คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.อ. ม. 192 วรรคสี่

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 116 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2130/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข่มขืนกระทำชำเราเด็ก - การลงโทษตามมาตรา 279 วรรคสอง ชอบด้วยกฎหมาย แม้ฟ้องตามมาตรา 277
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยใช้กำลังประทุษร้ายกอดปล้ำแล้วกระทำชำเราผู้เสียหายซึ่งมิใช่ภริยาจำเลยโดยผู้เสียหายอยู่ในภาวะที่ไม่สามารถขัดขืนได้จนสำเร็จความใคร่หลายครั้ง ซึ่งตามบทบัญญัติ ป.อ. มาตรา 279 และคำฟ้องใช้ข้อความเหมือนกันว่า โดยใช้กำลังประทุษร้าย โดย... อยู่ในภาวะที่ไม่สามารถขัดขืนได้ส่วนการกระทำอนาจารนั้นหมายความเป็นการกระทำโดยไม่ชอบทางเพศต่อบุคคลอื่น การที่จำเลยนำเอาอวัยวะเพศของจำเลยสอดใส่เข้าในอวัยวะเพศของผู้เสียหายซึ่งเป็นองค์ประกอบในการกระทำความผิดฐานข่มขืนกระทำชำเรานั้น ถือเป็นการกระทำอนาจารตามบัญญัติของมาตรา 279 ด้วย ทำให้เห็นว่าการกระทำความผิดตามบทบัญญัติของมาตรา 279 รวมอยู่ในการกระทำความผิดตามบทบัญญัติของมาตรา 277 แต่มีโทษเบากว่า การพิพากษาลงโทษจำเลยตามมาตรา 279 วรรคสอง จึงเป็นการชอบด้วยบทบัญญัติของกฎหมาย หาใช่เป็นการลงโทษในความผิดที่โจทก์ไม่ประสงค์ให้ลงโทษและต้องห้ามตามกฎหมายแต่อย่างใด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9024/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกระทำผิดฐานฆ่าและทำร้ายร่างกายเป็นการกระทำกรรมเดียวหรือหลายกรรม ศาลต้องลงโทษตามฟ้อง
การที่โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยใช้อาวุธมีดแทงผู้ตายบริเวณอกด้านซ้ายโดยมีเจตนาฆ่าและไตร่ตรองไว้ก่อน แล้วจำเลยใช้มีดแทงผู้ตายซ้ำอีก แต่ผู้เสียหายเข้ากันไว้เป็นเหตุให้มีดพลาดไปถูกผู้เสียหายที่ต้นแขนซ้ายได้รับบาดเจ็บ ส่วนผู้ตายถึงแก่ความตาย แสดงว่าโจทก์ประสงค์จะให้ลงโทษจำเลยเพียงกรรมเดียวในความผิดฐานฆ่าผู้ตายและพลาดไปถูกผู้เสียหายได้รับบาดเจ็บ อันเป็นการกระทำกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบท ซึ่งต้องลงโทษจำเลยตามกฎหมายบทที่มีโทษหนักที่สุดตาม ป.อ. มาตรา 90 ดังนั้น แม้ข้อเท็จจริงตามทางพิจารณาจะได้ความว่า นอกจากจำเลยมีเจตนาฆ่าผู้ตายแล้วจำเลยยังทำร้ายผู้เสียหายอันเป็นความผิดอีกกรรมหนึ่งแยกต่างหากจากกันก็ตาม ก็เป็นเรื่องข้อเท็จจริงที่กล่าวในฟ้องและตามที่ปรากฏในทางพิจารณาไม่ใช่เรื่องที่โจทก์ประสงค์ให้ลงโทษตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคสี่ จึงไม่อาจลงโทษจำเลยในความผิดฐานทำร้ายผู้เสียหายจนเป็นเหตุให้เกิดอันตรายแก่กายอีกกระทงหนึ่งได้ เพราะเป็นการพิพากษาเกินคำขอหรือที่มิได้กล่าวในฟ้องต้องห้ามตามมาตรา 192 วรรคหนึ่ง คงลงโทษจำเลยได้เฉพาะในความผิดฐานฆ่าผู้ตายเท่านั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8268/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพยายามฆ่าและพาอาวุธโดยไม่ได้รับอนุญาต: การจำกัดขอบเขตการฟ้องและบทลงโทษ
