พบผลลัพธ์ทั้งหมด 260 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2650/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิด พ.ร.บ.ป่าไม้: ครอบครอง/แปรรูปไม้หวงห้ามในเขตควบคุม แม้รับสารภาพเฉพาะบางข้อหา ศาลใช้ประโยชน์จากคำรับสารภาพทั้งหมดได้
คำว่า "ครอบครอง" ตาม พ.ร.บ.ป่าไม้ พ.ศ.2484หมายความรวมถึงครอบครองเพื่อตนเองและครอบครองแทนผู้อื่นด้วย เพราะไม่มีบทกฎหมายใดจำกัดว่าต้องเป็นการครอบครองเพื่อตนเองเท่านั้นจึงจะเป็นความผิดอีกทั้งในทางอาญา การร่วมกันครอบครองไม้หวงห้ามก็เป็นความผิดเช่นเดียวกันดังนั้นการที่จำเลยครอบครองไม้ยูงซึ่งเป็นไม้หวงห้ามประเภท ก.เพื่อแปรรูปให้ผู้ว่าจ้างจึงเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ป่าไม้
เดิมจำเลยให้การปฏิเสธฟ้องโจทก์ทุกข้อหา ก่อนสืบพยานโจทก์จำเลยขอถอนคำให้การเดิมที่ปฏิเสธฟ้องโจทก์ทุกข้อหา เป็นขอให้การรับสารภาพในข้อหาร่วมกับพวกแปรรูปไม้ยูงโดยไม่ได้รับอนุญาต ส่วนข้อหาอื่นคงให้การปฏิเสธเมื่อปรากฏว่าโจทก์ได้กล่าวในฟ้องตอนต้นแล้วว่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตร-และสหกรณ์ได้ออกประกาศให้กำหนดเขตควบคุมการแปรรูปไม้ตลอดเขตท้องที่จังหวัดทุกจังหวัด โดยประกาศดังกล่าวทางราชการได้คัดสำเนาประกาศไว้ ณ ที่ว่าการ-อำเภอ ที่ทำการกำนัน และที่สาธารณสถานในท้องที่ที่เกี่ยวข้อง และในท้องที่ที่เกิดเหตุคดีนี้ให้ทราบโดยทั่วกัน และกล่าวในฟ้องต่อไปว่า จำเลยกับพวกร่วมกันแปรรูปไม้ยูงโดยร่วมกันเลื่อยเพื่อเปิดปีกไม้อันเป็นการทำให้ไม้เปลี่ยนรูปและขนาดไปจากเดิมภายในเขตควบคุมการแปรรูปไม้ โดยไม่ได้รับอนุญาตจากพนักงาน-เจ้าหน้าที่ เมื่อจำเลยให้การรับสารภาพในข้อหาร่วมกับพวกแปรรูปไม้ยูงโดยไม่ได้รับอนุญาตตามฟ้อง ย่อมเป็นการรับสารภาพตามข้อความที่โจทก์กล่าวในฟ้อง คำให้การรับสารภาพของจำเลยจึงรวมถึงการแปรรูปไม้ภายในเขตควบคุมการแปรรูปไม้และรวมถึงการคัดสำเนาประกาศไว้ ณ ที่ว่าการอำเภอและที่ทำการกำนันหรือที่สาธารณสถานในท้องที่ที่เกี่ยวข้องและในท้องที่ที่เกิดเหตุคดีนี้ด้วย โจทก์จึงไม่จำต้องสืบพยานถึงการปิดสำเนาประกาศดังกล่าว
ความผิดตาม พ.ร.บ.ป่าไม้ พ.ศ.2484 มาตรา 48 วรรคหนึ่ง,73 วรรคสอง ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงยี่สิบปี และปรับตั้งแต่ห้าพันบาทถึงสองแสนบาท เมื่อจำเลยให้การรับสารภาพตามฟ้องศาลย่อมพิพากษาโดยไม่สืบพยานหลักฐานในข้อหาความผิดนี้ได้ ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 176 วรรคหนึ่ง
เดิมจำเลยให้การปฏิเสธฟ้องโจทก์ทุกข้อหา ก่อนสืบพยานโจทก์จำเลยขอถอนคำให้การเดิมที่ปฏิเสธฟ้องโจทก์ทุกข้อหา เป็นขอให้การรับสารภาพในข้อหาร่วมกับพวกแปรรูปไม้ยูงโดยไม่ได้รับอนุญาต ส่วนข้อหาอื่นคงให้การปฏิเสธเมื่อปรากฏว่าโจทก์ได้กล่าวในฟ้องตอนต้นแล้วว่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตร-และสหกรณ์ได้ออกประกาศให้กำหนดเขตควบคุมการแปรรูปไม้ตลอดเขตท้องที่จังหวัดทุกจังหวัด โดยประกาศดังกล่าวทางราชการได้คัดสำเนาประกาศไว้ ณ ที่ว่าการ-อำเภอ ที่ทำการกำนัน และที่สาธารณสถานในท้องที่ที่เกี่ยวข้อง และในท้องที่ที่เกิดเหตุคดีนี้ให้ทราบโดยทั่วกัน และกล่าวในฟ้องต่อไปว่า จำเลยกับพวกร่วมกันแปรรูปไม้ยูงโดยร่วมกันเลื่อยเพื่อเปิดปีกไม้อันเป็นการทำให้ไม้เปลี่ยนรูปและขนาดไปจากเดิมภายในเขตควบคุมการแปรรูปไม้ โดยไม่ได้รับอนุญาตจากพนักงาน-เจ้าหน้าที่ เมื่อจำเลยให้การรับสารภาพในข้อหาร่วมกับพวกแปรรูปไม้ยูงโดยไม่ได้รับอนุญาตตามฟ้อง ย่อมเป็นการรับสารภาพตามข้อความที่โจทก์กล่าวในฟ้อง คำให้การรับสารภาพของจำเลยจึงรวมถึงการแปรรูปไม้ภายในเขตควบคุมการแปรรูปไม้และรวมถึงการคัดสำเนาประกาศไว้ ณ ที่ว่าการอำเภอและที่ทำการกำนันหรือที่สาธารณสถานในท้องที่ที่เกี่ยวข้องและในท้องที่ที่เกิดเหตุคดีนี้ด้วย โจทก์จึงไม่จำต้องสืบพยานถึงการปิดสำเนาประกาศดังกล่าว
