พบผลลัพธ์ทั้งหมด 17 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2587/2522
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องคดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา ศาลต้องใช้ข้อเท็จจริงจากคำพิพากษาคดีอาญา
เดิมโจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 เป็นคดีอาญาในความผิดฐานฉ้อโกงว่าโจทก์เข้าทำสัญญาโอนกิจการปั๊มน้ำมันและสิ่งปลูกสร้างจากจำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 1 ทำกลฉ้อฉลหลอกลวงโจทก์ว่า จำเลยที่ 1 เป็นเจ้าของและเป็นผู้มีสิทธิดำเนินกิจการปั๊มน้ำมันที่ขายสิทธิให้โจทก์ แต่ความจริงปั๊มน้ำมันเป็นของบริษัทน้ำมันเอง และจำเลยที่ 1 ไม่มีสิทธิดำเนินกิจการ ศาลพิพากษายกฟ้อง การที่โจทก์มาฟ้องจำเลยที่ 1 เป็นคดีแพ่งเรียกคืนเงินที่จ่ายตามสัญญาดังกล่าว จึงเป็นการฟ้องคดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญาศาลจึงต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีส่วนอาญา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1697/2522
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจตนาฆ่าจากการกระทำที่เล็งเห็นผลร้าย: การกระทำที่นำไปสู่การเสียชีวิตแม้ไม่ตรงตามฟ้อง
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยกับพวกที่ยังไม่ได้ตัวมาฟ้องมีเจตนาฆ่าผู้ตายโดยร่วมกันใช้อำนาจด้วยกำลังกายผลักผู้ตายให้ตกลงมาจากรถยนต์โดยสารสองแถวเล็กถึงแก่ความตายขอให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 288,83 แม้ทางพิจารณาจะไม่ได้ความชัดว่าพวกของจำเลยผลักผู้ตายตกลงจากรถตามที่โจทก์ฟ้อง แต่การที่พวกของจำเลยใช้มือดึงมือผู้ตายมือต่อมือในขณะผู้ตายอยู่ท้ายรถ ไม่มีอะไรยึดเหนี่ยว ไม่ให้ตกลงไปจากรถ และขณะเดียวกันนั้นจำเลยขับรถพาผู้ตายไปด้วยความเร็วมาก ถ้ามือของผู้ตายหลุดจากมือของพวกจำเลยหรือพวกของจำเลยปล่อยมือผู้ตายไป ผู้ตายย่อมจะต้องเสียหลักตกจากรถและจะต้องได้รับอันตรายถึงแก่ความตายได้อย่างแน่นอน เหตุนี้การที่ผู้ตายหลุดจากมือของพวกจำเลยไม่ว่าจะเป็นโดยผู้ตายดึงหลุดหรือพวกของจำเลยปล่อยให้หลุด จนเป็นเหตุให้ผู้ตายตกลงจากรถในลักษณะนอนหงายท้ายทอยน่วม เลือดออกจากปากถึงแก่ความตาย จึงเป็นผลที่เกิดขึ้นโดยตรงจากการกระทำของจำเลยกับพวก เห็นได้ว่าเป็นการกระทำที่เล็งเห็นผลร้ายได้อย่างแน่ชัด จึงเป็นการกระทำโดยมีเจตนาฆ่าผู้ตาย แม้ข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในการพิจารณาจะแตกต่างกับข้อเท็จจริงดังที่กล่าวในฟ้อง ก็มิใช่ข้อสารสำคัญ และทั้งจำเลยมิได้หลงข้อต่อสู้ ศาลจึงลงโทษจำเลยตามฟ้องโจทก์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1644/2522
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคำนวณราคาตลาดขายส่งน้ำมันโดยวิธีส่วนเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากร และการชำระภาษีพร้อมเงินเพิ่ม
