คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
จำรัส เขมะจารุ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 108 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1957/2522

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าเวลาโฆษณาทางวิทยุ สิทธิเรียกร้องค่าเสียหายถูกจำกัดด้วยข้อตกลงและเหตุสุดวิสัย
จำเลยได้อนุมัติและมอบหมายให้กรมการทหารสื่อสารจัดตั้งสถานีวิทยุ วปถ. ตามจังหวัดต่าง ๆ ขึ้นเพื่อประโยชน์แก่ราชการของจำเลย โดยเป็นที่เข้าใจกันว่ากรมการทหารสื่อสารจะต้องหาทางดำเนินการในเรื่องค่าใช้จ่ายต่าง ๆ เอาเอง และเมื่อกรมการทหารสื่อสารได้จัดตั้งสถานีวิทยุ วปถ. ขึ้นตามที่จำเลยอนุมัติและมอบหมายแล้วจำเลยก็ย่อมรับรู้และได้เข้าควบคุมสถานีวิทยุเหล่านั้นทั้งหมด โดยทางคณะกรรมการที่จำเลยแต่งตั้งและโดยการควบคุมตามสายงานปกติ คือผ่านทางสำนักงานปลัดบัญชีทหารบก ตลอดจนได้เข้าถือประโยชน์จากทรัพย์สินและวัสดุต่าง ๆ ทั้งขอแบ่งผลประโยชน์ที่ได้จากการดำเนินงานสถานีวิทยุเหล่านั้นไปเป็นของจำเลยถึงร้อยละ 40 เช่นนี้ การที่กรมการทหารสื่อสารได้ปฏิบัติไปเกี่ยวกับการจัดตั้งและการดำเนินงานของสถานีวิทยุ วปถ. จึงผูกพันกองทัพบกจำเลย รวมทั้งหนี้ซึ่งผู้อำนวยการกรมการทหารสื่อสารได้กู้ยืมเงินโจทก์เพื่อนำไปพัฒนากิจการวิทยุดังกล่าวกับหนี้เงินที่โจทก์ได้ออกทดรองจ่ายให้ไปตามสัญญาที่มีกับกรมการทหารสื่อสารเพื่อนำไปปรับปรุงสถานีวิทยุกระจายเสียง วปถ. ด้วย จำเลยต้องรับผิดชำระเงินดังกล่าวให้โจทก์พร้อมทั้งดอกเบี้ยนับแต่วันฟ้อง
เมื่อวันที่ 22 กันยายน 2509 คณะกรรมการของกรมการทหารสื่อสารได้มีการประชุมกับผู้จัดการทั่วไปของโจทก์ตกลงหลักการให้โจทก์เช่าเวลาโฆษณาของสถานีวิทยุ วปถ. ทุกแห่ง โดยจะเริ่มต้นตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2509 กับได้มอบหมายให้ที่ปรึกษากฎหมายเป็นผู้ร่างสัญญา ซึ่งผู้อำนวยการกิจการวิทยุกระจายเสียงกรมการทหารสื่อสาร ได้มีหนังสือถึงโจทก์ตามเอกสารหมาย จ.26 ขอให้ยืนยันข้อตกลงดังกล่าวและโจทก์ได้มีหนังสือตอบยืนยันไปแต่ยังไม่ทันถึงวันที่ 1 ตุลาคม 2509 และยังมิได้มีการลงชื่อในสัญญาซึ่งตกลงว่าจะทำกันรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมได้มีคำสั่งลงวันที่ 21 กันยายน 2509 ห้ามสถานีวิทยุของส่วนราชการต่าง ๆ ในสังกัดกระทรวงกลาโหมออกอากาศรายการโฆษณาตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2509 เป็นต้นไป กรมการทหารสื่อสารจึงได้จัดให้มีการประชุม รองผู้อำนวยการกิจการวิทยุกระจายเสียงกรมการทหารสื่อสารได้แถลงว่า