คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 66

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 121 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3394/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับผิดของตัวการต่อบุคคลภายนอกจากการกระทำของตัวแทน แม้ไม่มีตราประทับ
ตามพฤติการณ์ที่จำเลยที่ 1 ปล่อยปละละเลยให้จำเลยที่ 2และที่ 3 รับฝากเงินในสำนักงานของจำเลยที่ 1 โดยเปิดเผยไม่มีการห้ามปรามหรือดำเนินคดีกับจำเลยที่ 2 และที่ 3 ถือได้ว่าจำเลยที่ 1เชิดจำเลยที่ 2 และที่ 3 เป็นตัวแทนของตน จำเลยที่ 1 จะปฏิเสธความรับผิดว่า มีข้อห้ามตามกฎหมายมิให้จำเลยที่ 1 รับฝากเงินและไม่มีหลักฐานว่าจำเลยที่ 1 รับฝากเงินไว้ในกิจการของจำเลยที่ 1กิจการดังกล่าวอยู่นอกเหนือวัตถุประสงค์ของจำเลยที่ 1 และกิจการทั้งหมดจำเลยที่ 2 กระทำในนามส่วนตัวไม่ได้ ดังนั้น จำเลยที่ 1จึงต้องรับผิดต่อโจทก์ผู้ฝากเงินซึ่งเป็นบุคคลภายนอกผู้สุจริตเสมือนว่าจำเลยที่ 2 และที่ 3 เป็นตัวแทนของตนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 821

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3312/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดร่วมกันจากการค้าปุ๋ยนอกวัตถุประสงค์ของห้างหุ้นส่วนจำกัด และการส่งมอบสินค้าไม่ครบ
จำเลยที่ 3 เป็นผู้ดำเนินกิจการแทนจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นบุตรตลอดมาและไม่มีหุ้นอยู่ในห้างหุ้นส่วนจำกัด จำเลยที่ 1 จำเลยที่ 3ได้รับมอบอำนาจจากจำเลยที่ 1 ให้เป็นผู้มีอำนาจลงชื่อสั่งจ่ายเช็คของจำเลยที่ 1 ในการดำเนินกิจการของจำเลยที่ 1 ได้ การที่จำเลยที่ 2 กับจำเลยที่ 3 ร่วมกันแสดงออกต่อโจทก์และบุคคลทั่วไปว่าได้ร่วมกันประกอบกิจการค้าปุ๋ย ถือว่าจำเลยทั้ง 3 ได้ร่วมกันประกอบกิจการ เมื่อจำเลยที่ 3 ส่งปุ๋ยให้โจทก์ไม่ครบจำนวนตามที่โจทก์สั่งซื้อจำเลยที่ 2 จึงต้องรับผิด ส่วนจำเลยที่ 1 เป็นห้างหุ้นส่วนจำกัด มิได้มีวัตถุประสงค์ประกอบกิจการค้าขายปุ๋ยด้วย แต่การที่จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการของจำเลยที่ 1 ได้ร่วมประกอบกิจการค้าปุ๋ยกับจำเลยที่ 3แม้จะเป็นกิจการนอกขอบวัตถุประสงค์ของจำเลยที่ 1 ก็ตาม จำเลยที่ 1ก็ได้รับประโยชน์ด้วยโดยการรับเงินค่าปุ๋ยมาจากโจทก์ เมื่อจำเลยที่ 2 และที่ 3 ส่งปุ๋ยให้โจทก์ไม่ครบตามราคาซึ่งจำเลยที่ 1ได้รับไว้ จำเลยที่ 1 จึงไม่พ้นความรับผิดที่จะต้องคืนเงินค่าปุ๋ยที่เหลือให้แก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2632/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ตัวแทนของบริษัทรับฝากเงินเกินอำนาจ บริษัทต้องรับผิดต่อผู้ฝาก แม้จะไม่มีการประทับตรา
บริษัทจำเลยที่ 1 มีวัตถุประสงค์ประกอบกิจการเงินทุนเพื่อการพัฒนาและเพื่อการเคหะ โจทก์ได้ฝากเงินไว้กับจำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 2 และที่ 3 ซึ่งเป็นกรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนจำเลยที่ 1 ได้ลงลายมือชื่อสั่งจ่ายเช็คให้โจทก์ โดยไม่มีการประทับตราสำคัญของจำเลยที่ 1 เมื่อโจทก์ทักท้วงไปยังเลขานุการของจำเลยที่ 2 ก็ได้รับ คำตอบว่าใช้ได้เมื่อถึงกำหนดชำระดอกเบี้ยพนักงานของจำเลยที่ 1 ก็นำดอกเบี้ยไปชำระให้แก่โจทก์ ซองใส่เอกสารที่มอบให้โจทก์เป็นของจำเลยที่ 1 พฤติการณ์ดังกล่าวทำให้บุคคลภายนอกโดยทั่วไปเชื่อว่าการกระทำของจำเลยที่ 2 และที่ 3เป็นการกระทำแทนจำเลยที่ 1 ตลอดมาโจทก์ไม่ได้ตกลงหรือรู้เห็นด้วยว่าเป็นการกระทำที่ฝ่าฝืนประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย เรื่องการกำหนดให้บริษัทเงินทุนปฏิบัติในการกู้ยืมเงินหรือรับเงินจากประชาชนและการกำหนดอัตราดอกเบี้ยหรือส่วนลดที่บริษัทเงินทุนจะ จ่ายหรืออาจเรียกได้ จึงมิใช่นิติกรรมที่มีวัตถุประสงค์ขัดต่อกฎหมายอันจะเป็นการนอกวัตถุประสงค์ ของบริษัทจำเลยที่ 1 ดังนั้นการที่จำเลยที่ 2 และที่ 3 รับเงินจากโจทก์แล้วไม่ได้มอบหรือนำเงินเข้าบัญชีให้ จำเลยที่ 1 ย่อมเป็นเรื่องที่จำเลยที่ 2 และที่ 3 ซึ่งเป็น ตัวแทนไม่ส่งมอบทรัพย์สินที่ได้มาแก่จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นตัวการ และแม้หากตัวแทนจะอาศัยตำแหน่งหน้าที่อ้างชื่อจำเลยที่ 1 หาประโยชน์ใส่ตนก็ตามจำเลยที่ 1 ก็จะอ้างเอาการที่จำเลยที่ 2 และที่ 3 ซึ่งเป็น ตัวแทนของตนกระทำการทุจริตหรือไม่ส่งมอบเงินแก่ตน นั้นมาบอกปัดความรับผิดต่อโจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกผู้สุจริตหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1046/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ปลอมเช็ค-เบิกความเท็จ-ความผิดนิติบุคคล: การกระทำความผิดฐานปลอมแปลงเอกสารและเบิกความเท็จ รวมถึงความรับผิดของนิติบุคคล
เมื่อเช็คพิพาทเป็นเช็คที่จำเลยทั้งสองอ้างว่าโจทก์สั่งจ่ายเพื่อชำระหนี้ค่าขายสินค้าของจำเลยที่ 1ให้แก่จำเลยที่ 1 และจำเลยทั้งสองโดยไม่มีอำนาจและมิได้รับความยินยอมจากโจทก์ได้จัดให้มีการเขียนวันที่สั่งจ่ายลงในเช็คนั้นเพื่อให้จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นนิติบุคคลได้รับชำระหนี้อันอยู่ในวัตถุประสงค์ของจำเลยที่ 1ที่ได้จดทะเบียนไว้และเพื่อให้จำเลยที่ 1 ได้รับประโยชน์จากการกระทำนั้น จึงเป็นการร่วมกันทำเอกสารปลอมขึ้นบางส่วนโดยการเติมข้อความในเอกสารสิทธิและตั๋วเงินที่แท้จริง เพื่อให้ผู้อื่นหลงเชื่อว่าเป็นเอกสารแท้จริงที่โจทก์ทำขึ้น โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่โจทก์จำเลยทั้งสองจึงมีความผิดฐานร่วมกันปลอมเอกสารสิทธิและตั๋วเงิน ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 83,264,265,266(4) เมื่อจำเลยทั้งสองนำเช็คปลอมไปเข้าบัญชีเพื่อเรียก เก็บเงิน จึงมีความผิดฐานร่วมกันใช้เอกสารสิทธิและตั๋วเงินปลอม ตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 83,264 จำเลยที่ 2 ในฐานะส่วนตัวและในฐานะกรรมการผู้จัดการของจำเลยที่ 1 เบิกความต่อศาล ในคดีอาญาว่าโจทก์ไม่ใช่พนักงานของจำเลยที่ 1 โจทก์ได้ซื้อสินค้าไปจากจำเลยที่ 1 แล้วสั่งจ่ายเช็คเพื่อชำระค่าสินค้าโดยเช็คดังกล่าวได้เขียนรายการครบถ้วน ซึ่งความจริงแล้วปรากฏว่าโจทก์เป็นผู้จัดการฝ่ายขายของจำเลยที่ 1ได้สั่งจ่ายเช็คโดยไม่ได้ลงวันที่สั่งจ่ายให้จำเลยทั้งสองไว้ เพื่อเป็นประกันหนี้ ไม่ใช่เพื่อชำระหนี้ และวันที่สั่งจ่ายในเช็คถือเป็นข้อสำคัญในคดี เพราะหากผู้สั่งจ่ายไม่ลงวันที่สั่งจ่าย ก็ถือว่าไม่ได้ระบุวันในการกระทำผิดผู้สั่งจ่ายเช็คไม่อาจมีความผิดได้ จำเลยที่ 2 จึงมีความผิดฐานเบิกความเท็จในการพิจารณาคดีอาญา ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 177 วรรคสอง สำหรับจำเลยที่ 1 ถึงแม้จะเป็นนิติบุคคล แต่การที่จำเลยที่ 2เลิกความดังกล่าวเป็นการเบิกความแทนจำเลยที่ 1ด้วย ทั้งนี้ สังเกต ได้จากการที่จำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 2มอบอำนาจให้ ศ. ไปร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนจนมีการดำเนินคดีแก่โจทก์ทางอาญา และพนักงานอัยการฟ้องโจทก์เป็นจำเลยในข้อหาความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คการที่จำเลยที่ 2 เบิกความในคดีดังกล่าวจึงเป็นการกระทำเพื่อประโยชน์ของจำเลยที่ 1 แม้ในการจดทะเบียนจัดตั้งบริษัทจำเลยที่ 1 จะไม่ได้ระบุวัตถุประสงค์เกี่ยวกับการเบิกความไว้ แต่นิติบุคคลอาจเป็นโจทก์ฟ้องหรือถูกฟ้องเป็นจำเลยในกิจการตามวัตถุประสงค์ของนิติบุคคลได้ ดังนั้น ผู้จัดการของนิติบุคคลย่อมต้องเบิกความต่อศาล และถือได้ว่าเป็นการกระทำตามวัตถุประสงค์ขอนิติบุคคลนั้น เมื่อจำเลยที่ 2 เบิกความแทนจำเลยที่ 1 เป็นเท็จ ก็ถือได้ว่าเป็นการกระทำของจำเลยที่ 1 ด้วย จำเลยทั้งสองจึงมีความผิดฐานร่วมกันเบิกความเท็จ โจทก์บรรยายฟ้องว่า ในวันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2523เวลากลางวัน จำเลยทั้งสองได้ร่วมกันเบิกความอันเป็นเท็จต่อศาลในการพิจารณาคดีอาญาหมายเลขดำที่15081/2522 ของศาลชั้นต้น ว่าบริษัทผู้เสียหายได้รับเช็คจากโจทก์เป็นค่าเครื่องไฟฟ้า โจทก์ไม่ใช่พนักงานของบริษัทและเช็คที่รับมามีวันที่สั่งจ่ายเรียบร้อยแล้วเป็นข้อสำคัญในคดีเพราะหากเช็คดังกล่าวสั่งจ่ายเพื่อเป็นประกันหนี้หรือไม่มีวันที่สั่งจ่ายโจทก์ก็ไม่มีความผิดทางอาญา ฟ้องของโจทก์ได้บรรยายถึงการกระทำทั้งหลายที่อ้างว่าจำเลยได้กระทำผิดข้อเท็จจริงและรายละเอียดที่เกี่ยวกับเวลาและสถานที่เกิดการกระทำนั้น ๆ ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158(5)และครบองค์ประกอบตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 177แล้ว คำฟ้องของโจทก์ไม่เคลือบคลุม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3612/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องเรียกค่าเช่าและการคิดดอกเบี้ยเบี้ยปรับในสัญญาเช่า: โจทก์มีอำนาจฟ้องได้หากวัตถุประสงค์บริษัทครอบคลุมการให้เช่า
หนังสือบริคณห์สนธิของโจทก์ข้อ 14 ระบุว่า ประกอบกิจการค้าวัสดุก่อสร้าง อุปกรณ์และเครื่องมือช่างทุกประเภท เครื่องมือทาสีเครื่องตกแต่งอาคารทุกชนิด วัตถุประสงค์ของโจทก์ดังกล่าวเป็นการประกอบการค้าเพื่อหารายได้จากวัสดุก่อสร้าง เครื่องมือเครื่องใช้ในการก่อสร้างทั่วไป และการค้าหมายถึงการดำเนินการด้วยวิธีการต่าง ๆโดยชอบด้วยกฎหมายเพื่อให้ได้มาซึ่งรายได้ หาได้จำกัดเฉพาะการซื้อหรือขายเท่านั้นไม่ การที่โจทก์ให้เช่าแผ่นเหล็กกันดินอันเป็นเครื่องมือเครื่องใช้ในการก่อสร้างจึงเป็นการหารายได้วิธีหนึ่งซึ่งอยู่ในวัตถุประสงค์ของโจทก์ดังกล่าว โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องเรียกค่าเช่าที่ค้างชำระพร้อมดอกเบี้ยได้ โจทก์ฟ้องเรียกค่าเช่าค่าเสียหาย และค่าขนย้ายทรัพย์สิน หาใช่ฟ้องเรียกเงินกู้ ดอกเบี้ยตามสัญญายอมเสียให้ในอัตราร้อยละ 18 ต่อปีจึงเป็นเบี้ยปรับอย่างหนึ่งซึ่งโจทก์มีสิทธิฟ้องเรียกได้ ไม่ตกเป็นโมฆะ
of 13