คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
วิถี ปานะบุตร

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 183 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3223/2522

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในการคัดค้านการบังคับคดี กรณีอ้างว่าทรัพย์สินเป็นของผู้ร้อง ไม่ใช่จำเลย
ในกรณีที่ผู้ร้องอ้างว่าที่ดินที่โจทก์ขอให้บังคับคดีตามคำพิพากษามิใช่ของจำเลย แต่เป็นของผู้ร้อง ผู้ร้องจึงชอบที่จะยื่นคำร้องขอต่อศาลได้ตามนัยแห่งบทบัญญัติมาตรา 7(2)288 และ 296 แห่ง ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ซึ่งศาลจะต้องดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไป เมื่อผู้ร้องได้เสียค่าธรรมเนียมตามคำร้องในเรื่องนี้แล้ว ไม่จำเป็นที่ผู้ร้องจะต้องไปฟ้องเป็นคดีใหม่อีกต่างหาก
(อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 802/2491)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3187-3188/2522 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การซื้อขายมีเงื่อนไข การเป็นตัวแทนเชิด และอำนาจฟ้องบังคับให้จดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์
โจทก์บรรยายฟ้องว่า โจทก์เช่าซื้อรถยนต์พิพาทจากตัวแทนจำหน่ายของจำเลยราคา 68,000 บาท ชำระในวันทำสัญญา 16,000 บาท และผ่อนชำระเป็นรายเดือน เดือนละ 2,000 บาท ตลอดมา ชำระงวดสุดท้ายแล้ว 40,000 บาท เมื่อโจทก์ขอให้แก้ชื่อในทะเบียนรถยนต์เป็นชื่อโจทก์เป็นเจ้าของ ตัวแทนของจำเลยและจำเลยขอผัดเรื่อยมาจึงขอให้บังคับจำเลยจัดการจดทะเบียนรถยนต์แก้ชื่อเป็นชื่อของโจทก์ ดังนี้ เป็นฟ้องที่ไม่เคลือบคลุม โจทก์หาจำต้องแสดงหลักฐานสัญญาเช่าซื้อประกอบข้ออ้างในคำฟ้องไม่
โจทก์ฟ้องว่าเช่าซื้อรถยนต์พิพาทจากจำเลยโดยมี ส.ตัวแทนจำหน่ายของจำเลย ดังนี้ การที่ศาลวินิจฉัยว่า จำเลยรู้แล้วยอมให้ ส.เชิดตัวเองออกแสดงเป็นตัวแทนของจำเลย จำเลยต้องรับผิดเสมือนว่า ส.เป็นตัวแทนของจำเลย จึงเป็นการวินิจฉัยตามข้อหาในฟ้องที่ว่า ส.เป็นตัวแทนของจำเลย ไม่เป็นการเกินไปกว่าที่ปรากฏในฟ้อง
แม้โจทก์บรรยายฟ้องและขอให้บังคับจำเลยจดทะเบียนโอนแก้ชื่อโจทก์เป็นเจ้าของรถยนต์พิพาทตามสัญญาซึ่งโจทก์เรียกว่าสัญญาเช่าซื้อ แต่เมื่อทางพิจารณาฟังได้ว่าสัญญานั้นเป็นสัญญาซื้อขายมีเงื่อนไข และโจทก์ได้ชำระราคารถยนต์พิพาทครบถ้วนแล้ว โจทก์จึงได้กรรมสิทธิ์ตามสัญญานั้น การที่โจทก์บรรยายฟ้องเรียกชื่อสัญญาดังกล่าวว่าสัญญาเช่าซื้อ หาเป็นข้อสารสำคัญไม่ โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องให้บังคับจำเลยจดทะเบียนโอนแก้ชื่อโจทก์เป็นเจ้าของรถยนต์พิพาทได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3187-3188/2522

