พบผลลัพธ์ทั้งหมด 24 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4418/2564
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข่มขืนกระทำชำเรา, การกระทำร่วมกัน, ความผิดฐานพาบุคคลไปเพื่อการอนาจาร, การแก้ไขคำพิพากษาศาลอุทธรณ์
ขณะจำเลยที่ 1 เข้าไปข่มขืนกระทำชำเราผู้ร้องในห้อง ไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 2 หรือ ก. ได้รออยู่หน้าห้องเพื่อจะเข้าไปข่มขืนกระทำชำเราเป็นคนต่อไปอันมีลักษณะเป็นการผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนกัน หลังจากจำเลยที่ 1 ออกไปนอกห้องแล้วก็ไม่มีผู้ใดเข้าไปข่มขืนกระทำชำเราผู้ร้องอีกจนกระทั่งเช้าวันรุ่งขึ้นถึงได้มี ก. เข้าไปขอร่วมประเวณีกับผู้ร้อง 1 ครั้ง ซึ่งการกระทำของ ก. ห่างจากการข่มขืนกระทำชำเราของจำเลยที่ 1 หลายชั่วโมง การกระทำของจำเลยที่ 1 และ ก. จึงมิใช่เป็นการร่วมกันกระทำความผิดด้วยกันอันมีลักษณะเป็นการโทรมหญิง คงฟังได้เพียงว่า จำเลยที่ 1 ข่มขืนกระทำชำเราผู้อื่นโดยขู่เข็ญด้วยประการใด ๆ ตาม ป.อ. มาตรา 276 วรรคแรก
ขณะจำเลยที่ 1 ข่มขืนกระทำชำเราผู้ร้องในสวนปาล์ม จำเลยที่ 2 ก็อยู่ในบริเวณดังกล่าวจนจำเลยที่ 1 ข่มขืนกระทำชำเราเสร็จและพาผู้ร้องออกมา จากนั้นจำเลยที่ 2 ก็ร่วมกันพาผู้ร้องไปที่บ้านร้างเกิดเหตุต่อ ครั้นจำเลยที่ 1 เข้าไปข่มขืนกระทำชำเราอีกครั้งในบ้านร้าง จำเลยที่ 2 ก็อยู่ในบริเวณบ้านและรับรู้การกระทำของจำเลยที่ 1 โดยตลอด ตามพฤติการณ์ย่อมถือได้ว่า จำเลยที่ 2 มีเจตนาร่วมข่มขืนกระทำชำเราผู้ร้องกับจำเลยที่ 1 ด้วย จำเลยที่ 2 จึงมีความผิดฐานร่วมกันข่มขืนกระทำชำเราผู้อื่นโดยขู่เข็ญด้วยประการใด ๆ ตามมาตรา 276 วรรคแรก เช่นเดียวกับจำเลยที่ 1
ขณะจำเลยที่ 1 ข่มขืนกระทำชำเราผู้ร้องในสวนปาล์ม จำเลยที่ 2 ก็อยู่ในบริเวณดังกล่าวจนจำเลยที่ 1 ข่มขืนกระทำชำเราเสร็จและพาผู้ร้องออกมา จากนั้นจำเลยที่ 2 ก็ร่วมกันพาผู้ร้องไปที่บ้านร้างเกิดเหตุต่อ ครั้นจำเลยที่ 1 เข้าไปข่มขืนกระทำชำเราอีกครั้งในบ้านร้าง จำเลยที่ 2 ก็อยู่ในบริเวณบ้านและรับรู้การกระทำของจำเลยที่ 1 โดยตลอด ตามพฤติการณ์ย่อมถือได้ว่า จำเลยที่ 2 มีเจตนาร่วมข่มขืนกระทำชำเราผู้ร้องกับจำเลยที่ 1 ด้วย จำเลยที่ 2 จึงมีความผิดฐานร่วมกันข่มขืนกระทำชำเราผู้อื่นโดยขู่เข็ญด้วยประการใด ๆ ตามมาตรา 276 วรรคแรก เช่นเดียวกับจำเลยที่ 1
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 19960/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานกระทำชำเรา: การสำคัญผิดในอายุผู้เสียหาย และการยินยอม
ขณะจำเลยรับผู้เสียหายเข้าทำงานไม่ได้ตรวจดูหลักฐานเกี่ยวกับอายุของผู้เสียหายก่อน ผู้เสียหายมีรูปร่างโตกว่าเด็กทั่วไปตัวใหญ่และมีส่วนสูงประมาณ 155 เซนติเมตร และเมื่อพิจารณาภาพถ่ายของผู้เสียหายแล้วก็มีรูปร่างสูงใหญ่และลักษณะสูงใหญ่เกินกว่าเด็กหญิงที่มีอายุ 15 ปี โดยทั่วไป เช่นนี้จึงมีเหตุผลที่จำเลยจะเข้าใจโดยสุจริตว่าผู้เสียหายมีอายุ 17 ถึง 18 ปี การที่จำเลยสำคัญผิดเกี่ยวกับอายุของผู้เสียหายนี้เป็นการไม่รู้ข้อเท็จจริงอันเป็นองค์ประกอบของความผิด การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดฐานกระทำชำเราเด็กอายุยังไม่เกินสิบห้าปีตาม ป.