คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
บุญมี ฐิตะศิริ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 132 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10850/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ตัวแทนเชิด: สัญญาจ้างเหมามีผลผูกพันกับตัวการ แม้จะอ้างว่าโจทก์เป็นตัวแทน
ป.พ.พ. บัญญัติเกี่ยวกับเรื่องตัวแทนเชิดไว้ในมาตรา 821 ว่าบุคคลผู้ใดเชิดบุคคลอีกคนหนึ่งออกแสดงเป็นตัวแทนของตนก็ดี รู้แล้วยอมให้บุคคลอีกคนหนึ่งเชิดตัวเขาเองออกแสดงเป็นตัวแทนของตนก็ดี ท่านว่าบุคคลนั้นจะต้องรับผิดต่อบุคคลภายนอกผู้สุจริตเสมือนว่าบุคคลอีกคนหนึ่งนั้นเป็นตัวแทนของตน จึงเป็นบทบัญญัติถึงความรับผิดของตัวการที่มีต่อบุคคลภายนอกเท่านั้น มิได้กำหนดให้บุคคลภายนอกต้องรับผิดหรือมีความผูกพันต่อตัวการ บุคคลภายนอกย่อมมีอำนาจฟ้องตัวการให้รับผิดได้ แต่บุคคลภายนอกไม่อาจฟ้องตัวแทนได้ และตัวการก็จะฟ้องบุคคลภายนอกให้รับผิดไม่ได้เช่นกัน เมื่อจำเลยเป็นบุคคลภายนอกจึงหาอาจกล่าวอ้างว่าโจทก์ซึ่งลงชื่อเป็นผู้รับจ้างในสัญญาจ้างเหมาที่ทำกับตนนั้นเป็นเพียงตัวแทนเชิดของบริษัท จ. ตัวการเพื่อให้จำเลยไม่ต้องผูกพันหรือรับผิดตามสัญญาได้ไม่ จำเลยจึงต้องผูกพันรับผิดตามสัญญาจ้างเหมากับโจทก์ โจทก์มีอำนาจฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9797/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิครอบครองที่ดิน: เขตปฏิรูปที่ดินไม่ตัดสิทธิผู้มีกรรมสิทธิ์เดิม
การประกาศเขตปฏิรูปที่ดินเพื่อการเกษตรกรรมตาม พ.ร.บ.การปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ.2518 มาตรา 26 แม้ทำให้สำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมมีอำนาจนำที่ดินนั้นมาใช้ในการปฏิรูปที่ดินเพื่อการเกษตรกรรมได้ แต่ไม่เป็นการถอนสภาพที่ดินที่มีผู้ได้กรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองโดยชอบด้วยกฎหมายอยู่ก่อนวันที่ พ.ร.บ.การปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ.2518 ใช้บังคับ ดังนั้น แม้จะมีการประกาศเขตปฏิรูปที่ดินเพื่อการเกษตรกรรมบริเวณที่ดินพิพาท แต่เมื่อจำเลยที่ 1 อ้างว่าหนังสือรับรองการทำประโยชน์ของจำเลยที่ 1 ออกโดยชอบด้วยกฎหมาย ผู้ที่โต้แย้งสิทธิของจำเลยที่ 1 คือ สำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมซึ่งเป็นเจ้าของที่ดินในเขตปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม โจทก์ที่ 1 และที่ 2 เป็นเพียงผู้ได้รับอนุญาตให้ครอบครองทำประโยชน์ จึงไม่มีอำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3) ของจำเลยที่ 1 และเมื่อจำเลยที่ 1 มีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาท จึงฟังไม่ได้ว่ามีการละเมิด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9610/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอุทธรณ์คำสั่งศาลเกี่ยวกับค่าขึ้นศาลในคดีอนุญาโตตุลาการต้องเป็นไปตามลำดับชั้นศาลตามกฎหมาย
