คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
วิถี ปานะบุตร

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 183 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 100/2523

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดฐานปลอมเอกสารราชการ-ช่วยเหลือคนต่างด้าว: กรรมเดียวผิดหลายบท
จำเลยลงชื่อและลงวันที่ย้อนหลังในทะเบียนบ้านและสำเนาทะเบียนบ้านเป็นการกระทำในระหว่างที่จำเลยย้ายไปรับราชการที่อำเภออื่นแล้ว จำเลยไม่มีอำนาจหน้าที่อย่างใดที่กิ่งอำเภอเดิมอีก และการลงวันที่ย้อนหลังนั้นจำเลยมีเจตนาให้เห็นว่าบุคคลเข้ามามีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านระหว่างที่จำเลยรับราชการอยู่ที่กิ่งอำเภอเดิมซึ่งไม่เป็นความจริง การกระทำของจำเลยจึงเป็นการปลอมเอกสารราชการ และเมื่อจำเลยนำเอกสารดังกล่าวไปอ้างและแสดงต่อ ฉ. เจ้าหน้าที่ถ่ายภาพทำบัตรประจำตัวประชาชน จน ฉ. เชื่อว่าเป็นความจริงจึงได้ถ่ายภาพและออกใบแทนบัตรประจำตัวประชาชนให้แก่บุคคลนั้นไป ถือได้ว่าจำเลยได้ใช้เอกสารราชการปลอมแล้ว
จ. เป็นคนสัญชาติลาวและจำเลยพาไปทำบัตรประจำตัวประชาชนเป็นการช่วยเหลือคนต่างด้าวซึ่งรู้ว่าเข้ามาในราชอาณาจักรโดยฝ่าฝืนพระราชบัญญัติคนเข้าเมืองมิให้ถูกจับกุม
การที่จำเลยกระทำความผิดฐานปลอมเอกสารก็ดี ใช้เอกสารปลอมก็ดี ก็เพื่อช่วยเหลือคนต่างด้าวให้มีบัตรประจำตัวเช่นเดียวกับคนสัญชาติไทย ซึ่งการกระทำความผิดดังกล่าวเป็นความผิดฐานช่วยเหลือคนต่างด้าวเพื่อมิให้ถูกจับกุมอันเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2493 มาตรา 63 อีกบทหนึ่ง การกระทำของจำเลยจึงเป็นกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบทตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 90 ต้องลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 268 ประกอบด้วย มาตรา 265ซึ่งเป็นบทหนัก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 76/2523

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขอพิจารณาคดีใหม่ต้องยื่นต่อศาลชั้นต้น การยื่นในฎีกาไม่ชอบ
คำขอให้พิจารณาคดีใหม่ของคู่ความฝ่ายซึ่งศาลแสดงว่าขาดนัดพิจารณา และมีคำพิพากษาให้แพ้คดีในประเด็นที่พิพาทตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 207 นั้น จะต้องยื่นต่อศาลชั้นต้น การที่มีคำขอให้พิจารณาใหม่มาในฎีกาเป็นการไม่ชอบด้วยบทบัญญัติแห่ง ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 208

