คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
อำนัคฆ์ คล้ายสังข์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 324 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2652/2524 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับฟ้องแย้งและการนับระยะเวลาให้ยื่นคำให้การแก้ฟ้องแย้ง ต้องเริ่มนับเมื่อได้รับหมายเรียก ไม่ใช่วันอ่านคำพิพากษา
ศาลชั้นต้นสั่งรับคำให้การของจำเลย ส่วนฟ้องแย้งสั่งไม่รับ ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้ศาลชั้นต้นรับฟ้องแย้งของจำเลยไว้พิจารณา ศาลชั้นต้นต้องสั่งให้ส่งหมายเรียกและฟ้องแย้งให้โจทก์ทำคำให้การแก้ฟ้องแย้งยื่นต่อศาลภายในแปดวันตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 177 วรรคแรก และระยะเวลาแปดวันนั้นต้องนับตั้งแต่โจทก์ได้รับหมายเรียกแล้วมิใช่นับตั้งแต่วันอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ที่ให้รับฟ้องแย้งของจำเลย การที่ศาลชั้นต้นงดออกหมายเรียกให้โจทก์ทำคำให้การแก้ฟ้องแย้งจึงเป็นการไม่ชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2237/2524

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเช่าที่ดินและอาคาร: การเช่าช่วงที่ดินกับการเช่าอาคารไม่ถือเป็นการผิดสัญญา
หนังสือสัญญาแบ่งเช่าที่ดินและหนังสือสัญญาต่อท้ายแบ่งเช่าที่ดิน เป็นเรื่องโจทก์ให้จำเลยเช่าที่ดินปลูกตึกแถวมีกำหนด 20 ปี ภายในระยะเวลาดังกล่าวถ้าจำเลยจะให้บุคคลอื่นเช่าช่วงที่ดินต้องแจ้งให้โจทก์ทราบก่อน ไม่มีข้อห้ามที่จำเลยจะให้บุคคลอื่นเช่าตึกแถว การที่จำเลยให้ ช. เช่าตึกแถว ก็เป็นการเช่าอาคารซึ่งปลูกในที่ดิน ถือไม่ได้ว่าเป็นการเช่าช่วงที่ดิน
ข้อกำหนดในสัญญาที่ให้จำเลยละเว้นการนำตึกแถวไปจำนองจำนำ ขายฝาก หรือก่อภาระผูกพันหนี้สินใดๆ ก็เพื่อป้องกันมิให้ตึกแถวตกไปเป็นกรรมสิทธิ์ของบุคคลอื่น ในระยะเวลา 20 ปีที่ตึกแถวเป็นของจำเลย หรือทำให้โจทก์มีหน้าที่รับภาระผูกพันหนี้สินในเมื่อพ้นระยะเวลา 20 ปี ซึ่งตึกแถวตกเป็นของโจทก์แล้วการให้เช่าตึกแถวไม่มีกำหนดเวลาเช่า จึงมิใช่เป็นการก่อภาระผูกพันหนี้สินให้เป็นภาระแก่โจทก์ และไม่กระทบกระเทือนถึงกรรมสิทธิ์ในตึกแถวเมื่อตกเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์แต่ประการใด จำเลยจึงไม่ผิดสัญญา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2157/2524

