คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
อำนัคฆ์ คล้ายสังข์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 324 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1958/2524 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับจำนำโดยไม่มีเจตนาเป็นปกติธุระ ไม่เข้าข่ายความผิดตามพ.ร.บ.โรงรับจำนำ
จำเลยให้บุคคล 4 คนยืมเงินไป โดยไม่มีดอกเบี้ย และจำเลยมิได้เรียกร้องเอาสิ่งของประกันเงินยืม หากแต่ผู้ยืมเกรงใจจึงให้จำเลยเอาสิ่งของไว้เป็นประกัน ดังนี้ ยังไม่พอถือว่าจำเลยรับจำนำสิ่งของไว้เป็นประกันหนี้เงินกู้เป็นปกติธุระ ตามมาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติโรงรับจำนำ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1842/2524

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนังสือสัญญาซื้อขายที่ดินเป็นหลักฐานเด็ดขาด การสืบเพื่อเปลี่ยนแปลงข้อความในสัญญาทำไม่ได้
หนังสือสัญญาซื้อขายที่ดินระบุว่า ผู้ขายได้ขายที่ดินให้ผู้ซื้อ และผู้ขายได้รับราคาที่ดินไปจากผู้ซื้อเสร็จแล้วในวันทำสัญญา การที่ผู้ขายนำพยานบุคคลมาสืบว่าในวันทำหนังสือสัญญาดังกล่าว ผู้ขายไม่ได้รับราคาที่ดินนั้น เป็นการสืบเพื่อเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในหนังสือสัญญาการซื้อขายที่พิพาท ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1793/2524

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าทนายความเป็นส่วนหนึ่งของค่าฤชาธรรมเนียม ศาลมีอำนาจกำหนดให้ฝ่ายที่แพ้คดีชำระได้ แม้โจทก์มีทนายความเป็นข้าราชการ
ค่าทนายความเป็นส่วนหนึ่งของค่าฤชาธรรมเนียม ซึ่งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 161 ศาลมีอำนาจที่จะพิพากษาให้คู่ความฝ่ายที่แพ้คดีเสียค่าฤชาธรรมเนียมทั้งปวงรวมทั้งค่าทนายความนั้นได้ แม้โจทก์เป็นหน่วยราชการมีพนักงานอัยการเป็นทนายความ ศาลก็ใช้ดุลพินิจกำหนดค่าทนายความให้จำเลย ใช้แทนโจทก์ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1765/2524

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การร่วมฟ้องของโจทก์หลายคนจากเหตุเดียวกัน และการสละสิทธิของผู้รับประกันภัยเมื่อไม่โต้แย้งใบอนุญาตขับขี่
รถยนต์ของจำเลยที่ 1 กับที่ 3 ซึ่งจำเลยที่ 2 รับประกันภัยขับชนรถโจทก์ที่ 1 เป็นเหตุให้โจทก์อีก 6 คนที่โดยสารมาด้วยได้รับบาดเจ็บ ข้อหาและคำขอบังคับทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาของผู้เสียหายทั้งเจ็ดมีลักษณะอย่างเดียวกัน ทั้งยังมีความเกี่ยวข้องกันด้วย ผู้เสียหายทั้งเจ็ดมีผลประโยชน์ร่วมกันในมูลความแห่งคดีย่อมร่วมกันเป็นโจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสามในคำฟ้องเดียวกันได้
การที่ผู้รับประกันภัยยอมซ่อมรถที่เสียหายเนื่องจากรถของผู้เอาประกันภัยแต่โดยดี แสดงว่าไม่มีการโต้แย้งกันในเรื่องผู้ขับรถของผู้เอาประกันภัยมีใบอนุญาตขับรถยนต์ถูกต้องตามกฎหมายหรือไม่ จึงถือได้ว่าผู้รับประกันภัยสละสิทธิไม่ติดใจที่จะให้ผู้เอาประกันภัยปฏิบัติตามเงื่อนไขในกรมธรรม์ประกันภัยที่ระบุให้ผู้เอาประกันภัยมีหน้าที่นำหลักฐานมาแสดงเพื่อพิสูจน์ว่า ผู้ขับรถยนต์ในขณะเกิดอุบัติเหตุได้รับอนุญาตขับรถยนต์ถูกต้องตามกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1719/2524