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 66/2523

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าเช่านาปรัง: แม้ทำนอกฤดู ก็ต้องชำระค่าเช่าตามสัญญาเช่านาปกติ
การทำนาปรังเป็นการทำนานอกฤดูการทำนาประจำปี ทั้งคำว่า 'พืชอายุสั้น' และ 'พืชไร่' ตามพระราชบัญญัติควบคุมการเช่านา มาตรา 20 ก็มิได้หมายความถึงข้าว ฉะนั้นเมื่อผู้เช่านาทำนาปรังในนาพิพาท ผู้เช่านาก็ต้องชำระค่าเช่าสำหรับการทำนาปรังนั้น และเมื่อฤดูการทำนาปรังสิ้นสุดในเดือนสิงหาคม ผู้ให้เช่านาก็ฟ้องให้ผู้เช่าชำระค่าเช่านานั้นในเดือนกันยายน ต่อมาได้ เพราะเป็นเวลาภายหลังจากเสร็จฤดูการทำนาปรังปีนั้นแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3388/2522 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเจ้าหนี้ในการยึดทรัพย์มรดกที่ยังมิได้แบ่งปัน และการรับคำร้องขอค่าธรรมเนียมศาลหลังพ้นกำหนด
ผู้ร้องกับสามีเป็นเจ้าของทรัพย์พิพาท จำเลยเป็นบุตรของผู้ร้อง เมื่อสามีของผู้ร้องถึงแก่กรรมไปโดยมิได้ทำพินัยกรรมยกมรดกส่วนของตนให้แก่ผู้ใด ดังนั้น ส่วนที่เป็นของสามีจึงเป็นมรดกตกทอดแก่ทายาทโดยธรรมทุกคน รวมทั้งผู้ร้องซึ่งเป็นภริยาและจำเลยซึ่งเป็นบุตรด้วย เมื่อทรัพย์นั้นยังมิได้แบ่งปันกันระหว่างทายาท โจทก์ผู้เป็นเจ้าหนี้ของจำเลยตามคำพิพากษา ย่อมมีสิทธิ์ที่จะยึดทรัพย์ดังกล่าวเพื่อบังคับชำระหนี้ได้ ผู้ร้องเป็นเพียงเจ้าของร่วมกันหามีอำนาจร้องขอให้ปล่อยทรัพย์ที่ยึดได้ไม่ ได้แต่จะร้องขอส่วนแบ่งหรือร้องขอให้กับเงินส่วนของตนออกเมื่อขายทรัพย์แล้วเท่านั้น
โจทก์ยื่นอุทธรณ์ภายในกำหนดอายุอุทธรณ์พร้อมด้วยคำขออุทธรณ์คนอนาถาระหว่างไต่สวน ก่อนศาลมีคำสั่ง แต่พ้นกำหนดอายุอุทธรณ์แล้ว โจทก์ขอเสียค่าธรรมเนียมในชั้นอุทธรณ์ ศาลชั้นต้นอนุญาตและสั่งรับอุทธรณ์โจทก์ เช่นนี้ถือได้ว่าศาลชั้นต้นสั่งชอบแล้วและไม่ขาดอายุอุทธรณ์ เพราะในระหว่างศาลชั้นต้นดำเนินการตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 156 นั้น กฎหมายไม่ได้บังคับให้โจทก์ต้องวางเงินค่าธรรมเนียม (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 679/2486 แล 22/2493)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3388/2522

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเจ้าหนี้ในการยึดทรัพย์มรดกที่ยังไม่ได้แบ่ง และการรับคำอุทธรณ์พร้อมคำขออนาถา
ผู้ร้องกับสามีเป็นเจ้าของทรัพย์พิพาท จำเลยเป็นบุตรของผู้ร้อง เมื่อสามีของผู้ร้องถึงแก่กรรมไปโดยมิได้ทำพินัยกรรมยกมรดกส่วนของตนให้แก่ผู้ใด ดังนั้น ส่วนที่เป็นของสามีจึงเป็นมรดกตกทอดแก่ทายาทโดยธรรมทุกคน รวมทั้งผู้ร้องซึ่งเป็นภริยาและจำเลยซึ่งเป็นบุตรด้วย เมื่อทรัพย์นั้นยังมิได้แบ่งปันกันระหว่างทายาท โจทก์ผู้เป็นเจ้าหนี้ของจำเลยตามคำพิพากษา ย่อมมีสิทธิที่จะยึดทรัพย์ดังกล่าวเพื่อบังคับชำระหนี้ได้ ผู้ร้องเป็นเพียงเจ้าของร่วมกันหามีอำนาจร้องขอให้ปล่อยทรัพย์ที่ยึดได้ไม่ ได้แต่จะร้องขอส่วนแบ่งหรือร้องขอให้กันเงินส่วนของตนออกเมื่อขายทรัพย์แล้วเท่านั้น
โจทก์ยื่นอุทธรณ์ภายในกำหนดอายุอุทธรณ์พร้อมด้วยคำขออุทธรณ์อย่างคนอนาถาระหว่างไต่สวน ก่อนศาลมีคำสั่งแต่พ้นกำหนดอายุอุทธรณ์แล้ว โจทก์ขอเสียค่าธรรมเนียมในชั้นอุทธรณ์ ศาลชั้นต้นอนุญาตและสั่งรับอุทธรณ์ของโจทก์เช่นนี้ถือได้ว่าศาลชั้นต้นสั่งชอบแล้วและไม่ขาดอายุอุทธรณ์ เพราะในระหว่างศาลชั้นต้นดำเนินการตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 156 นั้น กฎหมายไม่ได้บังคับให้โจทก์ต้องวางเงินค่าธรรมเนียม (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 679/2486 และ 22/2493)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3297/2522 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดฐานปลอมเอกสารและปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริต เจ้าหน้าที่เบียดบังเงินวัด ศาลฎีกาพิพากษากลับ
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยกับพวกซึ่งเป็นเจ้าพนักงานมีหน้าที่ดูแลรักษาเอกสารเกี่ยวกับการเบิกจ่ายเงินของวัด ได้บังอาจร่วมกันปลอมเอกสารคือใบเสร็จรับเงินของคณะกรรมการวัดขึ้นทั้งฉบับ เพื่อรับเงินบำรุงวัดไปโดยอาศัยที่ตนมีหน้าที่นั้น และจำเลยกับพวกได้บังอาจร่วมกันเบียดบังเอาเงินจำนวนดังกล่าวเป็นของตนเองโดยทุจริต อันเป็นการปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริต และโดยมิชอบ เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่กรรมการวัดและเพื่อให้เกิดความเสียหายแก่กระทรวงศึกษาธิการ ผู้ว่าราชการจังหวัด และประชาชนทั่วไป ขอให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 147,157 และ 161 ดังนี้ ถือได้ว่า โจทก์บรรยายฟ้องความผิดฐานปลอมเอกสารตามมาตรา 264 ไว้ครบถ้วนและประสงค์ให้ลงโทษจำเลยในความผิดดังกล่าวด้วย เมื่อได้ความว่าจำเลยกระทำความผิดฐานปลอมเอกสารตาม-มาตรา 264 ตามที่โจทก์บรรยายฟ้องไว้ จึงลงโทษจำเลยตามมาตราดังกล่าวได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3297/2522