การคำนวณราคาตลาดขายสิ่งที่มีการขายให้แก่ผู้ขายปลีกสำหรับสินค้าที่เป็นน้ำมัน น้ำมันเบนซิน ฯลฯ ให้คำนวณโดยวิธีส่วนเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักจากราคาขายส่งที่มีการขายให้แก่ผู้ขายปลีก ตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีการค้า(ฉบับที่ 8) เรื่องให้ใช้เกณฑ์คำนวณราคาตลาดเป็นมูลค่าของสินค้าข้อ1(ค) นั้น คำว่า "ราคาขายส่งที่มีการขายให้แก่ผู้ขายปลีก" หมายความว่า ราคาขายส่งในช่วงสุดท้ายให้แก่ผู้ขายปลีกซึ่งจะจำหน่ายปลีกแก่ผู้บริโภคโดยตรง เมื่อปรากฏว่าน้ำมันที่องค์การเชื้อเพลิงซื้อจากโจทก์องค์การเชื้อเพลิงได้ขายบางส่วนให้ส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ และขายปลีกให้ประชาชน กับขายส่งให้แก่ตัวแทนคือปั๊มน้ำมันสามทหารซึ่งเป็นของเอกชน ซึ่งขายปลีกให้แก่ประชาชนทั่วไปอีกทีหนึ่งราคาน้ำมันที่องค์การเชื้อเพลิงขายก็แตกต่างกัน แสดงว่าราคาตลาดขายส่งที่มีการขายให้แก่ผู้ขายปลีกเฉพาะที่โจทก์ขายให้แก่องค์การเชื้อเพลิงจึงมิใช่มีเพียงราคาเดียว แต่มี 2 ราคาคือ (1) ราคาขายส่งที่โจทก์ขายให้แก่องค์การเชื้อเพลิงแล้วองค์การเชื้อเพลิงขายปลีกให้ส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจและประชาชน (2) ราคาขายส่งที่องค์การเชื้อเพลิงในฐานะผู้ขายส่งตามสัญญาระหว่างโจทก์กับองค์การเชื้อเพลิงขายให้แก่ตัวแทน คือปั๊มน้ำมันสามทหารเพื่อขายปลีกให้แก่ประชาชน ดังนั้น การที่เจ้าพนักงานของจำเลยคำนวณราคาตลาดขายส่งน้ำมันของโจทก์โดยนำจำนวนเงินที่โจทก์ขายส่งให้แก่องค์การเชื้อเพลิงทั้งสองราคาดังกล่าวมาบวกกันแล้วหารด้วยปริมาณน้ำมันที่ขายส่งดังกล่าว ผลลัพธ์ที่ได้เป็นราคาตลาดโดยวิธีส่วนเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักต่อลิตร จึงเป็นการคำนวณราคาตลาดโดยวิธีส่วนเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักที่ชอบด้วยประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีการค้า (ฉบับที่ 8) ดังกล่าว
โจทก์มีหน้าที่จะต้องชำระภาษีภายใน 30 วัน นับแต่วันได้รับแจ้งการประเมินตามประมวลรัษฎากร มาตรา 86ทวิ ถ้าโจทก์ไม่ชำระภายในเวลาดังกล่าว โจทก์ต้องเสียเงินเพิ่มอีกร้อยละ 1 ต่อเดือนหรือเศษของเดือน ของเงินภาษีที่ต้องชำระตามมาตรา 89 ทวิ ดังนั้น การที่คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์แจ้งให้โจทก์เสียเงินเพิ่มตามมาตรา 89 ทวิ จึงเป็นเพียงการแจ้งยืนยันตามแบบแจ้งการประเมินของเจ้าพนักงานประเมิน หาใช่เป็นการประเมินภาษีในฐานะเจ้าพนักงานประเมินไม่
โจทก์มีหน้าที่จะต้องชำระภาษีภายใน 30 วัน นับแต่วันได้รับแจ้งการประเมินตามประมวลรัษฎากร มาตรา 86ทวิ ถ้าโจทก์ไม่ชำระภายในเวลาดังกล่าว โจทก์ต้องเสียเงินเพิ่มอีกร้อยละ 1 ต่อเดือนหรือเศษของเดือน ของเงินภาษีที่ต้องชำระตามมาตรา 89 ทวิ ดังนั้น การที่คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์แจ้งให้โจทก์เสียเงินเพิ่มตามมาตรา 89 ทวิ จึงเป็นเพียงการแจ้งยืนยันตามแบบแจ้งการประเมินของเจ้าพนักงานประเมิน หาใช่เป็นการประเมินภาษีในฐานะเจ้าพนักงานประเมินไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1431/2522
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
แม้ที่ดินอยู่ใน นส.3ก ของจำเลย แต่โจทก์มีสิทธิขอเพิกถอนส่วนที่ทับที่ดินของตนได้
แม้ศาลจะพิพากษาแล้วว่าที่พิพาทเป็นของโจทก์และเป็นที่ดินที่รวมอยู่ในที่ดินตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ของจำเลยก็ตามจำเลยก็ไม่มีหน้าที่อย่างใดที่จะต้องไปจัดการโอนที่พิพาทให้เป็นของโจทก์ หากที่พิพาทยังมีชื่อจำเลยเป็นเจ้าของในหนังสือรับรองการทำประโยชน์อยู่ โจทก์มีสิทธิฟ้องขอให้เพิกถอนหนังสือรับรองการทำประโยชน์ของจำเลยเฉพาะส่วนที่ออกทับที่พิพาทซึ่งเป็นของโจทก์เท่านั้น