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจ้าของกรรมสิทธิ์มีสิทธิฟ้องขับไล่ผู้เช่าเดิม แม้ไม่มีการบอกเลิกสัญญาโดยตรง และสัญญาเดิมผูกพันเฉพาะเจ้าของเดิม
จำเลยเช่าตึกแถวจาก จ. โดยไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือ ต่อมาจ. โอนกรรมสิทธิ์ตึกแถวให้โจทก์ โจทก์กับจำเลยไม่มีนิติสัมพันธ์กันการบอกเลิกการเช่าตึกแถวจะชอบหรือไม่จึงไม่ใช่สาระสำคัญ โจทก์เจ้าของตึกแถวย่อมฟ้องขับไล่จำเลยได้โดยไม่จำต้องบอกกล่าวก่อน
แม้สัญญาต่างตอบแทนระหว่าง จ. กับจำเลยมีอยู่จริง ก็มีผลผูกพันเฉพาะ จ. กับจำเลยเท่านั้น เมื่อโจทก์มิได้ยินยอมตามข้อตกลงในสัญญาต่างตอบแทนด้วยแล้วจำเลยก็ไม่มีสิทธิที่จะยกเอาข้อตกลงในสัญญาต่างตอบแทนขึ้นเป็นข้อต่อสู้กับโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ตึกแถวอันได้รับมาโดยชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1544/2524

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ แจ้งความเท็จเพื่อหลีกเลี่ยงการจับกุม ก่อให้เกิดความเสียหายต่อการบังคับใช้กฎหมาย
จำเลยแจ้งข้อความอันเป็นเท็จแก่เจ้าพนักงานตำรวจผู้จับกุมว่า ใบอนุญาตขับรถของจำเลยหายพร้อมกับแสดงสำเนาใบแจ้งความ ซึ่งความจริงใบอนุญาตขับรถของจำเลยมิได้หาย หากแต่ถูกเจ้าพนักงานตำรวจยึดไว้ก่อนแล้ว ดังนี้ การแจ้งความเท็จของจำเลยมีเจตนาให้พ้นจากการจับกุมไม่ต้องถูกดำเนินคดี ทำให้กรมตำรวจ พนักงานสอบสวนผู้มีหน้าที่สอบสวนได้รับความเสียหายจำเลยจึงมีความผิดฐานแจ้งความเท็จ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1538/2524

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม: สิทธิเรียกร้องค่าเสียหายเพิ่มเติมจากค่าชดเชยตามกฎหมายแรงงาน
ในกรณีที่มีการเลิกจ้างโดยการกระทำอันไม่เป็นธรรมนั้นนอกจากค่าชดเชยที่นายจ้างจะต้องจ่ายให้แก่ลูกจ้างโดยลูกจ้างไม่ได้กระทำความผิดตามข้อ 47 แล้ว ลูกจ้างมีสิทธิที่จะเรียกร้องค่าเสียหายได้ตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ลงวันที่ 16 เมษายน 2515 ข้อ76 และคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ มีอำนาจตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 มาตรา 41(4) ที่จะกำหนดค่าเสียหายให้แก่ลูกจ้าง.ในกรณีนายจ้างกระทำการอันไม่เป็นธรรมเป็นอีกส่วนหนึ่ง นอกเหนือจากค่าชดเชยที่นายจ้างจะต้องปฏิบัติตามกฎหมายอยู่แล้ว
การเลิกจ้างในกรณีที่สัญญาจ้างมิได้กำหนดว่าจ้างนานเท่าใดจะต้องบอกกล่าวล่วงหน้าก่อนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 582 เมื่อนายจ้างมิได้บอกกล่าวล่วงหน้า นายจ้างจะต้องรับผิดในจำนวนค่าเสียหายดังกล่าวนี้ซึ่งเป็นคนละส่วนกับค่าชดเชยด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1478/2524

