พบผลลัพธ์ทั้งหมด 116 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3454/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิจารณาความผิดฐานพยายามฆ่าและต่อสู้ขัดขวางเจ้าพนักงาน ต้องอาศัยพยานหลักฐานที่ชัดเจนและครบถ้วน หากพยานหลักฐานไม่เพียงพอ ศาลต้องยกฟ้อง
โจทก์บรรยายข้อเท็จจริงไว้ในคำฟ้องข้อ 1 ค. ว่า หลังจาก จำเลยขับรถด้วยความประมาทแล้วผู้เสียหายซึ่งเป็นเจ้าพนักงานจราจรและได้รับแจ้งเหตุให้สกัดจับจำเลยได้ออกมายืนสกัดอยู่กลางถนนและให้สัญญาณมือให้จำเลยหยุดรถเพื่อจับกุมดำเนินคดี อันเป็นการปฏิบัติการตามหน้าที่ แต่จำเลยขับรถพุ่งเข้าชนผู้เสียหายโดยเจตนาฆ่าเพื่อขัดขวางการจับกุม ซึ่งเป็นความผิดฐานต่อสู้ขัดขวางเจ้าพนักงานในการปฏิบัติการตามหน้าที่ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 138 วรรคสองแต่โจทก์มิได้อ้างบทมาตราดังกล่าว ซึ่งโจทก์ถือว่าเป็นความผิดและขอให้ ลงโทษจำเลยมาในคำขอท้ายฟ้อง คงอ้างเฉพาะมาตรา 289,80เห็นได้ว่าโจทก์ประสงค์ให้ลงโทษจำเลยเฉพาะแต่ในความผิดฐานพยายามฆ่าเจ้าพนักงานซึ่งกระทำการตามหน้าที่ มิได้ประสงค์จะให้ลงโทษจำเลยในความผิดฐานต่อสู้ขัดขวางเจ้าพนักงานในการปฏิบัติการตามหน้าที่ด้วยจึงไม่อาจลงโทษจำเลยในความผิดฐานต่อสู้ขัดขวางเจ้าพนักงานในการปฏิบัติการตามหน้าที่ได้ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 192 วรรคสี่
ก่อนที่ผู้เสียหายทั้งสองจะไปยืนขวางถนน ขณะจำเลยขับรถย้อนกลับมาผู้เสียหายที่ 1 ได้ออกไปยืนขวางถนนด้านตรงกันข้ามเพื่อไม่ให้จำเลยขับรถหลบหนีไปแล้วครั้งหนึ่ง แต่จำเลยก็ขับรถหลบหนีผู้เสียหายที่ 1 ไป ไม่ได้ขับพุ่งเข้าชน เมื่อจ่าสิบตำรวจ ว. ขับรถจักรยานยนต์แซงไปจอดขวางถนน จำเลยก็เลี้ยวรถกลับไม่ได้ขับรถฝ่าไป หลังจากผ่านผู้เสียหายทั้งสองไปแล้ว จำเลยก็ยังขับรถหลบหลีกเจ้าพนักงานตำรวจอื่นซึ่งยืนสกัดขัดขวางอยู่อีกหลายคนถึงขนาดขับรถข้ามเกาะกลางถนนเข้าไปในช่องเดินรถสวน แสดงว่า จำเลยเพียงแต่พยายามขับรถหลบหนีไม่ให้ถูกจับกุม หากจำเลยจะกระทำโดยวิธีขับรถพุ่งเข้าชนผู้ที่ขวางทางอยู่ก็คงจะไม่เว้นแม้กระทั่งเจ้าพนักงานตำรวจอื่นที่สกัดอยู่ สำหรับบาดแผลที่ข้อมือของผู้เสียหายทั้งสองมีขนาดเล็กเพียง 1 คูณ 2 เซนติเมตร ไม่ระบุลักษณะและโจทก์ไม่ได้นำสืบให้เห็นว่าเป็นบาดแผลที่เกิดจากของไม่มีคมจึงอาจเกิดจากการถูกกระจกรถจำเลยซึ่งแตกเสียหายบาดในขณะเข้าไปจับจำเลยออกมาจากรถก็เป็นได้พยานหลักฐานโจทก์ไม่พอฟังลงโทษจำเลยในความผิดฐานพยายามฆ่าได้
