พบผลลัพธ์ทั้งหมด 116 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1992/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบรรยายฟ้องความผิดฐานมีเฮโรอีนไว้ในครอบครอง ต้องสอดคล้องกับข้อเท็จจริงที่ศาลรับฟัง หากรับฟังได้เพียงว่ามีเฮโรอีนติดอยู่ในหลอดฉีดยา ไม่ใช่เฮโรอีนที่บรรจุอยู่ในหลอด ศาลย่อมลงโทษไม่ได้
โจทก์บรรยายฟ้องข้อ (ก) ว่า จำเลยมีเฮโรอีนไว้ในความครอบครองซึ่งเป็นเฮโรอีนที่บรรจุอยู่ในหลอดฉีดยาพร้อมเข็ม แต่ไม่อาจชั่งน้ำหนักได้เนื่องจากจำเลยได้เสพไปแล้วดังกล่าวในข้อ (ข)และกล่าวในฟ้องข้อ(ข) ว่า จำเลยได้บังอาจเสพเฮโรอีนที่จำเลยมีไว้ในฟ้องข้อ (ก) นั้น ย่อมมีความหมายว่าเฮโรอีนที่โจทก์กล่าวหาว่าจำเลยมีไว้ในครอบครองได้แก่เฮโรอีนที่บรรจุอยู่ในหลอดฉีดยาก่อนที่จำเลยจะเสพโดยฉีดเข้าไปในร่างกาย ดังนั้น เมื่อทางพิจารณาฟังไม่ได้ว่าจำเลยได้เสพเฮโรอีนโดยวิธีฉีดเข้าร่างกาย คือไม่มีเฮโรอีนบรรจุอยู่ในหลอดฉีดยา คงมีแต่เฮโรอีนที่ติดอยู่ในหลอดฉีดยา จึงเป็นกรณีข้อเท็จจริงที่ปรากฏในทางพิจารณาไม่ใช่เรื่องที่โจทก์ประสงค์ให้ลงโทษ ศาลย่อมลงโทษจำเลยในความผิดฐานมีไว้ในความครอบครองซึ่งเฮโรอีนที่ติดอยู่ในหลอดฉีดยาไม่ได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2447/2527
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลักทรัพย์และการลงโทษที่ไม่ตรงตามประสงค์โจทก์ รวมถึงการล้างมลทิน
การที่จำเลยใช้ลูกกุญแจปลอมไขกุญแจประตูรถและติด เครื่องยนต์มิใช่เป็นการทำอันตรายสิ่งกีดกั้นสำหรับ คุ้มครองทรัพย์ และกุญแจประตูรถเป็นส่วนหนึ่งของรถ จำเลยลักรถยนต์ไปทั้งคัน ถือไม่ได้ว่าเป็นการลักทรัพย์โดยผ่านสิ่งกีดกั้นสำหรับคุ้มครองทรัพย์ตาม มาตรา 335(3) โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยลักรถยนต์โดยลวงว่าเป็นเจ้าพนักงานยศร้อยตรี อันเป็นการมุ่งประสงค์ขอให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 335(3) ฐานลักทรัพย์โดยลวงว่าเป็นเจ้าพนักงานมิได้ประสงค์ให้ลงโทษฐานลักทรัพย์โดยแปลงหรือปลอมตัวเป็นผู้อื่นตามมาตรา 335(5)การที่ศาลล่างทั้งสองลงโทษจำเลยตาม มาตรา 335(5) จึงเป็นการลงโทษในเรื่องที่โจทก์ไม่ประสงค์ให้ลงโทษ ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 192 วรรคสี่ แต่เมื่อศาลชั้นต้นไม่ปรับบทลงโทษจำเลยตามมาตรา 335(6) โจทก์ก็มิได้อุทธรณ์ฎีกาขึ้นมา ศาลฎีกาจึงคงลงโทษจำเลยในความผิดฐานลักทรัพย์ตามมาตรา 334 เท่านั้น ขณะคดีอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ ได้มีพระราชบัญญัติล้างมลทินในโอกาสสมโภชกรุงรัตนโกสินทร์ 200 ปีพ.ศ. 2526 มาตรา 4 ใช้บังคับบัญญัติให้ล้างมลทินแก่บรรดาผู้ต้องโทษในกรณีความผิดต่าง ๆ ซึ่งได้กระทำก่อนหรือในวันที่ 6 เมษายน 2525 และได้พ้นโทษไปแล้วก่อนหรือในวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับโดยให้ถือว่าผู้นั้นมิได้เคยถูกลงโทษในความผิดนั้น ๆ ปรากฏว่าความผิดฐานรับของโจร ที่โจทก์ถือเป็นเหตุ ขอเพิ่มโทษจำเลยนั้น จำเลยได้กระทำก่อนวันที่ 6 เมษายน 2525 และได้พ้นโทษไปแล้วตั้งแต่ พ.ศ. 2525 จึงเพิ่มโทษจำเลยไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2447/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลักทรัพย์โดยใช้กุญแจปลอมและการลงโทษที่ไม่ตรงกับฟ้อง: ศาลฎีกายกเลิกโทษฐานแปลงตัวและรับของโจร