ความผิดตาม พ.ร.บ.ป่าไม้ พ.ศ.2484 มาตรา 48 วรรคหนึ่ง,73 วรรคสอง ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงยี่สิบปี และปรับตั้งแต่ห้าพันบาทถึงสองแสนบาท เมื่อจำเลยให้การรับสารภาพตามฟ้องศาลย่อมพิพากษาโดยไม่สืบพยานหลักฐานในข้อหาความผิดนี้ได้ ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 176 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2251/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ศาลฎีกายกคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ กรณีไม่รับวินิจฉัยอุทธรณ์เรื่องพยานหลักฐาน ชี้เป็นประเด็นที่ต้องพิจารณา
คดีอาญาโจทก์มีหน้าที่นำพยานหลักฐานเข้าสืบเพื่อพิสูจน์ว่าจำเลยได้กระทำความผิดตามฟ้อง ดังนั้นปัญหาที่จำเลยอุทธรณ์ว่าพยานหลักฐานที่โจทก์นำมาสืบมีน้ำหนักรับฟังลงโทษจำเลยได้หรือไม่ ถือได้ว่าเป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น แม้ในศาลชั้นต้นจำเลยจะนำสืบปฏิเสธโดยอ้างฐานที่อยู่ก็ตาม การที่ศาลอุทธรณ์ไม่รับวินิจฉัยอุทธรณ์ของจำเลยเมื่อเป็นการไม่ชอบ ศาลฎีกาให้ย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์ปฏิบัติให้ถูกต้องตามกระบวนพิจารณาและเพื่อให้การวินิจฉัยความผิดของจำเลยเป็นไปตามลำดับศาล ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 208(2)ประกอบด้วยมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2251/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หน้าที่นำสืบพยานหลักฐานของโจทก์และการวินิจฉัยอุทธรณ์ตามลำดับศาล
คดีอาญาโจทก์มีหน้าที่นำพยานหลักฐานเข้าสืบเพื่อพิสูจน์ว่าจำเลยได้กระทำความผิดตามฟ้อง ดังนั้นปัญหาที่จำเลยอุทธรณ์ว่าพยานหลักฐานที่โจทก์นำมาสืบมีน้ำหนักรับฟังลงโทษจำเลยได้หรือไม่ ถือได้ว่าเป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น แม้ในศาลชั้นต้นจำเลยจะนำสืบปฏิเสธโดยอ้างฐานที่อยู่ก็ตาม
การที่ศาลอุทธรณ์ไม่รับวินิจฉัยอุทธรณ์ของจำเลยเมื่อเป็นการไม่ชอบ ศาลฎีกาให้ย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์ปฏิบัติให้ถูกต้องตามกระบวนพิจารณาและเพื่อให้การวินิจฉัยความผิดของจำเลยเป็นไปตามลำดับศาล ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 208 (2) ประกอบด้วยมาตรา 225
การที่ศาลอุทธรณ์ไม่รับวินิจฉัยอุทธรณ์ของจำเลยเมื่อเป็นการไม่ชอบ ศาลฎีกาให้ย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์ปฏิบัติให้ถูกต้องตามกระบวนพิจารณาและเพื่อให้การวินิจฉัยความผิดของจำเลยเป็นไปตามลำดับศาล ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 208 (2) ประกอบด้วยมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7490/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การดำเนินคดีอาญาที่ศาลต้องพิจารณาความชัดเจนของคำรับสารภาพและข้อหาที่ฟ้อง รวมถึงการแก้ไขคำพิพากษาที่ผิดพลาดด้านกฎหมาย
ตามพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2496 มาตรา 27 และมาตรา 27 ทวิ เป็นคนละฐานความผิดกัน และมีบทกำหนดโทษแตกต่างกัน ทั้งตามคำฟ้องโจทก์แสดงว่าโจทก์ประสงค์จะให้ลงโทษจำเลยที่ 1 ในข้อหาใดข้อหาข้อหนึ่งเพียงข้อหาเดียวดังนั้นจะลงโทษจำเลยที่ 1 ทั้งสองข้อหาไม่ได้ คำรับสารภาพของจำเลยที่ 1 ที่ว่า ขอให้การรับสารภาพตามฟ้องโจทก์ทุกประการนั้นไม่ชัดเจนพอจะชี้ขาดว่าจำเลยที่ 1 ได้กระทำผิดฐานใด และเป็นหน้าที่ของโจทก์ที่จะต้องนำสืบต่อไปให้ได้ความถึงข้อเท็จจริงอันเกี่ยวกับการกระทำผิดของจำเลยที่ 1 โดยชัดแจ้ง เพื่อศาลจะได้นำข้อเท็จจริงดังกล่าวมาปรับบทลงโทษได้ และการที่ศาลจะเลือกปรับบทลงโทษจำเลยได้นั้นหมายถึงกรณีที่ข้อเท็จจริงในคดีเป็นอันยุติแล้วว่าจำเลยได้กระทำอย่างไร หากข้อเท็จจริงยังไม่เป็นที่ชัดแจ้งแล้ว ศาลก็ไม่อาจวินิจฉัยได้ว่าจำเลยมีความผิดฐานใดหรือไม่เมื่อโจทก์ไม่สืบพยาน ศาลจะลงโทษจำเลยที่ 1 โดยอาศัยเพียงแต่คำรับสารภาพดังกล่าวหาได้ไม่ และคดีไม่มีเหตุที่จะย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นดำเนินการสอบถามคำให้การจำเลยที่ 1ใหม่ ศาลต้องพิพากษายกฟ้องโจทก์ การที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาลงโทษจำเลยทั้งสองในความผิดฐานมีไม้ยังมิได้แปรรูปไว้ในครอบครองมาด้วยนั้นเป็นการไม่ชอบ เพราะคำขอท้ายฟ้องโจทก์มิได้ขอให้ลงโทษตามพระราชบัญญัติป่าไม้ฯ มาตรา 69 อันเป็นมาตราในกฎหมายซึ่งบัญญัติว่าการกระทำเช่นนั้นเป็นความผิดมาด้วย ถือว่าโจทก์ไม่ประสงค์ให้ลงโทษในความผิดข้อหาดังกล่าว ปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้จำเลยทั้งสองมิได้อุทธรณ์ฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจแก้ไขให้ถูกต้องได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4377/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานภาษีสรรพสามิต: การนำรถยนต์ออกจากโรงอุตสาหกรรมโดยมิได้เสียภาษี และมีไว้เพื่อขาย
พ.ร.บ.ภาษีสรรพสามิต พ.ศ.2527 มาตรา 20 บัญญัติให้ผู้ประกอบอุตสาหกรรมใดมีสินค้าอยู่ในโรงอุตสาหกรรมในวันที่กฎหมายว่าด้วยพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิตใช้บังคับแก่สินค้านั้น ให้ผู้ประกอบอุตสาหกรรมนั้นยื่นแบบรายการแสดงชนิดและปริมาณของสินค้านั้นตามแบบที่อธิบดีกำหนดต่อเจ้าพนักงานสรรพสามิต ณ สถานที่ตามมาตรา 53 ก่อนหรือพร้อมกับการยื่นแบบรายการภาษีครั้งแรกตามมาตรา 48 ซึ่งตามมาตรา 48 (1) ระบุว่า ในกรณีสินค้าที่ผลิตขึ้นในราชอาณาจักรให้ยื่นแบบรายการภาษีพร้อมกับชำระภาษีก่อนความรับผิดในอันจะต้องเสียภาษีเกิดขึ้น และตามมาตรา 10 ระบุให้ความรับผิดในอันจะต้องเสียภาษีกรณีสินค้าที่ผลิตในราชอาณาจักร โดยถ้าสินค้าอยู่ในโรงอุตสาหกรรม ให้ถือว่าความรับผิดในอันจะต้องเสียภาษีเกิดขึ้นในเวลาที่นำสินค้าออกจากโรงอุตสาหกรรมดังนี้ เมื่อได้มีการเคลื่อนย้ายรถยนต์ของกลางออกจากโรงอุตสาหกรรมแล้วความรับผิดในอันจะต้องเสียภาษีจึงเกิดขึ้นแล้ว และเมื่อจำเลยที่ 1 และที่ 2มิได้ยื่นแบบรายการต่อเจ้าพนักงานสรรพสามิตตามที่กฎหมายกำหนด จำเลยที่ 1และที่ 2 จึงมีความผิดตามมาตรา 20, 48 (1), 148