อ. มาตรา 277 วรรคแรก ประกอบมาตรา 59 วรรคสาม วรรคสอง และวรรคหนึ่ง แม้จะมีบทบัญญัติความผิดฐานข่มขืนกระทำชำเราในมาตรา 276 วรรคแรก แต่เมื่อผู้เสียหายยินยอมให้จำเลยกระทำชำเรา การกระทำของจำเลยก็ไม่เป็นความผิดมาตรา 276 วรรคแรก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7541/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คดีข่มขืนขาดอายุความ ผู้เสียหายไม่แจ้งความเกิน 3 เดือน ศาลฎีกายกฟ้อง
ความผิดตาม ป.อ. มาตรา 276 วรรคแรก เป็นความผิดอันยอมความได้ตาม ป.อ. มาตรา 281 ปรากฏตามฟ้องของโจทก์ระบุว่า เหตุเกิดเมื่อประมาณเดือนพฤษภาคม 2539 และเดือนมิถุนายน 2539 ทั้งตามคำให้การชั้นสอบสวนของผู้เสียหายเอกสารหมาย จ.5 ระบุว่า จำเลยข่มขืนกระทำชำเราครั้งแรกเมื่อกลางเดือนพฤษภาคม 2539 ครั้งที่สองห่างจากครั้งแรกประมาณ 2 ถึง 3 วัน โดยให้การเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2539 ดังนี้จะเห็นได้ว่านับตั้งแต่จำเลยกระทำความผิดตามฟ้องจนถึงวันที่ผู้เสียหายมาให้การต่อพนักงานสอบสวนเป็นเวลาเกิน 3 เดือนแล้ว และระหว่างระยะเวลาดังกล่าว ผู้เสียหายรวมทั้งผู้แทนโดยชอบธรรมของผู้เสียหายมิได้ร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนเลย คดีจึงขาดอายุความตาม ป.อ. มาตรา 96 ปัญหาคดีโจทก์ขาดอายุความหรือไม่เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6844/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การถอนคำร้องทุกข์ของผู้เสียหายกระทบสิทธิโจทก์ในการฟ้องคดีอาญา ความผิดอันยอมความได้
จำเลยยื่นอุทธรณ์โดยมีคำร้องของผู้เสียหายแนบท้ายมีความว่า จำเลยได้ชดใช้ค่าเสียหายให้ผู้เสียหายเป็นที่พอใจแล้ว จึงไม่ติดใจเอาความแก่จำเลย โจทก์รับสำเนาแล้วมิได้ยื่นคำแก้อุทธรณ์คัดค้านว่าคำร้องของผู้เสียหายไม่เป็นความจริงหรือไม่ถูกต้องประการใด เมื่อคำร้องดังกล่าวมีข้อความสรุปได้ว่า ผู้เสียหายไม่ประสงค์จะดำเนินคดีแก่จำเลยอีกต่อไป จึงมีลักษณะเช่นคำร้องขอถอนคำร้องทุกข์
แม้การกระทำของจำเลยตามฟ้องจะเป็นความผิดฐานพยายามข่มขืนกระทำชำเราผู้เสียหายอันมีลักษณะเป็นการโทรมหญิงซึ่งยอมความไม่ได้ แต่เมื่อศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลยตาม ป.อ. มาตรา 276 วรรคแรก, 80, 83 โจทก์ไม่อุทธรณ์ ข้อหาที่ว่าจำเลยกระทำในลักษณะเป็นการโทรมหญิงจึงยุติไป ในชั้นนี้หากฟังว่าจำเลยกระทำความผิดก็ลงโทษจำเลยได้ตาม ป.อ. มาตรา 276 วรรคแรก เท่านั้น ซึ่งความผิดดังกล่าวเป็นความผิดอันยอมความได้ตามมาตรา 281 เมื่อผู้เสียหายได้ยื่นคำร้องขอถอนคำร้องทุกข์แล้ว ย่อมมีผลทำให้สิทธินำคดีอาญามาฟ้องของโจทก์ระงับไปตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 (2) คำพิพากษาของศาลล่างทั้งสองยอมระงับไปในตัว ไม่มีผลบังคับอีกต่อไป