ก่อนที่ผู้เสียหายทั้งสองจะไปยืนขวางถนน ขณะจำเลยขับรถย้อนกลับมาผู้เสียหายที่ 1 ได้ออกไปยืนขวางถนนด้านตรงกันข้ามเพื่อไม่ให้จำเลยขับรถหลบหนีไปแล้วครั้งหนึ่ง แต่จำเลยก็ขับรถหลบหนีผู้เสียหายที่ 1 ไป ไม่ได้ขับพุ่งเข้าชน เมื่อจ่าสิบตำรวจ ว. ขับรถจักรยานยนต์แซงไปจอดขวางถนน จำเลยก็เลี้ยวรถกลับไม่ได้ขับรถฝ่าไป หลังจากผ่านผู้เสียหายทั้งสองไปแล้ว จำเลยก็ยังขับรถหลบหลีกเจ้าพนักงานตำรวจอื่นซึ่งยืนสกัดขัดขวางอยู่อีกหลายคนถึงขนาดขับรถข้ามเกาะกลางถนนเข้าไปในช่องเดินรถสวน แสดงว่า จำเลยเพียงแต่พยายามขับรถหลบหนีไม่ให้ถูกจับกุม หากจำเลยจะกระทำโดยวิธีขับรถพุ่งเข้าชนผู้ที่ขวางทางอยู่ก็คงจะไม่เว้นแม้กระทั่งเจ้าพนักงานตำรวจอื่นที่สกัดอยู่ สำหรับบาดแผลที่ข้อมือของผู้เสียหายทั้งสองมีขนาดเล็กเพียง 1 คูณ 2 เซนติเมตร ไม่ระบุลักษณะและโจทก์ไม่ได้นำสืบให้เห็นว่าเป็นบาดแผลที่เกิดจากของไม่มีคมจึงอาจเกิดจากการถูกกระจกรถจำเลยซึ่งแตกเสียหายบาดในขณะเข้าไปจับจำเลยออกมาจากรถก็เป็นได้พยานหลักฐานโจทก์ไม่พอฟังลงโทษจำเลยในความผิดฐานพยายามฆ่าได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2394/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สนับสนุนการผลิตยาเสพติด: จำเลยจัดหาสารเคมีแต่ไม่ร่วมผลิต ไม่ผิดฐานสนับสนุนการมีไว้ในครอบครอง และไม่สามารถปรับบทลงโทษตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดได้
จำเลยเพียงแต่จัดหาสารเคมีเพื่อใช้ผลิตวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 2 ให้แก่กลุ่มผู้ผลิต แต่มิได้เข้าไปร่วมผลิตหรือกระทำการใดอันเป็นการสนับสนุนให้จำเลยในคดีอาญาอีกคดีหนึ่ง มีไว้ในครอบครองซึ่งวัตถุออกฤทธิ์ ในประเภท 2 ที่ผลิตขึ้น จำเลยจึงไม่มีความผิดฐานสนับสนุนจำเลยในคดีอาญาดังกล่าวมีวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 2 ไว้ในครอบครองโดยมิได้รับอนุญาต คงมีความผิดฐานสนับสนุนจำเลยในคดีอาญาดังกล่าวผลิตเมทแอมเฟตามีน อีกทั้งจะนำ พ.ร.บ. มาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดพ.ศ. 2534 มาตรา 6 (1) มาปรับบทโดยระวางโทษจำเลยเช่นเดียวกับตัวการก็มิได้ เพราะคำขอท้ายฟ้องของโจทก์มิได้อ้างถึง พ.ร.บ. ฉบับนี้มาเป็นบทที่ขอให้ลงโทษจำเลย ย่อมถือว่าโจทก์ไม่ประสงค์จะให้ลงโทษจำเลยตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคสี่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 148/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตคำฟ้องอาญาหมิ่นประมาท: ศาลจำกัดการพิจารณาเฉพาะข้อความที่บรรยายในคำฟ้องเท่านั้น