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องบังคับตามสัญญาซื้อขายมีเงื่อนไข แม้จะระบุชื่อสัญญาผิด และประเด็นตัวแทนเชิด
โจทก์บรรยายฟ้องว่าโจทก์เช่าซื้อรถยนต์พิพาทจากตัวแทนจำหน่ายของจำเลยราคา 68,000 บาท ชำระในวันทำสัญญา 16,000 บาท และผ่อนชำระเป็นรายเดือน เดือนละ 2,000 บาทตลอดมา ชำระงวดสุดท้ายแล้ว 40,000บาท เมื่อโจทก์ขอให้แก้ชื่อในทะเบียนรถยนต์เป็นชื่อโจทก์เป็นเจ้าของ ตัวแทนของจำเลยขอผัดเรื่อยมา จึงขอให้บังคับจำเลยจัดการจดทะเบียนรถยนต์แก้ชื่อเป็นชื่อของโจทก์ ดังนี้ เป็นการฟ้องที่ไม่เคลือบคลุม โจทก์หาจำต้องแสดงหลักฐานสัญญาเช่าซื้อประกอบข้ออ้างในคำฟ้องไม่
โจทก์ฟ้องว่าเช่าซื้อรถยนต์พิพาทจากจำเลยโดยมีส. ตัวแทนจำหน่ายของจำเลย ดังนี้ การที่ศาลวินิจฉัยว่า จำเลยรู้แล้วยอมให้ ส. เชิดตัวเองออกแสดงเป็นตัวแทนของจำเลย จำเลยต้องรับผิดเสมือนว่า ส. เป็นตัวแทนของจำเลย จึงเป็นการวินิจฉัยตามข้อหาในฟ้องที่ว่า ส. เป็นตัวแทนของจำเลย ไม่เป็นการเกินไปกว่าที่ปรากฏในฟ้อง
แม้โจทก์บรรยายฟ้องและขอให้บังคับจำเลยจดทะเบียนโอนแก่ชื่อโจทก์เป็นเจ้าของรถยนต์พิพาทตามสัญญาซึ่งโจทก์เรียกว่าสัญญาเช่าซื้อ แต่เมื่อทางพิจารณาฟังได้ว่าสัญญานั้นเป็นสัญญาซื้อขายมีเงื่อนไข และโจทก์ได้ชำระราคารถยนต์พิพาทครบถ้วนแล้ว โจทก์จึงได้กรรมสิทธิ์ตามสัญญานั้น การที่โจทก์บรรยายฟ้องเรียกชื่อสัญญาดังกล่าวว่าสัญญาเช่าซื้อ หาเป็นข้อสารสำคัญไม่ โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องให้บังคับจำเลยจดทะเบียนโอนแก้ชื่อ โจทก์เป็นเจ้าของรถยนต์พิพาทได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3186/2522

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อพิรุธการชำระเงินค่างวดเช่าซื้อ และการใช้รถยนต์นอกเขตสัญญา ไม่ถือเป็นเหตุบอกเลิกสัญญา
สัญญาเช่าซื้อกำหนดว่า ถ้านำรถยนต์ออกนอกเขตที่ระบุต้องได้รับอนุญาตเป็นหนังสือ ผิดสัญญาข้อนี้เลิกสัญญาได้แต่ข้อนี้ไม่ใช่ข้อสำคัญตามที่ มาตรา 574 บัญญัติไว้เป็นพิเศษและผู้ให้เช่าซื้อทราบเหตุนี้แล้วก็ไม่ทักท้วง จึงไม่ถือว่าผู้เช่าซื้อผิดสัญญา
สัญญาเช่าซื้อรถยนต์ระบุว่า ชำระเงินแล้ว 45,000 บาทผู้ให้เช่าซื้อนำสืบพยานบุคคลอธิบายได้ว่า ความจริงชำระ 25,000 บาท วันหลังจึงชำระอีก 20,000 บาท แต่ศาลไม่เชื่อว่าเป็นความจริงตามที่นำสืบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3183/2522

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการรับชำระหนี้ของเจ้าหนี้บุริมสิทธิและเจ้าหนี้สามัญ การเปลี่ยนแปลงฐานะเจ้าหนี้หลังการยื่นคำร้อง