การที่โจทก์ขอให้จดทะเบียนแบ่งแยกให้ก็พอจะแปลความหมายได้ว่าโจทก์ต้องการที่ดินกลับคืนมาเป็นของโจทก์ แต่เมื่อศาลเห็นว่าไม่สามารถจะบังคับให้ได้ตามคำขอ คงบังคับได้แต่เพียงให้เพิกถอนหนังสือรับรองการทำประโยชน์เฉพาะส่วน ศาลก็ชอบที่จะพิพากษาเช่นนั้นได้
การที่โจทก์ขอให้จดทะเบียนแบ่งแยกให้ก็พอจะแปลความหมายได้ว่าโจทก์ต้องการที่ดินกลับคืนมาเป็นของโจทก์ แต่เมื่อศาลเห็นว่าไม่สามารถจะบังคับให้ได้ตามคำขอ คงบังคับได้แต่เพียงให้เพิกถอนหนังสือรับรองการทำประโยชน์เฉพาะส่วน ศาลก็ชอบที่จะพิพากษาเช่นนั้นได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1431/2522 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในที่ดิน: แม้ที่ดินอยู่ในหนังสือรับรอง แต่โจทก์มีสิทธิขอเพิกถอนเฉพาะส่วนที่เป็นของตนได้
แม้ศาลจะพิพากษาแล้วว่าที่พิพาทเป็นของโจทก์ และเป็นที่ดินที่รวมอยู่ในที่ดินตามหนังสือรังรองการทำประโยชน์ของจำเลยก็ตาม จำเลยก็ไม่มีหน้าที่อย่างใดที่จะต้องไปจัดการโอนที่พิพาทให้เป็นของโจทก์ หากที่พิพาทยังมีชื่อจำเลยเป็นเจ้าของในหนังสือรับรองการทำประโยชน์อยู่ โจทก์มีสิทธิฟ้องขอให้เพิกถอนหนังสือรับรองการทำประโยชน์ของจำเลยเฉพาะส่วนที่ออกทับที่พิพาท ซึ่งเป็นของโจทก์เท่านั้น
การที่โจทก์ขอให้จำเลยจดทะเบียนแบ่งแยกให้ก็พอจะแปลความหมายได้ว่าโจทก์ต้องการที่ดินกลับคืนมาเป็นของโจทก์ แต่เมื่อศาลเห็นว่าไม่สามารถจะบังคับให้ได้ตามคำขอ คงบังคับได้แต่เพียงให้เพิกถอนหนังสือรับรองการทำประโยชน์เฉพาะส่วน ศาลก็ชอบที่จะพิพากษาเช่นนั้นได้
การที่โจทก์ขอให้จำเลยจดทะเบียนแบ่งแยกให้ก็พอจะแปลความหมายได้ว่าโจทก์ต้องการที่ดินกลับคืนมาเป็นของโจทก์ แต่เมื่อศาลเห็นว่าไม่สามารถจะบังคับให้ได้ตามคำขอ คงบังคับได้แต่เพียงให้เพิกถอนหนังสือรับรองการทำประโยชน์เฉพาะส่วน ศาลก็ชอบที่จะพิพากษาเช่นนั้นได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1089/2522
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีอาญา: ผู้เสียหายโดยตรงจากการทำลายทรัพย์สินที่ถูกยึด
เจ้าพนักงานบังคับคดีได้ไปยึดทรัพย์ของห้างหุ้นส่วนจำกัดฯจำเลยที่ 1 ในคดีเดิม แล้วมอบให้จำเลยที่ 1 ในคดีนี้ซึ่งเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการของจำเลยที่ 1 ในคดีเดิมเป็นผู้รักษาทรัพย์ เมื่อศาลมีคำสั่งให้ขายทอดตลาดทรัพย์ที่ยึด ปรากฏว่าทรัพย์บางรายการมีสภาพชำรุด ทำให้เสื่อมราคา ดังนี้หากจำเลยที่ 1 กระทำการใด ๆ แก่ทรัพย์ที่ยึดให้เสียหาย ผู้ที่เสียหายย่อมได้แก่เจ้าพนักงานบังคับคดีและโจทก์ในคดีเดิม โจทก์ซึ่งเป็นจำเลยที่ 2 ในคดีเดิมในฐานะผู้ค้ำประกันและเป็นผู้นำยึดทรัพย์จะต้องรับผิดใช้หนี้มากน้อยเพียงใด ย่อมมีสิทธิไล่เบี้ยเอากับจำเลยที่ 1 ในคดีเดิมได้ตามกฎหมาย ถือไม่ได้ว่าโจทก์ได้รับความเสียหายโดยตรงจากการกระทำของจำเลยที่ 1โจทก์จึงไม่ใช่ผู้เสียหายไม่มีอำนาจฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยที่1ผู้รักษาทรัพย์ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 187
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1089/2522 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีอาญา ผู้เสียหายต้องเป็นผู้ได้รับความเสียหายโดยตรงจากการกระทำของจำเลย