ข้อผูกพันระหว่างกิจการวิทยุกระจายเสียงกรมการทหารสื่อสารกับผู้เช่าเวลาโฆษณาถือว่าเป็นสิ้นสุดต่อกัน ซึ่งผู้แทนของโจทก์ก็ได้เข้าร่วมประชุมและรับทราบคำแถลงดังกล่าวด้วยโดยมิได้โต้แย้งคัดค้านแต่ประการใด เมื่อสัญญาตามที่ได้ตกลงกันไว้ว่าจะทำยังมิได้ทำขึ้น จึงถือไม่ได้ว่าโจทก์กับกรมการทหารสื่อสารทหารบกหรือจำเลยมีสัญญาต่อกัน ทั้งนี้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 366 วรรค 2(อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 164/2519)
เดิมกรมการทหารสื่อสารตกลงให้โจทก์ทำการรับเหมาเช่าเวลาออกอากาศของสถานีวิทยุ วปถ. จำนวน 12 แห่ง ตั้งแต่ ปี 2507 โดยกรมการทหารสื่อสารขอสงวนสิทธิว่า เมื่อมีคำสั่งของทางราชการกองทัพบกหรือของรัฐบาล สั่งให้ปฏิบัติการใด ๆ ด้วยวิธีการใด ๆ เกี่ยวกับการโฆษณา โจทก์จะต้องถือปฏิบัติตามโดยไม่มีข้อโต้แย้งหรือเงื่อนไขใด ๆ และเมื่อมีเหตุนอกอำนาจใด ๆ บังเกิดขึ้นอันทำให้การกระจายเสียงของ วปถ. ไม่เป็นไปตามปกติแล้วทั้งสองฝ่ายได้ตกลงกันให้ถ้อยทีถ้อยอาศัยกัน และโจทก์จะเรียกค่าเสียหายใด ๆ จากกรมการทหารสื่อสารไม่ได้ต่อมาการที่โจทก์ไม่อาจเข้าทำการโฆษณาในสถานีวิทยุ วปถ. ได้ตามปกติ เนื่องจากมีคำสั่งของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ห้ามการโฆษณาทางวิทยุกระจายเสียงก็ดีหรือ การที่กรมการทหารสื่อสารไม่ได้จัดให้โจทก์เข้าเช่าเวลาโฆษณาในตอนหลังเนื่องจากผู้บัญชาการทหารบกได้มีคำสั่งให้กรมการทหารสื่อสารดำเนินการโฆษณาเองก็ดีต้องถือเป็นเหตุนอกเหนืออำนาจของกรมการทหารสื่อสาร ซึ่งกรมการทหารสื่อสารไม่อาจจะจัดการให้เป็นอย่างอื่นได้โจทก์จึงไม่อาจโต้แย้งและไม่มีสิทธิจะเรียกค่าเสียหายใด ๆจากกรมการทหารสื่อสารตามนัยแห่งข้อตกลงเดิมที่โจทก์มีอยู่กับกรมการทหารสื่อสารดังกล่าวข้างต้นได้และเมื่อโจทก์ไม่มีสิทธิเรียกค่าเสียหายจากกรมการทหารสื่อสาร โจทก์ก็ไม่มีสิทธิจะฟ้องเรียกจากจำเลยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1957/2522 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าเวลาโฆษณาทางวิทยุ สิทธิและหน้าที่ของคู่สัญญาเมื่อมีเหตุสุดวิสัยหรือคำสั่งทางราชการ
จำเลยได้อนุมัติและมอบหมายให้กรมการทหารสื่อสารจัดตั้งสถานีวิทยุ วปถ. ตามจังหวัดต่าง ๆ ขึ้นเพื่อประโยชน์แก่ราชการของจำเลย โดยเป็นที่เข้าใจกันว่ากรมการทหารสื่อสารจะต้องหาทางดำเนินการในเรื่องค่าใช้จ่ายต่าง ๆ เอาเอง และเมื่อกรมการทหารสื่อสารได้จัดตั้งสถานีวิทยุ วปถ. ขึ้นตามที่จำเลยอนุมัติและมอบหมายแล้ว จำเลยก็ยอมรับรู้และได้เข้าควบคุมสถานีวิทยุเหล่านั้นทั้งหมด