คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
วิถี ปานะบุตร

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 183 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2120/2522

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีอาญาของผู้เสียหาย: การแจ้งความเท็จและเบิกความเท็จทำให้ผู้อื่นได้รับความเสียหาย
จำเลยเอาความเท็จฟ้องว่าโจทก์ชิงทรัพย์ และเบิกความเท็จทำให้โจทก์เสียหาย โจทก์เป็นผู้เสียหายฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 175,177 ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2113/2522

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การชำระหนี้ผ่านตัวแทนโดยไม่แจ้งให้เจ้าหนี้ทราบ: ผลของการยอมรับตัวแทนโดยปริยายและการชำระหนี้ที่สมบูรณ์
บริษัทตัวแทนจำหน่ายรถยนต์ของโจทก์มอบรถยนต์ของโจทก์แก่ส.ไปขายต่างจังหวัด.จำเลยซื้อรถยนต์จากส. โดยจำเลยลงลายมือชื่อในแบบพิมพ์สัญญา ไปให้โจทก์กรอกข้อความส่งคืนมา ทำอยู่ 1 ปี ขายรถยนต์ไปกว่า 100 คัน โดยโจทก์ไม่ทักท้วงจน ส. หลบหนีไป เป็นการยอมให้ ส.เชิดออกเป็นตัวแทนของโจทก์ จำเลยชำระราคารถยนต์แก่ ส.ถือว่าชำระแก่ผู้มีอำนาจรับชำระ อยู่ในความหมายของคำว่าชำระหนี้แก่เจ้าของรถยนต์ ไม่ถือเป็นการฝากส่งเงินแก่โจทก์ตามที่ระบุในสัญญา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2107/2522

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำสั่งรับอุทธรณ์ต้องแสดงเหตุผลว่ามีปัญหาสำคัญอันควรสู่ศาลอุทธรณ์ มิฉะนั้นถือว่าไม่ได้รับอุทธรณ์
ผู้พิพากษาผู้พิจารณาคดีในศาลแขวงได้มีคำสั่งในคดีที่ต้องห้าม อุทธรณ์ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวง ฯลฯ มาตรา22 ว่า "ครบ กำหนดวันที่ 1 เป็นวันเสาร์และวันที่ 2 เป็นวันอาทิตย์ซึ่งหยุดราชการ โจทก์ร่วมจึงมีสิทธิยื่นวันนี้ได้ รับเป็นอุทธรณ์ สำเนาให้จำเลย" ดังนี้ ไม่ถือว่าผู้พิพากษาผู้นั้นได้มีคำสั่งอนุญาตให้อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง เพราะในคำสั่งมิได้ชี้แจงแสดงเหตุผลว่าข้อความที่ตัดสินนั้นเป็นปัญหาสำคัญอันควรสู่ศาลอุทธรณ์และมีคำสั่งอนุญาตให้อุทธรณ์ได้ อุทธรณ์ของโจทก์ร่วมจึงไม่เป็นอุทธรณ์ที่จะรับไว้พิจารณา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2107/2522 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับอุทธรณ์ต้องมีเหตุผลชัดเจน ศาลชั้นต้นต้องชี้แจงปัญหาสำคัญอันควรสู่ศาลอุทธรณ์
ผู้พิพากษาผู้พิจารณาคดีในศาลแขวงได้มีคำสั่งในคดีที่ต้องห้ามอุทธรณ์ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวง ฯลฯ มาตรา 22 ว่า "ครบกำหนดวันที่ 1 เป็นวันเสาร์และวันที่ 2 เป็นวันอาทิตย์ซึ่งหยุดราชการ โจทก์ร่วมจึงมีสิทธิยื่นวันนี้ได้ รับเป็นอุทธรณ์ สำเนาให้จำเลย" ดังนี้ไม่ถือว่าผู้พิพากษาผู้นั้นได้มีคำสั่งอนุญาตให้อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงเพราะในคำสั่งมิได้ชี้แจงแสดงเหตุผลว่า ข้อความที่ตัดสินนั้นเป็นปัญหาสำคัญอันควรสู่ศาลอุทธรณ์และมีคำสั่งอนุญาตให้อุทธรณ์ได้ อุทธรณ์ของโจทก์ร่วมจึงไม่เป็นอุทธรณ์ที่จะรับไว้พิจารณา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2091/2522