แม้การกระทำของจำเลยตามฟ้องจะเป็นความผิดฐานพยายามข่มขืนกระทำชำเราผู้เสียหายอันมีลักษณะเป็นการโทรมหญิงซึ่งยอมความไม่ได้ แต่เมื่อศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลยตาม ป.อ. มาตรา 276 วรรคแรก, 80, 83 โจทก์ไม่อุทธรณ์ ข้อหาที่ว่าจำเลยกระทำในลักษณะเป็นการโทรมหญิงจึงยุติไป ในชั้นนี้หากฟังว่าจำเลยกระทำความผิดก็ลงโทษจำเลยได้ตาม ป.อ. มาตรา 276 วรรคแรก เท่านั้น ซึ่งความผิดดังกล่าวเป็นความผิดอันยอมความได้ตามมาตรา 281 เมื่อผู้เสียหายได้ยื่นคำร้องขอถอนคำร้องทุกข์แล้ว ย่อมมีผลทำให้สิทธินำคดีอาญามาฟ้องของโจทก์ระงับไปตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 (2) คำพิพากษาของศาลล่างทั้งสองยอมระงับไปในตัว ไม่มีผลบังคับอีกต่อไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 11981/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขโทษอาญาโดยศาลอุทธรณ์ และข้อจำกัดในการฎีกาเกี่ยวกับดุลพินิจลงโทษ
ป.อ. มาตรา 285 เป็นเหตุฉกรรจ์หาใช่เป็นความผิดอีกบทหนึ่งต่างหากไม่ การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 2 พิพากษาแก้คำพิพากษาศาลชั้นต้นที่พิพากษาลงโทษจำเลยตาม ป.อ. มาตรา 276 วรรคแรก ประกอบมาตรา 285เป็นลงโทษจำเลยตาม ป.อ. มาตรา 276 วรรคแรก แม้จะแก้โทษด้วยก็เป็นการแก้ไขเล็กน้อย และให้ลงโทษจำคุกจำเลยไม่เกินห้าปี ต้องห้ามมิให้จำเลยฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 218 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 277/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานกระทำชำเราเด็กหญิงในความดูแลของเจ้าอาวาสและประธานมูลนิธิ: ศาลฎีกายืนโทษจำเลย
ขณะเกิดเหตุ จำเลยที่ 1 เป็นเจ้าอาวาสและเป็นประธานกิตติมศักดิ์ของคณะกรรมการมูลนิธิซึ่งมีวัตถุประสงค์เผยแผ่พระพุทธศาสนาและรับเด็กยากจนมาอาศัยอยู่ที่วัดเพื่อส่งเสียให้ได้รับการศึกษา ดังนั้น การอบรมให้เด็กเหล่านั้นประพฤติอยู่ในศีลธรรมอันดีตามหลักพุทธศาสนาและตั้งใจศึกษาเล่าเรียนย่อมอยู่ในวัตถุที่ประสงค์ของมูลนิธิด้วย แม้ด้านการเงินของมูลนิธิแยกออกจากวัดเพราะมีฐานะเป็นนิติบุคคลแตกต่างกัน แต่จำเลยที่ 1 ในฐานะประธานกิตติมศักดิ์ของมูลนิธิย่อมต้องอบรมสั่งสอนผู้เสียหาย ซึ่งเป็นเด็กหญิงชาวเขาที่จำเลยที่ 1 รับมาอยู่ในความดูแลของตนที่วัดให้ปฏิบัติดีเพื่อบรรลุวัตถุประสงค์นั้น ทั้งมูลนิธิก็ตั้งอยู่ในอาณาเขตของวัด ผู้เสียหายย่อมต้องเชื่อฟังจำเลยที่ 1 ในฐานะเจ้าอาวาสดังเช่นที่เป็นศิษย์วัดอีกสถานหนึ่ง เห็นได้ว่า จำเลยที่ 1 ดูแลผู้เสียหายในฐานะเป็นครูอาจารย์ดูแลเด็กนักเรียนในปกครองกับในฐานะเจ้าอาวาสดูแลศิษย์ไปพร้อมๆ กัน การที่จำเลยที่ 1 กระทำชำเราผู้เสียหาย ถือว่าจำเลยที่ 1 กระทำต่อศิษย์ซึ่งอยู่ในความดูแล
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 415/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดหลายกรรมต่างกันในคดีอนาจาร, หน่วงเหนี่ยวกักขัง, และข่มขืนกระทำชำเรา
การกระทำที่ต่อเนื่องเชื่อมโยงในวาระเดียวกันแม้จะมีเจตนาอย่างเดียวกันแต่หากประสงค์ให้เกิดผลเป็นความผิดหลายฐานย่อมเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน การที่จำเลยพาผู้เสียหายไปเพื่อการอนาจารและหน่วงเหนี่ยวกักขังไว้ก่อนข่มขืนกระทำชำเรา เป็นการแสดงเจตนาส่วนหนึ่งของจำเลยโดยมีเหตุจูงใจที่จะนำตัวผู้เสียหายไปกักขังไว้เพื่อข่มขืนกระทำชำเรา เป็นการกระทำส่วนหนึ่งที่สำเร็จไปแล้วต่างหากจากการที่จำเลยข่มขืนกระทำชำเรา จึงเป็นการกระทำความผิดฐานพาหญิงไปเพื่อการอนาจารและหน่วงเหนี่ยวกักขังตาม ป.อ. มาตรา 284 วรรคแรก และมาตรา 310 วรรคแรก กระทงหนึ่ง เมื่อจำเลยข่มขืนกระทำชำเราผู้เสียหาย จึงเป็นความผิดฐานข่มขืนกระทำชำเราตาม ป.อ. มาตรา 276 วรรคแรก อีกกระทงหนึ่งเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน ต้องลงโทษทุกกรรมเป็นกระทงความผิดไปตาม ป.อ. มาตรา 91