ตาม พ.ร.บ.อนุญาโตตุลาการ พ.ศ.2545 มาตรา 45 บัญญัติห้ามมิให้อุทธรณ์คำสั่งหรือคำพิพากษาของศาลตามพระราชบัญญัตินี้ เว้นแต่ (1) - (5)
คดีนี้ผู้ร้องอุทธรณ์โต้แย้งคำสั่งของศาลชั้นต้นที่อนุญาตให้ผู้คัดค้านขยายระยะเวลาวางเงินค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์ มิใช่เป็นการอุทธรณ์คำสั่งหรือคำพิพากษาของศาลตามพระราชบัญญัตินี้ แต่เป็นเพียงการอุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้นในเรื่องการตรวจรับอุทธรณ์ ตาม ป.วิ.พ. ภาค 3 ลักษณะ 1 ว่าด้วยการอุทธรณ์ ที่ผู้อุทธรณ์ต้องอุทธรณ์ไปตามลำดับชั้นศาล
และจะถือเป็นการอนุโลมว่าผู้ร้องประสงค์จะอุทธรณ์ปัญหาข้อกฎหมายโดยตรงต่อศาลฎีกา ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 223 ทวิ ก็ไม่ได้เช่นกัน เพราะผู้ร้องมิได้ทำเป็นคำร้องมาพร้อมคำฟ้องอุทธรณ์เพื่อขออนุญาตอุทธรณ์ข้อกฎหมายต่อศาลฎีกา ตามหลักเกณฑ์ของบทบัญญัติมาตรา 223 ทวิ ที่ศาลชั้นต้นสั่งอุทธรณ์คำสั่งของผู้ร้องมายังศาลฎีกา จึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9526/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอนุมัติเพิ่มจำนวนรถโดยสารประจำทางมีผลเมื่อใด และการบังคับคดีเมื่อชำระหนี้ครบถ้วน
การอนุมัติให้จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งประจำทางภายในจังหวัดอุบลราชธานีเพิ่มจำนวนรถและจำนวนเที่ยวการเดินรถ เป็นการพิจารณากำหนด (ปรับปรุง) เงื่อนไขการเดินรถตามที่นายทะเบียนจังหวัดอุบลราชธานีเสนอโดยได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการควบคุมการขนส่งประจำจังหวัดอุบลราชธานี อันเข้าลักษณะเป็นการออกใบอนุญาตประกอบการขนส่งประจำทาง ตาม พ.ร.บ.การขนส่งทางบก พ.ศ.2522 มาตรา 31 (1) และ (11) หาใช่การพิจารณากำหนดเส้นทาง จำนวนผู้ประกอบการขนส่งและจำนวนรถสำหรับการขนส่งประจำทางตาม มาตรา 20 (1) อันจะต้องได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางอีกชั้นหนึ่ง การอนุมัติให้จำเลยที่ 1 เพิ่มจำนวนรถและจำนวนเที่ยวการเดินรถ จึงมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 21 ตุลาคม 2547 ซึ่งเป็นวันที่นายทะเบียนกำหนด (ปรับปรุง) เงื่อนไขการเดินรถดังกล่าว เมื่อจำนวนรถและจำนวนเที่ยวการเดินรถดังกล่าวไม่เกินกว่าจำนวนที่โจทก์กล่าวอ้างตามฟ้องว่าเป็นการละเมิดต่อโจทก์ ถือได้ว่าจำเลยทั้งสี่หยุดการกระทำที่เป็นการละเมิดต่อโจทก์ตั้งแต่วันที่ 21 ตุลาคม 2547 และเมื่อไม่มีประเด็นพิพาทเกี่ยวกับจำนวนเงินค่าเสียหายและค่าฤชาธรรมเนียมซึ่งจำเลยที่ 4 