โดยทางคณะกรรมการที่จำเลยแต่งตั้งและโดยการควบคุมตามสายงานปกติ คือผ่านทางสำนักงานปลัดบัญชีทหารบก ตลอดจนได้เข้าถือประโยชน์จากทรัพย์สินและวัสดุต่าง ๆ ทั้งขอแบ่งผลประโยชน์ที่ได้จากการดำเนินงานสถานีวิทยุเหล่านั้นไปเป็นของจำเลยถึงร้อยละ 40 เช่นนี้ การที่กรมการทหารสื่อสารได้ปฏิบัติไปเกี่ยวกับการจัดตั้งและการดำเนินงานของสถานีวิทยุ วปถ. จึงผูกพันกองทัพบกจำเลย รวมทั้งหนี้ซึ่งผู้อำนวยการ กรมการทหารสื่อสารได้กู้ยืมเงินโจทก์เพื่อนำไปพัฒนากิจการวิทยุดังกล่าวกับหนี้เงินที่โจทก์ได้ออกทดรองจ่ายให้ไปตามสัญญาที่มีกับกรมการทหารสื่อสารเพื่อนำไปปรับปรุงสถานีวิทยุกระจายเสียง วปถ.ด้วย จำเลยต้องรับผิดชำระเงินดังกล่าวให้โจทก์พร้อมทั้งดอกเบี้ยนับแต่วันฟ้อง
เมื่อวันที่ 22 กันยายน 2509 คณะกรรมการของกรมการทหารสื่อสารได้มีการประชุมกับผู้จัดการทั่วไปของโจทก์ตกลงหลักการให้โจทก์เช่าเวลาโฆษณาของสถานีวิทยุ วปถ.ทุกแห่ง โดยจะเริ่มต้นตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2509 กับได้มอบหมายให้ที่ปรึกษากฎหมายเป็นผู้ร่างสัญญา ซึ่งผู้อำนวยการกิจการวิทยุกระจายเสียง กรมการทหารสื่อสาร ได้มีหนังสือถึงโจทก์ ตามเอกสารหมาย จ.26 ขอให้ยืนยันข้อตกลงดังกล่าว และโจทก์ได้มีหนังสือตอบยืนยันไป แต่ยังไม่ทันถึงวันที่ 1 ตุลาคม 2509 และยังมิได้มีการลงชื่อในสัญญาซึ่งตกลงว่าจะทำกัน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมได้มีคำสั่งลงวันที่ 21 กันยายน 2509 ห้ามสถานีวิทยุของส่วนราชการต่าง ๆ ในสังกัดกระทรวงกลาโหมออกอากาศรายการโฆษณาตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2509 เป็นต้นไป กรมการทหารสื่อสารจึงได้จัดให้มีการประชุม รองผู้อำนายการกิจการวิทยุกระจายเสียง กรมการทหารสื่อสารได้แถลงว่า ข้อผูกพันระหว่างกิจการวิทยุกระจายเสียง กรมการทหารสื่อสารกับผู้เช่าเวลาโฆษณาถือว่าเป็นสิ้นสุดต่อกัน ซึ่งผู้แทนของโจทก์ก็ได้เข้าร่วมประชุมและรับทราบคำแถลงดังกล่าวด้วยโดยมิได้โต้แย้งคัดค้านแต่ประการใด เมื่อสัญญาตามที่ได้ตกลงกันไว้ว่าจะทำยังมิได้ทำขึ้น จึงถือไม่ได้ว่าโจทก์กับกรมการทหารสื่อสารทหารบกหรือจำเลยมีสัญญาต่อกัน ทั้งนี้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 366 วรรค 2 (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 164/2519)