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ทรัสต์รีซีทกับการโอนกรรมสิทธิ์สินค้าเพื่อชำระหนี้: การหักหนี้ที่ถูกต้องตามสัญญา
จำเลยทำสัญญาทรัสต์รีซีท (ใบรับสินค้าเชื่อ) ให้ไว้กับโจทก์เพื่อรับเอกสารการส่งสินค้าไปออกสินค้าจากท่าเรือเพื่อนำไปจำหน่ายแก่ผู้ซื้อ ดังนี้ การทำสัญญาทรัสต์รีซีทนั้น เป็นการโอนกรรมสิทธิ์ในสินค้าหรือเงินค่าขายสินค้าไปเป็นของโจทก์ เพื่อชำระหนี้ค่าสินค้าตามตั๋วแลกเงินตามเลตเตอร์ออฟเครดิตและตามสัญญาทรัสต์รีซีท แม้จำเลยจะเป็นผู้ครอบครองสินค้าหรือเงินค่าขายสินค้าไว้ ก็เป็นการครอบครองหรือยึดไว้แทนโจทก์เพื่อชำระหนี้ดังกล่าวเท่านั้นเงินที่ขายได้ต้องหักชำระหนี้ค่าสินค้าและอุปกรณ์แก่โจทก์ เงินเหลือคืนให้จำเลย โจทก์ไม่มีสิทธิเอาเงินที่ขายสินค้าได้ไปหักกับหนี้รายอื่นที่ไม่เกี่ยวกับเลตเตอร์ออฟเครดิตและสัญญาทรัสต์รีซีท

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2106/2524

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ไขคำร้องผิดพลาดในคดีขัดทรัพย์ ไม่เป็นร้องซ้ำ หากศาลยังไม่ได้วินิจฉัยถึงที่สุดในประเด็นกรรมสิทธิ์
คำร้องขัดทรัพย์เดิมของผู้ร้องมีข้อความว่า ทรัพย์ที่ผู้ร้องขอให้ปล่อยเป็นของโจทก์ แต่ตามภาพถ่ายหนังสือสัญญาซื้อขายที่แนบมาท้ายคำร้องว่าเป็นทรัพย์ที่ผู้ร้องซื้อมาจึงเป็นเรื่องพิมพ์ถ้อยคำผิดพลาด ดังนั้นการที่ศาลชั้นต้นด่วนมีคำสั่งยกคำร้องของผู้ร้องอ้างว่าสิทธิของผู้ร้องมิได้ถูกโต้แย้ง ผู้ร้องจะใช้สิทธิทางศาลไม่ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 55 โดยอาศัยคำร้องที่ผิดพลาดจากความเป็นจริงนั้นยังถือไม่ได้ว่าศาลได้มีคำสั่งถึงที่สุดในประเด็นที่ว่าทรัพย์ที่ยึดเป็นของจำเลยหรือของผู้ร้อง ผู้ร้องจึงมาร้องใหม่ตามคำร้องได้ ไม่เป็นร้องซ้ำ ไม่ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 148

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2057/2524 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เขตอำนาจศาล: การฟ้องจำเลยต่างประเทศและตัวแทนในคดีละเมิด
โจทก์ฟ้องระบุชื่อจำเลยที่ 4 ว่า "บริษัทโทรีเซนแอนด์โก(ลิมิเต็ด) จำกัด โดยบริษัทโทรีเซน (กรุงเทพ)จำกัด จำเลยที่ 4"ทั้งบรรยายฟ้องด้วยว่าบริษัทโทรีเซนแอนด์โก (ลิมิเต็ด) จำกัดจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัด ณ ประเทศฮ่องกงโดยบริษัทโทรีเซน (กรุงเทพ)จำกัด เป็นสาขาในประเทศไทยเห็นได้ว่าโจทก์ประสงค์จะฟ้องบริษัทโทรีเซน แอนด์โก (ลิมิเต็ด)จำกัด เป็นจำเลยที่ 4หาใช่ฟ้องบริษัทโทรีเซน(กรุงเทพ) จำกัดซึ่งเป็นนิติบุคคลต่างหากจากกันเป็นจำเลยที่ 4 ไม่
ฟ้องของโจทก์เป็นเรื่องเกี่ยวด้วยหนี้เหนือบุคคล ระหว่างโจทก์ผู้เป็นเจ้าหนี้ซึ่งมีภูมิลำเนาอยู่ในประเทศไทย กับลูกหนี้ซึ่งมิได้มีภูมิลำเนาอยู่ในประเทศไทย และมิได้เข้ามาหรือมีสาขาในประเทศไทย โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องจำเลยดังกล่าวต่อศาลไทย
บริษัทจำเลยที่ 3 เป็นตัวแทนเรือต่างชาติเกี่ยวกับพิธีการนำเรือเข้าออกจากท่าเรือกรุงเทพ และจัดการจ่ายของที่บรรทุกมาในเรือให้แก่ผู้รับในประเทศไทย ตลอดทั้งหาผู้ส่งสินค้าลงเรือดังนี้บริษัทจำเลยที่ 3 มีฐานะเป็นตัวแทนในกิจการดังกล่าวเท่านั้น จึงหาต้องรับผิดในผลแห่งละเมิดในการที่เรือต่างชาติชนเรือของโจทก์ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2057/2524