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่ายของบริษัท และความรับผิดร่วมกับลูกจ้างในการชำระภาษีที่ไม่ได้หัก
เมื่อบริษัทโจทก์จ่ายเงินค่าจ้างรายเดือนให้แก่คนงาน อันเป็นเงินได้ พึงประเมินตามประมวลรัษฎากร มาตรา 40(1) บริษัทโจทก์จึงมีหน้าที่ หักภาษีเงินได้ไว้ทุกคราวที่จ่ายค่าจ้าง ตามวิธีการในบทบัญญัติของมาตรา 50(1) โดยคำนวณภาษีจากจำนวนเงินเสมือนหนึ่งว่าได้จ่ายทั้งปี หาจำต้องรอให้ครบรอบปีภาษีเพื่อให้มีเงินได้พึงประเมินถึงเกณฑ์ที่จะต้องเสียภาษี และผู้มีเงินได้ ต้องยินยอมให้หักภาษีเสียก่อนไม่
บริษัทโจทก์มีหน้าที่ต้องหักภาษี ณ ที่จ่ายตามมาตรา 50 แต่มิได้หักและนำส่งเงินภาษีนั้นภายในกำหนดเวลาตามมาตรา 52 จึงต้องรับผิดเสียเงินเพิ่ม ตามมาตรา 27 แม้ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 206 ลงวันที่ 15 กันยายน 2515 ข้อ 10 แก้ไขเพิ่มเติม มาตรา 52 เดิม เพิ่มความตอนท้ายว่า "ไม่ว่า ตนจะไดัหักภาษีไว้แล้วหรือไม่" ก็เพื่อให้ได้ความชัดเจนขึ้นเท่านั้น หาใช่มาตรา 52 เดิมมีความหมายว่า เมื่อบริษัทโจทก์ไม่ได้หักภาษีไว้ก็ไม่มีหน้าที่นำส่ง และเมื่อ ไม่ต้องนำส่งจึงไม่ต้องเสียเงินเพิ่มตามมาตรา 27 ไม่
บริษัทโจทก์เป็นผู้จ่ายเงินตามมาตรา 50 แต่มิได้หักภาษีและมิได้นำส่ง เงินภาษีนั้นตามมาตรา 52 บริษัทโจทก์จึงต้องรับผิดร่วมกับลูกจ้างผู้มีเงินได้ ในการเสียภาษีที่ต้องชำระตามจำนวนเงินภาษีที่ไม่ได้หักและนำส่ง ตามมาตรา 54 วรรคแรก และภาษีเงินได้ดังกล่าวเป็นประเภทภาษีอากรประเมิน ซึ่งเจ้าพนักงานประเมินเป็นผู้ประเมินเกี่ยวกับภาษีในหมวดภาษีเงินได้นี้ ตามมาตรา 38 เจ้าพนักงานประเมินจึงมีอำนาจประเมินเรียกเก็บภาษีจาก โจทก์ได้ แม้จะยังไม่ได้ประเมินเรียกเก็บเอาแก่ลูกจ้างผู้มีเงินได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2036/2522