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดฐานปลอมเอกสารและปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริต โดยศาลฎีกาวินิจฉัยว่าโจทก์บรรยายฟ้องความผิดฐานปลอมเอกสารครบถ้วน
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยกับพวกซึ่งเป็นเจ้าพนักงานมีหน้าที่ดูแลรักษาเอกสารเกี่ยวกับการเบิกจ่ายเงินของวัด ได้บังอาจร่วมกันปลอมเอกสารคือใบเสร็จรับเงินของคณะกรรมการวัดขึ้นทั้งฉบับ เพื่อรับเงินบำรุงวัดไปโดยอาศัยโอกาสที่ตนมีหน้าที่นั้น และจำเลยกับพวกได้บังอาจร่วมกันเบียดบังเอาเงินจำนวนดังกล่าวเป็นของตนเองโดยทุจริต อันเป็นการปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริตและโดยมิชอบ เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่กรรมการวัด และเพื่อให้เกิดความเสียหายแก่กระทรวงศึกษาธิการ ผู้ว่าราชการจังหวัด และประชาชนทั่วไป ขอให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 147,157 และ161ดังนี้ ถือได้ว่า โจทก์บรรยายฟ้องความผิดฐานปลอมเอกสารตามมาตรา 264 ไว้ครบถ้วน และประสงค์ให้ลงโทษจำเลยในความผิดดังกล่าวด้วย เมื่อได้ความว่าจำเลยกระทำความผิดฐานปลอมเอกสารตามมาตรา 264 ตามที่โจทก์บรรยายฟ้องไว้ จึงลงโทษจำเลยตามมาตราดังกล่าวได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3272/2522

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขาดนัดพิจารณาคดี: ผลกระทบต่อการพิจารณาใหม่ และสิทธิในการฟ้องคดีใหม่
โจทก์จำเลยไม่มาศาลในวันพิจารณา ซึ่งจำเลยมีหน้าที่นำสืบก่อน ศาลจำหน่ายคดี โจทก์ได้แต่ฟ้องใหม่ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 200 วรรค 2 โจทก์ขอให้พิจารณาใหม่ไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3234/2522 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีต่อศาลไทยของสำนักงานสาขาบริษัทต่างชาติ: การระบุชื่อจำเลยที่ถูกต้อง
ในคำฟ้องช่องคู่ความ โจทก์ระบุชื่อจำเลยว่า สายเดินเรือเมอสค์ สาขากรุงเทพฯ และบรรยายในฟ้องว่า จำเลยอันหมายถึงบริษัทดัมป์สกิปเซลสกาเบ็ท อาฟ 1912 อักตีเซลสกาป จำกัด และบริษัทอักตีเซลสกาเบ็ท ดัมป์สกิปเซลสกาเบ็ท สเว็นด์บอร์ก จำกัด ซึ่งจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลตามกฎหมายของราชอาณาจักรแห่งประเทศเดนมารค์ ดำเนินธุรกิจในการขนส่งทางทะเลและจดทะเบียนพาณิชย์ต่อสำนักงานทะเบียนพาณิชย์กระทรวงพาณิชย์ และใช้ชื่อในการประกอบการพาณิชยกิจว่า "สายเดินเรือเมอสค์ สาขากรุงเทพฯ" โดยมีสำนักทำการงานเพื่อดำเนินกิจการดังกล่าว สำนักงานแห่งใหญ่ อยู่เลขที่ 231/2 ถนนสาธรใต้ ตำบลยานนาวา อำเภอยานนาวา กรุงเทพมหานคร เป็นที่เห็นได้ว่า โจทก์ฟ้องบริษัทดัมป์สกิปเซลสกาเบ็ท อาฟ 1912 อักตีเซลสกาป จำกัด และ บริษัทอักตีเซลสกาเบ็ท ดัมป์สกิป เซลสกาเบ็ท สเว็นด์บอร์ก จำกัด ซึ่งใช้ชื่อในการประกอบกิจการพาณิชย์ด้านรับส่งสินค้าในประเทศไทยว่า "สายเดินเรือเมอสค์ สาขากรุงเทพฯ" หาใช่ฟ้องสายเดินเรือเมอสค์ สาขากรุงเทพฯ ให้ใช้ค่าสินไหมทดแทนตามลำพังตนเองไม่ และดังนั้นสายเดินเรือเมอสค์ สาขากรุงเทพฯ จึงอยู่ในฐานะเป็นสำนักทำการงาน อันเกิดจากการประกอบกิจการร่วมกันของบริษัททั้งสองดังกล่าว มิใช่กิจการและบุคคลต่างหากออกไปถือได้ว่าสายเดินเรือเมอสค์ สาขากรุงเทพฯ เป็นสำนักงานสาขาของบริษัททั้งสอง เมื่อบริษัททั้งสองมีสำนักงานสาขาอยู่ในประเทศไทย ซึ่งตามกำหมายถือว่าถิ่นที่มีสาขาสำนักงานเป็นภูมิลำเนาในส่วนกิจการอันทำ ณ ที่นั้น ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 71 โจทก์จึงฟ้องจำเลยต่อศาลแพ่งได้ ตามประมวบกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 4 (2)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3234/2522