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7721/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเปลี่ยนแปลงฐานความผิดจากข่มขืนเป็นกระทำชำเราตามกฎหมายอาญา ศาลมีอำนาจลงโทษตามความผิดที่ปรากฏจากการพิจารณา
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 277 วรรคแรก โดยอ้างว่าจำเลยกระทำชำเราผู้เสียหายอายุ 14 ปีเศษ ซึ่งไม่ใช่ภริยาจำเลย โดยใช้กำลังประทุษร้าย และผู้เสียหายอยู่ในภาวะที่ไม่สามารถขัดขืนได้ แต่เมื่อทางพิจารณาได้ความว่า การกระทำของจำเลยเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 276 วรรคแรก อันเป็นความผิดที่รวมการกระทำตามที่โจทก์ฟ้องอยู่ด้วยแล้ว ศาลย่อมมีอำนาจลงโทษจำเลยตามความผิดที่พิจารณาได้ความตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 192 วรรคท้าย ได้ หาใช่เป็นเรื่องที่โจทก์ไม่ได้ประสงค์ให้ลงโทษ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4426/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข่มขืนกระทำชำเราและพรากผู้เยาว์ โดยใช้กำลังประทุษร้ายและหลอกลวง
การที่จำเลยได้หลอกให้ผู้เสียหายไปพบยายโดยอ้างว่ายายต้องการพบ ทั้งที่ความจริงยายมิได้ใช้ให้จำเลยไปตามผู้เสียหายมาพบแต่อย่างใด จำเลยจึงมีเจตนาหลอกผู้เสียหายไปที่บ้านเกิดเหตุ เพื่อที่จะได้ข่มขืนกระทำชำเราผู้เสียหาย การกระทำของจำเลยจึงเป็นการพรากผู้เสียหายไปเสียจากผู้ปกครองดูแลโดยผู้เสียหายไม่เต็มใจไปด้วยเพื่อการอนาจาร
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1989/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การระงับคดีอาญาจากคำร้องถอนฟ้อง และการกำหนดโทษความผิดกรรมเดียวที่ยังเหลืออยู่
ในระหว่างฎีกา ผู้เสียหายยื่นคำร้องขอถอนคำร้องทุกข์ในความผิดข้อหากระทำชำเราตาม ป.อ. มาตรา 276 วรรคแรก อันเป็นความผิดอันยอมความกันได้ สิทธินำคดีอาญามาฟ้องจึงระงับไปตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 (2) ส่วนข้อหาบุกรุกตามมาตรา 365 (1) (2) (3) ประกอบมาตรา 364 ซึ่งมิใช่ความผิดอันยอมความกันได้นั้น ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 2 ยังมิได้กำหนดโทษแก่จำเลย เนื่องจากเป็นความผิดกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบทกับข้อหาข่มขืนกระทำชำเรา จึงกำหนดโทษเฉพาะข้อหากระทำชำเราซึ่งเป็นบทกฎหมายที่มีโทษหนักที่สุดเท่านั้น และอัตราโทษตามมาตรา 365 นั้น ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 2 พิพากษายืนในส่วนการกระทำความผิดตามศาลชั้นต้น แม้จะยังไม่ได้กำหนดโทษแก่จำเลย แต่ก็เห็นได้ชัดว่า ไม่อาจกำหนดโทษเกินกว่าอัตราโทษตามมาตรา 365 ได้ ซึ่งคดีอาจจะต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ. มาตรา 218 วรรคแรก จึงต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นกำหนดโทษในข้อหาบุกรุกแก่จำเลย