โจทก์บรรยายฟ้องเพียงว่าจำเลยกับพวกร่วมกันพยายามฆ่าผู้เสียหายซึ่งเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 288 ประกอบมาตรา 80 และ 83 แม้โจทก์จะอ้างมาตรา 289 มาในคำขอท้ายฟ้องด้วย แต่โจทก์มิได้บรรยายฟ้องว่าจำเลยพยายามฆ่าผู้เสียหายอย่างไร จึงมีลักษณะเป็นเหตุฉกรรจ์ตามมาตรา 289 ศาลจึงลงโทษจำเลยตามมาตรา 289 ไม่ได้ เพราะเป็นเรื่องนอกเหนือไปจากที่โจทก์ฟ้องและไม่ใช่เรื่องที่โจทก์ประสงค์ให้ลงโทษ คงลงโทษจำเลยได้เพียงฐานร่วมกันพยายามฆ่าผู้เสียหายเท่านั้นตาม ป.วิ.อ. มาตรา 158 และ 192 วรรคสี่ ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัวฯ มาตรา 6
ความผิดฐานมีอาวุธปืนและฐานพาอาวุธปืนโดยไม่ได้รับใบอนุญาตโจทก์มิได้นำสืบว่า อาวุธปืนและเครื่องกระสุนปืนที่พวกของจำเลยใช้ในการพยายามฆ่าผู้เสียหายนั้น เป็นอาวุธปืนที่จำเลยมิได้รับใบอนุญาตจากนายทะเบียนท้องที่ให้มีและให้พาติดตัวไปตามกฎหมาย ทั้งโจทก์ก็มิได้อาวุธปืนดังกล่าวมาเป็นของกลาง ในชั้นสอบสวนก็ไม่ปรากฏว่าพนักงานสอบสวนได้สอบคำให้การจำเลยเกี่ยวกับเรื่องนี้ไว้เลย จึงไม่อาจลงโทษจำเลยฐานมีอาวุธปืนและเครื่องกระสุนปืนไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับใบอนุญาตและฐานพาอาวุธปืนไปในเมือง หมู่บ้าน หรือทางสาธารณะตาม พ.ร.บ.อาวุธปืนฯ ได้ คงลงโทษได้เพียงในความผิดฐานพาอาวุธติดตัวไปในเมือง หมู่บ้าน หรือทางสาธารณะตาม ป.อ. มาตรา 371 เท่านั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5291/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิพากษาลงโทษฐานครอบครองยาเสพติดโดยไม่ได้รับอนุญาต แม้ฟ้องว่ามีไว้เพื่อจำหน่าย ศาลลงโทษได้ตามบทลงโทษที่เบากว่า
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายย่อมรวมถึงการมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาตด้วย ถือได้ว่าความผิดตามที่โจทก์ฟ้องรวมการกระทำหลายอย่าง แต่ละอย่างอาจเป็นความผิดได้อยู่ในตัวเอง จึงไม่ใช่ความผิดที่โจทก์ไม่ประสงค์ให้ลงโทษ ทั้งไม่ใช่กรณีที่ข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในการพิจารณาแตกต่างจากข้อเท็จจริงดังที่กล่าวในฟ้อง แม้ พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษฯ จะบัญญัติความผิดทั้งสองฐานไว้คนละมาตราก็ตาม เมื่อข้อเท็จจริงตามทางพิจารณาฟังได้เพียงว่า จำเลยมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาต ศาลล่างทั้งสองก็ย่อมพิพากษาลงโทษจำเลยในความผิดฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาตซึ่งมีบทลงโทษเบากว่าได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคท้าย และไม่เป็นการพิพากษาเกินคำขอหรือที่มิได้กล่าวในฟ้องตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4474/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ไขคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ในคดีทำลายทรัพยากรธรรมชาติ: ข้อจำกัดการเพิ่มโทษจากข้อผิดพลาดของศาลชั้นต้น