โจทก์บรรยายฟ้องแต่เพียงว่า จำเลยกับพวกนำข้อความที่ว่า โจทก์สมคบกับประธานสภาจังหวัด ช. ประวิงหรือหลีกเลี่ยง ละเว้นไม่พิจารณาคำขอเปิดประชุมสภาจังหวัดสมัยวิสามัญประจำปีของจำเลยกับพวกซึ่งเป็นสมาชิกสภาจังหวัดโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายและประเพณีปฏิบัติราชการไปยื่นฟ้อง และจำเลยกับพวกจัดการโฆษณาเผยแพร่ข้อความตามคำฟ้องในหนังสือพิมพ์ ทำให้โจทก์เสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่นและถูกเกลียดชัง ขอให้ลงโทษตาม ป.อ.มาตรา 326, 328, 83 แต่ทางพิจารณาปรากฏว่า ข้อความที่พิมพ์เผยแพร่ในหนังสือพิมพ์นอกจากจะเป็นข้อความตามคำฟ้องของจำเลยกับพวกแล้ว ยังมีข้อความเพิ่มเติมเป็นเบื้องหลังการที่โจทก์ไม่สั่งเปิดประชุมสภาจังหวัดเพราะเกี่ยวข้องกับการทุจริตและการย้ายข้าราชการโดยไม่เป็นธรรมอันเป็นการหมิ่นประมาทโจทก์ขึ้นใหม่อีกส่วนหนึ่ง ข้อความหมิ่นประมาทถือเป็นองค์ประกอบสำคัญของความผิดฐานหมิ่นประมาท เมื่อโจทก์มิได้บรรยายไว้ให้ปรากฏในคำฟ้องถือได้ว่าไม่ใช่เป็นเรื่องที่โจทก์ประสงค์ให้ลงโทษ ศาลจึงไม่อาจนำข้อเท็จจริงดังกล่าวมาพิจารณาลงโทษจำเลยได้ ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 192 วรรคสี่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 148/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตการลงโทษจำเลยในคดีหมิ่นประมาท: ศาลจำกัดเฉพาะข้อความที่ระบุในคำฟ้องเดิม
โจทก์บรรยายฟ้องแต่เพียงว่า จำเลยที่ 1 กับพวกนำข้อความที่ว่าโจทก์สมคบกับประธานสภาจังหวัดชัยภูมิประวิงหรือหลีกเลี่ยง ละเว้น ไม่พิจารณาคำขอเปิดประชุมสภาจังหวัดชัยภูมิสมัยวิสามัญครั้งที่ 1 ประจำปี 2538 ของจำเลยกับพวกซึ่งเป็นสมาชิกสภาจังหวัดชัยภูมิโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายและประเพณีปฏิบัติราชการไปยื่นฟ้อง และจำเลยกับพวกจัดการโฆษณาเผยแพร่ข้อความตามคำฟ้องในหนังสือพิมพ์ไทยรัฐและหนังสือพิมพ์เดลินิวส์ ทำให้โจทก์เสียชื่อเสียงถูกดูหมิ่น และถูกเกลียดชัง ขอให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 326,328,83 แต่เมื่อทางพิจารณาปรากฏว่า ข้อความที่พิมพ์เผยแพร่ในหนังสือพิมพ์ไทยรัฐนอกจากจะเป็นข้อความตามคำฟ้องของจำเลยที่ 1 กับพวกแล้ว ยังมีข้อความเพิ่มเติมเป็นเบื้องหลังการที่โจทก์ไม่สั่งเปิดประชุมสภาจังหวัดเพราะเกี่ยวข้องกับการทุจริตและการย้ายข้าราชการโดยไม่เป็นธรรม อันเป็นการหมิ่นประมาทโจทก์ขึ้นใหม่อีกส่วนหนึ่งข้อความหมิ่นประมาทถือเป็นองค์ประกอบสำคัญของความผิดฐานหมิ่นประมาทเมื่อโจทก์มิได้บรรยายไว้ให้ปรากฏในคำฟ้องถือได้ว่าไม่ใช่เป็นเรื่องที่โจทก์ประสงค์ให้ลงโทษ ศาลไม่อาจนำข้อเท็จจริงดังกล่าวมาพิจารณาลงโทษจำเลยที่ 1 ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 192 วรรคสี่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4745/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกำหนดประเภทวัตถุออกฤทธิ์และการมีอำนาจลงโทษตาม พ.ร.บ.วัตถุออกฤทธิ์ฯ แม้มีการเปลี่ยนแปลงประกาศ
โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยมีไว้ในครอบครองเพื่อขายอีเฟดรีนอันเป็นวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 2 ตามพระราชบัญญัติวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ. 2518 ขอให้ลงโทษจำเลยตามพระราชบัญญัติดังกล่าว มาตรา 13 ทวิ,89 แสดงว่าโจทก์ประสงค์ให้ลงโทษจำเลยในความผิดฐานขายวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 2 แม้โจทก์จะอ้างประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 51(พ.ศ. 2531) ที่กำหนดให้อีเฟดรีนเป็นวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 3 และประกาศฉบับดังกล่าวได้ถูกยกเลิกโดยประกาศกระทรวงสาธารณสุขฉบับที่ 71(พ.ศ. 2534) แล้วก็ตาม แต่จำเลยมิได้หลงต่อสู้ และประกาศฉบับหลังได้ระบุให้อีเฟดรีนเป็นวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 2 ซึ่งมีผลใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดหกสิบวันนับถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาคือวันที่ 27 มิถุนายน 2534 เมื่อจำเลยกระทำผิดหลังจากประกาศฉบับนี้ใช้บังคับแล้ว ศาลจึงมีอำนาจลงโทษจำเลยตามฟ้องได้มิใช่เรื่องที่โจทก์ไม่ประสงค์ให้ลงโทษจำเลย จำเลยมีอีเฟดรีนอันเป็นวัตถุออกฤทธิ์ไว้เพื่อขายเป็นจำนวนมากถึง 600 เม็ด หนัก82,229 กรัม นับเป็นผู้ก่อพิษภัยอันร้ายแรงต่อเยาวชนและต่อสังคมโทษจำคุก 6 ปีนับว่าเหมาะสมแก่รูปคดีแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1394/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผู้สนับสนุนการส่งยาเสพติดข้ามชาติ: การปรับบทลงโทษตาม พ.ร.บ. มาตรการปราบปรามยาเสพติด
การที่จำเลยที่ 3 เป็นล่ามให้จำเลยที่ 6 ในการติดต่อ ซื้อเฮโรอีนของกลาง โดยจำเลยที่ 3 ที่ 4 และที่ 6 นั่งเรือหางยาว พร้อมกันไปขึ้นเรือของกลาง เมื่อเรือของกลางแล่นไปใน ทะเลได้ประมาณ 1 ชั่วโมง ได้มีเรือหางยาวนำเฮโรอีนของกลาง บรรจุห่อ พี.วี.ซี.3 ท่อน และใส่กระสอบปุ๋ยนำมาขึ้นเรือ ของกลาง จำเลยที่ 3 กับพวกก็ช่วยกันขนเฮโรอีน ของกลางขึ้นเรือของกลาง จำเลยที่ 6 เป็นชาวไต้หวันมีวิทยุมือถือ 1 เครื่องน่าเชื่อว่ามีไว้เพื่อติดต่อกับพวกในการนำเฮโรอีนออกนอก ราชอาณาจักรไทย และการที่ จ. ผู้ควบคุมเรือของกลางเตรียมเสบียงอาหารไว้รับประทานขณะเดินทางในทะเลเป็นเวลานาน ถึงหนึ่งเดือนและมีน้ำมันโซล่า ถังละประมาณ 