นำมาวางชำระจนถึงวันที่ 21 ตุลาคม 2547 ว่าไม่ครบถ้วนตามสัญญาแล้ว โจทก์ย่อมไม่สามารถบังคับคดีเอาแก่ทรัพย์สินของจำเลยทั้งสี่ได้อีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8687-8688/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนสิทธิจัดการมรดกสู่ทายาทหลังผู้จัดการมรดกเสียชีวิต และความสมบูรณ์ของพินัยกรรมที่ลงลายมือชื่อและพิมพ์ลายนิ้วมือ
เมื่อจำเลยถึงแก่ความตาย คำสั่งศาลที่ตั้งจำเลยเป็นผู้จัดการมรดกไม่มีผลต่อไป แต่ความรับผิดของผู้จัดการมรดกอันเกิดจากการจัดการมรดกมิชอบมิใช่เป็นการเฉพาะตัวจึงย่อมตกทอดแก่ทายาท ที่ศาลอนุญาตให้ ท. เป็นคู่ความแทนที่จำเลยจึงชอบแล้ว
พินัยกรรมมีลายมือชื่อพยานสองคนและไม่มีกฎหมายห้ามมิให้พยานในพินัยกรรมเป็นพยานรับรองลายพิมพ์นิ้วมือในขณะเดียวกัน เมื่อไม่ปรากฏว่าพยานในพินัยกรรมทั้งสองเป็นบุคคลต้องห้าม ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1670 การที่ผู้ทำพินัยกรรมลงลายมือชื่อและพิมพ์ลายนิ้วมือต่อหน้า ช. กับ ห. เมื่อบุคคลทั้งสองลงลายมือชื่อรับรองไว้ในขณะทำพินัยกรรม ตามมาตรา 1665 พินัยกรรมจึงถูกต้องตามแบบและสมบูรณ์ตามกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8687-8688/2558 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของผู้จัดการมรดกตกทอดแก่ทายาท แม้ผู้จัดการมรดกถึงแก่ความตาย พินัยกรรมถูกต้องตามกฎหมาย
เมื่อจำเลยถึงแก่ความตาย แม้คำสั่งศาลที่แต่งตั้งให้จำเลยเป็นผู้จัดการมรดกไม่มีผลต่อไปก็ตาม แต่ความรับผิดของผู้จัดการมรดกอันเกิดจากการจัดการมรดกมิชอบ มิใช่เป็นการเฉพาะตัวจึงย่อมตกทอดแก่ทายาท
นอกจาก ผ. จะลงลายมือชื่อในการทำพินัยกรรมแล้ว ผ. ยังได้พิมพ์ลายนิ้วมือไว้ด้วย โดยมีลายมือชื่อพยานสองคน และไม่มีกฎหมายห้ามมิให้พยานในพินัยกรรมเป็นพยานรับรองลายพิมพ์นิ้วมือในขณะเดียวกันมิได้ เมื่อไม่ปรากฏว่าพยานในพินัยกรรมทั้งสองคนเป็นบุคคลต้องห้ามมิให้เป็นพยานตาม ป.พ.พ. มาตรา 1670 เมื่อ ผ. ลงลายมือชื่อและพิมพ์ลายนิ้วมือต่อหน้า ช. และ ห. และ ช. กับ ห. ลงลายมือชื่อรับรองไว้ขณะทำพินัยกรรม ตามมาตรา 1665 พินัยกรรมจึงถูกต้องตามแบบและสมบูรณ์ตามกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6798/2558 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจทุเลาการบังคับเป็นอำนาจของศาลชั้นต้น-อุทธรณ์เฉพาะ ไม่เปิดอุทธรณ์ฎีกา และการเป็นผู้สืบสิทธิจำเลย