พ.ร.บ.ภาษีสรรพสามิต พ.ศ.2527 มาตรา 19 บัญญัติ"ห้ามมิให้ผู้ใดนำสินค้าที่ยังมิได้เสียภาษีโดยถูกต้องและครบถ้วนออกไปจากโรงอุตสาหกรรมหรือคลังสินค้าทันฑ์บน เว้นแต่ (1) เป็นการนำสินค้าออกจากโรงงานอุตสาหกรรมไปเก็บไว้ในคลังสินค้าทัณฑ์บนตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีกำหนด... คดีนี้ จำเลยที่ 1 เป็นนิติบุคคล จำเลยที่ 2 เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการคนเดียวของจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 2 ย่อมมีหน้าที่ดูแลบริหารกิจการและสั่งงานเกี่ยวกับกิจการของจำเลยที่ 1 ไม่ว่าโดยทางตรงหรือโดยปริยายการนำรถยนต์ออกจากโรงอุตสาหกรรมเพื่อไปแสดงและจำหน่ายเป็นกิจการของจำเลยที่ 1 เมื่อรถยนต์ของกลางยังมิได้เสียภาษี และจำเลยที่ 1 และที่ 2ไม่อาจนำสืบหักล้างพยานหลักฐานโจทก์ให้ศาลเห็นเป็นอย่างอื่น จึงถือว่าจำเลยที่ 1 และที่ 2 เป็นผู้นำรถยนต์ของกลางออกจากโรงอุตสาหกรรมไปไว้ที่เกิดเหตุและเมื่อไม่ปรากฏว่าที่เกิดเหตุเป็นคลังสินค้าทัณฑ์บน ซึ่งอาจได้รับการยกเว้นตามมาตรา 19 (1) ทั้งการกระทำของจำเลยที่ 1 และที่ 2 ก็ไม่ได้รับการยกเว้นตามที่ระบุไว้ในมาตรา 19 (2) ถึง (5) จำเลยที่ 1 และที่ 2 จึงมีความผิดในข้อหานี้ตามมาตรา 19, 147
ความผิดฐานร่วมกันมีไว้เพื่อขายซึ่งสินค้าโดยรู้อยู่ว่าเป็นสินค้าที่มิได้เสียภาษีหรือเสียภาษีไม่ครบถ้วนตาม พ.ร.บ.ภาษีสรรพสามิต พ.ศ.2527มาตรา 162 (1) ที่บัญญัติห้ามผู้ใดขายหรือมีไว้เพื่อขายซึ่งสินค้าโดยรู้ว่าเป็นสินค้าที่มิได้เสียภาษีหรือเสียภาษีไม่ครบถ้วน เว้นแต่ในกรณีที่ผู้ประกอบอุตสาหกรรมมีไว้ในโรงอุตสาหกรรมหรือในคลังสินค้าทัณฑ์บนนั้น ไม่มีระเบียบปฏิบัติใดอนุโลมให้ไปเสียภาษีหลังจากที่มีผู้ซื้อแล้วแต่อย่างใด
พ.ร.บ.ภาษีสรรพสามิต พ.ศ.2527 มาตรา 19 บัญญัติ"ห้ามมิให้ผู้ใดนำสินค้าที่ยังมิได้เสียภาษีโดยถูกต้องและครบถ้วนออกไปจากโรงอุตสาหกรรมหรือคลังสินค้าทันฑ์บน เว้นแต่ (1) เป็นการนำสินค้าออกจากโรงงานอุตสาหกรรมไปเก็บไว้ในคลังสินค้าทัณฑ์บนตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีกำหนด... คดีนี้ จำเลยที่ 1 เป็นนิติบุคคล จำเลยที่ 2 เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการคนเดียวของจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 2 ย่อมมีหน้าที่ดูแลบริหารกิจการและสั่งงานเกี่ยวกับกิจการของจำเลยที่ 1 ไม่ว่าโดยทางตรงหรือโดยปริยายการนำรถยนต์ออกจากโรงอุตสาหกรรมเพื่อไปแสดงและจำหน่ายเป็นกิจการของจำเลยที่ 1 เมื่อรถยนต์ของกลางยังมิได้เสียภาษี และจำเลยที่ 1 และที่ 2ไม่อาจนำสืบหักล้างพยานหลักฐานโจทก์ให้ศาลเห็นเป็นอย่างอื่น จึงถือว่าจำเลยที่ 1 และที่ 2 เป็นผู้นำรถยนต์ของกลางออกจากโรงอุตสาหกรรมไปไว้ที่เกิดเหตุและเมื่อไม่ปรากฏว่าที่เกิดเหตุเป็นคลังสินค้าทัณฑ์บน ซึ่งอาจได้รับการยกเว้นตามมาตรา 19 (1) ทั้งการกระทำของจำเลยที่ 1 และที่ 2 ก็ไม่ได้รับการยกเว้นตามที่ระบุไว้ในมาตรา 19 (2) ถึง (5) จำเลยที่ 1 และที่ 2 จึงมีความผิดในข้อหานี้ตามมาตรา 19, 147
ความผิดฐานร่วมกันมีไว้เพื่อขายซึ่งสินค้าโดยรู้อยู่ว่าเป็นสินค้าที่มิได้เสียภาษีหรือเสียภาษีไม่ครบถ้วนตาม พ.ร.บ.ภาษีสรรพสามิต พ.ศ.2527มาตรา 162 (1) ที่บัญญัติห้ามผู้ใดขายหรือมีไว้เพื่อขายซึ่งสินค้าโดยรู้ว่าเป็นสินค้าที่มิได้เสียภาษีหรือเสียภาษีไม่ครบถ้วน เว้นแต่ในกรณีที่ผู้ประกอบอุตสาหกรรมมีไว้ในโรงอุตสาหกรรมหรือในคลังสินค้าทัณฑ์บนนั้น ไม่มีระเบียบปฏิบัติใดอนุโลมให้ไปเสียภาษีหลังจากที่มีผู้ซื้อแล้วแต่อย่างใด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4377/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภาษีสรรพสามิต: การเคลื่อนย้ายสินค้าออกจากโรงงานก่อนชำระภาษีและความผิดตามกฎหมาย