เดิมโจทก์ขอให้บังคับคดีนำยึดและขายทอดตลาดที่ดินซึ่งจำเลยทั้งสองจำนองกับโจทก์เพราะจำเลยไม่ปฏิบัติตามคำพิพากษาตามยอม ต่อมาโจทก์ยื่นคำร้องว่าเงินขายทอดตลาดไม่พอชำระหนี้ตามคำพิพากษา จึงขอให้ยึดที่ดินโฉนดที่ 9096 และ 9097 ซึ่งจำเลยที่ 1 จำนองไว้กับโจทก์เช่นกันมาขายทอดตลาดเพื่อชำระหนี้ให้ครบถ้วน ปรากฏว่าตามสัญญาจำนองที่ดินทั้งสองโฉนดนั้นจำเลยที่ 1 เป็นหนี้โจทก์รวมดอกเบี้ยด้วยเป็นเงิน 609,924.58 บาทศาลชั้นต้นอนุญาต และเจ้าพนักงานบังคับคดีขายทอดตลาดที่ดินทั้งสองโฉนดดังกล่าวได้เงิน 1,290,000 บาท เมื่อหักหนี้บุริมสิทธิให้โจทก์ก่อนแล้ว ยังมีเงินเหลือที่เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาอื่นจะร้องขอเข้าเฉลี่ยในเงินที่เหลือนี้ได้ ผู้ร้องเป็นเจ้าหนี้จำเลยที่ 1 ตามคำพิพากษาได้ยื่นคำร้องขอเฉลี่ยหนี้ส่วนที่เกินบุริมสิทธิของโจทก์คือขอเฉลี่ยเงินที่เหลือจากการชำระหนี้แก่โจทก์ โดยขอรับเฉลี่ยในฐานะเจ้าหนี้สามัญซึ่งศาลอุทธรณ์ได้พิพากษาถึงที่สุดให้ผู้ร้องได้เข้าเฉลี่ยหนี้อย่างเจ้าหนี้สามัญ ดังนี้ ผู้ร้องจะมาอ้างขึ้นใหม่ว่าจะขอรับชำระหนี้ในฐานะเจ้าหนี้บุริมสิทธิ หรือเจ้าหนี้จำนองอันดับ 2 ก่อนเจ้าหนี้สามัญในภายหลังอีกหาได้ไม่ ต้องฟังว่าผู้ร้องไม่มีสิทธิที่จะได้รับชำระหนี้ในฐานะบุริมสิทธิ จะเฉลี่ยหนี้โดยหักหนี้บุริมสิทธิของโจทก์เงินที่เหลือเอาชำระหนี้บุริมสิทธิของผู้ร้อง และเมื่อมีเงินเหลือจากการชำระหนี้บุริมสิทธิของผู้ร้องแล้ว จึงนำไปเฉลี่ยเป็นหนี้สามัญระหว่างโจทก์กับผู้ร้องหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3183/2522 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเฉลี่ยหนี้จากการบังคับคดี: เจ้าหนี้สามัญมิอาจเปลี่ยนฐานะเป็นเจ้าหนี้บุริมสิทธิย้อนหลังได้
เติมโจทก์ขอให้บังคับคดีทำยึดและขายทอดตลาดที่ดินซึ่งจำเลยทั้งสองจำนองกับโจทก์เพราะจำเลยไม่ปฏิบัติตามคำพิพากษาตามยอม ต่อมาโจทก์ยื่นคำร้องว่าเงินขายทอดตลาดไม่พอชำระหนี้ตามาคำพิพากษาจึงขอให้ยึดที่ดินโฉนดที่ 9096 และ 9097 ซึ่งจำเลยที่ 1 จำนองไว้กับโจทก์เช่นกันมาขายทอดตลาดเพื่อชำระหนี้ให้ครบถ้วน ปรากฏว่าตามสัญญาจำนองที่ดินทั้งสองโฉนดนั้นจำเลยที่ 1 เป็นหนี้โจทก์รวมดอกเบี้ยด้วยเป็นเงิน 609,924.58 บาท ศาลชั้นต้นอนุญาต และเจ้าพนักงานบังคับคดีขายทอดตลาดที่ดินทั้งสองโฉนดดังกล่าวได้เงิน 1,290,000 บาท เมื่อหักหนี้บุริมสิทธิให้โจทก์ก่อนแล้ว ยังมีเงินเหลือที่เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาอื่นจะร้องขอเข้าเฉลี่ยในเงินที่เหลือนี้ได้ ผู้ร้องเป็นเจ้าหนี้จำเลยที่ 1 ตามคำพิพากษา ได้ยื่นคำร้องขอเฉลี่ยหนี้ส่วนที่เกินบุริมสิทธิของโจทก์ คือขอเฉลี่ยเงินที่เหลือจากการชำระหนี้แก่โจทก์ โดยขอรับเฉลี่ยในฐานะเจ้าหนี้สามัญซึ่งศาลอุทธรณ์ได้พิพากษาถึงที่สุดให้ผู้ร้องได้เข้าเฉลี่ยหนี้อย่างเจ้าหนี้สามัญ ดังนี้ ผู้ร้องจะมาอ้างขึ้นใหม่ว่าจะขอรับชำระหนี้ในฐานะเจ้าหนี้บุริมสิทธิ หรือเจ้าหนี้จำนองอันดับ 2 ก่อนเจ้าหนี้สามัญในภายหลังอีกหาได้ไม่ ต้องฟังว่าผู้ร้องไม่มีสิทธิที่จะได้รับชำระหนี้ในฐานะบุริมสิทธิ จะเฉลี่ยหนี้โดยหักหนี้บุริมสิทธิของโจทก์เงินที่เหลือเอาชำระหนี้บุริมสิทธิของผู้ร้อง และเมื่อมีเงินเหลือจากการชำระหนี้บุริมสิทธิของผู้ร้องแล้ว จึงนำไปเฉลี่ยเป็นหนี้สามัญระหว่างโจทก์กับผู้ร้องหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3086/2522

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การหมิ่นประมาททางวาจาต่อบุคคลที่สาม แม้รายละเอียดในฟ้องไม่ตรงกัน แต่การใส่ความทำให้เสียชื่อเสียงยังคงเป็นความผิด
กล่าวว่าทนายความรับเงินเขามาแล้ว ไม่เอามาให้ตัวความเป็นหมิ่นประมาท ไม่เป็นการแสดงความคิดเห็นป้องกันตน
ฟ้องบรรยายว่ากล่าวคำหมิ่นประมาทต่อหน้า น. ทางพิจารณาได้ความว่ากล่าวต่อหน้า ย. ไม่ใช่ข้อสารสำคัญ จำเลยไม่หลงต่อสู้ ศาลลงโทษได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3071-3072/2522

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแบ่งความรับผิดในคดีละเมิด, ข้อจำกัดการอุทธรณ์/ฎีกา, ผลของการขาดนัดยื่นคำให้การ, และการชำระหนี้ที่ไม่อาจแบ่งแยกได้
โจทก์สามคนต่างใช้สิทธิเฉพาะตัวของโจทก์แต่ละคนตามลำพังฟ้องให้จำเลยใช้ค่าเสียหายอันเกิดจากการละเมิดทำให้รถยนต์ของโจทก์แต่ละคนเสียหาย แม้จะรวมฟ้องมาในคดีเดียวกันก็ต้องพิจารณาจำนวนทุนทรัพย์ของคดีสำหรับโจทก์แต่ละคนถ้าทุนทรัพย์ไม่เกิน 50,000 บาท และศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เล็กน้อยก็ฎีกาข้อเท็จจริงไม่ได้ ส่วนทุนทรัพย์ที่ไม่เกิน20,000 บาทนั้น ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ในข้อเท็จจริง แม้ศาลอุทธรณ์จะวินิจฉัยข้อเท็จจริงมาก็เป็นการมิชอบ เพราะปัญหาดังกล่าวยุติตั้งแต่ศาลชั้นต้น
จำเลยที่ 4 ในสำนวนหลังฎีกา แต่ในสำนวนหลังนี้ศาลชั้นต้นสั่งว่าจำเลยที่ 4 ขาดนัดยื่นคำให้การ จำเลยที่ 4 จึงหาอาจเรียกพยานของตนเข้าสืบได้ไม่ ดังนั้นพยานที่จำเลยที่ 4 ซึ่งเป็นจำเลยที่ 2 ในสำนวนแรกนำสืบรวมมาในสำนวนแรก จึงไม่อาจนำมาวินิจฉัยในสำนวนหลังได้
แม้จำเลยที่ 4 จะฎีกาแต่ผู้เดียว แต่คำพิพากษาศาลฎีกาในส่วนที่เป็นผลดีแก่จำเลยที่ 4 เกี่ยวด้วยการชำระหนี้อันไม่อาจแบ่งแยกได้ จึงมีผลถึงจำเลยอื่นที่ไม่ได้ฎีกาด้วย
จำเลยทั้งสองต่างขับรถยนต์ด้วยความเร็วแซงและแข่งกันมาเป็นเหตุให้ชนรถของโจทก์ซึ่งจอดอยู่ พฤติการณ์และความร้ายแรงแห่งละเมิดของจำเลยทั้งสองมีเท่ากัน และเป็นกรณีต่างทำละเมิดโดยไม่ได้ร่วมกัน จึงไม่ต้องร่วมกันใช้ค่าสินไหมทดแทนทั้งหมดแก่โจทก์ จำเลยทั้งสองต้องรับผิดแบ่งออกเป็นส่วนเท่าๆ กัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3071-3072/2522 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ จำกัดทุนทรัพย์, การขาดนัดยื่นคำให้การ, และความรับผิดทางละเมิดแยกส่วน กรณีชนท้าย