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลื่อนนัดพิจารณาคดีและการขาดนัดพิจารณา: จำเลยไม่จงใจขาดนัดหากไม่ทราบวันนัดใหม่
ศาลชั้นต้นนัดสืบพยานโจทก์วันที่ 5 ตุลาคม 2520 ในวันที่4 ตุลาคม 2520 ทนายจำเลยยื่นคำร้องขอเลื่อนคดีอ้างว่าติดว่าความที่ศาลอื่น ขอให้เลื่อนไปนัดสืบพยานโจทก์วันที่ 14 พฤศจิกายน 2520ครั้นถึงวันนัดทนายจำเลยไปว่าความศาลอื่นตามที่อ้าง ดังนี้การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งในวันที่ 5 ตุลาคม 2520 อันเป็นวันนัดสืบพยานโจทก์อนุญาตให้เลื่อนคดีกำหนดวันนัดใหม่ ให้นัดสืบพยานโจทก์วันที่ 14พฤศจิกายน 2520 เวลา 8.30 น. อันเป็นวันที่ทนายจำเลยขอให้นัดไว้ แต่ไม่ปรากฏว่าทนายจำเลยได้ทราบคำสั่งอนุญาตให้เลื่อนคดีไปนัดสืบพยานโจทก์ในวันนัดใหม่นั้นแล้ว แม้ทนายจำเลยจะไม่ได้ติดตามสอบถามเพราะหลงลืม และต่อมาจำเลยและทนายจำเลยไม่ได้มาศาลในวันนัดสืบพยานโจทก์ ก็ยังไม่พอจะถือว่าจำเลยจงใจขาดนัดพิจารณา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2010/2522 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความชอบของฟ้องอาญา: การระบุเวลาเกิดเหตุที่ไม่ชัดเจนแต่เพียงพอให้จำเลยเข้าใจข้อหา
โจทก์บรรยายฟ้องเกี่ยวกับเวลากระทำผิดในข้อหาบุกรุก หมิ่นประมาท และดูหมิ่นโจทก์ว่า เหตุเกิดเมื่อกลางเดือนกรกฎาคม 2521 ถึงปลายเดือนสิงหาคม 2521 วันใดไม่ปรากฏชัด เวลากลางวันนั้นเป็นข้อเท็จจริงเกี่ยวกับเวลาที่เกิดการกระทำความผิดเป็นรายละเอียดมาด้วยซึ่งพอสมควรเท่าที่จะให้จำเลยเข้าใจข้อหาได้ดีแล้ว ฟ้องโจทก์ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158(5)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2010/2522

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความชัดเจนของวันเวลาเกิดเหตุในฟ้องอาญา: ฟ้องไม่เคลือบคลุมหากระบุช่วงเวลาและรายละเอียดเพียงพอให้จำเลยเข้าใจ
โจทก์บรรยายฟ้องเกี่ยวกับเวลากระทำผิดในข้อหาบุกรุกหมิ่นประมาท และ ดูหมิ่นโจทก์ว่า เหตุเกิดเมื่อกลางเดือนกรกฎาคม 2521 ถึงปลายเดือนสิงหาคม 2521 วันใดไม่ปรากฏชัด เวลากลางวันนั้นเป็นข้อเท็จจริงเกี่ยวกับเวลาที่เกิดการกระทำความผิดเป็นรายละเอียดมาด้วยซึ่งพอสมควรเท่าที่จะให้จำเลยเข้าใจข้อหาได้ดีแล้ว ฟ้องโจทก์ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158(5)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1861/2522

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ภัตตาคารรับฝากรถยนต์: หน้าที่ความระมัดระวังเสมือนของตนเอง และความรับผิดในความเสียหาย
พนักงานของภัตตาคารรับรถยนต์และกุญแจรถจากผู้มากินอาหารในภัตตาคาร ขับรถไปจอดในที่จอดรถซึ่งเป็นถนนสาธารณะหน้าภัตตาคารแล้วเก็บกุญแจไว้ที่แผงเก็บกุญแจรถ มีใบรับฝากให้โจทก์ไว้ โจทก์กินอาหารแล้วออกมา รถหายไปแล้วเป็นการฝากทรัพย์ ไม่ได้ความว่าจำเลยใช้ความระวังเสมือนการเก็บรักษารถของจำเลยเอง จำเลยต้องรับผิดใช้ราคารถแก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1781/2522

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับฟังพยานหลักฐานในคดีข่มขืนชำเรา แม้ผู้เสียหายไม่สามารถเบิกความได้โดยตรง แต่จากคำให้การชั้นสอบสวน พยานแวดล้อม และคำรับสารภาพ
ผู้เสียหายในคดีข่มขืนชำเราให้การไว้ในชั้นสอบสวน แต่โจทก์นำมาเบิกความในชั้นศาลไม่ได้เพราะไปจากบ้านหาตัวไม่พบ ศาลรับฟังประกอบกับพยานโจทก์และคำรับของจำเลยชั้นสอบสวนลงโทษจำเลยได้
of 19