พระราชบัญญัติภาษีสรรพสามิต พ.ศ. 2527 มาตรา 20 บัญญัติให้ผู้ประกอบอุตสาหกรรมใดมีสินค้าอยู่ในโรงอุตสาหกรรมในวันที่กฎหมายว่าด้วยพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิตใช้บังคับแก่สินค้านั้น ให้ผู้ประกอบอุตสาหกรรมนั้นยื่นแบบรายการแสดงชนิดและปริมาณของสินค้านั้นตามแบบที่อธิบดีกำหนดต่อเจ้าพนักงานสรรพสามิต ณ สถานที่ตามมาตรา 53 ก่อนหรือพร้อมกับการยื่นแบบรายการภาษีครั้งแรกตามมาตรา 48 ซึ่งตามมาตรา 48(1) ระบุว่า ในกรณีสินค้าที่ผลิตขึ้นในราชอาณาจักรให้ยื่นแบบรายการภาษีพร้อมกับชำระภาษีก่อนความรับผิดในอันจะต้องเสียภาษีเกิดขึ้น และตามมาตรา 10 ระบุให้ความรับผิดในอันจะต้องเสียภาษีกรณีสินค้าที่ผลิตในราชอาณาจักร โดยถ้าสินค้าอยู่ในโรงอุตสาหกรรม ให้ถือว่าความรับผิดในอันจะต้องเสียภาษีเกิดขึ้นในเวลาที่นำสินค้าออกจากโรงอุตสาหกรรม ดังนี้ เมื่อได้มีการเคลื่อนย้ายรถยนต์ของกลางออกจากโรงอุตสาหกรรมแล้วความรับผิดในอันจะต้องเสียภาษีจึงเกิดขึ้นแล้ว และเมื่อจำเลยที่ 1 และที่ 2 มิได้ยื่นแบบรายการต่อเจ้าพนักงานสรรพสามิตตามที่กฎหมายกำหนด จำเลยที่ 1 และที่ 2 จึงมีความผิดตามมาตรา 20,48(1),148
พระราชบัญญัติภาษีสรรพสามิต พ.ศ. 2527 มาตรา 19 บัญญัติ "ห้ามมิให้ผู้ใดนำสินค้าที่ยังมิได้เสียภาษีโดยถูกต้องและครบถ้วนออกไปจากโรงอุตสาหกรรมหรือคลังสินค้าทันฑ์บน เว้นแต่ (1) เป็นการนำสินค้าออกจากโรงงานอุตสาหกรรมไปเก็บไว้ในคลังสินค้าทัณฑ์บนตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีกำหนด... คดีนี้ จำเลยที่ 1 เป็นนิติบุคคล จำเลยที่ 2 เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการคนเดียวของจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 2 ย่อมมีหน้าที่ดูแลบริหารกิจการและสั่งงานเกี่ยวกับกิจการของจำเลยที่ 1 ไม่ว่าโดยทางตรงหรือโดยปริยาย การนำรถยนต์ออกจากโรงอุตสาหกรรมเพื่อไปแสดงและจำหน่ายเป็นกิจการของจำเลยที่ 1 เมื่อรถยนต์ของกลางยังมิได้เสียภาษี และจำเลยที่ 1 และที่ 2 ไม่อาจนำสืบหักล้างพยานหลักฐานโจทก์ให้ศาลเห็นเป็นอย่างอื่น จึงถือว่าจำเลยที่ 1 และที่ 2 เป็นผู้นำรถยนต์ของกลางออกจากโรงงานอุตสาหกรรมไปไว้ที่เกิดเหตุและเมื่อไม่ปรากฏว่าที่เกิดเหตุเป็นคลังสินค้าทัณฑ์บน ซึ่งอาจได้รับการยกเว้นตามมาตรา 19(1) ทั้งการกระทำของจำเลยที่ 1 และที่ 2 ก็ไม่ได้รับการยกเว้นตามที่ระบุไว้ในมาตรา 19(2) ถึง (5) จำเลยที่ 1 และที่ 2 จึงมีความผิดในข้อหานี้ตามมาตรา 19,147
ความผิดฐานร่วมกันมีไว้เพื่อขายซึ่งสินค้าโดยรู้อยู่ว่าเป็นสินค้าที่มิได้เสียภาษีหรือเสียภาษีไม่ครบถ้วนตามพระราชบัญญัติภาษีสรรพสามิต พ.ศ. 2527 มาตรา 162(1)ที่บัญญัติห้ามผู้ใดขายหรือมีไว้เพื่อขายซึ่งสินค้าโดยรู้ว่าเป็นสินค้าที่มิได้เสียภาษีหรือเสียภาษีไม่ครบถ้วน เว้นแต่ในกรณีที่ผู้ประกอบอุตสาหกรรมมีไว้ในโรงอุตสาหกรรมหรือในคลังสินค้าทัณฑ์บนนั้น ไม่มีระเบียบปฏิบัติใดอนุโลมให้ไปเสียภาษีหลังจากที่มีผู้ซื้อแล้วแต่อย่างใด
