คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
สมบูรณ์ บุญภินนท์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 2,151 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2603-2604/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม: การมาประชุมสายและการขาดเจตนาขัดคำสั่ง
จำเลยเรียกประชุมพนักงานทั้งหมดก่อนเวลาทำงานปกติถึงสองชั่วโมง คำสั่งนัดพนักงานมาประชุมก็ระบุเพียงว่าจำเลยมีความประสงค์จะขอความคิดเห็นและขอความร่วมมือ หาได้ระบุเน้นความสำคัญของหัวข้อประชุมไม่ ทั้งไม่ปรากฏว่าการประชุม ในวันนี้มีเรื่องสำคัญอะไร โจทก์ไม่ได้ขาดประชุมเพียงแต่มาประชุมไม่ทันกำหนดเวลานัดเท่านั้น และไม่ปรากฏว่าได้ก่อให้เกิดความเสียหายแก่จำเลยอย่างไร การกระทำของโจทก์ยังไม่พอฟังว่าจงใจที่จะไม่ปฏิบัติตามคำสั่งหรือขัดคำสั่งของจำเลย ยังถือไม่ได้ว่าเป็นการกระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรงตามระเบียบข้อบังคับของจำเลย หรือเป็นความผิดกรณีที่ร้ายแรงตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 47 และไม่เข้ากรณีที่จะเลิกจ้างได้ทันทีโดยไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้าตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 583 เมื่อจำเลยเลิกจ้างโจทก์ด้วยเหตุดังกล่าวจึงต้องจ่ายค่าชดเชยและสินจ้างแทนการลอกกล่าวล่วงหน้า

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2603-2604/2529 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างลูกจ้าง: การมาประชุมสายและการพิจารณาความร้ายแรงของวินัย
จำเลยเรียกประชุมพนักงานทั้งหมดก่อนเวลาทำงานปกติถึงสองชั่วโมง คำสั่งนัดพนักงานมาประชุมก็ระบุเพียงว่าจำเลยมีความประสงค์จะขอความคิดเห็นและขอความร่วมมือ หาได้ระบุเน้นความสำคัญของหัวข้อประชุมไม่ ทั้งไม่ปรากฏว่าการประชุมในวันนี้มีเรื่องสำคัญอะไร โจทก์ไม่ได้ขาดประชุมเพียงแต่มาประชุมไม่ทันกำหนดเวลานัดเท่านั้น และไม่ปรากฏว่าได้ก่อให้เกิดความเสียหายแก่จำเลยอย่างไร การกระทำของโจทก์ยังไม่พอฟังว่าจงใจที่จะไม่ปฏิบัติตามคำสั่งหรือขัดคำสั่งของจำเลย ยังถือไม่ได้ว่าเป็นการกระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรงตามระเบียบข้อบังคับของจำเลย หรือเป็นความผิดกรณีที่ร้ายแรงตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 47 และไม่เข้ากรณีที่จะเลิกจ้างได้ทันทีโดยไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้าตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 583 เมื่อจำเลยเลิกจ้างโจทก์ด้วยเหตุดังกล่าวจึงต้องจ่ายค่าชดเชยและสินจ้างแทนการลอกกล่าวล่วงหน้า

