเงินแล้วไปที่บริษัทจำเลย พนักงานของจำเลยได้รับฝากเงินจำนวนดังกล่าวแล้วดำเนินการออกเช็คพิพาท ซึ่ง พ.กับง.กรรมการของบริษัทจำเลยร่วมกันลงลายมือชื่อเป็นผู้สั่งจ่ายพร้อมกับแจ้งให้โจทก์ทราบว่าจำเลยรับฝากเงินจำนวนดังกล่าวของโจทก์มีอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 15 ต่อปี และโจทก์ได้รับของขวัญและของที่ระลึกต่าง ๆมีชื่อบริษัทจำเลยพร้อมตราประทับจากบริษัทจำเลย ทั้งจำเลยเป็นนิติบุคคลมีวัตถุประสงค์ในการประกอบกิจการเงินทุนเพื่อการพัฒนาและเพื่อการเคหะ จำเลยสามารถกู้ยืมเงินและรับเงินจากประชาชนโดยตกลงจ่ายดอกเบี้ยไม่เกินอัตราตามประกาศของธนาคารแห่งประเทศไทยอันเป็นวิธีการจัดหามาซึ่งเงินทุนของจำเลย พฤติการณ์ดังกล่าวย่อมทำให้โจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกผู้สุจริตหลงเข้าใจได้ว่าการรับฝากเงินเป็นกิจการของจำเลยและอยู่ในวัตถุประสงค์ข้อบังคับของจำเลย ถือได้ว่าจำเลยรับฝากเงินและรู้เห็นเอง โดยจำเลยเชิดพ.และง. เป็นตัวแทน จำเลยต้องผูกพันรับผลการกระทำของพ.และง. ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 821
of 13