พระราชบัญญัติภาษีสรรพสามิต พ.ศ. 2527 มาตรา 19 บัญญัติ "ห้ามมิให้ผู้ใดนำสินค้าที่ยังมิได้เสียภาษีโดยถูกต้องและครบถ้วนออกไปจากโรงอุตสาหกรรมหรือคลังสินค้าทันฑ์บน เว้นแต่ (1) เป็นการนำสินค้าออกจากโรงงานอุตสาหกรรมไปเก็บไว้ในคลังสินค้าทัณฑ์บนตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีกำหนด... คดีนี้ จำเลยที่ 1 เป็นนิติบุคคล จำเลยที่ 2 เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการคนเดียวของจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 2 ย่อมมีหน้าที่ดูแลบริหารกิจการและสั่งงานเกี่ยวกับกิจการของจำเลยที่ 1 ไม่ว่าโดยทางตรงหรือโดยปริยาย การนำรถยนต์ออกจากโรงอุตสาหกรรมเพื่อไปแสดงและจำหน่ายเป็นกิจการของจำเลยที่ 1 เมื่อรถยนต์ของกลางยังมิได้เสียภาษี และจำเลยที่ 1 และที่ 2 ไม่อาจนำสืบหักล้างพยานหลักฐานโจทก์ให้ศาลเห็นเป็นอย่างอื่น จึงถือว่าจำเลยที่ 1 และที่ 2 เป็นผู้นำรถยนต์ของกลางออกจากโรงงานอุตสาหกรรมไปไว้ที่เกิดเหตุและเมื่อไม่ปรากฏว่าที่เกิดเหตุเป็นคลังสินค้าทัณฑ์บน ซึ่งอาจได้รับการยกเว้นตามมาตรา 19(1) ทั้งการกระทำของจำเลยที่ 1 และที่ 2 ก็ไม่ได้รับการยกเว้นตามที่ระบุไว้ในมาตรา 19(2) ถึง (5) จำเลยที่ 1 และที่ 2 จึงมีความผิดในข้อหานี้ตามมาตรา 19,147
ความผิดฐานร่วมกันมีไว้เพื่อขายซึ่งสินค้าโดยรู้อยู่ว่าเป็นสินค้าที่มิได้เสียภาษีหรือเสียภาษีไม่ครบถ้วนตามพระราชบัญญัติภาษีสรรพสามิต พ.ศ. 2527 มาตรา 162(1)ที่บัญญัติห้ามผู้ใดขายหรือมีไว้เพื่อขายซึ่งสินค้าโดยรู้ว่าเป็นสินค้าที่มิได้เสียภาษีหรือเสียภาษีไม่ครบถ้วน เว้นแต่ในกรณีที่ผู้ประกอบอุตสาหกรรมมีไว้ในโรงอุตสาหกรรมหรือในคลังสินค้าทัณฑ์บนนั้น ไม่มีระเบียบปฏิบัติใดอนุโลมให้ไปเสียภาษีหลังจากที่มีผู้ซื้อแล้วแต่อย่างใด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4377/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภาษีสรรพสามิต: การนำรถยนต์ออกจากโรงงานก่อนชำระภาษี และการมีไว้เพื่อขายโดยมิได้เสียภาษี
พระราชบัญญัติภาษีสรรพสามิต พ.ศ. 2527 มาตรา 20 บัญญัติให้ผู้ประกอบอุตสาหกรรมใดมีสินค้าอยู่ในโรงอุตสาหกรรมในวันที่กฎหมายว่าด้วยพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิตใช้บังคับแก่สินค้านั้น ให้ผู้ประกอบอุตสาหกรรมนั้นยื่นแบบรายการแสดงชนิดและปริมาณของสินค้านั้นตามแบบที่อธิบดีกำหนดต่อเจ้าพนักงานสรรพสามิต ณ สถานที่ตามมาตรา 53 ก่อนหรือพร้อมกับการยื่นแบบรายการภาษีครั้งแรกตามมาตรา 48 ซึ่งตามมาตรา 48(1) ระบุว่า ในกรณีสินค้าที่ผลิตขึ้นในราชอาณาจักรให้ยื่นแบบรายการภาษีพร้อมกับชำระภาษีก่อนความรับผิดในอันจะต้องเสียภาษีเกิดขึ้น และตามมาตรา 10 ระบุให้ความรับผิดในอันจะต้องเสียภาษีกรณีสินค้าที่ผลิตในราชอาณาจักร โดยถ้าสินค้าอยู่ในโรงอุตสาหกรรม ให้ถือว่าความรับผิดในอันจะต้องเสียภาษีเกิดขึ้นในเวลาที่นำสินค้าออกจากโรงอุตสาหกรรม ดังนี้ เมื่อได้มีการเคลื่อนย้ายรถยนต์ของกลางออกจากโรงอุตสาหกรรมแล้วความรับผิดในอันจะต้องเสียภาษีจึงเกิดขึ้นแล้ว และเมื่อจำเลยที่ 1 และที่ 2 มิได้ยื่นแบบรายการต่อเจ้าพนักงานสรรพสามิตตามที่กฎหมายกำหนด จำเลยที่ 1 และที่ 2 จึงมีความผิดตามมาตรา 20,48(1),148