เดิมกรมการทหารสื่อสารตกลงให้โจทก์ทำการรับเหมาเช่าเวลาออกอากาศของสถานีวิทยุ วปถ. จำนวน 12 แห่ง ตั้งแต่ปี 2507 โดยกรมการทหารสื่อสารขอสงวนสิทธิว่า เมื่อมีคำสั่งของทางราชการกองทัพบกหรือของรัฐบาล สั่งให้ปฏิบัติการใด ๆ ด้วยวิธีการใด ๆ เกี่ยวกับการโฆษณา โจทก์จะต้องถือปฏิบัติตามโดยไม่มีข้อโต้แย้งหรือเงื่อนไขใด ๆ และเมื่อมีเหตุนอกอำนาจใด ๆ บังเกิดขึ้นอันทำให้การกระจายเสียงของ วปถ.ไม่เป็นไปตามปกติแล้ว ทั้งสองฝ่ายได้ตกลงกันให้ถ้อยทีถ้อยอาศัยกัน และโจทก์จะเรียกค่าเสียหายใด ๆ จากกรมการทหารสื่อสารไม่ได้ ต่อมาการที่โจทก์ไม่อาจเข้าทำการโฆษณาในสถานีวิทยุ วปถ.ได้ตามปกติ เนื่องจากมีคำสั่งของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ห้ามการโฆษณาทางวิทยุกระจายเสียงก็ดี หรือการที่กรมการทหารสื่อสารไม่ได้จัดให้โจทก์เข้าเช่าเวลาโฆษณาในตอนหลังเนื่องจากผู้บัญชาการทหารบกได้มีคำสั่งให้กรมการทหารสื่อสารดำเนินการโฆษณาเองก็ดี ต้องถือเป็นเหตุนอกเหนืออำนาจของกรมการทหารสื่อสาร ซึ่งกรมการทหารสื่อสารไม่อาจจะจัดการให้เป็นอย่างอื่นได้ โจทก์จึงไม่อาจโต้แย้งและไม่มีสิทธิจะเรียกค่าเสียหายใด ๆ จากกรมการทหารสื่อสารตามนัยแห่งข้อตกลงเดิมที่โจทก์มีอยู่กับกรมการทหารสื่อสารดังกล่าวข้างต้นได้ และเมื่อโจทก์ไม่มีสิทธิเรียกค่าเสียหายจากกรมการทหารสื่อสาร โจทก์ก็ไม่มีสิทธิจะฟ้องเรียกจากจำเลยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1948/2522

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผู้สนับสนุนการเสพยาเสพติด: การกระทำช่วยเหลือไม่ใช่ความผิดร่วม
จำเลยที่ 1 ใช้เข็มฉีดยาฉีดเฮโรอีนให้จำเลยที่ 2 จำเลยที่ 2 คนเดียวเป็นผู้เสพเฮโรอีน จึงไม่ใช่เป็นการร่วมกันกระทำความผิดฐานเสพเฮโรอีน แต่จำเลยที่ 1 กระทำการเพื่อช่วยเหลือหรือให้ความสะดวกในการที่จำเลยที่ 2 กระทำผิดก่อนหรือขณะกระทำความผิด จำเลยที่ 1 จึงมีความผิดฐานเป็นผู้สนับสนุน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1941/2522

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การซื้อขายรถยนต์ผ่อนชำระไม่ใช่สัญญาเช่าซื้อ เจ้าของรถไม่มีสิทธิเรียกร้องคืน
เอกสารมีข้อความว่า "หนังสือสัญญาขายรถยนต์"และซื้อขาย กันในราคาสุทธิ 30,000 บาท ชำระเงินงวดแรกแล้วจำนวนหนึ่งส่วนที่เหลือผ่อนชำระเป็นงวด ๆ ละเดือนจนกว่าจะครบ หากผู้ซื้อค้างชำระเงินถึง 3 งวด ฝ่ายผู้ขายจะยึดรถคืน และพยานผู้ร้องต่างยืนยันว่าผู้ร้องขายรถของกลางกันแล้ว ย่อมถือได้ว่าเป็นการซื้อขายรถยนต์โดยผ่อนชำระราคา หาใช่เป็นการเช่าซื้อไม่ แม้จะมีข้อความว่าถ้าผู้ซื้อค้างชำระเงินถึง 3 งวด ฝ่ายผู้ขายจะขอยึดรถคืนก็เป็นแต่เพียงการตกลงกันไว้ล่วงหน้าถึงสิทธิของผู้ขายในเมื่อผู้ซื้อผิดสัญญาไม่ชำระราคาเท่านั้น หาทำให้สัญญานี้กลายเป็นสัญญาเช่าซื้อไปไม่ ผู้ร้องจึงมิใช่เจ้าของอันแท้จริงที่จะมีสิทธิร้องขอคืน รถยนต์ของกลาง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1941/2522 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การซื้อขายรถยนต์ผ่อนชำระ ไม่ใช่สัญญาเช่าซื้อ ผู้ขายมีสิทธิยึดคืนเมื่อผิดสัญญา