ป.วิ.พ. กำหนดให้การขอทุเลาการบังคับ อยู่ในอำนาจของศาลเป็นชั้นๆ ไป การขอทุเลาการบังคับในระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ภาค 2 จึงเป็นเรื่องที่อยู่ในอำนาจของศาลอุทธรณ์ภาค 2 โดยเฉพาะ ทั้งศาลอุทธรณ์ภาค 2 จะอนุญาตให้ทุเลาการบังคับภายใต้บังคับเงื่อนไขใดๆ ก็ได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 231 ซึ่งเป็นเรื่องที่กฎหมายกำหนดวิธีการไว้เป็นพิเศษ ไม่อยู่ในบังคับอุทธรณ์ฎีกาอย่างเรื่องอื่นๆ ผู้ร้องเป็นผู้ซื้อที่ดินพิพาทจากจำเลย ผู้ร้องจึงเป็นผู้สืบสิทธิ และถือว่าเป็นคู่ความฝ่ายเดียวกับจำเลย ผู้ร้องจึงฎีกาคำสั่งของศาลอุทธรณ์ภาค 2 ซึ่งเป็นคำสั่งที่ต่อเนื่องกับคำสั่งทุเลาการบังคับของศาลอุทธรณ์ภาค 2 ไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6798/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลในการทุเลาการบังคับเป็นไปตามชั้นศาล การฎีกาคำสั่งทุเลาการบังคับไม่ชอบ
ป.วิ.พ. กำหนดให้การขอทุเลาการบังคับอยู่ในอำนาจของศาลเป็นชั้นๆ ไป การขอทุเลาการบังคับในระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ภาค 2 จึงเป็นเรื่องที่อยู่ในอำนาจของศาลอุทธรณ์ภาค 2 โดยเฉพาะ ทั้งศาลอุทธรณ์ภาค 2 จะอนุญาตให้ทุเลาการบังคับภายใต้เงื่อนไขใดๆ ก็ได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 231 ซึ่งเป็นเรื่องที่กฎหมายกำหนดวิธีการไว้เป็นพิเศษ ไม่อยู่ในบังคับอุทธรณ์ฎีกาอย่างเรื่องอื่นๆ ผู้ร้องเป็นผู้ซื้อที่ดินพิพาทจากจำเลย ผู้ร้องจึงเป็นผู้สืบสิทธิและถือว่าเป็นคู่ความฝ่ายเดียวกับจำเลย ผู้ร้องจึงฎีกาคำสั่งของศาลอุทธรณ์ภาค 2 ซึ่งเป็นคำสั่งที่ต่อเนื่องกับคำสั่งทุเลาการบังคับของศาลอุทธรณ์ภาค 2 ไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5598-5599/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิครอบครองที่ดิน: ฟ้องขับไล่จากผู้รับโอนสิทธิจากเจ้าของเดิม การครอบครองโดยอาศัยสิทธิเช่า ไม่ถือเป็นการได้มาซึ่งสิทธิที่ดีกว่า
ป.วิ.พ. มาตรา 88 วรรคหนึ่ง กำหนดให้คู่ความที่มีความจำนงจะอ้างอิงพยานหลักฐานสนับสนุนข้ออ้างหรือข้อเถียงของตน ต้องยื่นบัญชีระบุพยานต่อศาลก่อนวันสืบพยานไม่น้อยกว่าเจ็ดวัน หากคู่ความประสงค์จะยื่นบัญชีระบุพยานเพิ่มเติม ให้ยื่นคำแถลงขอระบุพยานเพิ่มเติมต่อศาลพร้อมบัญชีระบุพยานเพิ่มเติมภายในสิบห้าวันนับแต่วันสืบพยานตามวรรคสองแห่งบทมาตราดังกล่าว แต่หากกำหนดเวลาดังกล่าวล่วงพ้นไปแล้ว คู่ความฝ่ายใดซึ่งยังมิได้ยื่นบัญชีระบุพยาน มีความจำนงจะอ้างพยานหลักฐานเพื่อสนับสนุนข้ออ้างหรือข้อเถียงของตน คู่ความฝ่ายใดนั้น ต้องยื่นคำร้องขออนุญาตอ้างพยานหลักฐานเช่นว่านั้นต่อศาลพร้อมบัญชีระบุพยานก่อนพิพากษาคดี โดยต้องแสดงให้เป็นที่พอใจแก่ศาลได้ว่า มีเหตุอันสมควรที่ไม่สามารถมายื่นบัญชีระบุพยานตามกำหนดเวลาดังกล่าวได้และศาลจะอนุญาตตามคำร้องเมื่อเห็นว่า เพื่อให้การวินิจฉัยชี้ขาดข้อสำคัญแห่งประเด็นเป็นไปโดยเที่ยงธรรม จำเป็นต้องสืบพยานหลักฐานเช่นว่านั้น ตามที่บัญญัติไว้ในวรรคสามแห่งบทกฎหมายข้างต้น