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2603-2604/2529

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม: การมาประชุมสายโดยไม่มีความเสียหายร้ายแรง ไม่ถือเป็นความผิดวินัยร้ายแรง
จำเลยเรียกประชุมพนักงานทั้งหมดก่อนเวลาทำงานปกติถึงสองชั่วโมงคำสั่งนัดพนักกานมาประชุมก็ระบุเพียงว่าจำเลยมีความประสงค์จะขอความคิดเห็นและขอความร่วมมือหาได้ระบุเน้นความสำคัญของหัวข้อประชุมไม่ทั้งไม่ปรากฏว่าการประชุมในวันนี้นมีเรื่องสำคัญอะไรโจทก์ไม่ได้ขาดประชุมเพียงแต่มาประชุมไม่ทันกำหนดเวลานัดเท่านั้นและไม่ปรากฏว่าได้ก่อให้เกิดความเสียหายแก่จำเลยอย่างไรการกระทำของโจทก์ยังไม่พอฟังว่าจงใจที่จะไม่ปฏิบัติตามคำสั่งหรือขัดคำสั่งของจำเลยยังถือไม่ได้ว่าเป็นการกระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรงตามระเบียบข้อบังคับของจำเลยหรือเป็นความผิดกรณีที่ร้ายแรงตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการคุ้มครองแรงงานข้อ47และไม่เข้ากรณีที่จะเลิกจ้างได้ทันทีโดยไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้าตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา583เมื่อจำเลยเลิกจ้างโจทก์ด้วยเหตุดังกล่าวจึงต้องจ่ายค่าชดเชยและสินจ้างแทนการลอกกล่าวล่วงหน้า.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2600/2529

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างลูกจ้างเนื่องจากสุขภาพไม่สมบูรณ์และหย่อนสมรรถภาพในการทำงาน
โจทก์เป็นลูกจ้างของจำเลยตำแหน่งพนักงานเก็บค่าโดยสารรถประจำทางหลังจากโจทก์เข้าทำงานกับจำเลยได้2เดือนโจทก์ได้ลาป่วยทุกเดือนติดต่อกัน7เดือนโดยลาป่วยเดือนละ1วันถึง8วันแสดงว่าสุขภาพของโจทก์ไม่สมบูรณ์ไม่สามารถตรากตรำในหน้าที่พนักงานเก็บค่าโดยสารอันเป็นงานหนักไว้กรณีถือได้ว่าโจทก์เจ็บป่วยจนหย่อนสมรรถภาพในการทำงานถือเป็นเหตุสมควรที่จำเลยจะเลิกจ้างโจทก์ได้การที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์จึงมิใช่เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมทั้งนี้โดยไม่ต้องพิจารณาว่าโจทก์ขาดคุณสมบัติตามพระราชบัญญัติคุณสมบัติมาตรฐานสำหรับกรรมการและพนักงานรัฐวิสาหกิจพ.ศ.2518มาตรา9(3)และไม่ต้องพิจารณาว่าโจทก์ฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำำานของจำเลยหรือไม่.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2600/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างลูกจ้างเนื่องจากหย่อนสมรรถภาพทางการทำงานจากอาการป่วยเรื้อรัง มิใช่การเลิกจ้างไม่เป็นธรรม
โจทก์เป็นลูกจ้างของจำเลยตำแหน่งพนักงานเก็บค่าโดยสารรถประจำทาง หลังจากโจทก์เข้าทำงานกับจำเลยได้ 2 เดือน โจทก์ได้ลาป่วยทุกเดือนติดต่อกัน 7 เดือน โดยลาป่วยเดือนละ 1 วันถึง 8 วัน แสดงว่าสุขภาพของโจทก์ไม่สมบูรณ์ ไม่สามารถตรากตรำในหน้าที่พนักงานเก็บค่าโดยสารอันเป็นงานหนักไว้ กรณีถือได้ว่าโจทก์เจ็บป่วยจนหย่อนสมรรถภาพในการทำงาน ถือเป็นเหตุสมควรที่จำเลยจะเลิกจ้างโจทก์ได้ การที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์จึงมิใช่เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม ทั้งนี้โดยไม่ต้องพิจารณาว่าโจทก์ขาดคุณสมบัติตามพระราชบัญญัติคุณสมบัติมาตรฐานสำหรับกรรมการและพนักงานรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. 2518 มาตรา 9 (3)และไม่ต้องพิจารณาว่าโจทก์ฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยหรือไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2576/2529