โจทก์สามคนต่างใช้สิทธิเฉพาะตัวของโจทก์แต่ละคนตามลำพังฟ้องให้จำเลยใช้ค่าเสียหายอันเกิดจากการละเมิดทำให้รถยนต์ของโจทก์แต่ละคนเสียหาย แม้จะรวมฟ้องมาในคดีเดียวกันก็ต้องพิจารณาจำนวนทุนทรัพย์ของคดีสำหรับโจทก์แต่ละคน ถ้าทุนทรัพย์ไม่เกิน 50,000 บาท และศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เล็กน้อยก็ฎีาข้อเท็จจริงไม่ได้ ส่วนทุนทรัพย์ที่ไม่เกิน 20,000 บาทนั้น ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ในข้อเท็จจริง แม้ศาลอุทธรณ์จะวินิจฉัยข้อเท็จจริงมาก็เป็นการมิชอบเพราะปัญหาดังกล่าวยุติตั้งแต่ศาลชั้นต้น
จำเลยที่ 4 ในสำนวนหลังฎีกา แต่ในสำนวนหลังนี้ศาลชั้นต้นสั่งว่าจำเลยที่ 4 ขาดนัดยื่นคำให้การ จำเลยที่ 4 จึงหาอาจเรียกพยานของตนเข้าสืบได้ไม่ ดังนั้น พยานที่จำเลยที่ 4 ซึ่งเป็นจำเลยที่ 2 ในสำนวนแรกนำสืบรวมมาในสำนวนแรกจึงไม่อาจนำมาวินิจฉัยในสำนวนหลังได้
แม้จำเลยที่ 4 จะฎีกาแต่ผู้เดียว แต่คำพิพากษาศาลฎีกาในส่วนที่เป็นผลดีแก่จำเลยที่ 4 เกี่ยวด้วยการชำระหนี้อันไม่อาจแบ่งแยกได้ จึงมีผลถึงจำเลยอื่นที่ไม่ได้ฎีกาด้วย
จำเลยทั้งสองต่างขับรถยนต์ด้วยความเร็วแซงและแข่งกันมา เป็นเหตุให้ชนรถของโจทก์ซึ่งจอดอยู่ พฤติการณ์และความร้ายแรงแห่งละเมิดของจำเลยทั้งสองมีเท่ากัน และเป็นกรณีต่างทำละเมิดโดยไม่ได้ร่วมกัน จึงไม่ต้องร่วมกันใช้ค่าสินไหมทดแทนทั้งหมดแก่โจทก์จำเลยทั้งสองต้องรับผิดแบ่งออกเป็นส่วนเท่าๆกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3057/2522

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อุทธรณ์รวมคดีอาญา - ศาลอุทธรณ์มีอำนาจยกฟ้องทั้งคดี แม้ไม่อุทธรณ์บางข้อหา หากข้อเท็จจริงเชื่อมโยงกัน
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยฐานมีสุรากลั่นและสุราแช่กรรมหนึ่ง และฐานจำหน่ายสุราอีกกรรมหนึ่ง ศาลชั้นต้น(ศาลแขวง) ยกฟ้องโจทก์สำหรับข้อหาจำหน่ายสุราส่วนข้อหามีสุรากลั่นและสุราแช่แยกลงโทษเป็น 2 กรรม กรรมแรกปรับ 200 บาท ส่วนกรรมหลังปรับ 600 บาท และสั่งรับอุทธรณ์ข้อเท็จจริงของจำเลยเฉพาะกรรมหลังซึ่งปรับ 600 บาทส่วนกรรมแรกไม่รับ เพราะเห็นว่าปรับไม่เกิน 500 บาท ต้องห้ามอุทธรณ์ข้อเท็จจริง แม้ศาลชั้นต้นจะไม่รับอุทธรณ์ข้อหามีสุรากลั่น ก็ต้องถือว่าข้อหามีสุรากลั่นนั้นยังไม่ถึงที่สุด เพราะข้อหามีสุรากลั่นและมีสุราแช่รวมเป็นความผิดอยู่ในกรรมเดียวกัน เมื่อศาลอุทธรณ์พิจารณาแล้วเห็นว่าจำเลยไม่ได้กระทำผิด ย่อมจะยกฟ้องโจทก์ไปถึงข้อหามีสุรากลั่นได้ด้วย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 185 ประกอบด้วย มาตรา 215
of 19