การที่จำเลยใช้ลูกกุญแจปลอมไขกุญแจประตูรถและติดเครื่องยนต์มิใช่เป็นการทำอันตรายสิ่งกีดกั้นสำหรับคุ้มครองทรัพย์ และกุญแจประตูรถเป็นส่วนหนึ่งของรถ จำเลยลักรถยนต์ไปทั้งคัน ถือไม่ได้ว่าเป็นการลักทรัพย์โดยผ่านสิ่งกีดกั้นสำหรับคุ้มครองทรัพย์ตาม มาตรา 335(3)
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยลักรถยนต์โดยลวงว่าเป็นเจ้าพนักงานยศร้อยตรี อันเป็นการมุ่งประสงค์ขอให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 335(3) ฐานลักทรัพย์โดยลวงว่าเป็นเจ้าพนักงานมิได้ประสงค์ให้ลงโทษฐานลักทรัพย์โดยแปลงหรือปลอมตัวเป็นผู้อื่นตามมาตรา 335(5) การที่ศาลล่างทั้งสองลงโทษจำเลยตาม มาตรา 335(5) จึงเป็นการลงโทษในเรื่องที่โจทก์ไม่ประสงค์ให้ลงโทษ ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 192 วรรคสี่ แต่เมื่อศาลชั้นต้นไม่ปรับบทลงโทษจำเลยตามมาตรา 335(6) โจทก์ก็มิได้อุทธรณ์ฎีกาขึ้นมา ศาลฎีกาจึงคงลงโทษจำเลยในความผิดฐานลักทรัพย์ตาม มาตรา 334 เท่านั้น
ขณะคดีอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ ได้มีพระราชบัญญัติล้างมลทินในโอกาสสมโภชกรุงรัตนโกสินทร์ 200 ปีพ.ศ. 2526 มาตรา 4 ใช้บังคับบัญญัติให้ล้างมลทินแก่บรรดาผู้ต้องโทษในกรณีความผิดต่าง ๆ ซึ่งได้กระทำก่อนหรือในวันที่ 6 เมษายน 2525 และได้พ้นโทษไปแล้วก่อนหรือในวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับโดยให้ถือว่าผู้นั้นมิได้เคยถูกลงโทษในความผิดนั้น ๆ ปรากฏว่าความผิดฐานรับของโจรที่โจทก์ถือเป็นเหตุขอเพิ่มโทษจำเลยนั้น จำเลยได้กระทำก่อนวันที่ 6 เมษายน 2525 และได้พ้นโทษไปแล้วตั้งแต่ พ.ศ. 2525 จึงเพิ่มโทษจำเลยไม่ได้
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยลักรถยนต์โดยลวงว่าเป็นเจ้าพนักงานยศร้อยตรี อันเป็นการมุ่งประสงค์ขอให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 335(3) ฐานลักทรัพย์โดยลวงว่าเป็นเจ้าพนักงานมิได้ประสงค์ให้ลงโทษฐานลักทรัพย์โดยแปลงหรือปลอมตัวเป็นผู้อื่นตามมาตรา 335(5) การที่ศาลล่างทั้งสองลงโทษจำเลยตาม มาตรา 335(5) จึงเป็นการลงโทษในเรื่องที่โจทก์ไม่ประสงค์ให้ลงโทษ ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 192 วรรคสี่ แต่เมื่อศาลชั้นต้นไม่ปรับบทลงโทษจำเลยตามมาตรา 335(6) โจทก์ก็มิได้อุทธรณ์ฎีกาขึ้นมา ศาลฎีกาจึงคงลงโทษจำเลยในความผิดฐานลักทรัพย์ตาม มาตรา 334 เท่านั้น
ขณะคดีอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ ได้มีพระราชบัญญัติล้างมลทินในโอกาสสมโภชกรุงรัตนโกสินทร์ 200 ปีพ.ศ. 2526 มาตรา 4 ใช้บังคับบัญญัติให้ล้างมลทินแก่บรรดาผู้ต้องโทษในกรณีความผิดต่าง ๆ ซึ่งได้กระทำก่อนหรือในวันที่ 6 เมษายน 2525 และได้พ้นโทษไปแล้วก่อนหรือในวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับโดยให้ถือว่าผู้นั้นมิได้เคยถูกลงโทษในความผิดนั้น ๆ ปรากฏว่าความผิดฐานรับของโจรที่โจทก์ถือเป็นเหตุขอเพิ่มโทษจำเลยนั้น จำเลยได้กระทำก่อนวันที่ 6 เมษายน 2525 และได้พ้นโทษไปแล้วตั้งแต่ พ.ศ. 2525 จึงเพิ่มโทษจำเลยไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1527/2527
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลงโทษจำเลยหลายกรรมต่างกัน - โจทก์ประสงค์ลงโทษสองกรรม ศาลฎีกาเรียงกระทงได้
ฟ้องว่าจำเลยใช้เหล็กแหลมเป็นอาวุธแทงทำร้ายร่างกาย ห.ถูกที่บริเวณอก และแทง ย. ถูกที่บริเวณท้อง จนลำไส้ ทะลุโดยเจตนาฆ่าแต่ ห. และ ย. ไม่ถึงแก่ความตาย แต่ เป็นเหตุให้ ห. และ ย. ได้รับอันตรายแก่กายขอให้ลงโทษ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 288,80 เห็นได้ว่าโจทก์ ประสงค์ให้ลงโทษจำเลยเป็นสองกรรมศาลฎีกาเรียงกระทงลงโทษ จำเลยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2834/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การดำเนินคดีอาญาจากการใช้รถผิดประเภท แม้ฟ้องผิดฐาน แต่หากข้อเท็จจริงฟังได้ถึงความผิดอื่น โจทก์ต้องบรรยายฟ้องฐานความผิดนั้นด้วย
โจทก์บรรยายฟ้องแต่เพียงว่า จำเลยประกอบการขนส่งประจำทางโดยไม่ได้รับอนุญาต ขอให้ลงโทษตามพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. 2522 มาตรา 23 แต่ข้อเท็จจริงฟังได้ว่าการกระทำของจำเลยเป็นกรณีใช้รถผิดประเภทอันเป็นความผิดตามมาตรา 27 แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. 2522 และความผิดตามมาตรา 27 นี้โจทก์มิได้บรรยายข้อเท็จจริงมาในฟ้องและมิได้อ้างบทมาตรามา ในคำขอท้ายฟ้องจึงไม่ใช่เป็นเรื่องที่โจทก์ประสงค์ให้ลงโทษ ศาลจึง ลงโทษจำเลยไม่ได้ ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 192 วรรคสี่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2834/2525
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การใช้รถผิดประเภทในการขนส่งประจำทาง แม้โจทก์ฟ้องผิดฐาน ศาลต้องยกฟ้องตามหลักประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
โจทก์บรรยายฟ้องแต่เพียงว่า จำเลยประกอบการขนส่งประจำทางโดยไม่ได้รับอนุญาต ขอให้ลงโทษตามพระราชบัญญัติการขนส่งทางบกพ.ศ. 2522 มาตรา 23 แต่ข้อเท็จจริงฟังได้ว่าการกระทำของจำเลยเป็นกรณีใช้รถผิดประเภทอันเป็นความผิดตามมาตรา 27 แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. 2522 และความผิดตามมาตรา 27 นี้โจทก์มิได้บรรยายข้อเท็จจริงมาในฟ้องและมิได้อ้างบทมาตรามา ในคำขอท้ายฟ้องจึงไม่ใช่เป็นเรื่องที่โจทก์ประสงค์ให้ลงโทษ ศาลจึง ลงโทษจำเลยไม่ได้ ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 192 วรรคสี่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1066/2521