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม การรับฟังพยานหลักฐาน และค่าชดเชยในคดีแรงงาน
จำเลยนำส.พยานจำเลยเข้าสืบยังไม่จบปากแล้วแถลงไม่ติดใจสืบพยานปากนี้อีกต่อไปแต่ศาลแรงงานกลางก็มิได้รับฟังคำเบิกความของส.โดยตรงเพราะยังมีพยานเอกสารและพยานบุคคลอีกหลายปากที่ศาลแรงงานกลางนำมาวินิจฉัยโดยไม่ว่าจะฟังคำเบิกความของส.หรือไม่ก็ไม่ทำให้คำวินิจฉัยของศาลแรงงานกลางเปลี่ยนแปลงไปแต่อย่างใดอุทธรณ์ของโจทก์ที่ว่าศาลแรงงานกลางยอมรับคำเบิกความของส.มาวินิจฉัยเป็นการไม่ชอบเพราะโจทก์ไม่มีโอกาสซักค้านจึงไม่เป็นประโยชน์แก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัย. การที่โจทก์ซึ่งเป็นผู้จัดการฝ่ายขายคำนวณราคาต้นทุนสินค้าแล้วขาดทุนทุกครั้งเป็นเพียงความสามารถที่จะทำให้เกิดผลในการงานเท่านั้นมิใช่โจทก์ทุจริตต่อหน้าที่หรือจงใจทำให้จำเลยได้รับความเสียหายส่วนในเรื่องประมาทเลินเล่อเป็นเหตุให้จำเลยได้รับความเสียหายอย่างร้ายแรงนั้นศาลแรงงานกลางมิได้ฟังข้อเท็จจริงว่าโจทก์กระทำโดยประมาทกรณีจึงไม่ต้องด้วยข้อยกเว้นที่จำเลยจะไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย. กรณีที่โจทก์ไม่ปฏิบัติงานตามระเบียบที่เคยปฏิบัติโดยไม่ยอมลงชื่อนำเงินไปฝากสถาบันการเงินที่จำเลยเคยฝากเป็นประจำดำเนินการประมูลงานไม่ได้ข้อเสนอของโจทก์ไม่เป็นผลดีแก่จำเลยนั้นพฤติการณ์ดังกล่าวเป็นเรื่องความคิดเห็นในการทำงานซึ่งอาจถูกหรือผิดได้ผลหรือไม่ได้ผลมิใช่เป็นเรื่องของการฝ่าฝืนข้อบังคับหรือระเบียบเกี่ยวกับการทำงานหรือคำสั่งอันชอบด้วยกฎหมาย.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2576/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม การรับฟังพยาน และเหตุไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย
จำเลยนำ ส. พยานจำเลยเข้าสืบยังไม่จบปากแล้วแถลงไม่ติดใจสืบพยานปากนี้อีกต่อไป แต่ศาลแรงงานกลางก็มิได้รับฟังคำเบิกความของส.โดยตรง เพราะยังมีพยานเอกสารและพยานบุคคลอีกหลายปากที่ศาลแรงงานกลางนำมาวินิจฉัย โดยไม่ว่าจะฟังคำเบิกความของ ส. หรือไม่ ก็ไม่ทำให้คำวินิจฉัยของศาลแรงงานกลางเปลี่ยนแปลงไปแต่อย่างใด อุทธรณ์ของโจทก์ที่ว่าศาลแรงงานกลางยอมรับคำเบิกความของ ส. มาวินิจฉัยเป็นการไม่ชอบเพราะโจทก์ไม่มีโอกาสซักค้าน จึงไม่เป็นประโยชน์แก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัย
การที่โจทก์ซึ่งเป็นผู้จัดการฝ่ายขายคำนวณราคาต้นทุนสินค้าแล้วขาดทุนทุกครั้ง เป็นเพียงความสามารถที่จะทำให้เกิดผลในการงานเท่านั้นมิใช่โจทก์ทุจริตต่อหน้าที่หรือจงใจทำให้จำเลยได้รับความเสียหาย ส่วนในเรื่องประมาทเลินเล่อเป็นเหตุให้จำเลยได้รับความเสียหายอย่างร้ายแรงนั้น ศาลแรงงานกลางมิได้ฟังข้อเท็จจริงว่าโจทก์กระทำโดยประมาท กรณีจึงไม่ต้องด้วยข้อยกเว้นที่จำเลยจะไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย
กรณีที่โจทก์ไม่ปฏิบัติงานตามระเบียบที่เคยปฏิบัติโดยไม่ยอมลงชื่อนำเงินไปฝากสถาบันการเงินที่จำเลยเคยฝากเป็นประจำ ดำเนินการประมูลงานไม่ได้ ข้อเสนอของโจทก์ไม่เป็นผลดีแก่จำเลยนั้น พฤติการณ์ดังกล่าวเป็นเรื่องความคิดเห็นในการทำงานซึ่งอาจถูกหรือผิด ได้ผลหรือไม่ได้ผล มิใช่เป็นเรื่องของการฝ่าฝืนข้อบังคับหรือระเบียบเกี่ยวกับการทำงานหรือคำสั่งอันชอบด้วยกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2560/2529