เอกสารมีข้อความว่า " หนังสือสัญญาขายรถยนต์ " และซื้อขายกันในราคาสุทธิ 30,000 บาท ชำระเงินงวดแรกแล้วจำนวนหนึ่งส่วนที่เหลือผ่อนชำระเป็นงวด ๆ ละเดือนจนกว่าจะครบ หากผู้ซื้อค้างชำระเงินถึง 3 งวด ฝ่ายผู้ขายจะยึดรถคืน และพยานผู้ร้องต่างยืนยันว่าผู้ร้องขายรถของกลางกันแล้ว ย่อมถือได้ว่าเป็นการซื้อขายรถยนต์โดยผ่อนชำระราคาหาใช่เป็นการเช่าซื้อไม่ แม้จะมีข้อความว่าถ้าผู้ซื้อค้างชำระเงินถึง 3 งวด ฝ่ายผู้ขายจะขดยึดรถคืนก็เป็นแต่เพียงการตกลงกันไว้ล่วงหน้าถึงสิทธิของผู้ขายในเมื่อผู้ซื้อผิดสัญญาไม่ชำระราคาเท่านั้น หาทำให้สัญญานี้กลายเป็นสัญญาเช่าซื้อไปไม่ ผู้ร้องจึงมิใช่เจ้าของอันแท้จริงที่จะมีสิทธิร้องขอคืนรถยนต์ของกลาง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1930/2522

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยื่นคำให้การนอกกำหนดเวลา จำเลยต้องขอขยายเวลา หากไม่ขอ ศาลไม่รับคำให้การ
หากจำเลยมีความจำเป็นไม่อาจจะยื่นคำให้การได้ทันภายในกำหนดเวลาแปดวันก็ยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาออกไปได้ โดยแสดงให้ศาลเห็นว่ากรณีมีพฤติการณ์พิเศษ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 23 และถึงแม้ระยะเวลาแปดวันจะผ่านพ้นไปแล้ว จำเลยก็ยังอาจขอขยายระยะเวลาได้โดยแสดงให้ศาลเห็นว่าเป็นกรณีที่มีเหตุสุดวิสัยแต่จำเลยหาได้ปฏิบัติเช่นนั้นไม่ กลับมายื่นคำร้องหลังจากพ้นกำหนดแปดวันแล้วโดยอ้างว่ามิได้มีเจตนาจงใจจะขาดนัดยื่นคำให้การซึ่งเป็นเหตุผลที่จำเลยชอบที่จะอ้างหลังจากที่ศาลได้มีคำสั่งว่าจำเลยขาดนัดยื่นคำให้การแล้ว ตามนัยแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 199 ในชั้นนี้ยังไม่มีกรณีจะต้องพิจารณาถึงว่าจำเลยขาดนัดยื่นคำให้การโดยไม่จงใจหรือโดยมีเหตุอันสมควรหรือไม่ ศาลจึงสั่งรับคำให้การจำเลยไว้ไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1930/2522 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยื่นคำให้การเกินกำหนด: ศาลไม่อนุญาต แม้ไม่มีเจตนาขาดนัด
