คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
พ.ร.บ.การขนส่ง พ.ศ.2497

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 18 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2945/2522 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การใช้สิทธิโดยไม่สุจริตในการฟ้องเพิกถมติคณะกรรมการ หากได้รับประโยชน์จากมติดังกล่าวแล้ว
โจทก์ฟ้องขอให้ศาลสั่งเพิกถอนมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งอ้างว่าเป็นมติไม่ชอบด้วยกฎหมาย และทำให้โจทก์เสียหายเพราะถูกเดินรถทับเส้นทาง เมื่อได้ความว่ามติที่ประชุมดังกล่าวคณะกรรมการอนุมัติให้จำเลยที่ 3 เพิ่มจำนวนรถและจำนวนเที่ยวรถ ขณะเดียวกันก็อนุมัติให้โจทก์เพิ่มจำนวนรถกับเพิ่มเที่ยวรถจากเดิมด้วย โจทก์ได้ถือเอาประโยชน์จากมติครั้งนี้ตลอดมา มิได้โต้แย้งแต่อย่างใดว่ามติไม่ชอบ คงให้เพิกถอนเฉพาะส่วนที่ไม่เป็นประโยชน์แก่โจทก์ เพื่อโจทก์จะได้รับผลจากมติการประชุมนั้นแต่เพียงฝ่ายเดียวเช่นนี้ ย่อมเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2945/2522

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การใช้สิทธิโดยไม่สุจริตในการฟ้องเพิกถงมติคณะกรรมการ แม้จะได้รับประโยชน์จากมติดังกล่าวแล้ว
โจทก์ฟ้องขอให้ศาลสั่งเพิกถอนมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งอ้างว่าเป็นมติที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายและทำให้โจทก์เสียหายเพราะถูกเดินรถทับเส้นทาง เมื่อได้ความว่ามติที่ประชุมดังกล่าวคณะกรรมการอนุมัติให้จำเลยที่ 3 เพิ่มจำนวนรถและจำนวนเที่ยวรถ ขณะเดียวกันก็อนุมัติให้โจทก์เพิ่มจำนวนรถกับเพิ่มเที่ยวรถจากเดิมด้วย โจทก์ได้ถือเอาประโยชน์จากมติครั้งนี้ตลอดมา มิได้โต้แย้งแต่อย่างใดว่ามติไม่ชอบ คงให้เพิกถอนเฉพาะส่วนที่ไม่เป็นประโยชน์แก่โจทก์ เพื่อโจทก์จะได้รับผลจากมติการประชุมนั้นแต่เพียงฝ่ายเดียวเช่นนี้ ย่อมเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 998-1003/2520

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผู้ขับรถโดยสารไม่ใช่ผู้ประกอบการ ไม่ผิดตาม พ.ร.บ.ขนส่ง
ผู้ขับรถยนต์โดยสารประจำทางซึ่งเป็นลูกจ้างของผู้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่ง ไม่ใช่ผู้ประกอบการขนส่งประจำทาง ไม่มีความผิดตาม พระราชบัญญัติขนส่ง พ.ศ.2497 มาตรา 10,59 ในการประกอบการขนส่งโดยไม่ได้รับอนุญาต

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1671/2517

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอนุญาตเดินรถทับซ้อนกันทางหลวงจังหวัด ไม่ถือเป็นการละเมิดสิทธิสัมปทาน
โจทก์ได้รับอนุญาตจากกรมการขนส่งให้ทำการขนส่งเดินรถยนต์โดยสารประจำทางตามพระราชบัญญัติการขนส่งพ.ศ.2497 ในเส้นทางสายที่ 1343 จากชัยภูมิ - ห้วยชันต่อมาจำเลยได้รับอนุญาตจากทางจังหวัดชัยภูมิให้เดินรถยนต์โดยสารในเส้นทางสายชัยภูมิ - หนองบัวแดง ทับเส้นทางเดินรถยนต์ประจำทางของโจทก์ตั้งแต่ตัวเมืองจังหวัดชัยภูมิถึงทางแยกหน่วยขยายพันธุ์พืชชัยภูมิ เป็นระยะทาง 6 กิโลเมตร รองอธิบดีกรมการขนส่งยืนยันว่าเส้นทางที่อนุญาตให้ผู้รับสัมปทานเดินรถยนต์ประจำทางนั้นอาจจะทับกันเป็นบางตอนหรือทับกันตลอดสายก็ได้. เส้นทางที่โจทก์จำเลยเดินรถยนต์ประจำทางทับกันบางตอนจึงเป็นทางร่วม ต่างมีสิทธิที่จะเดินทางเดียวกันได้. เมื่อทางจังหวัดตั้งกรรมการพิจารณาเรื่องราวให้สัมปทานเดินรถยนต์ประจำทางสายชัยภูมิ - หนองบัวแดงโจทก์เองก็ยื่นเรื่องราวขออนุญาตพร้อมกับจำเลยและบริษัทอื่น แต่คณะกรรมการพิจารณาอนุญาตให้จำเลยผู้เดียวเป็นผู้ได้รับสัมปทาน ทั้งเส้นทางสายนี้ก็เป็นทางหลวงจังหวัด อยู่ในความควบคุมดูแลของจังหวัดชัยภูมิ มิใช่ทางที่กรมการขนส่งประกาศเป็นเส้นทางของกรมการขนส่ง ดังนั้น เมื่อจำเลยได้รับอนุญาตจากทางจังหวัดชัยภูมิให้เดินรถยนต์ประจำทางในเส้นทางสายนี้ได้ แม้จะทับเส้นทางซึ่งโจทก์ได้รับอนุญาตเป็นบางตอน ก็ถือไม่ได้ว่าเป็นการแข่งขันกับโจทก์การที่จำเลยนำรถยนต์โดยสารเข้าวิ่งรับส่งคนโดยสารตามที่ได้รับอนุญาตจึงไม่เป็นการทำละเมิดต่อโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1671/2517 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัมปทานเดินรถทับซ้อน: การอนุญาตเดินรถของจังหวัดไม่ถือเป็นการแข่งขันละเมิดสิทธิสัมปทานของกรมขนส่ง
โจทก์ได้รับอนุญาตจากกรมการขนส่งให้ทำการขนส่งเดินรถยนต์โดยสารประจำทางตามพระราชบัญญัติการขนส่งพ.ศ.2497 ในเส้นทางสายที่ 1343 จากชัยภูมิ - ห้วยชัน ต่อมาจำเลยได้รับอนุญาตจากทางจังหวัดชัยภูมิให้เดินรถยนต์โดยสารในเส้นทางสายชัยภูมิ - หนองบัวแดง ทับเส้นทางเดินรถยนต์ประจำทางของโจทก์ตั้งแต่ตัวเมืองจังหวัดชัยภูมิถึงทางแยกหน่วยขยายพันธุ์พืชชัยภูมิเป็นระยะทาง 6 กิโลเมตร รองอธิบดีกรมการขนส่งยืนยันว่าเส้นทางที่อนุญาตให้ผู้รับสัมปทานเดินรถยนต์ประจำทางนั้นอาจจะทับกันเป็นบางตอนหรือทับกันตลอดสายก็ได้ เส้นทางที่โจทก์จำเลยเดินรถยนต์ประจำทางทับกันบางตอนจึงเป็นทางร่วม ต่างมีสิทธิที่จะเดินทางเดียวกันได้ เมื่อทางจังหวัดตั้งกรรมการพิจารณาเรื่องราวให้สัมปทานเดินรถยนต์ประจำทางสายชัยภูมิ - หนองบัวแดง โจทก์เองก็ยื่นเรื่องราวขออนุญาตพร้อมกับจำเลยและบริษัทอื่นแต่คณะกรรมการพิจารณาอนุญาตให้จำเลยผู้เดียวเป็นผู้ได้รับสัมปทานทั้งเส้นทางสายนี้ก็เป็นทางหลวงจังหวัด อยู่ในความควบคุมดูแลของจังหวัดชัยภูมิ มิใช่ทางที่กรมการขนส่งประกาศเป็นเส้นทางของกรมการขนส่ง ดังนั้น เมื่อจำเลยได้รับอนุญาตจากทางจังหวัดชัยภูมิให้เดินรถยนต์ประจำทางในเส้นทางสายนี้ได้ แม้จะทับเส้นทางซึ่งโจทก์ได้รับอนุญาตเป็นบางตอน ก็ถือไม่ได้ว่าเป็นการแข่งขันกับโจทก์การที่จำเลยนำรถยนต์โดยสารเข้าวิ่งรับส่งคนโดยสารตามที่ได้รับอนุญาตจึงไม่เป็นการทำละเมิดต่อโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 909/2517