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างโดยปริยายจากเหตุโรงงานเสียหาย และสิทธิการทำงานกับนายจ้างใหม่
หลังจากโรงงานของจำเลยถูกไฟไหม้แล้วเป็นเวลา1 ปีเศษ จำเลยมิได้ดำเนินกิจการแต่ประการใด และไม่เป็นที่แน่นอนว่าจะเปิดดำเนินกิจการอีกเมื่อใด การที่จำเลยให้โจทก์เข้าทำงานที่บริษัทซึ่งเปิดกิจการทำนองเดียวกันแต่โจทก์ไม่ยอมทำตามจะถือว่าเป็นความผิดของโจทก์ไม่ได้เป็นสิทธิของโจทก์ที่จะไปทำงานกับบริษัทใหม่หรือไม่ก็ได้จึงถือได้ว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์ ต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2558-2559/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างลูกจ้างฐานหย่อนความสามารถต้องไม่เข้าข้อยกเว้นตามประกาศกระทรวงมหาดไทย และการลากิจ/ลาป่วยที่ได้รับอนุญาตไม่ถือเป็นความผิด
โจทก์ลากิจและลาป่วยเกิน 45 วันต่อปี ติดต่อกัน 2 ปี โดยได้รับอนุญาตจากผู้บังคับบัญชาโดยชอบ ไม่ถือเป็นความผิดและไม่เป็นการฝ่าฝืนข้อบังคับหรือระเบียบเกี่ยวกับการทำงานของจำเลย หนังสือทัณฑ์บนมีข้อความเพียงบอกกล่าวให้โจทก์ทราบล่วงหน้าว่า ถ้าถูกงดขั้นเงินเดือนหรือค่าจ้าง 2 ปีติดต่อกันอาจถูกเลิกจ้างได้ ถือไม่ได้ว่าเป็นหนังสือตักเตือน โจทก์ถูกเลิกจ้างฐานหย่อนความสามารถในการปฏิบัติหน้าที่การงานไม่เข้าข้อยกเว้นตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 47 (3) จำเลยต้องจ่ายค่าชดเชย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2558-2559/2529

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างฐานหย่อนความสามารถต้องพิจารณาความผิดจริง การลากิจ/ลาป่วยโดยได้รับอนุญาตไม่ถือเป็นความผิด และมีสิทธิได้รับค่าชดเชย
โจทก์ลากิจและลาป่วยเกิน45วันต่อปีติดต่อกัน2ปีโดยได้รับอนุญาตจากผู้บังคับบัญชาโดยชอบไม่ถือเป็นความผิดและไม่เป็นการฝ่าฝืนข้อบังคับหรือระเบียบเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยหนังสือทัณฑ์บนมีข้อความเพียงบอกกล่าวให้โจทก์ทราบล่วงหน้าว่าถ้าถูกงดขั้นเงินเดือนหรือค่าจ้าง2ปีติดต่อกันอาจถูกเลิกจ้างได้ถือไม่ได้ว่าเป็นหนังสือตักเตือนโจทก์ถูกเลิกจ้างฐานหย่อนความสามารถในการปฏิบัติหน้าที่การงานไม่เข้าข้อยกเว้นตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการคุ้มครองแรงงานข้อ47(3)จำเลยต้องจ่ายค่าชดเชย.
of 216