จำเลยที่ 3 ที่ 5 และที่ 6 เพิ่งยื่นคำร้องขออนุญาตยื่นบัญชีระบุพยาน ภายหลังวันสืบพยานโจทก์เสร็จสิ้น โดยจำเลยที่ 3 อ้างเหตุว่า พยานบุคคลเพิ่งยืนยันจะมาเป็นพยานและเพิ่งค้นหาเอกสารที่จะนำมาสืบได้ ส่วนจำเลยที่ 5 และที่ 6 อ้างว่า บ้านพักของจำเลยที่ 5 และที่ 6 บนที่ดินพิพาทถูกน้ำท่วมต้องย้ายสิ่งของ เพิ่งค้นพบพยานหลักฐานที่จะนำมาประกอบการสืบพยาน และ พ. ทนายจำเลยที่ 3 ที่ 5 และที่ 6 ผู้ยื่นคำร้องดังกล่าว ได้แถลงต่อศาลชั้นต้นในวันสืบพยานจำเลย ว่า เพิ่งได้รับแต่งตั้งให้เป็นทนายจำเลยที่ 3 ที่ 5 และที่ 6 เข้าใจว่าทนายความคนเดิมได้ยื่นบัญชีระบุพยานไว้แล้ว แต่ข้อเท็จจริงกลับได้ความว่า จำเลยที่ 3 ที่ 5 และที่ 6 ยื่นคำให้การต่อสู้โต้เถียงสิทธิของโจทก์มาแต่ต้นอ้างเหตุว่า จำเลยที่ 3 ที่ 5 และที่ 6 ครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทด้วยเจตนาเป็นเจ้าของตั้งแต่ปี 2538 โดยเฉพาะจำเลยที่ 3 และที่ 5 ยังร่วมกับจำเลยที่ 1 ฟ้องแย้งว่า ตนเป็นผู้มีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทห้ามโจทก์และบริวารเข้าเกี่ยวข้อง จำเลยที่ 3 ที่ 5 และที่ 6 ย่อมต้องทราบถึงพยานหลักฐานที่จะใช้อ้างอิงสนับสนุนข้ออ้างข้อเถียงของตน ประกอบกับ พ. ทนายจำเลยที่ 3 ที่ 5 และที่ 6 ได้รับแต่งตั้งให้เป็นทนายจำเลยที่ 3 และที่ 5 และเป็นทนายจำเลยที่ 6 ก่อนวันสืบพยานโจทก์ประมาณ 1 ปี ทั้งยังเข้าแก้ต่างคดีแทนจำเลยที่ 3 ที่ 5 และที่ 6 ตั้งแต่กระบวนพิจารณาในชั้นขอให้เจ้าพนักงานที่ดินรังวัดทำแผนที่พิพาทและการตรวจดูแผนที่พิพาทในวันนัดชี้สองสถาน อันเชื่อว่าจำเลยที่ 3 ที่ 5 และที่ 6 กับ พ. ต้องทราบดีถึงข้อต่อสู้และพยานหลักฐานที่จะใช้อ้างแสดงประกอบข้อต่อสู้ และเมื่อพิจารณาว่าพยานหลักฐานซึ่งจำเลยที่ 3 ที่ 5 และที่ 6 ประสงค์จะอ้างอิง เป็นเพียงการอ้างตัวจำเลยที่ 3 ที่ 5 ที่ 6 กับ ส. และพยานเอกสารที่อยู่ในความรู้เห็นและในครอบครองของจำเลยที่ 3 ที่ 5 และที่ 6 ตลอดจนตามคำร้องขอระบุพยานของจำเลยที่ 3 ที่ 5 และที่ 6 ก็อ้างเพียงว่า เพิ่งค้นหาเอกสารพบและเพิ่งตั้งทนายความคนใหม่ซึ่งขัดแย้งกับข้อเท็จจริงในทางพิจารณาที่ปรากฏชัดว่า พ. ทนายจำเลยที่ 3 ที่ 5 ที่ 6 ได้รับแต่งตั้งให้แก้ต่างคดีมาเป็นเวลาประมาณ 1 ปี ข้ออ้างตามคำร้องจึงมิใช่ข้อเท็จจริงที่พิสูจน์แสดงได้ว่าเป็นเหตุอันสมควรที่จำเลยที่ 3 ที่ 5 และที่ 6 ไม่สามารถยื่นบัญชีระบุพยานตามกำหนดเวลาที่บัญญัติไว้ใน ป.วิ.