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลในการเพิกถอนใบอนุญาตขับรถกรณีขับประมาท และขอบเขตการพิจารณาโทษ
มาตรา 66 แห่งพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2477 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติจราจรทางบก (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2508 มาตรา 13 และประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 59 ข้อ11 บัญญัติว่าเมื่อผู้ใดฝ่าฝืนบทแห่งพระราชบัญญัตินี้ ให้ศาลมีอำนาจถอนใบอนุญาตขับรถได้และพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2477 มาตรา 4(14) ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติจราจรทางบก (ฉบับที่ 4)พ.ศ. 2508 มาตรา 3 ให้วิเคราะห์ศัพท์คำว่า ใบอนุญาตขับรถ ให้หมายความว่าใบอนุญาตให้ผู้ขับทำการขับขี่หรือลากเข็นรถหรือรถรางตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์ รถจ้างรถลาก ล้อเลื่อน การจดทะเบียนคนขับรถรางและการขนส่ง ดังนี้ ใบอนุญาตผู้ประจำเครื่องอุปกรณ์การขนส่งสำหรับหน้าที่ผู้ขับรถยนต์ซึ่งนายทะเบียนการขนส่งออกให้แก่จำเลยตามพระราชบัญญัติการขนส่งจึงเป็นใบอนุญาตขับรถตามความหมายในพระราชบัญญัติจราจรทางบกเมื่อจำเลยกระทำผิดและศาลพิพากษาลงโทษจำเลย (ตามพระราชบัญญัติจราจรทางบก มาตรา 66 ที่แก้ไขแล้ว) ศาลก็มีอำนาจเพิกถอนใบอนุญาตผู้ประจำเครื่องอุปกรณ์การขนส่งสำหรับหน้าที่ผู้ขับรถที่กล่าวนั้นเสียได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 909/2517 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลในการเพิกถอนใบอนุญาตขับรถกรณีขับประมาท และการตีความคำว่า 'ใบอนุญาตขับรถ' ตามกฎหมาย
มาตรา 66 แห่งพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2477 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติจราจรทางบก (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2508 มาตรา 13 และประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 59 ข้อ11 บัญญัติว่าเมื่อผู้ใดฝ่าฝืนบทแห่งพระราชบัญญัตินี้ ให้ศาลมีอำนาจถอนใบอนุญาตขับรถได้และพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2477มาตรา 4(14) ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติจราจรทางบก (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2508 มาตรา 3 ให้วิเคราะห์ศัพท์คำว่าใบอนุญาตขับรถให้หมายความว่าใบอนุญาตให้ผู้ขับทำการขับขี่หรือลากเข็นรถหรือรถรางตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์ รถจ้างรถลาก ล้อเลื่อน การจดทะเบียนคนขับรถรางและการขนส่ง ดังนี้ ใบอนุญาตผู้ประจำเครื่องอุปกรณ์การขนส่งสำหรับหน้าที่ผู้ขับรถยนต์ ซึ่งนายทะเบียนการขนส่งออกให้แก่จำเลยตามพระราชบัญญัติการขนส่ง จึงเป็นใบอนุญาตขับรถตามความหมายในพระราชบัญญัติจราจรทางบก เมื่อจำเลยกระทำผิดและศาลพิพากษาลงโทษจำเลย (ตามพระราชบัญญัติจราจรทางบก มาตรา 66 ที่แก้ไขแล้ว) ศาลก็มีอำนาจเพิกถอนใบอนุญาตผู้ประจำเครื่องอุปกรณ์การขนส่งสำหรับหน้าที่ผู้ขับรถที่กล่าวนั้นเสียได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1322-1324/2510