200 ลิตร มีจำนวน มากถึง 25 ถัง ทั้งสภาพของเรือเป็นเรือประมงใช้สำหรับหาปลา ในทะเลมิใช่เรือสำหรับใช้ท่องเที่ยว แสดงว่าจำเลยที่ 6 กับ จำเลยที่ 4และพวกเตรียมขนเฮโรอีนของกลางจำนวนมากเดินทาง ออกนอกราชอาณาจักรไทยไปยังเกาะไต้หวันซึ่งเป็นดินแดนที่จำเลยที่ 6 พักพำ นักอยู่หรือประเทศใกล้เคียง ไม่น่าเชื่อว่าจำเลยที่ 6 กับพวกจะจำหน่ายเฮโรอีนให้แก่ลูกค้าภายในประเทศไทย จำเลยที่ 6 กับพวกได้นำเฮโรอีนของกลางบรรทุกในเรือและอยู่ในระหว่างการเดินทางออกนอกราชอาณาจักรแต่ยัง ไม่พ้นน่านน้ำไทย จึงฟังได้ว่าจำเลยที่ 4 และที่ 6 กับพวกร่วมกัน พยายามส่งเฮโรอีนของกลางออกนอกราชอาณาจักรเพื่อจำหน่าย โดยมีจำเลยที่ 3 เป็นผู้ให้ความช่วยเหลือหรือให้ความสะดวก ในการที่จำเลยที่ 4 และที่ 6 กับพวกกระทำความผิดดังกล่าว ก่อนหรือขณะกระทำความผิด จำเลยที่ 3 จึงมีความผิดฐานเป็น ผู้สนับสนุน จำเลยที่ 3 มีความผิดฐานเป็นผู้สนับสนุนตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 86 แต่ตามมาตรา 6(1) แห่งพระราชบัญญัติ มาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด พ.ศ. 2534 เป็นกฎหมายพิเศษ ซึ่งกำหนดโทษให้ผู้สนับสนุนหรือ ช่วยเหลือผู้กระทำความผิดก่อนหรือขณะกระทำความผิดต้องระวางโทษ เช่นเดียวกับตัวการในความผิดนั้น บทบัญญัติตาม มาตรา 6(1) จึงเป็นกฎหมายที่เป็นผลร้ายแก่จำเลยที่ 3 อันมีผลทำให้ จำเลยที่ 3 ต้องได้รับโทษสูงขึ้นกว่าการเป็นผู้สนับสนุน โดยทั่วไป จึงต้องตีความโดยเคร่งครัด แม้โจทก์จะอ้างว่า จำเลยที่ 3 เป็นตัวการร่วมกันกระทำความผิดกับจำเลยอื่น แต่โจทก์ก็มิได้อ้างมาตรา 6(1) ตามกฎหมายดังกล่าวมาในคำขอ ท้ายฟ้อง ถือว่าโจทก์ไม่ประสงค์จะให้ลงโทษตามบทบัญญัติ มาตราดังกล่าวตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 192 วรรคสี่ ดังนั้น หาใช่ต้องปรับบทลงโทษจำเลยที่ 3 ตามมาตรา 6(1) แห่งพระราชบัญญัติ มาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดฯ ด้วยไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 31/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกระทำผิด พ.ร.บ.ที่ดิน: ช่วงเวลาสำคัญและขั้นตอนการบังคับใช้ตามมาตรา 9, 108, 108 ทวิ
ป.ที่ดิน มาตรา 108 และมาตรา 108 ทวิ บัญญัติถึงผู้กระทำการฝ่าฝืนมาตรา 9 ออกเป็น 2 ช่วงระยะเวลา คือ หากผู้ฝ่าฝืนมาตรา 9 อยู่ก่อนวันที่ 4 มีนาคม 2515 แล้ว พนักงานเจ้าหน้าที่หรือผู้ซึ่งได้รับมอบหมายจะต้องปฏิบัติตามขั้นตอนตามที่มาตรา 108 บัญญัติไว้ก่อน ผู้ฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามระเบียบจึงมีความผิดตามมาตรา 108 แต่ถ้ากระทำการฝ่าฝืนมาตรา 9 ตั้งแต่วันที่ 4 มีนาคม2515 เป็นต้นไปแล้ว ผู้ฝ่าฝืนตามมาตรา 108 ทวิ มีความผิดทันทีโดยพนักงานเจ้าหน้าที่ไม่ต้องปฏิบัติตามขั้นตอนใด ๆ ทั้งสิ้น บทบัญญัติทั้งสองมาตรานี้จึงบัญญัติเกี่ยวกับการกระทำผิด มาตรา 9 ไว้ต่างกัน
