พบผลลัพธ์ทั้งหมด 7 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 685/2519
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องในคดีความเสียหายจากอุบัติเหตุ: เจ้าของรถไม่มีอำนาจฟ้องโดยตรงหากไม่ใช่ผู้เสียหายโดยตรง
พนักงานอัยการเป็นโจทก์ฟ้องว่า จำเลยขับรถยนต์ด้วยความประมาทชนเฉี่ยวรถที่ บ. ขับมาได้รับความเสียหาย ขอให้ลงโทษตามพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ.2477 มาตรา 29,66 ตามที่แก้ไข ดังนี้ ด. เจ้าของรถคันที่ถูกชนไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยในข้อหาความผิดต่อพระราชบัญญัติจราจรทางบกเพราะยังเรียกไม่ได้ว่าได้รับความเสียหายเนื่องจากการกระทำผิดฐานใดฐานหนึ่งตามความหมายของประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 2(4)แม้ศาลชั้นต้นจะได้อนุญาตให้ ด. เข้าร่วมเป็นโจทก์ และเมื่อศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้อง ด. อุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์ย่อมยกอุทธรณ์เสียโดยเหตุที่โจทก์ร่วมไม่ใช่ผู้เสียหายไม่มีอำนาจฟ้องได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 919/2517
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของผู้ขับรถที่ทำให้เกิดอันตรายต่อผู้อื่น แม้ไม่ได้ประมาท การแจ้งเหตุเป็นหน้าที่ตามกฎหมาย
ผู้ขับรถเป็นเหตุให้เกิดอันตรายแก่บุคคลหรือทรัพย์สินของผู้อื่นนั้น แม้จะหยุดกระทำการช่วยเหลือตามสมควรแล้วและมิได้จงใจหลบหนี แต่ละเลยไม่ไปแจ้งเหตุต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ที่ใกล้เคียงทันที ผู้ขับรถนั้นย่อมมีความผิดตามพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2477 มาตรา 30 วรรคแรก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 909/2517
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลในการเพิกถอนใบอนุญาตขับรถกรณีขับประมาท และขอบเขตการพิจารณาโทษ
มาตรา 66 แห่งพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2477 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติจราจรทางบก (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2508 มาตรา 13 และประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 59 ข้อ11 บัญญัติว่าเมื่อผู้ใดฝ่าฝืนบทแห่งพระราชบัญญัตินี้ ให้ศาลมีอำนาจถอนใบอนุญาตขับรถได้และพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2477 มาตรา 4(14) ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติจราจรทางบก (ฉบับที่ 4)พ.ศ. 2508 มาตรา 3 ให้วิเคราะห์ศัพท์คำว่า ใบอนุญาตขับรถ ให้หมายความว่าใบอนุญาตให้ผู้ขับทำการขับขี่หรือลากเข็นรถหรือรถรางตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์ รถจ้างรถลาก ล้อเลื่อน การจดทะเบียนคนขับรถรางและการขนส่ง ดังนี้ ใบอนุญาตผู้ประจำเครื่องอุปกรณ์การขนส่งสำหรับหน้าที่ผู้ขับรถยนต์ซึ่งนายทะเบียนการขนส่งออกให้แก่จำเลยตามพระราชบัญญัติการขนส่งจึงเป็นใบอนุญาตขับรถตามความหมายในพระราชบัญญัติจราจรทางบกเมื่อจำเลยกระทำผิดและศาลพิพากษาลงโทษจำเลย (ตามพระราชบัญญัติจราจรทางบก มาตรา 66 ที่แก้ไขแล้ว) ศาลก็มีอำนาจเพิกถอนใบอนุญาตผู้ประจำเครื่องอุปกรณ์การขนส่งสำหรับหน้าที่ผู้ขับรถที่กล่าวนั้นเสียได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 394/2517
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสิ้นสุดอำนาจฟ้องเนื่องจากกฎหมายใหม่ยกเลิกความผิดเดิม และจำเลยปฏิบัติตามคำตักเตือน
จำเลยจอดรถกีดขวางการจราจร เป็นผิดต่อพระราชบัญญัติจราจรทางบกฯ มาตรา 64 ต่อมามีประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 59 ยกเลิกและใช้ความใหม่แทน ให้อำนาจเจ้าพนักงานจราจรหรือพนักงานเจ้าหน้าที่จะว่ากล่าวตักเตือนก็ได้ ดังนี้ เมื่อจำเลยได้ปฏิบัติตามคำว่ากล่าวตักเตือนของเจ้าพนักงานจราจรแล้วเห็นได้ว่ากฎหมายไม่ประสงค์เอาโทษแก่จำเลย การกระทำของจำเลยซึ่งเดิมเป็นความผิดก็ไม่เป็นความผิดอีกต่อไป จำเลยพ้นจากการเป็นผู้กระทำผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 2 วรรค 2 อำนาจฟ้องของโจทก์ซึ่งฟ้องภายหลังที่ประกาศของคณะปฏิวัติฉบับดังกล่าวใช้บังคับ ย่อมหมดสิ้นไปในตัว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 606/2515
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การวินิจฉัยคดีนอกเหนือพยานหลักฐาน: การลงโทษจำเลยฐานไม่ให้สัญญาณแตรเมื่อพยานหลักฐานไม่สนับสนุน
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยเลี้ยวรถโดยไม่ได้ให้สัญญาณเลี้ยวพยานโจทก์เบิกความแต่เพียงว่าไม่เห็นรถคันที่จำเลยขับให้สัญญาณเลี้ยว จำเลยเบิกความว่าขณะเลี้ยวจำเลยได้ให้สัญญาณไฟเลี้ยวแล้ว ศาลชั้นต้นเห็นว่าตามพระราชบัญญัติจราจรทางบก เมื่อจะเลี้ยวรถจะต้องให้สัญญาณแตรเสียก่อนจึงฟังว่าจำเลยไม่ให้สัญญาณแตรก่อนเลี้ยวรถ ทั้งๆ ที่พยานโจทก์มิได้เบิกความถึงเรื่องสัญญาณแตร และจำเลยก็มิได้เบิกความรับเช่นนั้น ดังนี้ ย่อมเป็นการวินิจฉัยนอกเหนือพยานหลักฐานในสำนวน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 725/2513
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการขอเพิกถอนใบอนุญาตขับขี่: เอกชนผู้เสียหายไม่มีสิทธิขอเพิกถอนใบอนุญาต
ราษฎรที่เป็นโจทก์ร่วมกับพนักงานอัยการไม่มีสิทธิขอให้เพิกถอนใบอนุญาตขับขี่รถยนต์ของจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 261/2510
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิจำเลยในการมีทนาย - ความจำเป็นในการพิจารณาคดีใหม่ หากจำเลยไม่ได้รับการสอบถามเรื่องทนาย
คดีอาญาที่โจทก์ขอให้ลงโทษจำเลยซึ่งมีอัตราโทษจำคุกถึง10 ปี เมื่อศาลชั้นต้นมิได้สอบถามจำเลยในเรื่องทนายความ และพิพากษาลงโทษจำคุก ทำให้จำเลยเสียเปรียบในการดำเนินคดี ย่อมเป็นการจำเป็นที่จะให้ศาลชั้นต้นทำการพิจารณาพิพากษาใหม่ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 208(2)