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานเบิกความเท็จ: การบรรยายฟ้องผู้เสียหายและข้อผิดพลาดในการอ้างมาตรากฎหมาย
คำบรรยายฟ้องความผิดฐานเบิกความเท็จที่ชอบด้วย ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158(5)
โจทก์บรรยายฟ้องถึงการกระทำของจำเลยในความผิดฐานเบิกความเท็จอันเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา177 แต่โจทก์มีคำขอท้ายฟ้องให้ลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 180 เป็นเรื่องที่โจทก์อ้างมาตรา ผิด ศาลมีอำนาจลงโทษจำเลยตามความผิดที่ถูกต้องได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 192
โจทก์บรรยายฟ้องถึงการกระทำของจำเลยในความผิดฐานเบิกความเท็จอันเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา177 แต่โจทก์มีคำขอท้ายฟ้องให้ลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 180 เป็นเรื่องที่โจทก์อ้างมาตรา ผิด ศาลมีอำนาจลงโทษจำเลยตามความผิดที่ถูกต้องได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 192
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1217/2518
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การใช้เอกสารราชการที่เกิดจากการกระทำผิดของผู้อื่น แม้จะอ้างผิดบทมาตรา ศาลลงโทษได้ตามบทที่ถูกต้อง
จำเลยเป็นคนต่างด้าว มีภูมิลำเนาอยู่ต่างประเทศ มีผู้นำหลักฐานปลอมไปยื่นคำร้องต่อเจ้าพนักงานให้ออกบัตรประจำตัวประชาชนและใบสำคัญทหารกองเกินแทนฉบับชำรุดสูญหายให้จำเลย เจ้าพนักงานหลงเชื่อคำร้องและหลักฐานปลอมนั้นจึงออกให้ เมื่อจำเลยซึ่งรู้อยู่แล้วว่าเอกสารราชการดังกล่าวเกิดจากการกระทำความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 267ยังนำไปใช้โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่เจ้าพนักงาน ผู้อื่นหรือประชาชน จึงมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 268 ประกอบด้วยมาตรา 267
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 268ประกอบด้วยมาตรา 265 แต่เมื่อข้อเท็จจริงที่ได้ความตามคำบรรยายฟ้องทั้งหมดนั้น ครบองค์เป็นความผิดตามมาตรา268 ประกอบด้วยมาตรา 267 ก็เป็นเรื่องที่โจทก์อ้างบทมาตราผิดศาลย่อมมีอำนาจลงโทษจำเลยตามบทมาตราที่ถูกต้องได้
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 268ประกอบด้วยมาตรา 265 แต่เมื่อข้อเท็จจริงที่ได้ความตามคำบรรยายฟ้องทั้งหมดนั้น ครบองค์เป็นความผิดตามมาตรา268 ประกอบด้วยมาตรา 267 ก็เป็นเรื่องที่โจทก์อ้างบทมาตราผิดศาลย่อมมีอำนาจลงโทษจำเลยตามบทมาตราที่ถูกต้องได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 834/2510
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโฆษณาดูหมิ่นพระภิกษุ: ศาลลงโทษฐานความผิดตามข้อเท็จจริง แม้ฟ้องผิดฐาน
คดีที่โจทก์อ้างฐานความผิดหรือบทมาตราผิด ศาลมีอำนาจลงโทษจำเลยตามฐานความผิดที่ถูกต้องได้
