คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.อ. ม. 59 วรรคสาม

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 21 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 455/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุผู้เสียหายเป็นสำคัญ: การเปลี่ยนแปลงอายุตามคำเบิกความมารดาทำให้ข้อหาข่มขืนไม่成立
แม้ผู้เสียหายเบิกความว่า ผู้เสียหายเกิดวันที่ 17ตุลาคม 2521 ตามสูติบัตรและสำเนาทะเบียนบ้าน แต่นาง ท.มารดาผู้เสียหายเบิกความตอบทนายจำเลยถามค้านว่าขณะที่ผู้เสียหายเกิดนั้นตนยังไม่ได้ไปแจ้งเกิดในทันทีแต่ไปแจ้งเกิดเมื่อผู้เสียหายมีอายุ 9 เดือน วันเดือนปีเกิดที่ระบุในสูติบัตรเป็นวันที่ไปแจ้งเกิดผู้เสียหาย มิใช่วันเกิดที่แท้จริง เมื่อวันเกิดของผู้เสียหาย ไม่มีใครทราบได้ดีกว่ามารดาผู้เสียหายเพราะเป็นผู้ อุ้มท้องและคลอดผู้เสียหายเอง ย่อมต้องจดจำวันได้อย่างแม่นยำ คำเบิกความของนาง ท. จึงน่าเชื่อถือขณะเกิดเหตุผู้เสียหายมีอายุตามสูติบัตร 14 ปี 6 เดือน เมื่อรวมอีก 9 เดือนด้วยแล้วขณะเกิดเหตุผู้เสียหายมีอายุที่แท้จริง 15 ปีเศษแล้ว อายุของผู้เสียหายนั้นต้องถือตามความเป็นจริง เมื่อจำเลยกระทำชำเราผู้เสียหายขณะมีอายุเกินกว่า 15 ปีแล้ว มิใช่ 14 ปีเศษตามฟ้องการกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดตามฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6405/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดฐานพรากผู้เยาว์: เจตนาและความสำคัญของอายุผู้เสียหาย
จำเลยสำคัญผิดโดยเข้าใจว่าผู้เสียหายอายุ 17 ปี ย่อมมีผลให้จำเลยไม่รู้ข้อเท็จจริงว่าผู้เสียหายอายุไม่เกิน 15 ปี ซึ่งเป็นข้อเท็จจริงอันเป็นองค์ประกอบของความผิดตาม ป.อ. มาตรา 277 วรรคหนึ่ง เมื่อจำเลยไม่รู้ข้อเท็จจริงดังกล่าวจึงถือว่าจำเลยไม่มีเจตนากระทำความผิดฐานนี้ ตาม ป.อ.มาตรา 59 วรรคสาม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 621/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดฐานบุกรุก: เจตนาสำคัญ หากเข้าใจผิดโดยสุจริตว่าเป็นการรักษาผลประโยชน์ของราชการ ย่อมไม่มีความผิด
แม้จำเลยทั้งสามได้ร่วมกันใช้ให้ ว. นำป้ายซึ่งมีข้อความว่า"สถานที่ราชการห้ามบุกรุกโดยเด็ดขาด"เข้าไปติดไว้ที่ศาลาร้างซึ่งอยู่ในที่ดินพิพาทก็ตามแต่จำเลยทั้งสามซึ่งรับราชการในกระทรวงศึกษาธิการหลงเข้าใจโดยสุจริตคิดว่าบริเวณที่เกิดเหตุเป็นของโรงเรียนบ้าน เกาะบูโหลนในสังกัดสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดสตูลโดยจำเลยทั้งสามเชื่อว่าโจทก์ทั้งสี่ปักแนวรั้วบุกรุกที่ดินของโรงเรียนการกระทำของจำเลยทั้งสามเป็นการรักษาผลประโยชน์ของทางราชการจึงขาดเจตนาที่จะถือการครอบครองหรือรบกวนการครอบครองอสังหาริมทรัพย์ของผู้อื่นโดยปกติสุขอันจะเป็นความผิดฐานบุกรุกจำเลยทั้งสามย่อมไม่มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา362,365(2),83