คดีนี้โจทก์ฟ้องว่า จำเลยทั้งสามร่วมกันกระทำความผิดต่อกฎหมายหลายกรรมต่างกัน กล่าวคือ จำเลยทั้งสามร่วมกันทำไม้ยาง โดยใช้เลื่อยโซ่รถยนต์ภายในบริเวณป่าทะเลน้อย ซึ่งเป็นเขตห้ามล่าสัตว์ป่า ร่วมกันมีไม้ยางอันยังมิได้แปรรูปไว้ในครอบครอง ร่วมกันแปรรูปไม้ยางและร่วมกันมีไม้ยางแปรรูปโดยไม่ได้รับอนุญาต ขอให้ลงโทษตาม พ.ร.บ.ป่าไม้ฯ มาตรา 6, 7, 11, 48, 69, 73, 74, 74 ทวิ พ.ร.บ.สงวนและคุ้มครองสัตว์ป่าฯ มาตรา 42, 54, 63 ป.อ. มาตรา 32, 33, 83, 91 ริบของกลาง จำเลยทั้งสามให้การรับสารภาพ ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยทั้งสามมีความผิดตาม พ.ร.บ.ป่าไม้ฯ มาตรา 11, 48 วรรคหนึ่ง, 69 วรรคสอง, 73 วรรคสอง พ.ร.บ.สงวนและคุ้มครองสัตว์ป่าฯ มาตรา 42 วรรคสอง, 54 วรรคหนึ่ง ป.อ. มาตรา 83 เป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน ให้ลงโทษทุกกรรมเป็นกระทงความผิดไปตาม ป.อ. มาตรา 91 ฐานร่วมกันทำไม้ยางโดยไม่ได้รับอนุญาตในเขตสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า อันเป็นกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท ให้ลงโทษตาม พ.ร.บ.ป่าไม้ฯ ซึ่งเป็นกฎหมายที่มีโทษหนักที่สุดตาม ป.อ. มาตรา 90 จำคุกคนละ 2 ปี ฐานร่วมกันมีไม้ยางอันยังมิได้แปรรูป โดยไม่มีรอยตราค่าภาคหลวง จำคุกคนละ 2 ปี ฐานร่วมกันแปรรูปไม้ยางโดยไม่ได้รับอนุญาตจำคุกคนละ 2 ปี รวมจำคุกคนละ 8 ปี
จากคำพิพากษาศาลชั้นต้นปรากฏว่า ศาลชั้นต้นมิได้ระบุความผิดฐานร่วมกันมีไม้ยางแปรรูปไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาตและกำหนดโทษไว้ในคำพิพากษา คงระบุไว้เพียง 3 ฐานความผิด แต่รวมโทษจำคุกเป็นคนละ 8 ปี ซึ่งน่าจะเป็นความผิดหลงหรือความพลั้งเผลอของศาลชั้นต้นที่มิได้ระบุความผิดฐานดังกล่าวเอาไว้ในคำพิพากษา ทั้งโจทก์และจำเลยก็มิได้อุทธรณ์ในปัญหานี้ จำเลยทั้งสามคงอุทธรณ์ขอให้รอการลงโทษเท่านั้น และศาลอุทธรณ์ภาค 8 ก็มิได้แก้ไขคำพิพากษาศาลชั้นต้นในปัญหานี้ เพียงแต่เติมข้อความไว้ในวงเล็บต่อท้ายความผิดฐานร่วมกันแปรรูปไม้ยางจำคุกคนละ 2 ปี ในคำพิพากษาศาลชั้นต้นว่า "ที่ถูกฐานร่วมกันมีไม้ยางแปรรูป จำคุกคนละ 2 ปี ด้วย" ข้อความดังกล่าวเป็นเพียงข้อความที่ศาลอุทธรณ์ภาค 8 ปรับบทฐานความผิดให้ตรงตามคำรับสารภาพของจำเลยทั้งสามตามฟ้องและถูกต้องตรงตามโทษจำคุกที่ศาลชั้นต้นวางไว้ก่อนที่จะลดโทษให้แก่จำเลยทั้งสาม โดยศาลอุทธรณ์ภาค 8 มิได้พิพากษาเพิ่มเติมโทษจำเลยทั้งสามให้สูงขึ้นแต่อย่างใด ตรงกันข้ามศาลอุทธรณ์ภาค 8 ได้แก้ไขโทษที่จะลงแก่จำเลยทั้งสามลดลงจากโทษตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นซึ่งเป็นคุณแก่จำเลยทั้งสามอีกด้วย คำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ภาค 8 จึงชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 212 และไม่เป็นการพิพากษาหรือสั่งเกินคำขอหรือที่มิได้กล่าวในคำฟ้องตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคหนึ่ง และวรรคสี่ ประกอบด้วยมาตรา 215

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2527/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิจารณาความผิดฐานพยายามฆ่าเพื่อปกปิดความผิดอื่น และการลงโทษฐานพาอาวุธปืนโดยมิได้รับอนุญาต