หากจำเลยมีความจำเป็นไม่อาจจะยื่นคำให้การได้ทันภายในกำหนดเวลาแปดวัน ก็ยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาออกไปได้ โดยแสดงให้ศาลเห็นว่ากรณีมีพฤติการณ์พิเศษ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 23 และถึงแม้ระยะเวลาแปดวันจะผ่ายพ้นไปแล้ว แต่จำเลยหาได้ปฏิบัติเช่นนั้นไม่ กลับมายื่นคำร้องหลังจากพ้นกำหนดแปดวันแล้วโดยอ้างว่ามิได้มีเจตนาจงใจจะขาดนัดยื่นคำให้การ ซึ่งเป็นเหตุผลมี่จำเลยชอบที่จะอ้างหลังจากที่ศาลได้มีคำสั่งว่าจำเลยขาดนัดยื่นคำให้การแล้ว ตามนัยแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจาณาความแพ่ง มาตรา 199 ในชั้นนี้ยังไม่มีกรณีจะต้องพิจารณาถึงว่าจำเลยขาดนัดยื่นคำให้การโดยไม่จงใจหรือโดยมีเหตุอันสมควรหรือไม่ ศาลจึงสั่งรับคำให้การจำเลยไว้ไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1907/2522

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฆ่าเพื่อหวังเงินประกัน: ไตร่ตรองไว้ก่อนชัดเจน
จำเลยไปติดต่อกับบริษัทประกันภัย เพื่อเอาประกันชีวิตผู้ตายในแบบอุบัติเหตุส่วนบุคคล ระบุจำเลยเป็นผู้รับประโยชน์ แล้วจำเลยมิได้ให้ผู้ตายลงชื่อในคำขอเอาประกันภัย แต่ใช้วิธีปลอมลายมือชื่อผู้ตายลงในคำขอ และเมื่อจำเลยได้ฆ่าผู้ตายแล้วก็ได้พยายามสร้างเหตุการณ์ขึ้นเพื่อทำให้ดูประหนึ่งว่าผู้ตายตายโดยอุบัติเหตุไฟฟ้าลัดวงจรเพื่อจำเลยจะสามารถรับเงินประกันชีวิตได้แล้วจำเลยได้ไปแจ้งต่อบริษัทรับประกันภัยในวันรุ่งขึ้นจากที่ผู้ตายถูกจำเลยฆ่าตาย ดังนี้ พฤติการณ์แสดงว่าจำเลยมีแผนมาตั้งแต่แรกที่จะฆ่าผู้ตายเพื่อหวังประโยชน์จากเงินประกันชีวิตผู้ตาย ถือได้ว่าจำเลยฆ่าผู้ตายโดยไตร่ตรองไว้ก่อน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1874/2522

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดฐานพยายามฆ่าและมีอาวุธปืนไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาต
จำเลยใช้ปืนยิงผู้เสียหาย จำเลยไม่ได้รับอนุญาตให้มีอาวุธปืน ฟังได้ว่าจำเลยมีอาวุธปืนไว้ในครอบครองโดยมิได้รับอนุญาต

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1699/2522 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจตนาลวงและนิติกรรมอำพราง: ต้องมีสมรู้ร่วมใจกันและมีเจตนาซ่อนเร้นที่แท้จริง
การแสดงเจตนาลวงที่จะตกเป็นโมฆะ จะต้องเป็นการแสดงเจตนาที่ทำขึ้นโดยความประสงค์ร่วมกันของคู่กรณีทั้งสองฝ่ายที่จะไม่ให้ผูกพันกัน หรืออีกนัยหนึ่ง จะต้องปรากฏว่ามีการสมรู้กันระหว่างคู่กรณีในการแสดงเจตนาลวงนั้น
กรณีที่จะเกิดมีนิติกรรมอำพรางขึ้นนั้น จะต้องเนื่องมาจากการที่บุคคลสองฝ่ายตกลงจะทำนิติกรรมอันหนึ่ง แต่กลับแสร้งทำเป็นนิติกรรมอีกอันหนึ่งเพื่อปกติหรืออำพรางนิติกรรมที่ทั้งสองฝ่ายตกลงจะทำกันโดยเจตนาอันแท้จริง จึงให้บังคับกันตามนิติกรรมที่ถูกอำพรางซึ่งเป็นเจตนาอันแท้จริงของคู่กรณี
of 11