พระราชบัญญัติภาษีสรรพสามิต พ.ศ. 2527 มาตรา 19 บัญญัติ "ห้ามมิให้ผู้ใดนำสินค้าที่ยังมิได้เสียภาษีโดยถูกต้องและครบถ้วนออกไปจากโรงอุตสาหกรรมหรือคลังสินค้าทันฑ์บน เว้นแต่ (1) เป็นการนำสินค้าออกจากโรงงานอุตสาหกรรมไปเก็บไว้ในคลังสินค้าทัณฑ์บนตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีกำหนด... คดีนี้ จำเลยที่ 1 เป็นนิติบุคคล จำเลยที่ 2 เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการคนเดียวของจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 2 ย่อมมีหน้าที่ดูแลบริหารกิจการและสั่งงานเกี่ยวกับกิจการของจำเลยที่ 1 ไม่ว่าโดยทางตรงหรือโดยปริยาย การนำรถยนต์ออกจากโรงอุตสาหกรรมเพื่อไปแสดงและจำหน่ายเป็นกิจการของจำเลยที่ 1 เมื่อรถยนต์ของกลางยังมิได้เสียภาษี และจำเลยที่ 1 และที่ 2 ไม่อาจนำสืบหักล้างพยานหลักฐานโจทก์ให้ศาลเห็นเป็นอย่างอื่น จึงถือว่าจำเลยที่ 1 และที่ 2 เป็นผู้นำรถยนต์ของกลางออกจากโรงงานอุตสาหกรรมไปไว้ที่เกิดเหตุและเมื่อไม่ปรากฏว่าที่เกิดเหตุเป็นคลังสินค้าทัณฑ์บน ซึ่งอาจได้รับการยกเว้นตามมาตรา 19(1) ทั้งการกระทำของจำเลยที่ 1 และที่ 2 ก็ไม่ได้รับการยกเว้นตามที่ระบุไว้ในมาตรา 19(2) ถึง (5) จำเลยที่ 1 และที่ 2 จึงมีความผิดในข้อหานี้ตามมาตรา 19,147
ความผิดฐานร่วมกันมีไว้เพื่อขายซึ่งสินค้าโดยรู้อยู่ว่าเป็นสินค้าที่มิได้เสียภาษีหรือเสียภาษีไม่ครบถ้วนตามพระราชบัญญัติภาษีสรรพสามิต พ.ศ. 2527 มาตรา 162(1)ที่บัญญัติห้ามผู้ใดขายหรือมีไว้เพื่อขายซึ่งสินค้าโดยรู้ว่าเป็นสินค้าที่มิได้เสียภาษีหรือเสียภาษีไม่ครบถ้วน เว้นแต่ในกรณีที่ผู้ประกอบอุตสาหกรรมมีไว้ในโรงอุตสาหกรรมหรือในคลังสินค้าทัณฑ์บนนั้น ไม่มีระเบียบปฏิบัติใดอนุโลมให้ไปเสียภาษีหลังจากที่มีผู้ซื้อแล้วแต่อย่างใด
พระราชบัญญัติภาษีสรรพสามิต พ.ศ. 2527 มาตรา 19 บัญญัติ "ห้ามมิให้ผู้ใดนำสินค้าที่ยังมิได้เสียภาษีโดยถูกต้องและครบถ้วนออกไปจากโรงอุตสาหกรรมหรือคลังสินค้าทันฑ์บน เว้นแต่ (1) เป็นการนำสินค้าออกจากโรงงานอุตสาหกรรมไปเก็บไว้ในคลังสินค้าทัณฑ์บนตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีกำหนด... คดีนี้ จำเลยที่ 1 เป็นนิติบุคคล จำเลยที่ 2 เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการคนเดียวของจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 2 ย่อมมีหน้าที่ดูแลบริหารกิจการและสั่งงานเกี่ยวกับกิจการของจำเลยที่ 1 ไม่ว่าโดยทางตรงหรือโดยปริยาย การนำรถยนต์ออกจากโรงอุตสาหกรรมเพื่อไปแสดงและจำหน่ายเป็นกิจการของจำเลยที่ 1 เมื่อรถยนต์ของกลางยังมิได้เสียภาษี และจำเลยที่ 1 และที่ 2 ไม่อาจนำสืบหักล้างพยานหลักฐานโจทก์ให้ศาลเห็นเป็นอย่างอื่น จึงถือว่าจำเลยที่ 1 และที่ 2 เป็นผู้นำรถยนต์ของกลางออกจากโรงงานอุตสาหกรรมไปไว้ที่เกิดเหตุและเมื่อไม่ปรากฏว่าที่เกิดเหตุเป็นคลังสินค้าทัณฑ์บน ซึ่งอาจได้รับการยกเว้นตามมาตรา 19(1) ทั้งการกระทำของจำเลยที่ 1 และที่ 2 ก็ไม่ได้รับการยกเว้นตามที่ระบุไว้ในมาตรา 19(2) ถึง (5) จำเลยที่ 1 และที่ 2 จึงมีความผิดในข้อหานี้ตามมาตรา 19,147
ความผิดฐานร่วมกันมีไว้เพื่อขายซึ่งสินค้าโดยรู้อยู่ว่าเป็นสินค้าที่มิได้เสียภาษีหรือเสียภาษีไม่ครบถ้วนตามพระราชบัญญัติภาษีสรรพสามิต พ.ศ. 2527 มาตรา 162(1)ที่บัญญัติห้ามผู้ใดขายหรือมีไว้เพื่อขายซึ่งสินค้าโดยรู้ว่าเป็นสินค้าที่มิได้เสียภาษีหรือเสียภาษีไม่ครบถ้วน เว้นแต่ในกรณีที่ผู้ประกอบอุตสาหกรรมมีไว้ในโรงอุตสาหกรรมหรือในคลังสินค้าทัณฑ์บนนั้น ไม่มีระเบียบปฏิบัติใดอนุโลมให้ไปเสียภาษีหลังจากที่มีผู้ซื้อแล้วแต่อย่างใด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2997/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนำเข้าเครื่องเลื่อยโซ่ยนต์ผิดกฎหมาย: การพิสูจน์ความผิดและขอบเขตความรับผิด