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 621/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดบุกรุก: เจตนาสุจริตและความเชื่อโดยชอบธรรมในการรักษาผลประโยชน์ของราชการ
แม้จำเลยทั้งสามได้ร่วมกันใช้ให้ ว. นำป้ายซึ่งมีข้อความว่า"สถานที่ราชการห้ามบุกรุกโดยเด็ดขาด" เข้าไปติดไว้ที่ศาลาร้างซึ่งอยู่ในที่ดินพิพาทก็ตาม แต่จำเลยทั้งสามซึ่งรับราชการในกระทรวงศึกษาธิการหลงเข้าใจโดยสุจริตคิดว่าบริเวณที่เกิดเหตุเป็นของโรงเรียนบ้านเกาะบูโหลนในสังกัดสำนักงานการ-ประถมศึกษาจังหวัดสตูล โดยจำเลยทั้งสามเชื่อว่าโจทก์ทั้งสี่ปักแนวรั้วบุกรุกที่ดินของโรงเรียน การกระทำของจำเลยทั้งสามเป็นการรักษาผลประโยชน์ของราชการจึงขาดเจตนาที่จะถือการครอบครองหรือรบกวนการครอบครองอสังหาริมทรัพย์ของผู้อื่นโดยปกติสุข อันจะเป็นความผิดฐานบุกรุก จำเลยทั้งสามย่อมไม่มีความผิดตามป.อ. มาตรา 362, 365 (2), 83

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1473/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดฐานใช้แรงงานเด็ก ต้องพิสูจน์ว่านายจ้างรู้ถึงอายุที่แท้จริงของเด็ก
การที่นายจ้างจะมีความผิดฐานรับเด็กหญิงอายุต่ำกว่า13ปีบริบูรณ์เข้าทำงานอันเป็นการใช้แรงงานเด็กตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการคุ้มครองแรงงาน(ฉบับที่10)ข้อ20ซึ่งออกตามความในข้อ2(3)แห่งประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่103ลงวันที่16มีนาคม2515ต้องได้ความว่านายจ้างรู้ว่าเด็กที่ตนรับเป็นลูกจ้างอายุต่ำกว่า13ปีบริบูรณ์ซึ่งโจทก์จะต้องพิสูจน์ให้เห็นว่านายจ้างผู้รับเด็กเข้าทำงานรู้เช่นนั้นเมื่อโจทก์นำสืบไม่ได้นายจ้างก็ไม่มีความผิด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1473/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดฐานใช้แรงงานเด็ก: นายจ้างต้องรู้ว่าลูกจ้างอายุต่ำกว่า 13 ปี
การที่นายจ้างจะมีความผิดฐานรับเด็กหญิงอายุต่ำกว่า 13 ปีบริบูรณ์เข้าทำงานอันเป็นการใช้แรงงานเด็ก ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงาน (ฉบับที่ 10) ข้อ 20 ซึ่งออกตามความในข้อ 2 (3) แห่งประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 103 ลงวันที่ 16 มีนาคม 2515 ต้องได้ความว่านายจ้างรู้ว่าเด็กที่ตนรับเป็นลูกจ้างอายุต่ำกว่า 13 ปีบริบูรณ์ ซึ่งโจทก์จะต้องพิสูจน์ให้เห็นว่านายจ้างผู้รับเด็กเข้าทำงานรู้เช่นนั้น เมื่อโจทก์นำสืบไม่ได้ นายจ้างก็ไม่มีความผิด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1472/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจตนาสำคัญในการกระทำผิดป่าสงวนฯ – การพิพากษาต้องมีก่อนสั่งขับไล่
บริเวณที่เกิดเหตุไม่มีป้ายแสดงว่าเป็นเขตป่าสงวนแห่งชาติ มีบ้านราษฎรปลูกอยู่สองข้างทางหลายหลัง และทางราชการได้ออก น.ส.3ก.สำหรับที่ดินใกล้เคียงหลายแปลง จำเลยซึ่งเป็นคนต่างท้องที่ไม่รู้ว่าที่ดินที่เกิดเหตุซึ่งจำเลยอาศัยอยู่เป็นป่าสงวนแห่งชาติจึงขาดเจตนาอันเป็นองค์ประกอบความผิด คำขอให้สั่งให้จำเลยและบริวารออกไปจากเขตป่าสงวนแห่งชาติเป็นคำขอในวิธีการอุปกรณ์ของโทษตาม พระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติพ.ศ. 2507 มาตรา 31 วรรคท้าย ศาลจะสั่งได้ต่อเมื่อศาลพิพากษาว่าจำเลยกระทำความผิดตามมาตราดังกล่าว ปัญหานี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จำเลยมิได้ฎีกาขึ้นมา ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยเองได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7779/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจตนาสำคัญในการครอบครองวัตถุระเบิด หากไม่รู้ว่าเป็นวัตถุระเบิด ถือไม่มีความผิด
แม้จำเลยจะเก็บวัตถุระเบิดของกลางมา แต่จำเลยเองก็ไม่ทราบว่าเป็นวัตถุระเบิด เพิ่งทราบเมื่อเจ้าพนักงานตำรวจที่ตรวจค้นบอก จำเลยจึงไม่มีเจตนาที่จะกระทำผิดฐานมีวัตถุระเบิดไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาต

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1211/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดทางอาญาของผู้ร่วมกระทำผิดฐานลักทรัพย์และทำให้เกิดเพลิงไหม้โดยประมาท
จำเลยที่ 2 และที่ 3 ร่วมกันลักน้ำมันที่ปั๊มผู้เสียหายโดยใช้สายไฟต่อขั้วแบตเตอรี่กับเครื่องปั๊มดูดน้ำมันจากถังใต้ดินมาใส่ถังในรถยนต์ เมื่อดูดน้ำมันได้ 4 ถังแล้วจำเลยที่ 2 ดึงสายไฟจากขั้วแบตเตอรี่ให้ปั๊มติ๊กหยุดทำงานเพื่อจะเปลี่ยนสายยางไปใส่ถังที่ 5 ทำให้เกิดประกายไฟเป็นเหตุให้เพลิงไหม้ดังนี้พฤติการณ์ที่จำเลยทั้งสองร่วมกันมาลักทรัพย์โดยวิธีการเช่นนี้ทำให้เกิดไอระเหยของน้ำมันกระจายอยู่ในบริเวณนั้นง่ายต่อการเกิดเพลิงไหม้ ถือได้ว่าเป็นการกระทำโดยประมาท เพราะแบตเตอรี่เป็นเครื่องกำเนิดไฟฟ้าและน้ำมันเป็นวัตถุที่ติดไฟได้ง่าย เมื่อเกิดเพลิงไหม้ขึ้นเนื่องจากวิธีการในการลักทรัพย์ของจำเลยทั้งสองซึ่งกระทำด้วยความประมาท ต้องถือว่าเป็นผลอันเกิดจากการกระทำของจำเลยทุกคนที่ร่วมกันลักทรัพย์ ดังนั้นแม้จำเลยที่ 3 จะมิได้เป็นผู้ถอดสายไฟจากขั้วแบตเตอรี่ก็ต้องฟังว่าจำเลยที่ 3 ร่วมกระทำด้วย จำเลยที่ 3 จึงต้องมีความผิดฐานทำให้เกิดเพลิงไหม้โดยประมาท.(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 2/2530)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1763/2505

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจตนาในการรื้อถอนเรือน: การปฏิบัติหน้าที่สุจริตและเชื่อว่าเรือนเป็นของบุตรเขย ทำให้ไม่มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา
เรือนพิพาทจะเป็นของโจทก์หรือไม่ก็ตาม แต่บุตรเขยโจทก์ยินยอมให้รื้อเรือนนี้และบุตรเขยโจทก์ก็ได้มาอยู่จัดการรื้อเรือนด้วย จำเลยจึงรื้อ แสดงว่าจำเลยคิดว่าเรือนเป็นของบุตรเขยโจทก์ การกระทำของจำเลยไม่เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 358,362 เพราะขาดเจตนาตามมาตรา 59 วรรคสาม
of 3