โจทก์ฟ้องว่าเมื่อวันที่ 1 มีนาคม 2533 เวลากลางวันและกลางคืนติดต่อกัน จำเลยปลูกบ้านในที่ดินสาธารณประโยชน์อันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินซึ่งประชาชนใช้ร่วมกันและเป็นที่ดินของรัฐ ขอให้ลงโทษตาม ป.ที่ดิน มาตรา9, 108, 108 ทวิ ข้อเท็จจริงได้ความว่า จำเลยปลูกบ้านตามฟ้องก่อนวันที่ 4มีนาคม 2515 แม้ข้อเท็จจริงจะฟังว่าที่ดินที่จำเลยปลูกบ้านบางส่วนเป็นทางสาธารณประโยชน์อันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินที่ประชาชนใช้ร่วมกัน โดยจำเลยไม่มีสิทธิครอบครองและไม่ได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่ จำเลยก็ไม่มีความผิดตามป.ที่ดิน มาตรา 9, 108 ทวิ หากเป็นความผิดก็อาจเป็นความผิดตาม ป.ที่ดินมาตรา 9, 108 และตามข้อเท็จจริงที่โจทก์กล่าวในฟ้อง โจทก์ไม่ได้บรรยายถึงข้อเท็จจริงดังเช่นที่ปรากฏในทางพิจารณาจึงไม่ใช่เรื่องที่โจทก์ประสงค์ให้ลงโทษตาม ป.วิ.อ.มาตรา 192 วรรคสี่ จึงไม่อาจลงโทษจำเลยตามมาตรา 108 ได้
โจทก์ฟ้องว่าเมื่อวันที่ 1 มีนาคม 2533 เวลากลางวันและกลางคืนติดต่อกัน จำเลยปลูกบ้านในที่ดินสาธารณประโยชน์อันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินซึ่งประชาชนใช้ร่วมกันและเป็นที่ดินของรัฐ ขอให้ลงโทษตาม ป.ที่ดิน มาตรา9, 108, 108 ทวิ ข้อเท็จจริงได้ความว่า จำเลยปลูกบ้านตามฟ้องก่อนวันที่ 4มีนาคม 2515 แม้ข้อเท็จจริงจะฟังว่าที่ดินที่จำเลยปลูกบ้านบางส่วนเป็นทางสาธารณประโยชน์อันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินที่ประชาชนใช้ร่วมกัน โดยจำเลยไม่มีสิทธิครอบครองและไม่ได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่ จำเลยก็ไม่มีความผิดตามป.ที่ดิน มาตรา 9, 108 ทวิ หากเป็นความผิดก็อาจเป็นความผิดตาม ป.ที่ดินมาตรา 9, 108 และตามข้อเท็จจริงที่โจทก์กล่าวในฟ้อง โจทก์ไม่ได้บรรยายถึงข้อเท็จจริงดังเช่นที่ปรากฏในทางพิจารณาจึงไม่ใช่เรื่องที่โจทก์ประสงค์ให้ลงโทษตาม ป.วิ.อ.มาตรา 192 วรรคสี่ จึงไม่อาจลงโทษจำเลยตามมาตรา 108 ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 31/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกระทำผิด พ.ร.บ.ที่ดิน: ช่วงเวลาสำคัญและขั้นตอนการแจ้งความผิดตามมาตรา 108 vs. 108 ทวิ