หลังจากจำเลยที่ 1 ใช้อาวุธปืนยิงผู้ตายแล้ว จำเลยที่ 1 ใช้อาวุธปืนยิงผู้เสียหายที่ 1 ขณะผู้เสียหายที่ 1 วิ่งตามรถจักรยานยนต์และร้องเรียกให้คนช่วยจนผู้เสียหายที่ 1 ล้มลง จากนั้นจำเลยที่ 1 ใช้อาวุธปืนยิงผู้เสียหายที่ 2 และที่ 3 อันเป็นการพยายามฆ่าผู้เสียหายทั้งสามเพื่อปกปิดความผิดอื่นของจำเลยที่ 1 แต่เมื่อโจทก์มิได้ฟ้องบรรยายจำเลยที่ 1 ในความผิดฐานร่วมกันพยายามฆ่าผู้เสียหายทั้งสามเพื่อปกปิดการกระทำความผิดอื่นมาด้วย จึงลงโทษจำเลยที่ 1 ในความผิดฐานนี้ไม่ได้ เนื่องจากเป็นการเกินไปจากที่โจทก์กล่าวในฟ้องและไม่ใช่เป็นเรื่องที่โจทก์ประสงค์ให้ลงโทษตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคหนึ่งและวรรคสี่ คงลงโทษจำเลยที่ 1 ได้เพียงฐานร่วมกันพยายามฆ่าผู้เสียหายทั้งสามตาม ป.อ. มาตรา 288 ประกอบมาตรา 80, 83
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยที่ 1 ตาม พ.ร.บ.อาวุธปืนฯ มาตรา 8 ทวิ วรรคหนึ่ง มิได้บรรยายฟ้องว่าจำเลยที่ 1 ร่วมกันพาอาวุธปืนไปโดยเปิดเผยตามมาตรา 8 ทวิ วรรคสอง การที่ศาลล่างทั้งสองลงโทษจำเลยที่ 1 ตามมาตรา 8 ทวิ วรรคสอง จึงไม่ชอบ ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยแม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นอ้างและแก้ไขเสียให้ถูกต้องได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1077/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลจำกัดตามคำฟ้อง โจทก์มิได้ขอลงโทษตามกฎหมายเฉพาะ ศาลพิพากษาเกินคำขอไม่ได้
ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า "ห้ามมิให้พิพากษา หรือสั่งเกินคำขอหรือที่มิได้กล่าวในฟ้อง" อันเป็นการกำหนดกรอบอำนาจการพิพากษาหรือการมีคำสั่งชี้ขาดคดีของศาลไว้ 2 ประการ คือ ห้ามมิให้ศาลพิพากษาหรือสั่งเกินคำขอประการหนึ่ง กับห้ามมิให้ศาลพิพากษาหรือสั่งในข้อที่โจทก์มิได้กล่าวในฟ้องอีกประการหนึ่ง ซึ่งศาลอยู่ในบังคับที่จะพิพากษาหรือสั่งเกินประการหนึ่งประการใดมิได้และทั้งสองประการดังกล่าวเป็นเรื่องที่โจทก์จะต้องระบุในฟ้องตาม ป.วิ.อ. มาตรา 158 (5) และ (6) เมื่อโจทก์มิได้อ้างมาตรา 91 ตรี แห่ง พ.ร.บ.จัดหางานและคุ้มครองคนหางานฯ ซึ่งบัญญัติว่า การกระทำของจำเลยเป็นความผิด และความผิดดังกล่าวมีโทษสูงกว่าโทษในความผิดฐานฉ้อโกงตาม ป.อ. มาตรา 341 ต้องถือว่าโจทก์ไม่ประสงค์ให้ลงโทษจำเลยตาม พ.ร.บ.จัดหางานและคุ้มครองคนหางานฯ มาตรา 91 ตรี และเป็นการเกินคำขอตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคหนึ่งและวรรคสี่ ศาลจึงพิพากษาหรือสั่งเกินคำขอมิได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1077/2550 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจำกัดอำนาจศาลในการลงโทษเกินคำขอในฟ้องอาญา แม้โจทก์บรรยายองค์ประกอบความผิดครบถ้วน