เจ้าพนักงานบังคับคดีได้ไปยึดทรัพย์ของห้างหุ้นส่วนจำกัด ฯ จำเลยที่ 1 ในคดีเดิม แล้วมอบให้จำเลยที่ 1 ในคดีนี้ซึ่งเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการของจำเลยที่ 1 ในคดีเดิมเป็นผู้รักษาทรัพย์ เมื่อศาลมีคำสั่งให้ขายทอดตลาดทรัพย์ที่ยึด ปรากฏว่าทรัพย์บางรายมีสภาพชำรุด ทำให้เสื่อมราคา ดังนี้ หากจำเลยที่ 1 กระทำการใด ๆ แก่ทรัพย์ที่ยึดใช้เสียหาย ผู้ที่เสียหายย่อมได้แก่เจ้าพนักงานบังคับคดีและโจทก์ในคดีเดิม โจทก์ซึ่งเป็นจำเลยที่ 2 ในคดีเดิมในฐานะผู้ค้ำประกันและเป็นผู้นำยึดทรัพย์จะต้องรับผิดใช้หนี้มากน้อยเพียงใด ย่อมมีสิทธิไล่เบี้ยเอากับจำเลยที่ 1 ในคดีเดิมได้ตามกฎหมาย ถือไม่ได้ว่าโจทก์ได้รับความเสียหายโดยตรงจากการกระทำของจำเลยที่ 1 โจทก์จึงไม่ใช่ผู้เสียหาย ไม่มีอำนาจฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยที่ 1 ผู้รักษาทรัพย์ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 187
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 919/2522
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เช็คพิพาทหลังผู้สั่งจ่ายเสียชีวิต: ผู้ทรงมีสิทธิลงวันที่ได้ เช็คสมบูรณ์
ว.ผู้ตายเป็นลูกหนี้โจทก์ตามเช็คพิพาทซึ่งว. เป็นผู้สั่งจ่ายแต่มิได้ลงวันที่ไว้การที่ ว. ตายไม่ทำให้หนี้สินระงับเมื่อ ว. ตายลงก็ไม่มีทางที่จะลงวันที่สั่งจ่ายในเช็คได้การที่โจทก์จัดการลงวัน เดือน ปี ภายหลังที่ ว. ตายแล้วโจทก์ผู้ทรงโดยชอบด้วยกฎหมายย่อมมีสิทธิจะจดวันตามที่ถูกต้องแท้จริงลงได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 910 วรรคห้า,989เช็คฉบับพิพาทจึงเป็นเช็คที่สมบูรณ์ตามกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 919/2522 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เช็คหลังผู้สั่งจ่ายเสียชีวิต: สิทธิผู้ทรงโดยชอบที่จะลงวันที่และเช็คสมบูรณ์
ว. ผู้ตายเป็นลูกหนี้โจทก์ตามเช็คพิพาทซึ่ง ว. เป็นผู้สั่งจ่าย แต่มิได้ลงวันที่ไว้ การที่ ว.ตายไม่ทำให้หนี้สินระงับ เมื่อ ว. ตายลงก็ไม่มีทางที่จะลงวันที่ที่สั่งจ่ายในเช็คได้ การที่โจทก์จัดการลงวัน เดือน ปี ภายหลังที่ ว. ตายแล้ว โจทก์ผู้ทรงโดยชอบด้วยกฎหมายย่อมมีสิทธิจะจดวันตามที่ถูกต้องแท้จริงลงได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 910 วรรคห้า, 989 เช็คฉบับพิพาทจึงเป็นเช็คที่สมบูรณ์ตามกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 842/2522
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีและการมอบอำนาจที่ไม่ตรงกัน โจทก์ฟ้องไม่ตรงกับผู้รับมอบอำนาจ
หนังสือมอบอำนาจมีข้อความระบุไว้ชัดว่ามอบอำนาจให้ดำเนินการฟ้องร้อง ฮ.แต่คู่ความแถลงรับกันว่าฮ.เป็นคนละคนกับ ซ. จำเลยคดีนี้ ดังนั้น โจทก์จึงฟ้อง ซ. จำเลยคดีนี้โดยอาศัยหนังสือมอบอำนาจดังกล่าวไม่ได้เป็นการนอกเหนือไปจากหนังสือมอบอำนาจโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องจำเลย
การมอบอำนาจให้เป็นผู้แทนฟ้องคดีต้องทำเป็นหนังสือตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 60 วรรคสองโจทก์จึงขอสืบพยานบุคคลเพื่อเปลี่ยนแปลงแก้ไขเป็นอย่างอื่นไม่ได้ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94(ข)
การมอบอำนาจให้เป็นผู้แทนฟ้องคดีต้องทำเป็นหนังสือตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 60 วรรคสองโจทก์จึงขอสืบพยานบุคคลเพื่อเปลี่ยนแปลงแก้ไขเป็นอย่างอื่นไม่ได้ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94(ข)