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เขตอำนาจศาล: ฟ้องจำเลยต่างประเทศ, หนี้เหนือบุคคล, ตัวแทนทางเรือ
โจทก์ฟ้องระบุชื่อจำเลยที่ 4 ว่า 'บริษัทโทรีเซนแอนด์โก(ลิมิเต็ด)จำกัดโดยบริษัทโทรีเซน (กรุงเทพ)จำกัด จำเลยที่ 4' ทั้งบรรยายฟ้องด้วยว่าบริษัทโทรีเซนแอนด์โก(ลิมิเต็ด) จำกัดจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัด ณ ประเทศฮ่องกงโดยบริษัทโทรีเซน (กรุงเทพ)จำกัด เป็นสาขาในประเทศไทย เห็นได้ว่าโจทก์ประสงค์จะฟ้องบริษัทโทรีเซนแอนด์โก(ลิมิเต็ด) จำกัด เป็นจำเลยที่ 4หาใช่ฟ้องบริษัทโทรีเซน(กรุงเทพ) จำกัด ซึ่งเป็นนิติบุคคลต่างหากจากกันเป็นจำเลยที่ 4 ไม่
ฟ้องของโจทก์เป็นเรื่องเกี่ยวด้วยหนี้เหนือบุคคล ระหว่างโจทก์ผู้เป็นเจ้าหนี้ซึ่งมีภูมิลำเนาอยู่ในประเทศไทย กับลูกหนี้ซึ่งมิได้มีภูมิลำเนาอยู่ในประเทศไทย และมิได้เข้ามาหรือมีสาขาในประเทศไทย โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องจำเลยดังกล่าวต่อศาลไทย
บริษัทจำเลยที่ 3 เป็นตัวแทนเรือต่างชาติเกี่ยวกับพิธีการนำเรือเข้าออกจากท่าเรือกรุงเทพ และจัดการจ่ายของที่บรรทุกมาในเรือให้แก่ผู้รับในประเทศไทย ตลอดทั้งหาผู้ส่งสินค้าลงเรือดังนี้บริษัทจำเลยที่ 3 มีฐานะเป็นตัวแทนในกิจการดังกล่าวเท่านั้น จึงหาต้องรับผิดในผลแห่งละเมิดในการที่เรือต่างชาติชนเรือของโจทก์ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1995/2524

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การดำเนินกระบวนพิจารณาคดีหลังจำเลยเสียชีวิต: ศาลต้องจัดให้มีคู่ความแทนที่ก่อนพิจารณาต่อ
ศาลชั้นต้นออกคำบังคับให้จำเลยปฏิบัติตามคำพิพากษาซึ่งถึงที่สุดแล้ว แต่โจทก์ยื่นคำร้องเมื่อวันที่ 26 กันยายน2522 ขอให้ศาลชั้นต้นแก้คำบังคับโดยให้จำเลยเสียค่าขึ้นศาลที่โจทก์ต้องเสียเพิ่มด้วย ซึ่งต่อมาได้มีอุทธรณ์ฎีกาคำร้องดังกล่าวโดยทนายจำเลยเป็นผู้ฎีกาและปรากฏข้อเท็จจริงในชั้นฎีกาว่าจำเลยถึงแก่กรรมไปแล้วเมื่อวันที่ 26 มกราคม 2522โดยทนายจำเลยก็ทราบแต่ยังไม่มีผู้เข้าเป็นคู่ความแทนที่ ซึ่งเมื่อศาลชั้นต้นสั่งรับอุทธรณ์คดีก็กลับมีกรณีที่จะต้องตั้งต้นพิจารณาในชั้นอุทธรณ์ขึ้นใหม่ โดยต้องจัดให้มีผู้เข้ามาเป็นคู่ความเสียก่อนเช่นนี้ การดำเนินกระบวนพิจารณาตั้งแต่ชั้นสั่งรับอุทธรณ์เป็นต้นมา จึงยังไม่ถูกต้องและทนายจำเลยย่อมหมดสภาพเป็นทนายจำเลยที่จะยื่นฎีกา ศาลฎีกามีอำนาจสั่งให้ดำเนินกระบวนพิจารณาให้ถูกต้องได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1994/2524