ประมวลกฎหมายที่ดินฯ มาตรา 108 และมาตรา 108 ทวิบัญญัติถึงผู้กระทำการฝ่าฝืนมาตรา 9 ออกเป็น 2 ช่วงระยะเวลา คือ หากผู้ฝ่าฝืนมาตรา 9 อยู่ก่อนวันที่ 4 มีนาคม 2515แล้ว พนักงานเจ้าหน้าที่หรือผู้ซึ่งได้รับมอบหมายจะต้องปฏิบัติตามขั้นตอนตามที่มาตรา 108 บัญญัติไว้ก่อนผู้ฝ่าฝืนจึงมีความผิดตามมาตรา 108 แต่ถ้ากระทำการฝ่าฝืนมาตรา 9 ตั้งแต่วันที่ 4 มีนาคม 2515 เป็นต้นไป ผู้ฝ่าฝืนตามมาตรา 108 ทวิ มีความผิดทันที โจทก์ฟ้องว่าเมื่อวันที่ 1 มีนาคม 2533 จำเลย ปลูกบ้านในที่ดินสาธารณประโยชน์ตามฟ้อง อันเป็น สาธารณสมบัติของแผ่นดินซึ่งประชาชนใช้ร่วมกันและ เป็นที่ดินของรัฐ ขอให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายที่ดินฯ มาตรา 9,108,108 ทวิ เมื่อได้ความว่าจำเลยปลูกบ้าน ตามฟ้องก่อนวันที่ 4 มีนาคม 2515 จำเลยจึงไม่มีความผิด ตามประมวลกฎหมายที่ดินฯ มาตรา 9,108 ทวิ แม้อาจเป็น ความผิดตามมาตรา 9,108 และโจทก์ได้อ้างมาตรา 108 มาด้วย แต่โจทก์ไม่ได้บรรยายถึงข้อเท็จจริงดังเช่นที่ปรากฏ ในทางพิจารณามาในฟ้อง จึงไม่ใช่เรื่องที่โจทก์ประสงค์ ให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 192 วรรคสี่ จึงไม่อาจลงโทษจำเลยตามมาตรา 108 ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 31/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกระทำผิด พ.ร.บ.ที่ดิน: ช่วงเวลาสำคัญในการพิจารณาความผิดตามมาตรา 9, 108 และ 108 ทวิ
ประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 108 และมาตรา 108 ทวิบัญญัติถึงผู้กระทำการฝ่าฝืนมาตรา 9 ออกเป็น 2 ช่วงระยะเวลา คือ หากผู้ฝ่าฝืนมาตรา 9 อยู่ก่อน วันที่ 4 มีนาคม 2515 แล้ว พนักงานเจ้าหน้าที่หรือผู้ซึ่งได้รับมอบหมายจะต้อง ปฏิบัติตามขั้นตอนตามที่มาตรา 108 บัญญัติไว้ก่อน ผู้ฝ่าฝืน หรือไม่ปฏิบัติตามระเบียบจึงมีความผิดตามมาตรา 108 แต่ถ้า กระทำการฝ่าฝืนมาตรา 9 ตั้งแต่วันที่ 4 มีนาคม 2515 เป็นต้นไป แล้ว ผู้ฝ่าฝืนตามมาตรา 108 ทวิ มีความผิดทันทีโดยพนักงาน เจ้าหน้าที่ไม่ต้องปฏิบัติตามขั้นตอนใด ๆ ทั้งสิ้น บทบัญญัติ ทั้งสองมาตรานี้จึงบัญญัติเกี่ยวกับการกระทำผิด มาตรา 9 ไว้ต่างกัน โจทก์ฟ้องว่าเมื่อวันที่ 1 มีนาคม 2533 เวลากลางวันและ กลางคืนติดต่อกัน จำเลยปลูกบ้านในที่ดินสาธารณประโยชน์ อันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินซึ่งประชาชนใช้ร่วมกัน และเป็นที่ดินของรัฐ ขอให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 9,108,108 ทวิ ข้อเท็จจริงได้ความว่า จำเลยปลูกบ้าน ตามฟ้องก่อนวันที่ 4 มีนาคม 2515 แม้ข้อเท็จจริงจะฟังว่า ที่ดินที่จำเลยปลูกบ้านบางส่วนเป็นทางสาธารณประโยชน์ อันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินที่ประชาชนใช้ร่วมกัน