โจทก์มิได้อ้างมาตรา 91 ตรี แห่ง พ.ร.บ.จัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ.2528 ซึ่งบัญญัติว่าการกระทำของจำเลยเป็นความผิด และความผิดดังกล่าวมีโทษสูงกว่าโทษความผิดฐานฉ้อโกงตาม ป.อ. มาตรา 341 ต้องถือว่าโจทก์ไม่ประสงค์ให้ลงโทษจำเลยตาม พ.ร.บ.จัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ.2528 มาตรา 91 ตรี และเป็นการเกินคำขอตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคหนึ่งและวรรคสี่ ศาลจึงพิพากษาหรือสั่งเกินคำขอมิได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 528/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ รับซื้อทรัพย์ที่ได้จากการลักทรัพย์ แม้มีเจตนาค้ากำไร แต่ฟ้องไม่ชัดเจน ศาลลงโทษเฉพาะฐานรับของโจร
จำเลยรับซื้อทรัพย์ของกลางโดยรู้อยู่ว่าเป็นทรัพย์อันได้มาโดยการกระทำความผิดฐานลักทรัพย์ การที่จำเลยนำทรัพย์ดังกล่าวไปขายต่อ แม้จะเป็นการกระทำความผิดฐานรับของโจรเพื่อค้ากำไรก็ตาม แต่เมื่อคำบรรยายฟ้องโจทก์มิได้บรรยายว่า จำเลยรับของโจรเพื่อค้ากำไร จึงมิอาจลงโทษจำเลยตาม ป.อ. มาตรา 357 วรรคสองได้ เพราะโจทก์ไม่ได้ประสงค์จะให้ลงโทษตามบทดังกล่าว คงลงโทษจำเลยตาม ป.อ. มาตรา 357 วรรคหนึ่ง เท่านั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2063/2549 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อจำกัดการอุทธรณ์เมื่อศาลยกฟ้องตามบทมาตราที่ฟ้อง และการลงโทษเกินคำขอ
พนักงานอัยการโจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตาม ป.อ. มาตรา 358 และ 362 ซึ่งมีอัตราโทษอย่างสูงให้จำคุกไม่เกินสามปีและไม่เกินหนึ่งปี โจทก์ร่วมยื่นคำร้องขอเข้าร่วมเป็นโจทก์โดยขอถือเอาคำฟ้องและบัญชีระบุพยานของพนักงานอัยการโจทก์เป็นคำฟ้องและบัญชีระบุพยานของโจทก์ร่วมด้วย เท่ากับโจทก์ร่วมประสงค์ให้ลงโทษจำเลยตามบทมาตราเดียวกับที่พนักงานอัยการโจทก์ระบุมาท้ายฟ้อง เมื่อศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องจึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ. มาตรา 193 ทวิ
โจทก์ร่วมฎีกาว่าตามทางพิจารณาได้ความว่า การกระทำของจำเลยต้องด้วยบทบัญญัติแห่ง ป.อ. มาตรา 359 (4) และ 365 (2) ซึ่งต่างมีระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี การที่พนักงานอัยการโจทก์อ้างบทมาตราว่าจำเลยกระทำความผิดตาม ป.อ. มาตรา 358 และ 362 เป็นการอ้างฐานความผิดหรือบทมาตราผิด ซึ่งศาลมีอำนาจลงโทษตามฐานความผิดที่ถูกต้องดังที่พิจารณาได้ความดังกล่าวได้ จึงไม่ต้องห้ามอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงนั้น หาใช่เป็นเรื่องที่โจทก์ก็อ้างฐานความผิดหรือบทมาตราผิดแต่อย่างใดไม่ เพราะโจทก์อ้างมาตราตามข้อเท็จจริงที่กล่าวในฟ้อง จึงไม่ต้องด้วยบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคห้า แต่เป็นเรื่องข้อเท็จจริงที่กล่าวในฟ้องและตามที่ปรากฏในทางพิจารณาไม่ใช่เป็นเรื่องที่โจทก์ประสงค์ให้ลงโทษตามมาตรา 192 วรรคสี่ ดังนั้น แม้ข้อเท็จจริงตามทางพิจารณาได้ความว่า การกระทำของจำเลยต้องด้วยเหตุฉกรรจ์ตามบทมาตราที่โจทก์ร่วมอ้างมาก็ไม่อาจลงโทษจำเลยตามบทมาตรานั้น ๆ ได้ เพราะเป็นการพิพากษาเกินคำขอหรือที่ไม่ได้กล่าวในฟ้องต้องห้ามตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคหนึ่ง คงลงโทษได้ตามบทมาตราที่อ้างมาในฟ้อง และเมื่อศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องจึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ. มาตรา 193 ทวิ
of 12