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า: การเลียนแบบเครื่องหมายการค้าเดิมและการพิจารณาเจตนาของผู้ขอจดทะเบียน
เครื่องหมายการค้าของโจทก์ใช้คำว่า 'RICOPY' ส่วนของจำเลยใช้คำว่า 'RECOPY' มีลักษณะสำคัญบ่งเฉพาะเป็นอักษรโรมัน เมื่อออกสำเนียงชื่อก็คล้ายคลึงกัน คือ โจทก์ออกสำเนียงว่า 'ริโคปีย์' ส่วนจำเลยออกสำเนียงว่า'รีโคปีย์' แตกต่างกันเฉพาะตัวI และตัว E เท่านั้น เครื่องหมายการค้าของจำเลยจึงมีลักษณะเหมือนหรือคล้ายคลึงกับของโจทก์ และสินค้าของโจทก์จำเลยที่ขอจดทะเบียนเป็นสินค้าอย่างเดียวกัน เมื่อโจทก์ได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าดังกล่าวในประเทศญี่ปุ่น และใช้เครื่องหมายการค้าดังกล่าวแพร่หลายโดยทั่วไปมาก่อน จำเลยเพิ่งคิดจะใช้คำว่า 'RECOPY' เป็นเครื่องหมายการค้าหลังจากทราบถึงเครื่องหมายการค้าดังกล่าวของโจทก์แล้ว ดังนี้ แม้จำเลยจะไปขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าก่อนก็ตาม โจทก์ย่อมมีสิทธิขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์ดีกว่าและให้จำเลยไปเพิกถอนคำขอจดทะเบียนการค้าของจำเลยดังกล่าวได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1413/2524

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนังสือประนีประนอมยอมความที่ไม่ได้รับมอบหมาย และสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายจากประกันภัยรถยนต์
บันทึกข้อตกลงระหว่างโจทก์กับ ป. มีลักษณะเป็นหนังสือสัญญาประนีประนอมยอมความระหว่างโจทก์กับจำเลย เมื่อ ป.ไม่ได้รับมอบหมายเป็นหนังสือจากจำเลยให้ทำหนังสือประนีประนอมยอมความ จึงถือไม่ได้ว่า ป. กระทำการแทนจำเลย หนังสือประนีประนอมยอมความดังกล่าวจึงไม่มีผลผูกพันโจทก์และจำเลยให้ต้องปฏิบัติตาม และจำเลยจะอ้างสัญญาประนีประนอมยอมความขึ้นต่อสู้ปัดความรับผิดไม่ได้
โจทก์มีหนังสือบอกกล่าวให้จำเลยชำระหนี้แล้ว แต่จำเลยไม่ยอมชำระ จึงถือได้ว่าจำเลยผิดนัดชำระหนี้ดังกล่าวนั้น โจทก์มีสิทธิคิดดอกเบี้ยในระหว่างเวลาผิดนัดร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 224แม้จะปรากฏว่าโจทก์ได้ชำระค่าซ่อมรถยนต์หลังฟ้องแล้วก็ไม่ตัดสิทธิที่จะฟ้องเรียกจากจำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1337/2524

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแสดงข้อความเพื่อปกป้องสิทธิของตน มิใช่ความผิดหมิ่นประมาท
การแสดงข้อความโดยสุจริต เพื่อความชอบธรรมป้องกันส่วนได้เสียเกี่ยวกับตนตามคลองธรรม ซึ่งไม่เป็นความผิดฐานหมิ่นประมาท ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 329(1)
of 33