พ. มาตรา 88 วรรคหนึ่ง และวรรคสอง กรณีย่อมไม่อาจรับฟังว่ามีเหตุอันสมควรที่จำเลยที่ 3 ที่ 5 และที่ 6 ไม่สามารถยื่นบัญชีระบุพยานตามกำหนดเวลาที่กฎหมายบัญญัติไว้ และเมื่อการอ้างพยานหลักฐานดังกล่าวเป็นไปเพื่อประโยชน์ของจำเลยที่ 3 ที่ 5 และที่ 6 ทั้งการอนุญาตให้ยื่นบัญชีพยานภายหลังกำหนดเวลาสิบห้าวันนับแต่วันสืบพยาน ต้องเป็นกรณีศาลเห็นว่าเพื่อให้การวินิจฉัยชี้ขาดข้อสำคัญแห่งประเด็นเป็นไปโดยเที่ยงธรรม จำเป็นจะต้องสืบพยานหลักฐานเช่นว่านั้น ไม่อาจยกเหตุเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมขึ้นเป็นข้ออ้างในการพิจารณาอนุญาต กรณีไม่มีเหตุอันสมควรจะอนุญาตให้จำเลยที่ 3 ที่ 5 และที่ 6 ยื่นบัญชีระบุพยานภายหลังวันสืบพยานโจทก์เสร็จสิ้น ดังนั้น การสืบพยานหลักฐานของจำเลยที่ 3 ที่ 5 และที่ 6 ตามบัญชีระบุพยานดังกล่าวที่เป็นไปเพื่อประโยชน์ของจำเลยที่ 3 ที่ 5 และที่ 6 ทั้งมิใช่พยานหลักฐานอันสำคัญเกี่ยวกับประเด็นข้อสำคัญในคดี ย่อมเป็นการสืบพยานโดยไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 87
แม้ที่ดินพิพาทมีหลักฐานแห่งสิทธิเป็นแบบแจ้งการครอบครองที่ดิน (ส.ค.1) ระบุชื่อ ส. เป็นผู้แจ้งการครอบครอง และโจทก์ไม่มีหลักฐานการให้ที่ดินพิพาทมาแสดงก็ตาม แต่แบบแจ้งการครอบครองที่ดิน (ส.ค. 1) เป็นหลักฐานสิทธิที่ไม่อาจจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมต่อทางราชการและที่ดินพิพาทก็มีสภาพเป็นที่ดินมือเปล่าที่มีเพียงสิทธิครอบครอง อันสามารถโอนไปซึ่งการครอบครองด้วยการส่งมอบการครอบครอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5566/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การซื้อขายบ้านจัดสรร: การชี้แนวเขตที่ดินเบื้องต้นไม่ถือเป็นเจตนาฉ้อโกงหากเนื้อที่ดินตามสัญญาถูกต้อง
จำเลยเป็นกรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนบริษัท อ. ประกอบกิจการก่อสร้างบ้านพร้อมจัดสรรที่ดินขายให้แก่ลูกค้า ทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินโดยมีเนื้อที่ โฉนดที่ดินและที่ตั้งตรงกับที่ดินพิพาท ทั้งรูปแผนที่ก็ตรงตามผังแสดงแนวเขตที่ดินของที่ดินทุกแปลง เพียงแต่ตอนนำชี้ก่อนที่จะตกลงทำสัญญาจะซื้อจะขาย ได้ชี้แนวเขตที่ดินเพียงคร่าว ๆ ครั้นรังวัดแนวเขตชัดเจนแล้วปรากฏว่า ทิศทางและแนวเขตแตกต่างไปจากที่เจรจาตกลงกันตอนแรก ที่โจทก์และโจทก์ร่วมอ้างว่า การก่อสร้างกำแพงตามแนวเขตดังกล่าว ทำให้บดบังทัศนียภาพของท้องน้ำนั้น เมื่อดูจากภาพถ่ายก็ยังสามารถมองเห็นทัศนียภาพของท้องน้ำได้อย่างชัดเจน พิเคราะห์ถึงพฤติการณ์ที่โจทก์ร่วมกับจำเลยตกลงทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินและบ้านรวมราคากว่า 7,000,000 บาท แต่โจทก์ร่วมชำระเงินไปเพียง 400,000 บาท หลังจากรังวัดแล้ว เนื้อที่ดินทั้งหมดก็ยังเป็นไปตามสัญญาจะซื้อจะขาย การที่จำเลยชี้แนวเขตที่ดินในตอนแรกโดยที่ยังไม่มีการรังวัด เป็นการกะประมาณเท่านั้น การกระทำของจำเลยยังไม่พอที่จะฟังว่าจำเลยมีเจตนาหลอกลวงโจทก์ร่วมด้วยการแสดงข้อความอันเป็นเท็จหรือปกปิดความจริงซึ่งควรบอกให้แจ้ง การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดฐานฉ้อโกง
of 14