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจการกำหนดสถานที่จอดพักรถและสถานีขนส่ง: ความขัดแย้งระหว่าง พ.ร.บ.จราจรทางบก และ พ.ร.บ.การขนส่ง
คดีอาญา จำเลยอ้างพยานเอกสารซึ่งอยู่ในความครอบครองของจำเลยและโจทก์ไม่รับรองความถูกต้อง เมื่อจำเลยไม่สืบพยานประกอบ พยานเอกสารนั้นก็รับฟังไม่ได้ แต่ถ้าพยานเอกสารนั้นเป็นหนังสือราชการ ซึ่งต้นฉบับอยู่ในความครอบครองของ ทางราชการและที่จำเลยอ้างส่งต่อศาลเป็นสำเนาซึ่งเจ้าหน้าที่ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 93(3) รับรองถูกต้อง ก็รับฟังได้ ไม่ต้องสืบพยานประกอบ
ตามพระราชบัญญัติการขนส่ง พ.ศ. 2497 เป็นอำนาจของรัฐมนตรี ที่จะกำหนดสถานที่ที่จะใช้เป็นสถานีขนส่ง และต้องประกาศในราชกิจจานุเบกษาเมื่อประกาศกำหนดสถานที่ที่จะใช้เป็นสถานีขนส่งแล้ว ผู้ประกอบการขนส่งจะต้องใช้สถานที่นั้นเป็นที่หยุดหรือจอดยานพาหนะ ถ้าฝ่าฝืนมีความผิดตามมาตรา 69 และอธิบดีมีอำนาจกำหนดค่าบริการที่ผู้ประกอบการขนส่งจะต้องชำระให้แก่สถานีขนส่งตามมาตรา 50(1) แต่ถ้ารัฐมนตรียังไม่ได้กำหนดสถานที่ให้เป็นสถานีขนส่งผู้ประกอบการขนส่งจัดหาสถานที่จอดพักรถโดยสารให้คนขึ้นลงได้เอง โดยไม่ให้ขัดขวางต่อการจราจร
เจ้าพนักงานจราจรมีอำนาจออกข้อบังคับหรือคำสั่งกำหนดสถานที่จอดพักรถได้ตามพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2477 แต่ถ้าสถานที่จอดพักรถนั้นอยู่ในความครอบครองของเอกชนและเอกชนเป็นผู้เรียกเก็บค่าบริการในการจอดรถ ก็ไม่เป็นสถานที่จอดพักรถตามความหมายของพระราชบัญญัติจราจรทางบก แต่เป็นสถานีขนส่งตามพระราชบัญญัติการขนส่ง พ.ศ. 2497 ซึ่งบัญญัติให้เป็นอำนาจของรัฐมนตรีเป็นผู้กำหนดสถานที่ที่ใช้เป็นสถานีขนส่ง เจ้าพนักงานจราจรไม่มีอำนาจกำหนด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1322-1324/2510 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจหน้าที่สถานีขนส่ง: ความขัดแย้งระหว่าง พ.ร.บ.จราจรทางบก กับ พ.ร.บ.การขนส่ง และการรับฟังพยานหลักฐาน
คดีอาญา จำเลยอ้างพยานเอกสารซึ่งอยู่ในความครอบครองของจำเลยและโจทก์ไม่รับรองความถูกต้อง เมื่อจำเลยไม่สืบพยานประกอบ พยานเอกสารนั้นก็รับฟังไม่ได้แต่ถ้าพยานเอกสารนั้นเป็นหนังสือราชการ ซึ่งต้นฉบับอยู่ในความครอบครองของทางราชการและที่จำเลยอ้างส่งต่อศาลเป็นสำเนาซึ่งเจ้าหน้าที่ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 93 (3) รับรองถูกต้อง ก็รับฟังได้ ไม่ต้องสืบพยานประกอบ
ตามพระราชบัญญัติการขนส่ง พ.ศ. 2497 เป็นอำนาจของรัฐมนตรีที่จะกำหนดสถานที่ที่จะใช้เป็นสถานีขนส่ง และต้องประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อประกาศกำหนดสถานที่ที่จะใช้เป็นสถานีขนส่งแล้ว ผู้ประกอบการขนส่งจะต้องใช้สถานที่นั้นเป็นที่หยุดหรือจอดยานพาหนะ ถ้าฝ่าฝืนมีความผิดตามมาตรา 69 และอธิบดีมีอำนาจกำหนดค่าบริการที่ผู้ประกอบการขนส่งจะต้องชำระให้แก่สถานีขนส่งตามมาตรา 50 (1) แต่ถ้ารัฐมนตรียังไม่ได้กำหนดสถานที่ให้เป็นสถานีขนส่ง ผู้ประกอบการขนส่งจัดหาสถานที่จอดพักรถโดยสารให้คนขึ้นลงได้เอง โดยไม่ให้ขัดขวางต่อการจราจร
เจ้าพนักงานจราจรมีอำนาจออกข้อบังคับหรือคำสั่งกำหนดสถานที่จอดพักรถได้ตามพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2477 แต่ถ้าสถานที่จอดพักรถนั้นอยู่ในความครอบครองของเอกชนและเอกชนเป็นผู้เรียกเก็บค่าบริการในการจอดรถ ก็ไม่เป็นสถานที่จอดพักรถตามความหมายของพระราชบัญญัติจราจรทางบก แต่เป็นสถานีขอส่งตามพระราชบัญญัติการขนส่ง พ.ศ. 2497 ซึ่งบัญญัติให้เป็นอำนาจของรัฐมนตรีเป็นผู้กำหนดสถานทีที่ใช้เป็นสถานีขนส่ง เจ้าพนักงานจราจรไม่มีอำนาจกำหนด
of 2