โดยจำเลยไม่มีสิทธิครอบครองและไม่ได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่ จำเลยก็ไม่มีความผิดตามประมวลกฎหมายที่ดินมาตรา 9,108 ทวิ หากเป็นความผิดก็อาจเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 9,108 และตามข้อเท็จจริงที่โจทก์ กล่าวในฟ้อง โจทก์ไม่ได้บรรยายถึงข้อเท็จจริงดังเช่นที่ปรากฏ ในทางพิจารณาจึงไม่ใช่เรื่องที่โจทก์ประสงค์ให้ลงโทษตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 192 วรรคสี่ จึงไม่อาจ ลงโทษจำเลยตามมาตรา 108 ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7490/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การดำเนินคดีอาญาที่ศาลต้องพิจารณาความชัดเจนของคำรับสารภาพและข้อหาที่ฟ้อง รวมถึงการแก้ไขคำพิพากษาที่ผิดพลาดด้านกฎหมาย
ตามพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2496 มาตรา 27 และมาตรา 27 ทวิ เป็นคนละฐานความผิดกัน และมีบทกำหนดโทษแตกต่างกัน ทั้งตามคำฟ้องโจทก์แสดงว่าโจทก์ประสงค์จะให้ลงโทษจำเลยที่ 1 ในข้อหาใดข้อหาข้อหนึ่งเพียงข้อหาเดียวดังนั้นจะลงโทษจำเลยที่ 1 ทั้งสองข้อหาไม่ได้ คำรับสารภาพของจำเลยที่ 1 ที่ว่า ขอให้การรับสารภาพตามฟ้องโจทก์ทุกประการนั้นไม่ชัดเจนพอจะชี้ขาดว่าจำเลยที่ 1 ได้กระทำผิดฐานใด และเป็นหน้าที่ของโจทก์ที่จะต้องนำสืบต่อไปให้ได้ความถึงข้อเท็จจริงอันเกี่ยวกับการกระทำผิดของจำเลยที่ 1 โดยชัดแจ้ง เพื่อศาลจะได้นำข้อเท็จจริงดังกล่าวมาปรับบทลงโทษได้ และการที่ศาลจะเลือกปรับบทลงโทษจำเลยได้นั้นหมายถึงกรณีที่ข้อเท็จจริงในคดีเป็นอันยุติแล้วว่าจำเลยได้กระทำอย่างไร หากข้อเท็จจริงยังไม่เป็นที่ชัดแจ้งแล้ว ศาลก็ไม่อาจวินิจฉัยได้ว่าจำเลยมีความผิดฐานใดหรือไม่เมื่อโจทก์ไม่สืบพยาน ศาลจะลงโทษจำเลยที่ 1 โดยอาศัยเพียงแต่คำรับสารภาพดังกล่าวหาได้ไม่ และคดีไม่มีเหตุที่จะย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นดำเนินการสอบถามคำให้การจำเลยที่ 1ใหม่ ศาลต้องพิพากษายกฟ้องโจทก์ การที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาลงโทษจำเลยทั้งสองในความผิดฐานมีไม้ยังมิได้แปรรูปไว้ในครอบครองมาด้วยนั้นเป็นการไม่ชอบ เพราะคำขอท้ายฟ้องโจทก์มิได้ขอให้ลงโทษตามพระราชบัญญัติป่าไม้ฯ มาตรา 69 อันเป็นมาตราในกฎหมายซึ่งบัญญัติว่าการกระทำเช่นนั้นเป็นความผิดมาด้วย ถือว่าโจทก์ไม่ประสงค์ให้ลงโทษในความผิดข้อหาดังกล่าว ปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้จำเลยทั้งสองมิได้อุทธรณ์ฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจแก้ไขให้ถูกต้องได้