โจทก์ฟ้องว่า คำโฆษณาของจำเลยหยาบคายผิดวิสัยปัญญาชนของชาวหนังสือพิมพ์พึงกระทำ โดยกล่าวถ้อยคำดูหมิ่นเหยียดหยามโจทก์ ซึ่งโจทก์ประสงค์จะให้ลงโทษจำเลยในความผิดฐานโฆษณาดูหมิ่น ตามมาตรา 393 การที่โจทก์อ้างความผิดฐานหมิ่นประมาทและขอให้ลงโทษตามมาตรา 326, 328 อันเป็นบทมาตราที่ผิด เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ดังโจทก์ฟ้องศาลมีอำนาจที่จะลงโทษจำเลยในข้อเท็จจริงนั้นและตามฐานความผิดที่ถูกต้อง คือ ความผิดฐานโฆษณาดูหมิ่น ตามมาตรา 393 ได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 192 วรรคสี่
โจทก์ฟ้องว่า คำโฆษณาของจำเลยหยาบคายผิดวิสัยปัญญาชนของชาวหนังสือพิมพ์พึงกระทำ โดยกล่าวถ้อยคำดูหมิ่นเหยียดหยามโจทก์ ซึ่งโจทก์ประสงค์จะให้ลงโทษจำเลยในความผิดฐานโฆษณาดูหมิ่น ตามมาตรา 393 การที่โจทก์อ้างความผิดฐานหมิ่นประมาทและขอให้ลงโทษตามมาตรา 326, 328 อันเป็นบทมาตราที่ผิด เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ดังโจทก์ฟ้องศาลมีอำนาจที่จะลงโทษจำเลยในข้อเท็จจริงนั้นและตามฐานความผิดที่ถูกต้อง คือ ความผิดฐานโฆษณาดูหมิ่น ตามมาตรา 393 ได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 192 วรรคสี่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 626/2507
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอ้างบทกฎหมายผิดทั้งฉบับขัดต่อหลักประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 192 และการตีความข้อยกเว้น
พระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดของพนักงานในองค์การหรือหน่วยงานของรัฐ พ.ศ.2502 มาตรา 3 วิเคราะห์ศัพท์คำว่า "พนักงาน"ไว้ให้หมายถึง บุคคลต่างๆตามที่ระบุไว้ ทั้งนี้นอกจากผู้เป็นเจ้าพนักงานอยู่แล้วตามกฎหมาย และพระราชบัญญัติการรถไฟแห่งประเทศไทย พ.ศ.2494 มาตรา 18 บัญญัติให้พนักงานการรถไฟแห่งประเทศไทย เป็นเจ้าพนักงานตามความหมายแห่งกฎหมายลักษณะอาญา ฉะนั้น จึงนำพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดของพนักงานในองค์การหรือหน่วยงานของรัฐ พ.ศ.2502 มาใช้บังคับลงโทษจำเลยซึ่งเป็นพนักงานการรถไฟแห่งประเทศไทยไม่ได้
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดของพนักงานในองค์การหรือหน่วยงานของรัฐ ทางพิจารณาได้ความว่า จำเลยเป็นเจ้าพนักงานมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา ดังนี้ ไม่ใช่เป็นเพียงอ้างฐานความผิดหรือบทมาตราผิดตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา192 วรรคสี่ แต่เป็นการอ้างกฎหมายผิดทั้งฉบับ จึงลงโทษจำเลยไม่ได้ตามมาตรา 192 วรรคต้น
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดของพนักงานในองค์การหรือหน่วยงานของรัฐ ทางพิจารณาได้ความว่า จำเลยเป็นเจ้าพนักงานมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา ดังนี้ ไม่ใช่เป็นเพียงอ้างฐานความผิดหรือบทมาตราผิดตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา192 วรรคสี่ แต่เป็นการอ้างกฎหมายผิดทั้งฉบับ จึงลงโทษจำเลยไม่ได้ตามมาตรา 192 วรรคต้น