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลแพ่ง: การฟ้องบริษัทต่างด้าวที่มีสำนักงานสาขาในไทย
ในคำฟ้องช่องคู่ความ โจทก์ระบุชื่อจำเลยว่า สายเดินเรือเมอสค์สาขากรุงเทพฯ และบรรยายในฟ้องว่า จำเลยอันหมายถึงบริษัทดัมป์สกิปเซลสกาเบ็ทอาฟ1912อักตีเซลสกาปจำกัด และบริษัทอักตีเซลสกาเบ็ทดัมป์สกิปเซลสกาเบ็ทสเว็นด์บอร์ก จำกัด ซึ่งจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลตามกฎหมายของราชอาณาจักรแห่งประเทศเดนมารค์ ดำเนินธุรกิจในการขนส่งทางทะเลและจดทะเบียนพาณิชย์ต่อสำนักงานทะเบียนพาณิชย์กระทรวงพาณิชย์ และใช้ชื่อในการประกอบการพาณิชยกิจว่า "สายเดินเรือเมอสค์สาขากรุงเทพฯ" โดยมีสำนักทำการงานเพื่อดำเนินกิจการดังกล่าว สำนักงานแห่งใหญ่อยู่เลขที่ 231/2 ถนนสาธรใต้ ตำบลยานนาวา อำเภอยานนาวา กรุงเทพมหานคร เป็นที่เห็นได้ว่า โจทก์ฟ้องบริษัทดัมป์สกิปเซลสกาเบ็ทอาฟ1912อักตีเซลสกาป จำกัด และบริษัทอักตีเซลสกาเบ็ทดัมป์สกิปเซลสกาเบ็ทสเว็นด์บอร์ก จำกัด ซึ่งใช้ชื่อในการประกอบกิจการพาณิชย์ด้านรับส่งสินค้าในประเทศไทยว่า "สายเดินเรือเมอสค์ สาขากรุงเทพฯ" หาใช่ฟ้องสายเดินเรือเมอสค์ สาขากรุงเทพฯ ให้ใช้ค่าสินไหมทดแทนตามลำพังตนเองไม่ และดังนั้นสายเดินเรือเมอสค์ สาขากรุงเทพฯจึงอยู่ในฐานะเป็นสำนักทำการงาน อันเกิดจากการประกอบกิจการร่วมกันของบริษัททั้งสองดังกล่าว มิใช่กิจการและบุคคลต่างหากออกไป ถือได้ว่าสายเดินเรือเมอสค์ สาขากรุงเทพฯเป็นสำนักงานสาขาของบริษัททั้งสอง เมื่อบริษัททั้งสองมีสำนักงานสาขาอยู่ในประเทศไทย ซึ่งตามกฎหมายถือว่าถิ่นที่มีสาขาสำนักงานเป็นภูมิลำเนาในส่วนกิจการอันทำ ณ ที่นั้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 71 โจทก์จึงฟ้องจำเลยต่อศาลแพ่งได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 4(2)
of 19