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสิ้นสุดสิทธิการดำเนินคดีแทนจำเลยหลังเสียชีวิต และการหาคู่ความใหม่
จำเลยตาย แม้ทนายจำเลยจะมีอำนาจยื่นอุทธรณ์แทนได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 828 ทำให้คดีกลับมีกรณีที่จะต้องตั้งต้นพิจารณาชั้นอุทธรณ์ขึ้นใหม่แต่เมื่อจำเลยตายแล้ว ทนายจำเลยย่อมหมดสภาพเป็นทนายจำเลย จึงทำให้คดีมีแต่โจทก์ฝ่ายเดียว ฝ่ายจำเลยยังไม่มีผู้เข้าเป็นคู่ความดำเนินคดีแทน จึงต้องจัดหาผู้เข้ามาเป็นคู่ความดำเนินคดีแทนจำเลยเสียก่อน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1982/2524

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อพิพาทสัญญา ก่อสร้าง: การวินิจฉัยของวิศวกรที่ปรึกษาผูกพันคู่สัญญา หากไม่ดำเนินการขออนุญาโตตุลาการภายในกำหนด
โจทก์เป็นผู้ประมูลก่อสร้างอุโมงค์ระบายน้ำให้แก่จำเลยซึ่งมีบริษัทหนึ่งเป็นวิศวกรที่ปรึกษา หลังจากก่อสร้างเสร็จและส่งมอบงานแล้ว โจทก์ได้เรียกร้องเงินนอกเหนือจากที่ระบุไว้ในสัญญา โดยผ่านวิศวกรที่ปรึกษาไปยังจำเลย จำเลยได้เสนอค่าเสียหายแก่โจทก์ในจำนวนที่ต่ำกว่าเงินที่โจทก์เรียกร้อง โจทก์จึงได้เสนอเรื่องให้วิศวกรที่ปรึกษาของจำเลยชี้ขาดตามข้อสัญญา ไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีฯ วิศวกรวินิจฉัย ให้จำเลยจ่ายเงินให้โจทก์เป็นจำนวนหนึ่ง ดังนี้ การที่โจทก์ฟ้อง เรียกร้องค่าเสียหายตามคำวินิจฉัยของวิศวกรที่ปรึกษา ซึ่งไม่มีกฎหมายบัญญัติเรื่องอายุความไว้เป็นอย่างอื่น จึงมีอายุความ 10 ปี ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1958/2524 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับจำนำโดยไม่มีเจตนาเป็นปกติธุระ ไม่เข้าข่ายความผิดตามพ.ร.บ.โรงรับจำนำ
จำเลยให้บุคคล 4 คนยืมเงินไป โดยไม่มีดอกเบี้ย และจำเลยมิได้เรียกร้องเอาสิ่งของประกันเงินยืม หากแต่ผู้ยืมเกรงใจจึงให้จำเลยเอาสิ่งของไว้เป็นประกัน ดังนี้ ยังไม่พอถือว่าจำเลยรับจำนำสิ่งของไว้เป็นประกันหนี้เงินกู้เป็นปกติธุระ ตามมาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติโรงรับจำนำ
of 33