เครื่องเลื่อยโซ่ยนต์ยี่ห้อสติล พร้อมบาร์และโซ่ซึ่งจำเลยทั้งสองกับพวกร่วมกันใช้แปรรูปไม้หวงห้ามในคดีนี้เป็นสินค้าที่จะนำเข้ามาในราชอาณาจักรมิได้เว้นแต่สินค้าดังกล่าวได้บรรทุกในยานพาหนะเพื่อส่งจากต่างประเทศต้นทางมายังประเทศไทยก่อนวันที่ประกาศกระทรวงพาณิชย์ฉบับที่91พ.ศ.2521ใช้บังคับหรือได้รับหนังสืออนุญาตจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์หรือผู้ที่ได้รับมอบหมายจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ดังนั้นเมื่อจำเลยทั้งสองมิได้นำสืบให้เห็นว่าเครื่องเลื่อยโซ่ยนต์พร้อมอุปกรณ์ของกลางในคดีนี้เป็นสินค้าที่เข้ามาในราชอาณาจักรไทยโดยถูกต้องเช่นนี้ก็ต้องฟังว่าเครื่องเลื่อยโซ่ยนต์พร้อมอุปกรณ์ของกลางเป็นสินค้าต้องห้ามตามกฎหมายเพราะมีประกาศของกระทรวงพาณิชย์ฉบับที่91พ.ศ.2521ซึ่งได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้วกำหนดไว้อย่างชัดเจนโจทก์จึงไม่จำต้องนำสืบอีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2997/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนำเข้าสินค้าต้องห้าม: เครื่องเลื่อยโซ่ยนต์และอุปกรณ์ ไม่อำนวยให้เข้าตามกฎหมาย
เครื่องเลื่อยโซ่ยนต์ยี่ห้อสติล พร้อมบาร์และโซ่ ซึ่งจำเลยทั้งสองกับพวกร่วมกันใช้แปรรูปไม้หวงห้ามในคดีนี้ เป็นสินค้าที่จะนำเข้ามาในราชอาณาจักรมิได้ เว้นแต่สินค้าดังกล่าวได้บรรทุกในยานพาหนะเพื่อส่งจากต่างประเทศต้นทางมายังประเทศไทยก่อนวันที่ประกาศกระทรวงพาณิชย์ ฉบับที่ 91 พ.ศ.2521 ใช้บังคับ หรือได้รับหนังสืออนุญาตจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ หรือผู้ที่ได้รับมอบหมายจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ดังนั้น เมื่อจำเลยทั้งสองมิได้นำสืบให้เห็นว่าเครื่องเลื่อยโซ่ยนต์พร้อมอุปกรณ์ของกลางในคดีนี้ เป็นสินค้าที่เข้ามาในราชอาณาจักรไทยโดยถูกต้องเช่นนี้ ก็ต้องฟังว่าเครื่องเลื่อยโซ่ยนต์พร้อมอุปกรณ์ของกลางเป็นสินค้าต้องห้ามตามกฎหมาย เพราะมีประกาศของกระทรวงพาณิชย์ฉบับที่ 91 พ.ศ.2521 ซึ่งได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้วกำหนดไว้อย่างชัดเจนโจทก์จึงไม่จำต้องนำสืบอีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2997/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนำเข้าเครื่องเลื่อยโซ่ยนต์ต้องห้ามและการกระทำความผิดตาม พ.ร.บ.ศุลกากรและป่าไม้
เครื่องเลื่อยโซ่ยนต์ยี่ห้อสติลพร้อมบาร์และโซ่ ซึ่งจำเลยทั้งสองกับพวกร่วมกันใช้แปรรูปไม้หวงห้ามในคดีนี้ เป็นสินค้าที่จะนำเข้ามาในราชอาณาจักรมิได้ เว้นแต่สินค้าดังกล่าวได้บรรทุกในยานพาหนะเพื่อส่งจากต่างประเทศต้นทางมายังประเทศไทยก่อนวันที่ประกาศกระทรวงพาณิชย์ ฉบับที่ 91พ.ศ. 2521 ใช้บังคับ หรือได้รับหนังสืออนุญาตจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ หรือผู้ที่ได้รับมอบหมายจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ดังนั้น เมื่อจำเลยทั้งสองมิได้นำสืบให้เห็นว่าเครื่องเลื่อยโซ่ยนต์ พร้อมอุปกรณ์ของกลางในคดีนี้ เป็นสินค้าที่เข้ามาในราชอาณาจักรไทยโดยถูกต้องเช่นนี้ก็ต้องฟังว่าเครื่องเลื่อยโซ่ยนต์พร้อมอุปกรณ์ของกลางเป็นสินค้าต้องห้ามตามกฎหมาย เพราะมีประกาศของกระทรวงพาณิชย์ ฉบับที่ 91 พ.ศ. 2521 ซึ่งได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้วกำหนดไว้อย่างชัดเจนโจทก์จึงไม่จำต้องนำสืบอีก